หมดแล้ว ***..."พระกริ่งไจยะเบงจรหลวง ๑๒ นักษัตร"...***

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย สายครูบา, 15 มกราคม 2009.

  1. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    [​IMG]


    เปิดตำนาน เชยยเบงชรสูตร (ไจยะเบงจร) ผ่านมากว่า 4 ศตวรรษ

    รวมมหาบารมีพระมหาธาตุเจดีย์ประจำปีเกิด 12 นักษัตร

    บุญญาบารมีพระครูบาหลวงเจ้าศรีวิไชยาชนะ ภิกขุ



    ที่ระลึก เจริญอายุวัฒนา 93 วัสสา

    หลวงปู่ครูบาคำแสง อธิจิตโต วัดพระธาตุสันขวาง จ.เชียงราย



    นวะวัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง...

    1. ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
    2. เพื่อเป็นอุเทสิกเจดีย์ สืบอายุพระศาสนาตามพุทธทำนาย ตราบถึง 5000 พระวัสสา
    3. เป็นการสืบทอด เปิดตำนานมหาพระปริตอันดับหนึ่งแห่งสยามประเทศ ที่มีต้นเค้าอยู่ ณ แดนล้านนา ในนาม "สูตรเชยยเบงชร" (ไจยะเบงจร) หรือรู้จักกันในนาม "พระคาถาชินบัญชร"
    4. เพื่อเป็นสิ่งสักการะบูชาแทนองค์พระธาตุประจำปีเกิด 12 นักษัตร
    5. เป็นเครื่องคุ้มครอง คุ้มภัย รักษาโรคาพยาธิทั้งหลาย แก่ผู้บูชา
    6. ถวายบุญกุศลแด่ พระครูบาหลวงเจ้าศรีวิไชยาชนะ ภิกขุ เป็นเค้า และครูบาอาจารย์ผู้ล่วงลับดับขันธ์
    7. สร้างถวาย หลวงปู่ครูบาคำแสง อธิจิตโต วัดพระธาตุสันขวาง จ.เชียงราย เพื่อสาธารณประโยชน์แก่วัด
    8. เป็นอนุสรณ์ที่ระลึก 93 วัสสา หลวงปู่ครูบาคำแสง อธิจิตโต
    9. เพื่อสาธารณะประโยชน์ต่อไปภายหน้าในอนาคตกาล


    ปฐมมูลเหตุแห่งการสร้าง...

    - สืบเนื่องจากกระทู้ ล็อกเก็ตครูบาเจ้าศรีวิไชย สิริวิชโย ที่จัดสร้างออกให้บูชา นำรายได้ส่วนหนึ่งถวายเพื่อบูรณะศาสนวัตถุ ศาสนสถาน ในวัดพระธาตุสันขวาง และเมื่อครั้งนำล็อกเก็ตขึ้นไปขอเมตตาหลวงปู่ครูบาคำแสง ท่านอธิฐานจิตให้นั้น ได้มีโอกาสคุยกับพระที่ดูแลวัด และอุปฐากหลวงปู่ ท่านมีโครงการที่จะสร้างพระกริ่งพระเจ้าทันใจ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของวัด แต่ก็ยังมิได้สร้างเพราะติดขัดเรื่องปัจจัย กอรปกับทางวัดก็ได้มีการบูรณะอยู่หลายจุด ผมจึงคุยๆเปรยๆกับพี่บอยSpecialized<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1688617", true); </SCRIPT> ไว้ว่า สร้างพระกริ่งถวายหลวงปู่สักรุ่นดีไหม เพราะส่วนตัวผมก็อยากสร้างพระกริ่งมานานแล้ว และช่วงนั้นยังเป็นช่วงที่ คุณวุฒิพงษ์ woottipon<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1422138", true); </SCRIPT> กำลังดำเนินการสร้างพระกริ่งสิกขีทศพล 1 จึงได้ขอคำปรึกษาและชี้แนะ และวานขอให้ช่วยเรื่องการดำเนินการติดต่อโรงหล่อพระให้ ซึ่งพี่เค้าก็ยินดีจัดการให้



    แล้วทำไมต้องเป็น พระกริ่งไจยะเบงจรหลวง 12 นักษัตร ???

    - เมื่อครั้งเรียนอยู่ชั้น ม.ต้น (ตอนนี้จะจบ ม.ปลายแล้ว แฮะๆ) ทุกวันพฤหัสตอนก่อนเลิกครูประจำชั้นจะนำคาถาหนึ่งมาให้นักเรียนได้ท่องสวดกัน ทั้งคำบาลีและคำแปล ตอนนั้นก็ไม่คิดอะไร ครูให้ท่องก็ท่อง ยังแอบบ่นครูอยู่ด้วยซ้ำ ตอนนั้นจดจำในสมองได้แค่ว่า ชื่อคาถาชินบัญชร ของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
    - จนเมื่อในปีกว่าที่ผ่านมา ได้อ่านประวัติ ครูบาหม่อนอิน อินฺโท และได้พบประวัติและการสร้างวัตถุมงคลออกมาชุดหนึ่ง ชื่อ ไจยะเบงชร จึงอ่านและสืบค้นดูถึงประวัติเค้ามูลแห่ง ไจยะเบงชร แท้จริงแล้วก็คือ พระคาถาชินบัญชรนั่นเอง แต่!!! ทำไมชินบัญชรมาโผล่ถึงเมืองเหนือ และมีมาเป็นเวลานานแล้ว แต่บทคาถาของไจยะเบงจร และ ชินบัญชร ก็มิได้เหมือนกันทุกกระเบียดนิ้ว มีหลายคำ หลายวรรคที่ต่างกัน การออกเสียงในการอ่านนั้นก็แตกต่างกัน และในทางเหนือ ไจยะเบงจร ถือว่าเป็นคาถาที่เป็นที่นิยม โดยมีการนำคาถาบางบท หรือ หัวใจคาถาไจยะเบงจร มาเขียนเป็นอักขระเลขยันต์ ที่เรียกว่าตัวเมือง ใช้วิธีวางกลบท กลวิธีในการลงอักขระที่เรียกว่า ม้าเต้น ทำให้พระยันต์ไจยะเบงจรนั้น มีความพิลึกพิศดาร และเต็มไปด้วยพลังพุทธคุณอย่างสุดวิเศษ กอรปกับลองสังเกตุเมื่อครั้งได้ฟังบทสวดต่างๆของล้านนา พบคาถาหนึ่ง ที่คล้ายคลึงกับชินบัญชรมาก ไม่ว่าจะเป็นการสืบชะตาแบบล้านนา การสวดมนต์ตั๋น พิธีพุทธาภิเษก และพิธีสำคัญๆอีกมากมาย เอ๊ะ!!! แล้วทำไม คณาจารย์ผู้มีอายุวัสสาตนเฒ่าตนแก่ ล้วนสวดคาถานี้ได้ ชักเริ่มให้ความสนใจกับคาถานี้มากขึ้น จึงลองสืบค้นดู พบว่า คาถาไจยะเบงจร แบบเมืองเหนือนี้ ก็คือ ชินบัญชร ของสมเด็จโต นั่นเอง และมาอึ้งอีกว่า แท้แล้ว คาถานี้เกิดขึ้นครั้งแรกในแดนสุวรรณภูมินี้ ณ เวียงพิงค์เชียงใหม่นี่เอง (จะกล่าวประวัติ ไจยะเบงจรในหัวข้อต่อไป)

