ท่านพระอานนท์สอนกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 20 พฤศจิกายน 2009.

  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    [​IMG]

    [๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
    ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
    ทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย
    มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะ
    เป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อม
    เกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
    ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
    นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ
    ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
    เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำ
    ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
    ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
    สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
    มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์
    อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรค
    หนึ่ง ฯ

    [๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

    ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
    วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพ
    ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้
    สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
    วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรม
    ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ
    เป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วง
    เกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯ

    คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ

    สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสังกัปปะด้วย
    อรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรค
    ย่อมเกิด สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิด
    สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวายามะด้วยอรรถ
    ว่าประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรค
    ย่อมเกิด สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด มรรคย่อม
    เกิดอย่างนี้ ฯ

    คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
    มรรคนั้น ดังนี้ ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ

    ภิกษุนั้น นึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ เห็นอยู่ชื่อว่าเสพ
    พิจารณาอยู่ชื่อว่าเสพ อธิษฐานจิตอยู่ชื่อว่าเสพ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาชื่อว่า
    เสพ ประคองความเพียรไว้ชื่อว่าเสพ ตั้งสติไว้มั่นชื่อว่าเสพ ตั้งจิตไว้อยู่
    ชื่อว่าเสพ ทราบชัดด้วยปัญญาชื่อว่าเสพ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ชื่อว่าเสพ
    กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ชื่อว่าเสพ ละธรรมที่ควรละชื่อว่าเสพ เจริญ
    ธรรมที่ควรเจริญชื่อว่าเสพ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อม
    เสพอย่างนี้ ฯ

    คำว่า เจริญ ความว่า เจริญอย่างไร ฯ

    ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ ... ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่า
    เจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ

    คำว่า ทำให้มาก ความว่า ทำให้มากอย่างไร ฯ

    ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก ... ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
    ชื่อว่าทำให้มาก ทำให้มากอย่างนี้ ฯ

    คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
    ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป อย่างไร ฯ

    ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
    *ปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วย
    โสดาปัตติมรรค ฯ

    ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วน
    หยาบๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ
    ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ฯ

    ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
    ส่วนละเอียดๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วน
    ละเอียดๆ ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ฯ

    ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
    อวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อม
    สิ้นไปด้วยอรหัตมรรค ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ

    [๕๓๖] ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่
    พยาบาท เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่ง
    อาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
    สามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ด้วยสามารถความ
    เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
    พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็น
    ทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามี
    ภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ


    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม
    ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ... ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ

    คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯ

    สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด ... มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ

    คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ ฯลฯ เจริญ ทำให้
    มากซึ่งมรรคนั้น ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ

    ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควร
    ทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ

    คำว่า ย่อมเจริญ ความว่า ย่อมเจริญอย่างไร ฯ

    ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ รู้อยู่ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่
    ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ

    คำว่า ทำให้มาก ความว่า ย่อมทำให้มากอย่างไร ฯ

    ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก รู้อยู่ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่ง
    ธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าทำให้มาก ย่อมทำให้มากอย่างนี้ ฯ

    คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
    ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป อย่างไร ... ฯ

    [๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

    วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความ
    เป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
    วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
    ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

    เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
    เกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วย
    อรรถว่าพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ
    เป็นอนัตตา

    ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์
    และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนา
    มีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนา
    เป็นเบื้องต้น ฯ

    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็น
    ที่เสพ ฯ

    คำว่า มรรคย่อมเกิด ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละ
    สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนา
    สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา และมรณะ โดยความเป็นสภาพ
    ไม่เที่ยง ฯลฯ โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมี
    การปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และความที่จิตมีอารมณ์
    เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ คำว่า ย่อมเกิด ความว่า
    มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้
    อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างนี้ ฯ

    [๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

    ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วย
    ความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑
    ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑ ด้วยความ
    เป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความ
    เป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่าง
    เปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและ
    กัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ

    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มี
    นิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
    เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
    จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ

    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
    ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
    เกิดอย่างนี้ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะ
    และวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ อย่างนี้ ฯ

    ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจรอย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
    มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธ
    เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
    ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า
    เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจร ฯ

    [๕๓๙] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความละอย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ
    ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสอัน
    ประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็น
    โคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่
    ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะ
    และวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความละ ฯ

    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละอย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ ความ
    ที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วย
    อวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
    ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกัน
    และกัน ด้วยความสละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและ
    วิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละ ฯ

    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความออกอย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
    คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจาก
    กิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มี
    นิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
    เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความออก เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
    กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความออก ฯ

    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไปอย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
    คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีกไป
    จากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
    มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
    เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลีกไป เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
    กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไป ฯ

    [๕๔๐] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรม
    ละเอียดอย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
    เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
    พิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะ
    และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
    เป็นธรรมละเอียด เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
    คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ฯ

    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต
    อย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
    เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
    พิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและ
    วิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็น
    ธรรมประณีต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
    คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต ฯ

    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
    เป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
    พิจารณาเห็น เป็นหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าเจโตวิมุติ
    เพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุติเพราะสำรอกอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะ
    และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
    หลุดพ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน
    ด้วยความหลุดพ้น ฯ

    [๕๔๑] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ
    อย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
    เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
    วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอ
    วิชชาสวะ มีนิโรธ
    เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
    ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ ฯ

    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้ามอย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือ
    ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลส
    อันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธ
    เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
    ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าว
    ว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ฯ

    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิตร อย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
    เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
    วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธ
    เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
    ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิตร เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีนิมิตร ฯ

    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
    เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนา
    ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร
    ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วง
    เกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
    สมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ฯ

    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
    เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
    วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธ
    เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
    ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า ฯ

    ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม
    ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
    อันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกัน
    และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯลฯ คำว่า มรรค
    ย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อม
    ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน
    ด้วยความว่างเปล่าอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยอาการ ๑๖

    เหล่านี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันอย่างนี้ ฯ

    [๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมี
    อย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึก
    ถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ
    ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดย
    ความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น

    ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิต
    ที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
    มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้
    อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ
    ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร)
    อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุ
    นึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความ
    ฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความ
    เป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ
    เป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น

    ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรม
    ถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้ง
    มั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิด
    อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุ
    มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาส
    ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
    ย่อมเกิดขึ้น

    ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ
    พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อม
    ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความ
    เป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึก
    ถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ

    [๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อ
    ภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา
    เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
    โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาส
    ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
    ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ
    พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อม
    ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
    โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบ
    อยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อม
    เกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อม
    สิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ

    จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ
    สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจาก
    ความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ

    ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ

    นึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึง
    ความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจาก
    จิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป
    จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่
    ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วย
    ฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัด
    แกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ
    ฉะนี้แล ฯ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

    [​IMG]

    [​IMG]



    พระธาตุท่านพระอานนท์สัณฐานดั่งใบบัวเผื่อน พรรณดำดั่งน้ำรัก หรือสีขาวสะอาดดั่งสีเงิน

