นิพพานเป็นคุณชาติเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มิได้มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ในพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 20 สิงหาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
    ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    สมมติ เทพ ๑ อุปปัตติเทพ ๑ วิสุทธิเทพ ๑. สมมติเทพเป็นไฉน? พระราชาก็ดี พระราชกุมารก็ดี พระเทวีก็ดี. เทพจำพวกนี้ท่านกล่าวว่า สมมติเทพ. อุปปัตติเทพเป็นไฉน? เทวดาชาวจาตุมมหาราชิกาก็ดี พวกเทวดาชาวดาวดึงส์ก็ดี ฯลฯเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหมก็ดี เทวดาสูงขึ้นไปกว่านั้นก็ดี. เทพจำพวกนี้ท่านกล่าวว่าอุปปัตติเทพ.


    วิสุทธิเทพเป็นไฉน? พระตถาคต พระอรหันตขีณาสพ และพระปัจเจกพุทธเจ้า.เทพจำพวกนี้ท่านกล่าวว่า วิสุทธิเทพ.

    พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักแล้ว คือ ทรงทราบแล้ว ทรงเทียบเคียงแล้ว ทรงพิจารณาแล้วทรงให้แจ่มแจ้งแล้ว ทรงทำให้ปรากฏแล้ว ซึ่งสมมติเทพว่า อธิเทพ ซึ่งอุปัตติเทพว่า อธิเทพซึ่งวิสุทธิเทพว่า อธิเทพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงรู้จักแล้วซึ่งอธิเทพทั้งหลาย.