    - แล้ว 12 นักษัตรล่ะ มาได้อย่างไร ??? เมื่อครั้งสร้างพระรอด ตานะปาระมี นั้นได้ออกเก็บรวบรวมมวลสารมากมาย และได้ไปยังพระธาตุเจดีย์สำคัญๆของล้านนา จึงมีโอกาสที่ได้มวลสารจากพระธาตุประจำปีเกิดมาส่วนหนึ่ง และเวลาต่อมาปีกว่าๆ ก็ได้รวบรวมจนครบ 12 พระมหาพระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิด ซึ่งความเชื่อเรื่องการไหว้ของพระธาตุประจำปีเกิดนี้ได้แพร่หลายในล้านนามานานแล้ว และในขณะนี้คติความเชื่อนี้ ได้แพร่หลายไปทั่วประเทศแล้ว (ประวัติความเป็นมาแบบเจาะลึก จะมาขยายให้ฟังแบบถึงบางอ้อ)
    - กอรปกับบุญใด กุศลใด ก็ไม่ทราบ ได้รับชนวนมวลสาร ที่มีส่วนผสมของ "แผ่นทองจังโก๋นักษัตร" ซึ่งเป็นแผ่นทองที่หุ้มพระธาตุตามล้านนา และแผ่นทองจังโก๋ที่ว่านี้ เป็นของ พระครูบาเจ้าศรีวิไชยาชนะ ซึ่งถือว่าหายาก และเป็นบุญอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นมวลสาร และยังมีชนวนที่ผสมแผ่นทองจังโก๋หุ้มพระธาตุประจำปีเกิดองค์จริงบางองค์ และพระธาตุสำคัญๆของภาคเหนือ


    พระกริ่งครั้งนี้จึงได้ชื่อว่า " ไจยะเบงจรหลวง 12 นักษัตร "


    [​IMG]

    หลวงปู่ครูบาคำแสง อธิจิตโต วัดพระธาตุสันขวาง จ.เชียงราย
    อนุญาตในการจัดสร้างพระกริ่งไจยะเบงจรหลวง 12 นักษัตร
    ถวายไว้ ณ วัดพระธาตุสันขวาง




    ชนวนมวลสารสำคัญ...

    ชนวนศักดิ์สิทธิ์
    - ชนวน สมเด็จองค์ปฐมฯ วัดท่าซุง
    - ชนวนพระกริ่งไจยะเบงชร ครูบาหม่อนอิน อินฺโท
    - ชนวนพระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ 2517 (คุณชินพร เมตตามอบให้)
    - ชนวนพระกริ่งเศรษฐีล้มลุก ครูบาหม่อนบุญปั๋น ธัมมปัญโญ
    - ชนวนพระกริ่งวัดสุทัศน์หลายรุ่น
    - ชนวนพระกริ่งรุ่นแรก 1 ไตรมาส หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุณฺญมากโร

    - ชนวนพระเจ้าแสนล้าน วัดเจดีย์หลวง
    - ชนวนหล่อพระเจ้าทันใจ วัดร้องขุ้ม
    - ชนวนพระเจ้ามหาธรรมมิกราช วัดพระบาทสี่รอย (คุณเนาว์ พุทธวงศ์เมตตามอบให้)
    - ชนวนพระเปิดโลกจักรพรรดิ หลวงตาม้า
    - ชนวนพระพุทธรูปปางห้ามญาติ
    - ชนวนพระจักรพรรดิ หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ โดยหลวงตาม้า
    - ชนวนพระเจ้าทันใจ วัดเจดีย์หลวง
    - ชนวนหล่อรูปเหมือน ครูบาหม่อนหน้อย ชัยวังโส วัดบ้านปง หล่อโดยพระอาจารย์เปลี่ยน
    - ชนวนรูปเหมือนครูบาเจ้าคำหล้า สังวโร
    - ทองยอดฉัตรพระธาตุวัดร้องขุ้ม
    - ฉัตรพระธาตุโบราณ ศิลปะพม่า เมืองเชียงใหม่
    - ทองจักโก๋นักษัตร ของครูบาเจ้าศรีวิไชย
    - ทองจังโก๋พระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่
    - ทองจังโก๋พระธาตุลำปางหลวง ลำปาง
    - ทองจังโก๋พระธาตุช่อแฮ แพร่
    - ทองจังโก๋พระธาตุแช่แห้ง น่าน
    - ทองจังโก๋พระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่
    - ทองจังโก๋พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน
    - ทองจังโก๋พระธาตุจอมทอง เชียงราย
    - ทองจังโก๋พระธาตุวัดเชียงยืน เชียงใหม่
    - เศษพระบูชาเนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อทองทิพย์ มากมาย
    - ชนวนดาบสรี๋กัญไชย

    พระยันต์บังคับ
    - พระยันต์ 108
    - นะ ปถมัง 14
    หมายเหตุ. พระยันต์บังคับ 108 นะปถมัง 14 เขียนตามตำหรับ สมเด็จสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ฯ แต่เปลี่ยนจากอักขระของ เป็น อัขระล้านนา ให้สมกับเป็นพระกริ่งสายเหนือ
    - พระยันต์ดวงประสูติพระพุทธเจ้า ล้อมด้วยยันต์พิชัยสงคราม
    - พระยันต์ดวงประตรัสรู้พระพุทธเจ้า ล้อมด้วยยันต์พิชัยสงคราม
    - พระยันต์ยอดไจยะเบงจร (หัวใจ)
    - พระยันต์ไจยะเบงจร
    - พระยันต์คาถาไจยะเบงจรเต็มสูตร
    - พระยันต์ฟ้าฟีก
    - พระยันต์อิติปิโส 8 ทิศ ครูบาเจ้าศรีวิไชย
    - พระยันต์ป๋ารมี 9 ชั้น เต็มบท ครูบาเจ้าศรีวิไชย
    - พระยันต์ลงดาบสรี๋กัญไชย ตำหรับครูบาขันแก้ว วันสันพระเจ้าแดง
    - พระยันต์เศรษฐีล้มลุก
    - พระยันต์พระอาการ 32 ตำหรับล้านนา (ทางเหนือถือว่าสำคัญมากในการหล่อพระพุทธรูป)
    - พระยันต์บังคับล้านนา สำหรับบรรจุส่วนต่างๆของพระพุทธรูป
    - พระยันต์คำไหว้ครูบาเจ้าศรีวิไชย
    - พระยันต์คำปรารถนา ครูบาเจ้าศรีวิไชย
    - หัวใจพาหุง
    - หัวใจพระบารมี
    ฯลฯ

    [​IMG]

    แผ่นจารพระยันต์
    - หลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม
    - หลวงปู่ครูบาอิน อินโท วัดทุ่งปุย
    - หลวงปู่ครูบาหน้อย ชัยวังโส วัดบ้านปง
    - หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ วัดร้องขุ้ม
    - หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี
    - หลวงปู่ครูบาอินตา ธนักขันโธ วัดวังทอง
    - หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน
    - หลวงปู่ครูบาจันทร์แก้ว คันธสีโล วัดศรีสว่าง(วัวลาย)
    - หลวงปู่ครูบาคำตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิน
    - หลวงปู่ครูบาเผือก ฐิตเมโธ วัดไชยสถาน
    - หลวงปู่ครูบาพรรณ วัดพระบาทห้วยต้ม
    - หลวงปู่ครูบาทอง สิริมังคโล วัดพระธาตุศรีจอมทอง
    - หลวงปู่บุญมา อนิญชิโต วัดสวนดอก
    - หลวงปู่ครูบากองคำ วัดดอนเปา
    - หลวงปู่ครูบามา วัดศิริชัยนิมิต
    - หลวงปู่ครูบาสิทธิ วัดปางต้นเดื่อ
    - หลวงปู่ครูบาแก้วมา วัดร่องดู่
    - หลวงปู่ครูบาคำ วัดธรรมชัย
    - หลวงปู่ครูบาอ่อน วัดสันต้นหวีด
    - หลวงปู่ครูบาคำปัน วัดพระธาตุม่อนเปี้ย
    - หลวงปู่ครูบาผดุง วัดป่าแพ่ง
    - หลวงปู่ครูบาบุญมา วัดช่างคำน้อย
    - หลวงปู่ครูบาคำปัน วัดนาแส่ง
    - หลวงปู่ครูมาสุข วัดป่าซางน้อย
    - หลวงปู่ครูบาข่าย วัดหมูเปิ้ง

