บริหารอุทกภัยเชิงพุทธ Buddhist Style in Management (พูดไว้เมื่อปี 43)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย นักรบธรรม, 30 พฤศจิกายน 2011.

  1. นักรบธรรม

    นักรบธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    970
    ค่าพลัง:
    +1,178
    บริหารอุทกภัยเชิงพุทธ
    สมหวัง วิทยาปัญญานนท์
    18 ธันวาคม 2543Font : CordiaUPC
    สรุปประเด็น<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    อุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติที่หลายคนคิดว่าป้องกันได้ลำบาก จากการสังเกตุกระบวนการแก้ไขปัญหาของชาติ ของระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น มีหลายอย่างที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น ที่กระบวนการแก้ไขและป้องกันปัญหา ซึ่งมีสาเหตุรากเหง้าหลายอย่าง แต่คนไทยมักชอบนิยมใช้วิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแล้วหยุดเพียงแค่นั้น ไม่ยอมหาสาเหตุรากเหง้าและดับที่เหตุรากเหง้า ซึ่งไม่ครบถ้วนตามการบริหารเชิงพุทธ เชิงอริยสัจ หรือสิ่งที่ชาวพุทธควรจะกระทำกัน<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    บทคัดย่อ<O:p> </O:p>
    อุทกภัย เป็นภัยธรรมชาติที่ส่วนหนึ่งมาจากธรรมชาติเป็นเหตุ และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากมนุษย์ไปกระทำต่อพื้นที่ ตลอดจนไปยึดชัยภูมิพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม เป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน สิ่งที่ควรรู้ในการลดภัยจากน้ำท่วมนั้น ควรจะทราบว่าน้ำท่วมเกิดขึ้นได้อย่างไร ภัยที่แฝงมากับภาวะน้ำท่วมมีอะไรบ้าง ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น และน้ำท่วมพื้นที่ได้อย่างไร<O:p> </O:p>
    หลักการป้องกันอุทกภัย มี 4 ขั้นตอน คือ การเตรียมการก่อนเกิดอุทกภัย การดำเนินการขณะเกิดอุทกภัย การฟื้นฟูสภาพหลังเกิดอุทกภัย และการประเมินผล และปรับปรุงมาตรการเตรียมการสำหรับครั้งต่อไป<O:p> </O:p>
    การบริหารอุทกภัยเชิงพุทธ มี ธรรมะ 4 ประการคือ ใช้อริยสัจ (รู้ปัญหา และการดับปัญหาที่เหตุ) รู้กฎไตรลักษณ์ (รู้ความไม่แน่นอน) อัปปมาทะ (ไม่ประมาท) โดยใช้ธรรม 4 เกลอ คือ สติ สัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา และรู้วัฎจักรการบริหาร 3 ป (ปริยัติ – ปฏิบัติ – ปฏิเวธ) <O:p></O:p>

    1. บทนำ<O:p> </O:p>
    จากการที่น้ำท่วมหาดใหญ่ ช่วง 20-23 พฤศจิกายน 2543 จากประสบการณ์ที่เคยเป็นประธานอัคคีภัยและอุทกภัย ตาม มอก.18001 จากการที่เคยให้ความช่วยเหลือชุมชนเรื่องการบรรเทาความเดือดร้อนจากน้ำท่วม ตลอดจนการแจกถุงยังชีพ ในชุมชนรอบโรงงานและจากประสบการณ์ที่เคยวิเคราะห์วิจัยสาเหตุการพังทลายของดินที่นาสาร กระทูน พิปูน เมื่อปี 2531 จะเห็นว่าภัยจากน้ำท่วม หรืออุทกภัยนั้น นำความเสียหายมาสู่ชีวิตและทรัพย์สิน<O:p> </O:p>
