พระธรรมทูตไทยในต่างแดน หน้า 4 จาก 6

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 29 พฤศจิกายน 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    สภาพชุมชนและวัดไทยในต่างแดน ;
    สังคมไทยเป็นสังคมเปิดเผย ไม่เป็นสังคมปิดเหมือนชาวตะวันตก คนไทยจึงเป็นคนรักเพื่อนพ้อง มีความเอื้อเฟื้อเยื่อใยไมตรี จึงเป็นที่มาของภาษิตยอดฮิตของนายทหารบางคนว่า “ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน” แต่อย่างไรก็ตาม ลิ้นกับฟันอดที่จะกระทบกันไม่ได้ จึงไม่แปลกที่คนไทยในต่างแดนมีความระหองระแหงกันบ้าง นินทาซุบซิบกันบ้า ทะเลาะวิวาทกันบ้าง
    คนไทยที่ไปต่างแดน บ้างก็ไปทำธุรกิจ บ้างท่องเที่ยวบ้าง ไปเรียนบ้าง ไปทำงานประเภทต่าง ๆ บ้าง หรือไม่ก็ได้รับการชักชวนหรือการขอร้องจากญาติมิตรที่อยู่ต่างแดนบ้าง
    เมื่อจากถิ่นฐานบ้านช่องอย่างนี้ คนไทยในต่างแดนเกิดอาการว้าเหว่ ต้องการที่พึ่งทางจิตใจ บางคนมีปัญหาเรื่องความผิดหวังในความรักบ้าง การเรียนบ้าง การเป็นอยู่บ้าง คิดถึงบ้านบ้าง ไม่มีความอบอุ่นเหมือนอยู่ในเมืองไทยเรา ที่สำคัญคนไทยเป็นคนมีศาสนา มีพระพุทธศาสนาฝังแน่นในมโนวิญญาณ เพราะคนมีศาสนาจะเป็นคนรู้จักและเกรงกลัวต่อบาปบุญคุณโทษ ส่วนคนไม่มีศาสนา มักจะไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ หลงใหลในวัย มัวเมาในความประมาท แต่คนบ้าศาสนาเป็นอันตรายกว่าคนไม่มีศาสนา เพราะจะมุทะลุ บ้าบิ่น และทำอะไรก็ได้ ขาดสติยั้งคิด เห็นชีวิตศาสนิกอื่นเป็นผักปลา
    แม้จะไม่ได้กล่าวถึงสภาพการณ์ทุกแห่งที่พระธรรมทูตไทยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งในอเมริกา ยุโรป เอเชีย หรือออสเตรเลีย กล่าวคือพระธรรมทูตสายมหานิกายไปสร้างวัดในต่างแดนจำนวน ๑๑๐ วัด และพระธรรมทูตสายธรรมยุตินิกาย จำนวน ๖๘ วัด (รายละเอียดอยู่แผ่นหลังของบทความนี้) แต่มักจะประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน จึงนำภาพรวมมากล่าวแต่เพียงเท่านี้

    กิจกรรมของวัดโดยภาพรวม :
    พระธรรมทูตไทยในต่างแดน ดำเนินวิถีชีวิตเช่นเดียวกับพระสงฆ์ไทย แต่มีความเฉพาะกิจในบางเรื่อง เช่น สภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น อาจทำให้สภาพความเป็นอยู่แตกต่างจากพระสงฆ์ที่อยู่เมืองไทยไปบ้าง แต่นั้นไม่ใช่เป็นเรื่องหนักหนาสาหัสประการใด อย่างไรก็ตาม ลองดูภาพกิจกรรมของวัดไทยในต่างแดนโดยศึกษาจากงานการปกครอง การศึกษาการเผยแผ่ สาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์
    ๑) ด้านการปกครอง : อาศัยพระธรรมวินัยเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ ตามด้วยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย กฎระเบียบของมหาเถรสมาคมที่พระสงฆ์ไทยแม้จะอยู่ในหรือนอกประเทศต้องปฏิบัติตาม นอกจากนี้ ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อันไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยอีกด้วย
