ธรรมะใต้ธรรมาสน์ ตอน 53

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย guawn, 9 ตุลาคม 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ธรรมะใต้ธรรมาสน์ ตอน 53

    ธรรมะใต้ธรรมาสน์

    ไต้ ตามทาง



    2.9 นวกนิบาต ประชุมข้อธรรม 9 ข้อ ขอยกมาแสดงพอเป็นตัวอย่างดังนี้

    (1). สอุปาทิเสสบุคคล 9 ประเภท

    1. อันตราปรินิพพายี (พระอนาคามี ผู้มีศีล สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาพอประมาณ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ได้)

    2. อุปหัจจปรินิพพายี (พระอนาคานี ผู้มีศีล สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาพอประมาณ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ได้)

    3. อสังขารปรินิพพายี (พระอนาคามี ผู้มีศีล สมาธิสมบูรณ์ มีปัญญาพอประมาณ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ได้)

    4. สสังขารปรินิพพายี (พระอนาคามี ผู้มีศีล สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาพอประมาณ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ได้)

    5. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (พระอนาคามี ผู้มีศีล สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาพอประมาณ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ได้)

    6. พระสกทาคามี (ผู้ศีลบริบูรณ์ มีสมาธิและปัญญาพอประมาณ มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง)

    7. เอกพีชี (พระโสดาบันผู้มีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิและปัญญา พอประมาณ ละสังโยชน์ 3 ได้ จักเกิดอีกครั้งเดียว ก็จักบรรลุอรหัต)

    8. โกลังโกละ (พระโสดาบัน ผู้มีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิและปัญญาพอประมาณ ละสังโยชน์ 3 ได้เกิดอีก 2-3 ครั้ง ก็จักบรรลุอรหัต)

    9. สัตตักขัตตุปรมะ (พระโสดาบันผู้มีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิและปัญญาพอประมาณ ละสังโยชน์ 3 ได้ เกิดอีกอย่างมาก 7 ครั้ง ก็จักบรรลุอรหัต)

    (2). สิ่งที่มีรากเหง้ามาจากตัณหา (ตัณหามูลธรรม) 9 ประการ

    1. มีตัณหา (ความยาก)

    2. เมื่อแสวงหาก็ได้มา (ลาภะ)

    3. เมื่อได้มาแล้วก็ได้มีการกะกำหนด (วินิจฉัย)

    4. เมื่อมีการกะกำหนด ก็มีความรักใคร่พอใจ (ฉันทราคะ)

    5. เมื่อมีความรักใคร่พอใจ ก็มีความฝังใจ (อัชโฌสานะ)

    6. เมื่อมีความฝังใจ ก็มีความหวงแหน (ปริคคหะ)

    7. เมื่อมีความหวงแหน ก็มีความตระหนี่ (มัจฉริยะ)

    8. เมื่อมีความตระหนี่ ก็มีความปกป้อง (อารักขา)

    9. เมื่อมีการปกป้อง ก็มีการถือไม้, มีด, การทะเลาะ, แก่งแย่ง, ขึ้นมึงกู, ส่อเสียด, มุสาวาท อกุศลธรรมทั้งหลายก็เกิดมีขึ้น

    (3). พราหมณ์ผู้ถือลัทธิโลกายัต 2 คน ไปทูลถามพระพุทธเจ้า เจ้าลัทธิชื่อปูรณะกัสสปะกับเจ้าลัทธิชื่อนิครนถ์นาฏบุตร ต่างก็อ้างว่าตนเป็นสัพพัญญู (รู้สิ่งทั้งปวง) เป็นสัพพทัสสาวี (เห็นสิ่งทั้งปวง) รู้เห็นโลกไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยญาณไม่มีที่สุด ทั้งสองท่านนี้ใครพูดเท็จ ใครพูดจริง

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ใครจะพูดเท็จ ใครจะพูดจริงชั่งเถอะ เราจะแสดงให้ท่านฟังดีกว่า

