น้ำทุกหยดมีต้นน้ำ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 16 กันยายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    น้ำทุกหยดมีต้นน้ำ
    <!-- Main -->[SIZE=-1]หากจะถามว่า พระพุทธเจ้าทรงประทานเครื่องมือสำหรับเป็นเกณฑ์ มาตรฐานที่ใช้วัดความเป็นคนดีเอาไว้บ้างไหม ขอตอบว่า พระพุทธเจ้าทรงประทาน เอาไว้ด้วยเหมือนกัน พระองค์ทรงเรียกเครื่องมือนั้นว่า "ความกตัญญูกตเวทิตา"

    กตัญญญูคือ รู้ว่าคนไหนทำคุณหรือมีคุณแก่ตนมาก่อน

    กตเวทิตาคือ รู้ว่าควรตอบแทนคุณท่านอย่างไร แล้วหาทางตอบแทนให้สมกัน

    พระพุทธพจน์ง่ายๆที่พระองค์ตรัสไว้ให้ถือเป็นหลักในเรื่องนี้ก็คือ "ภูมิ เว สัปปุรสานัง กตัญญูกตเวทิตา" ความเป็นคนกฑัญณูกตเวทีคือพื้นฐานของคนดี ต่อมาสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสสเทว) ได้แต่งเลียนแบบเพิ่มขึ้นมาอีกสำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในเมืองไทยดีกว่าจำนวนแรก คือ

    นิมิตตัง สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทตา"

    ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี

    คนเราทุกคนล้วนตกเป็นหนี้บุญคุณคนอื่นด้วยกันทั้งนั้น ใครก็ตามที่กล้า ประกาศตนว่า เขาได้ดีมีสุขอยู่ทุกวันนี้ เพราะผลแห่งการต่อสู้ของตนเองโดย ไม่เกี่ยวข้องกับใครเลยนั้น ต้องนับว่าเขาเป็นคนโกหก หรือไม่ก็เป็นคนประเภท วัวลืมตีน หรืออย่างเลวที่สุดก็เป็นคนเขลาเบาปัญญา ที่กล้าเอ่ยวาทะไม่ควร เอ่ยเช่นนี้ออกมาประจานตนเองต่อหน้าวิญญูชน

    เมื่อหันมองไปรอบตัวแล้วสำรวจด้วยใจเป็นกลาง เราจะพบว่าชีวิตเริ่มแรก ก็เป็นหนี้บุญคุณพ่อแม่ ต่อมาก็พี่น้อง ญาติสนิทมิตรสหาย ครูบาอุปัชฌาย์ อาจารย์ เพื่อนบ้าน สิงสาราสัตว์ กุ้งหอยปูปลา พืชผักผลไม้ แม่น้ำลำคลอง อากาศ ผืนดินผืนน้ำ ป่าเขาลำเนาไพร ชาวไร่ชาวนา ต้นหอม ผักชี ข้าวเปลือก ข้าวสาร มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย คนกวาดถนน คนเก็บขยะ คนส่งหนังสือพิมพ์.. นายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บุรพมหากษัริยาธิราช บรรพบุรุษ ฯลฯ

    หากเรารู้จักมองโลกด้วยหลักอิทัปปัจจยตาที่ว่า "เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ" จะพบว่าชีวิตเรากับชีวิตคนอื่น สัตว์อื่น และ สิ่งอื่น ล้วนเกี่ยวพันกันเป็นห่วงโซ่แห่งความสัมพันธ์อันยืดยาว และกินขอบเขต กว้างขวางเกินกว่าจะประมาณได้ว่ามากมายเพียงไร และกินเวลามาเนิ่นนาน ขนาดไหน กี่ภพกี่ชาติแล้ว ที่เราต้องมาเกี่ยวข้องกันและเป็นหนี้บุญคุณกัน และกันไม่รู้จบสิ้น

