ปฐมปัญณาสก์ (พุทธวัจนะ)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 25 พฤศจิกายน 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <table align="center" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="98%"><tbody><tr><td bgcolor="#000000" valign="top" width="222">
    </td> <td class="fontpolyboon" bgcolor="#000000" valign="top"> เริ่มต้นด้วยเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โคนไม้สะเดา ใกล้เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่. เวรัญชพราหมณ์ได้ทราบกิตติศัพท์สรรเสริญ จึงเข้าไปเฝ้า แต่มิได้ถวายบังคม หลังจากทักทายปราศรัยแล้ว ก็ได้กล่าวว่า ได้ข่าวเขาพูดกันว่าพระสมณโคดมไม่ยอมไหว้หรือลุกขึ้นต้อนรับพราหมณ์ผู้สูง อายุ การที่พระสมณโคดมทำเช่นนั้น ย่อมไม่สมควร. พระพุทธเจ้าตรัสรับว่า พระองค์ มิได้ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุจริง. เวรัญชพราหมณ์จึงเกล่าววาจารุกรานด้วยถ้อยคำที่ถือกันในสมัยนั้นว่า เป็นคำดูหมิ่นเหยียดหยาม รวม ๘ ข้อ เช่น คำว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรสชาติ, เป็นคนไม่มีสมบัติ, เป็นคนนำให้ฉิบหาย, เป็นคนเผาผลาญ เป็นต้น. แต่พระผู้มีพระภาคทรงอธิบาย คำเหยียดหยามนั้นไปในทางที่ดี เช่นว่า ใครจะว่าไม่มีรสชาติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดรส คือรูป เสียง เป็นต้น. ใครจะว่าไม่มีสมบัติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดสมบัติ คือรูป เสียง เป็นต้น. ใครจะว่านำให้ฉิบหายก็ถูก เพราะท่านแสดงธรรมให้ทำบาป อกุศล ทุกอย่างให้ฉิบหาย. ใครจะว่าเป็นคนเผาผลาญก็ถูก เพราะท่านเผาผลาญบาป อกุศล อันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนทั้งหมด. เมื่อตรัสตอบแก้คำดูหมิ่นเหยียดหยามของพราหมณ์ตกทุกข้อโดยไม่ต้องใช้วิธีด่า ตอบ หากใช้วิธีอธิบายให้เป็นธรรมะสอนใจได้ดั่งนั้นแล้ว จึงตรัสอธิบายเหตุผล ในการที่พระองค์ไม่ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุ โดยเปรียบเทียบว่าลูกไก่ตัวไหน เจาะฟองไข่ออกมาได้ก่อน ลูกไก่ตัวนั้น ควรนับว่าแก่กว่าลูกไก่ตัวอื่น พระองค์เจาะฟองไข่คืออวิชชาก่อนผู้อื่น จึงถือได้ว่าเป็นผู้แก่กว่าผู้อื่น เวรัญชพราหมณ์ได้ฟังก็เลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกราบทูลอาราธนาให้ทรงจำพรรษอยู่ในเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พระองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ.[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เรื่องเวรัญชพราหมณ์
    โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เวรัญชพราหมณ์ได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ พระสมณะโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูลประทับอยู่ ณ บริเวณต้นไม้สะเดา ที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ก็แลพระกิตติศัพท์อันงาม ของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์แม้เพราะเหตุนี้ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ แม้เพราะเหตุนี้ ทรงบรรลุวิชชา และ จรณะแม้เพราะเหตุนี้ เสด็จไปดีแม้เพราะเหตุนี้ ทรงทราบโลกแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็น ศาสดาของเทพและมนุษย์ทั้งหลายแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพุทธะแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพระผู้มีพระภาคแม้เพราะเหตุนี้ พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทพ และมนุษย์ ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี.
    เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
    หลังจากนั้น เวรัญชพราหมณ์ได้ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เวรัญชพราหมณ์นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า
    เวรัญชพราหมณ์ : ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พระสมณะโคดม ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ข้อที่ข้าพเจ้าทราบมานี้นั้นเป็นเช่นนั้นจริง อันการที่ท่านพระโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะนี้นั้น ไม่สมควรเลย.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควร ลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ เพราะว่า ตถาคตพึงไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญ บุคคลใดด้วยอาสนะ แม้ศีรษะของบุคคลนั้นก็จะพึงขาดตกไป.
    เวรัญชพราหมณ์ : ท่านพระโคดมมีปกติไม่ไยดี.
    พระผู้มีพระภาค : มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมมีปกติไม่ไยดี ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะความไยดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านั้น ตถาคต ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีก ต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมมีปกติไม่ไยดี ดังนี้ชื่อว่า กล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    เวรัญชพราหมณ์ : ท่านพระโคดมไม่มีสมบัติ.
    พระผู้มีพระภาค : มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมไม่มีสมบัติ ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    เวรัญชพราหมณ์ : ท่านพระโคดมกล่าวการไม่ทำ.
    พระผู้มีพระภาค : มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมกล่าวการไม่ทำดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมกล่าวการไม่ทำ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    เวรัญชพราหมณ์ : ท่านพระโคดมกล่าวความขาดสูญ.
    พระผู้มีพระภาค : มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมกล่าวความขาดสูญดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวความขาดสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมกล่าวความ ขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    เวรัญชพราหมณ์ : ท่านพระโคดมช่างรังเกียจ.
    พระผู้มีพระภาค : มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างรังเกียจ ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรารังเกียจความถึงพร้อมแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างรังเกียจ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    เวรัญชพราหมณ์ : ท่านพระโคดมช่างกำจัด.
    พระผู้มีพระภาค : มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างกำจัด ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อกำจัดสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่างนี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    เวรัญชพราหมณ์ : ท่านพระโคดมช่างเผาผลาญ.
    พระผู้มีพระภาค : มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างเผาผลาญ ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งควรเผาผลาญ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดาเรากล่าวผู้นั้น ว่าเป็นคนช่างเผาผลาญ พราหมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งควรเผาผลาญตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิด อีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมช่างเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
    เวรัญชพราหมณ์ : ท่านพระโคดมไม่ผุดเกิด.
    พระผู้มีพระภาค : มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมไม่ผุดเกิด ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนไม่ผุดเกิด พราหมณ์ การนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะโคดมไม่ผุดเกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.(ทรงอุปมาด้วยลูกไก) ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนฟองไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ฟองไก่เหล่านั้น อันแม่ไก่พึงกกดีแล้ว อบดีแล้ว ฟักดีแล้ว บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวใดทำลายกะเปาะฟอง ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาได้โดยสวัสดีก่อนกว่าเขา ลูกไก่ ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร จะเรียกว่าพี่หรือน้อง.
    เวรัญชพราหมณ์ : ท่านพระโคดม ควรเรียกว่าพี่ เพราะมันแก่กว่าเขา.ทรงแสดงฌาน ๔ และวิชชา ๓
    พระผู้มีพระภาค : เราก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟองอันกะเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายกะเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะ ความเพียรของเราที่ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
    ปฐมฌาน เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่.
    ทุติยฌาน เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติ และสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่.
    ตติยฌานเรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไปได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่.
    จตุตถฌาน เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
    บุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้น ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้างสี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้างร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัลป์ เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพโน้นนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทส พร้อมทั้งอาการ ด้วยประการฉะนี้ พราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี่แล เราได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่งของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการ ทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ฉะนั้น.
    จุตูปปาตญาณเรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิด เป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อม รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมด้วยประการดังนี้ พราหมณ์ วิชชาที่สองนี้แล เราได้บรรลุแล้ว ในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไป แล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สองของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกะเปาะ ฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.
    อาสวักขยญาณ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัด ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความ ดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้ อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้ หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิด แก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สามของเรานี้แล ได้เป็น เหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.
    เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาค ว่า ท่านพระโคดมเป็นผู้เจริญที่สุด ท่านพระโคดมเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดย อเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงทรงรับอาราธนาอยู่ จำพรรษา ที่เมืองเวรัญชาของข้าพเจ้าเถิด. พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี ครั้นเวรัญชพราหมณ์ทราบการรับ อาราธนาของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ลุกจากที่นั่งถวายบังคม พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ หลีกไป.





    พระสารีบุตรคำนึงถึงความตั้งมั่นแห่งพรหมจรรย์ จึงกราบทูลถามถึงเหตุที่ทำให้พรหมจรรย์ ตั้งมั่นและไม่ตั้งมั่น พระพุทธเจ้าทรงชี้ไปที่การบัญญัติสิกขาบท การสวดปาฏิโมกข์ (สวดทบทวนสิกขาบททุกกึ่งเดือน) ว่าเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ตั้งมั่น การไม่ทำเช่นนั้น เป็นเหตุให้พรหมจรรย์อันตรธาน. พระสารีบุตรจึงกราบทูลขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท. พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยังไม่ถึงเวลา คือพระสงฆ์ยังไม่มาก ลาภสักการะยังไม่มาก ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน) ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ ก็ยังไม่ต้องบัญญัติสิกขาบท. ถ้าพระสงฆ์มาก ลาภสักการะมาก ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะปรากฏในสงฆ์ จึงควรบัญญัติสิกขาบท. ทั้งขณะนั้นภิกษุสงฆ์ที่ติดตามพระพุทธเจ้า ก็ล้วนเป็นพระอริยบุคคล คืออย่างต่ำก็เป็นพระโสดาบัน.
    เมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าจึงชวนพระอานนท์ไปบอกลาเวรัญชพราหมณ์ ในฐานะผู้นิมนต์ให้จำพรรษา เวรัญชพราหมณ์นิมนต์พระองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ฉันในวันรุ่งขึ้น ทรงรับนิมนต์และไปฉันตามกำหนดแล้ว แสดงธรรมโปรดเวรัญชพราหมณ์ แล้วเสด็จจาริกไปสู่เมืองโสเรยะ เมืองสังกัสส์ เมืองกัณณกุชชะ โดยลำดับ เสด็จข้ามลำน้ำคงคา ที่ท่าชื่อปยาคะ ไปสู่กรุงพาราณสี จากพาราณสี สู่เวสาลี ประทับ ณ เรือนยอดในป่ามหาวัน[​IMG]
    เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิด ขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของ พระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ดังนี้ ครั้นเวลาสายัณห์ท่านออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลว่า
    พระสารีบุตร : พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าไปใน ที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มี พระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน.