    - พระครูบาพรชัย วรปัญโญ วัดพระธาตุหมอกมุงเมือง
    - หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ
    - หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุณญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่
    - หลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดป่าอรัญวิเวก
    - พระเทพมหาเจติยาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดลำพูน วัดพระธาตุหริภุญไชย
    - ครูบาจันทรังษี วัดกู่เต้า
    - ครูบาอินทร ปัญญาวัฒโน วัดสันป่ายางหลวง
    - พระมหาทองสุข สิริวิชโย วัดบวกครกหลวง
    - พระอาจารย์สิทธิพงศ์ วัดร้องขุ้ม
    - พระอาจารย์กฤษฎา คุตตธัมโม วัดศรีปันเงิน
    - เจ้าอาวาสวัดบ้านปาง
    - เจ้าอาวาสวัดพระบาทตากผ้า
    - เจ้าอาวาสวัดพระบาทผาหนาม
    ฯลฯ นี่เป็นแค่สายเหนือครับ ยังมีพระเกจิอีกหลายรูป


    ผงมวลสารสำคัญ บรรจุใต้ฐาน (มวลสารหลัก)

    - มวลสารพระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่ ปีชวด
    - มวลสารพระธาตุลำปางหลวง ลำปาง ปีฉลู
    - มวลสารพระธาตุช่อแฮ แพร่ ปีขาล
    - มวลสารพระธาตุแช่แห้ง น่าน ปีเถาะ
    - มวลสารวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ปีมะโรง
    - มวลสารพุทธคยา อินเดีย + วัดเจ็ดยอด เชียงใหม่ ปีมะเส็ง
    - มวลสารพระมหาเจดีย์ชเวดากอง พม่า ปีมะเมีย
    - มวลสารพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่ ปีมะแม
    - มวลสารพระธาตุพนม นครพนม ปีวอก
    - มวลสารพระธาตุหริภุญไชย ลำพูน ปีระกา
    - มวลสารพระธาตุอินทร์แขวน พม่า ปีจอ
    - มวลสารพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง เชียงราย ปีกุญ
    - พระธาตุ สัณฐาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด
    - พระธาตุทรายคำ
    - ผงพระธาตุ
    - ผงไจยะเบงชร ครูบาหม่อนอิน อินฺโท
    - ผง 9 อังคาร (ครูบาเจ้าศรีวิไชย สิริวิชโย , ครูบาพรหมจักร พรหมจักโก , ครูบาอิน อินโท , หลวงปู่สิม พุทธจาโร , ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ , ครูบาคำแสน อินทจักโก , ครูบาคำ ขันติโก , ครูบาอิ่นแก้ว อนิญชโน , ครูบาแก้ว วัดศรีบุญชูวังไฮ)
    - ผงบารมี 118 คณาจารย์ (อัฐิ พระธาตุ เกศา อังคาร จีวร ชานหมาก)
    - ว่าน 108 ของหลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่ออุตมะเสกต่อ
    - ผงบุษบกพระแก้วมรกต วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    - ผง 5 อังคาร ของหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    ...ยังมีต่ออีกมากมาย...






    ผู้ที่สนใจอยากจะร่วมบุญกัน สามารถลงชื่อจองไว้ในกระทู้ได้ หรือ ติดต่อที่


    E-mail / MSN. tonggy_1990@hotmail.com หรือ 084-1762111

    [​IMG]


    ร่วมทำบุญได้ที่ (ดังรูป) ค่าจัดส่ง EMS.ครั้งละ 50 บาทครับ หากใครโอนแล้ว ช่วยแจ้งรายละเอียดมาเพื่อทราบด้วย
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2014
  2. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    เนื้อพระที่จะจัดสร้าง และเปิดให้จองบูชา

    พระกริ่งไจยะเบงจรหลวง 12 นักษัตร
    (รุ่นแรกหลวงปู่ครูบาคำแสง สร้างน้อยมาก)



    1.พระกริ่งไจยะเบงจรหลวง 12 นักษัตร เนื้อนวะโหละ
    หล่อตามจำนวนสั่งจอง

    พิเศษ... บรรจุ
    - พระธาตุข้าวบิณฑ์
    - บรรจุเส้นเกศา ครูบาเจ้าศรีวิไชย สิริวิชโยภิกขุ ตนบุญล้านนา
    - ผงอังคารธาตุ ครูบาเจ้าศรีวิไชย สิริวิชโย
    - เกศา ครูบาอภิชัยขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม ลำพูน
    - เกศา ครูบาพรหมจักร พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
    - พระธาตุแปรจากอังคาร ครูบาพรหมจักร พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
    - เกศา ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
    - ชานหมาก ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
    - จีวร ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    - ก้านธูป(ตะกรุด)อธิฐานจิต ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    - ริบบิ้นอธิฐานจิต ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    - สายสิญจน์อธิฐานจิต ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    - อัฐิธาตุ ครูบาอิน อินโท วัดคันธาวาส(ทุ่งปุย) เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาอิน อินโท วัดคันธาวาส(ทุ่งปุย)
    - ผงอังคารธาตุ ครูบาอิน อินโท วัดคันธาวาส(ทุ่งปุย) เชียงใหม่
    - อัฐิธาตุ ครูบาอิ่นคำ อินทนันโท วัดข้าวแท่นหลวง เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาศรีนวล ญาณสิริ วัดเจริญเมือง เชียงราย
    - อัฐิธาตุ ครูบาคำ ขันติโก สุสานไตรลักษณ์ เชียงใหม่
    - พระธา ตุครูบาคำ ขันติโก สุสานไตรลักษณ์ เชียงใหม่
    - ผงอังคารธาตุ ครูบาคำ ขันติโก สุสานไตรลักษณ์ เชียงใหม่
    - ผงอังคารธาตุ ครูบาอิ่นแก้ว อนิญชโย วัดป่าแงะ เชียงใหม่
    - ผงอังคารธาตุ ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ วัดร้องขุ้ม เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาเผือก ฐิตเมโธ วัดไชยสถาน เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี เชียงใหม่
    - ชานหมาก ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาอินตา ธนักขันโธ วัดวังทอง ลำพูน
    - เกศา ครูบาคำตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู๋อิน เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาทอง สิริมังคโล วัดพระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาพรรณ พรหมเสโน วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
    - เกศา ครูบาจันทร์แก้ว คันธสีโล วัดศรีสว่าง เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาคำ ติสสวัณโณ วัดธรรมชัย เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาคำแสง อธิจิตโต วัดพระธาตุสันขวาง เชียงราย
    - พระธาตุ หลวงปู่ต่วน อินทปัญโญ วัดกล้วย อยุธยา
    - พระเกศา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    - พระจีวร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    - พระเกศา สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม
    - พระเกศา สมเด็จพระญาณวโรดม วัดเทพสิรินทราวาส
    - เกศา หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา
    - จีวร หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา
    - ข้าวก้นบาตร หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา
    - เกศา หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดเขาถ้ำบุญนาค นครสวรรค์
    - ผ้าครองสรีระ ครูบาอภิชัยขาวปี
    - ผ้าครองสรีระ ครูบาชัยวงศาพัฒนา
    - เกศา หลวงพ่ออุตมะ อุตตมรัมโภ วัดวังก์วิเวการาม ผู้เป็นหน่อพุทธางกูร หนึ่งในสิบอนาคตพุทธวงศ์เบื้องหน้า
    - จีวร หลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา
    - เกศา หลวงปู่แหวน สุจิณโน
    - เกศา หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    - ข้าวก้นบาตร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    - เกศา หลวงปุ่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    - เกศา หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท
    - เกศา พระพุทธวรญาณ วัดประยุรฯ
    - เกศา หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ
    - เกศา หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก
    - อังคารธาตุ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ
    - เกศา หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    - จีวร หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    - เกศา หลวงปู่มาก จันทธัมโม
    - เกศา สมเด็จพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโน)
    - เกศา ครูบาอาจารย์ทางภูเก็ต
    - อังคารธาตุ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    - จีวร หลวงปู่บุดดา ฐาวโร
    - พระธาตุชายหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ตามจำนวนสั่งจอง ทำบุญ 3,333 บาท