    [​IMG]



    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



    สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ

    (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

    สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานคือสมถะ, งานฝึกจิตให้สงบ;

    อธิกรณสมถะ ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์, วิธีดำเนินการเพื่อระงับอธิกรณ์มี ๗ อย่าง คือ
    ๑. สัมมุขาวินัย วิธีระงับในที่พร้อมหน้า
    ๒. สติวินัย วิธีระงับโดยถือสติเป็นหลัก
    ๓. อมูฬหวินัย วิธีระงับสำหรับผู้หายจากเป็นบ้า
    ๔. ปฏิญญาตกรณะ การทำตามที่รับ
    ๕. ตัสสปาปิยสิกา การตัดสินลงโทษแก่ผู้ผิด (ที่ไม่รับ)
    ๖. เยภุยยสิกา การตัดสินตามคำของคนข้างมาก
    ๗. ติณวัตถารกวินัย วิธีดุจกลบไว้ด้วยหญ้า (ประนีประนอม


    เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา


    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 9</TD></TR></TBODY></TABLE>
    วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
    ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
    การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น
    (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)
    ดู ภาวนา, ไตรลักษณ์

    วิปัสสนากัมมัฏฐาน กรรมฐานคือวิปัสสนา; ดู วิปัสสนา


    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 9</TD></TR></TBODY></TABLE>
    วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ
    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
    ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ
    ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
    ๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
    ๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์


    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 4 / 9</TD></TR></TBODY></TABLE>
    วิปัสสนาธุระ ธุระฝ่ายวิปัสสนา, ธุระด้านการเจริญวิปัสสนา, กิจพระศาสนาในด้านการบำเพ็ญกรรมฐาน;
    เทียบ คันถธุระ


    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 5 / 9</TD></TR></TBODY></TABLE>
    วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่ถึงขั้นเป็นวิปัสสนา, ปัญญาที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเข้าใจสังขารตามความเป็นจริง


    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 6 / 9</TD></TR></TBODY></TABLE>
    วิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนา;
    ดู ภาวนา, วิปัสสนา


    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 7 / 9</TD></TR></TBODY></TABLE>
    วิปัสสนายานิก ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน คือผู้เจริญวิปัสสนาโดยยังไม่ได้ฌานสมาบัติมาก่อน


    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 8 / 9</TD></TR></TBODY></TABLE>
    สมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนา


    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 9 / 9</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา ดู วิปัสสนูปกิเลส


    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


    [311] วิปัสสนาญาณ 9 (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือที่จัดเป็นวิปัสสนา คือ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง — insight-knowledge)
    1. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on rise and fall)
    2. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on dissolution)
    3. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น -- knowledge of the appearance as terror)
    4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์ — knowledge of contemplation on disadvantages)
    5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ — knowledge of contemplation on dispassion)
    6. มุญจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น — knowledge of the desire for deliverance)
    7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป — knowledge of reflective contemplation)
    8. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้ — knowledge of equanimity regarding all formations)
    9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป — conformity-knowledge; adaptation-knowledge)

    ธรรมหมวดนี้ ท่านปรุงศัพท์ขึ้น โดยถือตามนัยแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นำมาอธิบายพิสดารในวิสุทธิมรรค แต่ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเติม สัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ 5 ตามแนวไตรลักษณ์ — Comprehension-knowledge) เข้ามาเป็นข้อที่ 1 จึงรวมเป็น วิปัสสนาญาณ 10 และเรียกชื่อญาณข้ออื่นๆ สั้นกว่านี้ คือ เรียก อุทยัพพย<WBR>ญาณ ภังค<WBR>ญาณ ภย<WBR>ญาณ อาทีนว<WBR>ญาณ นิพพิทา<WBR>ญาณ มุญจิตุ<WBR>กัมยตา<WBR>ญาณ ปฏิสังขา<WBR>ญาณ สังขารุเปกขา<WBR>ญาณ อนุโลม<WBR>ญาณ

    ดู [285] วิสุทธิ 7; [345] ญาณ 16


    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    ปฏิสัมภิทามรรค ทางแห่งปฏิสัมภิทา, ข้อปฏิบัติที่ทำให้มีความแตกฉาน;
    ชื่อคัมภีร์หนึ่งแห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก เป็นภาษิตของพระสารีบุตร

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>มรรค ทาง, หนทาง
    1. มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่าทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ
    ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
    ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
    ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
    ๔. สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ
    ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
    ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
    ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
    ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ;
    ดู โพธิปักขิยธรรม
    2. มรรค ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรม คู่กับผล มี ๔ ชั้นคือ
    โสดาปัตติมรรค ๑
    สกทาคามิมรรค ๑
    อนาคามิมรรค ๑
    อรหัตตมรรค ๑

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>มรรคจิต จิตที่สัมปยุตด้วยมรรค;
    ดู มรรค 2,
    พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ตั้งอยู่ชั่วขณะมรรคจิตเท่านั้น พ้นจากนั้นก็จะเกิดผลจิต กลายเป็นผู้ตั้งอยู่ในผล มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 4 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>มรรคนายก “ผู้นำทาง”,
    ผู้แนะนำจัดแจงในเรื่องทางบุญทางกุศล และเป็นหัวหน้านำชุมชนฝ่ายคฤหัสถ์ในศาสนพิธี ตามปกติทำหน้าที่ประจำอยู่กับวัดใดวัดหนึ่ง เรียกว่าเป็นมรรคนายกของวัดนั้นๆ,
    ผู้นำทางบุญของเหล่าสัปบุรุษ

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 5 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>โลกุตตราริยมรรคผล อริยมรรคและอริยผลที่พ้นวิสัยของโลก

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 6 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>วิสุทธิมรรค ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา;
    พระพุทธโฆษาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖ เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก
    ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้
    พระพุทธโฆษาจารย์จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้งสองนั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป
    พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 7 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>สกทาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระสกทาคามี,
    ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง,
    สกิทาคามิมรรค ก็เขียน

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 8 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>โสดาปัตติมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระโสดาปัน,
    ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 9 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>องค์มรรค (บาลีว่า มคฺคงฺค) องค์ประกอบของมรรค,
    องค์ธรรม ๘ อย่าง มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ที่ประกอบกันเข้าเป็นมรรค
    หรือที่เรียกชื่อเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค;
    ดู มรรค 1.

