นั่งสมาธิแล้วไม่หายใจ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Pei-panwad, 23 ตุลาคม 2014.

  1. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    ขอปรับปรุงข้อความนะคะ "คืออยากทราบว่า นั่งสมาธิไปเรื่อยๆเกิดอาการฟุ้งซ่าน พยายามกำหนดคิดหนอ จนเริ่มอยู่ตัว ต่อมามีอาการรู้สึกเหมือนตัวเองลอยได้ รู้สึกว่าตัวเองตัวโตมาก แล้วค่อยๆยุบจนเล็กมาก เป็นแบบนี้ไปเรื่อยแล้วอาการก็ค่อยๆหายไปแล้วเกิดอาการนิ่งๆเฉยๆมีอาการสว่างสงบแต่ ลมหายใจเริ่มแผ่วลงๆจนไม่มีลมหายใจพร้อมกับคำภาวนาหาย ไม่รู้สึกถึงสภาวะนอกร่างกายไม่ได้ยินเสียงใดๆ สักแปบเลยตกใจแล้วเหมือนควานหาลมหายใจแล้วลมหายใจก็ค่อยๆกลับมาแล้วต้องทำอย่างไรต่อค่ะ วอนผู้รู้แนะนำค่ะ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2014
  2. ปทุมมุต

    ปทุมมุต ผมเป๋นใตร?

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +286
    อย่ากลัวเลยครับ ไม่ต้องตกใจ เป็นปกติของการก้าวสู่ฌานที่ลึกไปตามลำดับ
    กายสังขารจะระงับก่อน ตามด้วยวจีสังขาร และจิตสังขารที่สัญญาเวทยิตนิโนธ(พระอริยะ)...ทำใหม่ ไม่ต้องกลัว ขอให้ประสบผล
    สำเร็จ ก้าวหน้าในสมาธิในธรรม สาธุๆๆ
     
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    อย่าเผลอลืมตาครับ.
    แม้ว่าร่างกายจะกระตุกก็ตาม..ป้องกันการหลุดจากอารมย์ระดับนั้น...
    และค่อยๆยกลำตัวขึ้นให้ตรงช้าๆแล้วก็เริ่มภาวนาใหม่อีกครั้ง
    ถ้ารู้สึกเมื่อยก็ไปหาอะไรอย่างอื่นทำก่อน ที่สำคัญให้รักษาระบบ
    การหายใจไว้ให้เป็นปกติในช่วงที่ทำอย่างอื่นๆ
    และไม่ต้องซีเรียสอะไรครับทำได้บ่อยๆไม่เกินครั้งที่ ๔ จิตจะเริ่มมีกำลัง
    และก็ให้เพิ่มการให้หายใจเข้าออกที่ความรู้สึกมันชอบจะมาพักตรง
    กลางหน้าอกให้ลึกจนถึงท้อง(คือหายใจเข้าท้องพอง
    หายใจออกท้องยุบ)
    ให้ลึกๆขึ้นยาวขึ้นแบบสบายๆไม่ต้องเร่งรีบ
    การรักษาการหลุดจากอารมย์ตรงนี้ให้ได้บ่อยๆ.ต่อไปจะมี
    กำลังสมาธิสะสมจากการรักษาอารมย์ตรงนี้ ความละเอียดของ
    ลมหายใจที่มากขึ้นเพียงพอ...เพื่อใช้เป็นฐาน
    สำหรับการไต่ระดับพัฒนายกระดับระดับฌานได้เองของมัน
    โดยที่เราไม่ต้องไปสนใจว่าคำภาวนาจะหายไปตอนไหน
    หรือจะเกิดสัมผัสอะไรก็ตามระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็นพวกแสงสีเสียง
    ไม่ว่าจะรับรู้ได้จากทาง ตา หู จมูก กาย จิตใดๆทุกกิริยาร่วมด้วยครับ
    ..ก็จะพัฒนาไต่ระดับฌานถึงขั้นที่มีประโยชน์ต่อไป
    ในระดับที่สามารถนำกำลังตรงนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้
    แบบไม่รู้ตัวและไม่เสียเวลาการฝึกมากครับ.
    ..

    ปล.ประมาณนี้ครับ
     
  4. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    อย่ากลัวตาย เพราะมันไม่ตาย
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ให้สังเกต พวก ปิติ5 สิคร้าบ

    สังเกตโดยไม่ต้องไป กระโจน กระโดดตะครุบ กระเด้งตะครุบ เอา สรรพอาการใดๆ
    มาเป็น ปิติ ( ถ้ากระโจน ต้องออกแรงกระโจน หรือ ควานหา อันนั้น ไม่ใช่สมาธิ
    ตั้งแต่เริ่มตั้งท่า ตั้งใจ )

    ปิติ หากไม่มี แล้วไป เห็นโน้น เห็นนี่ อันนั้น หลับ เป็นพวกเอาความฝัน ฝันกลาง
    วันแบบหลับตาฝัน มันจะไปโน้น เหาะไปนี่ ไปคุบกับคนนั้น เห็นคนนี้ ได้เหมือนกัน แล้ว
    ก็จะ จับมากระเดียดว่าเป็น การเห็นอันยอดเยี่ยม แท้จริงแล้ว ไปตัดหลับ แล้วเข้า
    สู่ภูมิ เดรัจฉานกถา โดนมันหลอกเอาว่าเป็น พระพุทธเจ้าบ้าง พระเจ้าบ้าง ช้างบ้าง
    วัวบ้าง เหลือแต่ ตนเองออกมาเป็น ..... เล่าเรื่องเก่งสารพัดจะรู้

    แต่ถ้า สังเกตได้ถึงความมีอยู่ของ ปิติ5 สังเกตเลย จิตใจที่เกิดการกระเดิดว่า กาย
    หายไปไหน ลมหายไปไหน จะไม่เกิดเป็น คำถามขึ้นมาใน คลองทิฏฐิ กุมจิต ให้ต้อง
    เฮือกหาลมหายใจ [ กายคตาสติ ย่อมมีผล ตัดพวก ทิฏฐิ ไม่ให้แทรกกรรมฐาน
    การ ภาวนาจะไม่เกิดจาก การปรุงแต่งการปฏิบัติ จิตจะดำเนินไปตาม เหตุปัจจัย
    ที่เหมาะสม ไม่ใช่จากความอยาก เหมือนอย่างผีเปรตมาสอนในสมาธิ ]

