พระกาฬทายีเถระ...เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 5 พฤษภาคม 2009.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" border=0>

    <CENTER>พระกาฬทายีเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส </CENTER>พระกาฬุทายิ เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ในกรุงกบิลพัสดุ์ และเป็นสหชาติอีกคนหนึ่งที่เกิดพร้อมกันกับเจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร เดิมท่านชื่อว่า “ อุทายิ” แต่เพราะท่านมีผิวดำ คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า “ กาฬุทายี” เมื่ออยู่ในวัยเด็กก็เป็นพระสหายเล่นกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ
    นับว่าเป็นผู้มีความสนิทสนมคุ้นเคยกับพระมหาบรุษเป็นอย่างมากครั้นเมื่อ เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชาแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะพระบิดา คอยติดตามสดับรับฟังข่าวตลอดเวลา ครั้นได้ทราบข่าวว่า พระราชโอรสของพระองค์บำเพ็ญความเพียรทุกกิริยาเป็นเวลา ๖ พรรษานั้น บัดนี้ ได้บรรลุอมตธรรม สำเร็จพระสัมมาสัมโพธญาณ สมดังคำพยากรณ์ของท่านดสิตดาบสและพราหมณ์ทั้ง ๘ คนแล้ว เสด็จเที่ยวประกาศพระธรรมคำสอนของพระองค์ตามความนิคมต่าง ๆ ขณะนี้ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหารใกล้เมืองราชคฤห์
    พระพุทธบิดา ทรงตั้งพระทัยคอยอยู่ว่า เมื่อไรหนอ พระพุทธองค์จะเสด็จมาสู่พระนครกบิลพัสดุ์ ครั้นไม่มีข่าวว่าจะเสด็จมาเลย ก็เกิดความเล่าร้อนพระทัยปรารถนาจะได้ทอดพระเนตรเห็นสมเด็จพระบรมศาสดาโดยเร็ว จึงได้จัดส่งอำมาตย์พร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐ คน ให้ไปกราบทูลอาราธนาเสด็จมายังพระนครกบิลพัสดุ์
    แต่อำมาตย์และบริวารเหล่านั้น เมื่อเดินทางไปถึงกรุงราชคฤห์แล้วรีบตรงไปยังพระเวฬุวิหารโดยเร็ว ขณะนั้น พระพุทธองค์กำลังทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ในท่ามกลางพุทธบริษัท คณะอำมาตย์จึงหยุดคอยโอกาสที่จะกราบทูลอาราธนา และขณะที่คอยอยู่นั้นก็ได้สดับพระธรรมเทศนาไปด้วย เมื่อจบพระธรรมเทศนาลง อำมาตย์และบริวารได้บรรลุพระอรหัตผลด้วยกันทั้งหมดแล้วกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์ประทานด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
    เมื่อุปสมบทแล้ว ทั้งอำมาตย์และบริวารก็สงบเสงี่ยมอยู่ตามสมณวิสัยจึงมิได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดา ตามภารกิจที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบหมายมา
    ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนะ คอยสดับข่าวอยู่ด้วยความกระวนกระวายพระทัย เมื่อข่าวเงียบหายไป อีกทั้งอำมาตย์ก็มิได้กลับมากราบทูลให้ทรงทราบและพระบรมศาสดาก็มิได้เสด็จมา จึงส่งอำมาตย์พร้อมด้วยบริวารอีกเท่าเดิมชุดใหม่ให้ไปกราบทูลอาราธนา แต่อำมาตย์นี้เมื่อไปถึงได้ฟังพระธรรมเทศนาได้บรรลุพระอรหัตผลทั้งหมด กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทเหมือนคณะแรกซึ่งเป็นธรรดาว่า
    พระอริยเจ้าทั้งหลายตั้งแต่ได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ย่อมสังวรสำรวมอยู่ในอริยภูมิ จึงมิได้กราบทูลข่าวสารของพระพุทธบิดาทำให้พระเจ้าสุทโธทนะต้องส่งอำมาตย์ไปโดยทำนองนี้ถึง ๙ ครั้ง ในที่สุด ทรงพิจารณาเห็นว่า กาฬุทายีอำมาตย์ คงจะช่วยให้สำเร็จสมพระประสงค์ได้เพราะเป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่ เป็นพระสหายเล่นฝุ่นทรายมาด้วยกันเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ เป็นที่สนิทสนมแห่งพระบรมศาสดา จึงส่งไปพร้อมด้วยบริวารจำนวนเท่าเดิม
    กาฬุทายีอำมาตย์ รับสนองพระราชโองการว่า จะพยายามกราบทูลสมเด็จพระบรมศาสดา ให้เสด็จมาสู่พระนครกบิลพัสดุ์ให้สมพระราชประสงค์ให้จงได้ และได้กราบทูลเพื่อขอบรรพชาอุปสมบทในพุทธศาสนา ในโอกาสนี้ด้วย เมื่อได้รับอนุญาติแล้วจึงออกเดินทางพร้อมด้วยบริวาร ถึงกรุงราชคฤห์แล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ พระเวฬวันมหาวิหาร พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ประทานอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนาด้วยกันทั้งสิ้น [​IMG]
    เมื่อ พระกาฬุทายี บวชแล้วได้ ๘ วัน ก็สิ้นเหมันตฤดู ย่างเข้าสู่ฤดูคิมหันต์ ถึงวันเพ็ญเดือน ๔ พอดี ท่านคิดว่า....
