"ผี-พุทธ"๒ฝั่งโขง..ภูพระบาทไทย-ลาว

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 22 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    "ผี-พุทธ"2ฝั่งโขง ภูพระบาทไทย-ลาว

    มนตรี จิรพรพนิต



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>"สุวรรณภูมิ หรือ "อุษาคเนย์" หนึ่งในดินแดนอารยธรรมเก่าแก่ จากความเชื่อดั้งเดิมที่นับถือสิ่งเหนือธรรมชาติ ด้วยการเคารพ "ภูตผี" ก่อนผ่านมาสู่ " พุทธศาสนา"

    แต่ความเชื่อถือดั้งเดิมยังไม่จางหายไปจากคนในภูมิภาคนี้จนหมดสิ้น จึงผสมผสานความเชื่อถือในภูตผีและพุทธศาสนา เข้าควบรวมกัน เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น

    โดยเฉพาะพื้นที่ 2 ริมฝั่งแม่น้ำโขง มหานทีสำคัญในภูมิภาค ยังคงมีหลักฐานทั้งโบราณสถาน และโบราณวัตถุ หลงเหลืออยู่มากมาย

    เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท สยามมิชลิน จำกัด จัดท่องเที่ยวทางเลือกเชิงวัฒนธรรม "ผี-พุทธ และวัดป่า สองฝั่งโขง" เรียนรู้วัฒนธรรมในเส้นทาง อุดรธานี-หนองคาย-เวียงจันทน์ โดยมี อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการด้านโบราณคดี และประวัติศาสตร์ชื่อดัง ให้ความรู้

    จุดแรกที่พุทธสถานบนเทือกเขาภูพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี อาจารย์ศรีศักร อธิบายว่า มีความสัมพันธ์ระดับชุมชนกับบ้านเมือง คือ "เมืองพาน" และ "บ้านหนองกาลึม" ในลุ่มน้ำโขง ขณะที่แหล่งพุทธสถานที่ "วังช้าง" ภูพระของลาว สัมพันธ์กับเมืองเวียงคำ ที่เป็นเมืองคู่ของเวียง จันทน์

    โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยทวารวดีตอนปลาย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ลงมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19 จากนั้นต่อกับพุทธศาสนาแบบเถรวาทลังกาวงศ์ของล้านช้าง-ล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ลงมา

    แหล่งพุทธสถานเทือกเขาภูพาน เริ่มจากบ้านผักบุ้ง ถึงบ้านโคก เป็นช่วงหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ภูพระบาท" และจากบ้านกาลึมถึงบ้านนาอ่าง เป็นอีกช่วงหนึ่ง เรียกว่า "ภูกาลึม"

    แต่ที่โดดเด่นมากกว่าที่อื่น คือ บริเวณต้นน้ำโมง ในเขต อ.บ้านผือ ที่มีชุมชนโบราณ คือ "เมืองพาน" ตั้งอยู่ชายเขาภูพระบาท และบ้านหนองกาลึม ในที่ราบหน้าภูกาลึม มีความสัมพันธ์กับศาสนสถานบนภูพระบาท ในตำนานอุรังคธาตุเรียกว่า "ภูกูเวียน" เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของพญานาค ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมา และเทศนาจนกลายเป็นพุทธสาวก <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    อีกทั้งเป็นสถานที่คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เข้ามาตั้งถิ่นฐาน จึงมักพบภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ รูปเรขาคณิต สัตว์ คน และต้นไม้หลายแห่ง

    บรรดาภาพเขียนสีเหล่านี้ ล้วนเป็นแหล่งพิธีกรรมทางศาสนาของคนก่อนประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น

    กระทั่งนับถือศาสนาพุทธในสมัยทวารวดี ทำให้เริ่มปรากฏมีรูปแบบของศิลปกรรมขึ้นมา แต่ที่โดดเด่น คือ เป็นแหล่งปฏิบัติธรรมที่สำคัญของพระสงฆ์ และนักพรตที่มาปฏิบัติธรรม ทำให้เกิดเป็นสำนักสงฆ์

    ที่เห็นได้ชัด คือ บริเวณโดยรอบของโขดหิน และเพิงหินขนาดสูงใหญ่ที่เรียกว่า "หอนางอุสา"

