ปัจฉิมสถานหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระบูรพาจารย์ใหญ่สายพระกัมมัฏฐาน‏

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย กลอง, 16 มิถุนายน 2012.

  1. กลอง

    กลอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,468
    ค่าพลัง:
    +2,991
    ปัจฉิมสถานหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถร พระบูรพาจารย์ใหญ่สายพระกัมมัฏฐาน
    เมื่อ ช่วงวันวิสาขบูชา ที่ผ่านมาปีนี้พุทธศักราช ๒๕๕๕ ซึ่งปีนี้เป็นปีพิเศษที่ชาวพุทธนับวันตรัสรู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาเอกของโลก ครบวาระ ๒,๖๐๐ ปี เรียกว่า “พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้” ผม และหมู่คณะท่องถิ่นธรรมฯ ได้มีโอกาสเดินทางมาถิ่นสกลธรรม ตามรอยธรรมพระบูรพาจารย์ ปัจฉิมสถานหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    [​IMG]
    ๑.วัดป่านาคนิมิตต์ ธรรมสถานที่พญานาคมากราบฟังธรรม และจารึกรอยเอาไว้ ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้มาพำนัก ณ บ้านนามน หรือ วัดป่านาคนิมิตต์ สถานที่นี้เป็นป่ารกชัฏเหมาะแก่การทำความเพียร ในปีนั้นได้มีการประชุมพระคณาจารย์กันโดยมิได้นัดหมาย หรือการอาราธนาบอกกล่าวแต่อย่างใด ได้แก่ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์ทองสุข สุจิตฺโต, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน, พระ อาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร เป็นต้น ท่านทั้งหลายนั้นได้มาสู่สถานที่นี้ โดยมีหลวงปู่มั่น เป็นจุดมุ่งหมาย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการประชุมที่อัศจรรย์ ในการมาของคณาจารย์เหล่านี้ล้วนเป็นพระเถระผู้ใหญ่ และผู้น้อยติดตามจึงเป็นเหตุให้การประชุมรวมตัวของคณะสงฆ์เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพอย่างล้นเหลือ โดยหลวงปู่มั่น ได้วางนโยบายสำคัญๆ ทั้งทางด้านปกครอง และด้านการปฏิบัติกรรมฐาน สถานที่นี้ยังเป็นที่บันทึกพระธรรมเทศนาที่สำคัญของหลวงปู่มั่น ครั้งแรก คือ "มุตโตทัย" ณ วัดแห่งนี้ โดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ด้วย
    [​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    อ่านหนังสือ มุตโตทัย และชีวประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไฟล์ PDF ได้ที่ลิงค์
    http://www.fungdham.com/download/book/muttothai.pdf

    [​IMG]
    [​IMG][​IMG]
    ตำแหน่งกุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลังเดิมนั้น ปัจจุบันได้สร้างศาลาพระอุโบสถหลังใหญ่เป็นอนุสรณ์ไว้แทน
    ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในครั้งนี้ชาวบ้านนามนได้สร้างกุฏิถวายองค์ท่าน รุ่งเช้าของวันที่ได้เริ่มต้นก่อสร้างปรากฏ หลวงปู่มั่นได้ชี้บอกโยมว่า "นั่นแหละ พญานาคทำรอยไว้ให้แล้ว" ชาวบ้านไปดูเป็นรอยกลมๆ จึงนำรอยนั้นเป็นหมายในการขุดหลุมตั้งเสากุฏิ ต่อมาเมื่อจะสร้างศาลาก็ปรากฏรอยนี้อีกจึงได้ลงเสาศาลาในลอยนั้นเช่นกัน ท่านจึงพูดกับโยมว่า "วัดนี้ชื่อว่าวัดป่านาคนิมิตต์" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดป่าบ้านนามนตามชื่อหมู่บ้านนั้น ต่อมาเมื่อได้จดทะเบียนชื่อวัด จึงได้ใช้มงคลนามที่หลวงปู่มอบให้นี้เป็นชื่อวัด