    [๖๕๕] คำว่า ทรงทราบซึ่งธรรมทั้งปวงอันทำพระองค์และผู้อื่นให้เป็นผู้ประเสริฐ ความว่าพระผู้มีพระภาคทรงทราบแล้ว คือ ทรงรู้ทั่วถึงแล้ว ได้ทรงถูกต้องแล้ว ทรงแทงตลอดแล้ว ซึ่งธรรมทั้งหลายอันทำพระองค์และผู้อื่นให้เป็นอธิเทพ. ธรรมทั้งหลายอันทำพระองค์ให้เป็นอธิเทพเป็นไฉน? ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ควรปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบความเพียรในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘เหล่านี้ท่านกล่าวว่า ธรรมอันทำพระองค์ให้เป็นอธิเทพ. ธรรมอันทำผู้อื่นให้เป็นอธิเทพเป็นไฉน? ความปฏิบัติชอบ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘เหล่านี้ท่านกล่าวว่า ธรรมอันทำผู้อื่นให้เป็นอธิเทพ. พระผู้มีพระภาคทรงทราบแล้ว คือ ทรงรู้ทั่วแล้ว ได้ทรงถูกต้องแล้ว ทรงแทงตลอดแล้ว ซึ่งธรรมทั้งหลายอันทำพระองค์ และผู้อื่นให้เป็นอธิเทพ ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงทราบซึ่งธรรมทั้งปวงอันทำพระองค์และผู้อื่นให้เป็นผู้ประเสริฐ. [๖๕๖] คำว่า พระศาสดาทรงทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำส่วนสุด ทรงทำส่วนสุดรอบ ทรงทำความกำหนด ทรงทำความจบ แห่งปัญหาของพวกพราหมณ์ผู้แสวงหาธรรมเครื่องถึงฝั่ง ปัญหาของพวกพราหมณ์บริษัท ปัญหาของปิงคิยพราหมณ์ปัญหาของท้าวสักกะ ปัญหาของอมนุษย์ ปัญหาของภิกษุ ปัญหาของภิกษุณี ปัญหาของอุบาสกปัญหาของอุบาสิกา ปัญหาของพระราชา ปัญหาของกษัตริย์ ปัญหาของพราหมณ์ ปัญหาของแพศย์ ปัญหาของศูทร์ ปัญหาของพรหม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย คำว่า พระศาสดา คือ พระผู้มีพระภาคผู้นำพวก นายหมู่ย่อมพาพวกให้ข้ามกันดาร คือให้ข้ามผ่านพ้นกันดารคือโจร กันดารคือสัตว์ร้าย กันดารคือทุพภิกขภัย กันดารคือที่ไม่มีน้ำให้ถึงภูมิสถานปลอดภัย ฉันใด พระผู้มีพระภาคผู้นำพวก ย่อมนำสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามกันดารคือ ให้ข้ามผ่านพ้นกันดาร คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส และกันดารคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลสและทุจริต และที่รกชัฏคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต ให้ถึงอมตนิพพานอันเป็นภูมิสถานปลอดภัย ฉันนั้นเหมือนกัน ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่า เป็นผู้นำพวก. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ แนะนำ นำเนืองๆ ให้รู้ชอบ คอยสอดส่องเพ่งดู ให้เลื่อมใส แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่า เป็นผู้นำพวก. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ยังมรรคที่ยังไม่เกิดดีให้เกิดดี ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงทราบมรรค ทรงฉลาดในมรรค.ก็แหละในบัดนี้ พระสาวกทั้งหลายเป็นผู้ดำเนินตามมรรค เป็นผู้ประกอบในภายหลัง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่า เป็นผู้นำพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระศาสดาผู้ทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย. [๖๕๗] คำว่า แก่พวกที่มีความสงสัยให้กลับรู้ได้ ความว่า บุคคลทั้งหลายมีความสงสัยมาแล้ว เป็นผู้หายความสงสัยไป มีความยุ่งใจมาแล้ว เป็นผู้หายความยุ่งใจไป มีใจสองมาแล้วเป็นผู้หายความใจสองไป มีความเคลือบแคลงมาแล้ว เป็นผู้หายความเคลือบแคลงไป มีราคะมาแล้ว เป็นผู้ปราศจากราคะไป มีโทสะมาแล้ว เป็นผู้ปราศจากโทสะไป มีโมหะมาแล้ว เป็นผู้ปราศจากโมหะไป มีกิเลสมาแล้ว เป็นผู้ปราศจากกิเลสไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แก่พวกที่มีความสงสัยให้กลับรู้ได้. เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาค ทรงรู้จักแล้วซึ่งธรรมอันทำให้เป็นอธิเทพ ทรงทราบซึ่งธรรมทั้งปวง อันให้พระองค์และผู้อื่นเป็นผู้ ประเสริฐ. พระศาสดาทรงทำซึ่งส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย แก่พวกที่มีความสงสัยให้กลับรู้ได้. [๖๕๘] นิพพานอันอะไรๆ นำไปไม่ได้ ไม่กำเริบ ไม่มีอุปมาในที่ ไหนๆ. ข้าพระองค์จักถึง (อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ) โดยแท้. ความสงสัยในนิพพานนั้นมิได้มีแก่ข้าพระองค์. ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้ว อย่างนี้. [๖๕๙] อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่านิพพานอันอะไรๆ นำไปไม่ได้ ในอุเทศว่า อสํหิรํ อสงฺกุปฺปํ ดังนี้. คำว่า อันอะไรๆ นำไปไม่ได้ ความว่า อันราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวดความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวงนำไปไม่ได้ เป็นคุณชาติเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันอะไรๆ นำไปไม่ได้.

    อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหาความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่านิพพาน อันไม่กำเริบ ในคำว่า อสงฺกุปฺปํ ดังนี้.

    ความเกิดขึ้นแห่งนิพพานใด ย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งนิพพานนั้นมิได้มี ย่อมปรากฏอยู่โดยแท้.

    นิพพานเป็นคุณชาติเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มิได้มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันอะไรๆ นำไปไม่ได้ ไม่กำเริบ.

