ปัจจยาการวิภังค์

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 25 เมษายน 2010.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
    วิภังคปกรณ์
    <O:p</O:p

    ๖. ปัจจยาการวิภังค์
    สุตตันตภาชนีย์
    <O:p</O:p


    [๒๕๕] สังขารเกิดเพราะอวิชาเป็นปัจจัย<O:p</O:p
    วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย<O:p</O:p
    นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย<O:p</O:p
    สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย<O:p</O:p
    ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย<O:p</O:p
    เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย<O:p</O:p
    ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย<O:p</O:p
    อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย<O:p</O:p
    ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย<O:p</O:p
    ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย<O:p</O:p
    ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้<O:p</O:p


    [๒๕๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน<O:p</O:p
    ความไม่รู้ทุกข์ ความไม่รู้ทุกขสมุทัย ความไม่รู้ทุกขนิโรธ ความไม่รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา
    <O:p</O:p
    <O:p
    [๒๕๗] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน<O:p</O:p
    ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขารวจีสังขาร จิตตสังขารในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉนกุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร<O:p</O:p
    อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร<O:p</O:p
    อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร กายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร มโนสัญเจตนา เป็นจิตตสังขาร<O:p</O:p
    เหล่านี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย


    <O:p</O:p
    <O:p
    [๒๕๘] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน<O:p</O:p
    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย



    <O:p</O:p
    <O:p
    [๒๕๙] นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน<O:p</O:p
    นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉ<O:p</O:p
    เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นามรูป เป็นไฉน<O:p</O:p
    มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป<O:p</O:p
    นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

    <O:p</O:p
    <O:p
    [๒๖๐] สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน<O:p</O:p
    จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

    <O:p</O:p
    <O:p
    [๒๖๑] ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน<O:p</O:p
    จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย

    <O:p</O:p
    <O:p
    [๒๖๒] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน<O:p</O:p
    จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

    <O:p</O:p
    <O:p
    [๒๖๓] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน<O:p</O:p
    รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

    <O:p</O:p
    <O:p
    [๒๖๔] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน<O:p</O:p
    กามุปาทาน ทิฏฐปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

    <O:p</O:p
    <O:p
    [๒๖๕] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน<O:p</O:p

    ภพ ๒ คือ กรรมภพ ๑ อุปปัตติภพ ๑<O:p</O:p

    ในภพ ๒ นั้น กรรมภพ เป็นไฉน<O:p</O:p
    ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า กรรมภพกรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า กรรมภพ<O:p</O:p
    อุปปัตติภพ เป็นไฉน<O:p</O:p
    กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ<O:p</O:p
    กรรมภพและอุปปัตติภพดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
    <O:p</O:p
    <O:p
    [๒๖๖] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน<O:p</O:p
    ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใดนี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
    <O:p</O:p
    <O:p
    [๒๖๗] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน<O:p</O:p
    ชรา ๑ มรณะ ๑ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน<O:p</O:p
    ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ชรา มรณะ เป็นไฉน<O:p</O:p
    ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า มรณะ ชรา และมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย
    <O:p</O:p
    <O:p
    [๒๖๘] โสกะ เป็นไฉน<O:p</O:p
    ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายในความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศกเศร้าของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรคความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่าโสกะ

    <O:p
    [๒๖๙] ปริเทวะ เป็นไฉน<O:p</O:p
    ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้องไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรร่ำ กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพ ย์ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า ปริเทวะ<O:p</O:p

    [๒๗๐] ทุกข์ เป็นไฉน<O:p</O:p
    ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์<O:p

    [๒๗๑] โทมนัส เป็นไฉน<O:p</O:p
    ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า โทมนัส<O:p</O:p

    [๒๗๒] อุปายาส เป็นไฉน<O:p</O:p
    ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า อุปายาส<O:p</O:p
    <O:p
    [๒๗๓] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้นั้น ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่าความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้<O:p</O:p
    <O:p

    สุตตันตภาชนีย์ จบ<O:p</O:p


    [​IMG]


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.940772/[/MUSIC]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2010
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,683
    ค่าพลัง:
    +9,239
    [​IMG]

    "[๒๗๓] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้นั้น
    ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
    ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่าความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
    ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้"<O:p</O:p


    ขออนุโมทนาค่ะ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2010
  3. clearlove

    clearlove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +644
    ขออนุโมทนากับทุกบุญกุศลบารมีของ คุณบุญญสิกขาและคุณWVICHAKORN ด้วยครับ
     
  4. พอชูเดช

    พอชูเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,276
    ค่าพลัง:
    +4,339
    สาธุครับ

    -มหาโมทนากับกุศลจิต ขอให้สำเร็จตามที่ปรารถนาครับ

    สาธุ

     

แชร์หน้านี้

Loading...