พระพุทธเจ้าหลวง กับ พระราชกรณียกิจในพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย MBNY, 23 ตุลาคม 2007.

  1. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,864
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,510
    [​IMG]


    ตลอดรัชสมัยอันยาวนานถึง 42 ปี แห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอ ยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือ ‘พระพุทธเจ้าหลวง’ พระองค์ได้ทรงกอปรพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ ในการทำนุบำรุงประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนา นาอารยประเทศ และหนึ่งในพระราชกรณียกิจสำคัญก็คือการส่งเสริมและบำรุงพระพุทธศาสนาให้มั่นคง



    การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    • พ.ศ.2431 โปรดให้มีการชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี อักษรสยาม เทียบเสียงเป็นอักษรโรมัน ชุดแรกของโลก แทนของเดิมที่เขียนด้วยอักษรขอมบนใบลาน เพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบรอบ 25 ปีของ พระองค์ มีชื่อว่าพระไตรปิฎกฉบับจุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราช พ.ศ.2436 ในการนี้ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน 1,000 ชั่ง จัดพิมพ์เป็นหนังสือ 1,000 จบ จบละ 39 เล่ม พระราชทานไปตามวัดต่างๆ 500 วัดทั่วประเทศ ตลอดจนสถานศึกษาในต่างประเทศกว่า 260 แห่งทั่วโลก ภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้จำหน่ายแก่ประชาชนในราคาจบละ 2 ชั่ง เป็นผลให้พระไตรปิฎกแพร่หลายมากขึ้นทั้งในประเทศและท ั่วโลก

    สำหรับสาเหตุในการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับนี้ ทรงเห็นว่า รอบบ้านเราเวลานั้นกำลังตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวัน ตกหมดแล้ว และบ้านเราคงจะไม่ปลอดภัย จึงได้นิมนต์พระเถระผู้ใหญ่ เสนาบดี ข้าราชการทุกฝ่ายมาประชุมที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(ว ัดพระแก้ว) ว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยกันปกปักรักษาเอกราชของชาติไว้ ได้ ดังนั้น พระไตรปิฎกฉบับนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาอธิปไต ยของชาติ โดยได้ประกาศให้นานาชาติรู้ว่าประเทศสยามนับถือพระพุ ทธศาสนา

    • โปรดให้จัดตั้งหอพุทธศาสนสังคหะขึ้นที่วัดเบญจมบพิตร สำหรับเป็นที่เก็บรวบรวมพระไตรปิฎกและหนังสืออื่นๆ ในพระพุทธศาสนา ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษา พระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรและผู้สนใจ ทั้งยังโปรดให้แต่งหนังสือที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาใ นหลายลักษณะด้วยกัน ได้แก่ หนังสือเบญจศีลและเบญจธรรม หนังสือเทศนา หนังสือสวดมนต์ หนังสือธรรมจักษุ และหนังสือชาดกต่างๆ เป็นผลให้ประชาชนได้เรียนรู้หลักธรรม ในพระพุทธศาสนาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ส่วนพระสงฆ์และสามเณรก็มีคู่มือสำหรับใช้เทศนาและบทส วดมนต์ที่เป็นแบบฉบับเดียวกัน


    [​IMG]

    การคณะสงฆ์

    • พ.ศ.2445 โปรดให้มีการตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 ขึ้น เพื่อให้การปกครองภายในสังฆมณฑลเป็นไปตามระเบียบอันด ี กำหนดให้พระสังฆราช เป็นประมุขของสงฆ์ มีมหาเถรสมาคมเป็นคณะผู้บริหาร จัดรูปการปกครองคณะสงฆ์ใน 4 ภูมิภาค ให้สอดคล้องกับการปกครองบ้านเมือง

    • ทรงมีพระราชดำริว่าพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อนได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งพระสงฆ์มอญให้มีสมณศักดิ์เหมือนอย่างพระสงฆ์ไทย จึงสมควรจะทรงตั้งพระสงฆ์ญวน ให้มีสมณศักดิ์ขึ้นบ้าง แต่พระสงฆ์ญวนคือฝ่ายมหายานจะเข้าทำกิจพิธีร่วมกับพร ะสงฆ์ไทยไม่ได้เหมือนอย่างพระสงฆ์มอญ จึงทรงมีพระราชดำริให้มีทำเนียบสมณศักดิ์สำหรับพระญว นขึ้นต่างหาก และโปรดเกล้าฯ ให้มีสมณศักดิ์สำหรับพระจีนด้วยในคราวเดียวกัน รวมทั้ง พระราชทานสัญญาบัตร มีราชทินนามกับพัดยศซึ่งจำลองแบบพัดยศของคณะสงฆ์ไทย