    ไม่มีใครในจักรวาลนี้เติบโตขึ้นมาเป็นตัวตนอยู่ได้อย่างเสรีโดยไม่มีความ เกี่ยวข้องกับใครและใครเลย คนทุกคนบนโลกนี้หรือแม้แต่สรรพชีพสรรพสัตว์ ในจักรวาลล้วนมีที่มา เฉกเช่นเดียวกับน้ำทุกหยดล้วนมีต้นน้ำ คนที่ปฏิเสธ รากเหง้ากำพืดของตนไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม จึงเป็นคนเลวในทัศนะของ พุทธศาสนา ส่วนคนที่ไม่เคยลืมที่มาของตนเองไม่ว่าจะยากดีมีจนหรือต่ำต้อย ด้อยค่าเพียงไร คือวิญญูชนคนดีที่น่ายกย่องสรรเสริญ

    คนชนิดเช่นนี้ ถึงเทพก็ชม ถึงพรหมก็สรรเสริญ

    หลวงพ่อสุเมโธ หรือท่านเจ้าคุณพระสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต แจ็คแมน) เจ้าอาวาสวัดป่าอมราวดี กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ คืออีกตัวอย่างของ คนดีตามมาตรฐานที่พระพุทธเจ้าทรงวางเอาไว้ ท่านเคยย้อนความหลังฝากไว้ เป็นบทเรียนแก่อนุชนอย่างน่าฟังดังต่อไปนี้

    มีเรื่องหนึ่งอาตมาอยากเล่าให้ฟัง ปีแรกที่อาตมาเป็นสามเณรอยู่ที่หนองคาย อาตมาได้พบพระรูปหนึ่งเดินธุดงค์ไปจากอุบลฯ พระรูปนี้อายุเท่าอาตมา เคยทำงานในราชนาวีไทย อาตมาก็เคยอยู่ในกองทัพเรืออเมริกันในสงครามเกาหลี

    ท่านเป็นพระไทยรูปแรกที่อาตมาได้พบที่พูดภาษาอังกฤษได้ แม้ว่าจะพูด ได้อย่างงูๆปลาๆ แต่อาตมาก็ดีใจที่มีใครสักคนที่พอจะพูดด้วยได้ไนเวลานั้น ท่านเป็นพระที่เคร่งมาก ดูเคร่งครัดในพระวินัยทุกข้อ ฉันอาหารในบาตร ใช้จีวร สีกรักอย่างพระป่า แต่ในวัดที่อาตมาอยู่นั้นพระใช้จีวรสเหลืองส้ม อาตมา ประทับใจในตัวท่านมาก

    ท่านได้แนะนำว่าอาตมาควรจะไปอยู่กับหลวงพ่อชา ดังนั้นหลังจากได้ อุปสมบทเป็นพระภิกษุและท่านอุปัชฌาย์อนุญาตแล้ว อาตมาก็ออกเดินทาง ไปอุบลฯกับท่านทันที แต่ระหว่างทางท่านก็ทำให้อาตมาเสื่อมศรัทธาและรู้สึก เบื่อหน่ายจนสุดจะทน เพราะท่านจุกจิกจู้จี้และมีเรื่องตำหนิพระอื่นๆอยู่ตลอดเวลา ท่านคิดว่าเราเท่านั้นเป็นพระดีที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่อาตมารับไม่ได้ อาตมาได้แต่หวังว่า หลวงพ่อชาจะไม่เป็นเหมือนพระรูปนี้ ตอนนั้นชักไม่แน่ใจว่ากำลังทำอะไรกับตัวเอง

    เมื่อไปถึงวัดหนองป่าพงและได้กราบหลวงพ่อแล้ว อาตมาก็รู้สึกโล่งใจ หายกังวลทันที ปีต่อมาพระรูปนั้นก็ลาสิกขา แล้วก็เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ท่านอดเหล้าได้เฉพาะช่วงที่อยู่ในสมณเพศเท่านั้นเอง พอลาสิกขาแล้วก็เลย เมาหยำเป กลายเป็นคนจรจัด น่าสมเพช เมื่ออาตมาทราบข่าวก็รู้สึกโกรธ และนึกรังเกียจ