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 10 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>อนาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระอนาคามี,
    ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ทั้ง ๕
    (คือ ละได้เด็ดขาดอีก ๒ อย่าง ได้แก่ กามราคะ และปฏิฆะ เพิ่มจาก ๓ อย่างที่พระโสดาบันละได้แล้ว)

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 11 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>อรหัตตมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุ คือความเป็นพระอรหันต์,
    ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 12 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>อริยมรรค ทางอันประเสริฐ, ทางดำเนินของพระอริยะ,
    ญาณอันให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ มี ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค;
    บางทีเรียกมรรคมีองค์ ๘ ว่า อริยมรรค ก็มี แต่ควรเรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 13 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>อริยอัฏฐังคิกมรรค มรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ;
    ดู มรรค

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 14 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>อารยอัษฎางคิกมรรค ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ;
    ดู มรรค

    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 15 / 15</TD></TR></TBODY></TABLE>เอกายนมรรค ทางอันเอก คือ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจด หมดความทุกข์ และบรรลุนิพพาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔;
    อย่างกว้าง เช่น ในมหานิทเทส หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ด้วย

    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    [164] มรรค 4 (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด - the path)
    1. โสดาปัตติมรรค (มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส - the path of stream-entry)
    2. สกทาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง - the path of once-returning)
    3. อนาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง 5 - the path of non-returning)
    4. อรหัตตมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง 10 - the path of Arahantship).

    ดู [329] สังโยชน์ 10.

    <TABLE class=ref width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="50%">Vbh.335. <TD>อภิ.วิ. 35/837/453.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 3</TD></TR></TBODY></TABLE>[280] บุพนิมิตแห่งมรรค 7 (ธรรมที่เป็นเครื่องหมายบ่งบอกล่วงหน้าว่า มรรคมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐจะเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ดุจแสงอรุณเป็นบุพนิมิตของการที่ดวงอาทิตย์จะอุทัย, แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดี, รุ่งอรุณของการศึกษา - a foregoing sign for the arising of the Noble Eightfold Path; precursor of the Noble Path; harbinger of a good life or of the life of learning)
    1. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร, มีมิตรดี, คบหาคนที่เป็นแหล่งแห่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี - good company; having a good friend; association with a good and wise person)
    2. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล, การทำศีลให้ถึงพร้อม, ตั้งตนอยู่ในวินัยและมีความประพฤติทั่วไปดีงาม - perfection of morality; accomplishment in discipline and moral conduct)
    3. ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ, การทำฉันทะให้ถึงพร้อม, ความใฝ่ใจอยากจะทำกิจหน้าที่และสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้ดีงาม, ความใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ - perfection of aspiration; accomplishment in constructive desire)
    4. อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยตนที่ฝึกดีแล้ว, การทำตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของผู้ที่พัฒนาแล้วให้สมบูรณ์ ทั้งด้านกาย ศีล จิต และปัญญา [ที่จะเป็น ภาวิตัตต์ คือผู้มีตนอันได้พัฒนาแล้ว] - perfection of oneself; accomplishment in self that has been well trained; dedicating oneself to training for the realization one's full human potential; self-actualization)
    5. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ, การทำทิฏฐิให้ถึงพร้อม, การตั้งอยู่ในหลักความคิดความเชื่อถือที่ถูกต้องดีงามมีเหตุผล เช่น ถือหลักความเป็นไปตามเหตุปัจจัย - perfection of view; accomplishment in view; to be established in good and reasoned principles of thought and belief)
    6. อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท, การทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม - perfection of heedfulness; accomplishment in diligence)
    7. โยนิโสมนสิการสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ, การทำโยนิโสมนสิการให้ถึงพร้อม, ความฉลาดคิดแยบคายให้เห็นความจริงและหาประโยชน์ได้ - perfection of wise reflection; accomplishment in systematic attention)

    เมื่อใดธรรมที่เป็นบุพนิมิต 7 ประการนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดมีในบุคคลแล้ว เมื่อนั้นย่อมเป็นอันหวังได้ว่าเขาจักเจริญ พัฒนา ทำให้มาก ซึ่งมรรคมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐ คือจักดำเนินก้าวไปในมัชฌิมาปฏิปทา

    ดู [34] ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2, [293] มรรคมีองค์ 8.

    <TABLE class=ref width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="50%">S.V.30-31.
    Vbh.277
    <TD>สํ.ม. 19/130-136/36</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 3</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER>อัฏฐกะ - หมวด 8 </CENTER><CENTER>Groups of Eight </CENTER><CENTER>(including related groups) </CENTER>[***] ฌาน 8 ดู [10] ฌาน 8.

    [293] มรรคมีองค์ 8 หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐ” — the noble Eightfold Path); องค์ 8 ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path) มีดังนี้
    1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Right View; Right Understanding)
    2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป — Right Thought) ดู [69] กุศลวิตก 3
    3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4 — Right Speech)
    4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3 — Right Action)
    5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Right Livelihood)
    6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 — Right Effort)
    7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 — Right Mindfulness)
    8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4 — Right Concentration)

    องค์ 8 ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ 3 ข้อต้น คือ ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา ดู [124] สิกขา 3; [204] อริยสัจจ์ 4; และหมวดธรรมที่อ้างถึงทั้งหมด
    มรรคมีองค์ 8 นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ดู [15] ที่สุด 2

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


    สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
    ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
    ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
    ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
    ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
    ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
    ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
    ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
    ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
    ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
    ๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
    ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
    ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;
    พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
    พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
    พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
    พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;
    ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ
    ๑. กามราคะ
    ๒. ปฏิฆะ
    ๓. มานะ
    ๔. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
    ๕. วิจิกิจฉา
    ๖. สีลัพพตปรามาส
    ๗. ภวราคะ (ความติดใจในภพ)
    ๘. อิสสา (ความริษยา)
    ๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
    ๑๐. อวิชชา


    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 3</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง
    ได้แก่ กิเลสผูกใจสัตว์อย่างละเอียด มี ๕
    คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
    พระอรหันตจึงละได้;
    ดู สังโยชน์


    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 3</TD></TR></TBODY></TABLE>
    โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ,
    กิเลสผูกใจสัตว์อย่างหยาบ มี ๕ อย่าง คือ
    สักกายทิฏฐิ
    วิจิกิจฉา
    สีลัพพตปรามาส
    กามราคะ
    ปฏิฆะ;

    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    [329] สังโยชน์ 10<SUP></SUP> (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล — fetters; bondage)
    ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ — lower fetters)
    1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น — personality-view of individuality)
    2. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ — doubt; uncertainty)
    3. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร — adherence to rules and rituals)
    4. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ — sensual lust)
    5. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง — repulsion; irritation)

    ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง — higher fetters)
    6. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ — greed for fine-material existence; attachment to realms of form)
    7. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ — greed for immaterial existence; attachment to formless realms)
    8. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ — conceit; pride)
    9. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน — restlessness; distraction)
    10. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง — ignorance)

    สังโยชน์ 10 ในหมวดนี้ เป็นแนวพระสูตร หรือ สุตตันตนัย แต่ในบาลีแห่งพระสูตรนั้นๆ มีแปลกจากที่นี้เล็กน้อย คือ ข้อ 4 เป็น กามฉันท์ (ความพอใจในกาม — desire) ข้อ 5 เป็น พยาบาท (ความขัดเคือง, ความคิดร้าย — illwill) ใจความเหมือนกัน

    ลำดับการละสังโยชน์ 10 นี้ ให้ดู [164] มรรค 4.

