ธรรมา ธรรมเมา

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    ...เทศน์ภายในเลยมันจึงเหมาะ ถ้าเทศน์ภายนอกนี่มันคล้ายกับแผนที่ตำรับตำรา พอปานกับเครื่องกระจาย เราต้องเทศน์ภายใน

    ...จะเอาอย่างใดอีก ตำรับตำราทางบ้านท่านฟังมาเต็มที่แล้ว จะฟังก็กายเท่านั้นแหละ ทีนี้ให้ภาวนา เอากายเป็นมรรค เอากายเป็นผล จงพากันละอุปาทานทั้ง ๕ อนิจฺจํทั้ง ๕ ทุกฺขํ ทั้ง ๕ อนตฺตา ทั้ง ๕ ละรูปธรรมนามธรรมนี้วางได้มันก็เป็นธรรมนั่นแหละ วางไม่ได้ มันก็ยึดเอารูปธรรมนามธรรมเป็นตนเป็นตัว มันก้เป็นธรรมเมาอยู่นั่นเอง พิจารณาสังขาร นามรูป ที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ อนิจฺจํ ทั้ง ๕ ทุกฺขํ ทั้ง ๕ อนตฺตา ทั้ง ๕ อุปาทาน ทั้ง ๕ มี รูปูปาทานกฺขนฺโธ เป็นอุปาทานที่หนึ่ง เวทนูปาทานกฺขนฺโธ เป็นอุปาทานที่ ๒ สญฺญูปาทานกฺขนฺโธ เป็นอุปาทานที่ ๓ สงฺขารูปาทานกฺขนฺโธ เป็อุปาทานที่ ๔ วิญฺญาณูปาทานกฺขนฺโธ เป็นอุปาทานที่ ๕ ครั้นค้นคว้าอยู่ในธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ วางธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นี้ได้ละก็ภาวนาสงบดี ครั้นเวทนาดับลง สัญญาดับลง สังขารดับลง วิญญาณดับลง รูปธรรมส่วนสมมติเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม วางได้แล้วมันก็สบาย จิตก็สงบลง

    ชำระศีลของตนให้บริสุทธิ์ ทางตานี่เป็นศีลประเภทหนึ่ง ทางหูก็เป็นศีลประเภทหนึ่ง นำความผิดออกจากตา ออกจากหู ออกจากจมูก ออกจากลิ้น ออกจากกาย ทั้ง ๔ ทั้ง ๕ นี่แหละ ศีลทั้ง ๕ ก็อันนี่แหละ นำความผิด วามยินดียินร้ายออกจากจิตจากใจของตน ให้บริสุทธิ์หมดจด ทำให้เป็นไป จะเอาพุทโธ เป็นบริกรรมก็เอา หรือจะเอา ธัมโม เป็นบริกรรมเป็นมรรคภาวนาก็ได้ เคยทำมาแล้วก้า ครั้นได้ พุทโธ พุทโธ นี้เป็นอารมณ์ของจิตใจอยู่เป็นนิจ เวลาเอาเข้า หนักเข้าหนักเข้าลมมันก็สงบได้เหมือนกัน แต่รักษาไว้อย่าให้เป็นธรรมเมา พุทโธ พุทโธ นี่น่ะ พุทฺโธ พุทฺโธ กลายเป็น ธรรมเมา ธมฺโม ธมฺโม มันไม่เป็น ธมฺโม มันกลายเป็นธรรมเมา ไปเสีย สงฺโฆ สงฺโฆ พวกนี้ เป็นอารมณ์ของใจให้ดิ่งอยู่เป็นอันหนึ่งนานๆเข้า จิตสงบเป็นสมาธิได้เหมือนกันนั่นแหละ รักษาธรรมเมา นี่ไม่ให้เกิดอตีตา ธรรมเมา อนาคตา ธรรมเมาอดีตที่ล่วงแล้ว มันนำมาให้เป็นธรรมเมา อนาคตยังไม่มาถึงก็เป็นธรรมเมา