    เพราะอะไร

    เพราะ ปิติ เป็นองค์ฌาณที่มี ภูมิธรรมสัมปยุตพร้อมสรรพอยู่ในตัว ที่ระลึกได้ถึง
    การมีอยู่ของปิติ โดยไม่ต้องกังวล หรือ เกิดคำถามว่า กายอยู่ไหน

    ทั้งนี้ ปิติ ย่อมเกิดที่กาย อาศัยกายที่เป็นรูปฌาณบ้าง อรูปฌาณบ้าง อาศัยเกิด
    แล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ และเพราะ ปิติ เกิดแล้วก็ดับ เวลาจิตไประลึกรู้ ก็จะวาง
    ปิติ อาศัยระลึกเท่านั้น ไม่กระโจนเข้าไปเกาะ ปิติ เก่งกระเด้ง เก่งลอย เก่งเบา เก่ง
    โคลง เก่งโหวง เก่งเหวง สุดท้าย ไม่" เก่งเอ๋ง " คือ ปฏิบัติเสร็จ จะไม่ออกมาเห่าหอน
    ว่า บรูวววววส์ กูเก่ง กูเก่ง แบบ เก่งเอ๋ง เรียกร้องหาตัวเมีย เพื่ออวดรู้ อวดภูมิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2014
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    คำภาวนาหาย เพราะขาดสติลืมภาวนาครับ

    วิธีแก้ สติตามทันเมื่อไหร่ ก็หลับกลับมากรรมฐานเดิมภาวนาตามกรรมฐานที่ปฏิบัติ ครับ

    เพราะคำถาวนา คือ วิตก วิจาร ในเมื่อยังรับรู้อาการได้ ก็แสดงว่า ตัวเองลืมหายใจ แล้วไปจับสิ่งอื่นมาแทนคำภาวนาเอง ขาดสติ ลืมคำภาวนาเองคับ สติทันเมื่อไหร่ ให้กลับมาที่คำภาวนาตามกรรมฐานเดิมคับ

    ถ้าผ่านตรงนี้ต่อไปได้ กาย กับ จิต จะแยกจากกัน กายส่วนกาย จิตส่วนจิต ครับ

    ละที่สำคัญ ผลของการปฏิบัติแต่ละคนไม่เหมือนกัน ลมหายใจจากหยาบไปลมหายใจละเอียด ไม่ต้องกลัวตาย ไม่ตายหรอกนะครับ เด็กในท้องไม่หายใจก็ไม่เห็นตายเลย อิอิ



    มีสติตั้งอยู่ ภาวนาตามกรรมฐานที่ปฏิบัติ ร่างกาย กายหยาบ ไม่หายใจ ลมหายใจแผ่วลง ยาวลง จนเหมือนไม่หายใจ ก็ให้รับรู้ แล้วปล่อยวาง มีสติอยู่กับคำภาวนา คับ

    ให้มีสติ ตั้งมั่นกับคำภาวนา อย่าไปฟุ้งซ่าน จนเผลอลืมคำภาวนาไปจับสิ่งอื่นเข้ามาแทน

    มีสติอยู่กับคำภาวนา รักษาอารมณ์หนึ่ง อย่าให้เกิดฟุ้งซ่านจับอารมณ์สิ่งอื่นที่สอง สาม สี่ จนเผลอสติ ลืมภาวนาไปครับ

    ปฏิบัติกรรมฐาน ไม่หายใจ อยู่ได้นานเท่าไหน ก็จะบอกว่า ไม่หายใจได้นานเท่าที่ตัวเอง มีกำลังปฏิบัติสมาธิ ในกรรมฐานครับ
    กำลังหมด จิตไม่มีกำลังเดียวก็ต้องออกจากสมาธิ กลับมาหายใจตามปรกติในชีวิตประจำวันเอง
    ถ้าจิตมีกำลังมากแค่ไหน ก็อยุ่ในสมาธิได้นานเท่านั้น ไม่หายใจได้นานเท่านั้น ตามกำลังของตัวเองคับ

    การที่จะไม่มีคำภาวนานั้น ก็คือ ฌานสอง ขั้นไปครับ เพราะแค่ ปฐมฌาน ก็ยังมี วิตก วิจาร ตามปรกติอยู่ดี
    ถ้าปฏิบัติถึง ฌานสอง ในฌาน มันไม่มีวิตก วิจาร แล้วนะครับ ในเมื่อไม่มี ก็คือ มีสติ อยู่นั้นเอง แต่ถ้ายังคิด ยังรับรู้ได้ ก็แสดงว่าไม่ใช่ฌานสอง ครับ เพราะฌานสอง ไม่มี วิตก วิจาร ตามอารมณ์ฌานนั้นเองคับ

    เพราะตั้งแต่ ฌานหนึ่ง ปฐมฌาน กายกับจิต ก็แยกออกจากกัน ไม่รับรู้อาการทางกายแล้วละครับ มีสติอยู่กับ จิต ตัดกายหยาบออกไปไม่รับรู้อาการทางกาย ครับ


    แนะนำว่าปฏิบัติ ให้มีสติตั้งมั่นบริกรรมในกรรมฐานที่ปฏิบัติ ครับ

    มีสติ สติตามทันเมื่อไหร่ รู้ตัวว่าเผลอ ฟุ้งซ่านหลุดจากคำภาวนา รู้ตัวว่าลืมภาวนา ยังคิดได้ วิตก วิจาร จับอาการทางกาย อารมณ์ทางกายได้ ก็ให้มีสติ กลับไปเริ่มต้นภาวนาตามกรรมฐานเดิม ที่ปฏิบัติ ครับ ^^
    .