    “พรุ้งนี้ ก็ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน บรรดากสิกรชาวนาทั้งหลาย ก็จะเกี่ยวข้าวกันแล้วเสร็จ หนทางที่จะเสด็จสู่กรงกบิลพัสดุ์ก็จะสดวกสบาย ดอกไม้นานาพรรณก็เกลื่อนกล่นพื้นพสุธา พฤกษาชาติใหญ่น้อยที่ขึ้นอยู่ริมทาง ก็ให้ร่มเงาเย็นสบายนับว่าเป็นเวลาอันสมควรที่พระบรมศาสดาจะเสด็จไปสู่กรงกบัลพัสดุ์ เพื่อสงเคราะห์พระประยูรญาติในบัดนี้”
    พระกาฬุทายี จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับกราบทูลสรรเสริญหนทางเสด็จว่า..
    “ พระพุทธเจ้าข้า หนทางไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์บุรี เป็นวิถีทางสดวกสบายตลอดสาย ยามเมื่อแสงแดดแผดกล้า ก็มีร่มไม้ได้พักอาศัยเป็นที่หลบร้อนตลอดระยะทาง ๖๐ โยชน์ หากพระองค์จะทรงบำเพ็ญปรหิตประโยชน์เสด็จโปรดพระประยูรญาติยังกรุงกบิลพัสดุ์นคร ก็จะเป็นที่สำราญพระวรกาย ไม่ต้องรีบร้อนแม้แต่พระสาวกที่ติดตามก็จะไม่ลำบากด้วยน้ำและกระยาหาร ด้วยตามระยะทางมีโคจรความเป็นภิกขาจารตลอดสาย”
    อนึ่ง พระพุทธบิดา ก็มีพระทัยมุ่งหมายใคร่จะได้ทอดพระเนตรพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทั้งปวง หากพระองค์จะทรงพระกรุณาเสด็จไปโปรดให้สมมโนรถของพระชนกนาถ ตลอดพระประยูรญาติศากยวงศ์ และประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงที่กบิลพัสดุ์บุรี ก็จะเป็นเกียรติเป็นศรีแก่พระพุทธศาสนานำมาซึ่งคุณประโยชน์สุขแก่ปวงมหาชน เพื่อทรงโปรดพระชนกนาถ และพระประยูรญาติให้ปีติยินดี ในคราวครั้งนี้เถิด” สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงสดับสุนทรกถาที่พระกาฬุทายีกราบทูลพรรณารวม ๖๔ คาถา ก็ทรงอนุโมทนาสาธุการทรงรับอาราธนาตามคำกราบทูลของท่านแล้ว ตรัสสั่งให้ท่านแจ้งข่าวแก่พระสงฆ์สาวกทั้งหลาย ให้ตระเตรียมการเดินทางไกล ณ กาลบัดนี้
    <HR><CENTER>แจ้งข่าวพระบรมศาสดาเสด็จ </CENTER>[​IMG]
    พระกาฬุทายีเถระ แจ้งข่าวให้พระสงฆ์ทั้งปวงทราบ ตามพระบัญชา บรรดาพระสงฆ์เหล่านั้น ก็พากันตระเตรียมบาตร จีวร และบริขารอื่น ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วกราบทูลให้ทรงหราบ สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จพุทธดำเนินพร้อมด้วยพระสงฆ์ ๒๐,๐๐๐ รูป เป็นบริวาร เสด็จจากกรุงราชคฤห์สู่กรุงกบิลพัสดุ์โดยมิได้รีบร้อน เดินทางได้วันละโยชน์ ( ๑๖ กม.) เป็นเวลา ๖๐ วันพอดีส่วน พระกาฬุทายีเถระ คิดว่า “ เราควรจะไปแจ้งข่าวให้สมเด็จพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบการเสด็จมาของพระบรมศาสดา” จึงล่วงหน้ามาแจ้งข่าวเป็นระยะ ๆ ทุก ๆ วัน
    พระกาฬุทายี ได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการทำให้พวกเจ้าศากยะเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยที่เมื่อบวชแล้วหลงจากทูลนิมนต์ให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่เมืองกบัลพัสดุ์ได้แล้วก็เหาะล่วงหน้ามายังเมืองกบัลพัสดุ์เพื่อแจ้งข่าวให้พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบก่อน พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นท่านอยู่ในอากาศจำไม่ได้จึงตรัสถาม
