นั่งสมาธิมาก ทำไมตึงๆ การเพ่งมาก-สมาธิมาก ปัญญาไม่ค่อยเิกิด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Muang99, 15 เมษายน 2015.

  1. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,411
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,550
    การปฏิบัติสมาธิ จะว่ายากก็ว่ายาก จะว่าง่ายก็ว่าง่าย

    ผมปฏิบัติสมาธิมาก็หลายปีแล้ว สมััยแรกๆ ก็เริ่มจากการภาวนาแบบพุทโธ โดยเพ่งไปที่ปลายจมูก สมัยนั้นเพ่งมากๆ รู้สึกจะมึนหรือคล้ายจะปวดๆ แต่ศูนย์ที่ปลายจมูก หากเพ่งมากจิตรวม ก็จะไม่ค่อยรับรู้สิ่งแวดล้อมภายนอก รู้สึกเป็นอิสระ เพราะจิตจดจ่อแล้ว

    มีครั้งหนึ่งฝึกการถอดจิต ซึ่งอ่านจากหนังสือเล่มหนึ่ง หลักการเป็นการเพ่งไปที่หน้าผาก จนหน้าผากเกือบเสียวมาก เขาบอกว่าเมื่อเสียวมากตรงนั้น(หน้าผากนะครับ อย่าคิดลึก) ก็จะสามารถถอดจิตได้ ช่วงนั้นผมเกือบทำได้ แต่รู้สึกว่าอาการแปลกๆ ก็เกิดขึ้น ยามหลับก็มีนิมิตฝันแปลกๆ ทั้งนั้น และส่วนใหญ่ก็เป็นสิ่งที่มีจริง เพราะได้ตามค้นหาก็พบเจอสถานที่นั้นจริง

    อีกครั้งหนึ่งก็หันมาฝึกแบบภาวนาดูลมขึ้น-ลง จากปลายจมูกลงท้อง และจากท้องขึ้นปลายจมูก ฝึกอยู่นานพอสมควร หลังๆไปฟังครูบาอาจารย์เทศน์ ท่านบอกว่าให้ปฏิบัติแบบยุบหนอ-พองหนอ ไม่ใช่การดูลมขึ้น-ลง

    ปัจจุบันปฏิบัติแบบฝืนมาก นั่งสมาธิแบบที่คนส่วนใหญ่ไ่ม่ค่อยทำกัน เพราะเป็นของยาก ฝืนมากๆ อารมณ์ก็ร้อนแรง

    ก่อนหน้าก้เคยบูชาเหล็กไหลน้ำรองมา 2 องค์ จากประสบการณ์ก้รู้สึกว่ามีอารมณ์ร้อนแรง เหมือนกับการเร่งอารมณ์ความรู้สึก แต่ไม่ได้เร่งกฎแห่งกรรมหรือเร่งโชคลาภ พอมาปฎิบัติสมาธิแบบยาก รู้สึกอารมณ์ร้อนกว่ากว่าการบูชาเหล็กไหลอีก

    เวลามีอารมณ์ร้อน ผมมักจะสวดพระคาถามหาเมตตาใหญ่ ซึ่งรู้สึกว่าจะทำให้ใจเย็นอยู่ได้ประมาณ 1 วัน

    จากหนังสือที่เคยอ่านเจอ ครูบาอาจารย์บอกว่าคนปฏิบัติสมาธิได้ก้าวหน้าเร็ว มี 2 ประเภท คือ 1.คนที่โง่มากๆ 2.คนที่ฉลาดมากๆ ก็ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า ลองไปคิดดูกัน

    การปฏิบัติสมาธิบ่อยๆ กับทำๆ หยุดๆ อย่างไหนดีกว่ากัน? สมัยที่ผมเคยหัดว่ายน้ำอยู่ได้สักพัก แต่ว่ายไม่ได้สักที พอหยุดไปพักหนึ่ง แล้วได้ไปว่ายน้ำอีก ก็สามารถว่ายน้ำได้เลย มันก็แปลกดี