    มนุษย์ทุกคนชอบความมั่นคงและความปลอดภัย ก็มีภัยธรรมชาติและภัยจากมนุษย์สร้างขึ้นมา อุทกภัยก็เป็นภัยจากธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งบางครั้งอาจป้องกันได้ โดยการป้องกันไม่ให้เข้ามาทำความเสียหาย หรืออาจบรรเทาความเดือดร้อนได้ นั่นคือ อุทกภัยที่ให้ภัยร้ายแรง นั้นมาจากธรรมชาติเหตุหนึ่ง และมาจากการบริหารการจัดการไม่ดีอีกเหตุหนึ่ง<O:p> </O:p>
    หากมีการบริหารอุทกภัยที่ดีแล้ว ภัยที่เกิดขึ้นอาจไม่มีผลกระทบจนถึงกับเดือดร้อน หรือเป็นทุกข์มากแบบนี้ หรือเสียชีวิตมากแบบนี้ จากภัยรุนแรงก็จะเป็นเบาบาง หรือสามารถเตรียมรับมือได้ โดยไม่เดือดร้อน ด้วยการเตรียมตัวที่ดี<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    2. ความรู้เรื่องเบื้องต้นเรื่องอุทกภัย<O:p> </O:p>

    ภัยของมนุษย์มี 3 อย่าง คือ <O:p></O:p>
    • ภัยจากมนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งจะมาในรูปของอุบัติเหตุ อันตรายจากสิ่งมีพิษมีภัย การทำร้าย เบียดเบียนต่อร่างกายและทรัพย์สิน จากคนร้าย หรือศัตรู<O:p> </O:p>
    • ภัยจากธรรมชาติ ได้แก่ ไฟไหม้ป่า ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อุทกภัย (น้ำท่วม) ลมพายุ แผ่นดินยุบหรือพังทลาย รังสีจากแสงแดด<O:p> </O:p>
    • ภัยอื่นๆ เช่น โรคระบาด การเจ็บป่วย และความตาย<O:p> </O:p>
    อุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติที่สามารถป้องกันได้ส่วนหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะเป็นเกิดจากธรรมชาติก็ตาม<O:p> </O:p>

    ภัยจากน้ำท่วมเกิดขึ้นได้ ดังนี้<O:p> </O:p>
    1)น้ำไหลมาท่วมบ้าน<O:p> </O:p>
    2)น้ำไหลมาท่วมไร่สวนนา<O:p> </O:p>
    3)น้ำไหลมาท่วมบ่อปลา ฟาร์มจระเข้ ฟาร์มหมู ฟาร์มไก่<O:p> </O:p>
    4)น้ำไหลมาท่วมเส้นทางถนนคมนาคม ลานจอดรถ<O:p> </O:p>
    5)น้ำไหลมาท่วมสินค้า อุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้าน<O:p> </O:p>
    6)บ้านอยู่สูง แต่กระแสน้ำตัดตลิ่งพัง บ้านจึงพังลงไปในน้ำ<O:p> </O:p>
    7)น้ำไหลแทงจนฝายน้ำล้นประตูน้ำพังชำรุด<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    ภัยที่แถมพ่วงมาพร้อมกับภาวะน้ำท่วม มีดังนี้<O:p> </O:p>
    1)ไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าลัดวงจร<O:p> </O:p>
    2)ไม้ซุงลอยมากับน้ำกระแทกบ้านพังทลาย<O:p> </O:p>
    3)งู สัตว์มีพิษ ซึ่งปกติเป็นสัตว์บก จะขึ้นบ้าน<O:p> </O:p>
    4)โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจ ตาแดง ปอดบวม ผดผื่นคัน จะมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย<O:p> </O:p>
    5)สารเคมีมีพิษ ยาฆ่าแมลง แพร่กระจายไปทั่วบริเวณ ภัยจากขยะมีพิษ<O:p> </O:p>
    6)โจรผู้ร้ายปล้น ขโมย ฉกชิงวิ่งราว ถือโอกาสตอนคนสับสน<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    ภัยที่เกิดขึ้นทำความเสียหายกับ<O:p> </O:p>