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรสารีบุตร พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน ของพระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ พระ นามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะดำรงอยู่นาน.
    พระสารีบุตร : อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า?
    พระผู้มีพระภาคเจ้า : ดูกรสารีบุตร พระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้ง สามพระองค์นั้นมีน้อย สิกขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็มิได้ทรงแสดงแก่สาวก เพราะ อันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึง ยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน ดูกรสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้น กระดาน ยังไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ลมย่อมกระจาย ขจัด กำจัด ซึ่งดอกไม้เหล่านั้นได้ ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะเขาไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับ พลัน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรง กำหนดจิตของสาวกด้วยพระหฤทัย แล้วทรงสั่งสอนสาวก. ดูกรสารีบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม เวสสภู ทรงกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ด้วยพระหฤทัยแล้วทรงสั่งสอน พร่ำสอน ภิกษุสงฆ์ประมาณ พันรูป ในไพรสนฑ์อันน่าพึงกลัวแห่งหนึ่งว่า พวกเธอจงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนั้น จง ทำในใจอย่างนี้ อย่าได้ทำในใจอย่างนั้น จงละส่วนนี้ จงเข้าถึงส่วนนี้อยู่เถิด ดังนี้ ลำดับนั้นแล จิตของภิกษุประมาณพันรูปนั้น อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามเวสสภูทรง สั่งสอนอยู่อย่างนั้น ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนั้น ได้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ในเพราะความที่ไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัวนั้นซิ เป็นถิ่นที่น่าสยดสยอง จึงมีคำนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่ง ยังไม่ปราศจากราคะเข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้น โดยมากโลมชาติย่อมชูชัน. ดูกรสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค พระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภูไม่ดำรงอยู่นาน.
    พระสารีบุตร : อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า?
    พระผู้มีพระภาคเจ้า : ดูกรสารีบุตร พระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนาม กัสสปะ มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มี พระภาคทั้งสามพระองค์นั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก เพราะ อันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึง ดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอดระยะกาลยืนนาน ดูกรสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บน พื้นกระดาน ร้อยดีแล้วด้วยด้าย ลมย่อมกระจายไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ซึ่งดอกไม้เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาร้อยดีแล้วด้วยด้าย ฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ ตลอดระยะกาลยืนนาน ฉันนั้น เหมือนกัน. ดูกรสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน.
    ปรารภเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบทลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรลุกจากอาสนะ ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาแล้ว ที่จะทรงบัญญัติสิกขาบท ที่จะทรงแสดงปาติโมกข์แก่สาวก อันจะเป็นเหตุให้ พระศาสนานี้ยั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จงรอก่อน สารีบุตร จงยับยั้งก่อนสารีบุตร ตถาคตผู้เดียวจักรู้ กาลในกรณีย์นั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลา ที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏ- *ฐานิยธรรมบางเหล่า ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดง ปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนาน ต่อ เมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนานแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อม ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ใน ศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็น หมู่ใหญ่โดยแพร่หลายแล้ว และอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวกเพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรม เหล่านั้นแหละ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภ ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภแล้ว และ อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ย่อมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ ดูกรสารีบุตร ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ ปราศจากมัวหมองบริสุทธิ์ผุดผ่องตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดา ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุที่ทรงคุณธรรมอย่างต่ำ ก็เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็น ผู้เที่ยง เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
    เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์
    ครั้นปวารณาพรรษาแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ พระตถาคตทั้งหลายยังมิได้บอกลาผู้ที่นิมนต์ให้อยู่จำพรรษาแล้ว จะไม่หลีกไปสู่ที่ จาริกในชนบท ข้อนี้เป็นประเพณีของพระตถาคตทั้งหลาย มาไปกันเถิดอานนท์ เราจะบอกลา เวรัญชพราหมณ์. ท่านพระอานนท์ทูลสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นดังรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า. ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์เป็น ปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือ พระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย ทันใดนั้น เวรัญชพราหมณ์ดำเนินเข้าไปสู่ที่ประทับ ครั้นแล้วถวาย บังคม นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระองค์รับสั่งว่า ดูกรพราหมณ์ เราเป็นผู้อันท่านนิมนต์ อยู่จำพรรษาแล้ว เราขอบอกลาท่าน เราปรารถนาจะหลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท. เวรัญชพราหมณ์กราบทูลว่า เป็นความจริง ท่านพระโคดม ข้าพเจ้านิมนต์พระองค์อยู่ จำพรรษา ก็แต่ว่าไทยธรรมอันใดที่จะพึงถวาย ไทยธรรมอันนั้นข้าพเจ้ายังมิได้ถวาย และไทยธรรมนั้นมิใช่ว่าจะไม่มี ทั้งประสงค์จะไม่ถวายก็หาไม่ ภายในไตรมาสนี้ พระองค์จะพึงได้ไทยธรรมนั้นจากไหน เพราะฆราวาสมีกิจมาก มีกรณียะมาก ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยพระสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้แก่ ข้าพเจ้าด้วยเถิด. พระผู้มีพระภาคทรงรับอัชเฌสนาโดยดุษณีภาพ และแล้วทรงชี้แจงให้เวรัญชพราหมณ์ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ. หลังจากนั้น เวรัญชพราหมณ์สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีตในนิเวศน์ของตน โดยผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว ท่าน พระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว. ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จึงเวรัญชพราหมณ์อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตนจนให้ห้ามภัตรแล้ว ได้ถวายไตรจีวรแด่พระผู้มีพระภาค ผู้เสวยเสร็จทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้วให้ทรงครอง และถวายผ้าคู่ให้ภิกษุครอง รูปละ สำรับ จึงพระองค์ทรงชี้แจงให้เวรัญชพราหมณ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชาตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินไปยังเมืองท่าปยาคะ ไม่ทรงแวะเมืองโสเรยยะ เมืองสังกัสสะ เมือง กัณณกุชชะ ทรงข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองท่าปยาคะ เสด็จพระพุทธดำเนินถึงพระนครพาราณสี ครั้น พระองค์ประทับอยู่ที่พระนครพาราณสีตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไป สู่พระนครเวสาลี เมื่อเสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลีนั้นแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับ อยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น.
    เวรัญชภาณวาร จบ.
     
  2. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <table align="center" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="98%"><tbody><tr><td bgcolor="#000000" valign="top" width="222">[​IMG]</td> <td class="fontpolyboon" bgcolor="#000000" valign="top">ตรัสว่า ที่เราและท่านทั้งหลาย เวียนว่ายท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาลนาน
    ก็เพราะไม่ตรัสรู้ศีล สมาธิ ปัญญาวิมุติ (ความหลุดพ้น ) อันเป็นอริยะต่อเมื่อได้ตรัสรู้แล้ว จึงถอนตัณหาเสียได้ ไม่มีการเกิดอีก.

    ตรัสว่า ถ้าไม่ประกอบด้วยธรรมะ ๔ อย่าง ข้างต้น ชื่อว่าตกจากพระธรรมวินัยนี้ต่อประกอบด้วยธรรมะ ๔ อย่างนั้น จึงชื่อว่าไม่ตกจากพระธรรมวินัยนี้.
    ตรัสว่า คนพาลประกอบด้วยธรรมะ ๔ อย่าง ชื่อว่า บริหารตนให้ถูกขุด มีโทษควรติเตียน ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากคือไม่พิจารณาสอบสวน ๑. ชมผู้ที่ควรติ ๒. ติผู้ที่ควรชม ๓. แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ๔. แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อม ใส. ส่วนบัณฑิตตรงกันข้าม.
    ทรงแสดงว่า คนพาลปฏิบัติผิด ในบุคคล ๔ ประเภท คือมารดา, บิดา,พระตถาคต, สาวกของพระตถาคต. ส่วนบัณฑิตตรงกันข้าม.
    ทรงแสดงบุคคล ๔ ประเภท คือ ๑. ผู้ไปตามกระแส ได้แก่ผู้เสพกาม ทำบาป ๒. ผู้ทวนกระแส ได้แก่ผู้ไม่เสพกาม ไม่ทำบาปแต่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความทุกข์ โทมนัสร้องให้ ๓. ผู้มีตนให้ตั้งอยู่ได้ ( ลอยน้ำ) ได้แก่พระอนาคามี ๔. ผู้ข้ามฝั่งได้ ยืนอยู่บนบกได้แก่พระ อรหันต์.
    ทรงแสดงบุคคล ๔ประเภท คือ ๑. ผู้สดับน้อย ทั้งไม่ เข้าถึงด้วยการสดับ ได้แก่ผู้สดับน้อย ทั้งไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๓. ผู้สดับมาก แต่ไม่เข้าถึงด้วยการสดับ ได้แก่ผู้สดับมาก แต่ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๔. ผู้สดับมาก ทั้งเข้าถึงด้วยการสดับ ได้แก่ผู้สดับมาก ทั้ง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
    ทรงแสดงคนฉลาด ที่ได้รับการแนะนำ เป็นผู้กล้าหาญ สดับฟังมาก ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ชื่อว่าทำหมู่ให้งาม ๔ ประเภท คือ ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา.
    ทรงแสดงความเป็นผู้แกล้วกล้า ๔ อย่างของพระตถาคต ที่ทรงบรรลือสีหนาทหมุนล้อธรรมอันประเสริฐ คือ ๑. ทรงปฏิญญาว่าตรัสรู้แล้ว ไม่มีใครคัดค้านได้ว่า ไม่ได้ ตรัสรู้ ๒. ทรงปฏิญญาว่าสิ้นอาสวะแล้ว ไม่มีใครคัดค้านได้ว่า ยังไม่สิ้นอาสวะ ๓. ตรัสว่าธรรมเหล่าใดเป็น อันตราย ไม่มีใครคัดค้านได้ว่า ธรรมเหล่านั้นไม่ควรเป็นอันตรายแก่ผู้เสพ ๔. ตรัสแสดงธรรมเพื่อประโยชน์ แก่ผู้ใด ไม่มีใครคัดค้านได้ว่า ธรรมนั้นไม่นำผู้ทำตามให้สิ้นทุกข์โดยชอบได้จริง.
    ทรงแสดงความเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการ คือตัณหาเกิด เพราะเหตุแห่งเครื่องนุ่งห่ม, อาหาร, ที่อยู่อาศัย, ความเป็นหรือความไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ( อรรถกถาแก้ว่า เพราะเหตุแห่งสิ่งที่ประณีตและสิ่งที่ประณีตขึ้นไปกว่า ).
