บารมี คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 7 สิงหาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    'บารมี' คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่

    'บารมี' คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">7 สิงหาคม 2549 13:54 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> คำว่า ‘บารมี’ นี้ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า ‘คุณความดี ที่ได้บำเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่ง ใหญ่ เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมี ปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี’
    โดยนัยแห่งคำจำกัดความดังกล่าว นี้ ‘ผู้มีบารมี’จึงมิใช่ใครอื่นนอกจากสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยเรา แต่ครั้งโบราณจวบจนกระทั่งปัจจุบันกาล ซึ่งเป็นที่ซาบซึ้งกันดีในหมู่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า จนเกิด มีเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ทุกคนต้องร้องและให้ความเคารพอย่างยิ่ง
    ส่วนใครที่ออกมาพูดว่า “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” แล้วตอบคำถามของประชาชนไม่ได้ หรือเลี่ยงที่จะตอบ หรือไพล่ไปให้คนอื่นตอบแทน ก็แสดงว่า คนพูดมันโง่แล้ว เพราะไม่รู้ว่าพูด อะไรออกไป ความควรมิควรประการใดก็ไม่รู้ ก็ต้องรับกรรมไปตามควรแก่การณ์
    ในส่วนแห่งธรรมนั้น บารมี หมายถึงความดีที่ควรบำเพ็ญ ท่านจัดไว้เป็น ๑๐ ประการด้วยกัน ดังนี้ คือ
    ๑. ทานบารมี หมายถึงการที่บุคคลมีจิตใจเปี่ยมด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ปรารถนาจะสงเคราะห์อนุเคราะห์ผู้ที่ควรแก่การสงเคราะห์เช่น คนพิการ คนตกทุกข์ได้ยาก เพราะประสบภัยพิบัติ มีไฟไหม้ น้ำท่วม เป็นต้น และบุคคลผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้ได้มีโอกาสทัดเทียมกับผู้อื่นด้วยอามิส คือ วัตถุสิ่งของที่ควรให้ หรือสามารถ ให้ได้ ซึ่งจัดว่าเป็นอามิสทาน
    ส่วนการให้คำแนะนำพร่ำสอนให้ตั้งตนอยู่ในศีลในธรรมหรือการเผยแผ่ หลักธรรมคำสอนในพระศาสนา ด้วยวาจาก็ดี ด้วยการพิมพ์หนังสือธรรมออกเผยแผ่ก็ดี ล้วนจัดว่าเป็น ธรรมทาน ซึ่งพระพุทธเจ้าสรรเสริญว่าชนะการให้ทั้งปวง
    ๒. ศีลบารมี หมายถึงการรักษาศีล ด้วยเจตนาวิรัติ งดเว้นตามสิกขาบท ด้วยการสมาทานวิรัติรับจากคนอื่น และสัมปัตตวิรัติ งดเว้นเมื่อวัตถุที่จะ ล่วงศีลมาถึง เช่น มีโอกาสในการที่จะฆ่าสัตว์ หรือลักทรัพย์ เป็นต้น แต่ไม่ ถือโอกาสนั้นกระทำการละเมิดศีลและ สมุจเฉทวิรัติ คือการตัดขาด ไม่กระทำความชั่วในจุดนั้นๆ
    ๓. เนกขัมมบารมี คือ การบำเพ็ญตนให้ห่างไกลจากความกำหนัดขัดเคือง และลุ่มหลงมัวเมา ออกแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ด้วยการออกบวช ด้วยมีจิตมุ่งมั่นต่อการขจัดโทษอันจะเกิดขึ้นทางกาย วาจา และใจ ของตนตาม อุดมคติของนักบวช
    ๔. ปัญญาบารมี หมายถึง การเพิ่ม พูนปัญญาให้เกิดให้มีขึ้นเต็มกำลัง ความสามารถ ปัญญาแปลว่าความรู้ ความรอบรู้นั้นมีมากมาย แต่เมื่อย่อให้น้อยลง ก็เหลือเพียงสองประการที่ควรรู้ คือ
    ๑. รู้เหตุแห่งความเสื่อม เรียกว่า อุปายโกศล แล้วหลีกเลี่ยงทางเสื่อมเสีย ด้วยอุปายโกศล คือความ ฉลาดในอุบายวิธี
    ๒. รู้เหตุแห่งความเจริญ เรียกว่า อายโกศล แล้วประพฤติปฏิบัติ เพิ่มพูนความเจริญด้วยอุปายโกศล
    ๕. วิริยบารมี ได้แก่ การเพิ่มพูนความเพียรพยายามในการดำรงชีวิต ประกอบกิจตามหน้าที่ของตน เพียรเพื่อจะละชั่ว ประพฤติดี มีจิตใจเข้ม แข็งพร้อมต่อสู้อุปสรรคต่างๆ อย่างไม่ พรั่นพรึงในทุกๆสถานการณ์ ยอมสละชีวิตเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนปรารถนา ดังที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพียรเพื่อการ ตรัสรู้เป็นต้น
    ๖. ขันติบารมี ขันติคือความอดทน ความอดกลั้น ความอดทนทางกายและจิต แบ่งออกเป็น ๓ ประการ คือ
    ๑. อดทนต่ออากาศที่วิปริต เช่น ร้อนเกินเหตุ และหนาวเกินเหตุ ฝนตกมากไป ไม่สะดวกในการดำเนิน ชีวิต เป็นต้น
    ๒. อดทนต่อทุกขเวทนา อันเกิดจากการเจ็บไข้ได้ป่วย และความ เหน็ดเหนื่อย ความยากลำบาก ในการประกอบกิจการงาน
    ๓. อดทนอดกลั้นต่อสิ่งเย้ายวน ที่จะทำให้เกิดหมกมุ่นอยู่ในกาม และอดทนอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นเหตุให้เกิดความยินดียินร้ายในจิต ที่จะต้องประสบและเกี่ยวข้องอยู่ในชีวิตประจำวัน
    ๗. สัจจบารมี คือการเพิ่มพูนสัจจะ คือความจริงใจให้เกิดขึ้นในตน เมื่อมีความต้องการจะทำสิ่งใดย่อมต้องทำ ได้จริง เพื่อให้บรรลุถึงสิ่งที่ตนปรารถนา ไว้ สัจจบารมีที่แท้จริงนั้น คือ การตั้งใจจริงในการละความชั่วและกระทำความดีเท่านั้น ถ้าพ้นจากที่กล่าวแล้ว นี้ไม่ถือว่าเป็นการบำเพ็ญสัจจบารมี
    ๘. อธิษฐานบารมี คือ ความตั้งมั่นของจิต หรือปณิธานอันแน่วแน่ ในการที่จะละความชั่วประพฤติความดี บางครั้งเรียกว่าสัจจาธิษฐาน เป็นลักษณะของความตั้งมั่นของจิต เพื่อให้บังเกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ ตนปรารถนา
    ๙. เมตตาบารมี คือ การเพิ่มพูนความรักความเมตตาปรานีต่อบรรดา สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง ปรารถนาให้ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายไม่ว่าคนหรือสัตว์ดำรงชีพด้วยความสงบสุข ไม่มีเวรไม่มีภัยต่อกัน และไม่เบียดเบียนกัน ด้วย กาย วาจา และใจ เมื่อคนหรือสัตว์เหล่านั้นประสบอันตราย ก็พร้อม ที่จะช่วยหรือให้พ้นทุกข์ภัยนั้นๆ
    ๑๐. อุเบกขาบารมี คือการเพิ่มพูน ความหนักแน่นของจิตด้วยปัญญา พิจารณาเหตุผลทั้งหลายไปตามความ เป็นจริง ไม่เอนเอียงไปในฝ่ายอคติ เช่น คนที่รักใคร่หรือญาติพี่น้องประสบความเดือดร้อนเพราะการกระทำของ ตน ก็วางใจเป็นกลางไม่ดีใจเสียใจ เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรมของตน ทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับผลแห่งกรรมนั้น เป็นธรรมดาเช่น นั้นเอง
    บารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้ เป็นปฏิปทา ของบุคคลผู้เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญ เพื่อบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า และแม้แต่บุคคลใน ระดับอื่น คือ พระอริยบุคคลหรือปุถุชน ที่มีศีลมีกัลยาณธรรม ต่างก็มีบารมีด้วยกันทั้งนั้น เว้นแต่ว่าใครมีมากมีน้อยกว่ากันเท่านั้นเอง
    ระดับของบารมีนั้นมี ๓ ประการ คือ
    ๑. บารมี การให้ทานตามปกติ เช่นวัตถุสิ่งของที่สามารถให้ได้
    ๒. อุปบารมี เป็นการให้ทานที่ยิ่ง ขึ้นไป มีการสละอวัยวะ เป็นต้น
    ๓. ปรมัตถบารมี คือบารมีอันสูง สุดด้วยการให้ชีวิตเป็นทาน เพื่อพิทักษ์ ธรรมหรือประโยชน์สุขของมหาชน เป็นต้น
    เมื่อกระจายบารมีออกไป จึงเป็น บารมี 30 ทัศ คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ ด้วยประการ ฉะนี้แล
     

แชร์หน้านี้

Loading...