พญานาค....???

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย chanoknon, 17 ตุลาคม 2007.

  1. chanoknon

    chanoknon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +776
    พญานาคนาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล
    • มูลเหตุที่เกิดรูปราชาแห่งนาคทั้งปวง ( พญานาค 7 เศียร) ซึ่งได้นำไปสถาปนาฤทธิคุณและเดชคุณ เป็นปฐมที่เมืองหลวงพระบางก่อนจะจบปัจฉิมที่เมืองอุดรธานี เนื่องด้วยพยากรณ์ของสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) วัดธาตุมหาชัย จังหวัดนครพนม <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    • <o:p> </o:p>
     
  2. chanoknon

    chanoknon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +776
    อนุโมทนาสาธุแต่พญานาคทุกๆตนผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ
    ขอให้ทุกท่านบังเกิดนิพพานในชาติปัจจุบันด้วยเทอญ.....

    สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2007
  3. jackle

    jackle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +552
    น่าสนใจครับ...
     
  4. chanoknon

    chanoknon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +776
    นาค2

    <SUB>ตอนที่ 2
    พญานาคในเชิงชีววิทยาไม่มีตัวตนจริง ดังนั้นความเห็นในเชิงนี้จึงเห็นพญานาคเป็นเพียงจินตนาการ และเป็นแค่สัญลักษณ์ที่มนุษย์คิดค้นแทนสิ่งที่มีอยู่จริงในโลก
    </SUB><SUB>ในเชิงสัญลักษณ์เห็นว่า พญานาค คือตัวแทนของน้ำ ดังเช่น สถาปัตยกรรมรูปเขาพระสุเมรุ ซึ่งมีมหาสมุทรล้อมรอบนั้น แทนที่จะทำเป็นรูปน้ำล้อมรอบ ก็ทำเป็นรูปพญานาคขดลำตัวล้อมเขาพระสุเมรุ โดยหมายเอาว่า พญานาค คือ น้ำ นั่นเอง
    โดยนัยแห่งความคิดเห็นหรือความเชื่อของนักวิชาการสมัยใหม่ เชื่อว่าพญานาคเป็นความเชื่อของคนรุ่นโบราณ ซึ่งความเชื่อเก่าแก่นี้จะมีพื้นฐานมาจากความงมงายไร้สาระ หรือจากอะไรก็ตาม ยังคงเป็นคำถามที่หาคำตอบที่แน่ชัดได้ยาก แต่เมื่อคนโบราณเชื่อเช่นนี้ ก็ส่งผลให้เกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีและเกิดรูปพญานาคในเชิงศิลป์เท่านั้น
    เคยสงสัยไหมว่า เหตุใดคนโบราณจึงมีความเชื่อในเรื่องพญานาค โดยที่ความเชื่อนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่กลุ่มคนกลุ่มเดียวหรือคนเพียงคนเดียว แต่ความเชื่อนี้กลับรุกล้ำเข้าในแทรกตัวอยู่ในลัทธิและศาสนาหลายศาสนา รวมทั้งคนอีกหลายเชื้อชาติหลายวัฒนธรรม
    ทำไมพญานาคจึงเกิดเป็นความเชื่อขึ้นมา
    </SUB><SUB>คำถามนี้ก็เหมือนอีกหลาย ๆ คำถาม เช่น ทำไมคนจึงเชื่อว่าผีมีจริง ทำไมคนจึงเชื่อเรื่องนรกและสวรรค์ ทำไมคนจึงเชื่อเรื่องเทวดาและนางฟ้า
    คำถามเหล่านี้ไม่สามารถตอบในเชิงวิทยาศาสตาร์ เพราะไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนได้
    </SUB><SUB>ถ้าจะมองในแง่ของวิทยาศาสตร์ จะเห็นได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ พิสูจน์ได้ จึงจะเป็นที่ยอมรับเชื่อถือ
    </SUB><SUB>เมื่อมองในเชิงนี้ก็จะเห็นทุกคำถามที่เกิดขึ้นนั้นเป็นของไม่มีจริงทันที
    ในที่สุดแล้วทั้งผี นรกสวรรรค์ เทวดานางฟ้า และพญานาคก็ป็นแค่ความเชื่องมงายไร้สาระ
    </SUB><SUB>ทั้งหมดที่เป็นความงมงายไร้สาระกลับปรากฏอยู่ในพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ หลายศาสนา นั่นย่อมหมายความว่าพุทธศาสนาที่กล่าวถึงเรื่องนี้ต้องเป็นศาสนาที่งมงายไร้สาระด้วย
    คงต้องคิดดูว่าจะเลิกนับถือศาสนาเสียที เพราะว่ามีแต่เรื่องงมงายไร้สาระที่พิสูจน์ให้เห็นจริงไม่ได้เลย
    มีเรื่องตลกฝรั่งน่าคิดอยู่เรื่องหนึ่ง
    </SUB><SUB>ชายคนหนึ่งมีธุระจะไปที่ทำการไปรษณีย์ แต่ไม่ทราบว่าที่ทำการไปรษณีย์อยู่ที่ไหน บังเอิญเห็นนักบวชท่านหนึ่งอยู่แถวนั้นจึงปรี่เข้าไปถาม
    </SUB><SUB>
     