    ทรงแสดงเครื่องประกอบสัตว์ ( ผูกมัด ) สัตว์ไว้ในภพ ๔ ประการ คือกาม ( ความใคร่และสิ่งที่น่าใคร่ ), ภพ ( ความมีความเป็น ), ทิฏฐิ (ความเห็น ) อวิชชา ( ความ ไม่รู้อายตนะ ๖ ตามเป็นจริง ) แล้วทรงแสดงธรรมอีก ๔ อย่าง ที่ตรงกันข้ามชื่อวิสังโยคะ ( เครื่องคลายหัด ).[​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table> ภัณฑคามวรรค
    อนุพุทธสูตร
    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภัณฑคาม แคว้นวัชชี ณ ที่ นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่า นั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทั้งเรา ทั้งท่านทั้งหลายได้แล่นไปแล้ว ได้ท่องเที่ยวไปแล้ว สิ้นกาลนานอย่างนี้ เพราะยังไม่รู้แจ้ง ไม่แทงตลอดซึ่งธรรม ๔ ประการ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ศีลที่เป็นอริยะ ๑ สมาธิที่เป็นอริยะ ๑ ปัญญาที่เป็น อริยะ ๑ และวิมุตติที่เป็นอริยะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ ศีลที่เป็นอริยะ สมาธิที่เป็นอริยะ ปัญญาที่เป็นอริยะ และวิมุตติที่เป็นอริยะ อันเราและท่าน ทั้งหลายได้ตรัสรู้ ได้แทงตลอดแล้ว ถอนตัณหาในภพขึ้นได้แล้ว ตัณหาอัน นำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป
    พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ซึ่งไม่มี ธรรมอื่นยิ่งกว่า อันพระโคตม ศาสดาผู้มียศได้ตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าผู้พระศาสดามีจักษุทรงกระทำที่สุดทุกข์ ตรัสรู้ พระธรรมแล้ว ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย พระองค์เสด็จ ปรินิพพานแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ
    ปปติตสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เราเรียกว่า ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้ ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ศีลที่เป็น อริยะ ๑ สมาธิที่เป็นอริยะ ๑ ปัญญาที่เป็นอริยะ ๑ และวิมุตติที่เป็นอริยะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เราเรียกว่า ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ศีลที่เป็นอริยะ ๑ สมาธิที่เป็นอริยะ ๑ ปัญญาที่เป็นอริยะ ๑ และวิมุตติ ที่เป็นอริยะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้
    ผู้ที่ตกไปจากธรรมวินัยนี้ ชื่อว่าผู้ตกไป ผู้กำหนัดเพราะราคะ เป็นผู้กลับมาอีก ฉะนั้น ควรทำกิจที่ควรทำ ยินดีใน คุณชาติที่ควรยินดี จะได้บรรลุสุขทั้งโลกียสุขและโลกุตตร สุข ฯ
    ขตสูตรที่ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็น คนพาล ไม่เฉียบแหลม ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนที่ ปราศจากคุณสมบัติ ย่อมเป็นผู้ประกอบไปด้วยโทษ นักปราชญ์ติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญ เป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบ แล้ว กล่าวสรรเสริญคุณของผู้ไม่ควรสรรเสริญ ๑ ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบ คอบแล้ว กล่าวติเตียนผู้ที่ควรสรรเสริญ ๑ ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบ แล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ๑ ไม่ใคร่ครวญสืบสวน ให้รอบคอบแล้ว ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ควรเลื่อมใส ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล ไม่ เฉียบแหลม ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนที่ปราศจากคุณสมบัติ ย่อมเป็นผู้ ประกอบไปด้วยโทษ นักปราชญ์ติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็น อันมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนให้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ เป็นผู้ หาโทษมิได้ ทั้งนักปราชญ์ไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ใคร่ครวญ สืบสวนรอบคอบแล้ว กล่าวติเตียนผู้ที่ควร ติเตียน ๑ ใคร่ครวญสืบสวนรอบคอบแล้ว กล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ ๑ ใคร่ครวญ สืบสวนรอบคอบแล้ว ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ไม่ควร เลื่อมใส ๑ ใคร่ครวญสืบสวนรอบคอบแล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดในฐานะ ที่ควรเลื่อมใส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ แล เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนให้ประกอบไปด้วย คุณสมบัติ เป็นผู้หาโทษมิได้ ทั้งนักปราชญ์ไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญ เป็นอันมาก ฯ
    ผู้ใด ย่อมสรรเสริญผู้ที่ควรนินทา หรือย่อมนินทาผู้ที่ควร สรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมค้นหาโทษด้วยปาก ย่อมไม่ได้ ประสบสุขเพราะโทษนั้น ความพ่ายแพ้การพนันด้วยทรัพย์ ทั้งหมด พร้อมด้วยตน มีโทษน้อย การที่ยังใจให้ ประทุษร้ายในท่านผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้แหละ เป็นโทษใหญ่ กว่า (โทษการพนัน) ผู้ที่ตั้งวาจา และใจอันเป็นบาปไว้ ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรกสิ้นแสนสามสิบหกนิรัพ พุททะ และห้าอัพพุททะ ฯ
    ขตสูตรที่ ๒
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในบุคคล ๔ จำพวก เป็น คนพาล ไม่ฉลาด ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ปราศจากคุณสมบัติ เป็นผู้ ประกอบด้วยโทษ ทั้งนักปราชญ์ติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก บุคคล ๔ จำพวกใครบ้าง คือ มารดา ๑ บิดา ๑ พระตถาคต ๑ สาวกของ พระตถาคต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในบุคคล ๔ จำพวกนี้แล เป็นคนพาล ไม่ฉลาด ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ปราศจากคุณสมบัติ เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ ทั้งนักปราชญ์ติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญ เป็นอันมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติชอบในบุคคล ๔ จำพวก เป็น บัณฑิต ฉลาด เป็นสัตบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้เสื่อมเสีย เป็นผู้ไม่มีโทษ ทั้งนักปราชญ์ก็สรรเสริญ และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก บุคคล ๔ จำพวก ใครบ้าง คือ มารดา ๑ บิดา ๑ พระตถาคต ๑ สาวกของพระตถาคต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติชอบในบุคคล ๔ จำพวกนี้แล เป็นบัณฑิต ฉลาด เป็นสัตบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้เสื่อมเสีย เป็นผู้ไม่มีโทษ ทั้งนัก ปราชญ์ก็สรรเสริญ และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก
    นรชนใด ปฏิบัติผิดในมารดา บิดา พระตถาคตสัมมา สัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระตถาคต นรชนเช่นนั้น ย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิตทั้งหลายย่อม ติเตียนนรชนนั้น ในโลกนี้ทีเดียว เพราะเหตุที่ไม่ประพฤติ ธรรม ในมารดาบิดา และเขาละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไปสู่ อบาย ส่วนนรชนใดปฏิบัติชอบในมารดาบิดา ในพระ ตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระตถาคต นรชนเช่นนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญนรชนนั้นในโลกนี้ทีเดียว เพราะเหตุที่ประพฤติ ธรรมในมารดาบิดา และเขาละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิง ในสวรรค์ ฯ
    อนุโสตสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้ไปตามกระแส ๑ บุคคลผู้ไปทวนกระแส ๑ บุคคลผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว ๑ บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ ข้ามถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไปตามกระแสเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม เสพกามทั้งหลาย และย่อมกระทำกรรมอันเป็นบาป นี้เราเรียกว่าบุคคลผู้ไปตาม กระแส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไปทวนกระแสเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ ย่อมไม่เสพกาม และย่อมไม่กระทำกรรมอันเป็นบาป แม้มีหน้านอง ด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ เพราะประกอบด้วยทุกข์บ้าง เพราะประกอบด้วยโทมนัส บ้าง ก็ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้ นี้เราเรียกว่าบุคคลผู้ไปทวน กระแส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีตนตั้งอยู่แล้วเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้ผุดขึ้นเกิด ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป นี้เราเรียกว่าบุคคลผู้มีตน ตั้งอยู่แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้เราเรียกว่าบุคคลผู้เป็นพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
    ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย ยังไม่ ปราศจากราคะ มีปรกติบริโภคกาม ชนเหล่านั้นแล ถูกตัณหา ครอบงำแล้ว เข้าถึงชาติและชราบ่อยๆ ชื่อว่าไปตามกระแส เพราะฉะนั้น ธีรชนในโลกนี้ เป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้วไม่เสพ กาม และไม่ทำกรรมอันเป็นบาป แม้ประกอบด้วยทุกข์ก็ ละกามได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกบุคคลนั้นว่าไปทวน กระแส นรชนใดแล ละกิเลส ๕ ประการเสียได้ เป็น ผู้มีการศึกษาบริบูรณ์ มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา ถึงความ เป็นผู้ชำนาญในจิต มีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้ว นรชนนั้นแล นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่าผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศลและอกุศล อันบุคคลใดกำจัดหมดแล้ว ถึงซึ่ง อันตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีอยู่ บุคคลนั้นเป็นผู้จบเวท อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ถึงที่สุดแห่งโลก นักปราชญ์ทั้งหลาย เรียกว่าผู้ถึงฝั่ง ฯ
    อัปปสุตสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้มีสุตะน้อย ไม่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑ บุคคลผู้มีสุตะ น้อย เข้าถึงด้วยสุตะ ๑ บุคคลผู้มีสุตะมากไม่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑ บุคคลผู้มีสุตะ มาก เข้าถึงด้วยสุตะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะน้อย ไม่เข้าถึงด้วย สุตะอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย เขาหาได้รู้อรรถ รู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะน้อย ไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะน้อยเข้าถึงด้วย สุตะอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ น้อย เขาย่อมรู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะน้อยเข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะ มาก ไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก เขาหาได้รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะมากไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้ แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะมากเข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร บุคคลบางคน ในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก เขารู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะ มากเข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏ อยู่ในโลก ฯ
    ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ ทั้งหลายย่อมติเตียนเขา ทั้งโดยศีลและสุตะทั้งสอง ถ้า บุคคลแม้มีสุตะน้อย ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อม สรรเสริญเขาโดยศีล แต่สุตะของเขาไม่สมบูรณ์ ถ้าบุคคล แม้มีสุตะมาก ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมติเตียน เขาโดยศีล แต่สุตะของเขาสมบูรณ์ ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมาก ตั้งมั่นดีแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญเขา ทั้งโดยศีล และสุตะทั้งสอง ใครควรเพื่อจะติเตียนเขาผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม เป็นพุทธสาวกผู้มีปัญญา ผู้เป็นประดุจแท่งทอง ชมพูนุช แม้เทวดาก็ย่อมชมเชย แม้พรหมก็สรรเสริญ ฯ
    สังฆโสภณสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับ แนะนำดีแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ย่อมยังหมู่ให้งาม ๔ จำพวกเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ภิกษุ ๑ ภิกษุณี ๑ อุบาสก ๑ อุบาสิกา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก นี้แล เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับแนะนำดีแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมยังหมู่ให้งาม ฯ
    บุคคลใด เป็นผู้ฉลาด แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลเช่นนั้น เราเรียกว่า ผู้ยังหมู่ให้งาม ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกา เป็นผู้ มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นพหูสูตเหล่านี้แล ย่อมยัง หมู่ให้งาม แท้จริง บุคคลเหล่านี้ เป็นผู้ยังหมู่ให้งาม ฯ
    เวสารัชชสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชญาณเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร เวสารัชชญาณของตถาคตมี ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราโดยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านปฏิญาณว่าเป็นพระสัมมา- *สัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ยังไม่ตรัสรู้แล้ว เมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ย่อมเป็นผู้ถึง ความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่ เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราโดยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านปฏิญาณว่าเป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว เมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความ เกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็น นิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จัก ทักท้วงเราด้วยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่า ทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง เมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์ อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม เมื่อ เราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความ แกล้วกล้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชญาณเหล่าใด ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร เวสารัชชญาณของตถาคตมี ๔ ประการนี้แล ฯ
    วาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เขาตระเตรียมไว้มาก และ สมณพราหมณ์ทั้งหลายอาศัยวาทะใด วาทะเหล่านั้นมาถึง พระตถาคตผู้แกล้วกล้า ผู้ล่วงวาทะเสียได้ ย่อมหายไป ผู้ใดครอบงำธรรมจักรอันเป็นโลกุตตรประกาศแล้ว มีปรกติ อนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้า สัตว์ทั้งหลายย่อมนมัสการผู้เช่นนั้น ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ฯ
    ตัณหาสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อจะเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นใน ที่ใด ที่นั้นให้ชื่อว่าเป็นที่เกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ตัณหาเมื่อจะเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นเพราะจีวรเป็นเหตุ ๑ เพราะบิณฑบาต เป็นเหตุ ๑ เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ ๑ เพราะเภสัชอันประณีตและประณีตกว่า เป็นเหตุ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อจะเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่ใด ที่นั้น ย่อมชื่อว่าเป็นที่เกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ ประการนี้แล ฯ
    บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยืดยาว นาน ไม่ล่วงพ้นสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และความเป็น อย่างอื่น ภิกษุผู้มีสติสัมปชัญญะรู้โทษนี้ และรู้ตัณหาเป็นที่ เกิดแห่งทุกข์ พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น ย่อม เว้นรอบ ฯ
    โยคสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กามโยคะ ๑ ภวโยคะ ๑ ทิฏฐิโยคะ ๑ อวิชชาโยคะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กามโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อ เขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง กามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะ กาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม และความทะยานอยากเพราะกาม ในกามทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่ากามโยคะ กามโยคะเป็นดังนี้ ก็ ภวโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อ เขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพ ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ ความกระหายเพราะภพ ความ เร่าร้อนเพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพ ในภพ ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าภวโยคะ กามโยคะ ภวโยคะเป็นดังนี้ ก็ทิฏฐิโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อ เขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิ ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะทิฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ ความกระหายเพราะทิฐิ ความ เร่าร้อนเพราะทิฐิ ความหยั่งลงเพราะทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ ในทิฐิ ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้ ก็อวิชชาโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความ เกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความ ไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าอวิชชาโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้ บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศล ธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความ กระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชราและมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น เรา จึงเรียกว่า ผู้ไม่เกษมจากโยคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการเหล่านี้แล ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ความพรากจากกามโยคะ ๑ ความพรากจากภวโยคะ ๑ ความ พรากจากทิฏฐิโยคะ ๑ ความพรากจากอวิชชาโยคะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความ พรากจากกามโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความ เป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัด ออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม ความกระหาย เพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความหยั่งลงในกาม ความทะยานอยากเพราะ กาม ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากกามโยคะเป็นดังนี้ ก็ความพรากจากภวโยคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความ เยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อน เพราะภพ ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพ ในภพทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ เป็นดังนี้ ก็ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะทิฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ ความ เยื่อใยเพราะทิฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ ความกระหายเพราะทิฐิ ความเร่าร้อน เพราะทิฐิ ความหยั่งลงในทิฐิ และความทะยานอยากเพราะทิฐิ ในทิฐิทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากทิฏฐิโยคะ ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้ ก็ความพรากจาก อวิชชาโยคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง ความ ไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า ความพรากจากอวิชชาโยคะ ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ความพรากจากอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้ บุคคลผู้พรากจาก อกุศลธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความ กระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก ฉะนั้น เราจึง เรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการ นี้แล ฯ
    สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่ สงสาร ส่วนสัตว์เหล่าใด กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะ โดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอก อวิชชาเสียได้ สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวง เป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ
     
  3. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    ตรัสว่า เมื่อภิกษุเดิน, ยืน, นั่ง, นอน ถ้าความตรึกในกาม, ในการ พยาบาท,ในการเบียดเบียนเกิดขึ้น เธอรับไว้ไม่ละเสีย เธอก็ชื่อว่าไม่มีความเพียร เป็นผู้เกียจคร้าน แต่ถ้าไม่รับไว้ ละเสีย เธอก็จะชื่อว่ามีความเพียรไม่เกียจคร้าน.
    ทรงชักชวนภิกษุทั้งหลาย ให้มีศิลสมบูรณ์ มีปาฏิโมกข์ สมบูรณ์ ให้สำรวมด้วยดีในพระปาฏิโมกข์ ( ศีลอันเป็นใหญ่เป็นประธานของภิกษุที่สวดทุกกึ่งเดือน ) ให้ สมบูรณ์ด้วยมารยาทและโคจร ( การรู้จักไปในที่ควร ) ให้เป็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย แล้วแสดงอิริยาบท ๔ ที่มีนีวรณ์ ๕ เกิดขึ้น ถ้าไม่ละนีวรณ์ก็ชื่อว่าเกียจคร้าน ถ้าละก็ชื่อว่า ไม่เกียจคร้านดั่งข้างต้น..
    ทรงแสดงการตั้งความเพียรชอบ ( สัมมัปปธาน ) และการตั้ง ความเพียร ( ปธาน ) อย่างละ ๔ ประการ คือเพียรระวังบาปมิให้เกิดขึ้น, เพียรละบาปที่เกิดขึ้น แล้ว, เพียรทำความดีให้เกิดขึ้น, เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้ว..
    เป็นแต่ในถาคอธิบายของปธาน ทรงอธิบายว่า ๑. ได้แก่การสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู เป็นต้น ๒. ได้แก่การละอกุศลวิตก ๓. ได้แก่การเจริญโพชฌงค์ ๗ มีสติ เป็นต้น ๔. ได้แก่การรักษาสมาธินิมิต ( เครื่องหมายในใจที่ทำให้เกิดสมาธิ) มีความกำหนดหมายใน กระดูก ( อัฏฐิกสัญญา ) เป็นต้น..
    ทรงแสดงการบัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการ คือ ๑. บรรดาผู้มีอัตตภาพ อสุรินทราหูเป็นเลิศ ๒. บรรดาผู้บริโภคกามพระเจ้ามันธาตุราชเป็นเลิศ ๓. บรรดาผู้มี ความเป็นเป็นใหญ่ พญามารเป็นเลิศ ๔. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก ทั้งมาร ทั้งพรหม..
    ทรงแสดงถึงญาณที่รู้ลักษณะอันสุขุม ( ละเอียดอ่อน ) ๔ ประการ คือความสุขุมแห่งรูป, เวทนา,สัญญา, สังขาร ซึ่งภิกษุผู้มีสิ่งเหล่านี้แล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งอื่นยิ่งกว่า ประณีตกว่าไม่ปรารถนาสิ่งอื่น ( รูป, เวทนา, สัญญา, สังขารอันสุขุม ) ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่า.
    ทรงแสดงการลุอำนาจแก่ความลำเอียง ๔ ( อคติมานะ ) คือลำเอียงเพราะรัก, ลำเอียงเพราะชัง, ลำเอียงเพราะหลง, ลำเอียงเพราะกลัว..