    เย็นวันหนึ่งเมื่อได้คุยเรื่องนี้กับหลวงพ่อ หลวงพ่อบอกอาตมาว่า "ท่านต้องกตัญญูต่อเขา เพราะเขาเป็นคนพาท่านมาที่นี่ ไม่ว่าเขาจะ ประพฤติตัวหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม ท่านก็ต้องถือเสมือนเขาเป็นครู คนหนึ่งของท่าน และแสดงความกตัญญู เพราะการที่เขาได้พาท่านมาที่นี่อาจจะ เป็นคุณความดีเพียงอย่างเดียวที่เคยทำในชั่วชีวิตนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เขาจะภูมิใจได้ ไปบอกให้เขารู้สึกดีๆในเรื่องนี้ บางทีเขาอาจจะเปลี่ยนก็ได้"

    แล้วหลวงพ่อกเร่งเร้าให้อาตมาไปตามหาโยมคนนั้น ไปคุยกับเขา ขอบคุณที่พามาหาหลวงพ่อ ซึ่งอาตมารู้สึกว่าเป็นสิ่งที่งดงาม น่าปฏิบัติตาม จริงๆ ถ้าให้อาตมาไปพูดดูถูกเขา อย่างนี้ก็ง่าย...

    "โยมทำให้อาตมาผิดหวังมาก โยมเคยตำหนิคนอื่น คิดว่าตัวเองเป็น พระดี แล้วดูสิ ตอนนี้โยมเป็นยังไง"

    บางทีเราก็อารมณ์เสียเพราะขัดเคืองที่เขาไม่เป็นไปอย่างทีเราคาดหวัง แต่ หลวงพ่อจะบอกว่า...

    "อย่าไปทำอะไรอย่างนั้น เสียเวลาเปล่าๆ แล้วก็อันตรายด้วย ทำสิ่งดีๆจากจิตที่ประกอบด้วยความกรุณาดีกว่า..."

    เมื่ออาตมาได้พบเขาอีก เขาก็ยังดูโทรมอยู่อย่างเดิม ไม่มีอะไรดีขึ้น แต่ทุกครั้งที่เห็นอาตมา ดูเขาดีอกดีใจ เพราะเขาจำได้ ในชีวิตของเขาคงมีไม่ กี่ครั้งหรอกที่จะได้รู้สึกดีๆ อย่างนั้น อาตมาก็รู้สึกดีใจ ที่ทำให้เขามีความสุข แม้จะเป็นเพียงชั่วขณะหนึ่ง คนที่มีความทุกข์มากๆนั้น ถ้าเราทำให้เขามีความสุข บ้าง แม้แค่สองสามครั้ง เราจะรู้สึกปลื้มมาก

    ครูบาอาจารย์หลายคนที่อาตมาสนใจผลงาน แต่ไม่เคยรู้จักเป็นส่วนตัว อย่างเช่น อลัน วัตต์ส (Alan Watts ) ผู้เขียน"วิถีแห่งเซ็น" (The way of zen) ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาเล่มหนึ่งที่อาตมาได้อ่านในระยะแรกๆ จำได้ว่า ประทับใจมาก อ่านแล้วอ่านอีกหลายเที่ยว แต่ต่อมาภายหลังอาตมาทราบว่าเขาชักไม่ได้เรื่องแล้ว เมื่ออาตมามีโอกาสได้ไปฟังเขาพูดที่ซานฟรานชิสโก ยอมรับ ว่าเขาพูดเก่ง แต่ตอนนั้นคิดว่ายังไม่ดีพอ

    แต่ปัจจุบันเมื่อระลึกย้อนกลับไป อาตมาก็รู้สึกขอบคุณและกตัญญูต่อ อลัน วัตต์ส ตลอดทั้งนักเขียนและครูบาอาจารย์อีกหลายๆคนที่เคยให้ความรู้ แก่อาตมา ชีวิตส่วนตัวของเขาจะเป็นอย่างไรก็ไม่ใช่เรื่องของเราที่จะไปวิพากษ์วิจารณ์ หรือฝังใจอยู่กับความบกพร่องผิดพลาดของเขา

    "ผู้มีเมตตาและกตัญญูต้องเลือกจดจำเฉพาะด้านที่ดีของผู้อื่นเท่านั้น"

    จาก ธรรมะติดปีก โดย ว.วชิรเมธี[/SIZE]<!-- End main-->
     

แชร์หน้านี้

Loading...