  5. wichitkhruaya

    wichitkhruaya Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2007
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +40
    ผมคนหนึ่งครับ ที่เชื่อว่าพญานาคมีจริง แม้จะไม่เคยเห็นก็ตาม เหมือนที่เชื่อว่า คนเราเกิดมาเพื่อทำความดี แก่ตนและผู้อื่น
     
  6. chanoknon

    chanoknon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +776
    นาคาฯ ตอน 3

    • การปรากฎตัวของนาคในศาสนาพราหมณ์ หรือก่อนหน้านั้นในยุคพระเวทที่มีคัมภีร์ยชุรเวท และอาถรรวเวท กล่าวถึง จนแม้คัมภีร์เก่าแก่ที่สุดคือ ฤคเวท ล้วนเป็นเครื่องยืนยันว่าความเชื่อในเรื่องพญานาคนั้นมีมาก่อนพระพุทธศาสนา
    • แม้คัมภีร์เหล่านี้จะยังไม่เอ่ยคำว่า “นาค” หากแต่ใช้คำ “อหิ” ซึ่งแปลว่า งูใหญ่ บรรดาเหล่านักวิชาการยังคงเชื่อว่ามีความหมายเป็นอันเดียวกัน
    • คำว่า “นาค" เพิ่งจะปรากฏเป็นครั้งแรกในคัมภีร์ศตปถะพราหมณะ และจากนั้นก็ใช้คำว่า “นาค” เรื่อยมาจนบัดนี้
    • เมื่อจะพูดถึงพญานาคในเชิงความเชื่อ จะต้องลืมพญานาคในเชิงสัญลักษณ์
    • ไม่เช่นนั้นจะพูดกันไม่รู้เรื่อง
    • เรียกว่าการพูดเกี่ยวกับความเชื่อกับคนที่มีความเชื่อเดียวกันหรือในแนวทางเดียวกัน จะพูดกันรู้เรื่องง่ายที่สุด
    • การศึกษาเรื่องของพญานาคในเชิงความเชื่อจะเห็นว่า นอกจากพญานาคจะมีอยู่ก่อนพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นแล้ว ย่อมต้องแสดงว่ามีมาก่อนยุคพระเวทอุบัติขึ้นอีกด้วย
    • ได้มีการพบหลักฐานเก่าแก่ที่สุดก่อนประวัติศาสตร์ในภาชนะดินเผาของคนบ้านเชียงเป็นรูปเขียนสีที่เป็นภาพงู (นาค) อยู่มากมาย ทำให้เชื่อว่าคนบ้านเชียงในยุคสมัยนั้นรู้จักนับถือพญานาค ซึ่งคนบ้านเชียงในยุคนั้นก็คงจะยังไม่มีศาสนานับถือ แต่ก็มีลัทธิบูชาพญานาคกันแล้ว
    • อะไรเป็นเหตุให้คนบ้านเชียงเชื่อถือและบูชาพญานาค ย่อมเป็นคำถามเดียวกันที่จะถามว่า ทำไมชาวอะบอริจินที่เป็นชนเผ่าดั้งเดิมของทวีปออสเตรเลีย จึงนับถืองู (พญานาค) เหมือนกับคนลาวทั้งประเทศ ทั้ง ๆ ที่ 2 ชาติพันธ์นี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน แต่กลับเชื่อถือและนับถือในสิ่งเดียวกัน
    • ความเชื่อในเรื่องพญานาคมีปรากฏอยู่มากมาย ทั้งในและนอกศาสนา เป็นเรื่องน่าคิดว่าทำไมคนเหล่านี้ที่มีสถานะและสังคมแตกต่างกันจึงนับถือในสิ่งเดียวกันมานานแสนนานจนแม้ปัจจุบันนี้
    • ว่ากันโดยมากแล้ว เรื่องราวของพญานาคมักปรากฏอยู่ในลักษณะของ myth ซึ่งก็คือ วรรณกรรมปรำปรา, เทพนิยาย ,นิทานโบราณ, ตำนาน หรือแม้แต่ศาสนตำนาน หรือศาสนนิทาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ปลงใจเชื่อได้ยาก