    • โปรดให้จัดตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมขึ้นตามวัดต ่างๆ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุและสามเณร รวมทั้งได้ทรงกำหนดให้มีการสอบพระปริยัติธรรม เป็นประจำทุกปี

    • โปรดให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงของสงฆ์ขึ้น 2 แห่ง ได้แก่

    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2432 ณ วัดมหาธาตุ ให้เป็นสถานศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่าย มหานิกาย มีชื่อเดิมว่า “มหาธาตุวิทยาลัย” ต่อมาได้ทรงเปลี่ยนนามใหม่ว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”

    มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2436 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

    • พ.ศ.2427 โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร เป็นแห่งแรกที่วัดมหรรณพาราม กทม. เพื่อให้ราษฎรทั่วไปได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนโดยมีพร ะสงฆ์เป็นครูสอน


    [​IMG]


    การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามต่างๆ

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามต่างๆ รวมทั้งพุทธสถาน พุทธเจดีย์ ทั่วพระราชอาณาจักร อาทิ

    • วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2419 เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเทพศิรินทราบร มราชินี พระบรมราชชนนี และ พ.ศ.2439 โปรดให้สร้างสุสานหลวงไว้ในวัด ด้วยมีพระราชประสงค์ให้เป็นฌาปนสถานสำหรับพระราชวงศ์ ซึ่งไม่ได้สร้างพระเมรุฯ ที่ท้องสนามหลวง และสำหรับชนทุกชั้น นับเป็นเรื่องพิเศษ เพราะโดยปกติแล้วจะไม่มีฌาปนสถานในพระอารามหลวง

    • วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ตั้งอยู่ในเขตพระนคร กทม. ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2412 ด้วยพระราชประสงค์ให้เป็นวัดประจำรัชกาล โปรดให้ก่อสร้างตามแบบวัดแต่โบราณ ครั้งกรุงศรีอยุธยา ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ทั้งวัด เป็นเอกลักษณ์พิเศษแห่งเดียวในประเทศไทย

    • วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ตั้งอยู่ในเขตดุสิต กทม. เดิมชื่อวัดแหลมหรือวัดไทรทอง เป็นวัดโบราณซึ่งเจ้านาย 5 พระองค์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์ สมัยรัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดเบญจมบพิตร” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย 5 พระองค์ ต่อมารัชกาลที่ 5 ต้องประสงค์ที่วัดเพื่อสร้างพลับพลาในพระราชอุทยานสว นดุสิต จึงทรงทำผาติกรรมแล้วสร้างวัดขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” เป็นวัดหินอ่อนที่งดงามที่สุด

    • วัดนิเวศธรรมประวัติ ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้ามพระราชวังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเลียนแบบโบสถ์ฝรั่ง เมื่อ พ.ศ.2421 เป็นศิลปะแบบโกธิค ประดับกระจกสีสวยงาม

    • วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม อยู่บนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี โปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2435 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จฯเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์ อินทราชัย ในวาระที่ประสูติ ณ เกาะสีชัง

    • วัดอัษฎางค์นิมิตร ตั้งอยู่บนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี โปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ.2435 แทนวัดที่อยู่ปลายแหลมซึ่งมีมาแต่เดิม โดยสร้างบนเนินเขา พระอุโบสถของวัดนี้เป็นทรงกลม ตกแต่งตามศิลปะแบบโกธิค ส่วนยอดเป็นพระเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา

    • วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระธาตุ กทม. เดิมเรียกวัดมหาธาตุ พ.ศ.2439 ทรงบริจาคพระราชทานทรัพย์อันเป็นส่วนของสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งสวรรคตเมื่อ พ.ศ.2437 อุทิศพระราชทานให้ปฏิสังขรณ์ แล้วโปรดให้เพิ่มสร้อยต่อนามวัด ว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”