    "บุรุษ 4 คน มีฝีเท้าเร็วอย่างยิ่ง ออกวิ่งหาที่สุดโลกไม่พักเลย แม้มีอายุถึง 100 ปี ก็จะตายเสียก่อนถึงที่สุดโลก ในอริยวินัย คำว่า "โลก" หมายถึงกามคุณ 5 คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนให้กำหนัด ภิกษุผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ได้รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิตนิโรธ สิ้นอาสวะ ภิกษุนี้แหละจึงจะเรียกว่า ถึงที่สุดโลก"

    2.10 ทสกนิบาต ประชุมข้อธรรม 10 ข้อ ขอยกมาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

    (1). นาถกรณธรรม (ธรรมที่สร้างที่พึ่งแก่ตน) 10 อย่าง

    1. ความประพฤติดีงาม (ศีล)

    2. มีการศึกษาเล่าเรียนมาก (พาหุสัจจะ)

    3. คบเพื่อนที่ดี (กัลยาณมิตตตา)

    4. เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุฟังผล (โสวจัสสตา)

    5. เอาใจใส่ขวนขวายในกิจการน้อยใหญ่ของหมู่คณะ (กึกรณีเยสุ ทักขตา)

    6. ใฝ่ในธรรม (ธัมมกามตา)

    7. ขยันหมั่นเพียร (วิริยารัมภะ)

    8. สันโดษ ภูมิใจในผลสำเร็จที่เกิดจากความพยายาม (สันตุฏฐี)

    9. สติ ระลึกการที่ทำคำที่พูด ไม่ประมาท (สติ)

    10. ปัญญา มีเหตุมีผล รู้จักคิดพิจารณา (ปัญญา)

    นาถกรณธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พาหุการธรรม (ธรรมมีอุปการะหรือมีประโยชน์มาก) บ้าง สาราณียธรรมบ้าง

    (2). ตถาคตพลญาณ 10 ประการ

    1. ปรีชาหยั่งรู้สิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ (ฐานานานญาณ)

    2. ปรีชาหยั่งรู้ผลแห่งการกระทำทั้งอดีตและปัจจุบัน (กัมมวิปากญาณ)

    3. ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง (สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ)

    4. ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ (นานาธาตุญาณ)

    5. ปรีชาหยั่งรู้ความโน้มเอียงและความถนัดแห่งบุคคล (นานาธิมุติกญาณ)

    6. ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งหรือหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งปวง (อินทริยปโรปริยัตตญาณ)

    7. ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมองความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน สมาธิ และสมาบัติ (ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ)

    8. ปรีชาหยั่งรู้ชาติหนหลังได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)

    9. ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ)

    10. ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)

    บางแห่งเรียก "ทศพลญาณ" โปรดเทียบกับตถาคต 6 ในฉักกนิบาต

    (3). พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงมีความนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ จะทรงก้มลงจุมพิตพระยุคลบาท เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถามว่า ทำไมมหาบพิตรจึงทรงแสดงความนอบน้อมต่อตถาคตอย่างยิ่ง ได้กราบทูลว่า เพราะพระองค์ทรงประกอบด้วยคุณธรรม 10 ประการ คือ

    1. ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มาก ทรงประดิษฐานชนหมู่มากไว้ในกัลยาณธรรมในกุศลธรรม

    2. ทรงศีล

    3. ทรงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เสพเสนาสนะอันสงัด

    4. ทรงสันโดษด้วยปัจจัย 4 ตามมีตามได้

    5. ทรงเป็นผู้ควรคำนับ ของต้อนรับ ของควรทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐของโลก

    6. ทรงมีถ้อยคำขัดเกลากิเลส

    7. ทรงได้ฌาน 4 ตามปรารถนา

    8. ทรงระลึกชาติได้

    9. ทรงมีทิพยจักษุ

    10. ทรงทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ

    โปรดเทียบกับข้อความในโกศลสังยุตต์ด้วย


    ที่มาhttp://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud06061049&day=2006/10/06
     

แชร์หน้านี้

Loading...