    ๒) ด้านการศึกษา : พระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ บางแห่งสามารถศึกษาความรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาท้องถิ่นนั้น ๆ ในระยะเวลาที่กำหนด (course) ได้ เพราะเป็นประโยชน์และสำคัญยิ่งในการเผยแผ่หลักธรรมได้อย่างสนิทแนบแน่น และกว้างขวางภายในแต่ละวัดส่วนมากมีการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับประชาชนทั่วไป ในรูปแบบธรรมศึกษาชั้นตรี - โท - เอก บ้าง หลักสูตรพระพุทธศาสนาเฉพาะกิจบ้าง รวมถึงการสอนดนตรีไทย และภาษาไทย เป็นการอนุเคราะห์และส่งเสริมให้เด็กไทยที่เกิดและเจริญเติบโตในต่างแดนให้มีความรู้ความเข้าใจถิ่นกำเนิดและวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ
    ๓) ด้านการเผยแผ่ : พระธรรมทูตไทยดำเนินกิจวัตรประจำวัน เช่น ทำวัตรเช้า - เย็น นั่งสมาธิ บิณฑบาต (ในบริเวณวัด) ฉันภัตตาหาร กรณียกิจอย่างนี้เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยนำวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และมีความสงบเป็นตัวอย่างให้เห็น นอกจากนี้ ยังมีการเผยแผ่ที่เป็นรูปธรรมอย่างอื่น เช่น
    ๓.๑) จัดให้มีการอบรมสมาธิภาวนา บวชเนกขัมมะ ทำบุญรักษาศีล เป็นกรณีพิเศษในวันสำคัญ ๆ เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ และวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
    ๓.๒) แจกหรือให้ยืมเทปธรรมะ หนังสือธรรมะหรือจุลสารประจำวัดแด่ผู้สนใจ เพื่อเป็นธรรมทาน
    ๓.๓) นิมนต์พระสงฆ์ผู้ทรงความรู้ด้านปริยัติหรือปฏิบัติมาบรรยายธรรม และอบรมกรรมฐาน
    ๓.๔) สนทนาธรรมและอธิบายเรื่องพระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างชาติ ผู้สนใจทั้งในและนอกวัด
    ๓.๕) จัดห้องสมุดพระพุทธศาสนาเพื่อผู้สนใจมาศึกษาและค้นคว้าภายในวัด
    ๓.๖) มีการเผยแผ่พุทธธรรมผ่านทางเว็บไซต์ (website) และเป็นที่น่ายินดีว่า คณะสงฆ์ไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังระดมผู้มีความรู้ความสามารถหลาย ๆ ด้าน เตรียมการทำระบบเครือข่าย (home page)ใน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นของส่วนกลาง มีคณะกรรมการบริหาร เพื่อให้การเผยแผ่มีประสิทธิภาพและเอกภาพยิ่งขึ้น
    ๓.๗) มีการตอบปัญหาธรรมทางอีเมล (e-mail)
    ๔) ด้านสาธารณูปการ : มีการก่อนสร้างอุโบสถ อาคารอเนกประสงค์ ศาลา กุฎิ และพัฒนาบริเวณวัดให้สะอาดร่มรื่น เอื้อประโยชน์แก่ชาวพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจเข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมหาความสงบทางกายและใจ อีกทั้งเป็นสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนาตามขนบธรรมเนียมประเพณี
    ๕) ด้านสาธารณสงเคราะห์ : ให้การช่วยเหลือสิ่งของจำเป็นแก่ครอบครัวคนไทยผู้ประสบภัยและความลำบาก ให้เป็นที่พกอาศัยชั่วคราวแก่คำนำแก่ครอบครัวผู้ประสบเคราะห์กรรมของวัดทั่วไปแล้ว ต้องเตรียมตัวและเตรียมใจให้พร้อมสรรพ กล่าวคือ