    • วัดสัตตนารถปริวัตร ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ราชบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ รัฐบาลได้สร้างพระราชวังขึ้นที่เขาสัตตนาถ พระองค์จึงมีพระประสงค์ให้มีการทำผาติกรรม และสร้างวัดทดแทนขึ้น พร้อมกับขนานนามว่า “วัดสัตตนารถปริวัตร” แปลว่า วัดที่เปลี่ยนไปหรือย้ายไปจากเขาสัตตนารถ

    • วัดมงคลสมาคม (วัดโหย่คั้นตื่อ) เป็นวัดญวน เดิมตั้งอยู่ที่บ้านญวนหลังวังบูรพาภิรมย์ เมื่อรัฐบาลจะตัดถนนพาหุรัด ซึ่งวัดอยู่ในแนวถนน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงโปรดให้ทำผาติกรรมอย่างวัดไทย คือพระราชทานที่ดินและให้สร้างวัดขึ้นใหม่ โดยย้ายไปตั้งที่ริมถนนแปลงนามในอำเภอสัมพันธวงศ์

    • วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) ตั้งอยู่บริเวณถนน เจริญกรุง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเลือกชัยภูมิที่ตั้งวัด และโปรดฯ ให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เล่าเกี้ยงเฮง) ชักนำพุทธศาสนิกชนชาวจีนสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2414 นับเป็นสังฆารามตามลัทธิและศิลปะมหายานที่ใหญ่ ที่สุดของประเทศไทยในยุคนั้น และโปรดฯให้นิมนต์พระอาจารย์สกเห็ง แห่งวัดบำเพ็ญจีนพรต(กวนอิมเก็ง) มาเป็น เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนี้ รวมทั้งได้พระราชทานนามว่า ‘วัดมังกรกมลาวาส’ และพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระอาจารย์สกเห็ง เป็น‘พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร’ เจ้าคณะ ใหญ่ฝ่ายจีนนิกายรูปแรกแห่งประเทศไทย


    [​IMG]


    นอกจากนี้ ยังมีวัดสำคัญต่างๆ ที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์ ได้แก่

    กรุงเทพฯ -วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, วัดอรุณราชวราราม, วัดราชาธิวาส, วัดบรมนิวาส, วัดเครือวัลย์วรวิหาร, วัดทองธรรมชาติ, วัดหนัง, วัดนรนารถสุนทริการาม, วัดบพิตรพิมุข, วัดปรินายก, วัดโพธิ์นิมิตร, วัดมกุฏกษัตริยาราม, วัดมหาพฤฒาราม, วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม, วัดราชโอรสาราม, วัดราชบูรณะ, วัดระฆังโฆสิตาราม, วัดสระเกศ, วัดสุทัศน์เทพวราราม, วัดสังเวชวิศยาราม, วัดอมรินทราราม, วัดกวิศราราม จังหวัดสมุทรสงคราม - วัดอัมพวันเจติยาราม

    จังหวัดนนทบุรี -วัดเขมาภิรตาราม, วัดปรมัยยิกาวาส

    จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - วัดชุมพลนิกายาราม, วัดวรนายกรังสรรค์, วัดศาลาปูน, วัดเสนาสนาราม, วัดพนัญเชิง

    จังหวัดลพบุรี - วัดมณีชลขันธ์

    จังหวัดอ่างทอง - วัดไชโย, วัดป่าโมก

    จังหวัด สิงห์บุรี - วัดพระนอนจักรสีห์

    จังหวัดสมุทรปราการ - วัดทรงธรรม

    จังหวัดเพชรบุรี - วัดสุวรรณาราม, วัดพระทรง

    และจังหวัดนครปฐม - วัดพระปฐมเจดีย์

    สำหรับพระพุทธรูปและพุทธเจดีย์ ที่โปรดให้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์ อาทิ

    • พระพุทธชินราช(จำลอง) โปรดให้จำลองแบบจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ใน พ.ศ.2444 เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองหนัก 3,940 บาท

    • พระพุทธนฤมลธรรโมภาส พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำจากโลหะกะไหล่ทองทั้งองค์ โปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ.2420 เป็นศิลปะประยุกต์ ผสมผสานระหว่างรูปแบบประเพณีนิยม กับศิลปะตะวันตกได้อย่างงดงาม โปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดนิเวศธรรมประวัติ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