    อาจารย์ศรีศักร อธิบายว่า หอนางอุสา มีลักษณะเป็นเพิงโขดหิน คล้ายสถูปที่น่าจะประดิษฐานสิ่งเคารพบนนั้น และแกะสลักพระพุทธรูปรอบเพิงตอนบน ถูกล้อมรอบด้วยเสมาหินขนาดสูง ทั้ง 8 ทิศ เพื่อแสดงปริมณฑลของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

    จากหอนางอุสา จะเข้าสู่พื้นที่อาศัยปฏิบัติ และทำพิธีกรรมของพระสงฆ์และนักพรต ระหว่างกลุ่มเพิงหินใหญ่น้อยรายรอบ มีลานกว้างปักเสมาหิน 8 ทิศ เป็นคู่ๆ รวมถึงมีร่องหลุมเสาโดยรอบบริเวณ เพื่อปักเสาไม้สำหรับโครงหลังคาชั่วคราวยามประกอบพิธี

    ภายในเพิงหินเหล่านี้ มีภาพแกะสลักพระพุทธรูปปางต่างๆ เป็นศิลปะแบบทวาราวดี และศิลปะขอม กำหนดอายุได้ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 15-16 ลงมา

    ที่โดดเด่น คือรูปสลักพระพุทธรูปยืนรอบโขดหิน บางองค์สลักเป็น "ปางเปิดโลก" ที่ต่อมากลายเป็น อัตลักษณ์อย่างหนึ่งของพระพุทธรูปสมัยล้านช้าง <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ห่างไปทางทิศตะวันออกจากหอนางอุสา มีเพิงหินที่ชื่อว่า "วัดพ่อตา" มีลักษณะเป็นเพิงหินขนาดใหญ่ยื่นออกมาคล้ายเป็นหลังคาปราสาท หรือวิหาร มีร่องรอยการตัดหิน ปรับพื้นที่ให้เป็นแท่นตั้งพระพุทธรูป

    ส่วนผนังด้านหลังปรับให้เรียบ มีรอยภาพเขียนสีรูปพระพุทธรูปยืน แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ถือได้ว่าเป็นภาพเขียนที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง ในการเขียนภาพสีบนผนังโบสถ์

    นอกจากศาสนสถานตามธรรมชาติเหล่านั้นแล้ว ยังมีการก่อสร้างศาสนสถานขึ้นเพิ่มเติมในสมัยหลัง ในช่วงยุคล้านช้าง ที่ได้รับอิทธิพลของพุทธแบบลังกาวงศ์ คือ การสร้างรอยพระพุทธบาท และอูบมุง ขึ้นหลายแห่ง เช่น พระพุทธบาทบัวบก อยู่ห่างจากหอนางอุสา ไปประมาณ 2 ก.ม.

    โดยพระพุทธบาทบัวบก เป็นของคู่กันกับ พระ พุทธบาทบัวบาน ที่บ้านหนองกาลึม ชาวบ้านมีประ เพณีทำบุญตามฤดูกาล โดยจะทำพิธีที่พระพุทธบาทบัวบานในเดือน 3 และจะไปจัดพิธีบุญต่อที่พระพุทธ บาทบัวบกในเดือน 4 นับเป็นรอยพระพุทธบาทที่เป็นพี่น้องกัน

    แม้รอบพระพุทธบาททั้ง 2 แห่ง ถูกยกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ภาครัฐกลับละเลยความสัมพันธ์ทางงานบุญของรอยพระพุทธบาททั้ง 2 แห่งไปอย่างน่าเสียดาย

    "พื้นที่ราบลุ่มน้ำโมง ทั้งภูกาลึมและภูพระบาท เกี่ยวเนื่องกับชุมชนบ้านหนองกาลึม และบ้านเมืองพาน อ.บ้านผือ นับเป็นพื้นที่ต้นน้ำโมง ไหลลงสู่ที่ราบลุ่มน้ำโขง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เป็นพื้นที่ซึ่งมีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย ถึงสมัยทวารวดีและลพบุรี จึงเห็นแหล่งโบราณคดีที่บ้านโคกคอน และบ้านโพนตาล รวมไปถึงเกาะดอนชิงชู้ ในแม่น้ำโขง เหนือเวียงจันทน์" อาจารย์ศรีศักร อธิบายถึงความเกี่ยวโยงทางวัฒนธรรม 2 ฝั่งโขง