    <TABLE class=ref width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="50%">S.V.61;
    A.V.13;
    Vbh.377
    <TD>สํ.ม. 19/349/90;
    องฺ.ทสก. 24/13/18;
    อภิ.วิ. 35/976-977/509.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width=600><TBODY><TR><TD align=right>แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 2</TD></TR></TBODY></TABLE>[330] สังโยชน์ 10<SUP></SUP> (ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ — fetters; bondage)
    1. กามราคะ
    2. ปฏิฆะ
    3. มานะ
    4. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด — false views)
    5. วิจิกิจฉา
    6. สีลัพพตปรามาส
    7. ภวราคะ (ความติดใจปรารถนาในภพ — greed for existence)
    8. อิสสา (ความริษยา — envy; jealousy)
    9. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ — meanness; stinginess)
    10. อวิชชา

    สังโยชน์ 10 ในหมวดนี้ เป็นแนวพระอภิธรรม หรือ อภิธรรมนัย ได้แสดงความหมายไว้เฉพาะข้อที่ต่างจากหมวดก่อน

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    อนุสัย กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน มี ๗ คือ
    ๑. กามราคะ ความกำหนัดในกาม
    ๒. ปฏิฆะ ความหงุดหงิด
    ๓. ทิฏฐิ ความเห็นผิด
    ๔. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
    ๕. มานะ ความถือตัว
    ๖. ภวราคะ ความกำหนดในภพ
    ๗. อวิชชา ความไม่รู้จริง

    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    [288] อนุสัย 7 (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน — latent tendencies)
    1. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความอยากได้ติดใจในกาม — lust for sense-pleasure)
    2. ปฏิฆะ (ความขัดใจ, ความหงุดหงิดขัดเคืองคือโทสะ — repulsion; irritation; grudge)
    3. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด, การถือความเห็น เอาความคิดเห็นเป็นความจริง — wrong view; speculative opinion)
    4. วิจิกิจฉา (ความลังเล, ความสงสัย — doubt; uncertainty)
    5. มานะ (ความถือตัว — conceit)
    6. ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ, ความอยากเป็น อย่างยิ่งใหญ่ อยากยั่งยืน — lust for becoming)
    7. อวิชชา (ความไม่รู้จริง คือ โมหะ — ignorance)

    อนุสัย 7 นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังโยชน์ 7

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    โอภาส
    1. แสงสว่าง, แสงสุกใส ผุดผ่อง (ข้อ ๑ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐)
    2. การพูดหรือแสดงออกที่เป็นเชิงเปิดช่องทางหรือให้โอกาส เช่นที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำโอภาส ณ ที่ต่างๆ หลายแห่ง ซึ่งถ้าพระอานนท์เข้าใจ ก็จะทูลขอให้ทรงดำรงพระชนม์อยู่ตลอด(อายุ)กัป

    อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน, จิตต์ส่าย, ใจวอกแวก

    เนกขัมมะ การออกจากกาม, การออกบวช, ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน

    วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา,

    สภาพน่าชื่นชม แต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ
    ๑. โอภาส แสงสว่าง
    ๒. ปีติ ความอิ่มใจ
    ๓. ญาณ ความรู้
    ๔. ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต
    ๕. สุข ความสบายกาย สบายจิต
    ๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ
    ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี
    ๘. อุปัฏฐาน สติชัด
    ๙. อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง
    ๑๐. นิกันติ ความพอใจ

    [328] วิปัสสนูปกิเลส 10 (อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, ธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้ตรุณวิปัสสนา หรือวิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางให้ไม่ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ — im-perfection or defilements of insight)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2009
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    โมทนาสาธุธรรมครับ.....เป็นไปได้ถ้ามีลิงค์....อะไรช่วยบอกหน่อยนะครับ....มีประโยชน์อย่างมากเลย....
     
  3. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    ท่านใดสนใจค้นคว้า เข้าที่นี่
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    เคยอ่านเจอข้อความนี้ในหนังสือ พุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ แต่ยังไม่ได้ไปศึกษาต้นขั้ว....วันนี้ได้อ่าน.....และมีแหล่งอ้างอิง....ให้ศึกษา.....

    โมทนาสาธุธรรมอีกทีครับ.....



    [​IMG]


    สมถะหรือวิปัสสนาก่อน

    ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

    พระอานนท์ตอบ ว่า “....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป.... มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

    ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
    ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
    ตอ. G.S. II : ๑๖๒

    ข้อความหนึ่งจาก หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์.... กราบนมัสการพระมหาเถระเจ้าอานนท์...
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2009
  5. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    โมทนาสาธุบุญเจ้าค่ะ

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px" cellSpacing=1 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px" colSpan=2>จิตที่ดำเนินไปในเส้นทางมหาสติปัฏฐานสี่ อริยมรรคมีองค์แปด ... ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมเดินไปพร้อมกัน
    ธรรมจักรย่อมหมุนไป ตัดกระแสแห่งวัฏฏสงสาร เพื่อถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน อันเป็นสภาพสิ้นทุกข์ ไม่มีความกังวล




    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px" colSpan=2>พระพุทธองค์ ตรัสเปรียบเทียบว่า

    " หม้อน้ำที่ไม่ฐานรองรับ ย่อมกลิ้งตกไป ได้ง่าย หม้อน้ำที่มีฐานรองรับ ย่อมกลิ้งตกไปได้ยากฉันใด
    จิตที่ไม่มี ฐานรองรับ ย่อมตกไปในที่ต่ำได้ง่าย ส่วนจิตที่มีฐานรองรับ ย่อมตกไปที่ต่ำได้ยากฉันนั้น..."



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
     
  7. อิทธิปาฏิหาริย์

    อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,834
    ค่าพลัง:
    +1,472
  8. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ทางเดิน4ทาง สู่ ...ที่สุดแห่งทุกข์

    จาก หนังสือพุทธธรรม ฉบับขยายความ

    หน้า326

    “๑) สมถปุพพังคมวิปัสสนา วิปัสสนามีสมถะนำหน้า (เรียกเต็มว่า สมถปุพพังคมวิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า)
    ๒) วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า (เรียกเต็มว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถภาวนา การเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า)
    ๓) ยุคนัทธสมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน (เรียกเต็มว่า สมถวิปัสสนายุคนัทธภาวนา การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่ไปด้วยกัน)
    ๔) ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ คือ ความฟุ้งซ่านธรรม หรือ ตื่นธรรม (ความเข้าใจผิดยึดเอาผลที่ประสบในระหว่างว่าเป็นมรรคผลนิพพาน)…”

    ในสมัยพุทธกาล มีแนวทางสู่ที่สุดแห่งทุกข์ อยู่๔ แนวทางหลัก

    พอถึง ยุคสมัยอรรถกถา ก็มีการผนวกบางแนวทางแทรกเข้าไปไว้ในแนวทางอื่น และ ยุบรวมบางแนวทางไปไว้ในแนวทางอื่น... ก็เลยปรากฏว่า ในรุ่นอรรถกถา มีเหลืออยู่เพียงสองแนวทางหลัก คือ
    1.สมถะยานิก(เจริญสมถะก่อนจนได้ฌานแล้วใช้ฌานเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรง)
    และ
    2.วิปัสสนายานิก(เจริญวิปัสสนาโยตรงแล้วฌานจะปรากฏตามมาเอง)
    ดังที่ คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลจำนวนมากยึดถือเป็นหลักกัน