    การทำอะไรที่ตึงเกินไปก็ไม่ดี สมาธิอาจไม่ขยับ เดินสายกลางบ้างก็น่าจะดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2015
  2. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ศรัทธาและความเพียรที่คุณมีมาถูกทางแล้ว ให้รักษาความดีไว้ การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันกับการเรียนหรือทำงานก็ต้องไปด้วยกัน เคยได้ยินไหมที่เขาว่า "บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร" ทีนี้เวลาที่จิตยังไม่นิ่งคือยังต้องฝึกฝนในการทำสมาธิอยู่ เราอาจจะมีแนวในการปฏิบัติไปทางนี้ที มาทางนี้ที ก็ไม่ผิด อย่างที่คุณบอกมาก็แสดงว่าฟันธงเลยนะ มาถูกทางแล้วหล่ะ คือจะบรรลุธรรมต้องมีศรัทธา หมั่นศึกษาหาความรู้ สอบถามให้มาก แล้วนำประสพการณ์ที่ได้มาออกภาคปฏิบัติ การปฏิบัติก็คือมรรค 8 นี้แหละแนวทางในการปฏิบัติ แนะนำคุณเป็นข้อๆดังนี้ 1.ฝึกเพ่งกสิณสัก 4-5 วัน สีต่างๆนะ 2.แบ่งเงินทำบุญสม่ำเสมอ 3.หมั่นทำสมาธิเป็นประจำ จิตจะค่อยๆรวมจนบรรลุธรรม และ 4.พยายามละโกรธ กำหนดสติที่ลมหายใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2023
  3. Apinya17

    Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,023
    ทำสมาธิ ก็ได้สมาธิ มันจะแข็งๆ ทื่อ

    ลองหันมาเจริญสติควบคู่กันไปสิ เดินทางสายกลาง
     
  4. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,633
    สมาธิ = พละกำลัง
    วิปัสสนา = อาวุธอันคมกล้า

    การจะฆ่ากิเลสต้องใช้ทั้ง 2 อย่างนี้ร่วมกันจึงจะเกิดปัญญา

    การฝึกสมาธิ ปกติท่านก็ให้ฝึกต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีผ่อนสั้นผ่อนยาวบ้าง ถ้าฟุ้งซ่านมาก ท่านมีทางแก้ให้ 2 วิธี

    1. มันฟุ้งก็ปล่อยไป แล้วตามดูจิตไปเรื่อยๆ เหมือนม้าพยศ ปล่อยมันวิ่งไปแล้วเรากอดคอมันอย่างเดียว พอมันหมดแรงแล้วทีนี้เราจะลากจูงมันไปทางไหนมันก็ไป สมาธิก็เหมือนกัน
    2. ถ้ามันฟุ้งซ่านมากเกินไปจริงๆ เอาไม่อยู่แล้ว ท่านบอกว่าแบบนี้ก็ต้องเลิกเหมือนกัน คือ ปล่อยให้มันฟุ้งไปเลย เมื่อสบายขึ้นมาแล้วค่อยมาฝึกสมาธิต่อ

    หลักง่ายๆ ก็คือ ไม่ว่าจะทำอะไร อาบน้ำ ทานข้าว ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ให้แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งให้รับรู้ถึงลมหายใจเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ทำให้ติดเป็นนิสัยเหมือนติด Line ติด Facebook นั่นแหละ ขนาดดูหนังอยู่ก็ยังสามารถเล่น Line พิมพ์ข้อความได้ นั่นแหละฌาน เพียงแต่ยังเป็นฌานอ่อนๆ ยังไม่ถึงฌาน 4 เท่านั้น แต่ก็ลักษณะเดียวกัน เปลี่ยนจากติด Line มาเป็นติดในลมหายใจแทน

    และควรที่จะนั่งสมาธิให้ได้วันล่ะ 2 ครั้งๆละ 2 ชั่วโมง เพื่อเป็นการเพิ่มความเข้มแข็งของสมาธิของเราด้วย นอกนั้นจะทำอะไรก็ได้แต่ต้องไม่ลืมที่จะรู้ลมหายใจไปเรื่อยๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2015
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เค้าแบ่งออกเป็น สมถะกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน ครับ จขกท

    ^^
     
  6. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,411
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,550
    ผมอ่านมา 3-4 ท่านที่ตอบผม รู้สึกคุณจะตอบไ้ด้ถูกใจที่สุดคนหนึ่ง