    • ถ้าจะวิเคราะห์ myth ของพญานาคแล้ว ก็จะต้องทำใจให้เป็นกลาง ๆ จึงจะเห็นว่าใน myth ของพญานาคหรือของอะไรก็ตามย่อมมีทั้งสิ่งที่เชื่อได้และเชื่อไม่ได้ปนกันอยู่
    • คือมีทั้งเรื่องจริงและไม่จริงอยู่ด้วยกัน
    • ผมจะยกตัวอย่างการเกิด myth สักเล็กน้อย
    • อย่างเช่น หลวงปู่รูปหนึ่งเล่าว่า “อาตมามีนิมิตว่าได้ลงไปในเมืองบาดาล ฯลฯ” ผู้ที่ได้ฟังก็จะไปเล่าต่อว่า “หลวงปู่เล่าว่าได้ถอดจิตลงไปเมืองบาดาล” ต่อมาก็มีผู้เล่าต่อไป “หลวงปู่ท่านลงไปเมืองบาดาล (ด้วยตนเอง)"
    • สุดท้ายเรื่องหลวงปู่นิมิต (ฝัน) ก็จะกลายเป็นความมหัศจรรย์ที่แสนพิสดารจนถึงขั้นเชื่อกันไม่ได้
    • ทั้งหมดนี้เกิดด้วยความเคารพนับถือในตัวหลวงปู่ รวมทั้งเรื่องนิมิตของหลวงปู่ที่คลาดเคลื่อนไปก็ด้วยความเคารพเหมือนกัน
    • ดังนั้นเรื่องของพญานาคใน myth ต่าง ๆ หรือในพระไตรปิฎก ก็คงจะเป็นในลักษณะนี้
    • อย่างเช่น ในคราวพระพุทธองค์เสด็จไปดาวดึงส์แล้ว นันโทนาคราชมาขวางทางไว้นั้น พระไตรปิฎกกล่าวว่า เสด็จเหาะไปพร้อมเหล่าอรหันตสาวก 500 รูป ซึ่งข้อเท็จจริงพระพุทธองค์คงไม่ได้เหาะ แต่ผู้จารึกพระไตรปิฎก จารึกด้วยความเคารพในพระพุทธองค์ เรื่องจึงกลายเป็นเหาะไปอย่างนี้
    • ส่วนการเสด็จไปโดยวิธีใดนั้น ผมก็ไม่อาจทราบได้ และไม่สามารถวิจารณ์ แต่ผมเชื่อว่าไม่ใช่ทรงเหาะไปอย่างแน่นอน
    • เรื่องเหาะของพระพุทธองค์มีปรากฏมากมายในหลาย myth เช่นใน “ตำนานพระเจ้าเลียบโลก” ซึ่งเป็นตำนานที่เกี่ยวข้องกับพญานาค และเชื่อว่าเป็นหัวใจของตำนานอุรังคนิทาน ทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธองค์กับสถานที่ต่าง ๆ และพญานาคในลุ่มน้ำโขง เป็นเหตุให้เกิดศาสนสถานสำคัญหลายแห่งตลอดลุ่มน้ำโขง
    • เรื่องมีอยู่ว่า สมัยนั้นพระพุทธองค์ประทับอยู่เชตวันมหาวิหาร (วัดแห่งแรกในพุทธศาสนา) ทรงพิจารณาถึงพุทธประเพณีโบราณว่า เมื่อเสด็จปรินิพพานแล้ว บรรดาสาวกมักจะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานยังที่ต่าง ๆ กันตามความเหมาะสม พระองค์ทรงพิจารณามาทางภูมิภาคของลุ่มน้ำโขงนี้ จึงเสด็จพร้อมด้วยพระอานนท์และคณะพุทธสาวกอีกจำนวนหนึ่ง
    • พูดแบบชาวบ้านก็คือ มาสำรวจหาสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุนั่นแหละครับ
    • เมื่อเสด็จถึงภูเขาหลวงริมน้ำบังพวน พญาปัพพารนาคได้มาถวายภัตตาหาร และภายหลังที่นี่ก็กลายเป็นพระธาตุบังพวนประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (พระธาตุหัวเหน่า) ต่อมาทรงเสด็จยังแคว้นศรีโคตบูรณ์ (จังหวัดนครพนม) ทรงรับบาตรที่ภูกำพร้า หรือดอยกัปปนคีรีแล้วทรงมีพุทธทำนายว่า ต่อไปที่นี่จะเป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุของพระองค์ ซึ่งก็คือ พระธาตุพนมเดี๋ยวนี้ หลังจากนั้นเสด็จไปภูกูเวียน หรือภูพานในเขตจังหวัดอุดรธานี