    1)บ้านเรือน เครื่องเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน พื้นปาร์เก้ สนามหญ้า อาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการ โรงพยาบาล อนามัย<O:p> </O:p>
    2)สินค้าของร้านค้าขาย เช่น กระเป๋า ยาเวชภัณฑ์ ของชำ คอมพิวเตอร์<O:p> </O:p>
    3)คนที่จะต้องเจ็บป่วย จมน้ำตาย อดอาหาร<O:p> </O:p>
    4)สัตว์เลี้ยง วัว ควาย หมู ไก่ สุนัข<O:p> </O:p>
    5)พื้นที่การเกษตร มี บ่อปลา นากุ้ง ที่ถูกน้ำพัดพาปลาและกุ้ง หน้าดินตามลาดเขาอาจพังทะลายลงมา<O:p> </O:p>
    6)เส้นทางคมนาคม เช่น ถนนรถยนต์ ทางรถไฟ สนามบิน <O:p></O:p>
    7)เขื่อนทำนบ ฝายน้ำล้น อาจพังทะลาย<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    ใครได้ประโยชน์จากน้ำท่วม<O:p> </O:p>
    1)อาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป น้ำบรรจุขวด เทียนไข ไฟแช๊ค ถ่านหุงข้าว ไฟฉาย ที่เป็นถุงยังชีพ<O:p> </O:p>
    2)อุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น เรือท้องแบน เชือก เสื้อกันฝน ชูชีพ สำหรับหน่วยกู้ภัย<O:p> </O:p>
    3)หน่วยบริการสื่อสาร เช่น วิทยุ อินเทอร์เน็ตที่ติดตามข่าว สภาพภูมิอากาศ (www.cnn.com) เพื่อทราบความคืบหน้าของพายุ สำหรับหน่วยกู้ภัย และผู้เข้าช่วยเหลือ<O:p> </O:p>
    4)โจรผู้ร้ายถือโอกาสปล้น สดมภ์<O:p> </O:p>
    5)อู่ซ่อมรถยนต์ และร้านซ่อมรถจักรยานยนต์<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    น้ำมาท่วมพื้นที่ได้อย่างไร<O:p> </O:p>
    1)พื้นที่อยู่ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง เมื่อน้ำไหลบ่ามามากก็ท่วมเอ่อล้นขึ้นมาท่วมบ้านเรือน<O:p> </O:p>
    2)อยู่ในพื้นที่ต่ำราบลุ่มที่ควรจะทำนาแต่กลับมาปลูกบ้าน เช่น ที่ราบกรุงเทพ เมื่อฝนตกหนักก็ท่วม<O:p> </O:p>
    3)ถูกถนนยกสูงปิดล้อมพื้นที่ กลายเป็นแอ่ง น้ำไหลเข้าง่าย แต่ไหลออกยาก<O:p> </O:p>
    4)เขื่อนเก็บน้ำมากเกิน แล้วปล่อยระบายออกมาเพื่อป้องกันเขื่อนพังทลาย <O:p></O:p>
    5)เขื่อนเก็บกักน้ำ ฝายกั้นน้ำพังทลาย ทำให้น้ำจำนวนมากไหลมาในปริมาณมากและรวดเร็ว<O:p> </O:p>
    6)น้ำทะเลหนุนตอนช่วงข้างขึ้น หรือมีลมพายุ ทำให้พื้นที่ริมปากน้ำ ริมทะเลท่วม<O:p> </O:p>
    7)น้ำทะเลยกระดับเนื่องจากพายุ<O:p> </O:p>
    8)ท่วมเนื่องจากถูกสูบน้ำจากพื้นที่หนึ่งมายังอีกพื้นที่หนึ่ง โดยมีสันคันดินกั้น<O:p> </O:p>
    9)พื้นที่ส่วนหนึ่งถูกถมปิดกั้นการแพร่กระจายของน้ำ ทำให้พื้นที่รับน้ำท่วมลดลง<O:p> </O:p>
    10)ท่วมเนื่องจากด้านปลายน้ำมีการปิดกั้นหรือมีต้นไม้ ดินพังทลายปิดกั้น ทำให้น้ำไหลไม่ได้ จึงยกระดับขึ้น เช่นเดียวกับการกั้นเขื่อน<O:p> </O:p>
    11)ที่จอดรถใต้ดินถูกน้ำท่วมไหลล้นลงมา<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    3. หลักการป้องกันอุทกภัย<O:p> </O:p>
    หลักการป้องกันอุทกภัย มี 4 ขั้นตอน ดังนี้<O:p> </O:p>
    1)การเตรียมการก่อนเกิดอุทกภัย<O:p> </O:p>
