ธรรมยาตราสู่สันติภาพโลกพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 10 พฤศจิกายน 2011.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    เนื่องในงานพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี ที่จัดขึ้นในอินเดีย ซึ่งมีธรรมยาตราของชาวพุทธร่วมอยู่ในรายการด้วย จึงขอทราบรายละเอียดที่ไปที่มาของงาน และความสืบเนื่องกับพระอาจารย์ โดยมีคำถามต่อไปนี้ที่จะขออนุญาตเป็นตัวแทนคณะสาธุชน เพื่อกราบเรียนถามเป็นข้อๆ ไป

    วิสัชนา : การจัดการประชุมพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพโลกที่ชมพูทวีป ที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ ๖๑๐ พ.ย. ๒๕๕๔ ที่สารนาถ พาราณสี (แคว้นกาสีในอดีต) ปัจจุบันอยู่ในรัฐยูพี หรืออุตตรประเทศ ซึ่งเป็นรัฐหนึ่งในประเทศอินเดียนี้ เป็นการจัดงานในสถานที่อันสำคัญในพระพุทธศาสนา เมื่อกล่าวถึงเมืองพาราณสี คนไทยคงจะทราบกันดี โดยมักนึกถึงแม่น้ำคงคาหรือป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยทรงประทับในพรรษาแรก เพื่อโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ดังที่ปรากฏเนื้อความเป็นหลักฐานในพระธัมมจักกัปปวัตตนสุตตัง ซึ่งเป็นปฐมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า และในสถานที่ดังกล่าวนี้ ปัจจุบันมี ธัมเมกขสถูป เป็นเครื่องหมายแสดงความมีอยู่จริง ว่าเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าของเราทรงเคยประทับ เพื่อทรงโปรดประทานพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกที่เทวดากระทำการสาธุการกล่าวเรียกบูชาพระธรรมดังกล่าวว่า ธัมมจักรหรืออำนาจแห่งธรรม

    โดยมีชื่อสมบูรณ์ว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสุตตัง – อันเป็นการประกาศหลักการหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ซึ่งนอกจากเป็นการแสดงถึงหลักธรรมที่เป็นอริยสัจ อันเป็นความจริงขั้นสูงสุดที่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์แล้วนั้น ยังเป็นการประกาศความเป็นจริงอีกอย่างหนึ่งว่า บัดนี้ พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว และเมื่อใดก็ตามที่มีการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสุตตัง นั่นหมายความว่า พระพุทธศาสนายังคงดำรงอยู่ในโลกนี้ พระสูตรดังกล่าวจึงเป็นพระสูตรที่เปิดฉากแสดงความอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนาในโลกนี้ในปีนี้ ชาวพุทธทั่วโลกร่วมเฉลิมฉลองสักการบูชาเนื่องใน ๒,๖๐๐ ปี ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ที่เรียกว่า พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี และเป็นการครบ ๒,๖๐๐ ปี ของการแสดงปฐมเทศนาที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    มหาโพธิสมาคมของอินเดีย (Maha Bodhi Society of India: MBSI) ซึ่งเป็นองค์กรพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ก่อตั้งโดย ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ รัตนบุรุษชาวศรีลังกา และมีการ บริหารสมาคมดังกล่าวโดยองค์กรพระพุทธศาสนาของประเทศศรีลังกา ซึ่งมีบทบาทสูงมากต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอินเดีย หรือชมพูทวีป ได้จัดให้มีงานการประชุมพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพโลก (2,600 years of Buddhism) ในระหว่างวันที่ ๖๑๐ พ.ย. ๒๕๕๔ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี

    ในเบื้องต้น นอกเหนือจากการจัดงานประชุมพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพโลกแล้ว ยังมีการจัดงานธรรมยาตรา...สู่ สันติภาพโลก (Universal Peace March) ควบคู่ไปด้วย ซึ่งในปีนี้เป็นการจัดขึ้นเป็น ครั้งที่ ๒ ด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง ๒,๖๐๐ ปี ของการตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และเป็น ๒,๖๐๐ ปี ของการแสดงพระสูตรการปฐมเทศนาที่ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พาราณสี