    • พระสมุทรนินนาท เป็นพระพุทธรูปสำริดกะไหล่ทอง ปางห้ามสมุทร ประดิษฐานอยู่ที่อาคารพิพิธภัณฑ์ ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. โปรดให้สร้างขณะทรงบรรพชาเป็นสามเณร ประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ.2409

    • พระนอนจักรสีห์ ประดิษฐาน ณ วัดพระนอนจักรสีห์ อ.เมือง จ.สิงหบุรี เมื่อปี พ.ศ.2421 ได้เสด็จไปทรงนมัสการพระนอนจักรสีห์ ในครั้งนั้นพระวิหารและพระนอน ชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์มานาน จึงโปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระบำราศปรปักษ์ เป็นที่ปรึกษาในการปฏิสังขรณ์

    • พระธาตุไชยา ประดิษฐาน ณ วัดพระบรมมหาธาตุ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นโบราณสถานสมัยศรีวิชัย มีการ บูรณะมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และได้มีการบูรณะอย่างจริงจังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพ ระจุลจอมเกล้าฯ

    • พระพุทธบาทสระบุรี อยู่ที่ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท 4 ครั้ง และได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง และซ่อมผนังข้างในพระมณฑป ซ่อมเครื่องพระมณฑปใหม่ และสร้างบันไดนาค ทางขึ้นพระมณฑป จากเดิมที่มีอยู่สองสายเป็นสามสาย

    • อลงกรณ์เจดีย์ ตั้งอยู่ที่บริเวณน้ำตกพลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2419 เพื่อเป็นที่ระลึก เนื่องจากพระองค์เคยเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้วเมื่อ พ.ศ.2417 และทรงโปรดน้ำตกพลิ้วเป็นอย่างยิ่ง

    นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2414 ได้เสด็จประพาสอินเดียอย่างเป็นทางการ ในครั้งนี้ได้ทรงมีโอกาสเสด็จไปสักการะธัมเมกขสถูป สังเวชนียสถานอีกแห่งหนึ่ง ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือเมืองสารนาถ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา โดยหลังจากที่เสด็จกลับจากอินเดีย แล้วได้โปรดให้สร้างธัมเมกขสถูปจำลอง ไว้ที่วัดโสมนัสวรวิหาร และวัดกันมาตุยาราม กรุงเทพฯ

    ต่อมาในปี 2441 รัฐบาลอินเดียได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบจากพร ะสถูปโบราณ อันเป็นที่ตั้งกรุงกบิลพัสดุ์สมัยพุทธกาล เพราะพิจารณาเห็นว่าในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ทรงนับถือพระพุ ทธศาสนา ซึ่งพระองค์ได้โปรดให้พระยาสุขุมนัยวินิต ไปรับมอบพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย และโปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ สุวรรณบรรพต หรือภูเขาทอง วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ ในการนี้ได้โปรดให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุบางส่วนให้แ ก่ประเทศที่ขอมา เช่น ศรีลังกา พม่า ญี่ปุ่น เป็นต้น ถือเป็นพระบรม-สารีริกธาตุที่มีหลักฐานความเป็นมาชัดเจนที่สุดในเมื องไทย


    ทั้งปวงนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวง ที่ทรงมีต่อพระพุทธศาสนาโดยแท้


    [​IMG]






    (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 83 ต.ค.50 โดย ภัสสร)

    ที่มา : http://www.samathi.com/meditation/showthread.php?t=997
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 55555555.JPG
      55555555.JPG
      ขนาดไฟล์:
      45.6 KB
      เปิดดู:
      2,875
    • 5-1.jpg
      5-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.3 KB
      เปิดดู:
      2,135
  2. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,864
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,510
    [​IMG]


    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ

    ในพระพุทธศาสนาเมื่อวันพุธที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖

    และทรงลาผนวชใน วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖



    [​IMG]


    วันปิยะ 23 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (วันปิยะมหาราช)

    <table align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="75%"><tbody><tr><td valign="top">เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้นนั้นเป็นที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวง ของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของหวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุข แก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช หรือพระพุทธเจ้าหลวง


    เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพตามราชประเพณีแล้ว ครั้งเมื่อบรรจบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายตามราชประเพณี โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ออกประดิษฐานบนพระแท่นนพปฎลมหา-เศวตฉัตร และเชิญพระพุทธรูปปางประจำพระชนมวารประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือพระที่นั่งอนันตสมาคมส่วนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระลานพระราชวังดุสิต หน้าที่นั่งอนันตสมาคม ที่เรียกว่าพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างประดิษฐานขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงพระชนม์อยู่เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ยั่งยืนนานถึง ๔๐ ปี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายนพ.ศ. ๒๔๕๑ นั้น ​
    </td></tr></tbody></table>

    เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้นนั้นเป็นที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวง ของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของหวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุข แก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช หรือพระพุทธเจ้าหลวง


    เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพตามราชประเพณีแล้ว ครั้งเมื่อบรรจบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายตามราชประเพณี โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ออกประดิษฐานบนพระแท่นนพปฎลมหา-เศวตฉัตร และเชิญพระพุทธรูปปางประจำพระชนมวารประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือพระที่นั่งอนันตสมาคมส่วนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระลานพระราชวังดุสิต หน้าที่นั่งอนันตสมาคม ที่เรียกว่าพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างประดิษฐานขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงพระชนม์อยู่เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ยั่งยืนนานถึง ๔๐ ปี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายนพ.ศ. ๒๔๕๑ นั้น

    ต่อมาทางราชการได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคมซึ่งเป็นวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า วันปิยมหาราช และกำหนดให้หยุดราชการวันหนึ่งในวันปิยมหาราช เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น กรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็นสำนักพระราชวัง ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติ ฉัตร ๕ ชั้น ประดับโคม ไฟ ราวเทียม กระถางธูป ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน


    พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราชครั้งแรก คือ ถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้ว ได้เสด็จฯไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์


    <style>table {background:none;} td {background:none;}</style><style>body{background-image:url"http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G11549767/G11549767-38.jpg";}</style>




    ที่มา : http://www.zabzaa.com/event/23oct.htm
    www.thaifoodnow.com/<wbr>owl24/13/story13-0035.htm<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --> ​
     
  3. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,210
    ค่าพลัง:
    +23,196
    [​IMG]



    พระคาถาบูชา พ่อ ร.5 ธูป 9 ดอก
    ตั้งนะโม 3 จบ

    พระสยามิน ทะโร วะโร อัตตัง พุทธะสังฆิ หิติอรหัง
    วะรังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปิโยเทวา มนุสานัง
    ปิโย พรหมานะ มุคคะโม ปินัน หริยัง นะมามิหัง
     
  4. s_thit

    s_thit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2007
    โพสต์:
    785
    ค่าพลัง:
    +3,027
    เป็นเพราะพระบารมีของพระองค์ท่าน ทำให้ไทยจึงเป็นไทย มาจนถึงทุกวันนี้
     
  5. สุริยันจันทรา

    สุริยันจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +4,588
    อนุโมทนาครับ...บารมีพระองค์ท่านมากมายเหลือเกินอย่างเช่นเลิกทาส และทำให้ไทยเป็นไทยถึงทุกวันนี้

    <style>table {background:none;} td {background:none;}</style><style>body{background-image:url("http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G11549767/G11549767-38.jpg
    ");}</style>
     
  6. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    อนุโมทนาสาธุค่ะ พระองค์ท่านทรงโปรดปราณดอกกุหลาบค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2007
  7. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อนุโมทนา สาธุ

    วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็น วัดประจำรัชกาลที่ ๕
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มิถุนายน 2008
  8. kosabunyo

    kosabunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,045
    โพธิสัตโต
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วันปิยมหาราช - 23 ตุลาคม
    http://campus.sanook.com/u_life/knowledge_01315.php
    <SCRIPT language=JavaScript src="/global_js/global_function.js"></SCRIPT><!--START-->

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    ความเป็นมา :
    เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดทั่วขอบขัณฑสีมาปวงประชาราษฎร์ถือว่าพระองค์คือพระราชบิดาแห่งตนและประเทศชาติ รัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวัน “ปิยมหาราช” และเมื่อถึงวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีจะมีการวางพวงมาลาดอกไม้ที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    พระราชประวัติ
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ และสมเด็จพระเทพศิริน-ทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 พระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์” เมื่อพระชนม์ 9 พรรษาได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ต่อมาอีก 4 ปี ได้เลื่อนเป็น “กรมขุนพินิตประชานาถ”