    2)การดำเนินการขณะเกิดอุทกภัย<O:p> </O:p>
    3)การฟื้นฟูสภาพหลังเกิดอุทกภัย<O:p> </O:p>
    4)การประเมินผลงาน และปรับปรุงมาตรการเตรียมการสำหรับครั้งต่อไปต่อไป<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    3.1 การเตรียมการก่อนเกิดอุทกภัย<O:p> </O:p>
    1)จัดระบบการป้องกันน้ำท่วมว่า ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร อาจใช้ระบบ มอก.18001 มาปรับใช้ เป็นระบบมาตรการภาวะฉุกเฉิน<O:p> </O:p>
    2)การตรวจดูระบบเตือนภัย ได้แก่ เสาระดับบอกระดับน้ำ สถิติน้ำฝน ระบบสื่อสารจากอุตุนิยมวิทยา การดูการเคลื่อนตัวของพายุจากแผนที่อากาศภาพถ่ายทางอากาศ เช่น จาก www.CNN.com วิธีการแจ้งข่าวให้ชาวบ้านในหมู่บ้านหรือในเมือง วิทยุสื่อสาร<O:p> </O:p>
    3)ตรวจดูระบบการช่วยตัวเองของชาวบ้าน ได้แก่ อาหาร น้ำดื่ม ไฟฉาย ถ่านหุงข้าว ข้าวสาร ยารักษาโรคเท่าที่จำเป็น การนำข้าวของเครื่องใช้เก็บไว้ที่สูง การยกปลั๊กไฟฟ้าขึ้นสูง การเตรียมป้องกันน้ำเข้าบ้านถุงทราย ระบบวิดน้ำออกจากบ้าน เชือกมัดของกันน้ำพัดพาไป<O:p> </O:p>
    4)การจัดทำแผนที่น้ำท่วมในอดีต หมู่บ้านไหนจมน้ำ หมู่บ้านไหนเป็นที่ดอน ลงในแผนที่ของแต่ละตำบล พร้อมรายชื่อชาวบ้านที่เคยอยู่ในที่เคยน้ำท่วม จำนวนชั่วโมงที่เคยท่วม ลำดับการท่วมเป็นอย่างไร ที่ไหนท่วมก่อน แล้วอีกนานเท่าไร พื้นที่ไหนจะท่วมต่อ<O:p> </O:p>
    5)จัดเตรียมอุปกรณ์กู้ภัยน้ำท่วม ได้แก่ รถยนต์ล้อสูง เรือท้องแบน เชือก ชูชีพห่วงยางช่วยเหลือคนตกน้ำ ชุดปฐมพยาบาล กรณีคนจมน้ำ ถุงยังชีพ ซื้อที่ไหน งบประมาณมาจากไหน จากองค์กรหรือการบริจาค<O:p> </O:p>
    6)การจัดเตรียมกู้ภัย ได้แก่ ผู้อำนวยการน้ำท่วมคือใคร แต่ละคนในทีมกู้ภัยต้องทำอะไร การฝึกซ้อมการกู้ภัย แผนกู้ภัย และแผนกู้ภัยมีกี่แผน อะไรบ้าง วิธีการลากรถยนต์ที่จมน้ำหรือเครื่องยนต์ดับจากการสำลักน้ำ การดับไฟฟ้าเมื่อน้ำท่วมถึงระดับไหน<O:p> </O:p>
    7)ตรวจสอบระบบป้องกันน้ำท่วม ได้แก่ สันคันดิน เขื่อน ถุงทราย ปั๊มสูบน้ำระบายน้ำ คูระบายน้ำ การขุดลอกคูคลองระบายน้ำ การเปิดเขื่อนให้น้ำลดลง เพื่อให้มีปริมาตรรับน้ำเพิ่ม<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    3.2 การดำเนินการขณะเกิดอุทกภัย<O:p> </O:p>
    1)เฝ้าระวังติดตามข่าวว่าจะเกิดน้ำท่วม จากกรมอุตุนิยมวิทยาและอื่นๆ ตลอดจนติดตามระดับน้ำตามจุดต่างๆ ในพื้นที่จริง<O:p> </O:p>
    2)การตัดสินใจตั้งกองอำนวยการน้ำท่วม เมื่อเห็นว่าสถานการณ์น้ำจะท่วมแน่ รวมถึงการตั้งเต้นท์อำนวยการ<O:p> </O:p>
    3)ส่งข่าวให้ชาวบ้านทราบเป็นระยะๆ พร้อมดูการเตรียมการของชาวบ้าน อาจใช้วิทยุทรานซินเตอร์ (ใช้ถ่านไฟฉายได้ ไม่มีปัญหาเมื่อไฟฟ้าหยุดจ่ายไฟ) <O:p></O:p>
    4) จำเป็นต้องใช้รถแบ็คโฮชักคูระบายน้ำเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มอัตราการระบายน้ำได้หรือไม่<O:p> </O:p>