    อาตมาได้รับหนังสือนิมนต์ให้เป็นผู้นำ (ประธาน) ขบวนธรรมยาตรา เพื่อเคลื่อนกองทัพธรรมเข้าสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน บนเส้นทางที่ผ่านเข้าเมืองพาราณสี ซึ่งกำหนดเส้นทางของขบวนธรรมยาตราโดยมหาโพธิสมาคม ซึ่งคงจะไม่ไกลมากนัก เพื่อยาตราเข้าสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันอันมีธัมเมกขสถูปประดิษฐานอยู่ ซึ่งเป็นเครื่องหมายการแสดงความมีอยู่จริงว่า สถานที่แห่งนี้พระพุทธเจ้าของเราทรงประทานพระปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ และเป็นสถานที่ซึ่งรับรองการประกาศว่า พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว โดยในกาลครั้งนั้นได้มีเทวดามากมายมาประชุมกันอย่างเนืองแน่น เพื่อกระทำการอนุโมทนาสาธุการ และในเหตุการณ์ครั้งนั้นได้เกิดรัตนะเกิดขึ้นครบถ้วน ๓ ประการ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ซึ่งชาวพุทธรู้จักวันสำคัญดังกล่าวในชื่อที่เรียกกันว่า อาสาฬหบูชา

    ในปีนี้ พระสงฆ์จากประเทศไทย พร้อมด้วยคณะศรัทธาสาธุชนชาวไทยจำนวนหนึ่ง จะเดินทางไปร่วมประชุมพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพโลกที่สารนาถ พาราณสีฯ และจะเข้าร่วมธรรมยาตรา...สู่ สันติภาพโลก (Universal Peace March) ในวันที่ ๖ พ.ย. ต่อเนื่องด้วยการปฏิบัติธรรมรับกรรมฐานเจริญวิปัสสนาญาณ (Vipassana Meditation Camp) ในวันที่ ๗๙ พ.ย. และต่อเนื่องด้วยการเข้าประชุมร่วมกับผู้แทนองค์กรพระพุทธศาสนาจากทั่วโลก เพื่อประชุมในเรื่อง พระพุทธศาสนากับสันติภาพโลก โดยในการจัดงานของมหาโพธิสมาคมปีนี้ อาตมาได้รับนิมนต์ไปเป็นพระวิปัสสนาจารย์ตลอดทั้ง ๓ วัน มีพระอินเดีย พระนานาชาติ เข้าร่วมงานจำนวนมาก ก็ขอเชิญชวนให้สาธุชนทั้งหลายที่สนใจได้เดินทางไปร่วมกัน (นอกเหนือจากการได้รับนิมนต์ไปเป็นผู้นำแห่งขบวนธรรมยาตรา

    โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
    ธรรมยาตราสู่สันติภาพโลกพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี (ตอน ๑) - โพสต์ทูเดย์ ข่าวธรรมะ-จิตใจ-
     
  2. พรหมาวตาร

    พรหมาวตาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +66
    หนทางนี้แลเป็นหนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด[FONT=TH SarabunIT๙] ได้แก่สิ่งเหล่านี้ [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]<O:p[/FONT][FONT=TH SarabunIT๙]1. ความเห็นชอบ คือความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์ เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้ [/FONT][FONT=TH SarabunIT๙]“สัมมาทิฏฐิ” [/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]<O:p</O:p[/FONT][FONT=TH SarabunIT๙]2. ความดำริชอบ คือความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้ [/FONT][FONT=TH SarabunIT๙]“สัมมาสังกัปโป”<O:p[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]<O:p[/FONT][FONT=TH SarabunIT๙]3. การพูดจาชอบ คือเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้ “สัมมาวาจา"[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]4. การทำการงานชอบ คือเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้ [/FONT][FONT=TH SarabunIT๙]“สัมมากัมมันโต”<O:p</O:p[/FONT]
    <O:p</O:p
    [FONT=TH SarabunIT๙]5. การเลี้ยงชีวิตชอบ คือสาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ในการเลี้ยงชีพที่ชอบ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้ [/FONT][FONT=TH SarabunIT๙]“สัมมาอาชีโว”[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]6. ความพากเพียรชอบ คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายามปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียรตั้งจิตไว้เพื่อละอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลื่อน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้ “สัมมาวายาโม”[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]7. ความระลึกชอบ คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้ [/FONT][FONT=TH SarabunIT๙]“สัมมาสะติ”[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]8. ความตั้งมั่นชอบ คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌานเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุข อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่ อนึ่งเพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะและย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้นั้นว่า [/FONT][FONT=TH SarabunIT๙]“เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่ง โสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อันนี้ “สัมมาสมาธิ”[/FONT]
    [FONT=TH SarabunIT๙]ศาสนาใดมีมรรคครบองค์แปด ศาสนานั้นไม่ว่างเว้นพระอริยเจ้า<O:p</O:p[/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...