    เราปฏิบัติ สมถะกรรมฐาน ครับ ผลของมันก็คือ จิตเป็นหนึ่ง มีสติ อยู่กับคำภาวนา ครับ จะหายใจหรือไม่หายใจไม่ใช่สิ่งสำคัญ

    สิ่งสำคัญคือ มีสติ จดจ่ออยู่กับคำภาวนา เท่านั้นหรือลืมภาวนา แล้วเข้าใจผิดว่าว่างๆ ไม่มีคำภาวนา หรือไม่นั่นเองคับ


    การที่ผู้ปฏิบัติ จะภาวนาไม่ได้นั้น ต้องไม่มีคำภาวนาในองค์ของสมาธิ ของ ฌาน เท่านั้นครับ ถ้าปฏิบัติถึงขั้นสมาธิ ขั้นฌาน นั้นๆ จะภาวนาไม่ได้ เพราะในองค์สมาธิ ในฌาน ไม่มี วิตก วิจาร ตามขึ้นของสมาธิเองคับ

    ลองถามตัวเองดูครับ ในเมื่อ รู้ตัวว่าว่าง แล้ว อะไรละ ที่เข้าไปรู้ว่าว่าง เข้าไปรู้ว่าไม่มีความคิด ในตอนปฏิบัติ ครับ ^^

    การภาวนา บริกรรมที่ จิต ครับ จิตภาวนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับลมหายใจ หรือ ภาวนาตามลมหายใจ เข้า ออก ครับ

    การที่เบื่องต้น ภาวนาตามลมหายใจ เข้า ออก นั้น เป็นอุบายในการช่วยให้ จิต สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะไปจับเอาอาการหายใจทางกาย
    เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ จิตเริ่มสงบ มีสติตั้งมั่น ลมหายใจก็ยาว เหมือนไม่หายใจ จนหยุดหายใจไป เมื่อหยุดหายใจ ก็ไม่ต้องตกใจ

    แต่ให้มีสติ จดจ่ออยู่กับคำภาวน ในจิต จิตก็ภาวนาต่อไป โดยที่ไม่ต้องไปบริกรรมขึ้นอยู่กับลมหายใจครับ

    ดังนั้นการที่ไม่หายใจ แล้วไม่บริกรรมต่อ เพราะลมหายใจไม่มี ก็ให้บริกรรมภาวนาใน จิต ต่อไปแทน โดยที่ไม่ต้องไปจับลมหายใจครับ

    เพราะจิตจากหยาบ ไปสู่จิตละเอียด เราก็ต้องปล่อย วางกายหยาบ หายใจหยาบ เพื่อไปสิ่งที่ละเอียด จิต ต่อไปครับ

    ดังนั้น คำภาวนา ห้ามหาย ห้ามลืม ถ้าเผลอ หรือ ฟุ้งซ่านไปจับสิ่งอื่น จนลืมภาวนา มารู้ตัวทีหลัง ก็ให้กลับมาที่คำภาวนาในจิต ต่อไปครับ

    ถ้ายังไม่ชำนาญ หรือ จิตยังไม่มีกำลัง แรกๆ ก็จะไม่รู้ตัว หรือ รู้ตัวช้า เผลอสติ นึกได้ทีหลังว่าลืมภาวนาเอง ก็ให้ปฏิบัติกลับมาที่ภาวนาครับ
    หัดบ่อยๆ จนชำนาญ จิตมีกำลัง ก็จะไม่ขาดคำภาวนา ต่อไป ไม่เผลอลืมภาวนา ครับ


    เอาว่า ลองถามตัวเองดูครับ ว่างๆ ไม่มีคำภาวนา แล้วยังไง แล้วยังงัย ว่างแล้วยังไงต่อ ?
    ถ้าตอบตัวเองไม่ได้ ไม่รู้ว่าทำอะไรต่อ ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติอะไรยังไงต่อ มึน งง. แนะนำว่าลองอ่านคู่มือปฏิบัติกรรมฐาน ดูครับ

    เราปฏิบัติกรรมฐานกองไหนอยู่ กรรมฐาน 40 กอง ผลของกรรมฐานแต่ละกองไม่เหมือนกัน ปฏิบัติกรรมฐานกองไหน ผลของกรรมฐานกองนั้น ก็ย่อมส่งให้ได้ผลของกรรมฐานกองนั้นครับ
    แล้วก็กลับมาดูตัวเอง พิจารณาตัวเองดูครับ ว่า ผลของกรรมฐานกองนั้น และที่เราปฏิบัติในปัจจุบัน นั้น ตรงหรือไม่ นั้นเองคับ ^^


    .
    สิ่งสำคัญของผลการปฏิบัติ คือ จิตเป็นสมาธิ จิตเป็นสมาธิแล้วก็ วิปัสสนาต่อไป เพื่อมรรคผลนิพพาน สติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม ต่อไปนั้นเอง ครับ

    ลองถามตัวเองว่า จิตสงบ นิ่งจนจิตเป็นสมาธิ เป็นฌาน หรือยังนะครับ ผลของกรรมฐานกองนั้น หรือไม่ครับ

    .

    .
    .
    .
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2014
  7. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    ขอโทษน่ะค่ะ ต้องบอกก่อนน่ะค่ะว่า ไม่ได้หลับค่ะ เพราะจะนั่งทุกวันก่อนนอนไม่ง่วงน่ะค่ะแล้วที่บอกว่าควานหาคือสงสัยว่าเราไม่มีลมหายใจแล้วเราจะอยู่ได้ไหมแค่นั้นและในภาวะนั้นคืออยากบอกว่า มันนิ่งไม่มีความคิดไม่มีความรู้สึกปีติค่ะแล้วณ ตอนนั้นมันไม่มีอะไรให้ภาวนานะคะคือเหมือนทุกอย่างนิ่งหมด แล้วก็แทบจะไม่หลุดจากคำภาวนา แต่ลมหายใจมันไม่มีค่ะ เลยภาวนาไม่ได้และอีกอย่างที่พอจะจำได้คือก่อนที่จะมีอาการแบบนี้เริ่มรู้สึกว่าลมหายใจกับคำภาวนาเริ่มไปด้วยกันยากเหมือนลมมันน้อยและละเอียดมากแต่คำภาวนามันหยาบอย่างไรบอกไม่ถูกค่ะก่อนที่มันจะหายไป ปีตินี่เคยรู้สึกนานมากแล้วตั้งแต่ตอนเป็นเด็กๆปฎิบัติใหม่ๆน่ะคะ หลังๆจะไม่ตื่นเต้นค่ะแล้วก็ชิน ไม่สนใจแล้ว แต่ที่เจอ คืออยากจะทราบว่าต้องดูอะไรต่อ หรือทำอย่างไรแค่นั้นคะ ขอบคุณค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2014
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ปิติ เขาไม่ทำหาย กันน๊า !!

    ไปชินปิติ แล้ว ถอนปิติ โยนทิ้ง ไม่เสพให้มากๆ ไม่ใช่ การฝึกสมาธิแล้วหละ
    เป็นการ ตัดอารมณ์ เบื่อการรับรู้ แล้ว ตัดหลับ !!