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    <CENTER>สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์</CENTER>

    บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญพระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    <CENTER>พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๑</CENTER>

    ระหว่างที่ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม ยิ่งกว่านั้นในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตนเพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทย ให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืนและนั่งตามโอกาสสมควรไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    <CENTER>พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒</CENTER>

    เมื่อมีพระชนมายุใกล้บรรลุนิติภาวะจึงได้เสด็จออกทรงผนวชเป็นภิกษุ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2416 และลาผนวช เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2416 แล้วโปรดให้มีการราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2416 เพื่อแสดงให้ประชาชนและชาวต่างประเทศทราบว่าพระองค์ทรงรับผิดชอบในการปกครองบ้านเมืองด้วยพระองค์เองแล้ว

    พระราชานุสาวรีย์ :
    รัชสมัยของพระองค์ เป็นรัชสมัยแห่งการปฏิวัติแทบจะทุกทาง เหตุนี้ประชาชนจึงพร้อมใจกันเรี่ยไรเงินสร้างอนุสาวรีย์อย่างใดอย่างหนึ่งไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระองค์ บังเอิญประจวบเหมาะกับพระองค์เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2450 ทรงพอพระทัยพระบรมรูปหล่อของพระเจ้าหลุยส์จึงขอให้พระองค์ไปประทับนั่งให้ชาวฝรั่งเศสปั้น แล้วหล่อส่งเข้ามาในประเทศ โปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ พระลานหน้าพระราชวังดุสิต ทรงประกอบพระราชพิธีเปิดพระบรมรูปนี้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451

    พระบรมรูปทรงม้านี้ ขนาดทั้งพระบรมรูปและม้า ทรงทำโตกว่าของจริงเล็กน้อย โดยหล่อด้วยโลหะชนิดทองบรอนซ์ พระบรมรูปประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนอันเป็นแท่นรองสูงประมาณ 6 เมตร กว้าง 2 เมตรครึ่ง ยาว 5 เมตร

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงษวรุตมพงษบริพัต วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จดำรงราชสมบัติมาถึง 42 ปีเต็มบริบูรณ์ เป็นรัชสมัยที่ยืนนานยิ่งกว่าสมเด็จพระมหาราชาธิราชแห่งสยามประเทศในอดีตกาล

    พระองค์กอร์ปด้วยพระราชกฤษฎาภินิหาร เป็นอัจฉริยภูมิบาลบรมบพิตร เสด็จสถิตในสัจธรรมอันมั่นคงมิหวั่นไหว ทรงอธิษฐานพระราชหฤทัยในทางที่จะทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้สถิตสถาพรและให้เกิดความสามัคคีสโมสร เจริญสุขสำราญทั่วไปในเอนกนิกร ประชาชาติเป็นเบื้องหน้า พระราชจรรยาทรงพระสุขุมปรีชาสามารถสอดส่องวินิจฉัย ในคุณโทษแห่งประเพณีเมือง ทรงปลดเปลื้องโทษ นำประโยชน์มาบัญญัติ โดยปฏิบัติพระองค์ทรงนำหน้า ชักจูงประชาชน ให้ดำเนินตามในทางที่งามดีมีประโยชน์เป็นแก่นสาร พระองค์ทรงทำให้ความสุขสำราญแห่งประชาราษฎร์สำเร็จได้ ด้วยอาศัยดำเนินอยู่เนืองนิจในพระวิริยะและพระขันติคุณอันแรงกล้า ทรงอาจหาญในพระราชจรรยา มิได้ย่อท้อต่อความลำบากยากเข็ญ มิได้เห็นข้อขัดข้องอันเป็นข้อควรขยาด แม้ประโยชน์และความสุขในส่วนพระองค์ ก็อาจจะสละแลกความสุขสำราญพระราชทานไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้ โดยทรงพระกรุณาปรานี พระองค์คือบุรพการีของราษฎร เพราะเหตุเหล่านี้แผ่นดินของพระองค์จึงยิ่งด้วยความสถาพรรุ่งเรืองงาม มหาชนชาวสยามถึงความสุขเกษมล่วงล้ำอดีตสมัยที่ได้ปรากฏมา พระองค์จึงเป็นปิยมหาราช ที่รักของมหาชนทั่วไป

