ประวัติพระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ ครับ ท่านมีชื่อเสียงในหมู่ชาวตะวันตก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 13 มิถุนายน 2008.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    [​IMG]


    "ติช นัท ฮันห์" กำเนิดในปี พ.ศ. 2469 ที่จังหวัดกวงสี ในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ท่านมีชื่อเดิมว่า เหงียน ซวน เบ๋า ( Nguyen Xuan Bao) "ติช นัท ฮันห์" เป็นฉายา เมื่อท่านได้รับ การอุปสมบทแล้ว คำว่า "ติช" ในเวียดนามใช้เรียกพระ มีความหมายว่า เป็นผู้สืบทอด พุทธศาสนา ส่วน "นัท ฮันห์" เป็นนามทางธรรมของท่าน มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง" (One Action) หมู่ศิษย์ในทางตะวันตก เรียกท่านว่า "Thay" (ไถ่) ซึ่งในภาษาเวียดนามมีความหมายว่า "ท่านอาจารย์"


    ในปี พ.ศ. 2485 เมื่ออายุได้ 16 ปี ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดตื่อฮิ้ว (Tu Hieu) วิถีชีวิตในวัดเซนแห่งนี้ เป็นรากฐานอันสำคัญ ต่อชีวิตนักบวชของท่าน สามเณรต้องเรียนรู้ การมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันขณะ ในทุกการกระทำ อาจารย์ได้มอบหนังสือ เล่มเล็กๆ กำชับให้ศึกษาหนังสือนั้น จนกว่าจะเข้าใจ "การนำสารัตถะแห่งพระวินัย มาประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวัน" เป็นตอนแรกของคู่มือเล่มเล็กนั้น กล่าวถึง อากัปกิริยาของ พระฝึกหัด จะต้องเกิดขึ้นพร้อมไปกับสัมมาสติ หรือการกำหนดรู้ในปัจจุบัน

    ในปี พ.ศ. 2492 ติช นัท ฮันห์ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ 23 ท่านได้เดินทางไปไซ่ง่อน เพื่อช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนา และเขียนบทความ ซึ่งถูกต่อต้าน อย่างมาก จากผู้นำองค์กรชาวพุทธและจากรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2505 เมื่อท่านได้รับ การเสนอทุนจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เพื่อศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ จึงเดินทางไปยัง ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้น 1 ปี ท่านได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แต่ท่านตัดสินใจ เดินทางกลับเวียดนาม เพื่อกลับมาทำงานด้านความร่วมมือระหว่าง พุทธมหายาน และหินยานในประเทศ และตั้งรร.ยุวชนรับใช้สังคม เพื่อรักษาสังคม ที่เสียหายจากสงคราม สานต่อแนวคิด เรื่องพุทธศาสนาที่ผูกสัมพันธ์ กับสังคม และ พัฒนาวงการสงฆ์ด้วยการสอนและ เขียนในสถาบันพุทธศาสนาขั้นสูง เป็นการบ่งบอกถึง แนวคิด ของท่านว่า การกระทำและปัญญา ต้องก้าวไปด้วยกัน (action and wisdom must go together) และจัดตั้งคณะเทียบหินในปี 2509



    ท่านตระหนักว่า ต้องมี การเปลี่ยนแปลง วิธีการการต่อสู้เพื่อสันติภาพ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือ หยุดการสนับสนุนสงคราม และมุ่งเน้น สันติภาพ โดยปลุกจิตสำนึกต่อคนทั่วโลก จน มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ( Martin Luther King, Jr.) เสนอนาม ติช นัท ฮันห์ เพื่อรางวัลโนเบล เพื่อสันติภาพ การทำงานเช่นนี้ ทำให้รัฐบาลเวียดนามใต้ ปฏิเสธการกลับประเทศของท่าน จนแม้ รวมประเทศแล้วก็ตาม ท่านจึงลี้ภัย อย่างเป็น ทางการ ในประเทศฝรั่งเศส โดยสอน ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเวียดนาม ที่มหาวิทยาลัย และสร้างอาศรมแห่งหนึ่ง นอกเมือง ปารีส เพื่อเขียนหนังสือ และปลูกพืชผักสมุนไพร ซึ่งท่านติดต่อลับๆ กับพระภิกษุที่ถูกจำคุก ในเวียดนาม เพราะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ระหว่างนั้นท่านยังคงทำงาน เพื่อสันติภาพและผู้ลี้ภัย จากประสบการณ์ของท่านที่ได้พบเห็นชะตากรรม ของผู้ลี้ภัย ด้วยตนเอง จนสามารถ ช่วยเหลือผู้คนได้อีกมาก

    ในปี พ.ศ. 2525 เมื่อผู้มาปฏิบัติธรรมที่อาศรมของท่านทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่านจึงเริ่มก่อตั้งชุมชนแห่งใหม่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของฝรั่งเศส ให้ชื่อว่า หมู่บ้านพลัม ( Plum Village ) ซึ่งถือเป็นบ้านของท่านจนทุกวันนี้ ในช่วงแรก หมู่บ้านพลัมเป็นแหล่งพักพิงของผู้ลี้ภัย ในช่วงการปรับตัว ก่อนเข้าสู่สังคมใหม่ในประเทศใหม่ ปัจจุบันหมู่บ้านพลัมได้ต้อนรับผู้คนมากมายในการปฏิบัติสมาธิภาวนา และได้เริ่มมีสมาชิก เป็นนักบวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ในปี พ.ศ. 2549 มีสมาชิกนักบวชกว่าห้าร้อยคน มาจากยี่สิบกว่าประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ที่หมู่บ้านพลัม ในฝรั่งเศส ที่ Green Mountain Dharma Center รัฐเวอร์มอนต์ และ Deer Park Monastery รัฐแคลิฟอร์เนียในสหรัฐอเมริกา และที่วัด บัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และ วัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม

    ในปี พ.ศ. 2548 เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองของเวียดนามเข้าสู่ภาวะปกติ ติช นัท ฮันห์ ได้เดินทางกลับไปเยือนประเทศเวียดนาม บ้านเกิดของท่านอย่างเป็นทางการ หลังการจากมาเป็นเวลา 39 ปี และได้รับการต้อนรับจากประชาชนชาวเวียดนามอย่างอบอุ่น ปัจจุบันท่าน ติช นัท ฮันห์ ยังคงพำนักอยู่ที่ หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส และยังเดินทางไปนำการภาวนาในประเทศต่างๆ ท่านเป็นชาวเวียดนาม ที่เป็นพระมหาเถระ ในพุทธศาสนา และมีอุดมการณ์แห่งพระโพธิสัตว์อันเป็นพระที่เลื่อมใส แห่งสากลโลก เป็นอย่างยิ่ง

    <!--sizeo:4-->ที่มา
    http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=12477

    เครดิตภาพ
    http://www.parallax.org/images/DearThay.jpg



    อันนี้เป็นผลงานหนังสือของท่านครับ
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มิถุนายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...