    ดังนั้น

    การตัดหลับ คือ ไปเกลียดปิติ เห็น ปิติ เป็นอะไรที่ ทำให้ ตื่นเต้น เกิดความระแวง
    ต้องระวัง อันนั้น มันเป็น ปิติที่มีการกระโจนเข้าไปจับปิติมาเป็นของตัว จับปิติมาเป็นตน
    เลยทำให้ ตื่นเต้น หรือ อุปทานไปกับ การมีปิติ

    ถ้าเป็นการฝึกสมาธิ ปิติเกิด แล้วก็ดับ ยุบยับ แต่เพราะ รู้ชัดว่า มันเกิด แล้วก็ดับ จึง
    เกิดการรู้ปิติได้จำนวนมาก เล่นเอาตัวลอยได้ แต่ ไม่เกิดการกระโจนเข้าไปจับว่า กูลอยเว้ยเฮ้ย

    จะเห็นว่า การลอย การมีปิติ ก็เรื่อง ขี้ๆ เรื่องของคนปฏิบัติ แล้วมันเกิด แล้วดับ หายไป
    ไม่มีการค้างคาเอาไว้ จนกระทั่งเมาธรรม อวดอ้าง ปิติ อย่างนั้นอย่างนี้อย่างคน ทุศีล
    ที่มีความผิดปรกติของใจ ปิติ เป็นเหมือน อาหาร ที่คนปฏิบัติเขาทำกิน ไปวันๆ ระหว่าง
    การฝึก

    คนที่ ทุศีล จะเอา ปิติ ด้วยอาการต่างๆมาเล่า เหมือน ตัวเองไป กินอาหารเหล่าอย่าง
    พระราชา ท้าวสักกะมหา

    คนมี ศีล จะเห็น ปิติ สารพัดอาการ แปลกๆ ไปเรื่อยๆ โดนจิตใจไม่ฝุ้งเฝ้อเห่อเหิม เห็น
    เป็นเพียง อาการ มีเหตุก็เสพ หมดเหตุก็ถ่ายทุกข์ออกไปเป็น ก้อนขี้ เท่านั้น


    ดังนั้น

    กลับไปฝึก ไประลึก รสปิติ ที่เคยมัสผัสนั้น หน่วงขึ้นมาเป็น อามรณ์กรรมฐาน ทำต่อ
    ไปได้เลย

    ถ้าเป็นการเห็น ที่ไม่ใช่ กระโดตะครุบ ปิติ ปิตินั้นจะห่วงขึ้นมาเป็น อรรมณ์ตั้งต้น
    ในการทำกรรมฐานได้ทันที และ จะ ว่องไว รวดเร็ว มีการพัฒนา ในรส หรือ การ
    หน่วงมาทำกรรมฐานได้ไวขึ้น เข้าสมาธิได้เร็วขึ้น ไม่ต้อง 1 2 3 แต่อาจจะ 4 5 6
    ก็ยังได้ 4 3 2 1 ก็ยังได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2014
  9. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    หรือว่าที่ทำมาทั้งหมดผิดหมดต้องเริ่มใหม่หลอค่ะ หมายถึงหาครูอาจารย์ที่ดีๆ มีความรู้ในเรื่องนี้ที่ดีแล้วแล้วเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น งงค่ะ คือทำมานานแล้วน่ะค่ะ ไม่ใช่เพิ่งมาปฎิบัติ
    สรุปคือไม่ถูกใช่ไหมค่ะ
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ไปตำหนิ ทำไมหละคร้าบ

    ในเมื่อ มันคือการทำความเพียร

    อะไรก็ตามที่เป็น ฝีเท้า ฝีไม้ ฝีมือ การภาวนา จะสวย หรือไม่สวย จะผิด หรือ ถูก
    เขาไม่ได้ไปนั่งนับว่า ผิด หรือ ถูก อย่างคน เมาสัญญา เมาบัญญัติ เมาประสบการณ์

    คนปฏิบัติ เอาแค่ ปรารภความเพียร จะล้มลุกคลุกคลาน ผิด พลาด หรือ ถูก หรือแม้
    แต่ บรรลุธรรม เขาก็ไม่มานั่ง ฟูใจ แฟ๊บใจ

    พระพุทธองค์ตรัสชี้ว่า คนเรานั้น เอา การปรารภความเพียรตั้ง แล้วหากสิ่งนี้ ยังอยู่
    ไม่หายไปไหน นั่นแหละ คือ " ผู้สำเร็จ " ( แม้นว่าวันนี้จะยังไม่สำเร็จ หรือ สำเร็จ
    แล้วก็ตาม ) ทั้งนี้เพราะว่า พระพุทธองค์เน้นที่ การเกิดขึ้นของเหตุ และ การดับ
    ไปของเหตุ

    ดังนั้น การปรารภความเพียรเกิดขึ้น การปรรภความเพียรก็ดับไป

    การปรารภความเพียรเกิดขึ้น การปรารภความเพียรก็ดับไป

    การปรารภความเพียรเกิดขึ้น การปรารภความเพียรก็ดับไป

    การปรารภความเพียรเกิดขึ้น การปรารภความเพียรก็ดับไป

    เห็นอย่างนี้บ่อยๆ จะค่อย อ๋อ มันมี สิ่งหนึ่ง สัจจแห่งอริยสัจจ อีกอย่าง
    หนึ่งที่อยู่เหนือ บัญญัติ คำพูด คำจา คำสอน ที่ ผู้ปรารภความเพียร
    จะต้อง นมสิการ เห็นอีกชึ้นหนึ่ง ไม่ใช่ เอาแต่ เพียรอยู่ พักอยู่ เพียงแค่
    นั้นก็ไปนั่งให้ค่าว่า ทำดี ทำเป็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2014
  11. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    ขอบคุณค่ะ แล้วก็อยากทราบความคิดเห็นคนที่ปฎิบัติ หรือ log in ไหนเป็นพระแนวปฎิบัติ ขอความคิดเห็นหน่อยน่ะค่ะ อยากได้ความรู้จากผู้ปฏิบัติจริงน่ะค่ะ คือบางทีเผื่อจะเป้นแนวทางได้ ขอบคุณค่ะ
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จะไป หา ที่คนอื่น ทำไมหละคร้าบ