    ถ้าจิตดิ่งอยู่ในปัจจุบันมันจึงเป็น ธมฺโม อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา แล้วจงรักษาดีๆ มี ๒ อย่างเท่านั้นหละ มันป็นธรรมเมา นอกจากจิตดิ่งอยู่ปัจจุบันนี่เป็น ธมฺโม มันไม่หมุนตามสังขาร ไม่หมุนตามสมมติ แล้วมันก็ใช้ได้ นี่ก็พิจารณา จะเอา พุทโธ เป็นมรรค ก็ได้มรรคภาวนา หรือจะเอากายเป็นมรรค พิจารณากาย สังขาร นามรูป อันี้ให้ชำนิชำนาญ บุราณท่าน หรือสมัยนี้ก็เหมือนกัน กุลบุตรทั้งหลายที่มาบวชบรรพชาเพศ อุปัชฌาย์ท่านสอนกายนี่แหละ เป็นมรรค เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา อนุโลม ปฏิโลม ทั้งเบื้องบน พิจารณาแต่เล็บเท้าขึ้นมาถึงปลายผม เบื้องต่ำพิจารณาตั้งแต่ปลายผมถึงเล็บเท้า นี่แหละเป็นมรรค เอากายเป็นมรรค ต่อเมื่อใดวางได้หมดแล้ว ไม่ยึดรูปธรรม นามธรรมเป็นตัวเป็นตน วางได้แล้วละก็ จิตสงบได้เหมือนกันแหละ วางได้แล้ว เวทนาสงบลง สัญญาก็สงบลง สังขารความปรุงความแต่ง ความเกิด ความดับ โทษ ทุกข์ ภัย อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ดับลง วิญญาณความรู้ดีรู้ชั่ว รู้บุญ รู้บาป รู้ผิดรู้ถูกก็ดับลง หมดแล้วมันก็จิตสงบลงได้ ครั้นการรักษา ธรรมเมาหนา มันมีอดีตอนาคต หุ้มมา อดีตมันเคยได้รู้ได้เห็น จากเคยได้คุยกันว่าเล่นกัน

    เวลาตั้งจุด พุทโธ พุทโธ มันจะกลายเป็น ธรรมเมาไปเสียนี่ ครั้นเผลอก็เป็นธรรมเมาไปแล่ว เมาคิดโน่นคิดนี่อดีตที่เคยเห็นก็นำมาคิด เป็นธรรมเมาไปแล้วนั่น พุทโธ ที่จะเอาเป็นบริกรรม จะเอาเป็นอารมณ์ของใจก็ไม่ได้ มันเป็นธรรมเมาไปแล่ว มันปรุงไปแต่งไป เกิดไป ดับไป ในทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหละ จึงรักษาธรรมเมาไว้ อดีตก็เป็นธรรมเมาอันหนึ่ง อนาคตก็เป็นธรรมเมาอันหนึ่ง จิตดิ่งอยู่ปัจจุบัน รู้ปัจจุบัน ละปัจจุบัน ตัดตัณหา ตัดกิเลส ตัดมานะ ทิฏฐิ ตัดความยึดมั่น ถือมั่นของตนให้เสร็จลงแล้วก็สงบได้ รักษาแต่ธรรมเมาอันเดียวนี่แหละ ให้มันเผลอก็เป็นธรรมเมาหละครั้นไม่เผลอ พุทโธ พุทโธ ดิ่งอยู่นั่นแหละเป็อารมณ์ของใจเป็นมรรคของใจ เป็นที่พึ่งของใจก็ได้อยู่ที่ รักษาตัวเดียวเท่านั้นหละ ทำให้ติดไป เก็บดิ่งอยู่เป็นนิจ ทำอย่างนั้นก็ใช้ได้หละ

    ...ธรรมเมาแล้วหนา ไม่ให้คิดไม่ให้นึก มัวหลงเมายศเมาเกียรติไปนั่น เป็นธรรมเมา อกุสลาธรรมเมา กุสลาธรรมเมา มันตั้งอยู่นั่นแหละ อพฺยากตา ธมฺมา เป็นที่พิจารณากำหนดให้จิตดิ่ง ให้จิตสงบดีมันก็ใช้ได้ ครั้นสาวเข้าไปให้ถึงอกุสลาธรรมเมา ความหลง ความโลภ ความโกรธ มันเกิดขึ้นละก็มันเกิดกิเลส ก็ตัวนั่นแหละ ตัวหลง ตัวโลภ ตัวโกรธนั่นแหละ ตัสราคะ ตัวกิเลสตัณหา ความเจ็บ ความไข้ เป็นเหง้าเป็นงูนแห่งกิเลสทั้งหลาย กิเลสพันหน้า ตัณหาร้อยแปด เป็นอยู่ที่เจตนาตัณหานี้ ความพอใจกันก็เป็นกิเลส ความหลงความโลภนี่แหละมันเกิดขึ้น ระงับความหลง ความโลภ ความโกรธ ราคะ กิเลสนี้ ตัดออกหมดแล้ว ดับหมดแล้ว ความหลง ความโลภนี้ เราก็รู้แจ้งได้นี่หนา ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร ส่วนอันเป็นกุศล อกุศลธรรมนี้ เราละได้วางได้นี่หนา แต่งได้นี่หนา ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร แต่งให้เป็นบุญ เป็นกุศล แต่งให้เป็นทานไปได้นี่ อกุสลา ธมฺมา นี่มันแต่งมาให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง แต่งมาให้ราคะ ให้กิเลสบังเกิดขึ้นแก่จิตใจของเรา