    เรื่องการศึกษาหาความรู้ ก็มีบ้างตามโอกาสอันพึ่งมี

    กสินไฟผมก็เคยเพ่งมาก่อน แต่เป็นสมถะคล้ายแบบการฝึกถอดจิต, ผมแบ่งเงินทำบุญสม่ำเสมอครับ ที่เรียกว่าตักบาตรแห้งหรือตักบาตรวิระทะโย, เพราะผมปฏิบัติสมาธิสม่ำเสมอ จนมีอาการตึงๆ ผมจึงได้ตั้งกระทู้ถามขึ้นมาครับ, เรื่องการล่ะความโกรธ ก็ทำได้บ้าง ไ่ม่ได้บ้าง บางทีถ้ามีเหตุหลายครั้งติดกัน ก็จะระงับไม่ค่อยได้
     
  7. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,411
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,550
    กสินผมก็ฝึกมาแล้ว พุทโธผมก็ภาวนามาแล้ว ดูลมผมก็ทำมาแล้ว ยุบหนอ-พองหนอผมก็ยังปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน

    ลองอ่านบทความนี้ดูนะครับ

    "การเจริญวิปัสสนา" อาศัยแค่อุปจารสมาธิ ( สมาธิเฉียดฌาน ) , ขณิกสมาธิ คือ สมาธิที่พิจารณา เป็นขณะ ขณะ ปัจจุบันธรรม เพราะหากเข้าถึงสมาธิระดับฌาน จิตจะดิ่งลึกจนเกินไป จนไม่สามารถพิจารณาสภาวะธรรมต่างๆให้เห็นเป็นพระไตรลักษณ์ได้

    เพราะฉะนั้นผู้ที่มีฌานสมาธิระดับต่างๆ เมื่อต้องการเจริญวิปัสสนา ก็ต้องถอยฌานลงมาในระดับอุปจารสมาธิ ผลของการเจริญวิปัสสนา คือ การทำอาสวะ ( กิเลส)ให้สิ้นไป เพื่อเข้าถึง มรรค ผล นิพพาน

    ส่วนการฝึกใดมิได้เห็นพระไตรลักษณ์ ( อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เพ่ง,จ้อง, ยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เพ่งดิน เพ่งน้ำ เพ่งซากศพ, สร้างภาพ นิมิตต่างๆ ขึ้นมาไม่จัดเป็นการเจริญวิปัสสนา แต่เป็นการเจริญสมถกรรมฐาน ซึ่งมุ่งเน้นให้จิตสงบแนบแน่นเป็นอารมณ์เดียว ซึ่งมีหลายระดับ ตั้งแต่ "ฌาณ 1- ฌาน 4, อรูปฌาน 1- อรูปฌาน 4 แต่กิเลสมิได้ละออกไปเป็นแต่เพียงกดข่มเอาไว้" เมื่อตายไปมีผลให้เข้าถึง สวรรค์ และพรหมได้ เมื่อหมดบุญก็ยังต้องมาเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏฏะสงสารอีก

    พองหนอ-ยุบหนอ จัดเป็นวิปัสสนาได้อย่างไร
    อารมณ์ของวิปัสสนามี 6 อย่าง คือ

    - ขันธ์ ๕
    - อายตนะ๑๒
    - ธาตุ๑๘
    - อินทรีย์ ๒๒
    - อริยสัจ ๔
    - ปฏิจจสมุปบาท

    ขันธ์ แปลว่า กอง หรือสิ่งที่ทรงไว้ซึ่งความสูญ

    สูญจากความงามสูญจากความสุขสูญจากความเที่ยงสูญจากความเป็นตัวตน

    การเจริญวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ นี้ ต้องเอาขันธ์ ๕ มาเป็นอารมณ์ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    รูป ก็คือ รูป (กาย)

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือ นาม (ใจ)

    ดังนั้น ขันธ์ ๕ เมื่อย่อลงมาแล้ว ก็คือ รูปนาม (ใจ)

    การเอารูปนามมาเป็นอารมณ์ก็คือ การเอาขันธ์ ๕ มาเป็นอารมณ์นั่นเอง รูปนาม มีอยู่ที่ใด ขันธ์ ๕ ก็มีอยู่ที่นั้น

    พองหนอ-ยุบหนอมีอยู่ใน ขันธ์ ๕ อย่างไร

    - ขณะที่กำหนดพองหนอ-ยุบหนออยุ่นั้น ท้องที่พอง-ที่ยุบ จัดเป็นรูปขันธ์

    - ขณะที่ดูอาการพอง-อาการยุบอยุ่นั้น รู้สึก สบาย (สุข) ,อึดอัด แน่น (ทุกข์ ) , เฉยๆจัดเป็นเวทนาขันธ์

    - ขณะที่กำหนดพองหนอ-ยุบหนออยู่นั้น รู้อาการพอง ว่าพองมาก พองน้อย รู้อาการยุบว่ายุบสั้น ยุบยาว จัดเป็นสังขารขันธ์ ( สิ่งปรุงแต่งจิต)

    - ขณะที่กำหนดท้องพอง-ท้องยุบอยู่นั้น จำได้ว่าท้องพอง ท้องยุบ จัดเป็นสัญญาขันธ์

    - ขณะที่ดูอาการพอง-อาการยุบอยุ่นั้น ใจที่รู้ว่าพอง ว่ายุบ จัดเป็นวิญญาณขันธ์

    - ขณะที่ กำหนด ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ อยู่นั้น เท้าที่ยก ที่ย่าง ที่เหยียบ จัดเป็นรูปขันธ์

    - ขณะที่กำลังยก กำลังย่าง กำลังเหยียบ อยู่นั้น รู้สึกสบาย (สุข) ,รู้สึกปวดเท้า ปวดขา (ทุกข์ ) , รู้สึกเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์

    - ขณะที่กำลังยก กำลังย่าง กำลังเหยียบ อยู่นั้นจำได้ว่ายก ว่าย่าง ว่าเหยียบ จำได้ว่าขวาย่าง ซ้ายย่าง จัดเป็นสัญญาขันธ์

    - ขณะที่กำหนด ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ อยู่นั้น รู้ว่าเดินเร็ว เดินช้า ยกเร็วไป ย่างเร็วไป ช้าไป จัดเป็นสังขารขันธ์ ( สิ่งปรุงแต่งจิต)

    - ขณะที่กำหนด ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ อยู่นั้นใจที่รู้ว่าเท้ากำลังยก กำลังย่าง กำลังเหยียบอยู่นั้น จัดเป็นวิญญาณขันธ์

    พระไตรลักษณ์มีอยู่ในพอง –ยุบได้อย่างไร

    ขณะที่เราดูอาการพอง-อาการยุบของท้องอยู่นั่น เราดูตั้งแต่ต้นพอง กลางพอง สุดพอง เมื่อยุบก็รู้ตั้งแต่ต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ เราเห็นตั้งแต่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป พองขึ้นมา ก็ไม่เที่ยง ตั้งอยู่ แล้วดับไป ยุบลงไปก็ไม่เที่ยง ตั้งอยู่ แล้วดับไป อาการอย่างนี้จัดเป็นอนิจจัง

    ขณะกำหนดพองหนอ-ยุบหนออยู่ มีเวทนาเกิดขึ้นมา รู้สึกเจ็บปวด ตรงนั้น ตรงนี้ , รู้สึกแน่น อัดอัด อาการอย่างนี้จัดเป็นทุกขัง

    ขณะกำหนดพองหนอ-ยุบหนออยู่ อาการพองเกิดขึ้นมาจะให้ยุบก็ไม่ได้ เมื่อเวทนาความเจ็บเกิดขึ้นมาจะบังคับให้ไม่เจ็บ ไม่ปวดก็ไม่ได้ พองมันจะสั้น มันจะยาว หรือ หายไป เราก็บังคับมิได้ เพราะมันไม่ใช่ตัวเรา ของเรา บังคับบัญชามิได้ อาการอย่างนี้จัดเป็นอนัตตา

    เพราะฉะนั้นขณะที่เราเอาสติมากำหนดดู ตามรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม อยู่นั้น ตัวอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาจะคลุกเคล้าอยู่กับรูปนามที่เรากำหนดตลอดเวลา รูปนามเกิดขึ้นที่ใด พระไตรลักษณ์ก็มีอยู่ที่นั้น นั่นคือ พระไตรลักษณ์ก็มีอยู่ในพอง ในยุบนั่นเอง

    พองหนอ-ยุบหนอมีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ( กาย เวทนา จิต ธรรม) อย่างไร