    มีของสมนาคุณสำหรับชุดเนื้อนวะโลหะเท่านั้น







    2.เนื้อหิรัญนคร (เนื้อเงินผสมชนวนมวลสาร) 24 องค์

    พิเศษ...
    - บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศพม่า
    - พระธาตุข้าวบิณฑ์
    - บรรจุเส้นเกศา ครูบาเจ้าศรีวิไชย สิริวิชโยภิกขุ ตนบุญล้านนา
    - ผงอังคารธาตุ ครูบาเจ้าศรีวิไชย สิริวิชโย
    - เกศา ครูบาอภิชัยขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม ลำพูน
    - เกศา ครูบาพรหมจักร พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
    - พระธาตุแปรจากอังคาร ครูบาพรหมจักร พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
    - เกศา ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
    - ชานหมาก ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
    - จีวร ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    - ก้านธูป(ตะกรุด)อธิฐานจิต ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    - ริบบิ้นอธิฐานจิต ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    - สายสิญจน์อธิฐานจิต ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    - อัฐิธาตุ ครูบาอิน อินโท วัดคันธาวาส(ทุ่งปุย) เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาอิน อินโท วัดคันธาวาส(ทุ่งปุย)
    - ผงอังคารธาตุ ครูบาอิน อินโท วัดคันธาวาส(ทุ่งปุย) เชียงใหม่
    - อัฐิธาตุ ครูบาอิ่นคำ อินทนันโท วัดข้าวแท่นหลวง เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาศรีนวล ญาณสิริ วัดเจริญเมือง เชียงราย
    - อัฐิธาตุ ครูบาคำ ขันติโก สุสานไตรลักษณ์ เชียงใหม่
    - พระธาตุ ครูบาคำ ขันติโก สุสานไตรลักษณ์ เชียงใหม่
    - ผงอังคารธาตุ ครูบาคำ ขันติโก สุสานไตรลักษณ์ เชียงใหม่
    - ผงอังคารธาตุ ครูบาอิ่นแก้ว อนิญชโย วัดป่าแงะ เชียงใหม่
    - ผงอังคารธาตุ ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ วัดร้องขุ้ม เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาเผือก ฐิตเมโธ วัดไชยสถาน เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี เชียงใหม่
    - ชานหมาก ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาอินตา ธนักขันโธ วัดวังทอง ลำพูน
    - เกศา ครูบาคำตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู๋อิน เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาทอง สิริมังคโล วัดพระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาพรรณ พรหมเสโน วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
    - เกศา ครูบาจันทร์แก้ว คันธสีโล วัดศรีสว่าง เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาคำ ติสสวัณโณ วัดธรรมชัย เชียงใหม่
    - เกศา ครูบาคำแสง อธิจิตโต วัดพระธาตุสันขวาง เชียงราย
    - พระธาตุ หลวงปู่ต่วน อินทปัญโญ วัดกล้วย อยุธยา
    - พระเกศา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    - พระจีวร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    - พระเกศา สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม
    - พระเกศา สมเด็จพระญาณวโรดม วัดเทพสิรินทราวาส
    - เกศา หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา
    - จีวร หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา
    - ข้าวก้นบาตร หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา
    - เกศา หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดเขาถ้ำบุญนาค นครสวรรค์
    - ผ้าครองสรีระ ครูบาอภิชัยขาวปี
    - ผ้าครองสรีระ ครูบาชัยวงศาพัฒนา






    เนื้อเงิน ร่วมทำบุญ 2,000 บาท





    3.เนื้อทองทิพย์สัมฤทธิ์ผล (เนื้อสัมฤทธิ์ผสมชนวนมวลสาร) 56 องค์

    พิเศษ...

    - บรรจุอัฐิธาตุ(กระดูก) หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท วัดคันธาวาส(ทุ่งปุย) เชียงใหม่
    - บรรจุเส้นเกศาธาตุ หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท วัดคันธาวาส(ทุ่งปุย) เชียงใหม่
    - บรรจุอังคารธาตุ หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท วัดคันธาวาส(ทุ่งปุย) เชียงใหม่
    - บรรจุชานหมาก หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท วัดคันธาวาส(ทุ่งปุย) เชียงใหม่
    - ผงไจยะเบงชร หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท วัดคันธาวาส(ทุ่งปุย) เชียงใหม่


    หมายเหตุ... เนื่องด้วยหลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท พระมหาเถรแห่งนครพิงค์เชียงใหม่ ท่านมีความชำนาญเป็นอย่างยิ่งใน ไจยะเบงจรสูตร อาจถือได้ว่าเปรียบประหนึ่งเป็นคาถาประจำองค์ท่าน จึงอัญเชิญนำอัฐิและอื่นๆของท่าน บรรจุในพระกริ่งเนื้อสัมฤทธิ์นี้
    บุญกุศลในการสร้างพระกริ่งเนื้อสัมฤทธิ์นี้ ขอถวายแด่ หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท มหาเถรอริยสังฆแห่งนครพิงค์เชียงใหม่ ด้วยความเคารพยิ่ง




    เนื้อสัมฤทธิ์ ร่วมทำบุญ 1,000 บาท





    4.เนื้อทองจังโก๋นักษัตร (เนื้อทองเหลืองผสมชนวนมวลสาร) 108 องค์

    พิเศษ...

    - บรรจุเส้นเกศาหลวงพ่ออุตมะ อุตตมรัมโภ วัดวังก์วิเวการาม ผู้เป็นหน่อพุทธางกูร หนึ่งในสิบอนาคตพุทธวงศ์เบื้องหน้า
    - บรรจุจีวรหลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา
    - เกศา หลวงปู่แหวน สุจิณโน
    - เกศา หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    - ข้าวก้นบาตร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    - เกศา หลวงปุ่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    - เกศา หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท
    - เกศา พระพุทธวรญาณ วัดประยุรฯ
    - เกศา หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ
    - เกศา หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก
    - อังคารธาตุ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ
    - เกศา หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    - จีวร หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    - เกศา หลวงปู่มาก จันทธัมโม
    - เกศาสมเด็จพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโน)
    - เกศาครูบาอาจารย์ทางภูเก็ต
    - อังคารธาตุ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    - จีวร หลวงปู่บุดดา ฐาวโร
    - พระธาตุชายหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    - เกศา หลวงปู่ครูบาคำแสง อธิจิตโต



    เนื้อทองจังโก๋ ร่วมทำบุญ 300 บาท

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2009
  3. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    เปิดตำนาน สุดยอดพระคาถา "ไจยะเบงจร"

    ตำนาน จาก เชยยเบงชรสูตร (ไจยะเบงจร)

    สู่ ชินบัญชร พระปริตรอันดับ 1 แห่งสยามประเทศ


    - คาถาชินบัญชร เป็นที่นับถือสวดกันแพร่หลายในเมืองไทย กล่าวกันว่า เป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้มีผู้นำมาพิมพ์เผยแพร่กันอย่างกว้างขวาง แต่ว่ามักจะแตกต่างกันไปมากบ้างน้อยบ้าง จนไม่อาจจะยุติได้ว่าของเดิมนั้นเป็นอย่างไร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ(เจริญ สุวฑฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงตรวจชำระแล้ว โปรดให้พิมพ์ขึ้นสำหรับแจกเป็นธรรมทานในการบำเพ็ญกุศลคล้ายวันประสูติในปีนั้น และได้ทรงนิพนธ์คำชี้แจงไว้ว่า