    เตรียมตัว : พระธรรมทูตไทยไปปฏิบัติศาสนกิจต่างแดน ต้องสนองความต้องการทางวัฒนธรรมของชุมชนไทยในประเทศนั้นๆ เนื่องจากคนไทยอยู่รวมกลุ่มเป็นจำนวนมาก มีความเดียวดายและต้องการที่พึ่งยึดเหนี่ยว อีกทั้งเพื่อสนองความต้องการของชุมชนหรือสังคมท้องถิ่น เพื่อนำพุทธธรรมไปเปิดเผยให้เขาได้สัมผัส และโน้มน้าวพฤติกรรมที่เวียนไปสู่ความหายนะของประชากรในประเทศนั้น ๆ ให้กลับสู่ความหายนะของประชากรในประเทศนั้น ๆ ให้กลับสู่สภาพที่เป็นปกติสุข เช่นสหรัฐอเมริกา หนุ่มสาวฆ่าตัวตายเพิ่ม ๓๐ % ในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา นี่เป็นสถิติของสภาสุขภาพจิตแห่งชาติอเมริกา
    เตรียมใจ : พระธรรมทูตต้องมีคุณสมบัติ เพื่อความเป็นพระธรรมทูตที่ดี ที่ประเสริฐ คือ
    ๑) มั่นใจในคุณค่า ความดีงาม ความประเสริฐของพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นพระธรรมทูตไปเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในต่างประเทศนั้น จะต้องมีความมั่นใจว่า เรามีสิ่งที่ดีแท้ เป็นสิ่งที่ดีแท้ เป็นสิ่งที่ประเสริฐและเป็นประโยชน์ที่จะมอบให้เขา
    ๒) รู้เข้าใจปัญหา และความต้องการของถิ่นฐานที่ไป ต้องรู้ภูมิหลังของเขาว่า เขามีวิธีคิดและวิถีชีวิตอย่างไร เช่น อเมริกา เป็นประเทศที่เจริญ ถ้าเราไม่รู้เท่าทัน ก็จะหวั่นเกรง ต้องทราบว่า เขาเจริญทางด้านวัตถุมาก แต่ในขณะเดียวกันดูเหมือนว่า อยู่ในภาวะเสื่อมโทรมอย่างยิ่งทางด้านจิตใจของคนในสังคม มีปัญหาเกิดจากความเจริญทางวัตถุที่ปรากฏตัวเป็นระลอก ๆ นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓
    ๓) มีวิธีสื่อสารให้ได้ผล เนื่องจากงานพระธรรมทูต คืองานนำพุทธธรรมไปให้เขา ซึ่งต้องสื่อให้เข้าใจ ทั้งหลักธรรมที่เหมาะสมกับบุคคลและเวลา และใช้สื่อภาษากับอุปกรณ์ต่าง ๆ
    ๔) มุ่งมั่นแน่วแน่ต่ออุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา จุดหมายในการปฏิบัติหน้าที่ของพระธรรมทูตในพุทธศาสนาต้องแน่วแน่ด้วยอุดมการณ์ที่ว่า “จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย.....”
    พระพุทธศาสนาคือพรหมจริยธรรม ที่พุทธสาวกช่วยกันดำรงรักษาศีลต่อให้ดำรงอยู่ยืนนาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่คนจำนวนมาก และเพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก บางศาสนา นักบวชของตนให้ไปทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนา โดยเปลี่ยนใจคนมานับถือพระเจ้า แต่ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้น พระองค์ตรัสให้ไปทำประโยชน์แก่เขา ไปช่วยให้เขาพ้นทุกข์ ประสบความสุข
    ในขณะเดียวกัน พระธรรมทูตเองต้องพัฒนาตนเอง ควบคู่กับการทำงานเพื่อสังคมไปด้วยโดยการปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ถ้าเราพัฒนาตนเองไม่มากเท่าไร เราก็จักทำประโยชน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์แก่มหาชนมากเท่านั้น อย่าประมาททั้งในส่วนอัตตถะ และปรัตถะ....
     

แชร์หน้านี้

Loading...