    ในหนังสือ พุทธธรรม หน้า 330 กล่าวประเด็นนี้ไว้ดังนี้

    “บรรดาวิธีทั้ง๔ที่กล่าวมานี้
    ถ้าถือตามแนวทางของอรรถกถาแล้ว ก็จัดได้ว่ามีวิธีที่เป็นหลักใหญ่เพียง๒ อย่าง คือ

    วิธีที่๑ วิปัสสนามีสมถะนำหน้า

    และ วิธีที่๒ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า

    ส่วนสองวิธีหลังเป็นเพียงวิธีการที่แทรกซ้อนเข้ามาในระหว่างปฏิบัติ หรือเป็นส่วนเสริมขยายออกไปจากสองวิธีแรก

    กล่าวคือ วิธีที่๓ สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน จัดได้ว่าเป็นข้อปฎิบัติส่วนที่ซับซ้อน ซึ่งซอยหรือ ขยายออกไปจากวิธีที่๑ นั่นเอง

    ส่วนวิธีที่๔ ทางออกเมื่อจิตเขวด้วยธรรมุธัจจ์ ก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติที่แทรกเข้ามาในระหว่าง ในเมื่อปฏิบัติตามวิธีการตามข้อต้นๆ ไปบ้างแล้ว จนถึงขั้นตอนหนึ่งที่เกิดปัญหาอย่างนี้ขึ้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติพิเศษเฉพาะกรณี หรือ เป็นกลวิธีอย่างหนึ่ง สำหรับใชแก้ปัญหาบางอย่างในระหว่างการปฏิบัติธรรม...”

    ในแนวทางที่๒ ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่สุด

    คือ การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า(อย่างเดียวกับ เจริญสมถะอันมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น)ในสมัยพุทธกาล หรือ วิปัสสนายานิกในรุ่นอรรถกถา.

    อนึ่ง แนวทางนี้ มีความเห็นไม่ตรงกัน ในระดับผู้เชี่ยวชาญ ทั้งๆที่ใช้พระสูตรเดียวกัน อรรถกถาเดียวกัน อธิบาย !!!

    …………..

    ลองอ่าน พระบาลี

    [๕๓๗] กถํ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวติ ฯ
    อนิจฺจโต อนุปสฺสนฏฺเน วิปสฺสนา ทุกฺขโต อนุปสฺสนฏฺเน วิปสฺสนา
    อนตฺตโต อนุปสฺสนฏฺเน วิปสฺสนา
    ตตฺถ ชาตานํ ธมฺมานํ จ โวสฺสคฺคารมฺมณตา จิตฺตสฺส เอกคฺคตา อวิกฺเขโปสมาธิ
    อิติ
    ปฐมํ วิปสฺสนา ปจฺฉา สมโถ
    เตน วุจฺจติ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวติ ฯ

    [๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ
    วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
    ความที่ จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
    ด้วยประการดังนี้
    วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

    พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
    ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา


    และ จากอรรกถา

    บทว่า วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถ ภาเวติ ย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น คือ ภิกษุเจริญสมถะ ทำวิปัสสนาให้เป็นเบื้องต้น คือให้ไปถึงก่อน. ความว่า ยังวิปัสสนาให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญสมาธิภายหลัง.
    ………………….

    สังเกตุคำในอรรกถาน่ะครับ ตรงคำว่า "ยังวิปัสสนาให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญสมาธิภายหลัง" .

    การเจริญสมาธิภายหลังนั้น หมายเอา ภายหลังจากเจริญวิปัสสนา(และ กำลังจะบรรลุธรรม) หรือ ภายหลังจากบรรลุอรหัตตผลไปแล้ว?



    นี่เป็นประเด็นสำคัญ ที่จะแสดงต่อไป


    @ กลุ่มแรก จะมีความเห็นว่า “สมถะ (ฌาน หรือ เอกัคคตาจิต)”ในการเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า นั้น เป็นลักษณะที่ว่า สมถะจะเป็นของที่ปรากฏตามมาเองโดยอัตโนมัติในการเจริญวิปัสสนาโดยตรง(แนวทางนี้ไม่ได้ฌานมาก่อน).

    ในกลุ่มนี้ มีผู้เชี่ยวชาญด้านปริยัติ เช่น ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านแสดงไว้.
    และ พระสุปฏิปันโนด้านปฏิบัติโดยตรง เช่น หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย , หลวงปู่ ชาสุภัทโท ท่านได้กล่าวถึงเอกัคคตาจิตที่เป็นผลจากวิปัสสนาโดยตรงไว้เช่นกัน

    ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านแสดงความเห็นไว้ดังนี้
    จาก หนังสือพุทธธรรม หน้า328

    “ขยายความตามอรรถกถาว่า ผู้ปฏิบัติยังมิได้ทำสมถะให้เกิดขึ้นเลย แต่มาพิจารณาเห็นแจ้งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามสามัญลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น อันนับว่าเป็นวิปัสสนา พอวิปัสสนาเต็มเปี่ยมดี จิตก็จะเกิดภาวะมีอารณ์หนึ่งเดียว(=สมาธิ)ขึ้น โดยมีความปล่อยวางธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั่นเองเป็นอารมณ์ อันนับว่าเป็นสมถะ เมื่อปฏิบัติโดยวิธีนี้ อริยมรรคก็เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน .

    อย่างไรก็ตาม อรรถกถาสรุปว่า ไม่ว่าจะเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า หรือเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้าก็ตาม เมื่อถึงขณะที่อริยมรรคเกิดขึ้น ทั้งสมถะและวิปัสสนาจะต้องเกิดขึ้นด้วยกันอย่างควบคู่เป็นการแน่นอนเสมอไป . ที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่าโดยหลักพื้นฐานแล้ว สมถะและวิปัสสนาก็คือองค์ของมรรคมั่นเอง วิปัสสนาได้แก่สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ สมถะได้แก่องค์มรรคที่เหลืออีก ๖ ข้อ ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่องค์มรรคเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะบรรลุอริยภูมิ….”

    และ จาก หนังสือพุทธธรรม หน้า 331

    "....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1)

    เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."


    หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย ท่านได้กล่าวถึง เอกัคคตาจิต ที่เป็นผลโดยตรงจากการเจริญวิปัสสนาไว้ดังนี้

    “คำว่าสมถกรรมฐาน ก็ดี คำว่า วิปัสสนากรรมฐาน ก็ดี
    ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจก่อนว่า เป็นชื่อของวิธีการ

    การภาวนาพุทโธ ๆ ๆ หรือการภาวนาอย่างอื่น
    หรือการภาวนาแบบเพ่งกสิณ อันนั้นปฏิบัติตามวิธีของสมถะ

    แต่ถ้าเราปฏิบัติด้วยการใช้ความคิดหรือกำหนดจิตรู้ตาม
    ความคิดของตัวเอง หรือจะหาเรื่องราวอันใด เช่น
    เรื่องของธาตุขันธ์ อายตนะมาพิจารณา
    เช่น พิจารณาว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรทำนองนี้
    อันนี้การน้อมจิตน้อมใจน้อมภูมิความรู้ความเข้าไปสู่
    กฎพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ท่านเรียกว่าปฏิบัติตามวิธีการแห่งวิปัสสนา

    แต่ทั้ง 2 อย่างนี้เราจะปฏิบัติด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้

    ถ้าท่านผู้ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบเป็นสมาธิซักที
    จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักที ก็มาพิจารณาซิ
    ยกเรื่องอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ได้ ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ
    พิจารณาไปจนกระทั่งจิตมันคล่องตัว
    พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา
    คิดเอาตามสติปัญญาที่เราจะคิดได้
    คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้
    คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว จนกระทั่งเราไม่ได้ตั้งใจคิด
    จิตมันคิดของมันเอง ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้
    เมื่อเป็นเช่นนั้น มันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับภาวนา
    ถ้าจิตมันคิดของมันเอง สติรู้พร้อมอยู่เอง มันก็ได้วิตก วิจาร
    ในเมื่อจิตมีวิตก วิจาร เพราะความคิดอ่านอันนี้
    มันก็เกิดมีปีติ มีความสุข **มีเอกัคตา**
    มันจะสงบลงไปเป็น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ....”


    หลวงปู่ ชา สุภัทโท ท่านก็ได้กล่าวถึง เอกัคคตาจิต ที่มาจากการเจริญวิปัสสนาไว้ดังนี้

    “….คนภาวนาเป็น มีอารมณ์เป็นอันเดียว
    อารมณ์อันเดียวคืออะไร?
    ไม่เอาเรื่องกับใคร เรียกว่าอารมณ์อันเดียว

    มันเปลี่ยนจาก อารมณ์อันเดียวของสมถกรรมฐาน
    สมถกรรมฐานเอาเรามาเรียนภาวนาพุทโธ ๆ ๆ ๆ อันเดียว มันน้อยไป ถ้ามันพลาดจากพุทโธแล้วมันไปที่ไหนก็ได้ .....
    อารมณ์อันเดียว คือ อารมณ์วิปัสสนานั่นแหละ ....ไม่มีชั่ว ไม่มีดี ....**มีดี มีชั่ว แต่จิตของเราอยู่เหนือชั่วเหนือดีทั้งนั้น ฉะนั้นเป็นอารมณ์อันเดียวอย่างนี้ **

    ปล่อยมันทิ้งไป เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาหมดทั้งสิ้นอย่างนี้
    นี้การปล่อยวางทั้งหมด นั้นเรียกว่าการภาวนาที่ถูกต้อง…”



    @ กลุ่มที่สอง มีความเห็นว่า ท่านเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์แล้ว แม้นในขณะที่บรรลุอรหันต์แล้ว ฌานก็ยังไม่บังเกิดขึ้น ..... คือ **ฌาน ไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการเจริญวิปัสสนา.....บรรลุอรหันต์แล้ว พระอรหันต์ท่านนั้นท่าน“ต้องการที่จะได้ฌาน” จึง มาเจริญฌานเอา ภายหลังจากบรรลุอรหัตตผลแล้ว**

    ดังปรากฏ ตามที่ พระครูศรีโชติญาณ ท่านแสดงไว้ดังนี้

    “.....ส่วนคำของอรรถกถาท่านหมายความง่ายๆ ว่า ได้วิปัสสนาแล้วแต่อยากได้ฌานก็ทำฌานให้เกิดขึ้นเท่านั้น เราก็พอจะถือเอาความได้ว่า พระอริยะผู้ที่เป็นวิปัสสนาลาภี คือ ผู้ที่ได้วิปัสสนาจนเป็นพระโสดา - สกทาคามี -อนาคามี และ **พระอรหันต์แล้ว แต่ ต้องการที่จะได้ฌาน ก็มาทำฌาน คือ สมาธิ หรือสมถะให้เกิดขึ้นในภายหลัง** จนกระทั่งได้สมาบัติ ๘ อย่าง นี้เรียกว่า ทำสมถะที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นฯ….”

    ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือว่า ทำไมพระอรหันต์ที่ท่าน”จบกิจ” คือ สิ้นชาติ ขาดภพ แล้ว ท่านยังคง ”อยากได้ฌาน” อยู่ ....

    ( กรณีนี้ ต้องไม่สับสนกับ กรณีพระอรหันต์ที่ท่านเชี่ยวชาญในฌานสมาบัติมาก่อนที่จะบรรลุอรหัตตผล แล้วท่านใช้ฌานสมาบัติเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันน่ะครับ.... เป็นคนล่ะประเด็นกัน. พระอรหันต์ที่ท่านเชี่ยวชาญในฌานสมาบัติมาก่อนที่จะบรรลุอรหัตตผลนั้น หาใช่ว่าท่านจะมาฝึกฌานเอาภายหลัง แต่ ท่านเชี่ยวชาญในฌานสมาบัติมาก่อนบรรลุอรหัตตผลอยู่แล้ว)
     
  9. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    การเจริญอริยมรรค โดยใช้ การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า นั้น ครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐานท่านสอนเอาไว้

    ท่านเรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ




    มีบทธรรมของพระสุปฏิปันโน เรื่อง ปัญญาอบรมสมาธิ มาเสนอสมาชิกครับ

    ปัญญาอบรมสมาธิ (ภาคสมาธิ)
    โดย พระอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน



    ความจริงการภาวนาเพื่อให้ใจสงบ ถ้าสงบด้วยวิธีปลอบโยนโดยทางบริกรรมไม่ได้ ต้องภาวนาด้วยวิธีปราบปรามขู่เข็ญ คือค้นคิดหาเหตุผลในสิ่งที่จิตติดข้องด้วยปัญญา แล้วแต่ความแยบคายของปัญญา จะหาอุบายทรมานจิตดวงพยศ จนปรากฏใจยอมจำนนตามปัญญาว่า เป็นความจริงอย่างนั้นแล้ว ใจจะฟุ้งซ่านไปไหนไม่ได้ ต้องหยั่งเข้าสู่ความสงบ เช่นเดียวกับสัตว์พาหนะตัวคะนอง ต้องฝึกฝนทรมานอย่างหนักจึงจะยอมจำนนต่อเจ้าของ