    การเจริญวิปัสสนา แนวพองหนอ-ยุบหนอมิได้กำหนดดูอาการพอง อาการยุบเพียงอย่างเดียว แต่เราเอาอาการพอง อาการยุบไว้เป็นฐาน ( ที่ตั้ง ) ของสติ แต่เมื่อใดที่เรากำหนด พองหนอ-ยุบหนอ อยู่ แล้วมีอาการใด , อารมณ์ใด , สภาวะธรรมใดปรากฎเกิดขึ้น เราก็ต้องกำหนดรู้ อาการ, อารมณ์ , สภาวะธรรมนั้น

    การที่เรานั่งกำหนด พองหนอ-ยุบหนอ ตามดู ตามรู้ อาการพอง อาการยุบ ของท้อง เป็นการเจริญ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ตามดู ตามรู้ การเคลื่อนไหวของลมภายในท้อง เรียกว่า "วาโยโผฏฐัพรูป"

    ซึ่งเป็นหนึ่งในลม 6 ประเภท คือ

    - ลมพัดขึ้นบน- ลมพัดลงเบื้องต่ำ- ลมในท้อง- ลมในไส้- ลมหายใจ- ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่

    ขณะที่เรากำหนดพองหนอ-ยุบหนออยุ่นั้น เราตามดู ตามรู้ การเคลื่อนไหวของลมภายในท้องที่เข้า-ออก ซึ่งเมื่อหายใจเข้าลมเข้าไป มีผลทำให้ท้องพองขึ้น เราก็กำหนดพองหนอ เมื่อหายใจออก ลมออกมา มีผลให้ท้องยุบลงไปเรา ก็กำหนดยุบหนอ จัดเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ( การตามรู้กองรูป ,การตามรู้กาย )

    ขณะตามดู ตามรู้ อาการพอง อาการยุบ อยู่ มีอาการเจ็บปวด (เวทนา) เกิดขึ้น ก็ต้องกำหนด ปวดหนอๆๆ จัดเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ( การตามดู ตามรู้ เวทนา )

    ขณะตามดู ตามรู้ อาการพอง อาการยุบ อยู่ จิตฟุ้งซ่าน ง่วงนอน ก็ต้องกำหนด ฟุ้งหนอๆๆ ง่วงหนอๆๆ จัดเป็นจินตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ( การตามดู ตามรู้ จิต)

    ขณะตามดู ตามรู้อาการพอง อาการยุบ อยู่ เห็นภาพนิมิต,แสง สีต่างๆมาปรากฎ ก็ต้องกำหนด เห็นหนอๆๆ หรือได้ยินเสียงต่างๆ ก็ต้องกำหนด ยินหนอๆๆ ได้กลิ่นต่างๆก็กำหนด กลิ่นหนอๆๆ หรือ รู้สึกตัวแข้งทื่อเหมือนก้อนหิน ก็กำหนดรู้หนอๆๆ,แข็งหนอๆๆ จัดเป็นธรรมมานุปัสสนาปัฏฐาน ( การตามรู้สภาวะ )

    คือ เมื่ออาการ,อารมณ์,สภาวะใด ปรากฎชัดเราจะต้อง ตามดู ตามรู้ อาการ,อารมณ์,สภาวะธรรมนั้นๆ ความคิดเกิดก็ดูความคิด ความฟุ้งเกิดก็ดูความฟุ้ง นิวรณ์เกิดก็ดูนิวรณ์ เกิดทางไหนก็ดูมันทางนั้น เกิดตรงไหนก็ดูมันตรงนั้น จนมันดับไป เราจึงมาดูอาการพอง-อาการยุบของท้องดังเดิม

    คือ เราจะ ตามดู ตามรู้สภาพธรรมต่างๆที่มาปรากฎชัด ที่เป็นปัจจุบันอารมณ์ พิจารณาเป็นขณะ ขณะไป ( ขณิกสมาธิ) คือ การ ตามดู ตามรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม นั่นเอง

    "สันตติ ( ความสืบต่อ ต่อเนื่อง )"

    เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดรู้ ตามดูสภาวะธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป จนเข้า"สู่อุทยัพพยญาณ ( ญาณที่ ๔ )" จะเห็นความเกิด-ดับ ของรูป-นาม กาย-ใจ เมื่อก่อนผู้ปฏิบัติอาจเห็นอาการพองก็เป็นอันเดียวกัน อาการยุบก็เป็นอันเดียว แต่พอเข้าสู่อุทยัพพญาณแล้ว จะเห็นอาการพองว่า มันมิได้เป็นอันเดียวกัน เห็นอาการพอง มันพองๆๆๆๆ หรือ เห็นอาการยุบ มันยุบๆๆๆๆ ติดต่อกันเป็นชั้นๆ จนผู้ปฏิบัติกำหนดแทบจะไม่ทัน หรือ กำหนดไม่ได้เลย คือ ผู้ปฏิบัติได้เข้าไปเห็นแจ้ง รูปนาม กายใจ นี้ว่า มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปอยู่ตลอดเวลา อาการพอง อาการยุบครั้งหนึ่งนั้น มันก็มี ความเกิด-ดับ เกิด-ดับ สืบต่อ ต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เรียกว่า สันตติ

    ซึ่งความเป็นจริงที่เราสามารถเห็นได้ชัดของการเกิด-ดับของรูป-นาม กาย-ใจ เช่น ร่างกายของเรา เซลล์ๆหนึ่งก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คือ เซลล์แต่ละเซลล์ มันมีการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เซลล์เก่า ตายไป เซลล์ใหม่ก็เกิดทดแทนขึ้นมาอย่างนี้ เป็นต้น แต่เราไม่สามารถสังเกตได้ ต้องใช้ระยะเวลานาน เพื่อเห็นการเปลี่ยนแปลง "เช่น ตอนเราเป็นเด็ก จนโตเป็นผู้ใหญ่ ก็เป็นเราคนๆเดียวกัน แต่ต้องอาศัยระเวลานานถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์หรือร่างกายที่มัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ซึ่งก็คือ การเกิด-ดับ ของรูป-นาม นั่นเอง"

    ทำไมถึงใช้บัญญัติ กำหนดรู้ปรมัติถ์ ในเบื้องต้น

    เนื่องจากคนเราเคยชินอยู่กับบัญญัติ เกี่ยวข้องอยู่กับบัญญัติ( บัญญัติ มิได้หมายถึง ชื่อ แต่ หมายถึง สิ่งที่โลกสมมุติเรียกกันว่า เป็นนั่น เป็นนี่ เป็นบุคคล ตัวตน เราเขา ) จึงต้องใช้บัญญัติเข้าช่วยในการกำหนดรู้ในเบื้องต้น เพราะอารมณ์ปรมัตถ์ ( ความรู้สึก นึกคิด ความเจ็บ ความปวด ความสุข ความเบื่อ ความฟุ้ง ความกลัว สภาวะความรู้สึกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น ) เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยาก ดังนั้นการเข้าไปถึงอารมณ์ปรมัตถ์ ด้วยสติ สมาธิ ปัญญาที่แก่กล้า สามารถกำหนดรู้ได้เท่าทัน จะต้องอาศัยบัญญัติแทงเข้าสู่ปรมัติถ์ เมื่อเข้าสูปรมัติถ์ได้ จนชำนาญแล้วบัญญัติต่างๆก็จะหลุดไปเองโดยอัตโนมัติ

    "เปรียบเหมือนกับตอนที่เราเป็นเด็กยังไม่สามารถเดินได้ เราต้องอาศัยราวเหล็ก หรืออะไรไว้ เพื่อเกาะ เพื่อพยุงตัวของเรา ต่อเมื่อเรามีความชำนาญในการเดิน มีเท้า มีขา ที่แข็งแรงขึ้น เราก็สามารถเดินไปได้โดยไม่ต้องอาศัยการยึดเกาะใดๆอีก"

    ฉันใดก็ฉันนั้น การเจริญวิปัสสนาแนวพองหนอ-ยุบหนอ เราใช้คำต่างๆในการกำหนดรู้ในเบื้องต้น คิดหนอ ยกหนอ เหยียดหนอ รู้หนอ เห็นหนอ เพื่อให้เรากำหนดรู้ได้ทันต่อสภาวะธรรมต่างๆที่มาปรากฎแก่
    ..."รูป-นาม" ( กาย-ใจ ) คือ กำหนดรู้แค่เพียงปรมัติอารมณ์ที่มาปรากฏ ไม่เลยไปเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ตัวตน เราเขา เช่น คิดหนอๆๆ ก็กำหนดดู กำหนดรู้แค่อาการความคิด ไม่เลยไปเป็น คิดถึงคนนั้น คนนี้ เป็นผู้ชาย เป็นผู้หญิง เป็นบุคคล ตัวตน เรา เขา เมื่อจิตมีความชำนาญ จดจำสภาวะธรรมต่างๆได้ดี และกำหนดรู้ได้ทันมากยิ่งขึ้น จะทำให้เราสามารถตัดสิ่งที่มาปรากฏ มากระทบ ได้เร็วขึ้น