    แล้วทรงแสดงในทางตรงกันข้าม คือการไม่ลุอำนาจแก่ความ ลำเอียง ๔. ทรงแสดงถึงถิกษุผู้แจกอาหาร ( ภัตตุทเทสกะ ) ผู้ตกนรกหรือขึ้นสวรรค์ เพราะ ตั้งอยู่ในความลำเอียง หรือไม่ตั้งอยู่ในความลำเอียงทั้งสี่นี้.[​IMG]
    จรวรรค
    จารสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังเดินอยู่ และภิกษุยินดี ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้ถึง ความพินาศซึ่งวิตกนั้น ไม่ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้กำลังเดินอยู่เป็นอย่างนี้แล้ว เราเรียกว่า ผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลวเป็น นิจนิรันดร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยืนอยู่ และภิกษุยินดี ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้ถึงความพินาศ ซึ่งวิตกนั้น ไม่ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้ยืนอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้ไม่มี ความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลวเป็นนิจนิรันดร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ นั่งอยู่ และภิกษุยินดี ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้ถึงความพินาศซึ่งวิตกนั้น ไม่ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้นั่งอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลวเป็นนิจนิรันดร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นอนตื่นอยู่ และ ภิกษุยินดี ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้ถึงความพินาศซึ่งวิตกนั้น ไม่ให้ถึงความ ไม่มี ภิกษุแม้นอนตื่นอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลวเป็นนิจนิรันดร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินอยู่ และภิกษุไม่ยินดี ละ บรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตกนั้น ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้เดินอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยืนอยู่ และภิกษุไม่ยินดี ละ บรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตก นั้น ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้ยืนอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นั่งอยู่ และภิกษุไม่ยินดี ละ บรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตกนั้น ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้นั่งอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่าผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียรอัน ปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นอนตื่นอยู่ และภิกษุไม่ยินดี ละ บรรเทา กระทำให้พินาศซึ่งวิตกนั้น ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้นอนตื่นอยู่ เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้ว เป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ฯ
    ถ้าภิกษุใด เดินก็ตาม ยืนก็ตาม นั่งหรือนอนก็ตาม ย่อม ตรึกถึงวิตกอันลามกอิงอาศัยกิเลส ภิกษุผู้เช่นนั้น เป็นผู้ ดำเนินไปสู่ทางผิด หมกมุ่นแล้วในอารมณ์ อันยังความ ลุ่มหลงให้เกิด เป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม แต่ถ้าภิกษุใดเดินก็ตาม ยืนก็ตาม นั่งหรือนอนก็ตาม ยังวิตก ให้สงบแล้ว ยินดีในธรรม เป็นที่สงบวิตก ภิกษุเช่นนั้น เป็นผู้ควรเพื่อบรรลุซึ่งสัมโพธิญาณอันอุดม ฯ
    ศีลสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์ สมบูรณ์ จงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์ สำรวมในปาติโมกข์สังวร สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย กิจที่ควรทำยิ่งกว่านี้ จะพึงมีอะไรเล่า ถ้าแม้ภิกษุ กำลังเดินไป อภิชฌาไปปราศแล้ว พยาบาทไปปราศแล้ว ละถีนมิทธะได้แล้ว ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติมั่นไม่หลงลืม มีกายสงบไม่ระส่ำระสาย มีจิตมั่นคง มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ภิกษุแม้เดินอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียร อันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ถ้าแม้ภิกษุยืนอยู่ ... ถ้าแม้ภิกษุ นั่งอยู่ ... ถ้าแม้ภิกษุนอนตื่นอยู่ อภิชฌาไปปราศแล้ว พยาบาทไปปราศแล้ว ละถีนมิทธะได้แล้ว ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ปรารภความ เพียรไม่ย่อหย่อน มีสติมั่นไม่หลงลืม มีกายสงบไม่ระส่ำระสาย มีจิตมั่นคง มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ภิกษุแม้นอนตื่นอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ฯ
    ภิกษุพึงเดินตามสบาย พึงยืนตามสบาย พึงนั่งตามสบาย พึง นอนตามสบาย พึงคู้ตามสบาย พึงเหยียดตามสบาย ตลอด คติของโลก ทั้งเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องต่ำ และพิจารณา ตลอดความเกิด และความเสื่อมไปแห่งธรรม และขันธ์ ทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวภิกษุอย่างนั้น ผู้มีสติทุก เมื่อ ศึกษาปฏิปทาอันสมควรแก่ความสงบใจเสมอ ว่ามีใจ เด็ดเดี่ยว ฯ
    ปธานสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตมั่น เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตมั่น เพื่อ ละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตมั่น เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตมั่น เพื่อ ความตั้งมั่น เพื่อความไม่หลงลืม เพื่อให้มียิ่งขึ้น เพื่อความไพบูลย์ เพื่อเจริญ เพื่อให้บริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้แล ฯ
    พระขีณาสพเหล่านั้น มีความเพียรอันชอบ ครอบงำเตภูมิกวัฏ อันเป็นบ่วงแห่งมาร เป็นผู้อันกิเลสไม่อาศัยแล้ว ถึงฝั่ง แห่งภัย คือชาติ และมรณะ ท่านเหล่านั้นชนะมารพร้อมทั้ง เสนา ชื่นชมแล้ว เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ก้าวล่วงกำลังพระยามาร เสียทั้งหมด (ถึงความสุขแล้ว) ฯ
    สังวรสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเพียร ๔ ประการนี้ ๔ ประการนี้เป็นไฉน คือ สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑ ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อ ไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู... ดูดกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้ธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรา เรียกว่าสังวรปธาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปหานปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมครอบงำ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ... ซึ่งพยาบาทวิตกเกิดขึ้นแล้ว ... ซึ่งวิหิงสาวิตก เกิดขึ้นแล้ว ... ซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เราเรียกว่าปหานปธาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปในความสละ นี้เราเรียกว่าภาวนาปธาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อนุรักขนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญ ที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา ปุฬวกสัญญา วินีลกสัญญา วิปุพพกสัญญา วิจฉิทกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา นี้เราเรียกว่าอนุรักขนาปธาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเพียร ๔ ประการนี้แล ฯ
    ปธาน ๔ ประการนี้ คือ สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑ ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็น เผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องให้ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ผู้มีความเพียรพึงถึงความสิ้นทุกข์ได้ ฯ
    ปัญญัติสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบัญญัติซึ่งสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพ (ใหญ่) อสุรินทราหูเป็นเลิศ บรรดาบุคคลผู้บริโภคกาม พระเจ้ามันธาตุราชเป็นเลิศ บรรดาผู้ใหญ่ยิ่ง มารผู้มี บาปเป็นเลิศ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันโลกกล่าวว่าเป็นเลิศในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการเหล่านี้แล ฯ
    บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพ (ใหญ่) อสุรินทราหูเป็นเลิศ บรรดา บุคคลผู้บริโภคกาม พระเจ้ามันธาตุราชเป็นเลิศ บรรดาผู้- ใหญ่ยิ่ง มารเป็นเลิศ พระพุทธเจ้าผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ อัน โลกกล่าวว่าเป็นเลิศในโลก ทั้งเทวดาและมนุษย์ ทั่วภูมิเป็น ที่อยู่ของสัตว์ ทั้งเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องต่ำ ฯ
    โสขุมมสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ญาณเป็นเครื่องแทงตลอดลักษณะอันละเอียด ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ประกอบด้วยญาณอันกำหนดรู้ลักษณะอันละเอียดในรูปอย่างยิ่ง ย่อมไม่พิจารณา เห็นญาณอันกำหนดรู้ลักษณะอันละเอียดในรูปอื่น ซึ่งยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าญาณ เป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดในรูปนั้น และไม่ปรารถนาญาณเป็นเครื่อง กำหนดลักษณะอันละเอียดในรูปอื่น อันยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าญาณเป็นเครื่อง กำหนดลักษณะอันละเอียดในรูปนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนด ลักษณะอันละเอียดในเวทนา ... เป็นผู้ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะ อันละเอียดในสัญญา ... เป็นผู้ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอัน ละเอียดในสังขาร ย่อมไม่พิจารณาเห็นซึ่งญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอัน ละเอียดในสังขารอื่น ซึ่งยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอัน ละเอียดในสังขารนั้น และไม่ปรารถนาญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียด ในสังขารอื่น ซึ่งยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียด ในสังขารนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียด ๔ ประการนี้แล ฯ
    ภิกษุใดรู้ความที่รูปขันธ์เป็นของละเอียด รู้ความเกิดแห่ง เวทนา รู้ความเกิดและความดับแห่งสัญญา รู้จักสังขารโดย ความไม่เที่ยง โดยเป็นทุกข์ และโดยความเป็นอนัตตา ภิกษุนั้นแล เป็นผู้เห็นชอบ เป็นผู้สงบ ยินดีในสันติบท ชำนะมารพร้อมทั้งเสนา ย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด ฯ
    อคติสูตรที่ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้ อคติ ๔ ประการ เป็นไฉน บุคคลย่อมถึงฉันทาคติ ย่อมถึงโทสาคติ ย่อมถึงโมหาคติ ย่อมถึง ภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้แล ฯ
    ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม ดุจพระจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น ฯ
    อคติสูตรที่ ๒
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน บุคคลย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ย่อมไม่ถึงโทสาคติ ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ย่อมไม่ถึงภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้แล ฯ
    ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้น ย่อมเต็มเปี่ยม ดุจ พระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น ฯ
    อคติสูตรที่ ๓
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน บุคคลย่อมถึงฉันทาคติ ย่อมถึงโทสาคติ ย่อมถึงโมหาคติ ย่อมถึงภยาคติ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้แล ฯ
    ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม เหมือนพระจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน บุคคลย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ย่อมไม่ถึงโทสาคติ ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ย่อมไม่ถึง ภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้แล ฯ
    ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้น ย่อมเต็มเปี่ยม ดุจ พระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น ฯ
    ภัตตุเทสกสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัตตุเทสก์ผู้ประกอบไปด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกนำไปวางไว้ในนรก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภัตตุเทสก์ย่อมถึง ฉันทาคติ ย่อมถึงโทสาคติ ย่อมถึงโมหาคติ ย่อมถึงภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัตตุเทสก์ผู้ประกอบไปด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกนำไปวางไว้ในนรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัตตุเทสก์ผู้ประกอบไปด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกนำไป วางไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภัตตุเทสก์ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ย่อมไม่ถึงโทสาคติ ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ย่อมไม่ถึงภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัตตุเทสก์ผู้ประกอบไปด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกนำไปวางไว้ ในสวรรค์ ฯ
    ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่สำรวมในกาม ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่เคารพในธรรม มีปรกติถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ก็แลบุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นหยากเยื่อในบริษัท อันสมณะผู้รู้กล่าวแล้วอย่างนี้ ชนเหล่าใดตั้งอยู่ในธรรม มี ปรกติไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ย่อมไม่ กระทำกรรมอันลามก เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า เป็น สัตบุรุษที่น่าสรรเสริญ ก็แลบุคคลนี้เราเรียกว่าเป็นผู้ผุดผ่อง ในบริษัท อันสมณะผู้รู้กล่าวแล้วอย่างนี้ ฯ




    ทรงแสดงว่า ทรงพิจราณาแล้วไม่เห็นใครยิ่งกว่าพระองค์ โดยกองศีล, สมาธิ, ปัญญา, วิมุติ, จึงทรงตกลงเคารพธรรมที่ทรงตรัสรู้. ทันใดนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมก็มากราบทูลว่า พระ พุทธเจ้าในอดีตอนาคต และพระองค์เองในปัจจุบันก็เคารพธรรมทั้งสิ้น. ตรัสบอกภิกษุทั้งหลายต่อไปว่า.
    ทรงเคารพธรรมแล้วเมื่อสงฆ์ถึงความเป็นใหญ่? ก็ทรงเคารพ ในสงฆ์ด้วย. ทรงเล่าเรื่องพราหมณ์ผู้เฒ่าสูงอายุหลายคน ผู้พากันกล่าวหาพระองค์ เมื่อ ตรัสรู้ใหม่ ๆ ณ ริมฝั่งน้ำเนรัญชราว่า ไม่กราบไหว้ ต้อนรับพราหมณ์ผู้เฒ่า ผู้สูงอายุ. พระองค์ทรงดำริว่า แม้ จะเจริญโดยชาติ มีอายุสูง ถ้าไม่มีคุณธรรมก็นับว่าเป็นผู้ใหญ่ ( เถระ ) ที่เป็นพาลต่อมีคุณธรรม แม้จะอยู่ในปฐมวัยก็นับได้ว่าผู้ใหญ่ ( เถระ ) ผู้เป็นบัณฑิต แล้วทรงแสดงธรรมที่ทำให้เป็นผู้ใหญ่ ๔ ประเภท คือ ๑. มีศีล ๒. สดับตรับรับฟังมาก ๓. ได้ฌานตามปรารภนาโดยง่าย ๔. บรรลุเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อัน ไม่มีอาสวะ.