    ฉะนั้น ในเรื่องนี้ จะขอยกอุปมาเป็นหลักเทียบเคียง เช่น ต้นไม้บางประเภท ตั้งอยู่โดดเดี่ยวไม่มีสิ่งเกี่ยวข้อง ผู้ต้องการต้นไม้นั้นก็ต้องตัดด้วยมีดหรือขวาน เมื่อขาดแล้ว ไม้ต้นนั้นก็ล้มลงสู่จุดที่หมาย แล้วนำไปได้ตามต้องการ ไม่มีความยากเย็นอะไรนัก แต่ไม้อีกบางประเภท ไม่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว ยังเกี่ยวข้องอยู่กับกิ่งแขนงของต้นอื่นๆ อีกมาก ยากที่จะตัดให้ลงสู่ที่หมายได้ ต้องใช้ปัญญาหรือสายตาตรวจดูสิ่งเกี่ยวข้องของต้นไม้นั้นโดยถี่ถ้วน แล้วจึงตัดต้นไม้นั้นให้ขาด พร้อมทั้งตัดสิ่งเกี่ยวข้องจนหมดสิ้นไป ไม้ย่อมตกหรือล้มลงสู่ที่หมายและนำไปได้ตามความต้องการฉันใด จริตนิสัยของคนเราก็ฉันนั้น

    คนบางประเภทไม่ค่อยมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก เพียงใช้คำบริกรรมภาวนา พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เป็นต้น บทใดบทหนึ่งเข้าเท่านั้น ใจก็ได้รับความสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิลงได้ กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญา ให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างสบาย ที่เรียกว่า สมาธิอบรมปัญญา

    แต่คนบางประเภทมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก และเป็นนิสัยชอบคิดอะไรมากอย่างนี้ จะอบรมด้วยคำบริกรรมอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่สามารถที่จะยังจิตให้หยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองเหตุผล ตัดต้นเหตุของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา เมื่อปัญญาได้หว่านล้อมในสิ่งที่จิตติดข้องนั้นไว้อย่างหนาแน่นแล้ว จิตจะมีความรู้เหนือปัญญาไปไม่ได้ และจะหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ฉะนั้นคนประเภทนี้ จะต้องฝึกฝนจิตให้เป็นสมาธิได้ด้วยปัญญา ที่เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ ตามชื่อหัวเรื่องที่ให้ไว้แล้วในเบื้องต้นนั้น . เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นด้วยอำนาจปัญญา อันดับต่อไปสมาธิก็กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญาให้มีกำลังก้าวหน้า สุดท้ายก็ลงรอยเดียวกันกับหลักเดิมที่ว่า สมาธิอบรมปัญญา

    ผู้ต้องการอบรมใจให้เป็นไปเพื่อความฉลาด รู้เท่าทันกลมายาของกิเลส อย่ายึดปริยัติจนเกิดกิเลส แต่ก็อย่าปล่อยวางปริยัติจนเลยศาสดา ผิดพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า ทั้งสองนัย

    คือ ในขณะที่ทำสมาธิภาวนา อย่าส่งใจไปยึดปริยัติจนกลายเป็นอดีตอนาคตไป ให้ตั้งจิตลงสู่ปัจจุบัน คือ เฉพาะหน้า มีธรรมที่ตนเกี่ยวข้องเป็นอารมณ์เท่านั้น เมื่อมีข้อข้องใจ ตัดสินใจลงไม่ได้ว่าถูกหรือผิด เวลาออกจากที่ภาวนาแล้ว จึงตรวจสอบกับปริยัติ แต่จะตรวจสอบทุกขณะไปก็ผิด เพราะจะกลายเป็นความรู้ในแบบ ไม่ใช่ความรู้เกิดจากภาวนา ใช้ไม่ได้

    สรุปความ ถ้าจิตสงบได้ด้วยอารมณ์สมถะ คือ คำบริกรรมด้วยธรรมบทใด ก็บริกรรมบทนั้น ถ้าจะสงบได้ด้วยปัญญาสกัดกั้นโดยอุบายต่างๆ ก็ต้องใช้ปัญญาเป็นพี่เลี้ยงเพื่อความสงบเสมอไป ผลรายได้จากการอบรมทั้งสองวิธีนี้ คือ ความสงบ และปัญญาอันจะมีรัศมีแฝงขึ้นจากความสงบนั้นๆ
     
  10. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ประเด็น เอกัคคตาจิต ที่บังเกิดจากการเจริญวิปัสสนาโดยตรง ใน การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า นั้น ...... ท่านผู้สนใจ ลองค้นคำว่า โลกุตระฌาน ในพระไตรปิฎก ดูน่ะครับ

    ถ้า เป็นในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล บางแห่ง จะใช้คำว่า มัคคสิทธิฌาน ครับ



    .......................................


    เรื่อง ของ ฌาน(เอกัคคตาจิต)ที่เป็นโลกุตระนั้น มีปรากฏในพระสูตร ที่เรียกว่า อานันตริกสมาธิ ซึ่ง นี่ก็คือ สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค


    จาก

    http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=31&start_byte=152028

    [๒๑๑] ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ อย่างไร ฯ

    เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ

    ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น

    สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง

    ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น


    เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ


    ๆลๆ


    [๒๑๔] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน
    อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน

    ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้ ฯ

    กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ ฯ

    กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ฯ

    ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมสิ้นไปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้ ฯ

    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น
    ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด

    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ




    ขยายความ คำว่า อานันตริกสมาธิ จาก พุทธธรรม


    สมาธิที่เลิศประเสริฐสุด ก็คือสมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือ สมาธิที่ช่วยให้ปัญญากำจัดกิเลสและหลุดพ้นได้ เรียกอย่างวิชาการว่า สมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค หรือสมาธิในมรรค (มัคคสมาธิ)

    สมาธิอย่างนี้มีชื่อเรียกพิเศษว่า อานันตริกสมาธิ (บางแห่งเพี้ยนเป็น อนันตริกะ บ้าง อานันตริยะ บ้าง)

    แปลว่า สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่องไปทันที คือทำให้บรรลุอริยผลทันทีไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้

    สมาธิชนิดนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ไม่มีสมาธิอื่นใดเทียมเท่า (ขุ.ขุ.25/7/6: ขุ.สุ.25/314/368) ถึงหากจะเป็นสมาธิระดับต่ำ ก็ถือว่าประเสริฐกว่าสมาธิอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น
    สมาธิระดับรูปฌาน หรือ อรูปฌานก็ตาม (ขุทฺทก. อ.198; สุตฺต.อ.2/27)

    อานันตริกสมาธินี้ ท่านกล่าวถึงในที่อื่นๆ อีกทั้งบาลีและอรรถกา ผู้สนใจพึงดู ที.ปา.11/373/289 ฯลฯ


    อานันตริกสมาธิ คือ เอกัคคตาแห่งจิต ที่หากบังเกิดขึ้นแล้ว ในขณะจิตต่อมาจะบรรลุอริยมรรคมรรคผลทันที โดยไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้


    จากหนังสือ แนวทางคำสอนในการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่มั่น

    บันทึกและตรวจสอบธรรมโดยหลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดศรีสว่าง จ.หนองบัวลำภู


    "....ตลอดครบถ้วนแล้ว จิตในจิตก็ดับ เป็นจิตรวมใหญ่เข้าถึงจิตเดิม เข้าถึงฐีติภูตัง เป็นจิตตาธิปติอิทธิบาท เป็นบาทเข้าสู่จิตเดิม