เพื่อเทศน์โปรดพญานาคทั้งหลายให้อยู่ในศีลในธรรม ทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ภูกูเวียนใกล้ปากถ้ำสุวรรณนาค ที่หนองบัวบานให้แก่พุทโธปาปนาคอีกแห่ง และที่บนแผ่นหินโพนบกให้แก่นาคทั้งหลาย ต่อจากนั้นเสด็จไปที่ดอยนันทกังฮี ซึ่งพญาสีสัตตนาคทูลขอพระองค์ให้ทรงย่ำรอยพระบาทไว้ และพระองค์ทรงมีพุทธทำนายว่าในภายภาคหน้าที่นี่จะกลายเป็นเมืองชื่อว่าเมืองศรีสัตตนาค หลังจากนั้นเสด็จกลับไปปรินิพพานที่เมืองกุสินาราย
    • ตำนานนี้กล่าวว่า เสด็จมาทางอากาศ ซึ่งก็คือเหาะมานั่นเอง
    • โดยข้อเท็จจริงแล้วคงไม่ได้เหาะ แต่จะเสด็จโดยวิธีใดไม่ทราบเหมือนกัน
    • เกี่ยวกับการที่ทรงประทับรอยพระพุทธบาทให้แก่พญานาคนั้น ใช่จะมีแต่ในตำนาน ในพระไตรปิฎกก็มีกล่าวถึงคือ ครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการแสดงธรรมในพิภพของพญานาคที่แม่น้ำนัมมทานที แคว้นทักษิณาบท ประเทศอินเดีย พญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งนัมมทานที รอยพระบาทนี้เป็นที่เคารพสักการะของเหล่าพญานาคทั้งหลาย ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    • เหตุการณ์นี้ในพุทธประวัติกล่าวว่าป็นพรรษาเดียวกันกับที่พระพุทธองค์เสด็จโปรดพระมารดาที่ดาวดึงส์ และทรงจำพรรษาอยู่ที่นั่น ครั้นออกพรรษาแล้วจึงเสด็จไปพิภพพญานาค เพื่อแสดงธรรมและประทับรอยพระบาทไว้
    • ชาวพุทธทั้งหลายต่างรู้และเข้าใจดีว่าวันนั้นคือวันพระเจ้าเปิดโลก ซึ่งเป็นวันที่เหล่าพญานาคแสดงความยินดีด้วยการแสดงฤทธิ์เนรมิตลูกไฟต่างธูปเทียนจนเกิดความสว่างไสวช่วงโชติชัชวาล เป็นการบูชาพระพุทธองค์
    • นี่กระมังที่เป็นต้นเหตุของการเรียกลูกไฟที่เกิดขึ้นในวัน 15 ค่ำ เดือน 11 (วันออกพรรษา) ในลำน้ำโขง จังหวัดหนองคายว่า บั้งไฟพญานาค
    • และหากบั้งไฟพญานาคมีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติตอนนี้ ก็ยิ่งทำให้เห็นว่าเรื่องราวต่าง ๆ ในตำนาน หรือนิทานปรำปราใช่จะไร้ความจริงไปทั้งหมด
    • นักมานุษยวิทยาคนหนึ่งชื่อว่า Malinowski ได้ให้ทัศนะว่า “วรรณกรรมปรัมปรา (myth) ไม่ได้เป็นแค่เรื่องเล่าที่ไม่มีแก่นความจริง แต่มาจากสิ่งที่มีอยู่จริง”
    • ทำให้ต้องคิดว่า พญานาคที่ปรากฏอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก จะมีจริงหรือไม่ แม้เรื่องเล่าที่ได้ฟังนั้นจะไม่ชวนให้เชื่อว่าพญานาคมีจริง ก็จะต้องยับยั้งชั่งใจไว้ก่อนว่าพญานาคอาจมีจริง
    • ดังนั้นการอ่านตำนานหรือนิทานปรำปรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ขอให้เปิดใจกว้างเหมือน Malinowski ก็จะทำให้การอ่านการฟังสนุกขึ้น และเข้าใจถึงแก่นแท้ของตำนานง่ายขึ้น