    ทรงแสดงว่า พระตถาคต ตรัสรู้โลก, เหตุเกิดแห่ง โลก, ความดับโลก, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับโลก. แล้วแสดงคุณธรรมของพระตถาคต.
    ทรงแสดงว่า พระตถาคตเป็นผู้คงที่ ในสิ่งที่เห็นได้, ฟังได้, ทราบได้, รู้ได้ (คำว่า ทราบได้ หมายความถึงดมกลิ่น, ลิ้มรส, ถูกต้องสัมผัส ส่วนรู้ได้ หมายถึงรู้ได้ ด้วยใจ ).
    ทรงแสดงว่า ทรงประพฤติพรหมจรรย์ มิใช่เพื่อ หลอกลวงคน. มิใช่เพื่อเรียกร้องคนให้มานับถือ, มิใช่เพื่อประโยชน์แก่ลาภ, สักการะและชื่อเสียง, ที่แท้เพื่อ สำรวม,เพื่อละกิเลส, เพื่อคลายกำหนัดยินดี, เพื่อดับทุกข์.
    ทรงแสดงว่า ภิกษุผู้พูดปด, กระด้าง, พูดพล่าม, มี กิเลสหลายทาง เหมือนทางสี่แพร่ง, ถือตัว, มีจิตไม่ตั้งมั่นชื่อว่าไม่นับถือพระองค์, เป็นผู้ห่างจากพระธรรมวิ นัยนี้,ไม่เจริญงอกงามในพระธรรมวินัยนี้.
    ทรงแสดงถึงของน้อยที่หาได้ง่ายและไม่มีโทษ คือ ๑. ผ้าบังสุกุล ( ผ้าเปื้อนฝุ่น คือเศษผ้าที่เขาทิ้งในที่ต่าง ๆ ) ๒. อาหารที่เดินหาด้วยลำแข้ง ( บิณฑบาต ) ๓. ที่นอนที่นั่งคือโคนไม้๔. ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า.
    ทรงแสดงวงศ์ของพระอริยะ ที่เป็นของเก่า ไม่เป็นที่ รังเกียจใน ๓ กาล คือ ๑. สัญโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ๒. สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ๓. สันโดษ ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ไม่ทำการแสวงหาอันไม่สมควร เพราะสิ่งทั้งสามนั้นไม่ได้ก็ไม่เดือดร้อน ได้ก็ไม่ติด ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษทั้งสามข้อนั้น ๔. ยินดีในการเจริญกุศลธรรม ในการละอกุศลธรรม.เธอก็ จะครอบงำความไม่ยินดีเสียได้.
    ทรงแสดงบทธรรม ๔ ประการ คือ ความไม่โลภ, ความไม่พยาบาท, ความระลึกชอบ, ความตั้งใจมั่นชอบ ว่าเป็นของเก่า ไม่มีใครรังเกียจทั้งสามกาล.
    ทรงแสดงธรรมแก่ปริพพาชกที่มีชื่อเสียง หลายคน ณ ฝั่งแม่น้ำสัปปินี ถึงบทแห่งธรรม ๔ ดังกล่าวแล้วเป็นแต่มีคำอธิบายละเอียดมากขึ้น โดยทำนองว่า ถ้าใคร คัดค้าน ก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นคนโลภ, คนพยาบาท, คนหลงลืมสติ, คนมีจิตไม่ตั้งมั่น .[​IMG]
    อุรุเวลวรรค
    อุรุเวลสูตรที่ ๑
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้ มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ สนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ในคราวแรกตรัสรู้เราอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ เมื่อเราหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจได้ บังเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เรา จะพึงสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์คนไหนหนอแล แล้วอาศัยอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราได้ปริวิตกต่อไปว่า เราจะพึงสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่น แล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะ หรือพราหมณ์อื่น ผู้มีศีลสมบูรณ์กว่าตน ซึ่งเราจะพึงสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เราจะพึงสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่น แล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสมาธิขันธ์ ... แห่งปัญญาขันธ์ ... แห่งวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่ บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น ผู้มีสมาธิสมบูรณ์กว่าตน ... มี มีปัญญาสมบูรณ์กว่าตน ... มีวิมุตติสมบูรณ์กว่าตนในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรา ได้ปริวิตกต่อไปว่า ไฉนหนอแล เราพึงสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั้นอาศัย เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ความปริวิตกแห่งใจของ เราด้วยใจ ได้อันตรธานจากพรหมโลกไปปรากฏข้างหน้าเรา เปรียบเหมือน บุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมกระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกมณฑลเข่าเบื้องขวาลงที่แผ่นดิน ประนมอัญชลีมาทางเรา แล้วกล่าวคำนี้กะเราว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็น อย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด ได้มีแล้วในอดีตกาล แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เหล่านั้นสักการะเคารพ พระธรรมนั่นเทียว อาศัยอยู่แล้ว พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดจักมีในอนาคต แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็จักสักการะเคารพพระธรรมนั่นเทียว อาศัยอยู่แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็จงสักการะเคารพ พระธรรมนั่นแหละอาศัยอยู่เถิด ท้าวสหัมบดีพรหม ครั้นได้กล่าวไวยากรณ ภาษิตนี้จบลงแล้ว ได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตเหล่าใดด้วย พระพุทธเจ้าใน อนาคตเหล่าใดด้วย และพระพุทธเจ้าในบัดนี้ด้วย ผู้ยัง ความโศกของสัตว์เป็นอันมากให้เสื่อมคลาย ล้วนเคารพ พระสัทธรรมอยู่ นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ กุลบุตรผู้รักษาตน จำนงความเป็นใหญ่ เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงทำ ความเคารพพระสัทธรรม ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวประพันธ์คาถานี้ ครั้น แล้วอภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วหายไปในที่นั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้การที่เราทราบการเชื้อเชิญของพรหมแล้วสักการะเคารพอาศัยธรรมที่เราตรัสรู้นั้น นั่นแหละอยู่ เป็นการสมควรแก่ตน เมื่อใด แม้สงฆ์ประกอบไปด้วยความเป็น ใหญ่แล้ว เมื่อนั้น เราก็เคารพแม้ในสงฆ์ ฯ
    อุรุเวลสูตรที่ ๒
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวแรกตรัสรู้ เราอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ ครั้งนั้นแล พวกพราหมณ์มากด้วยกัน เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว เข้าไปหาเรา ครั้นแล้วได้สนทนา ปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวกะเราว่า ท่านพระโคดม เราได้สดับมาอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่อภิวาท ไม่ลุกรับพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัย แล้ว ทั้งไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ข้อนี้เป็นอย่างที่เราได้สดับมาหรือ การที่ท่าน พระโคดมไม่อภิวาท หรือไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาล ผ่านวัยแล้ว หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ นั้นไม่สมควรเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปริวิตกนี้ได้มีแก่เราว่า ท่านเหล่านี้ย่อมไม่รู้ซึ่งเถระ หรือธรรมอันกระทำให้ เป็นเถระ ถ้าแม้บุคคลผู้เฒ่ามีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี แต่เกิดมา แต่ เขามีปรกติพูดในกาลไม่สมควร พูดไม่จริง พูดไม่เป็นประโยชน์ พูดไม่เป็น ธรรม พูดไม่เป็นวินัย กล่าววาจาที่ไม่ควรจดจำไว้ ไม่มีหลักฐาน ไม่มีขอบเขต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่ควร เขาย่อมถึงซึ่งกาลนับว่า เป็นเถระ ผู้เขลาโดยแท้ ถ้าแม้เด็กกำลังรุ่น มีผมดำสนิท ยังหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย แต่มีปรกติพูดในกาลอันควร พูดจริง พูดเป็นประโยชน์ พูดเป็นธรรม พูดเป็น วินัย กล่าววาจาที่ควรจดจำ มีหลักฐาน มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร เขาย่อมถึงซึ่งกาลนับว่า เป็นเถระผู้ฉลาดโดยแท้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมอันกระทำให้เป็นเถระ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา บททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมซึ่งสุตะ เป็นผู้ได้สดับมา มาก ทรงจำไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามใน เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดย ไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เถรกรณธรรม ๔ ประการนี้แล ฯ
    ผู้ใดมีจิตฟุ้งซ่าน มีความดำริไม่มั่นคง เช่นกับมฤค ยินดี ในธรรมของอสัตบุรุษ ย่อมกล่าวคำเพ้อเจ้อเป็นอันมาก ผู้ นั้นมีความเห็นลามก ปราศจากความเอื้อเฟื้อ ตั้งอยู่ไกล จากความเป็นผู้มั่นคง ส่วนผู้ใด สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ สดับ มีปฏิภาณ ประกอบในธรรมอันทำความมั่นคง ย่อม เห็นแจ้งอรรถแห่งอริยสัจด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งธรรม ทั้งปวง ไม่มีกิเลสอันเป็นประดุจหลักตอ มีไหวพริบ มี ชาติและมรณะอันละได้แล้ว เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สมบูรณ์ เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นเถระ อาสวะของภิกษุใดไม่มี เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนั้นว่าเถระ ฯ
    โลกสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตพรากจากโลก แล้ว เหตุเกิดแห่งโลกตถาคตตรัสรู้แล้ว เหตุเกิดแห่งโลกตถาคตละได้แล้ว ความดับแห่งโลกตถาคตตรัสรู้แล้ว ความดับแห่งโลกตถาคตกระทำให้แจ้งแล้ว ปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงความดับแห่งโลก ตถาคตตรัสรู้แล้ว ปฏิปทาอันยังสัตว์ ให้ถึงความดับแห่งโลกตถาคตให้เจริญแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปารมณ์ที่เห็นด้วย จักษุ สัททารมณ์ที่ฟังด้วยหู คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ที่รู้ได้ด้วย ทวารนั้นๆ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ของโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ของหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตถาคต ได้บรรลุแล้ว เสาะแสวงหาแล้ว ค้นคว้าแล้วด้วยใจ ตถาคตตรัสรู้รูปารมณ์ที่ เห็นได้ด้วยจักษุเป็นต้นนั้นโดยชอบ เพราะฉะนั้น โลกจึงเรียกว่า ตถาคต อนึ่ง ตถาคตย่อมตรัสรู้ซึ่งราตรีใด และย่อมยังราตรีใดให้ดับ ตถาคตย่อมกล่าว ย่อม ทักทาย ย่อมแสดงออกซึ่งคำใดในระหว่างนี้ คำนั้นทั้งหมดย่อมเป็นอย่างนั้น ทีเดียว หาได้เป็นอย่างอื่นไม่ เพราะฉะนั้น โลกจึงเรียกว่า ตถาคต ตถาคตมี ปรกติกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น ตถาคตมีปรกติ กล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะ ฉะนั้น โลกจึงเรียกว่า ตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เป็นผู้อันใครๆ ครอบงำไม่ได้ ผู้เห็นแจ้งโดยแท้ ยังอำนาจ ให้เป็นไป เพราะฉะนั้น โลกจึงเรียกว่า ตถาคต ฯ