    - “คาถาชินบัญชรนี้ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ได้เคยนำมาขอให้แปลเพื่อพิม์ในหนังสือประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) ครั้งหนึ่งเมื่อนานปีมาแล้ว แต่ก็ยังสงสัยในถ้อยคำและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้ ทั้งเมื่อได้พบหลายฉบับจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคำที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกเป็นอย่างไร ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เรียบเรียงขึ้นเอง หรือได้ต้นฉบับมาจากไหน
    เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีผู้นำหนังสือมาให้เล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดเล็ก พิมพ์ในประเทศศรีลังกา ชื่อหนังสือ The Mirror of Dhamma (กระจกธรรม) โดยท่านนารถมหาเถระและท่านกัสสปเถระ ฉบับที่ได้มานี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ (ของลังกา ตรงกับ พ.ศ.๒๕๐๓ ของไทย) ค.ศ.๑๙๖๑ เป็นแบบหนังสือคู่มือธรรมที่ใช้สวดและปฏิบัติเป็นประจำได้ เริ่มตั้งแต่ นโม พุทธํ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ คำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบูชา คำสมาธิภาวนาต่างๆ บทสวดมี พาหุ ชินบัญชร มงคลสูตร รตนสูตร เป็นต้น ตัวบาลีพิมพ์ด้วยอักษรสีหลและอักษรโรมัน มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ ​

    - เมื่อได้อ่านชินบัญชรในหนังสือนี้แล้ว ก็ได้พบคำและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ซึ่งจับความได้หายความข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องการทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดจะปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตรฉบับลังกาเฉพาะที่เห็นว่าควรจะปรับปรุงด้วย ทั้ง ๒ ฉบับนี้ เมื่อเทียบกันแล้ว ก็รู้สึกว่า ต้นฉบับเดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่ ฉบับลังกามี ๒๒ บท ส่วนฉบับที่สวดกันในเมืองไทย มี ๑๔ บท ก็คือ ๑๔ บทข้างต้นของฉบับลังกานั่นเอง เพราะความเดียวกัน ถ้อยคำก็เป็นอันเดียวกันโดยมาก ส่วนคำอธิษฐานท้ายบทที่ ๑๔ ของฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ย่อตัดมาอย่างรวบรัดดีมาก คาถาบทที่ ๙ ของฉบับไทย บรรทัดที่ ๒ น่าจะเกินไป แต่จะคงไว้ก็ได้ ส่วนคาถาบทที่ ๑๒ และ ๑๓ สับบรรทัดกัน เมื่อแก้ใหม่ตามฉบับที่ปรับปรุงแล้วนี้ จะถูกลำดับดี”​

    - คาถาชินบัญชรที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ได้ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ นั้น พิมพ์ทั้งฉบับลังกาและฉบับที่สวดกันในเมืองไทย พร้อมคำแปลของทั้ง ๒ ฉบับ จึงนับว่าเป็นการให้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับความเป็นมาของคาถาชินบัญชร อันเป็นที่นับถือทั่วไปของคนไทย และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการนำเอาคาถาชินบัญชรฉบับลังกามาพิมพ์เผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเมืองไทย​

    - ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรทรงมีโอกาสได้พบปะสนทนากับพระธัมมานันทเถระ (ชาวพม่า) วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง ได้ทรงทราบจากพระธัมมานันทเถระว่า คาถาชินบัญชรนั้นในพม่าก็มี สมัยก่อนตามวัดต่างๆ ตั้งไว้เป็นหลักสูตรให้ศิษย์วัดท่องบ่นสาธยายสำหรับป้องกันภัยอันตรายและนิยมสวดกันทั่วไปในพม่า ตัวท่านเองก็สวดคาถาชินบัญชรนี้ได้คล่องมาตั้งแต่อายุ ๗-๘ ขวบ พระธัมมานันทเถระได้เล่าถึงความเป็นมาของคาถานี้ว่า

    - “ในสมัยตองอู พระเจ้าบุเรงนอง ผู้ครองกรุงหงสาวดี ได้ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสพระนามว่า อโนรธา มาเป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ ครั้งนั้นปรากฏว่า ประเพณีบูชาพระเคราะห์ทั้ง ๙ มนตร์ในลัทธิมนตรยานและเวทย์มนต์คาถาต่างๆ ในทางไสยศาสตร์ กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายอยู่ในเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าอโนรธาทรงพบเห็นการกระทำอันไม่สมควรกับพระพุทธศาสนาต่างๆ เหล่านี้ จึงทรงปรึกษากับพระเถระผู้ใหญ่ผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลาย เพื่อหาทางให้ประชาชนตั้งพระพุทธรูปไว้บูชาภายในบ้านเรือน แล้วให้ถือพุทธาภิเษกเป็นมงคลชนิดใหม่ แทนการเซ่นสรวงบูชาเทวดา เทวรูปต่างๆ พิธีพุทธาภิเษกจึงได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยนั้นเอง พิธีพุทธาภิเษกนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในพระพุทธศาสนา

    - นอกจากนี้พระเจ้าอโนรธายังโปรดให้ใส่พระนามพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์องค์พระอรหันต์ รวมทั้งสัมมาเทวดาพรหม ไว้ในคำสวดต่างๆ สำหรับให้ประชาชนได้สวดกัน ดังมีปรากฏมาจนบัดนี้ เช่น อุปปาตสนติกถา ชิตปญชรคาถา สิรสมี เม พุทเสฏโฐ ยํ ทุนนิมิ ตตํ เป็นต้น แล้วให้ท่องให้สวดแทนมนตร์ในลัทธิมนตรยาน อันมีว่า โอม... ออม... เป็นต้น”


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2009
  4. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130

    ตำนาน จาก เชยยเบงชรสูตร (ไจยะเบงจร)

    สู่ ชินบัญชร พระปริตรอันดับ 1 แห่งสยามประเทศ


    - จากเรื่องราวดังกล่าวมานี้จึงเชื่อได้ว่า ชินบัญชรคาถาได้เกิดขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ครั้งนั้น ภายหลังจึงได้แพร่หลายไปสู่ประเทศลังกาและพม่า เพราะฉะนั้นชินบัญชรคาถานี้ จึงนับได้ว่าเป็นมรดกที่เก่าแก่ล้ำค่าของประเทศไทยเลยทีเดียว สำหรับในฉบับลังกา มีคาถามากกว่าฉบับอื่นๆ เนื่องจากเพิ่มเติมเข้ามาภายหลัง ความจริงเครื่องคุ้มครองป้องกันนั้นสมบูรณ์อยู่แล้วด้วยคาถา ๑๔ คาถา และ ๑๔ คาถาดังกล่าวนี้ ในฉบับต่างๆ มีเหมือนกันทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ ฉบับที่มี ๑๔ คาถานั้นน่าจะเป็นมูลฉบับ (หลักฐานเกี่ยวกับคาถาชินบัญชรนี้มีปรากฏอยู่ในเรื่อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2009
  5. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    ตำนาน จาก เชยยเบงชรสูตร (ไจยะเบงจร)

    สู่ ชินบัญชร พระปริตรอันดับ 1 แห่งสยามประเทศ




    [​IMG]

    - มีท่านบางท่านกล่าวว่า ได้พบคาถาชินบัญชรอยู่ในหน้าแรกของคัมภีร์สังขยาปกาสกฎีกา ฉบับอักษรพม่าและอักษรขอม โดยเรียกคาถานี้ว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2009
  6. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    ตำนาน จาก เชยยเบงชรสูตร (ไจยะเบงจร)



    สู่ ชินบัญชร พระปริตรอันดับ 1 แห่งสยามประเทศ


    - เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๓๐ ได้มีการพบปะกันระหว่างผู้สนใจเกี่ยวกับเรื่องคาถาชินบัญชร และผู้รู้ทางล้านนาคดีตามดำริของสมเด็จพระญาณสังวร ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีศาสตราจารย์พูนพล อาสนจินดา เป็นประธานที่ประชุม และสมเด็จพระญาณสังวรได้เสนอเรื่องประวัติความเป็นมาของคาถาชินบัญชรให้ที่ประชุมพิจารณา ที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และจากการประชุมคราวนี้ เป็นเหตุให้ได้ความรู้เกี่ยวกับคาถาชินบัญชร ตามที่เชื่อถือกันอยู่ในทางเมืองเหนือเพิ่มขึ้นอีกหลายประการ จากท่านผู้รู้ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ของเมืองเหนือสรุปความได้ดังนี้