    พระ ผู้ปฏิบัติจริง ปฏิบัติมาตลอด ก็คือ เจ้าของกระทู้ นั่นแหละ

    ตราบใดที่ ไม่ละทิ้งการปฏิบัติ ยังใส่ใจฝึกฝน คุณ ก็คือ พระ ท่านหนึ่ง

    คนทุกคน สามารถ กราบคุณได้ สนิทใจ เหมือน กราบ พระพุทธเจ้า ทุกประการ
     
  13. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    เอิ่มมม ไม่ขนาดนั้นหลอกค่ะ เดี๋ยวอายุสั้น คือแต่ก่อนจะไปพบอาจารย์ที่สอน กรรมฐานบ่อยน่ะค่ะ แต่ตอนนี้ไม่ได้ไปหานานมากแต่ปฏิบัติเอง เหมือนกับค่อยๆคลำทางยังไงไม่รู้นะค่ะ
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เหมือน กุลบุตร กุลธิดา ทั่วไป ตัดสินใจสะลเรือน จะชั่วคราว หรือ จะถาวร
    เข้าสู่ การบวชเนขขัมมะ บวชเณร บวชบรรพชา

    ด้วยเหตเพียงแค่นี้ ก็กราบได้ สนิทใจ เหมือนกราบ พระพุทธองค์ อยู่แล้ว
    [ ยกตัวอย่าง พระสูตร ที่ นางมหาปชาบดี พระน้านาง ต้องการ กราบพระ
    ถวายผ้าไตร แล้วกลับได้ ถวายแก่ภิกษุบวชใหม่หมาดๆ ท่านหนึ่ง ไม่ได้
    ถวายแก่ สงฆ์ผู้มีประวัติสวยสดงดงาม .... พระพุทธองค์ก็ตรัสว่า จะไป
    นั่งเลือกทำไม ในเมื่อ ถวายแก่ ภิกษุบวชใหม่ ก็เหมือน ถวายพระองค์ทุกประการ
    จะกราบ หรือ ฟังคำสอนใคร ก็เหมือน ฟังคำสอนพระองค์ทุกประการ เพราะ

    ทีนี้คือ ศาสนาของ พระพุทธองค์

    อะไรก็ตามที่เป็น คำสอนเกี่ยวกับการศาสนา ย่อม มาจาก พระองค์แต่ผู้เดียว

    ไม่ใช่มาจากสัตว์หน้าไหน อื่นใด เด็ดขาด ]

    ซึ่ง จะเห็นตามได้ ก็เพราะ ผู้นั่น ไม่ละทิ้งการปฏิบัติ ไม่ละทิ้งธรรม ไม่ประมาท
     
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ของเก่า หรือกรรมฐานเก่า


    ปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน(๖)
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง) หลวงพ่อครับ กสิณนี่เป็นมโนภาพใช่ไหมครับ…?
    กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ ถ้าเราจะตั้งก็ได้ แต่เป๋ ถ้าดูวัตถุยังไม่ค่อยจำ นี่เล่นมโนภาพ ระวังกสิณโทษจะ เกิด อย่างเราเจริญปฐวีกสิณ จะต้องเอาจิตจับไว้เฉพาะปฐวีกสิณอย่างเดียว ถ้าภาพอื่นข้ามาแทรกต้องตัดทิ้งทันที นั่นเขาถือว่าเป็นกสิณโทษ จนกว่ากสิณกองนั้นเข้าถึงฌาน ๔ แล้วก็คล่องตัว จึงจะย้ายไปเป็นกสิณกองอื่นต่อไป