    [๖๖๐] คำว่า ยสฺส ในอุเทศว่า ยสฺส นตฺถิ อุปมา กฺวจิ ดังนี้ ได้แก่นิพพานคำว่า ไม่มีอุปมา ความว่า ไม่มีอุปมา ไม่มีข้อเปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอ ไม่มีอะไรเปรียบไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีอุปมา. คำว่า ในที่ไหนๆ ความว่า ในที่ไหนๆ ในที่ไรๆ ในที่บางแห่งในภายใน ในภายนอกหรือทั้งภายในและภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นิพพานไม่มีอุปมาในที่ไหนๆ. [๖๖๑] จักถึงโดยแท้ ในอุเทศว่า อทฺธา คมิสฺสามิ น เมตฺถ กงฺขา ดังนี้ ความว่าจักถึง คือ จักบรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้งโดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จักถึงโดยแท้. คำว่า ความสงสัยในนิพพานนั้นมิได้มีแก่ข้าพระองค์ ความว่า ความสงสัย ความลังเลใจ ความไม่แน่ใจ ความเคลือบแคลง ในนิพพานนั้นมิได้มี คือ ปรากฏ ไม่ประจักษ์.ความสงสัยนั้นอันข้าพระองค์ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้นเผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์จักถึงโดยแท้ ความสงสัยในนิพพานนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์.

    [๖๖๒] คำว่า ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ ... อย่างนี้ ในอุเทศว่า เอวํ มํธาเรหิ อธิมุตฺตจิตฺตํ ดังนี้ ความว่า ขอพระองค์โปรดทรงกำหนดข้าพระองค์อย่างนี้. คำว่า มีจิตน้อมไป ความว่า เป็นผู้เอนไปในนิพพาน โอนไปในนิพพาน เงื้อมไปในนิพพาน น้อมจิตไปในนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่ามีจิตน้อมไปแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า นิพพานอันอะไรๆ นำไปไม่ได้ ไม่กำเริบ ไม่มีอุปมาในที่ ไหนๆ. ข้าพระองค์จักถึง (อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ) โดยแท้. ความสงสัยในนิพพานนั้นมิได้มีแก่ข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นผู้มีจิตน้อมไป แล้วอย่างนี้.<CENTER>จบ ปารายนวรรค.</CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๖๐๔๐ - ๖๑๓๘. หน้าที่ ๒๔๕ - ๒๔๙.http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=6040&Z=6138&pagebreak=0




    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2015
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน นันทวรรคที่ ๓ โกลิตสูตร</BIG> <CENTER class=D></CENTER></CENTER>




    <CENTER>อรรถกถาโกลิตสูตร </CENTER>

    บทว่า ชญฺญา นิพฺพานมตฺตโน ความว่า พระนิพพานอันเป็นอสังขตธาตุ นำมาซึ่งความสุขอย่างแท้จริง
    โดยเป็นอารมณ์อันดีเยี่ยมแก่มรรคญาณและผลญาณ ซึ่งได้บัญญัติว่า อัตตา เพราะไม่เป็นอารมณ์ของปุถุชนอื่น แม้โดยที่สุดความฝัน

    แต่เพราะเป็นแผนกหนึ่งแห่งมรรคญาณและผลญาณนั้นๆ ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    และเพราะเป็นเช่นกับอัตตา จึงเรียกว่า อตฺตโน ของตน
    พึงรู้ คือพึงทราบพระนิพพานนั้น อธิบายว่า พึงรู้แจ้ง คือพึงทำให้แจ้งด้วยมรรคญาณและผลญาณทั้งหลาย. ด้วยคำนั้น ทรงแสดงถึงความที่พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตน้อมไปในพระนิพพาน.
    จริงอยู่ พระอริยะเจ้าทั้งหลายย่อมอยู่ แม้ในเวลาที่อธิจิตเป็นไป ก็อยู่โดยภาวะที่น้อมโน้มโอนไปในพระนิพพานโดยส่วนเดียวเท่านั้น. ก็ในที่นี้ สติเป็นไปใน<WBR>กาย<WBR>ปรากฏ<WBR>แก่<WBR>ภิกษุ<WBR>ใด ภิกษุ<WBR>นั้นสำรวม<WBR>แล้วในผัสสายตนะ ๖ ต่อแต่นั้น ก็มีจิตตั้งมั่นเนืองๆ พึงรู้พระนิพพานของตน ด้วยการกระทำให้ประจักษ์แก่ตน พึงทราบการเชื่อมบทแห่งคาถาอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=77
     

แชร์หน้านี้

Loading...