บุญกิริยา

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย paang, 8 สิงหาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]

    ความรู้สึกที่จะชื่นชมยินดีและพอใจในความดีของคนอื่นนั้นถือเป็นบุญกิริยาอย่างหนึ่ง เราต้องรู้สึกอย่างนั้นเพื่อที่จะทำให้ใจของเราเป็นกุศลเอาไว้ในคุณงามความดีของคนอื่น เราสามารถที่จะใช้คุณงามความดีของคนอื่นเร้ากุศลของเราได้จริง ๆ เวลาที่เราเห็นคนคนหนึ่งทำความดี ความงาม แล้วเรารู้สึกอิจฉาเขา เราจะพบว่าเราไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากคุณงามความดีนั้นและแถมจะเป็นทุกข์โทษ เพราะความดีของคนอื่นด้วย แต่ถ้าเพื่อเราสามารถที่จะมีใจของเราน้อมอนุโมทนาต่อคุณงามความดีของคนอื่น ท่านจะเห็นว่าจิตที่เป็นมุทิตาอย่างนี้ จะทำให้เราได้กุศลในคุณงามความดีของคนอื่นด้วย จึงเป็นบุญอย่างยิ่งที่เราจะต้องช่วยกันชื่นชมยินดีต่อคุณงามความดีของคนในสังคมของเรา เพื่อที่ทำให้คนทั้งหลายเร้ากุศล ที่จะทำสิ่งดีงามให้มากขึ้น ถือเป็นการช่วยสังคมของเราอย่างหนึ่ง เป็นบุญอย่างหนึ่งของเราด้วย ช่วยกันทำความดีและช่วยกันชื่นชมยินดีในความงามความดีของคนที่กำลังกระทำอยู่ ในขณะเดียวกันเราต้องหยุดที่จะทำสิ่งที่ไม่ดีด้วย แลก็ช่วยกันมองบุคคลที่ทำในสิ่งที่ไม่ดีในสังคมให้เขารู้จักเกรงใจเราด้วย ขอให้ท่านมีความสุขที่ได้ทำบุญร่วมกัน

    *********
    เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ เคยรู้สึกมีความสุขไปกับการทำความดีของใครบ้าง
    มาบอกเล่าประสบการณ์ให้ฟังบ้างนะคะ เพื่อที่เราจะได้ร่วมกันยินดีด้วยกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2005
  2. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,332
    บุญกิริยา หมายถึง กิริยาที่ทำให้เกิดบุญ หรือเปล่าครับ
    อย่างนั้น ความรู้สึกที่จะชื่นชมยินดีและพอใจในความดีของคนอื่นนั้นถือเป็นบุญกิริยาวัตถุอย่างหนึ่ง
    ความจริงแล้ว กิริยาที่ทำให้เกิดบุญ มีตั้ง ๑๐ อย่าง เรียก บุญกิริยาวัตถุ
    มีดังต่อไปนี้ คือ


    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ

    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำดังต่อไปนี้

    1. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม
    2. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม
    3. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด
    4. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์
    5. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ
    6. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป
    7. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • v728385.jpg
      v728385.jpg
      ขนาดไฟล์:
      40.7 KB
      เปิดดู:
      87
  3. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ขอบคุณคุณ chanin ค่ะ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
    อ่านแล้วเหมือนจะเยอะมากเลยนะคะ
    แต่ถ้าปฏิบัติจนเป็นกิจวัตร ก็จะเป็นความเคยชิน
    ต้องเริ่มฝึกตั้งแต่ความยินดีในบุญหรือสิ่งดีดีที่ผู้อื่นกระทำ
    แล้วจะเป็นแรงกระตุ้นให้เราอยากทำบุญกิริยาไปด้วยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...