    ผู้ถาม:- “หลวงพ่อครับ กสิณนี่เป็นมโนภาพใช่ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง”
    ผู้ถาม:- “ต้องใช้ดูวัตถุ ใช่ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “ใช่ ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ ถ้าเราจะตั้งก็ได้ แต่เป๋ ถ้าดูวัตถุยังไม่ค่อยจำ นี่เล่นมโนภาพ ระวังกสิณโทษจะเกิด อย่างเราเจริญปฐวีกสิณ จะต้องเอาจิตจับไว้เฉพาะปฐวีกสิณอย่างเดียว ถ้าภาพอื่นข้ามาแทรกต้องตัดทิ้งทันที นั่นเขาถือว่าเป็นกสิณโทษ จนกว่ากสิณกองนั้นเข้าถึงฌาน ๔ แล้วก็คล่องตัว จึงจะย้ายไปเป็นกสิณกองอื่นต่อไป
    ถ้ากสิณกองต้นเราได้แล้ว ถ้าภาพอื่นเข้ามา เราตัดเลย เพราะว่าเราเจริญปฐวีกสิณ ดูดิน ถ้าบังเอิญกสิณอย่างอื่นเข้ามาแทน เช่น กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ มันแจ่มใสกว่า เราจะยึดเอาไม่ได้ ต้องตัดทิ้งทันที จนกว่ากสิณกองนั้นจะจบถึงฌาน ๔ ให้มันคล่องจริง ๆ ไม่ใช่แต่ทำได้นะ
    คำว่าคล่องจริง ๆ หมายความว่า ถ้าเรากำลังหลับอยู่ ถ้าเราตื่นขึ้นมา เราจะจับฌาน ๔ ถ้าคนกระตุกพั้บเราจับฌาน ๔ ได้ทันที กสิณกองนั้นจึงชื่อว่าคล่อง
    ถ้าเหน็ดเหนื่อยมาแต่ไหนก็ตาม ถ้าจะจับฌาน ๔ ต้องได้ทันทีทันใด เสียเวลาแม้แต่ ๑ วินาที ใช้ไม่ได้ ถ้าคล่องแบบนี้ละก็กสิณอีก ๙ กอง เราจะได้ทั้งหมด ไม่เกิน ๑ เดือน เพราะว่าอารมณ์มันเหมือนกัน เปลี่ยนแต่รูปกสิณเท่านั้น
    ฉะนั้น การได้กสิณ กองใดกองหนึ่ง ก็ต้องถือว่าได้ทั้ง ๑๐ กอง เป็นเรื่องง่าย ๆ ไม่ยาก ของเหมือนกัน แต่เพียงแค่เปลี่ยนสีสันวรรณะเท่านั้นเอง มันจะขลุกขลักแค่ครึ่งชั่วโมงแรก เดี๋ยวก็จับภาพได้ แล้วจิตก็เป็นฌาน ๔ นี่เราฝึกกันจริง ๆ นะ ถ้าฝึกเล่น ๆ ก็อีกอย่างหนึ่ง”
    ผู้ถาม:- “การปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าเราจะไม่ใช้กสิณ แต่เราใช้กำหนด อัสสาสะ ปัสสาสะได้ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “ได้ ถือว่าอัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้าออก
    คือ จริตของคน พระพุทธเจ้าทรงจัดแยกไว้เป็น ๖ อย่าง คือ ราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต วิตกจริต ศรัทธาจริต พุทธจริต และก็ พระพุทธเจ้าตรัสพระกรรมฐานไว้ ๔๐
    แต่ว่าเป็นกรรมฐานเฉพาะจริตเสีย ๓๐
    อย่างพวก ราคะจริต ถ้าใช้ อสุภ ๑๐ กับกายคตานุสสติ ๑ เป็น ๑๑
    และพวก โทสะจริต มีกรรมฐาน ๘ คือ มีพรหมวิหาร ๔ แล้วก็กสิณอีก ๔ สำหรับกสิณ ๔ คือ กสิณสีแดง กสิณสีเหลือง กสิณสีเขียว กสิณสีขาว
    สำหรับ วิตกจริตกับโมหะจริต ให้ใช้กรรมฐานอย่างเดียวคือ อานาปานุสสติ อย่างที่โยมว่า อัสสาสะ ปัสสาสะ
    แล้วก็ ศรัทธาจริต ใช้กรรมฐาน ๖ อย่าง คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ แล้วก็เทวตานุสสติ
    ต่อไปเป็น พุทธจริต พุทธจริตนี่ก็มีกรรมฐาน ๔ คือ มรณานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุตธาตุวัตถาน อุปสมานุสสติ
    รวมแล้วเป็น ๓๐ เหลืออีก ๑๐ เป็นกรรมฐานกลาง
    ฉะนั้นการเจริญพระกรรมฐาน ถ้าหากเดินสายสุกขวิปัสสโก จะต้องใช้กรรมฐานให้ถูกกับจริต ถ้าไม่ถูกกับจริต กรรมฐานนั้นจะมีผลสูงไม่ได้ เพราะไม่มีกำลังหักล้าง
    ทีนี้ถ้าหากว่านักเจริญกรรมฐานทั้งหมด ไม่ต้องการอย่างอื่น จะใช้อานาปานุสสติก็ได้ ถ้าคนทุกคนคล่องในอานาปานุสสติกรรมฐาน จะมีประโยชน์
    เมื่อป่วยไข่ไม่สบาย เมื่อทุกขเวทนามันเกิดขึ้น ถ้าใช้อานาปาเป็นฌาน ทุกขเวทนามันจะเบามาก จะไม่มีความรู้สึกเลย นี่อย่างหนึ่ง
    แล้วก็ประการที่สอง คนที่ชำนาญในอานาปาจะรู้เวลาตายของตัว แล้วก็จะรู้ว่าตายด้วยอาการอย่างไร
    แล้วก็ประการที่สาม อานาปานุสสติสามารถควบคุมกำลังฌาน สามารถเข้าฌานได้ทันทีทันใด ประโยชน์ใหญ่มาก”
    ผู้ถาม:- “เมื่อกำหนดลมหายใจด้วย ภาวนาด้วย สมาธิมันวอกแวก ๆ ครับ…”
    หลวงพ่อ:- “ก็ แสดงว่าจริตของคุณโยมหนักไปในด้านวิตกจริต กับ โมหะจริต ฉะนั้นคนที่มีวิตกจริงต้องใช้อัสสาสะ ปัสสาสะ ไม่ต้องภาวนา ขืนภาวนาแล้วยุ่ง พระพุทธเจ้าทรงจำกัดไว้เลยว่า เรามีจริตอะไรเป็นเครื่องนำ ต้องใช้เป็นกรรมฐานอย่างนั้นเฉพาะกิจ ถ้าใช้ผิดก็ไม่ได้ ผลมันไม่มี ที่โยมถามก็เหมาะสำหรับคุณโยม”
    <center>※ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๖๐-๖๒
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

    [​IMG]

    คำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง

    อุเบกขาบารมีตัวนี้ พระองค์ทรงตรัสว่า ตรงกับภาษาไทยที่ใช้กันเป็นปกติว่า ช่างมันขันติบารมีนี่ก็เหมือนกันใช้คำว่าช่างมัน ตรงตัวดี คนที่มี บารมีต้น นี่นะ เขาเก่งแค่ทานกับศีลอย่างเก่ง ถ้าอุปบารมี ก็เก่งแค่ฌานสมาบัติ จิตใจพอใจมาก แต่พูดเรื่องนิพพานไม่เอาด้วย คนที่มีบารมีเข้าถึง ปรมัตถบารมีเท่านั้น จึงจะพอใจในนิพพาน

    กรรมฐานสี่สิบกอง เปลี่ยนไปทุกวัน จะหาความก้าวหน้าได้อย่างไร ?




    กสิณถึงฌานสี่อธิษฐานใช้ผลได้ ถ้ายังใช้ผลไม่ได้เป็นจินตนาการไปแล้ว



    ทำอย่างไรให้การปฏิบัติธรรมก้าวหน้า ปฏิบัติอยู่ตลอดเวลาแต่ฟุ้งซ่านก็ไม่เอาไหน



    วิธีตรวจสอบ กรรมฐานในชาติก่อน

    [​IMG]

    วิธีตรวจสอบ กรรมฐานในชาติก่อน ให้ปฏิบัติตามนี้ ​

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หลวงพ่อปานบอกว่า ตามธรรมดาคนที่เกิดมาแล้วนี่ จะไม่เคยมีบุญวาสนาบารมีนั้น ไม่มี ทุกคนต้องมีบุญวาสนาบารมีมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่พอใจในการเจริญพระกรรมฐาน ส่วนใหญ่ก็มักจะเคยเจริญกรรมฐานมาแล้วในชาติก่อน เคยได้มาแล้วคนละหลายๆกอง วิธีปฏิบัติให้ปฏิบัติตามนี้ อันดับแรก ให้วางหนังสือไว้ที่บูชาต่อหน้าพระพุทธรูป จุดดอกไม้ธูปเทียนเสร็จตั้งใจสมาทานพระกรรมฐานด้วยความเคารพ นึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่ากรรมฐานทั้ง ๔๐ กองนี้ มีกองใดบ้าง ที่เคยได้มาในชาติก่อน เมื่ออ่านไปแล้วขอให้ชอบกองนั้น ถ้าชอบกองไหน คั่นไว้ หรือขีดไว้ ทำสัญลักษณ์ไว้ หรือเขียนไว้ก็ได้ และต่อมา เมื่อชอบหลาย ๆ กองแล้ว กลับมาทีหลัง ก็มาดูใหม่ บูชาใหม่ว่า กรรมฐานที่ชอบหลาย ๆ กองนี้ กองไหนถ้าทำแล้วจะได้ง่ายที่สุด ให้ทำกองที่มีความรู้สึกว่าชอบใจมาก และง่ายที่สุด ก็บูชาพระแล้วก็ตั้งใจอธิษฐาน กลับมาย้อนดูใหม่ ดูกรรมฐานที่ชอบ ที่มา: หลวงพ่อธุดงค์ ตอนไปเที่ยวสุวรรณวิหาร

