เรื่องเด่น นักโทษ 16 รายทำได้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต มมร

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 17 พฤศจิกายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่อาคารสุชีพ ปุญญานุภาพ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร.) อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร) เสด็จเป็นประธานในพิธีประทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจาก มมร. ประจำปี 2562 โดยมีผู้เข้ารับประทานปริญญาบัตรรวม 1,258 รูป/คน จากนั้นทรงมีพระโอวาท ตอนหนึ่งว่า ขอบัณฑิตทั้งหลายอย่าประมาท หลงผิดคิดไปว่าเมื่อมีปริญญา แปลว่ามีความรู้มากพอแล้ว ความนึกคิดเช่นนี้จัดเป็นกิเลสอันร้ายกาจ ซึ่งจะนำพาความเสื่อมมาสู่ตนและสังคม สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพร่ำสอนย้ำเตือนพุทธบริษัททั้งหลายไว้ว่า “มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน” นั่นย่อมหมายถึงว่า สรรพวิชาความรู้ที่เราได้เล่าเรียนศึกษามา หากไม่เอาใจใส่ทบทวน และศึกษาเพิ่มเติม ในที่สุดก็ย่อมเป็นมลทิน จึงขอให้ทุกท่านกวดขันตนเองให้มีความวิริยอุตสาหะในอันที่จะขวนขวายศึกษาเรียนรู้ในสรรพวิชชาอยู่เป็นนิตย์ เพื่อกำจัดอวิชชาให้หมดสิ้นไป บังเกิดคุณประโยชน์ยิ่งใหญ่ เป็นความงอกงามไพบูลย์ทั้งทางโลกและทางธรรม
    e0b8a9e0b8a3e0b8b8e0b988e0b899e0b981e0b8a3e0b881e0b980e0b8a3e0b8b5e0b8a2e0b899e0b888e0b89ae0b89b.jpg

    พระราชปฏิภาณโกศล (สมคิด จินฺตามโย) อธิการบดีมมร. กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่มีผู้ต้องขังในเรือนจำ จากโครงการวิทยบริการสอนพระพุทธศาสนาในเรือนจำ ตามแนวพระราชกระแสรับสั่งในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต จำนวน 16 คน ในจำนวนนี้มีที่พ้นโทษแล้วมาเข้าร่วมพิธีประทานปริญญาบัตร 7 คน ส่วนอีก 9 คน จะมีการนำปริญญาบัตรไปมอบให้ในเรือนจำต่อไป.

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/education/742142
     
  2. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    a9-16-e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b897e0b8b3e0b984e0b894e0b989e0b8aae0b8b3e0b980e0b8a3e0b987e0b888e0b881.jpg
    มมร สนองพระราชกระแสรับสั่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ เปิดสอนหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต เปลี่ยนผู้ต้องขังเป็นบัณฑิต นำร่องเรือนจำกลางบางขวางจบหลักสูตรแล้ว 16 ราย

    เมื่อวันที่ 17 พ.ย.สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จประทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปี 2562 ที่หอประชุมสุชีพ? ปุญญานุภาพ? มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งในคณะผู้สำเร็จการศึกษามีอดีตผู้ต้องขังที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามโครงการวิทยบริการสอนพระพุทธศาสนาในเรือนจำด้วย ซึ่งนับว่า เป็นปีแรกที่สามารถผลิตบัณฑิตตามโครงการดังกล่าวได้สำเร็จ
    -16-e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b897e0b8b3e0b984e0b894e0b989e0b8aae0b8b3e0b980e0b8a3e0b987e0b888e0b881-1.jpg

    สำหรับ ในปี 2562 เรือนจำกลางบางขวางดำเนินการเป็นแห่งแรก ได้มีผู้จบการศึกษาหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์ จำนวน 16 ราย เข้ารับประทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช 7 ราย ส่วนที่เหลืออีก 9 รายรอรับประทานปริญญาบัตรในเรือนจำต่อไป