    5)ตรวจสอบการระบายน้ำว่ามีการติดขัดตรงจุดไหน ได้แก่ ตะกอนเต็มท่อระบายน้ำ ตะแกรงตันจากเศษพลาสติก<O:p> </O:p>
    6)ปั๊มสูบน้ำทำงานได้ ตั้งระดับสูงพอ ไฟฟ้าจ่ายได้ หรือ ถ้าเป็นเครื่องยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงมีพอใช้กี่วัน<O:p> </O:p>
    7)การอพยพคน โดยเรือท้องแบน หรือรถบรรทุกล้อสูง เส้นทางเป็นอย่างไร อพยพไปไว้ที่ไหน และจะดูแลเลี้ยงดูอย่างไร <O:p></O:p>
    8)โจรผู้ร้ายจะฉวยโอกาสตอนคนไม่อยู่บ้าน หรือจังหวะสับสน เข้าขโมยทรัพย์สิน จะทำอย่างไร<O:p> </O:p>
    9)การระดมกำลังจากหน่วยงานที่มีสมรรถนะสูง เช่น บริษัทก่อสร้าง ค่ายทหาร ค่ายตำรวจตะเวนชายแดน โรงงานใหญ่ เป็นต้น หรือจากหมู่บ้านที่น้ำไม่ท่วม ให้มาช่วยหมู่บ้านที่น้ำท่วม ในเรื่องของการอพยพให้ที่อยู่อาศัย การบริจาคทรัพย์สิน เพื่อหาซื้อถุงยังชีพมาแจก<O:p> </O:p>
    10)การขอความช่วยเหลือจากจังหวัด ใครเป็นผู้มีอำนาจสั่งการ และเกณฑ์ที่จะเริ่มขอความช่วยเหลือ หลังจากที่ช่วยตนเองได้ระยะหนึ่ง<O:p> </O:p>
    11)สั่งตัดไฟฟ้า ใครเป็นผู้มีอำนาจ มีการแจ้งตัดไฟฟ้าล่วงหน้ากี่ชั่วโมง แล้วจะเตือนให้ทราบได้อย่างไร ว่าจะไม่มีใครได้รับอันตรายจากการตัดไฟฟ้า เช่น คนอยู่ในลิฟท์<O:p> </O:p>
    12)สั่งการจ่ายไฟฟ้าอีกครั้ง ใครเป็นผู้มีอำนาจ จะต้องแจ้งชาวบ้านอย่างไร และมีมาตรการอะไรที่จะป้องกันอันตรายจากการจ่ายไฟฟ้า<O:p> </O:p>
    13)การส่งมอบถุงยังชีพ จะทำอย่างไร แล้วการส่งมอบจะตรงผู้เดือดร้อนได้ 100 % ทั่วถึงได้อย่างไร จะป้องกันคนที่ไม่เดือดร้อนมาขอถุงยังชีพได้อย่างไร อาจต้องมีบัญชีรายชื่อชาวบ้านหมู่ที่น้ำท่วม หรือมีผู้ใหญ่บ้านช่วยประกบตอนแจกของด้วย ถุงยังชีพที่เหลือจะเก็บไว้แจกซ้ำเมื่อน้ำท่วมนานเกินกี่วัน หรือจะส่งไปช่วยพื้นที่น้ำท่วมที่อื่น<O:p> </O:p>
    14)การป้องกันการกักตุนสินค้า ทำให้สินค้าขาดตลาดจากพื้นที่ใกล้เคียง<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    3.3 การฟื้นฟูสภาพหลังเกิดอุทกภัย<O:p> </O:p>
    1)การสั่งการให้เคลียร์พื้นที่หลังน้ำลด สำรวจความเสียหาย การช่วยเหลือบ้านเรือนที่พังเสียหาย<O:p> </O:p>
    2)การประเมินราคาความเสียหาย การซ่อมถนน ซ่อมสะพาน ซ่อมเสาไฟฟ้าล้ม พื้นที่ถูกน้ำกัดเซาะ<O:p> </O:p>
    3)การตั้งงบประมาณช่วยเหลือ มาตรการลดภาษี การพักชำระหนี้<O:p> </O:p>
    4)การบำรุงขวัญผู้ประสบภัยจากอุทกภัย<O:p> </O:p>
    5)การป้องกันสินค้าขึ้นราคา โดยฉวยโอกาสจากภาวะน้ำท่วม<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    3.4 การประเมินผลและปรับปรุงมาตรการเตรียมการสำหรับครั้งต่อไป<O:p> </O:p>
    1)ประเมินผลระบบเตือนภัยว่าได้ผลเพียงใด<O:p> </O:p>
    2)ทบทวนมาตรการระบบป้องกันอุทกภัยว่าได้ผลเพียงใด<O:p> </O:p>