    https://www.facebook.com/pages/หลวงพ่อฤาษีลิงดำ-วัดท่าซุง-จอุทัยธานี/143272349109938
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่ามัวแต่ เกลียด กลัว ปิติ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หน่าคร้าบ

    อย่าสำคัญว่า ปิติ เหล่านั้น เป็นสิ่งที่ผู้อื่น นำมาให้

    ปิติ มันเกิดขึ้นที่ใด มันก็ดับลงที่นั่น มันเป็นของใคร ตรงไหน

    คนที่ฉลาด มีปฏิภาณ จะ น้อม หน่วง ปิติ นั้นขึ้นมา สดับ
    เหมือนกับ การเข้าเฝ้าฟังธรรม อันเกิดจาก ภายใน มีผู้แสดง
    ธรรมอยู่ภายใน ไม่ต้องไป ฟังเอาจาก ข้างนอก แต่ประการใด

    ดูดีๆ น๊า !!!
     
  17. Pei-panwad

    Pei-panwad Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +78
    เอิ่มมมม ตาลายค่ะ สรุปให้หน่อยได้มั้ยค่ะ อิอิ งงเบยยย
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    สรุปนะ

    เจ้าของกระทู้ แค่ " สรณะง่อนแง่น "

    หรือ ศรัทธา ง่อนแง่น

    หลงลืมไปว่า " พระพุทธ พระธรรม " เป็น สรณะ

    จับแต่ พระสงฆ์ โดยขาด พระธรรม พระพุทธ ทำให้ ไปฟังธรรมแบบปัจเจกบุคคล

    ถ้า ตั้งสรณะ ให้ครบ !!

    พอ ตั้งสรณะครบ นะ จะเห็นเลย ไอ้ที่ ปฏิบัติมาอยู่หนะ ดีอยู่แล้ว ทำต่อไป
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    พอ สรณะ ไม่ครบ ศรัทธาเสีย

    ก็เลยไป ฟังธรรมผิดๆ ธรรมแบบปัจเจกชน ที่ไม่ใช่ พระพุทธ พระธรรม

    ทำให้ ไปสาระวนอยู่กับ เรื่องไม่เป็นเรื่อง

    ถ้า สรณะครบ ต่อให้ พาลภัยจะน่ากลัวขนาดไหน อยู่ตรงหน้า ก็ไม่
    ทำให้ ครั้นคร้าม หลอก
     
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

    ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง
    ดังต่อไปนี้
    ๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำ
    ภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลา
    อย่างนี้เรียกว่าวิตก
    ๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
    หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือ หายใจเข้า
    ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก
    กระทบจมูกหรือริมฝีปาก
    ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
    ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร
    ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ
    ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้
    เรียกว่า วิจาร
    ๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
    ๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน
    ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน
    ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง
    ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยิน
    แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญในเสียง
    ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้ว ตามปกติจิตย่อมสนใจ
    ในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับ
    ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ ที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ
    ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน ที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง


    ทุติยฌานหรือทุติยสมาบัติ

    ทุติยฌาน แปลว่าฌานที่ ๒ ทุติยสมาบัติ แปลว่าสมาบัติที่ ๒ ฌานและสมาบัติ ได้อธิบาย
    มาแล้วแต่ฌานต้นคือ ปฐมฌาน จะไม่อธิบายอีก ปฐมฌานมีอารมณ์ ๕ ตามที่กล่าวมาแล้วใน
    ฌานที่ ๑ สำหรับทุติยฌานนี้ มีอารมณ์ ๓
    อารมณ์ ๓ ของทุติยฌานมีดังต่อไปนี้

    อารมณ์ทุติยฌานมี ๓

    ๑. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ
    ๒. สุข ความสุขอย่างประณีต
    ๓. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
    อารมณ์ทุติยฌานนี้ ก็ตัดเอามาจากอารมณ์ปฐมฌานนั่นเอง ท่านที่ทรงสมาธิเข้าถึง
    ทุติยฌานนี้ ท่านตัดวิตก วิจารอันเป็นอารมณ์ของปฐมฌานเสียได้ คงเหลือแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา
    อาการตัดวิตก วิจารนั้นมีความรู้สึกอย่างไรในเวลาปฏิบัติจริง ข้อนี้นักปฏิบัติสนใจกันมากเป็นพิเศษ
    เพราะเพียงอ่านรู้แล้วยังหาความเข้าใจจริงไม่ได้ การตัดก็มิใช่จะตัดออกไปเฉยๆ ได้ตามอารมณ์
    วิตกแปลว่าตรึก นึกคิด วิจาร แปลว่า ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ท่านลองพิจารณาดูเถิดว่า วิตกวิจารนี้
    เป็นอารมณ์ที่ตัดไม่ได้ง่ายเลย ใคร ๆ ที่ไหนจะมาห้ามความรู้สึกนึกคิดกันง่าย ๆ ได้ เคยฟังท่านสอน
    เวลาเรียน ท่านสอนว่าให้ตัดวิตกวิจารออกเสียได้แล้ว ทรงอยู่ในปีติ สุข เอกัคคตา เท่านี้ก็ได้ทุติยฌาน
    ท่านพูดของท่านถูก ฟังก็ไม่ยาก แต่ตอนทำเข้าจริง ๆ พอมาเจอตัวตัดวิตก วิจารเข้าจริง ๆ กลับไม่
    เข้าใจ จะพูดให้ฟังถึงการตัดวิตกวิจาร