    • ต่อไปนี้เราจะมาดูในเรื่องของวรรณกรรมโบราณในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพญานาคที่มีความสัมพันธ์กับภูมิภาค 2 ฝั่งโขง รวมไปถึงพงศาวดารกำเนิดชนชาติลาวที่เชื่อว่าชนชาติลาว มาจากพญานาค
    • ขอขอบคุณท่านผู้หนึ่งซึ่งได้มีมานะรวบรวม myth ของพญานาคเอาไว้จนง่ายแก่การค้นคว้า ท่านผู้นี้เป็นใครผมยังไม่ทราบชื่อ เอาไว้อ่านงานวิทยานิพนธ์หรือวิจัยของท่านไปเรื่อย ๆ จนพบว่า ท่านชื่อเสียงเรียงไรจะเอามากล่าวอีกทีหลัง
    • โหมโรงด้วยบทประพันธ์ร้อยกรองของท่านกวีศรีสยาม เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เสียก่อน
    • “ล้านช้าง ล้านนา”
    • สองมหาอาณาจักรศักดิ์สิทธิ์
    • สองนาคเนรมิตเป็นลำโขง
    • หนึ่งศรีสตนาคอันจรรโลง
    • สองหุตนาคโยงแผ่นดินดอน
    • คือศรีสตนาคคนหุต
    • เช่นขุดควักแดนแผ่นสิงขร
    • เป็นสายน้ำตำนานแลนาคร
    • อันกระฉ่อนเลื่องชื่อลือล้านช้าง
    • บังเกิดโยนกนาคนคร
    • สิงหนวัติบวรเวียงกว้าง
    • ปู่เจ้าลาวจกแต่ก่อนปาง
    • จวบหิรัญเงินยางสว่างเวียง
    • แลสุวรรณโคมคำตำนานท่า
    • เชื่อมล้านนาล้านช้างเป็นอย่างเยี่ยง
    • มีมหาอาณาจักรแห่งเวียงเชียง
    • ส่วยเสบียงเลี้ยงฟ้าเลี้ยงแผ่นดิน
    • สองมหาอาณาจักรศักดิ์สิทธิ์
    • อารยธรรมสัมฤทธิ์ทั้งศาสตร์ศิลป์
    • หล่อหลอมยุคทองของธรณิน
    • เถลิงถิ่นล้านนาล้านช้างนิรันดร์
    • เพื่อขยายความเรื่องราวของการกำเนิดบ้านเมือง 2 ฝั่งโขงคือ ล้านช้างล้านนา ก็จะได้นำตำนานสุวรรณโคมคำมาเล่าโดยย่อ พอเป็นที่เข้าใจดังนี้
    • เดิมพญาศรีสัตตนาคราช และพญาสุตตนาค เป็นสหายกัน อาศัยอยู่ในหนองหลวงด้วยกัน วันหนึ่งขัดใจกันด้วยเรื่องการแบ่งปันอาหารจนระงับโทสะไม่อยู่ ลุกขึ้นต่อสู้กันจนในที่สุดก็อยู่ร่วมกันไม่ได้
    • พญาศรีสัตตนาคคุ้ยควักแผ่นดินลงไปทางใต้ จนเกิดร่องทางคุ้ยควักเป็นแม่น้ำชุลนที ซึ่งคือแม่น้ำโขงเดี๋ยวนี้
    • พญาศรีสัตตนาคและบริวาร ได้อพยพลงมาทางนี้ จนได้มีโอกาสช่วยเหลือรักษาชีวิตเจ้าสุวรรณทวารกุมาร ที่ถูกแกล้งลอยแพไปตามลำน้ำให้กลับคืนสู่ท่าเสาโคมทอง แล้วช่วยเจ้าสุวรรณทวารกุมาร ทั้งบ้านเมืองที่นั่น คือ เมืองสุวรรณโคมคำจนสำเร็จ
    • สมัยต่อมา ธิดาพญานาค 3 พี่น้องได้ขึ้นมาจากพิภพพญานาคมาเที่ยวเล่นในไร่ของมานพหนุ่มผู้หนึ่ง พอเที่ยวเล่นจนเป็นที่พอใจก็กลับพิภพพญานาค แต่บิดาพญานาคได้บัญชาให้ธิดาทั้ง 3 กลับคืนเมืองมนุษย์ ให้ไปช่วยมานพหนุ่มผู้นั้น โดยการเนรมิตเรือสินค้าไปทำการค้าขายกับเมืองสุวรรณโคมคำ ทว่าเจ้าเมืองสุวรรณโคมคำกลับไม่ตั้งอยู่ในธรรม กลั่นแกล้งมานพหนุ่ม จนเป็นเหตุให้ธิดาพญานาคกลับไปฟ้องพญานาคผู้เป็นบิดาที่บังเกิดโทสะอย่างระงับไม่ได้ สั่งการให้บริวารพญานาคขึ้นมาพิภพมนุษย์จู่โจมทำลายเมืองสุวรรณโคมคำจนสาปสูญไป (จมน้ำ)