    เมื่อมาละให้หมดได้ มันก็เป็น ธมฺโม ครั้นละไม่ได้ มันก็เป็นธรรมเมา อกุสลาธรรมเมา เมาโลภ เมาหลง เมาโกรธไปทุกแห่งทุกหนนั่นแหละ เป็นเจ้าเป็นนายของกิเลสทั้งหลาย กิเลสตัณหา กามโอฆะ ดับหมู่นี้ได้หมด ก็เออสบายอกสบายใจ บริกรรม พุทโธ ไว้ให้สงบเป็อารมณ์เดียวทำให้เคยละก็ไม่ได้เชียวหละ มันกลายเป็นธรรมเมา มันเมา เมาคิด อดีตนั่นแหละมันคิดขึ้นปรุงขึ้น แต่งขึ้น ในเรื่องของสังขาร ความเกิดความดับ โทษ ทุกข์ ภัย อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เรื่องของสังขารเข้ากับสภาพแล้วละก็ เออ เป็นธรรมเมาละคราวนี้ ให้พิจารณากายให้มากยิ่งๆ

    ในขันธ์สมมติเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม ธาตุทั้ง ๔ ที่ยึดอยู่นี้เป็นรูปธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้เป็นนามธรรม นามธรรมนี้เกิดขึ้นแล้วมันลืมตัวหนามันไม่รู้หรอกสังขารน่ะ นามธรรมอันนี้มันปรุงทีแรก ปรุงทั้งบาป ปรุงทั้งบุญ ปรุงทั้งผิดทั้งถูก ทั้งดีทั้งชั่ว ถ้าไปหลงตามก็เป็นธรรมเมาละ ครั้นไม่หลงก้เป็น ธมฺโม เมื่อละความโกรธความหลงสิ้นไปหมดแล้ว อันนี้ก็เป็น ธมฺโม อยู่เป็นนิจส่วนพิจารณา สังขาร นามรูปนั้น คงแต่เป็นเหตุที่ว่า กุสลา ธมฺมา กุศลธรรม อกุสลา ธมฺมา อกุศลธรรม นี่เราแต่งเอาได้ แต่งให้เป็นบุญ แต่งให้เป็นบาป แต่งไม่ให้โลภ แต่งไม่ให้หลง แต่งไม่ให้โกรธ แต่งไม่ให้ราคะกิเลสบังเกิดขึ้นใช้ได้ ครั้นแต่งไม่ได้ก็ตกอยู่ใต้อำนาจของความหลง ความโลภะก็ใช้ไม่ได้หละ เขาแต่งเราหนา ครั้นมันแต่งเราละก้เราเดือดร้อนหนา ความหลง ความโลภ ความโกรธ นี่แต่งเราได้ ปุญญาภิสังขาร เราแต่งให้เป็นบุญกุศลได้ อปุญญาภิสังขาร เราแต่งบาปให้เกิดแก่จิตใจของเราได้ มันก็จะเป็นธรรมเมาอยู่เป็นนิจละ

    เข้าใจแล้วก้า ทำเรื่อยๆสมควรแล้วก้า เอานักเกินไปเป็นธรรมเมาหนา ธรรมเมานี่ลำบากหนา มันเอาเรื่องมาแต่ดึกดำบรรพ์โน่นเวลามันตั้งขึ้น มันเกิดมาจากไหนไม่รู้มัน ธรรมเมานี่สำคัญพอเผลอขึ้นมาแล้ว มันเมาคิดเมานึกไปเสียแล้ว

    เอาละก้า สมควร

    อย่าเอามากมาย เอาทีละน้อย ให้มันรวมเข้า รวมเข้า รวมเข้าเป็น เอกัคตา ได้เป็นดี


    www.dhammasavana.or.th/
     

แชร์หน้านี้

Loading...