    - ๑. คาถานี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไปในหมู่ประชาชนทางเมืองเหนือมาแต่โบราณ ทั้งภิกษุสามเณรและชาวบ้านนิยมสวดกันทั่วไป และรู้จักกันในนามว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2009
  7. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    คณาจารย์ล้านนาองค์สำคัญๆ หลายองค์ ก็ท่องและใช้ ไจยะเบงจรคาถา

    ไจยะเบงจร ยอดคาถาแห่งเมืองเหนือ


    - พระคาถาชินบัญชรเมืองเหนือ หรือ สูตรไจยะเบงจร นี้ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่แค่คาถาที่ให้พระเณรท่องสวดกันปล่าวๆแล้ว คาถานี้ส่วนใหญ่จะพบในงานที่เป็นมงคล สร้างเสริมความเป็นมงคล สืบชะตาต่อชีวิต หรือแม้แต่ บวชพระเจ้า หรือ พิธีพุทธาภิเษก ก็ขาดคาถาบทนี้ไม่ได้

    - คาถาไจยะเบงจรนี้ไม่ธรรมดาขึ้นมาอีกเมื่อพบว่าพระคณาจารย์องค์สำคัฐๆของล้านนาต่างยกย่องและสวดคาถาบทนี้ ยกตัวอย่างอาทิเช่น


    [​IMG]

    - หลวงปู่หล้า ตาทิพย์ หรือ พระครูจันทสมานคุณ แห่งวัดป่าตึง เวียงพิงค์เชียงใหม่ เป็นอีกผู้หนึ่งที่ใช้พระคาถาไจยะเบงจรนี้ในการสืบชะตาหลวงล้านนา และยังเคยประกอบพิธีถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ล้นเกล้าฯของปวงชนชาวไทย



    [​IMG]

    - อีกองค์หนึ่งที่สำคัญยิ่งคือ ครูบาหม่อนอิน อินฺโท พระคาถาไจยะเบงจรนี้ ดูเหมือนจะเป็นคาถาหลักประจำตัวท่าน ท่านสวดได้คล่องแคล่ว ว่องไว ไม่ผิดเพี้ยนแม้ซักตัวเดียว และยังสามารถพลิกแพลงรวมกับคาถาบทสำคัญอื่นๆ ได้อย่างลงตัวและสุดเข้มขลัง และยังมีพระเครื่องชุดไจยะเบงชรของท่าน ที่ในปัจจุบันถือว่าหายากแล้ว และยังสุดเข้มขลังพร้อมด้วยประสบการณ์และปาฏิหารย์มากมาย



    [​IMG]

    - และที่อึ้งที่สุดคือ พระครูบาเจ้าศรีวิไชย สิริวิชโย ตนบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งแดนล้านนา ท่านก็สวดไจยะเบงจร โดยเรื่องนี้ทราบจากปาก หลวงพ่ออุตมะ มหาโพธิสัตว์แห่งสังขระบุรี เมื่อครั้งนั้นท่านได้ธุดงค์มาแถบภาคเหนือ และได้เข้าพบพระครูบาเจ้าฯ และได้ยินครูบาท่านสวดไจยะเบงจร หลวงพ่อจึงกราบเรียนถามว่า "พระเดชพระคุณท่านก็สวดชินบัญชรก้วยหรือ" ตนบุญแห่งล้านนาก็ได้ตอบไปว่า "อาจารย์ของอาจารย์เรา ก็เคยสวดชินบัญชรนี้มาแล้วนะ"




    จากตัวอย่าง 3 คณาจารย์องค์สำคัญยิ่งของล้านนานี้ ก็แสดงให้เห็นว่า พระคาถาไจยะเบงจรนี้ เป็นคาถาอันสำคัญยิ่ง เหมาะแล้วที่จะนำมาให้ปกป้องคุ้มภัยรักษาตัว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2009
  8. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    พระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิด 12 นักษัตร พุทธคติล้านนา

    พระธาตุเจดีย์ กับ 12 นักษัตร


    - ผู้คนในแถบล้านนา ล้านช้าง พม่า มีการนำสัตว์ต่างๆมาใช้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สัตว์ประจำทิศทั้ง8 สัตว์ประจำวันทั้ง7 และ สัญลักษณ์ประจำรอบนักษัตร หรือ ประจำปีทั้ง 12 ปี คนล้านนาเรียกว่า "ตัวเปิ้ง"

    - สำหรับคนล้านนาเชื่อว่าตัวเปิ้งเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาชีวิต และยังเชื่ออีกว่าตัวเปิ้งทั้ง 12 ตัวนั้น มีความเกี่ยวข้องกับคนที่เกิดในแต่ละปีด้วย โดยเชื่อว่าจะแยกกันกำกับอยู่ที่พระธาตุทั้ง 12 องค์ แล้วคอยเรียกให้วิญญาณของคนที่จะมาเกิดในปีนั้นมาพักที่พระธาตุก่อน เมื่อถึงเวลาดวงวิญญาณที่พำนักนั้นก็จะไปสถิตที่กระหม่อมพ่อ 7 วัน และจึงไปสู่ครรภ์ของแม่ต่อไป

    - จิตวิญญาณที่เคยพักที่พระธาตุองค์ใด เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วตัวเปิ้งเดิมจะมารับวิญญาณมาพักช่วงเวลาหนึ่ง ณ พระธาตุประจำปีเกิดของตน ก่อนจะไปสู่ภพภูมิที่บุญกรรมของตนกำหนดไว้ และในงานศพของเจ้านายฝ่ายเหนือ เจ้าผู้ครองนคร หรือ พระเถระองค์สำคัญๆ จะมีการสร้างตัวเปิ้งและพระธาตุองค์จำลอง นำหน้าขบวน ชักลากปราสาทศพไปสู่สุสาน และฌาปณกิจต่อไป

    - คนล้านนาเชื่อว่าการไหว้พระธาตุตามปีเกิด จะช่วยให้เกิดสิริมงคล อีกทั้งยังช่วยป้องกันอันตราย เสริมให้มีบุญมีอายุมั่นยืนยาว โดยต้องระลึกและไหว้พระธาตุทุกคืนหลังจากสวดมนต์ไหว้พระ และหากมีโอกาสควรเดินทางไปสักการะองค์จริงสักครั้งหนึ่งในชีวิต และแต่ก่อนจะมีงานบุญ "ประเพณีขึ้นพระธาตุ" ซึ่งประเพณีนี้ช่วยให้ผู้คนในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์อันดีแก่กัน และสร้างความสมานสามัคคีในหมู่คณะอีกด้วย

    ซึ่งความเชื่อเรื่องตัวเปิ้ง และ พระธาตุปีเกิดของล้านนา มีกำหนดไว้ดังนี้

    1. ปีไจ้ หรือ ชวด(หนู) ไหว้พระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่
    2. ปีเป้า หรือ ฉลู(วัว) ไหว้พระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง
    3. ปียี หรือ ขาล(เสือ) ไหว้พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่
    4. ปีเหม้า หรือ เถาะ(กระต่าย) ไหว้พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน
    5. ปีสี หรือ มะโรง(งูใหญ่) ไหว้พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่
    6. ปีไส้ หรือ มะเส็ง(งูเล็ก) ไหว้พระธาตุพุทธคยา หรือ วัดเจ็ดยอด จ.เชียงใหม่
    7. ปีสะง้า หรือ มะเมีย(ม้า) ไหว้พระธาตุชเวดากอง ประเทศพม่า
    8. ปีเม็ด หรือ มะแม(แพะ) ไหว้พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่
    9. ปีสัน หรือ วอก(ลิง) ไหว้พระธาตุพนม จ.นครพนม
    10. ปีเล้า หรือ ระกา(ไก่) ไหว้พระธาตุหริภุญไชย จ.ลำพูน
    11. ปีเส็ด หรือ จอ(หมา) ไหว้พระธาตุจุฬามณี หรือ พระธาตุอินทร์แขวน ประเทศพม่า
    12. ปีไก๊หรือ กุญ(ช้าง) ไหว้พระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2009
  9. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    ประวัติการไหว้พระธาตุปีเกิด ที่เกิดจากอุดมการณ์ทางการเมือง