    ในสมัยล้านช้าง พื้นที่ริมน้ำโขงถูกพัฒนาขึ้นเป็น "เมืองพานพร้าว" เป็นเมืองแฝดกับเวียงจันทน์ และพื้นที่ราบลุ่มน้ำงึมที่อยู่ทางเหนือของเวียงจันทน์ เป็นพื้นที่สมบูรณ์ เกิดชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ และพัฒนาเรื่องมากลายเป็น "เมืองเวียงคำ" ขึ้นมาอยู่คู่กับเวียงจันทน์

    ที่เมืองเวียงคำนี้ มีแหล่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็น "พุทธวนาสี" ที่บริเวณ "วังช้าง" ต้นลำน้ำชิมบริ เวณตีนถูพระ และมีลักษณะเดียวกับที่ภูพระบาททางฝั่งไทย

    วังช้าง เป็นเขาหิน ทรายมีโขดหินเพิงหินแบบเดียวกับภูพระบาท สลักพระพุทธรูปยืนไว้บริเวณที่เป็นประธานของพิธีกรรม เช่นเดียวกับที่วัดพ่อตา

    มีความโดดเด่นที่กลุ่มพระพุทธรูปสลักเป็นพระประธาน 2 องค์ บนเพิงผาเหนือพื้นที่ยกขึ้นเป็นฐาน วิหาร โดยพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ มีลักษณะเฉพาะเป็นฝีมือช่างพื้นเมือง โดยเฉพาะพระพักตร์มีลักษณะเป็นท้องถิ่นสูง รวมถึงมีจารึกอักษรลาว เป็นเหตุให้นักประ วัติศาสตร์ลงความเห็นว่า ให้เป็นศิลปะแบบล้านช้าง

    อย่างไรก็ตาม อาจารย์ศรีศักร ให้ความเห็นว่า หากดูจากพระเศียรแล้ว จะเห็นได้ชัดว่าเป็นศิลปะแบบลพบุรี ขณะที่ลักษณะชายผ้าและท่านั่ง เป็นศิลปะแบบทวารวดี-ลพบุรี

    วังช้าง นับเป็นแหล่งพุทธสถานของศาสนาพุทธแบบเถรวาท ที่สืบต่อมาจากสมัยทวารวดี รวมถึงมีความสัมพันธ์กับบ้านเมืองโบราณ สืบมาจนถึงสมัยลพบุรีและศรีโคตรบูร เช่นเดียวกับพุทธสถานบนภูพระบาทของไทย

    --------
    [​IMG]
    หนังสือพิมพ์ข่าวสดออนไลน์ : ครบทุกรส สดทุกเรื่อง==
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2009
  2. สิงหนวัติ

    สิงหนวัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    788
    ค่าพลัง:
    +2,107
    เคยไปมาแล้วครับ น่าสนใจและน่าศึกษาเป็นอย่างมาก

    เรื่องน้ำโมงนะครับ ไม่แน่ใจว่าไหลลงน้ำโขงที่ศรีเชียงใหม่หรือเปล่า แต่ไหลลงที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายแน่ๆครับ เพราะอยู่ข้างบ้านผมเอง

    จาก คนในพื้นที่
     
  3. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,352
    เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้ ^^"
     
  4. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    fairy3(f) ต้องไปเที่ยวครับ (f)fairy3<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. +||_แร๊ปรักชาติ_||+

    +||_แร๊ปรักชาติ_||+ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2008
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +20
    เหอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    เด็กอุดรมาแจมด้วยจ้า
    อยู่อุดรอ่ะ ที่เที่ยวมากมาย
    สาวๆก็น่ารักด้วยนะคะ
    55555555555555555555+
     
  6. มเหนทรวรมัน

    มเหนทรวรมัน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +48
    คนเมืองอุดรครับ

    ขอเชิญชวนมาเที่ยวนะครับ
     
  7. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    อยากไปมั่งจังครับ หุหุหุหุห
     
  8. CITYNAVYMAN

    CITYNAVYMAN Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +97
    ขอบคุณครับ
     
  9. pangbood

    pangbood Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +69
    น่าสนใจมากเลยคะ สถานที่สำคัญแบบนี้ทางรัฐจะให้ความสนใจก็ต่อเมื่อเพื่อนบ้านจะมายึดเอาไปหรือขโมยเอาไปขายก็เสียแล้ว....
     
  10. ka-jaeb

    ka-jaeb สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณ สำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...