    ..เช่น ตอนแรกผู้ปฏิบัติ อาจจะกำหนด ตามดู ตามรู้ อาการความคิดว่า คิดหนอๆๆหลายครั้ง กว่าความคิดต่างๆจะดับไป แต่เมื่อผู้ปฏิบัติได้เจริญสติกำหนดรู้อย่างติดต่อ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เมื่อความคิดเกิดขึ้น อาจกำหนดแค่เพียง 2-3 ครั้ง ความคิดนั้นก็ดับไปแล้ว อย่างนี้เป็นต้น ถึงแม้จะมีความคิดเรื่องใหม่เกิดขึ้นมา ก็สามารถกำหนดรู้ได้ทัน ไม่นานก็ดับไป คือมีสติ สมาธิที่แก่กล้ามากขึ้นนั่นเอง

    เพราะฉะนั้นในเบื้องต้น คำกำหนดถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับโยคีผู้ปฏิบัติพึงกำหนดรู้สิ่งต่างๆที่มาปรากฎแก่รูป-นาม กาย-ใจ อย่างต่อเนื่อง จึงจะทำให้วิปัสนาญาณเกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังทำให้สตินั้นมีกำลังแก่กล้า สามารถกำหนดรู้สิ่งต่างๆที่มากระทบได้ดี

    แต่ผู้ปฏิบัติไม่ต้องกังวล "เมื่อเจริญวิปัสสนากำหนดรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม อย่างต่อเนื่อง จน อินทรีย์ ๕ ของผู้ปฏิบัติ มีกำลังแก่กล้าจนกลายเป็น พละ๕ แล้ว ตัวบัญญัติต่างๆนั้นจะแนบแน่นไปกับสภาวะธรรมต่างๆ ที่มากระทบ หรือ ปรากฎแก่ รูป-นาม กาย-ใจเองโดยอัตโนมัติ" โดยผู้ปฏิบัติ มิต้องกำหนด เห็นหนอ ปวดหนอ คิดหนอ ก็มีสติกำหนดรู้ได้เท่าทัน อาการที่ยก ที่เหยียด ที่ก้ม ที่คิด ที่ฟุ้ง ที่เห็น เหมือนเราตอนเด็กที่หัดเดิน เมื่อมีความชำนาญในการเดิน มีเท้า มีขา ที่แข็งแรงขึ้น เราก็สามารถเดินไปได้โดยไม่ต้องอาศัยการยึดเกาะใดๆอีกเลย

    สรุป..

    พองหนอ-ยุบหนอ จัดเป็นการเจริญวิปัสสนา ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ มีอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม มีอยู่ในขันธ์ ๕ และ เห็นพระไตรลักษณ์ ( อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ) ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาที่ถูกต้อง"


    ที่มา : http://dhamma-free.blogspot.com/2010/03/blog-post_9144.html
     
  8. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,411
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,550
    ผมหาคนที่รู้จริงนะครับ ที่อธิบายได้ชัดเจน

    เมื่อคืนนก็พอรู้ว่ามีคนส่องญาณมาดูผม จำนวน 2 เวลา แต่เขาเข้าถึงตัวผมไม่ค่อยได้

    เมื่อนานหลายเดือนมาแล้ว เคยไปโพสต์ที่ห้องวิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ ซึ่งเป็นโพสต์เกี่ยวกับประสบการณ์ได้พบผู้มีอภิญญา รู้สึกว่าห้องนั้นเป็นพวกอิทธิฤทธิ์เยอะ เขาก็ส่องมาดูหลายคน ที่สัมผัสได้ออกไปทางฤทธิ์-กสิน

    ส่วนห้องนี้(อภิญญา - สมาธิ) เมื่อคืนก็มาแบบนุ่มนวล คนที่ฝึกวิปัสสนา เวลาส่องมาหาผม จะออกทางนุ่มนวลหรือเบาๆ ไม่เร้าร้อนแบบสมถะ-ฤทธิ์-กสิน
     

แชร์หน้านี้

Loading...