    3)หาสาเหตุของน้ำท่วมในเชิงวิชาการ ในด้านกลไกการท่วม ตั้งแต่แหล่งที่มาของน้ำ ทิศทางการไหล ปริมาณที่ไหล ปริมาณน้ำฝนที่ตกใส่พื้นที่ อัตราการไหลของน้ำ การผันน้ำ สิ่งกีดขวางที่เปลี่ยนทิศทางน้ำ อัตราการระบายน้ำออกจากพื้นที่ติดขัดอะไรบ้างที่ปลายน้ำ ภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปจากการถมพื้นที่สร้างอาคาร ทำถนน การขุดบ่อสระน้ำ หรือการทำฝายทดน้ำ<O:p> </O:p>
    4)ชาวบ้านพึ่งพาตัวเองในขณะน้ำท่วมได้อย่างไร<O:p> </O:p>
    5)ประเมินวิธีการช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ขณะเกิดอุทกภัย และหลังน้ำลด<O:p> </O:p>
    6)แนวทางนำข้อมูลจากอุทกภัยครั้งนี้ไปใช้ในอุทกภัยครั้งหน้า<O:p> </O:p>

    7)ประเมินผลกระทบจากภายนอกที่ส่งผลให้อุทกภัยมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ได้แก่<O:p> </O:p>
    • แบบบ้านเรือนที่ต้านอุทกภัย เช่นบ้านแบบกล่อง อาจแก้โดยใช้แบบ บ้านมีขา แบบโบราณที่ไม่เดือดร้อนจากน้ำท่วม รวมทั้งขนของขึ้นชั้นบนได้<O:p> </O:p>
    • ภูมิประเทศชัยภูมิการตั้งบ้านเรือนและเมืองที่เอื้ออำนวยต่อน้ำท่วม เช่น ตั้งในที่ลุ่ม การตั้งบ้านริมตลิ่งแม่น้ำ<O:p> </O:p>
    • การสร้างถนนและถมที่ดินที่มีผลกระทบต่อการระบายน้ำ<O:p> </O:p>
    • การเก็บกองขยะที่ถูกน้ำท่วมแล้วพัดพาไปทั่ว ทำให้อุดทางระบายน้ำ<O:p> </O:p>
    • สารเคมีที่แพร่กระจาย กรณีที่น้ำท่วม เช่นสารเคมี และยาฆ่าแมลง<O:p> </O:p>
    • การแพร่กระจายของเชื้อโรค เช่น จากโรงพยาบาลไปสู่พื้นที่ทั่วไป<O:p> </O:p>
    8)ศึกษาการเกิดภัย ทั้งบาดเจ็บและตายของคน และสัตว์เลี้ยงว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และแนวทางแก้ไขเพื่อลดอันตรายในการเกิดอุทกภัยครั้งหน้า<O:p> </O:p>

    4.บริหารอุทกภัยเชิงพุทธ<O:p> </O:p>
    บริหารอุทกภัยเชิงพุทธ มีธรรมะ 4 ประการ ดังนี้<O:p> </O:p>
    1)ใช้อริยสัจ (รู้ปัญหาและการดับปัญหาที่เหตุ)<O:p> </O:p>
    2) รู้กฎไตรลักษณ์ (รู้ความไม่แน่นอน)<O:p> </O:p>
    3) อัปปมาทะ (ไม่ประมาท โดยใช้ธรรมะ 4 เกลอ)<O:p> </O:p>
    4) รู้วัฎจักรการบริหาร 3 ป (ปริยัติ – ปฏิบัติ – ปฏิเวธ)<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    4.1 ใช้อริยสัจ (รู้ปัญหาและการดับปัญหาที่เหตุ)<O:p> </O:p>
    ในเชิงอริยสัจ จะต้องทราบถึงภัย (ทุกข์) ที่เกิดจากน้ำท่วมมีอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นภัยโดยตรงจากน้ำท่วม ได้แก่ สิ่งของเสียหายจากการแช่น้ำ น้ำกัดเซาะพื้นที่ ปลาในบ่อหลุดไปกับน้ำ เป็นต้น และภัยโดยอ้อม ได้แก่ ไฟฟ้าดูด จมน้ำตาย งูพิษกัด โรคทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจ สารเคมีสัมผัส โจรผู้ร้ายจี้ปล้น ขั้นตอนต่อไปต้องทราบว่าทุกข์หรือภัยนั้นมีสาเหตุจากอะไร (สมุทัย) นักปกครองก็ต้องรู้เหตุการท่วมเป็นพื้นที่ใหญ่ เช่น น้ำจากภูเขาไหลทะลักลงมา ฝนตกหนักใส่พื้นที่โดยตรง สูบน้ำระบายน้ำไม่ทัน เครื่องมือป้องกันอุทกภัยไม่ทำงานหรือชำรุด น้ำไม่ระบายออกไปเนื่องจากขยะอุดตัน หรือมีถนนกั้น เป็นต้น ในระดับชาวบ้าน อาจคิดในระดับตัวเอง เช่น การสร้างบ้านติดทางน้ำ ไม่ถมที่ดินให้สูง หรือต่อขาบ้านให้พ้นน้ำ ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าน้ำต้องท่วมทุกๆ ปี หรือทุกๆ 12-13 ปี มีการเตรียมตัวป้องกันน้ำท่วมของตนเองมากนั้นเพียงใด และการเตรียมตัวเตรียมวัสดุอุปกรณ์ อาหาร เพื่อให้อยู่ในบ้านได้ขณะน้ำท่วม โดยไม่เดือดร้อนมาก ในเรื่องกินอยู่นอนและการขับถ่าย หรือการมองพื้นที่ที่จะอพยพไปอยู่หากน้ำท่วมเกินระดับที่กำหนดไว้ เช่น เกิน 150 ซม.จะย้ายไปยังจุดไหนต่อ เมื่อรู้เหตุรู้ทุกข์แล้วก็เป็นการวางมาตรการวิธีการตอบโต้ปัญหา (มรรค) แม้นน้ำท่วมก็ไม่เดือดร้อนมาก เพราะมีการเตรียมไว้หมดแล้ว น้ำท่วมก็ท่วมไป จะไม่เดือดร้อนมากหรือเสียหายมาก ซึ่งพอยอมรับได้ (นิโรธ) การเตรียมตัวก็เป็นไปตามหลักการป้องกันอุทกภัยนั่นเอง<O:p> </O:p>

    4.2 รู้กฎไตรลักษณ์ (รู้ความไม่แน่นอน)<O:p> </O:p>
    กฎไตรลักษณ์ มี อนิจจัง – ทุกขัง – อนัตตา ซึ่งจะพิจารณา ดังนี้<O:p> </O:p>
    1)อนิจจัง (ความเป็นของไม่เที่ยง) ต้องมองว่าไม่มีอะไรแน่นอน เป็นภาวะที่ไม่คงทนถาวร เป็นภาวะไม่เที่ยง มีเกิดมีดับ มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา เกิดเป็นทารก โตมาเป็นหนุ่ม สาว แล้วก็แก่ สุดท้ายก็ตาย ได้ลาภก็เสื่อมลาภ ได้ยศก็เสื่อมยศ มีคนสรรเสริญก็มีคนนินทา วันก่อนมีสุข ตอนนี้ก็มีทุกข์ได้ สมัยก่อนน้ำไม่ท่วม สมัยนี้ก็อาจน้ำท่วมได้ ก่อนนี้ทางระบายน้ำดี สมัยนี้อาจตื้นเขิน เพราะฉะนั้นอย่าประมาท ไปตรวจดูปัจจัยว่าสภาวะนั้นปัจจุบันเอื้ออำนวยต่อน้ำท่วมหรือเปล่า ถ้าเอื้ออำนวยก็แก้ไขปรับปรุงเลย ความเป็นอนิจจัง เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้<O:p> </O:p>
    2)ทุกขัง (ความเป็นทุกข์ ความทนอยู่ไม่ได้) ปัญหาเป็นธรรมดาของโลกนี้ เป็นภาวะที่ขัดแย้ง ไม่สมบูรณ์ มีความบกพร่องในตัว ทุกขังถือว่าเป็นปัญหา น้ำท่วมก็เป็นปัญหา จากปัญหาใหญ่ก็แบ่งเป็นปัญหาเล็กๆ ทุกข์จากน้ำท่วมมีอะไรบ้าง ก็กระจายเป็นทุกข์เล็กๆ เช่น น้ำระบายไม่ดี ปัญหาที่อยู่ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการกินอยู่ ปัญหาความไม่สะดวก<O:p> </O:p>
    3)อนัตตา (ความเป็นของไม่มีตัวตน) ตัวตนถาวรยั่งยืนไม่มี ไม่ให้ไปยึดมั่นกับทรัพย์สินที่เสียหายจากน้ำท่วม เดิมเกิดมาแต่ตัวเปล่า ปัจจุบันมีทรัพย์สิ่งของหลายอย่าง ชำรุดไปก็ซ่อม เสียใจไปก็เนรมิตให้เหมือนเดิมไม่ได้ การที่จะให้สิ่งของทรัพย์สมบัติอยู่กับเรานานๆ ก็ต้องคิดหาเหตุ หาผล ต้องอยู่ในภูมิประเทศที่เหมาะสม คือ ที่ดอนน้ำไม่ท่วม หรือออกแบบบ้านที่ไม่กลัวน้ำท่วม การยึดมั่นถือมั่นว่าวิธีการนี้ ใช้ได้ผล โดยไม่เตรียมตัวรับน้ำท่วม ทำให้เกิดความประมาทและเกิดทุกข์ได้<O:p> </O:p>

    4.3 อัปปมาทะ (ไม่ประมาท)<O:p> </O:p>
    ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย การป้องกันภัยทุกชนิด จะต้องไม่ประมาท (อัปปมาทะ) เมื่อไม่ประมาทก็จะทำให้เราต้องมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า และทำให้เราไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จะทำให้ต้องมีการทบทวนมาตรการต่างๆ เป็นระยะๆ หรือหลังเกิดภัยทุกครั้ง เพื่อความไม่ประมาทในการผจญกับภัยในครั้งต่อไป<O:p> </O:p>