    • ตำนานสุวรรณโคมคำได้ชื่อว่าเป็นการแสดงให้เห็นว่า พญานาคกลุ่มแรกที่อพยพมายังแดนล้านช้างล้านนาคือ พญาสีสัตตนาคราช นั่นเอง
    • ส่วนตำนานสังหนวัติกุมาร ได้แสดงเหตุการณ์เกี่ยวเนื่องกับตำนานสุวรรณโคมคำ คือ เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องอย่างเหมาะเจาะ
    • กำเนิดเมืองสิงหนวัตินคร เกิดด้วยพญานาคชื่อ พันธุนาคราช เนรมิตตนเองเป็นพราหมณ์เข้าไปชี้แนะเจ้าสิงหนวัติกุมาร ผู้เป็นราชบุตรของกษัตริย์ฮ่อแห่งตระกูลไทยเมือง ชื่อ เทวกาล ให้ตั้งบ้านเมืองที่ริมฝั่งแม่น้ำชลนที แล้วพญานาคได้แสดงฤทธิ์ขุดคูรอบเมืองกว้าง 3000 วาโดยรอบทุกด้าน แล้วตั้งชื่อเมืองเป็นอนุสรณ์ระหว่างพญานาคกับมนุษย์ว่า “เมืองนาคพันธุสิงหนวตินคร” ซึ่งต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “โยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแสน”
    • สองตำนานนี้จะว่าไปแล้วเท่ากับเป็นการแสดงกำเนิดแผ่นดินล้านนา (ภาคเหนือของประเทศไทย)
    • ทีนี้มาดูอุรังคชาตนิทาน ซึ่งเป็นเอกสารตำนานแสดงการเกิดอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งมีเรื่องราวเป็นอันเดียวกันกับตำนานสุวรรณโคมคำ หากแต่แตกต่างที่เป็นพญานาคคนละตน
    • อุรังคธาตุนิทาน แสดงเรื่องราวของพญานาคอย่างละเอียดและซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากกว่าตำนานสุวรรณโคมคำแบบเทียบกันไม่ได้
    • อุรังคธาตุนิทานถือเป็นเอกสารตำนานเก่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์ คือแสดงทั้งเรื่อง Myth และประวัติศาสตร์ของตัวบุคคลที่มีอยู่จริงไปด้วยกัน
    • ผู้เรียบเรียงอุรังคธาตุ คือ พระยาศรีชมพู และคัดลอกต่อมาโดย อาชญาเจ้าอุปราชใน พ.ศ. 2404 ต้นฉบับแท้ดั้งเดิมปัจจุบันเก็บไว้ที่กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร คือ เก็บไว้ที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ ใครสนใจไปขอดูและค้นคว้าได้
    • อุรังคธาตุนิทาน กล่าวถึงกำเนิดล้านช้าง ล้านนา ไว้ว่า หนองแส เป็นสถานที่อยู่ของเหล่าพญานาคจำนวนมาก โดยมีพญานาค 2 ตน ชื่อว่า พินทโยนกวติ กับ ธนะมูลนาค เป็นสหายกัน ต่อมาทะเลาะกันเรื่องแบ่งปันอาหาร ทำให้ธนะมูลนาคอพยพลงไปทางใต้ โดยขุดคุ้ยควักแผ่นดินจนเกิดแม่น้ำมูลนที (แม่น้ำมูลทุกวันนี้) ส่วนแม่น้ำชี ก็เกิดจากการคุ้ยควักของชีวายนาค ผู้เป็นหลาน
    • แม่น้ำมูลกับแม่น้ำชี ก็มีความสัมพันธ์กันคือ ชีไหลลงมูลที่จังหวัดอุบลฯ ดูไปก็คล้ายว่า คุ้ยควักแผ่นดินมาด้วยกันแล้วแยกออกจากกันที่อุบลฯ
    • เมื่อธนะมูลนาคอพยพหนีมาทางใต้แล้ว พินทโยนกวตินาคก็คุ้ยควักแผ่นดินไปทางตรงข้ามคือ ไปทางเหนือ โดยออกไปทางเมืองเชียงใหม่ เกิดทางนั้นว่า แม่น้ำพิง (ปิง) ส่วนวัง ยม และน่าน ตำนานไม่ได้กล่าวถึง จึงคาดว่าจะเกิดจากลูกหลานบริวารของพินทโยนกวตินาคคุ้ยควักไปก็เป็นได้ เพราะว่ามีความเกี่ยวเนื่องกัน