    “ ท่านเป็นใคร มาจากไหน”
    “ ขอถวายพระพร มหาบพิตร” พระกาฬุทายี ถวายพระพร “ อาตมาเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า พระบิดาของอาตมาไม่มีใครชนะได้ ทรงมีพระรัศมี ๖ ประการแผ่ซ่านออกจากพระวรกาย ทรงหาใครเปรียบมิได้ มหาบพิตร พระองค์เองนั่นแหละเป็นพระบิดาของอาตมา ฉะนั้นเมื่อว่าโดยศักดิ์แล้ว พระองค์จึงเป็นพระอัยกา ( พระเจ้าปู่ ) ของอาตมา และอาตมาก็คือ พระนัดดา ( หลาน ) ของพระองค์”
    คำถวายพระพรเป็นนัย ๆ ของพระกาฬุทายีทำให้พระเจ้าสุทโธทนะจำได้ พระองค์ทรงดีพระทัยเป็นอย่างยิ่งที่อดีตราชทูตของพระองค์รักษาสัญญา โดยได้กลับมาแจ้งข่าวที่พระองค์ทรงประสงค์ให้ทรงทราบจึงตรัสนิมนต์ให้ลงมานั่งบนตั่งในพระราชวัง จากนั้นทรงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดภัตตาหารมาให้บาตร พระกาฬุทายีครั้นรับประเคนภัตตาหารนั้นก็แสดงท่าจะทูลลา
    พระเจ้าสุทโธทนะทรงเห็นพระกาฬุทายีแสดงอาการดังนั้น ก็ทรงทราบได้ทันทีว่าพระเถระจะไปฉันภัตตาหารที่อื่นจึงตรัสถามถึงที่ที่จะไป
    “ขอถวายพระพร มหาบพิตร อาตมาประสงค์จะไปฉันภัตตาหารในสำนักของพระพุทธเจ้า”
    “พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน พระคุณเจ้า” พระเจ้าสุทโธทนะ ตรัสถาม
    “ ขอถวายพระพร มหาบพิตร ขณะนี้พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จพุทธดำเนินมาตามเส้นทางจากแคว้นมคธสู่เมืองกบิลพัสดุ์เพื่อทรงเยี่ยมมหาบพิตร”
    ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อทรงทราบว่าพระกาฬุทายีจะนำภัตตาหารไปถวายพระพุทธเจ้า จึงตรัสบอกให้ท่านฉันภัตตาหารนั้นก่อน พระกาฬุทายีทำตามพระราชประสงค์ จากนั้นพระเจ้าสุทโธทนะได้รับสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดภัตตาหารอีกชุดหนึ่งให้พระกาฬุทายีนำไปถวายพระพุทธเจ้า
    “ตราบใดที่พระลูกเจ้าของโยมยังเสด็จมาไม่ถึง ขอพระคุณเจ้าจงนำอาหารจากพระราชวังนี้ไปถวายได้ทุกวัน”
    พระเจ้าสุทโธทนะตรัสปวารณา ฝ่ายพระกาฬุทายีหลังจากฉันภัตตาหารแล้วก็แสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะและบรรดาข้าราชบริพาร คำสอนของท่านส่งผลให้พระเจ้าสุทโธทนะและบรรดาข้าราชบริพารเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ก่อนที่จะได้เห็นพระพุทธเจ้า
    พระกาฬุทายียังได้แสดงปาฏิหาริย์อีกส่วนหนึ่งโดยตั้งจิตอธิษฐารให้บาตรที่มีอาหารเต็มอยู่นั้นลอยขึ้นไปในอากาศแล้วท่านก็เหาะตามขึ้นไปรับบาตรนั้นแล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้า พระกาฬุทายีนำอาหารไปถวายพระพุทธเจ้าด้วยวิธีนี้ทุกวัน พระเจ้าสุทโธทนะพร้อมด้วยข้าราชบริพารเห็นเหตุการณ์นี้ตลอด จึงยิ่งเพิ่มความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยมากยิ่งขึ้น และพระพุทธเจ้าก็ทรงเสวยพระกระยาหารที่พระกาฬุทายีนำมาถวายจากเมืองกบิลพัสดุ์ทุกวัน จนกระทั้งเสด็จพุทธดำเนินถึงซึ่งกินเวลา ๖๐ วันพอดี ณ เมืองกบิลพัสดุ์นั้นเอง ฝ่ายพระประยูรญาติ ทั้งฝ่ายศากยะและฝ่ายโกลิยะ ได้ทราบข่าวว่าพระพพุทธองค์กำลังเสด็จมาสู่พระนครกบิลพัสดุ์ ก็ปีติโสมนัสเบิกบานอย่างยิ่งและได้ประชุมปรึกษาหารือตกลงเห็นพ้องต้องกันว่า อุทยานของพระนิโครธศากราชกุมารนั้น เป็นรมณียสถานสมควรเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาจึงร่วมกันสร้างพระคันธกุฏี และเสนาสนะที่พักสำหรับภิกษุสงฆ์ลงในที่นั้นถวายเป็นพระอารามในพระพุทธศาสนาชื่อว่า “ นิโครธาราม”
    ๑. พระพุทธเจ้าทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ โดยครั้งแรกแสดงยมกปฏิหาริย์ เพื่อเป็นการปราบทิฐิมานะของพระประยูรญาติผู้ใหญ่ที่ยังกระด้างกระเดือง ด้วยเห็นว่าพระองค์เป็นลูกหลานซึ่งยิ่งใหญ่ไปกว่าตนนั้นไม่ได้ ต่อมาทรงแสดงขณะที่พระประยูรญาติเสด็จมาชุมนุมต้อนรับพระองค์และพระสาวกอยู่ที่วัดนิโครธาราม [​IMG]
    กล่าวถึงฝนโบกขรพรรษ ตามรูปศัพย์ชวนให้สันนิษฐานว่า ฝนที่ตกลงมาเหมือนน้ำบนใบบัว คือ ไม่เปียกผู้ไม่ประสงค์จะให่เปียก เหมือนใบบัวไม่มีน้ำเปียกติดอยู่ ท่านพรรณาลักษณะไว้ ๔ ประการ คือ
    ๑. มีสีแดงดังเท้านกพิราบ
    ๒. เปียกเฉพาะผู้ที่ต้องการให้เปียก
    ๓. เม็ดฝนนี้ไม่ติดกาย เมื่อถูกกายแล้วก็หลนลงพื้นดิน
    ๔. ไม่เจิ่งนองอยู่บนพื้นดิน เมื่อตกลงมาแล้วก็ซึมหายไปในแผ่นดินทันที [​IMG]
    ๒. พระพุทธเจ้าทรงแสดงมหาเวสสันดรชาดก โดยแสดงหลังจากทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกแล้ว เพราะฝนโบกขรพรรษมีหยาดนำเย็นซึ่งทำให้พระประยูรญาติต่างชุ่มชื่น พระทัยเพื่อเป็นการสนับสนุนความรู้สึกของพระประยูรญาติ พระองค์ทรงแสดงเวสสันดรชาดกขึ้นตามลำดับและจบด้วยยกเหตุการณ์ตอนที่กษัตริย์ ๖ พระองค์ ได้กลับมาพบกันเมื่อครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรมาตรัสเล่า ซึ่งกษัตริย์ ๖ พระองค์นั้น คือ พระเวสสันดร พระนางมัทรี พระกุมารกัณหา พระกุมารีชาลี พระราชบิดา พระราชมารดา ซึ่งได้พลัดพรากจากกันแล้วได้กลับมาพบกันอีก ทุกพระองค์ทรงดีพระทัยมากจนถึงวิสัญญีภาพ ( สลบ ) ทรงฟื้นรู้สึกพระองค์ต่อเมื่อได้มีฝนขรพรรษตกลงมาต้องพระวรกาย
    ๓. พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุอนาคามิผล โดยหลังจากทรงแสดงเวสสัยดรชาดกโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติแล้ว รุ่งขึ้นเช้า พระพุทธเจ้าก็เสด็จออกบิณฑบาตไปตามถนนในเมืองกบัลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบจึงรีบเสด็จไปห้ามโดยอ้างว่าไม่ใช่ประเพณี ไม่ใช่วัตรปฏิบัติของบรรดาเจ้าศากยะที่ต้องออกมาขอเขากิน แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ใช่ประเพณีของบรรดาเจ้าศากยะก็จริง แต่ว่าเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าที่ต้องออกบิณฑบาต จากนั้นได้ตรัสธรรมโปรดพระพุทธบิดาว่า [​IMG]
    ภิกษุไม่พึงประมาทในการลุกขึ้นรับอาหารที่ประตูบ้าน
    พึงประพฤติหน้าที่ ( ธรรม) ให้สุจริต ไม่พึงประพฤติหน้าที่ให้ทุจริต
    เพราะผู้ที่ประพฤติหน้าที่ได้สุจริตเป็นปรกติ
    ย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