    กำเนิด!!! คติการไหว้พระธาตุปีเกิด



    - จากการวิจัยค้นคว้าพบว่า ประเพณีการไหว้พระธาตุตามปีเกิด น่าจะเป็นประเพณีที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัย ร.5 นี่เอง ไม่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 ดังที่เคยเข้าใจกัน

    - มีผู้รู้อธิบายว่า ประเพณีนี้เกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองในสมัย ร.4 - ร.5 ซึ่งเป็นช่วงการสร้าง "รัฐชาติ" แบบใหม่ ที่เริ่มมีเส้นทางกั้นอาณาเขตประเทศอย่างแน่นอน บรรดาบ้านเมืองต่างๆที่อยู่ภายในเส้นกั้นอาณาเขตแดนสยาม ล้วนต้องตกอยู่ภายใต้ชื่อประเทศเดียวกันเป็นรัฐเดียวกัน โดยจัดรวมที่เรียกว่า มณฑล และต้องขึ้นตรงต่อศูนย์กลาง คือกรุงเทพมหานครเท่านั้น

    - การจัดการปกครองแบบนี้ได้ริดรอนอำนาจปกครองท้องถิ่นให้ลดน้อยลง ทำให้เจ้านายล้านนากลายเป็นเพียงผู้นำในทางสัญลักษณ์เท่านั้น ไม่มีอำนาจทางการเมืองอีกต่อไป การรุกคืบเข้าครอบงำอำนาจทางการเมืองจากกรุงเทพฯอย่างเบ็ดเสร็จ ได้สร้างความกดดันต่อชนชั้นปกครองของเชียงใหม่อย่างลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งการส่งช้าหลวงประจำมณฑลขึ้นมาเป็นรัฐบาลท้องถิ่น ให้มีอำนาจแทนเจ้าผู้ครองนครที่มีอยู่เดิม และดำเนินการต่างๆที่ลดบทบาท และรายได้ของเจ้านายล้านนาอีกด้วย

    - ความกดดันต่างๆที่มีต่อชนชั้นปกครองล้านนา สะสมมากยิ่งขึ้น จนนำมาสู่การก่อกบฎพญาผาบ เมื่อ พ.ศ.2432 ในที่สุดรัฐบาลกลางต้องประนีประนอมกับเจ้านายล้านนา โดยผ่อนปรนให้เจ้านายล้านนามีอำนาจและรายได้ในระดับหนึ่งพอสมพระเกียรติยศ แต่ในที่สุดแล้ว อำนาจของเจ้านายล้านนาก็ค่อยๆลดลงจนหมดสิ้นไป


    [​IMG]
    พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7

    - การรุกคืบทางการเมืองของสยามจนทำให้ผู้นำล้านนาเกิดความอึดอัดและกดดัน น่าจะเป็นแรงผลักดันให้เจ้านายล้านนา ซึ่งมีเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้น แสดงปฏิกริยาต่อต้านสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นเท่าที่จะทำได้ นั่นคือ การสร้างคติ "การไหว้พระธาตุประจำปีเกิด" ผสมผสานเข้ากับประเพณีการไหว้พระธาตุที่มีมาแต่เดิมของชาวล้านนา โดยกำหนดให้มีการกราบไหว้เฉพาะพระธาตุองค์สำคัญในล้านนาและบ้านเมืองใกล้เคียงคือพม่าและล้านช้าง ซึ่งเป็นบ้านเมืองที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติและวัฒนธรรมกันมาตลอด โดยจะสังเกตุได้ว่าพระธาตุทั้ง 12 องค์ ไม่มีพระธาตุเจดีย์ของรัฐสยามเลย

    - นี่คือ "การปฏิบัติการทางอุดมการณ์" หรือ ระบบสัญลักษณ์ที่ชนชั้นปกครองของล้านนาใช้ต่อต้านรัฐบาลสยามอย่างเงียบๆ เป็นการสร้างภาพเครือข่ายอำนาจทางการเมืองและวัฒนธรรมของตนให้ปรากฎเด่นชัดขึ้นอีกครั้ง โดยไม่มีรัฐสยามเข้ามาเกี่ยวข้อง เสมือนการแสดงอำนาจทางพิธีกรรม ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่สามารถประกาศอำนาจทางการเมืองได้

    - ต่อมาประเพณีนี้ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวางทั่วล้านนา แต่เป็นการเผยแพร่ในรูปแบบของคติตามความเชื่อศาสนาเท่านั้น ส่วนความคิดวัตถุประสงค์เบื้องหลังที่ชัดแจ้งนั้นไม่ได้ถูกถ่ายทอดออกไปแต่อย่างใด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2009
  10. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    การลงเจ้าเข้าทรงเจ้านายล้านนา ที่แฝงด้วยปฏิกริยาต่อต้าน

    <CENTER>[​IMG] </CENTER><CENTER>เจ้าอุบลวรรณา พระธิดาพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>


    - ปฏิกริยาต่อต้านการรุกคืบทางการเมืองของรัฐสยามต่อล้านนา ส่วนหนึ่งถูกแสดงออกด้วยการประทับร่างทรงวิญญาณบรรพบุรุษของราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน เพื่อประกาศถึงความไม่พอใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังกรณีเจ้าอุบลวรรณา เป็นร่างทรงวิญญาณของ "เจ้าฟ้าชายแก้ว" โอรสหนานทิพย์ช้าง บรรพบุรุษแห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน เจ้าฟ้าชายแก้วกล่าวผ่านร่างทรงเจ้าอุบลวรรณาว่า ไม่เห็นด้วยต่อระบบการจัดเก็บภาษีแบบใหม่ที่รัฐบาลสยามกำหนดขึ้น และสมควรยกเลิกเสีย ทำให้ฝ่ายรัฐบาลสยามตอบโต้ด้วยการประกาศห้ามมิให้มีการเข้าทรงอีก


    - ซึ่งเหตุการณ์นี้มีผลมิใช่น้อย เพราะพื้นฐานของชาวล้านนาแล้ว ยังมีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ และวิญญาณอยู่ แม้พระพุทธศาสนาจะเผยแพร่และประดิษฐานอย่างมั่นคงในดินแดนนี้แล้วก็ตาม ดังจะเห็นได้ในกรณีพระธาตุปีเกิด ซึ่งรวมกันระหว่างศาสนาและความเชื่อเรื่องผีของชาวล้านนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2009
  11. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    พระธาตุปีเกิด สะท้อนสัญลักษณ์

    "เชียงใหม่ คือ ศูนย์กลางจักรวาล"


    - พระธาตุที่ถูกเลือกขึ้นมาประจำปีเกิดทั้ง 12 แห่งนั้น เป็นพระธาตุและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของล้านนา รวมถึง ล้านช้าง และพม่า ซึ่งเป็นแว่นแคว้นที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกันมาก่อน โดยมีพระธาตุอยู่ในนครเชียงใหม่ถึง 4 แห่ง ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด

    - อาจารย์เธียรชาย อธิบายไว้ว่า การกำหนดพระธาตุแห่งสำหรับประจำปีเกิด โดยจำนวนพระธาตุสำคัญหลายแห่งตั้งอยู่ในนครเชียงใหม่ และที่เหลือต่างรายล้อมรอบเมืองเชียงใหม่ไว้นั้น น่าจะเป็นความตั้งใจของผู้สร้างคติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเชียงใหม่ ในฐานะที่ยังคงเป็นศูนย์กลางจักรวาลในภูมิภาคนี้ โดยมีพระธาตุองค์สำคัญๆ อันเป็นสัญลักษณ์ของบ้านเมืองต่างๆ รายล้อมเป็นบริวารของเชียงใหม่อยู่