    สิ่งที่จะช่วยให้มีจิตไม่ประมาทนั้นมี<O:p> </O:p>
    ธรรมะ 4 เกลอ มาเป็นตัวหนุน คือ สติ (ไว) สัมปชัญญะ (รู้) สมาธิ (หนัก) และปัญญา (คม) <O:p></O:p>
    นั่นคือเวลาจะเกิดอุทกภัยนั้น จะต้องหูไวตาไว ทันเหตุการณ์ด้วยสติ รู้ว่าภัยนั้นจะเกิดอะไร ภัยมาถึงตัวหรือยัง ภัยหมดหรือยัง ด้วยสัมปชัญญะ จิตใจต้องหนักแน่นไม่ขวัญอ่อนด้วยสมาธิ และรู้วิธีการแก้ไขปัญหาเอาตัวรอดอย่างมีประสิทธิภาพด้วยปัญญา<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    4.4 รู้วัฎจักรการบริหาร 3 ป (ปริยัติ – ปฏิบัติ – ปฏิเวธ)<O:p> </O:p>
    การบริหารเชิงพุทธ สิ่งที่ลืมไม่ได้ คือ 3 ป ดังนี้ ปริยัติ – ปฏิบัติ – ปฏิเวธ<O:p> </O:p>
    ปริยัติ นั้นเป็นความรู้ถึงภัยน้ำท่วม สาเหตุการเกิดแนวทางแก้ไข แนวทางช่วยเหลือผู้ประสบภัย รู้ถึงวิธีการเตรียมตัวอุปกรณ์วัสดุต่อสู้กับภัย ตั้งแต่ภัยเล็กน้อยจนถึงรุนแรง<O:p> </O:p>
    ปฏิบัติ นั้นเป็นการปฏิบัติดำเนินการขณะเกิดอุทกภัย นำความรู้ปริยัติมาใช้งาน ตลอดจนการฟื้นฟูพื้นที่ การปฏิบัติงานแก้ไขป้องกันโดยการดับที่สาเหตุรากเหง้า<O:p> </O:p>
    ปฏิเวธ นั้นเป็นสภาวะที่ภัยจากน้ำท่วมไม่มีอีกแล้วถึงท่วมก็ไม่เดือดร้อน หรือน้ำจะไม่ท่วมอีกต่อไป เมื่อทุกๆ เหตุได้ถูกแก้ไขหมดแล้ว ต่อไปการจะทำอะไรในพื้นที่ก็จะมีองค์พิจารณาด้านการป้องกันน้ำท่วมอยู่ด้วยเสมอ<O:p> </O:p>

    <?XML:NAMESPACE PREFIX = V /><V:SHAPE style="Z-INDEX: 4; POSITION: absolute; TEXT-ALIGN: left; MARGIN-TOP: 8.4pt; WIDTH: 225pt; HEIGHT: 36pt; MARGIN-LEFT: 94.05pt; LEFT: 0px" id=_x0000_s1029 type="#_x0000_t202" filled="f"></V:SHAPE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    <O:p></O:p>5.บทส่งท้าย<O:p> </O:p>
    น้ำท่วมนี้ บางคนก็โทษว่ามีเหตุมาจากการตัดไม้ทำลายป่า บ้างก็ว่ามาจากการสร้างเขื่อน แต่ก็ปรากฏว่าพื้นที่ป่าดงดิบ และไม่มีเขื่อนก็มีน้ำป่าไหลท่วมเหมือนกัน แต่อาจไม่มีใครอยู่ในบริเวณนั้นก็เลยไม่มีภัย หากใช้ปัญญามองลงไปลึกๆ ถึงปัญหามีหลายสิ่งหลายอย่างที่มนุษย์ทำขึ้นมาต่อพื้นที่ภูมิประเทศเป็นสาเหตุหลักของอุทกภัย ตลอดจนการเลือกพื้นที่สร้างบ้านเมืองที่ภูมิประเทศไม่เหมาะสม (ดูมงคล 38) ก็เป็นเหตุให้เกิดภัยน้ำท่วม ภัยจากน้ำท่วมนั้นอย่ามองที่ภัยจากน้ำอย่างเดียว เพราะมีภัยที่คร่าชีวิตที่เป็นผลสืบเนื่องจากน้ำท่วม เช่น ไฟฟ้าดูด อดอาหาร สารพิษ การเจ็บป่วย เป็นต้น ที่มาจากการจัดการเตรียมการเตรียมตัวที่ไม่ดีหรือเกิดจากความประมาท ซึ่งภัยในส่วนนี้สามารถป้องกันได้ ถ้าไม่ประมาท<O:p> </O:p>
    พุทธวิธีบริหาร
    Buddhist Style in Management
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...