    อย่างไรก็ตาม โครงการวิทยบริการสอนพระพุทธศาสนาในเรือนจำ เป็นโครงการตามแนวพระราชกระแสรับสั่งใน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้กรมราชทัณฑ์ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่งเสริมการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาให้แก่ผู้ต้องขัง เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเข้าใจและน้อมนำหลักธรรมคำสอนไปขัดเกลาจิตใจให้ไพบูลย์ยิ่งขึ้น

    พระราชปฏิภาณโกศล อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยฯ และกรมราชทัณฑ์ ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านพระพุทธศาสนา และการขยายโอกาสให้แก่ผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะผู้ต้องขังให้ได้ศึกษาต่อ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ นำหลักธรรมะไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และกล่อมเกลาจิตใจผู้ต้องขังเพื่อเป็นการคืนคนดีสู่สังคมต่อไป
    -16-e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b897e0b8b3e0b984e0b894e0b989e0b8aae0b8b3e0b980e0b8a3e0b987e0b888e0b881-2.jpg

    พระราชปฏิภาณโกศล กล่าวว่า บัณฑิตรุ่นแรกจะเป็นเสมือนผู้เริ่มจุดประกายสังคมให้ได้เห็นถึงความมุ่งมั่นว่า กลุ่มนักโทษสามารถกลับตัวเป็นคนดีและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ รวมถึงยังจะเป็นแบบอย่างให้กับผู้ต้องขังรายอื่นได้มีความหวังและกำลังใจจะพัฒนาตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้พร้อมที่จะกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติสุขอีกครั้งหลังพ้นโทษ

    ด้าน พระสุทธิสารเมธี คณบดีคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ต้องขังสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก และ อันดับ 1 ในอาเซียน กว่าร้อยละ 79 ต้องโทษมาจากคดียาเสพติด ทั้งนี้สาเหตุเริ่มต้นมาจากการขาดโอกาสทางการศึกษาเป็นสำคัญ

    นอกจากนี้ ยังพบว่าสภาพความเป็นอยู่ในคุกมีความแออัดสูงมาก ปัจจุบันมีนักโทษประมาณ 367,695 ราย แต่พื้นที่จริงรองรับได้ราว 120,000 รายเท่านั้น ดังนั้นการลงโทษเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่ทางออกของปัญหา การให้ความรู้และเตรียมความพร้อมให้ผู้ต้องขังสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้จึงเป็นแนวทางแก้ไขที่ให้ผลดีกว่า ทั้งกับตัวผู้ต้องขังเองและกับสังคม
    -16-e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b897e0b8b3e0b984e0b894e0b989e0b8aae0b8b3e0b980e0b8a3e0b987e0b888e0b881-3.jpg

    อย่างไรก็ตามด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของโครงการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ.) สาขาวิชาพุทธศาสตร์ คณะศาสนาและปรัชญา นำร่องหลักสูตรในปี 2557 ที่เรือนจำกลางบางขวางเป็นแห่งแรก ในปีนี้มีผู้ที่พ้นโทษแล้วจะได้เข้ารับประทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระสังฆราช ส่วนผู้ที่ยังไม่พ้นโทษยังรอรับประทานปริญญาบัตรในเรือนจำต่อไป

    ปัจจุบันมีเรือนจำและทัณฑสถานเข้าร่วมโครงการแล้ว 4 แห่ง ได้แก่ เรือนจำกลางบางขวาง เรือนจำอ.แม่สอด ทัณฑสถานหญิงกลาง และเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร นับได้ว่ามหาวิทยาลัยฯ เป็นสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาที่ ชูหลักพุทธศาสตร์ คืนคนดีสู่สังคม” อย่างแท้จริง
    -16-e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b897e0b8b3e0b984e0b894e0b989e0b8aae0b8b3e0b980e0b8a3e0b987e0b888e0b881-4.jpg

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/dhamma/606615
     

แชร์หน้านี้

Loading...