    • คู่กรณี 2 ตน หนีจากหนองแสไปแล้ว ไม่นานหนองแสก็ขุ่นคลั่ก ทำให้เหล่านาคที่เหลือทนอยู่หนองแสไม่ได้ จึงอพยพหนีออกไปอีกเป็นรุ่นที่ 2 ทำให้เกิดสถานที่สำคัญมากมาย
    • สุวรรณนาค หนีไปอยู่ปู่เวียน (ภูเวียน, ภูพาน) พุทโธปาปนาค ไปอยู่หนองบัวบาน ปัพพารนาค ไปอยู่ภูเขาหลวง สุกขรนาค ไปอยู่เวินหลอด หัตถศรีสัตตนาค อยู่ดอยนันทกังรี และเหล่าพญาเงือก งู ชั้นบริวารไปอยู่แม่น้ำงึม
    • ทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ที่แสดงการกำเนิดบ้านเมืองและสถานที่สำคัญ 2 ฝั่งโขง ทั้งล้านนาและล้านช้าง โดยมีเหตุกำเนิดมาจากพญานาค
    • เรื่องของนาคอพยพลงมาทางใต้นั้นก็มาพ้องกับตำนานพระเจ้าเลียบโลกที่ได้กล่าวไปแล้ว ทำให้เป็นที่น่าสังเกตุว่าแต่ละตำนาน (Myth) มีความสัมพันธ์กันอย่างน่าแปลกใจ
    • เนื้อความในตำนานนี้ยังกล่าวถึงกำเนิดเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาวทุกวันนี้ไว้ด้วยว่าเกิดจากสุวรรณนาค และบริวาร ช่วยสร้างเมืองเวียงจันทน์ เนรมิตสมบัติ ปราสาท สระน้ำ โรงข้าว และกำแพงรอบพระนคร ทั้งยังแต่งตั้งพญานาคทั้ง 9 รักษาบ้านเมืองไว้
    • ตำนานนี้ได้ไปพ้องกับนิทานพื้นเมืองของชาวบ้านสีธานใต้และชาวเวียงจันทน์ โดยมีการเล่าสืบต่อกันมาว่า สมัยก่อนเมืองเวียงจันทน์มีความผูกพันกับพญานาคเป็นอันมาก ถึงกับกล่าวว่า “แผ่นดินเป็นของมนุษย์ แม่น้ำเป็นของนาค” โดยเชื่อว่ามีเมืองบาดาลของนาคซ้อนกันอยู่กับเมืองเวียงจันทน์ เมืองบาดาลนั้นปกครองโดยพญานาค 7 หัว (พญาสีสัตตนาคราช 7 เศียร) ผู้มีอิทธิฤทธิ์และชีวิตวนเวียนอยู่กับคน ระหว่างเมืองนาคและเมืองมนุษย์
    • 2 เมืองนี้มีเส้นทางไปมาหาสู่กัน (รูพญานาค) เมื่อมนุษย์มีเหตุร้าย (ชาวเวียงจันทน์) จะตีกลอง “หมากแค้ง” เป็นสัญญาณเรียกพญานาคมาช่วย เพราะเหตุนี้เมืองเวียงจันทน์จึงไม่เคยแพ้สงครามและอยู่รอดปลอดภัยตลอดมา เพราะอำนาจพญานาค
    • ต่อมาพวกคนสยาม (มีวิชาอาคมดี) ปลอมตัวเป็นพระนุ่งผ้าขาวมาจำศีลอยู่ป่าหลายแห่งที่นครเวียงจันทน์ ได้แอบลอบถมรูนาคและทำลายกลองหมากแค้งทิ้ง จึงเป็นเหตุให้ชาวเวียงจันทน์เรียกพญานาคมาช่วยไม่ได้ เวียงจันทน์จึงถูกโจมตีทำลายกลายเป็นเมืองขึ้นของสยาม
    • นิทาน “พื้นเวียงจันทน์” นี้เท่ากับตอกย้ำตำนานว่า มีพญานาครักษาเมืองเวียงจันทน์จริง
    • อย่าว่าแต่ชาวนครเวียงจันทน์จะเชื่อถือเรื่องพญานาครักษาเมืองเลย แม้พงศาวดารสกลนครก็มีเรื่องเกี่ยวข้องกับพญานาคเหมือนกันคือ ในสมัยของพระยาสุรอุทก เมืองหนองหาร ถูกทำลายลงโดยธนะมูลนาค ซึ่งเป็นผู้รักษาแม่น้ำมูลที่เป็นอาณาเขตระหว่างเมืองหนองหารกับเมืองอินทปัฐนคร