    ผู้ใดรู้ยิ่งแล้วซึ่งโลกทั้งปวง รู้ตามเป็นจริงในโลกทั้งปวง พราก ไปจากโลกทั้งปวง ไม่มีกิเลสนอนเนื่องในสันดานในโลก ทั้งปวง ผู้นั้นแล เป็นธีรชนผู้ครอบงำอารมณ์ทั้งปวงได้ ปลด เปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งมวลเสียได้ เป็นผู้ถูกต้อง นิพพานอันมีความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ผู้นี้ เป็นพระขีณาสพผู้รู้แล้ว ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้แล้ว ถึงความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะความ สิ้นไปแห่งอุปธิ บุคคลนี้เป็นผู้มีโชค เป็นพุทธะ ชื่อว่า เป็นสีหะผู้ยอดเยี่ยม ประกาศพรหมจักรให้แก่โลกทั้งเทว โลก เพราะเหตุนั้น เทวดาและมนุษย์จึงถึงพระพุทธเจ้าว่า เป็นสรณะ มาประชุมกันนมัสการพระองค์ผู้เป็นใหญ่ ผู้ ปราศจากความขลาด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักนมัสการ พระองค์ผู้เป็นใหญ่ ผู้ปราศจากความขลาด กล่าวสรรเสริญ ว่า เป็นผู้ฝึกตนประเสริฐกว่าบรรดาผู้ฝึกตนทั้งหลาย เป็น ฤาษีผู้สงบกว่าบรรดาผู้สงบทั้งหลาย เป็นผู้พ้นชั้นเยี่ยมกว่า บรรดาผู้พ้นทั้งหลาย เป็นผู้ข้ามฝั่งประเสริฐกว่าบรรดาผู้ข้าม ฝั่งทั้งหลาย ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก จะหาบุคคลเปรียบ ด้วยพระองค์ไม่มี ฯ
    กาฬกสูตร
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กาฬการาม ใกล้เมือง สาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปารมณ์ที่เห็นด้วยจักษุ สัททารมณ์ที่ฟังด้วยหู คันธารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์ ที่รู้ได้ด้วยทวารนั้นๆ ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วยใจ ของโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ของหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เราได้บรรลุแล้ว เสาะแสวงหาแล้ว ค้นคว้าแล้วด้วยใจ เราย่อมรู้รูปารมณ์ที่เห็นได้ด้วยจักษุเป็นต้นนั้นรู้แล้วด้วยปัญญา อันยิ่ง ตถาคตรู้รูปารมณ์เป็นต้นนั้นแจ้งชัด รูปารมณ์เป็นต้นนั้นไม่ปรากฏในตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพึงกล่าวว่า ... เราย่อมรู้รูปารมณ์เป็นต้นนั้น คำนั้นของเรา พึงเป็นคำเท็จ เราพึงกล่าวว่า ... เราย่อมรู้รูปารมณ์เป็นต้นนั้นด้วย ไม่รู้ด้วย แม้ คำของเรานั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นแหละ เราพึงกล่าวว่า ... เรารู้ก็หามิได้ ไม่รู้ก็หา มิได้ ซึ่งรูปารมณ์เป็นต้นนั้น คำนั้นจึงเป็นโทษแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเห็นรูปที่ควรเห็น ย่อมไม่สำคัญว่าเห็นรูปที่เห็นแล้ว ย่อมไม่สำคัญว่าเป็น รูปที่ยังไม่มีใครเห็น ย่อมไม่สำคัญว่าเห็นรูปที่ควรเห็น ย่อมไม่สำคัญว่าเห็นรูปที่ มหาชนดูกันอยู่ ตถาคตฟังเสียงที่ควรฟัง ย่อมไม่สำคัญว่าฟังเสียงที่ฟังแล้วย่อมไม่ สำคัญว่าฟังเสียงที่ยังไม่มีใครฟัง ย่อมไม่สำคัญว่าฟังเสียงที่ควรฟัง ย่อมไม่สำคัญ ว่าฟังเสียงที่มหาชนฟังกันอยู่ ตถาคตรู้คันธารมณ์เป็นต้นที่ควรรู้ ย่อมไม่สำคัญว่ารู้ คันธารมณ์เป็นต้นที่รู้แล้ว ย่อมไม่สำคัญว่ารู้คันธารมณ์เป็นต้นที่ยังไม่มีใครรู้ ย่อม ไม่สำคัญว่ารู้คันธารมณ์เป็นต้นที่ควรรู้ ย่อมไม่สำคัญว่ารู้คันธารมณ์เป็นต้นที่มหาชน รู้กันอยู่ ตถาคตรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ควรรู้แจ้ง ย่อมไม่สำคัญว่ารู้แจ้งธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง แล้ว ย่อมไม่สำคัญว่ารู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ยังไม่มีใครรู้ ย่อมไม่สำคัญว่ารู้แจ้ง ธรรมารมณ์ที่ควรรู้แจ้ง ย่อมไม่สำคัญว่ารู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มหาชนรู้แจ้งกันอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้คงที่เช่นนั้นเทียว ในธรรมทั้งหลาย คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธรรมารมณ์ และเราย่อม กล่าวว่าบุคคลอื่นผู้คงที่ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่าตถาคตผู้คงที่นั้นไม่มี ด้วยประการ ฉะนี้แล ฯ
    รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว หรือหมวด ๓ แห่งอารมณ์ มีคันธารมณ์เป็นต้นที่ทราบแล้วอย่างใดอย่างหนึ่งอันดูดดื่ม อัน ชนเหล่าอื่นสำคัญว่าจริง ตถาคตเป็นผู้คงที่ในรูปเป็นต้น เหล่านั้น อันสำรวมแล้วเอง ไม่พึงเชื่อคำคนอื่นทั้งจริงและ เท็จ เราเห็นลูกศร คือ ทิฐินี้ก่อนแล้ว ย่อมรู้ ย่อมเห็น ลูกศร คือ ทิฐิที่หมู่สัตว์หมกมุ่นข้องอยู่เช่นนั้น ความหมก มุ่นย่อมไม่มีแก่ตถาคตทั้งหลาย ฯ
    พรหมจริยสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อลวง ประชาชนก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมประชาชนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์ คือ ลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์ คือ การอวดอ้างวาทะก็ หามิได้ เพื่อความปรารถนาว่า ชนจงรู้จักเราด้วยอาการดังนี้ ก็หามิได้ โดยที่แท้ ตถาคตอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อสังวร เพื่อละ เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อดับกิเลส ฯ
    พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์อันเป็น การละเว้น มีปรกติยังสัตว์ให้หยั่งลงภายในนิพพาน เพื่อ สังวร เพื่อละ หนทางนี้อันท่านผู้ใหญ่ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ดำเนินไปแล้ว อนึ่ง ชนเหล่าใดย่อมดำเนินไปสู่ทางนั้น ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าทำตาม คำสั่งสอนของศาสดา จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ
    กุหสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ลวง เป็นผู้กระด้าง เป็นคนประจบ มีปรกติวางท่า มีมานะดุจไม้อ้อที่ยกขึ้น เป็นผู้ไม่มั่นคง ภิกษุ เหล่านั้นหาใช่เป็นผู้นับถือเราไม่ เป็นผู้ไปปราศจากธรรมวินัยนี้ และย่อมไม่ถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ไม่ลวง ไม่ ประจบ เป็นธีรชน ไม่กระด้าง เป็นผู้มั่นคงดี ภิกษุเหล่านั้นแลชื่อว่านับถือเรา ไม่ไปปราศจากธรรมวินัยนี้ และย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ฯ
    ภิกษุเหล่าใด ล่อลวง กระด้าง ประจบ วางท่า มีมานะดุจ ไม้อ้อ และไม่ตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่งอกงามในธรรม- อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ส่วนภิกษุเหล่าใดไม่ ล่อลวง ไม่ประจบ เป็นธีรชน ไม่กระด้าง ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมงอกงามในธรรม อันพระสัมมา- สัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ฯ
    สันตุฏฐิสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย ๔ อย่างนี้ ทั้งน้อย หาได้ง่าย และ หาโทษมิได้ ปัจจัย ๔ อย่างเป็นไฉน คือ บรรดาจีวร บังสุกุลจีวร ทั้งน้อย หาได้ง่าย และหาโทษมิได้ ๑ บรรดาโภชนะ คำข้าวที่หาได้ด้วยปลีแข็ง ทั้งน้อย หาได้ง่าย และหาโทษมิได้ ๑ บรรดาเสนาสนะ รุกขมูล ทั้งน้อย หาได้ง่าย และหาโทษมิได้ ๑ บรรดาเภสัช มูตรเน่า ทั้งน้อย หาได้ง่าย และหาโทษ มิได้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย ๔ อย่างนี้แล ทั้งน้อย หาได้ง่าย หาโทษ มิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัย อันน้อยและหา ได้ง่าย เราจึงกล่าวข้อนี้ว่า เป็นองค์แห่งความเป็นสมณะอย่างหนึ่งของเธอ ฯ
    เมื่อภิกษุสันโดษด้วยปัจจัยอันหาโทษมิได้ ทั้งน้อยและหา ได้ง่าย ปรารภเสนาสนะ จีวร ปานะ และโภชนะ จิตของเธอ ก็ไม่คับแค้นไม่กระทบกระเทือนทุกทิศ และธรรมเหล่าใด อันภิกษุนั้นกล่าวแล้ว อนุโลมแก่สมณธรรม ธรรมเหล่านั้น อันภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความสันโดษถือเอาโดยยิ่ง ฯ
    วังสสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ ประการนี้ นักปราชญ์สรรเสริญ ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะ และพราหมณ์ไม่เกลียด อริยวงศ์ ๔ ประการเป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ มีปรกติกล่าวสรรเสริญคุณแห่งสันโดษ ด้วยจีวรตามมีตามได้ ย่อมไม่ถึงการแสวงหาอันไม่สมควรเพราะจีวรเป็นเหตุ เมื่อ ไม่ได้ก็ไม่ตกใจ ครั้นได้แล้วก็ไม่ยึดถือ ไม่หมกมุ่น ไม่ห่วงใย มีปรกติ เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องรื้อออกใช้สอยอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะ สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น จริงอยู่ ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในการสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์อันเป็นของเก่า ซึ่งนักปราชญ์ สรรเสริญว่าเป็นเลิศ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ มีปรกติกล่าวสรรเสริญคุณแห่งสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ย่อมไม่ถึงการ แสวงหาอันไม่สมควรเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ เมื่อไม่ได้ก็ไม่ตกใจ ครั้นได้แล้ว ก็ไม่ยึดถือ ไม่หมกมุ่น ไม่ห่วงใย มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องรื้อออก บริโภคอยู่ และย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้นั้น จริงอยู่ ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการสันโดษด้วย บิณฑบาตตามมีตามได้นั้น มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์อันเป็นของเก่า ซึ่งนักปราชญ์สรรเสริญ ว่าเป็นเลิศ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ มีปรกติกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ย่อมไม่ ถึงการแสวงหาอันไม่สมควรเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ เมื่อไม่ได้ก็ไม่ตกใจ ครั้น ได้แล้วย่อมไม่ยึดถือ ไม่หมกมุ่น ไม่ห่วงใย มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญา เครื่องรื้อออกบริโภคอยู่และย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วย เสนาสนะตามมีตามได้นั้น จริงอยู่ ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการ สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์อันเป็นของเก่า ซึ่งนักปราชญ์ สรรเสริญว่าเป็นเลิศ ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว ในภาวนา มีปหานะเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในปหานะ ย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะมีภาวนาเป็นที่มายินดี เพราะยินดีในภาวนา เพราะมีปหานะเป็นที่มายินดี เพราะยินดีในปหานะนั้น จริงอยู่ ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในภาวนา และปหานะนั้น มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรา กล่าวว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์อันเป็นของเก่า ซึ่งนักปราชญ์สรรเสริญว่า เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ ประการนี้แล นักปราชญ์รู้ว่าเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะเป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย และไม่เคย กระจัดกระจาย อันบัณฑิตย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะ และพราหมณ์ไม่เกลียด ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยอริยวงศ์ ๔ ประการนี้ ถึงแม้อยู่ใน ทิศตะวันออก เธอย่อมครอบงำความไม่ยินดีเสียได้ ความไม่ยินดีย่อมไม่ครอบงำ เธอได้ ถึงแม้เธออยู่ในทิศตะวันตก ... ในทิศเหนือ ... ในทิศใต้ เธอ ก็ย่อมครอบงำความไม่ยินดีเสียได้ ความไม่ยินดีย่อมไม่ครอบงำเธอได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะเธอเป็นธีรชนครอบงำความไม่ยินดีและความยินดีได้ ฯ
    ความยินดีย่อมครอบงำธีรชนไม่ได้ ความไม่ยินดีไม่อาจ ครอบงำธีรชน ธีรชนย่อมครอบงำความไม่ยินดีได้ เพราะ ธีรชนเป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดี กิเลสอะไรจะมากั้นกาง บุคคลผู้บรรเทากิเลสเสียได้ มีปรกติละกรรมทั้งปวงได้เด็ดขาด ใครควรเพื่อจะติเตียนบุคคลนั้นผู้เป็นประดุจแท่งทองชมพูนุท แม้เทวดาก็เชยชม แม้พรหมก็สรรเสริญ ฯ
    ธรรมปทสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทธรรม ๔ ประการนี้ บัณฑิตสรรเสริญ ว่าเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นประเพณีของพระอริยะเป็นของเก่า ไม่กระจัด กระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย บัณฑิตย่อมไม่รังเกียจ และจักไม่รังเกียจ อันวิญญูชนทั้งสมณะและพราหมณ์ไม่เกลียด บทธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บทธรรมคืออนภิชฌา ๑ บทธรรมคืออพยาบาท ๑ บทธรรมคือสัมมาสติ ๑ บทธรรมคือสัมมาสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทธรรม ๔ ประการนี้แล บัณฑิต สรรเสริญว่าเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นประเพณีของพระอริยะเป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย นักปราชญ์ย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะและพราหมณ์ไม่เกลียด ฯ
    บุคคลไม่พึงเป็นผู้มากไปด้วยความเพ่งเล็ง มีใจไม่พยาบาท มีสติ มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งตั้งมั่นด้วยดีในความเป็นกลางอยู่ ฯ
    ปริพาชกสูตร
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏใกล้กรุง ราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล พวกปริพาชกผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง มากด้วยกัน อาศัยอยู่ในปริพาชการาม ใกล้ฝั่งแม่น้ำสิปปินี คือ อันนภารปริพาชก วธรปริพาชก และสุกุลทายิปริพาชก รวมทั้งปริพาชกผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเหล่าอื่นด้วย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปทางปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี ครั้นเสด็จเข้าไปแล้ว ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ถวาย ครั้นประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกะปริพาชกเหล่านั้นว่า ดูกรปริพาชกทั้งหลาย บทแห่งธรรม ๔ ประการนี้ บัณฑิตสรรเสริญว่าเป็นเลิศ เป็นของมีมานาน เป็น ประเพณีของพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย นักปราชญ์ย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะและพราหมณ์ไม่เกลียด บทแห่งธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บทแห่งธรรมคืออนภิชฌา ๑ บทแห่งธรรม คือ อพยาบาท ๑ บทแห่งธรรม คือ สัมมาสติ ๑ บทแห่งธรรมคือสัมมาสมาธิ ๑ ดูกรปริพาชกทั้งหลาย บทแห่งธรรม ๔ ประการนี้แล บัณฑิตสรรเสริญว่าเป็นเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นประเพณีของพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย บัณฑิตย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะ และพราหมณ์ไม่เกลียด บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกคืนบทแห่งธรรมคือ อนภิชฌานี้แล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มากไปด้วยอภิชฌา ผู้มี ราคะแรงกล้าในกามทั้งหลาย ดังนี้ เราพึงกล่าวในเพราะคำนั้นกะบุคคลนั้น อย่างนี้ว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด เราจักดูอานุภาพของเขา ดังนี้ ข้อที่บุคคลนั้นแล บอกคืนบทแห่งธรรมคืออนภิชฌาแล้ว จักบัญญัติสมณะ หรือพราหมณ์ผู้มากไปด้วยอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกามทั้งหลาย นั่นไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ บุคคลใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกคืนบทแห่งธรรมคืออพยาบาท นี้แล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอัน เศร้าหมอง เราพึงกล่าวในเพราะคำนั้นกะบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด เราจักดูอานุภาพของเขา ดังนี้ ข้อที่บุคคลนั้นแลบอกคืนบทแห่งธรรม คืออพยาบาทแล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจ อันเศร้าหมอง นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ บุคคลใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอก คืนบทแห่งธรรมคือสัมมาสตินี้แล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ดังนี้ เราพึงกล่าวในเพราะคำนั้นกะบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด เราจักดูอานุภาพของเขา ดังนี้ ข้อที่บุคคลนั้นแลบอกคืนบท แห่งธรรมคือสัมมาสติแล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี สัมปชัญญะ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ บุคคลใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอก คืนบทแห่งธรรมคือสัมมาสมาธิแล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ผู้มีจิตหมุนเวียน ดังนี้ เราพึงกล่าวในเพราะคำนั้นกะบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด เราจักดูอานุภาพของเขา ดังนี้ ข้อที่บุคคลนั้นแลบอกคืนบท แห่งธรรมคือสัมมาสมาธิแล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ผู้มีจิตหมุนเวียน นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
    บุคคลใดแลพึงสำคัญบทแห่งธรรม ๔ ประการนี้ว่า ควรติเตียน ควร คัดค้าน ฐานะอันบัณฑิตพึงติเตียน ซึ่งกระทบกระเทือนวาทะอันประกอบด้วย ธรรม ๔ ประการ ย่อมมาถึงบุคคลนั้นในปัจจุบันเทียว บทแห่งธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ถ้าบุคคลย่อมติเตียน ย่อมคัดค้านบทแห่งธรรม คือ อนภิชฌา และสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกาม ทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น บุคคลนั้นยกย่องบูชาและสรรเสริญ ถ้า บุคคลย่อมติเตียน ย่อมคัดค้านบทแห่งธรรม คืออพยาบาท สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอันเศร้าหมอง บุคคลนั้นยกย่องบูชาและสรรเสริญ ถ้าบุคคลย่อมติเตียน ย่อมคัดค้านบทแห่งธรรม คือ สัมมาสติ สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ บุคคลนั้นยกย่องบูชาและสรรเสริญ ถ้าบุคคล ย่อมติเตียน ย่อมคัดค้านบทแห่งธรรม คือ สัมมาสมาธิ สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ผู้มีจิตหมุนเวียน บุคคลนั้นยกย่องบูชาและสรรเสริญ ฯ
    บุคคลใดพึงสำคัญบทแห่งธรรม ๓ ประการนี้ว่า ควรติเตียน ควรคัดค้าน ฐานะอันบัณฑิตพึงติเตียน ซึ่งกระทบกระเทือนวาทะอันประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเข้าถึงบุคคลนั้นในปัจจุบันเทียว ปริพาชกชื่อวัสสะและภัญญะ ผู้อยู่ในอุกกลชนบทเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ได้สำคัญบทแห่ง ธรรม ๔ ประการนี้ว่าไม่ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ กลัวต่อนินทา กลัวต่อความกระทบกระเทือน และกลัวต่อความติเตียน ฯ
    บุคคลผู้ไม่พยาบาท มีสติในกาลทุกเมื่อ มีจิตตั้งมั่นใน ภายใน ศึกษาในความกำจัดอภิชฌาอยู่ เราเรียกว่าเป็นผู้ ไม่ประมาท ฯ


    ที่มาhttp://www.polyboon.com/dhumma/story_01.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 พฤศจิกายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...