    ตัดวิตกวิจารตามผลปฏิบัติ

    ตามผลปฏิบัตินั้น วิตกวิจารที่ถูกตัด มิได้ตัดด้วยการยกเว้น คืองดการนึกคิดเอาเอง เฉย ๆ
    ท่านตัดด้วยการปฏิบัติเข้าถึงระดับ คือ ในระยะแรกก็เจริญภาวนาคาถา ภาวนาตามท่านอาจารย์สอน
    จะภาวนาว่าอย่างไรก็ได้ ท่านไม่ได้จำกัดไว้ คาถาภาวนาเป็นสายเชือกโยงใจเท่านั้น ให้ใจมีหลักเกาะไว้
    ไม่ให้สอดส่ายไปในอารมณ์นอกจากคำภาวนา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "บริกรรมภาวนา" ขณะที่ภาวนาอยู่
    จิตคิดถึงคำภาวนานั้น ท่านเรียกว่า " วิตก" จิตที่คอยประคับประคองคำภาวนา คิดตามว่า เราภาวนา
    ถูกตามอาจารย์สอนหรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่า " วิจาร " การตัดวิตกวิจาร ก็ภาวนา
    ไปอย่างนั้น จนเกิดปีติ สุขและเอกัคคตา คือมีอารมณ์คงที่ จิตไม่สนใจกับอารมณ์ภายนอก รักษาอารมณ์
    ภาวนา และอาการเอิบอิ่ม สุขสันต์อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจชักจะอ่อนลงทุกที รู้สึกว่าหายใจเบา อารมณ์-
    จิตโปร่งแจ่มใส หลับตาแล้ว แต่คล้ายกับมีใครเอาประทีปมาวางไว้ใกล้ ๆ ในระยะนี้เอง จิตจะหยุดภาวนา
    เอาเฉยๆ มีอารมณ์นิ่งดิ่งสบายกว่าขณะที่ภาวนามาก รู้สึกว่าลมหายใจอ่อนระรวยลง หูได้ยินเสียงภาย-
    นอกแต่เบาลงกว่าเดิม จิตไม่สนใจกับอะไร มีอารมณ์เงียบสงัดดิ่งอยู่ บางรายพอรู้สึกตัวว่าหยุดภาวนา
    ก็ตกใจ รีบคิดถึงคำภาวนา บางรายก็คว้าต้นชนปลายไม่ถูก คำภาวนาภาวนามาจนคล่อง กลับคิดไม่ออก
    ว่าอะไรเป็นต้นเป็นปลาย กึกกักอึกอักอยู่ครู่หนึ่ง จึงจับต้นชนปลายถูก อาการที่จิตสงัดปล่อยคำภาวนา
    มีอารมณ์เฉยไม่ภาวนานั่นแหละ เป็นการละวิตกวิจาร ละด้วยอารมณ์เข้าถึงสมาธิอันดับฌาน ๒
    ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะมาหยุดภาวนาไปนั้น ตอนนั้นจิตตกอารมณ์ทุติยฌาน เข้าสู่อารมณ์ปฐมฌานตามเดิม
    บางรายก็เข้าสู่ภวังค์คืออารมณ์ปกติธรรมดาเอาเลย
    พูดมาอย่างนี้ คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้วว่า การละหรือตัดวิตกวิจารนั้น ก็การที่ภาวนาไป
    จนมีอารมณ์สงัด จิตปล่อยคำภาวนานั่นเอง เมื่อจิตปล่อยคำภาวนาแล้ว ก็เหลือแต่ความชุ่มชื่นหรรษา
    มีความสุขสันต์ทางกายอย่างประณีต มีอารมณ์ใจดิ่งอยู่อย่างไม่สนใจกับอารมณ์ใด หูเกือบจะไม่ได้ยิน
    เสียงอะไร เป็นอารมณ์จิตที่มีความสุขสบายยอดเยี่ยมกว่าฌานที่ ๑ มาก เพราะฌานที่ ๑ ยังต้องมีกังวล
    อยู่กับการภาวนาและต้องระมัดระวังบทภาวนาให้ถูกต้องครบถ้วน จัดว่ามีกังวลมาก สำหรับทุติยฌานนี้
    ตัดคำภาวนาออกเสียได้ด้วยการเข้าถึงอารมณ์ที่ละเอียดกว่า มีแต่ความชุ่มชื่นหรรษาด้วยอำนาจปีติ
    มีความสุขละเอียดอ่อนประณีต เพราะสู่ความสุขอันประณีตด้วยอำนาจสมาธิที่ตั้งมั่นกว่าปฐมฌาน
    จิตเป็นหนึ่ง คือมีอารมณ์สงัดจากอารมณ์ภายนอก แม้แต่คำภาวนาก็ไม่แยแส นี่แหละที่ท่านเรียกว่า
    ได้ทุติยฌาน หรือทุติยสมาบัติ เมื่อได้แล้วต้องฝึกฝนให้คล่องว่องไว คิดจะเข้าทุติยฌานเมื่อไร ก็เข้าได้
    ทันท่วงที หรือจะทรงทุติยฌานอยู่นานเท่าใด ก็กำหนดเวลาได้ตามความประสงค์ อย่างนี้จึงจะชื่อว่า
    ได้ทุติยฌานแน่นอน แต่ทว่าเมื่อได้แล้วก็อย่าประมาท ถ้าพลั้งพลาดปล่อยให้อกุศลมารบกวนใจ หรือ
    จิตใจไปใคร่ในอกุศลเข้าเมื่อไร ทุติยฌานก็ทุติยฌานนั่นแหละ เป็นเสื่อมทรามลงทันที ฉะนั้นท่านจึงว่า
    ฌานโลกีย์นี้ระมัดระวังยาก ต้องคอยประคับประคองประคบประหงมยิ่งกว่าเด็กอ่อนนอนเบาะเสียอีก

    ฌาน ปฐมฌาน ก็ต้องต้องมีคำภาวนาครับ


    - ฌาน สมาบัติ

    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง
    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)



    อ่านดูได้ครับ หลวงพ่อกล่าวไว้ชัดเจน ปฐมฌาน ก็ต้องต้องมีคำภาวนา ห้ามทิ้งคำภาวนาเด็ดขาดครับ

    ถ้าเห็นทิ้งคำภาวนา หรือ ลืมภาวนาด้วยตัวเองนี่ ขาดสติ ฟุ้งซ่าน ต้องแก้ด้วยการกลับมาภาวนานะครับ

     

แชร์หน้านี้

Loading...