    - การสร้างคตินี้ขึ้นมา สร้างความอบอุ่นให้กับชนชาวล้านนา และสร้างความอบอุ่นใจให้แก่ชนชั้นปกครองล้านนาว่า ล้านนายังคงเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ เช่นที่เคยเป็นมา

    - ปรากฎการณ์เช่นนี้เคยเกิดมาแล้วที่ประเทศพม่า หลังจากที่อังกฤษยึดพม่าทางใต้ได้แล้ว ทำให้พม่าตัดสินใจย้ายและสร้างเมืองหลวงใหม่คือเมือง มัณฑเลย์ โดยสร้างแผนผังเมืองให้เป็นภาพจำลองของจักรวาล เพื่อเป็นการสร้างความอบอุ่นใจและความมั่นใจในตนเอง ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2009
  12. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    การกำหนดพระธาตุเจดีย์

    เลือกปีเกิดประจำพระธาตุจากปีเกิดเจ้านายล้านนา


    - พบว่าผู้ประดิษฐ์สร้างคติการไหว้พระธาตุตามปีเกิด ได้ใช่วิธีนำปีเกิดของบรรพกษัตริย์ เจ้าเมืองล้านนาทั้งในอดีตและที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น มาเข้าคู่กับพระธาตุประจำเมืองที่เจ้านายเหล่านั้นปกครองอยู่เป็นหลัก แต่บางแห่งก็กำหนดจากปีเกิดบุคคลสำคัญๆ เช่น พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์รูปสำคัญๆ และหากที่ใดไม่สามารถจับคู่กับปีเกิดของผู้ใดได้เลย ก็ใช้วิธีจัดตามเหมาะสมที่เกี่ยวเนื่องมีสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกันมาแต่ก่อน

    สรุปได้ดังนี้...

    1.พระธาตุศรีจอมทอง ตรงกับปีประสูติของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงผู้ครองนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2416-2439

    2.พระธาตุลำปางหลวง ตรงกับปีประสูติของเจ้าหลวงพรหมมาภิพงษ์ธาดา เจ้าผู้ครองนครลำปาง พ.ศ.2416-2430

    3. พระธาตุช่อแฮ ไม่ตรงกับปีเกิดของผู้ใด

    4. พระธาตุแช่แห้ง ไม่ตรงกับปีเกิดของผู้ใด

    5. พระพุทธสิหิงค์ ตรงกับปีเกิดของพระครูอภัยสาระทะ(ครูบาหลวงวัดฝายหิน) ประมุกข์สงฆ์ล้านนา ดำรงตำแหน่งราวปี พ.ศ.2435

    6. พุทธคยา หรือ วัดมหาโพธาราม(เจ็ดยอด) ไม่ตรงกับปีเกิดของผู้ใด

    7. พระมหาเจดีย์ชเวดากอง ไม่ตรงกับปัเกิดของผู้ใด

    8. พระธาตุดอยสุเทพ ตรงกับปีประสูติของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าหลวงผู้ครองนครเชียงใหม่ พ.ศ.2399-2413

    9. พระธาตุพนม ไม่ตรงกับปีเกิดของผู้ใด

    10. พระธาตุหริภุญไชย ตรงกับปีประสูติของเจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ เจ้าผุ้ครองนครลำพูน พ.ศ.2414-2431

    11. พระเกสแก้วจุฬามณีหรือพระธาตุอินทร์แขวน ตรงกับปีประสูตรของพระพุทธเจ้า และปีประสูติของพระเจ้ากาวิละ เจ้าหลวงผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 1

    12. พระธาตุดอยตุง ตรงกับปีประสูติของ "ลวจักราช" และ "พญามังรายหลวงเจ้า" ทั้งสองพระองค์เป็นบรรพกษัตริย์ของล้านนา องค์แรกเป็นกษัตริย์ในตำนานที่เล่าขานกันว่าเสด็จจากสวรรค์มาจุติยังโลกมนุษย์ ณ ยอดดอยตุง ส่วนพญามังรายหลวง ปฐมกษัตรอาณาจักรล้านนา ผู้สืบเชื้อสายมาจาก ลวจักราช ครองเมืองหิรัญนครเงินยาง(เชียงแสน) สร้างเมืองเชียงรายและต่อมาสร้างเมืองเชียงใหม่ สถาปนาอาณาจักรล้านนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มกราคม 2009
  13. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2009
  14. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    โอ้ รออ่านอยู่เด้อหล้า
     
  15. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    อนุโมทนา...

    ผมนึกว่า เมื่อสิ้นครูบาอินแล้ว จะไม่มีใครสนใจสืบสาน สองสิ่งที่สำคัญยิ่งของเมืองเหนือบ้านเรา นั่นก็คือ "ไจยะเบงชร" กับ "ความเชื่อเรื่อง จุ๊ธาตุ ๑๒ ราศี"

    เมื่อตอนที่หลวงปู่ครูบาอินท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านจะมี "ของดี" เก็บไว้ตรงรัดเอวของท่าน พวกเราเคยขอท่านเปิดดู เมื่อตอนสมัยท่านยังอยู่ที่วัดฟ้าหลั่ง... ก็มีพระเครื่องที่ท่านนับถืออยู่ในนั้นหลายอย่าง แต่หนึ่งในนั้นก็คือเหรียญพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำปีเกิด ของคนเกิดปีเถาะ (หลวงปู่เกิดปีเถาะ) ท่านพกติดตัวอยู่เสมอ...

    ส่วนเรื่องไจยะเบงชร กับหลวงปู่ครูบาอินนั้น คงไม่ต้องอธิบายกันมากแล้ว เพราะท่านทั้ง เชื่อมั่น ชื่นชม และช่ำชอง อย่างหาที่สุดมิได้แล้ว... ท่านสวดของท่านทุกวัน และบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ก็ต้องสวดตามท่านทุกครั้งด้วย ท่านพิณ พระอาจารย์ชา พระอาจารย์อินทร พระครูป๋า ล้วนผ่านมาหมด... เวลาท่านเสกพระ ท่านก็ใช้บทไจยเบงชร...

    ฝากข้อสังเกตุไว้นิดหนึ่งนะครับ ชินบัญชร ของทางภาคกลาง กับ ไจยะเบงชร ของทางเหนือ มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่หลายจุด โดยเฉพาะบทสุดท้าย ซึ่งทางเหนือจะถือว่าเป็นบทที่สำคัญที่สุด เป็น "หัวใจ" ของไจยะเบงชร จนถึงขนาดมียันต์หัวใจไจยะเบงชร ที่เขียนจากบทสุดท้ายนี้โดยเฉพาะ... ลองศึกษาเปรียบเทียบดูให้ดีนะครับ...

    ธีระยุทธ (Webmaster)
    http://krubain.awardspace.com/
     
  16. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130

    โอ้ววว ศิษย์ครูบาหม่อนอิน มาเองเลย

    ยังไงผมขอคำชี้แนะในการสร้างครั้งนี้ด้วยนะครับ
     
  17. BKKNAJA

    BKKNAJA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +226
    ขอร่วมบุญจอง เนื้อเงิน 1องค์ เนื้อทองจังโก๋ 1องค์ครับ
     
  18. sudpob

    sudpob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +257
    ขอจองเนื้อเงิน 1 องค์ ทองทิพย์ 1 องค์


    สุดพบ
     
  19. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    โมทนากับทุกท่านด้วยครับ

    มวลสารที่บรรจุใต้ฐาน คุ้มสุดคุ้ม
     
  20. kwok

    kwok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +4,239
    จองครับ
    1. เนื้อหิรัญนคร (เนื้อเงิน) 1 องค์
    2. เนื้อทองทิพย์สัมฤทธิ์ผล 1 องค์
    3. เนื้อทองจังโก๋นักษัตร 2 องค์
     

แชร์หน้านี้

Loading...