    พระเจ้าสุทโธทนะทรงตั้งพระทัยสดับพระพุทธเจ้าแสดงนั้น ทรงพิจารณาตามอย่างพินิจพิเคราะห์จนเกิดความรู้แจ้ง ละความถือพระองค์ลงได้บรรลุโสดาปัตติผล บัดนี้ พระองค์ทรงหมดความสงสสัยในพระรัตนตรัยตรงกันข้ามกลับทรงเชื่อมั่นว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ประเสริฐจริง ควรแก่สักการะ จึงทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสาวกให้รับภัตตาหารในพระราชวังในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันนี้ ๒ ที่ได้เสด็จมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์
    วันที่ ๒ นั้นเอง เมื่อเสวยพระกระยาหารแล้ว พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดอีก จากการที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ( พระน้านาง) ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล ส่วนพระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุสกทาคามิผล วันที่ ๔ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมปาลชาดกโปรดอีก พระเจ้าสุทโธทนะทรงสดับพระธรรมเทศนาดกัณฑ์นี้ก็ได้บรรลุอนาคามิผล และการบรรลุอนาคามิผลนี้ได้เป็นปัจจัยให้พระองค์ได้บรรลุอรหัตผลคราวจะสวรรคตในเวลาต่อมา [​IMG]
    ๔. พระนางโสธราทรงบรรลุโสดาปัตติผล ในวันที่ ๔ อันเป็นวันเดียวกับที่ทรงโปรดพุทธบิดาให้ได้บรรลุอนาคามิผลนั้น พระพุทะเจ้าทรงโปรดพระนางโสธราให้ได้บรรลุโสดาปัตติผลด้วย โดยเสด็จไปยังปราสาทของพระนาง แล้วตรัสจันทกินนรชาดกให้ได้สดับจนพระนางคลายความเศร้าโศกจากการที่ถูกทอดทิ้ง และเกิดความเข้าพระทัยว่าความพลัดพรากจากกันเป็นของธรรมดา พระนางเข้าพระทัยได้ดังนี้ จึงได้บรรลุโสดาปัตติผล
    ๕ . วันที่ ๕ พระพุทธเจ้าเสด็จไปงานอภิเษกสมรสของเจ้าชายนันทะกับเจ้าหญิงแห่งชนบทกัลยาณีและทรงนำเจ้าชายนันทะออกบนวช [​IMG]
    ๖. วันที่ ๗ ทรงให้พระสารีบุตรบวชให้เจ้าชายราหุล [​IMG]
    ๗. ขณะที่ประทับอยู่ที่นิโครธารามนั้น พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เจ้าชายศากยะพระองค์อื่นซึ่งสันนิษฐานได้ว่าพระเมฆิยะกับพระนาคิตะน่าจะบวชในครั้งนั้น รวมทั้งพระมหาอุทายีซึ่งเป็นคนวรรณะพราหมณ์ด้วย เหตุการณ์ทั้งหมดดังว่ามานี้ นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงของพระพุทธเจ้า ซึ่งวิเคราะห์ต่อไปแล้วจะเห็นว่าพระสาวกที่มีบทบาทสำคัญช่วยให้ความสำเร็จครั้งนี้เกิดขึ้นได้ก้คือ พระกาฬุทายีเถระนั้นเอง พระพุทธองค์จึงทรงตั้งท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในฝ่าย ผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส ท่านพระกาฬุทายีเถระ ดำรงอายุสังขารช่วยกิจการพระพุทธศาสนา พอสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน...

    <TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left width="34%" height=149>ที่มา...http://www.larnbuddhism.com/atatakka/pratera/</TD></TR></TBODY>

    </TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...