    • เมื่อเมืองอินทปฐนครล่มสลายลง สุวรรณนาคได้อภิเษกเจ้าอภิงคาร เป็นเจ้าเมืองใหม่ และได้นามตามพญานาคว่า พระยาสุวรรณภิงคาร
    • สุวรรณนาคนี้คือ พญานาคผู้รักษารอยพระพุทธบาทที่พระพุทธองค์ทรงประทับไว้ที่บริเวณริมหนองหารนั่นเอง
    • พงศาวดารล้านช้าง ได้กล่าวถึงฤๅษีพี่น้องแปงเมืองล้านช้างขึ้นมา โดยประกอบด้วยเมืองเชียงทอง (เอาต้นทองเป็นนิมิต) เมืองเชียงคง (เอาต้นคงเป็นนิมิต) เมืองล้านช้าง (เอาภูมิช้างเป็นนิมิต) และศรีสัตตนาคนหุต (เอาพญาศรีสัตตนาคราชเป็นนิมิต) แล้วเรียกว่า “ศรีสัตตนาคนหุตราชธานีศรีเชียงคงเชียงทอง” ซึ่งปรากฏเรื่องราวของนาคพ้องกันกับอุรังคนิทาน
    • เรื่องราวของพญานาคใน Myth ต่าง ๆ มีปรากฏมากมายหลายยุคสมัย เป็นเหตุให้น่าจะตั้งข้อสังเกตุว่า พญานาคมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ในภูมิภาคนี้จนเกิดเป็นความเชื่อถือและนับถือพญานาคนั้นน่าจะมีเหตุมาจากพญานาคมีจริง จึงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับผู้คนทั้งในแง่การสร้างบ้านแปงเมือง และช่วยเหลือผู้คนมาแต่โบราณกาล จะมีเหตุลอย ๆ ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้คนทุกชาติภาษามานับถือและเชื่อถือพญานาคคงจะไม่ได้
    • พฤติกรรมของพญานาคในอดีตที่แสดงออกไปถึงการมีส่วนร่วมกับสังคมมนุษย์ ทั้งในแง่การปกครองและการป้องกันภัยอันตรายให้ผู้คนและบ้านเมืองนั้น ปัจจุบันพฤติกรรมของพญานาคได้เปลี่ยนไป กลายมาเป็นผู้พิทักษ์ศาสนา สถานที่สำคัญ และศาสนสถานมากขึ้น ความเกี่ยวข้องอย่างในอดีตลดน้อยลง
    • ต่อไปจะได้พูดถึงบทบาทของพญานาคในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาสนสถาน และสถานที่สำคัญ
    • ซึ่งจะยังคงใช้เวลาอยู่กับพญานาคอีกพอสมควร ด้วยมีข้อมูลมากมายที่ยังหวังจะให้ผู้อ่านทำความเข้าใจและใกล้ชิดพญานาคมากขึ้น
    • ผมไม่หวังอะไร แค่หวังจะทำอะไรสักอย่างเพื่อระลึกถึงคุณของผู้พิทักษ์พระศาสนาเท่านั้นเอง อ้างอิงจาก
    • คุณอำพล เจน
    ถ้าสนใจผมจะนำมาให้ทุกท่านอ่านอีกครับ
     
  7. chanoknon

    chanoknon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +776
    <SUP>คาถาบูชาพญานาค
    ปัจฉิมรัสมิง ทิศาภาเค สันตินาคา มหิทธิกา เอติตุมเห อนุรักขันตุ อโรคะเย นะสุเขนะจะ
    </SUP>
    <SUP>ผมเคยเอาบทความมาลงวันที่7/10/2007เพิ่งมาต่อตอนที่3ก็วันนี้ครับไม่รู้อะไรดลใจ</SUP>
    <SUP>ทำให้ต้องลุกมาตอนตีสอง งงมากพราะไม่ได้เข้าเว็ปพลังจิตนานแล้วลุกมาปั๊บผมก็มาพิมพ์เรื่องนาคเลย.....งง</SUP>
    <SUP>ขอให้อ่านอย่างละเอียดตั่งแต่ต้นนะครับนะครับผมยังมีบทความดีอีกมากครับ</SUP>
    <SUP>อนุโมทนาสาธุ</SUP>
     

แชร์หน้านี้

Loading...