ผู้อยู่ในธรรม...เป็นไฉน...?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 12 กรกฎาคม 2008.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ผู้อยู่ในธรรม...?


    <!--MsgIDBody=0--> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


    ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๑


    [๗๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้อยู่ในธรรมๆ
    ดังนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรมด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ฯ



    -->> (นักเรียน)

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็น
    ผู้มากด้วยการเรียน(ปริยัติติพหุโล) ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ




    -->> (นักเขียน - นักแต่ง - นักเทศน์)

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการแสดงธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็น
    ผู้มากด้วยการแสดงธรรม(ปัญญัตติพหุโล) ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ




    -->> (นักสวด - นักท่อง)

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมกระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมาแล้วตามที่ได้เรียนมาแล้ว โดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการสาธยายธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย(สัชฌายพหุโล) ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ





    -->> (นักคิด)

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไปละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการตรึกตามธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็น
    ผู้มากด้วยการตรึกธรรม(วิตักกพหุโล) ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม




    -->> (นักปฏิบัติธรรม)

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถาอุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
    เธอย่อมไม่ปล่อยให้วันคืนล่วงไป ไม่ละการหลีกออกเร้นอยู่ ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการเล่าเรียนธรรมนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม(ธรรมวิหารี)อย่างนี้แล




    ดูกรภิกษุ เราแสดงภิกษุผู้มากด้วยการเล่าเรียนธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการแสดงธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการสาธยายธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการตรึกธรรม แสดงภิกษุผู้อยู่ในธรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุ กิจใดอันศาสดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูลอนุเคราะห์ อาศัยความเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว ดูกรภิกษุ นั่นโคนต้นไม้ นั่นเรือนว่าง เธอจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าเป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ


    จบสูตรที่ ๓


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๒๐๒๔ - ๒๐๕๗. หน้าที่ ๘๘ - ๙๐.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=2024&Z=2057&pagebreak=0 <!--MsgFile=0-->
     
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    พุทธศาสนิกชนควรพิจารณาและศึกษาให้รู้ว่า ธรรมและความจริงที่ทรง
    ตรัสรู้นั้นคืออะไร??... ความจริงที่ทรงตรัสรู้ต่างกับความจริง
    ที่เราคิดนึก หรือเข้าใจอย่างไรบ้าง??...
    ความจริงที่ทรงตรัสรู้ และทรงเทศนาสั่งสอนพุทธบริษัทให้เข้าใจ
    และปฏิบัติตามจนเห็นความจริงนั้น ๆ ก็คือ
    สิ่งทั้งหลายที่ปรากฏนั้น เป็นธรรมแต่ละชนิดแต่ละประเภท
    ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้นได้
    สภาพธรรมแต่ละประเภทต่างกัน เพราะเกิดจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ กัน
    สภาพธรรมนั้นเป็นชีวิตประจำวันจริง ๆ สภาพธรรมนั้น ๆ จะเกิดขึ้นได้
    เมื่อมีสภาพธรรมอื่นที่เกิดร่วมด้วยนั่นเอง ต่างเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
    อาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้น ถ้าปราศจากกันแล้วก็เกิดไม่ได้เลย
    เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริง จะค่อย ๆ คลายการยึดถือสภาพธรรมว่า..
    เป็นสัตว์...บุคคล...ตัวตน



    ;aa34 http://www.dhammahome.com/front/remind/list.php?page_id=2&gid=0&page_size=100&stext=&
     
  3. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้
    ข้าพเจ้าขออุทิศให้
     
  4. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ผู้อยู่ในธรรม...?


    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถาอุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
    เธอย่อมไม่ปล่อยให้วันคืนล่วงไป ไม่ละการหลีกออกเร้นอยู่ ประกอบความสงบใจในภายใน
    เพราะการเล่าเรียนธรรมนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม(ธรรมวิหารี)อย่างนี้แล

    ฯลฯ
    ดูกรภิกษุ กิจใดอันศาสดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูลอนุเคราะห์ อาศัยความเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย
    กิจนั้นเราได้ทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว
    ดูกรภิกษุ นั่นโคนต้นไม้ นั่นเรือนว่าง เธอจงเพ่งฌาน อย่าประมาท
    อย่าเป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ
    ---------------------------------
    อนุโมทนาคุณสมถะที่นำมาแสดงค่ะ ^_^

    ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเสด็จพระพุทธองค์ เป็นผู้อยู่ในธรรม
    จะได้มีธรรมกายเฉกเช่นพระองค์
    ---------------------------------
    อัคคัญญสูตร
    ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
    เธอทั้งสองคนมีชาติก็ต่างกัน มีชื่อก็เพี้ยนกัน มีโคตรก็แผกกัน มีตระกูลก็ผิดกัน
    พากันทิ้งเหย้าเรือนเสีย มาบวชเป็นบรรพชิต

    เมื่อจะมีผู้ถามว่า ท่านทั้งสองนี้เป็นพวกไหน
    เธอทั้งสองพึงตอบเขาว่า ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นพวกพระสมณศากยบุตร ดังนี้เถิด

    ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
    ก็ผู้ใดแล มีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้วแต่รากแก้วคืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง
    อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ไม่พรากไปได้
    ควรเรียกผู้นั้นว่า
    เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ
    เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค
    เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม
    เป็นผู้ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น
    เป็นผู้รับมรดกพระธรรม

    ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี ว่าพรหมกายก็ดี ว่าธรรมภูตก็ดี ว่าพรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของตถาคต ฯ


    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=1703&Z=2129&pagebreak=0

    ^_^




     

แชร์หน้านี้

Loading...