    ครั้นบรรลุอภิลักขิตสมัย รัชมังคลาภิเษก สัมพัจฉรกาล พระราชวงศานุวงศ์ เสนามาตย์ราชบริพาร พร้อมด้วยสมณพราหมณ์ อาณาประชาชนชาวสยามประเทศทุกชาติทุกชั้นบรรดาศักดิ์ ทั่วรัชสีมาอาณาเขต มาคำนึงถึงพระเดชพระคุณอันได้พรรณนามาแล้วนั้น จึงพร้อมกันสร้างพระบรมรูปนี้ ประดิษฐานไว้สนองพระเดชพระคุณเพื่อประกาศเพื่อเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปิยมหาราช ให้ปรากฏสืบไปชั่วกาลปวสาน

    เมื่อสุรยคติกาล พฤศจิกายนมาศ เอกาทศดิถีพุฒวาร จันทรคติกาล กฤติกมาศ กาฬปักษ์ ตติยดิถี ในปีวอก สัมฤทธิมา 41 จุลศักราช 1270 (ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451)

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 พระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี นับเป็นรัชสมัยที่ยืนนานที่สุดในประเทศไทย

    >>พระราชกรณียกิจที่สำคัญ<<

    ขอบคุณข้อมูลโดย :
    พระราชสุทธิญาณมงคล
    สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  11. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,439
    ขอพระทรงพระเกษมสำราญยิ่งๆขึ้นไป สาธุ

    <STYLE>table {background:none;} td {background:none;}</STYLE><STYLE>body{background-image:url("http://palungjit.org/attachments/a.1191688/
    ");}</STYLE>
     
  12. poprock

    poprock เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +812
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ
    อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ

    พระสยามมินโท วะโรอิติ
    พุทธะสังมิ อิติอะระหัง
    สะหัสสะกายัง วะรังพุทโธ
    นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง

    ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
    ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
    ปรารถนา ขออัญเชิญพระบารมีแห่งพระองค์
    โปรดดลบันดาลพิทักษ์รักษา ปกแผ่ให้ปวงชนชาวไทยทั้งชาติ
    ปราศจากภยันตราย อันก่อความแตกแยกสามัคคี ให้มีแต่สันติสุข
    ขอให้ชาติไทยอันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    ธำรงไว้ซึ่งประชาธิปไตย เพื่อให้ปวงชนชาวไทยอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข
    ภายใต้พระบารมีของล้นเกล้าล้นกระหม่อมแห่งองค์
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
    และพระมหากษัตราธิราชไทยทุกพระองค์ด้วยเทอญ




     
  13. mayerman

    mayerman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +200
    อนุโมทนาครับ ท่านทรงคุณประโยชน์แก่ประเมศชาตินานับประการ หาประมาณมิได้
     
  14. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,513
    ค่าพลัง:
    +27,181
    ขอพระองค์ท่านช่วยให้คนไทยมีใจรักในพระพุทธศาสนาด้วยเถิด
     
  15. pnarongr

    pnarongr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +115
    อนุโมทนา สาธุ
    <STYLE>table {background:none;} td {background:none;}</STYLE>
    <STYLE>TABLE {background-color: transparent;border-style: none;border-spacing: none;}TD {border: none;border-color:none;background: none;}</STYLE>

    <STYLE>body{background-image:url("http://palungjit.org/attachments/a.227909/");}</STYLE>
     
  16. เจ้าสัว

    เจ้าสัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    522
    ค่าพลัง:
    +353
    เสียอวัยวะ ดีกว่าเสียชีวิต
    พระองค์มีบารมีมากล้น สาธุ
     
  17. พัชนันท์

    พัชนันท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2007
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +140
    ตอนนี้ได้ถวายของที่หิ้งและไหว้เสด็จพ่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รู้สึกดีและสบายใจเป็นอย่างมากเลยค่ะ ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
     
  18. มารีจัง

    มารีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2007
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +351
    ทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่หาที่เปรียบมิได้ ขอจงทรงพระเกษมสำราญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
     
  19. จิตต์ปภัสสร

    จิตต์ปภัสสร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +4,545
    ปกเกล้าปกกระหม่อม ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. lasomchai

    lasomchai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +2,036
    ขออนุโมทนาด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ

    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...