บุญ และ กุศล ต่างกันที่...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พยัคฆ์หลับ, 21 เมษายน 2012.

  1. พยัคฆ์หลับ

    พยัคฆ์หลับ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +83
    กุศล แปลว่า ฉลาด, สิ่งที่ตัดความชั่ว

    กุศล โดยทั่วไปใช้หมายถึงความดี, ความงาม, สิ่งที่ดี นิยมใช้กับคำว่าบุญเป็น บุญกุศล และคู่กับคำว่ากรรม เป็น กุศลกรรม ซึ่งมีความหมายว่าบุญ, ความดี, กรรมดีเหมือนกัน

    "เกิดเป็นคนควรสร้างกุศลให้มากเข้าไว้แหละดี" พระท่านเตือนสติมิให้ประมาท

    สร้างกุศลให้มากในที่นี้คือทำบุญไว้ให้มากนั่นเอง
    กุศลหรือบุญที่ควรทำคือ ทาน ศีล ภาวนา หรือกุศลกรรมบท ๑๐ ประการ เป็นต้น

    กุศล ควรจะหมายถึง การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับจิตใจให้ดีขึ้น ปรับปรุงจิตใจให้ดีขึ้น มากกว่าทำความดีเฉย ๆ การกระทำใด ๆ หากทำแล้วมีผลต่อสภาวะจิตใจของตนเปลี่ยนไปในทางที่สูงขึ้น จึงเรียกว่ากุศล
    หากการกระทำดีนั้น ๆ ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงจิตใจตนเองเลย ไม่เรียกว่ากุศล แต่เรียกว่า กรรมดี

    โดยทั่วไป มักจะใช้คู่กันกับคำว่า บุญกุศล แต่คำว่า บุญ กับ กุศล ความหมายต่างกัน (เขียนก็ไม่เหมือนกันแล้วจะให้ความหมายเหมือนกันได้อย่างไร)

    ตัวอย่าง
    1. นาย กอ เป็นคนรวย ชอบที่จะให้ทาน เพราะเขาหวังว่า การให้ทานของเขาจะส่งผลทำให้เขารวย ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และอาจจะได้ไปสวรรค์ หลังจากที่เขาตายไป

    - อันนี้นาย กอ ทำกรรมดี หรือทำบุญ แต่ไม่ได้เกิดกุศลในจิต หรือเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะเขาทำทานก็จริง แต่ไม่มีผลทำให้จิตใจของเขาวางลงจากความโลภ หรืออยากเลย

    2. นาย ขอ เป็นคนชั้นกลาง เขาเห็นเด็กกำพร้ามากมายเกิดขึ้น เขาจึงรู้สึกอยากที่จะช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น จึงประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเองมากขึ้น เพื่อที่จะให้ตัวเองมีเงินเหลือมากขึ้น เพื่อที่จะแบ่งไปบริจาคเด็กเหล่านั้น เพื่อที่เด็กเหล่านั้นจะได้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป

    - อันนี้ นาย ขอ ทำทั้งกุศล และบุญ เพราะมีผลที่ทำให้เขาต้องประหยัด อดออมมากขึ้น และการประหยัดอดออมนี้เอง จะทำได้ก็คือต้องปล่อยวางความอยากของตนเอง และทำเพราะในใจเกิดจิตเมตตากรุณา

    ที่มา กุศล - วิกิพีเดีย
     

แชร์หน้านี้

Loading...