    [​IMG][​IMG]
    ๒.วัด ป่าภูริทัตตถิราวาส หรือที่เรียกกันอีกชื่อคือ “วัดป่าบ้านหนองผือนาใน” เป็นธรรมานุสรณ์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มาจำพรรษาติดต่อกันอยู่ถึง ๕ พรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๔๙๒ เพื่อโปรดสอนลูกศิษย์จนเป็นเพชรน้ำหนึ่ง ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการเป็นทายาททางธรรมของท่านอย่าง ยิ่ง ในการที่ท่านอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือนี้ มีความประสงค์เพื่อให้บรรดาศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่เข้ามาศึกษา เป็นการเปิดโอกาสแก่บรรดาพระภิกษุสามเณร และเพื่อให้เข้าใจในธรรมยิ่งๆ ขึ้น กับทั้งการแสดงธรรมนั้นยังความชื่นชมและแก้ความสงสัยให้อย่างไม่มีข้อแย้ง ซึ่งคล้ายกับว่าท่านจะรู้จักกาลแห่งสังขารธรรมจักอยู่ไปไม่ได้นาน ใคร่จะสอนให้แก่บรรดาศิษย์เป็นผู้เข้าใจในธรรมอันควรที่จะพึงรู้พึงเข้าใจ สืบแทนท่านได้เป็นหลักฐานแก่คณะกัมมัฎฐานต่อไป พวกเราได้มาน้อมรำลึกมองดูสถานที่อันสงบวิเวก สงัดจากโลกภายนอก สมถะเรียบง่าย สันโดษกลางแมกไม้ธรรมชาติ
    [​IMG]
    [​IMG]
    กุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าบ้านหนองผือนาใน
    [​IMG]
    [​IMG]
    เรื่องอดีตชาติก่อนท่านอาจารย์มั่นพูดว่า สมัยพระโสณะกับพระอุตตระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นสุวรรณภูมิ คือ นครปฐมเดี๋ยวนี้ ท่านอาจารย์มั่นนี้ได้เป็นสามเณรน้อยมาด้วย ท่านว่าสมัยนั้นท่าน ข้องคาอยู่ในการปรารถนาพุทธภูมิท่านจึงไม่ได้สำเร็จมรรคผลอะไร ท่านกล่าวว่าสมัยนั้นน้ำทะเลขึ้นไปจรดกับจังหวัดสระบุรี หรือเขาวงพระจันทร์ ส่วนพระโสณะและพระอุตตระนั้นชอบใช้ไม้เท้า ทางกกเป็น ๘ เหลื่อม ทางปลายนั้นเป็น ๑๖ เหลื่อม ท่านว่าเมืองไทยเรานี้มีคนมีบุญวาสนามากมาเกิดบ่อย ๆ และเป็นที่ชุมนุมของเทวดามเหศักดิ์ผู้มีฤทธิ์มาก ทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่น พระบรมสารีริกธาตุก็เสด็จมาอยู่ในเมืองไทย ประเทศอินเดียไม่ค่อยมี เพราะเมืองไทยเรามีพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองกว่าประเทศอื่น ฉะนั้นเมืองไทยเรา จึงเป็นเมืองแสนสงบสุข อุดมสมบูรณ์เป็นเอกราชมานาน เพราะเป็นดินแดนที่เกิดของนักปราชญ์ทั้งหลาย พูดถึงตอนนี้เป็นเหตุให้เราคนไทยที่เป็นเจ้าของประเทศภาคภูมิใจมาก และ ภาคภูมิใจที่ได้มาเกิดในเมืองไทยที่มีครูบาอาจารย์ผู้วิเศษมาโปรดนี้ได้ยินจาก ท่านพระครูสีลขันธ์สังวร (อาจารย์อ่อนสี) วัดพระงาม ท่าบ่อ พูดให้ฟัง เพราะอาจารย์องค์นี้ท่านได้อยู่กับท่านอาจารย์มั่นตั้ง ๖ ปี ท่านรู้ดีเรื่องอาจารย์มั่น ใครสนใจไปเรียนถามท่านก็ได้
    [​IMG]
    ธรรมานุสรณ์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มาจำพรรษาติดต่อกันอยู่ถึง ๕ พรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๔๙๒ เพื่อโปรดสอนลูกศิษย์จนเป็นเพชรน้ำหนึ่ง ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการเป็นทายาททางธรรมของท่านอย่างยิ่ง ในการที่ท่านอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือนี้ มีความประสงค์เพื่อให้บรรดาศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่เข้ามาศึกษา เป็นการเปิดโอกาสแก่บรรดาพระภิกษุสามเณร และเพื่อให้เข้าใจในธรรมยิ่งๆ ขึ้น กับทั้งการแสดงธรรมนั้นยังความชื่นชมและแก้ความสงสัยให้อย่างไม่มีข้อแย้ง ซึ่งคล้ายกับว่าท่านจะรู้จักกาลแห่งสังขารธรรมจักอยู่ไปไม่ได้นาน ใคร่จะสอนให้แก่บรรดาศิษย์เป็นผู้เข้าใจในธรรมอันควรที่จะพึงรู้พึงเข้าใจ สืบแทนท่านได้เป็นหลักฐานแก่คณะกัมมัฎฐานต่อไป
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    หลังคาเก่ากุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ วัดป่าภูริทัตตถิราวาส (หนองผือนาใน)

    ประวัติย่อ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดภูริทัตตถิรวาส

    เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๓ ที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัด

    อุบลราชธานี ในสกุลแก่นท้าว เป็นตะกูลนักรบ เพียแก่นท้าวเป็นปู่ ปู่เคยผ่านศึกทุ่งเชียงขวาง นายคำด้วง

    เป็นบิดา นางจันทร์เป็นมารดา นับถือพระพุทธศาสนาตลอดมา

    บุคลิกลักษณะ ร่างเล็ก ผิวขาวแดง คล่องแคล่ว ว่องไว สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความประพฤติ อัธยาศัย

    เรียบร้อย ชอบศึกษาธรรมะ รักในเพศนักบวชประจำนิสัย

    อุปสมบทอายุ ๒๒ ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทาเป็นพระ

    กรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณเป็นอนุศาสนาจารย์

    ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามเบื้องยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔)

    เดินธุดงค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะแรก ๒๔ พรรษา บั้นปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๖ พรรษา ที่

    วัดป่าบ้านหนองผือ ๕ พรรษา (๒๔๘๗-๒๔๙๒)

    เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (มรณภาพ) วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร สิริอายุ ๘๐ ปี




    [​IMG]
    [​IMG]

    ๓.วาระสุดท้ายก่อนนิพพาน ณ ศาลาพักอาพาธ วัดป่าบ้านกลางโนนภู่ ภายหลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ แล้ว อาการป่วยขององค์หลวงปู่มั่น หนักขึ้นทุกวัน องค์ท่านทราบถึงความเป็นไปในอนาคตแล้วปรารภที่จะไปมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาสในเมืองสกลนคร จึงได้มีการจะนำท่านไปยังวัดป่าสุทธาวาส โดยอาราธนาท่านพักบนคานหามแวะพักที่ศาลาหลังเล็กวัดป่าบ้านกลางโนนภู่ก่อนเป็นเวลา ๑๑ วัน บรรดาพระสงฆ์ที่เป็นศิษย์ทั้งพระเถระ อนุเถระทั้งไกลทั้งใกล้ ได้มาดูแลปฏิบัติเป็นจำนวนร้อย ต่างพักหมู่บ้านใกล้เคียง ส่วนวัดกลางบ้านภู่ไม่ต้องกล่าวถึง นอกกุฏิ ตามร่มไม้ ริมป่า มีพระปักกลดเต็มไปหมด
    [​IMG]
    ในวันที่ ๑๑ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านกล่าวว่า "..พวกญาติโยมพากันมามาก มาดูพระเฒ่าป่วยดูหน้าตาสิ เป็นอย่างนี้ละญาติโยมเอ๋ย ไม่ว่าพระไม่ว่าคน พระก็มาจากคน มีเนื้อมีหนังเหมือนกัน คนก็เจ็บป่วยได้ พระก็เจ็บป่วยได้ สุดท้ายก็คือ ตาย ได้มาเห็นอย่างนี้แล้วก็จงพากันนำไปพิจารณา เกิดมาแล้ว ก็แก่ เจ็บ ตาย แต่ก่อนจะตาย ทานยังไม่มีก็ให้มีเสีย ศีลยังไม่เคยรักษาก็รักษาเสีย ภาวนายังไม่เคยเจริญ ก็เจริญให้พอเสีย จะได้ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ด้วยความไม่ประมาท นั้นละจึงจะสมกับที่ได้เกิดมาเป็นคน เท่านี้ละ พูดมากก็เหนื่อย" นี้คือ โอวาทที่ท่านฯ ให้ไว้แก่ชาวพรรณานิคมตั้งแต่นั้นจนวาระสุดท้ายท่านไม่ได้พูดอีกเลย .."
    [​IMG]
    แคร่หามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากวัดป่าหนองผือนาใน มาที่วัดป่ากลางโนนภู่นี้
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    นิทรรศการบนศาลา[​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    "..พิจารณาสังขารภายนอกว่า มีความเจริญขึ้นหรือเจริญลง สังขารมีอะไรใหม่หรือมีความเก่าแก่ชราหลุดไป พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอจะทำได้ ตายแล้วจะเสียการ ให้ท่องในใจอยู่เสมอว่าเรามีความ แก่-เจ็บ-ตาย อยู่ประจำตัวทั่วหน้ากัน.."
    โอวาทธรรม ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    [​IMG]

    ฟังเสียงอ่านชีวประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต โดย หลวงตามหาบัว ได้ที่ลิงค์
    http://www.fungdham.com/sound/mun.html
    ฟังเสียงอ่านปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น โดย หลวงตามหาบัว ได้ที่ลิงค์ http://www.fungdham.com/book/pratudong-bua.html
    ขออนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน ผู้อ่านประวัติและปฏิปทา

    ขออนุโมทนาบุญนี้ให้กับทุกๆท่านเช่นเคยครับ..สาธุ



     

แชร์หน้านี้

Loading...