    ฌานนี้เป็นฌานพุทธที่พระพุทธเจ้าค้นพบในวันตรัสรู้เป็นฌานโลกุตระ
    ฌานนี้เมื่อเข้าถึงแล้ว จะไม่มีคำว่าเข้า คำว่าออก เช่นกับฌานโลก
    เพราะเป็นอกาลิโกไม่มีกาลถอย เพราะเข้าแล้วจะมีขั้นตอนต่อเนื่องทันที

    จิตเป็นเอกัคคตาจิต
    จิตเป็นหนึ่งที่ฐีติจิต
    จิตตามเห็นธรรมในธรรม คือ อินทรีย์ 5พละ5
    ในขณะที่เข้าถึงนั้น อินทรีย์ 5 และพละ5 ที่เป็นอินทรีย์เกิดในของเดิมจะปรากฏออกมาให้เห็นเป็นธรรมในธรรมทันที

    เมื่อตามเห็นธรรมในธรรมแล้ว นิวรณ์5 ขันธ์5 อายตนะ12 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์8 เป็นโลกีย์มรรคดับสิ้น เข้าถึงธรรมฐีติ เป็นโลกุตระมรรค เป็นอริยมรรค4 ผล4

    จบทางเดินสติปัฐฐานซึ่งเป็นทางตรงทางสายเอกอริยมรรคตรงนี้

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เอกายโนภิกฺขเว อยํ มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
    ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอกเป็นหนึ่งในทางทั้งหลาย ...."
     
  11. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    อนุโมทนา กับ คุณตรงประเด็นนะครับ ที่ช่วยนําอรรถกถา และคําสอนของครูบาอาจารย์ยุคหลังมาขยายจําแนกอย่างพิศดาร
     
  12. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ขอเสนอ ประเด็น


    การเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า(อย่างเดียวกับ การเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า)

    คือ ข้อ๑ ใน

    “๑) สมถปุพพังคมวิปัสสนา วิปัสสนามีสมถะนำหน้า (เรียกเต็มว่า สมถปุพพังคมวิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า)
    ๒) วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า (เรียกเต็มว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถภาวนา การเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า)
    ๓) ยุคนัทธสมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน (เรียกเต็มว่า สมถวิปัสสนายุคนัทธภาวนา การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่ไปด้วยกัน)
    ๔) ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ คือ ความฟุ้งซ่านธรรม หรือ ตื่นธรรม (ความเข้าใจผิดยึดเอาผลที่ประสบในระหว่างว่าเป็นมรรคผลนิพพาน)…”


    จาก พระสูตร ต้นกระทู้

    [๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

    ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
    วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพ
    ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้
    สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
    วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ





    ในสมัยพุทธกาล มีฤาษีชีไพรจำนวนมาก ที่บำเพ็ญโลกียฌานอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร.ท่านเหล่านี้ จิตพื้นฐาน สงัดจากกาม จากอกุศล วิเวก อยู่แล้ว...เอื้อต่อการบรรลุธรรมขั้นสูงอยู่แล้ว(อ่าน ทรงตรัสเปรียบผู้สงัดจากกาม ว่า ควรแก่การบรรลุธรรมขั้นสูง ใน โพธิราชกุมารสูตร) เพียงแต่ ท่านเหล่านั้นยังไม่ได้สดับพระพุทธพจน์ที่แสดงอริยมรรค จึงยังไม่สามารถถึงที่สุดแห่งทุกข์.

    เมื่อ พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ พระองค์ก็ได้เสด็จไปโปรดฤาษีเหล่านี้ จำนวนมาก.... สังเกตุได้จาก พระสาวกในช่วงแรกๆ มักจะเป็นผู้ที่ออกบำเพ็ญตบะกันแล้วทั้งสิ้น แม้นแต่ พระดาบสทั้งสอง พระพุทธองค์ก็ทรงเล็งพระญาณหมายจะไปโปรดเป็นผู้แรก(เพียงแต่ท่านทั้งสองทำกาละไปแล้ว)

    มีพระสูตร คือ ฌานสูตร ที่ทรงแสดงวิธีการใช้องค์แห่งฌาน เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรง คล้ายๆกับที่ทรงแสดงในต้นกระทู้นี้


    ฌานสูตร นว. อํ. (๒๐๔)
    ตบ. ๒๓ : ๔๓๘-๔๓๙ ตท. ๒๓ : ๓๙๐-๓๙๑


    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาหร เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา

    เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น

    ครั้นแล้วเธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุ นั้นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละ คือ อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้นย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย....”


    มี โอวาทธรรม ของ พระสุปฏิปันโน ในยุคปัจจุบัน(หลวงปู่ ชา สุภัทโท)

    ที่ ท่านกล่าวถึง การพิจารณาความสงบ จนไม่ติดในความสงบ
    คือ ใช้ความสงบที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนา


    "....อะไรจะเป็นตัววิปัสสนา อะไรจะเป็นตัวสมถะ ก็ตัวจิตนี่เอง

    และเมื่อจิตสงบแล้วความสงบเบื้องแรกสงบด้วยสมถะ คือสมาธิธรรมทำให้จิตเป็นสมาธิมันก็สงบ
    ถ้าความสงบหายไปก็เกิดทุกข์ ทำไมอาการนี้จึงให้เกิดทุกข์ เพราะความสงบของสมถะเป็นตัวสมุทัย แน่นอนมันจึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

    เมื่อมีความสงบแล้วยังไม่จบ พระศาสดามองเห็นแล้วว่าไม่จบ ภพยังไม่สิ้น ชาติยังมีอยู่ พรหมจรรย์ไม่จบ มันไม่จบเพราะอะไร เพราะมันยังมีทุกข์อยู่

    ท่านจึงเอาตัวสมถะตัวสงบนี่พิจารณาต่อไปอีก ค้นหาเหตุผลจนกระทั่งท่านไม่ติดในความสงบ ความสงบก็เป็นสังขารอันหนึ่ง ก็เป็นสมมติ เป็นบัญญัติอีก ติดอยู่นี่ก็ติดสมมติ ติดบัญญัติ

    เมื่อติดสมมติติดบัญญัติก็ติดภพติดชาติ ภพชาติก็คือความดีใจในความสงบนี่แหละ เมื่อหายความฟุ้งซ่านก็ติดความสงบก็เป็นภพอีก เกิดอยู่อย่างนี้ ภพชาติเกิดขึ้นมา ทำไมพระพุทธเจ้าจะไม่รู้...."






    อนึ่ง แม้นแต่ ภิกษุในศาสนานี้ ที่มีนิสัยทางสมาธิภาวนา และ มีความสามารถแห่งเนกขัมมะ(ไม่พัวพันด้วยกามสัญญา) เอกัคคตาจิต(ฌาน)ก็จะบังเกิดก่อนวิปัสสนาญาณ ใน การเจริญสติปัฏฐาน เช่นกัน

    เสนอ อ่านพระสูตรนี้

    ทันตภูมิสูตร ที่ ๕

    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

    <!-- m -->http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0<!-- m -->

    ทรงแสดงแก่ท่าน สมณุทเทสอจิรวตะ(พระพุทธองค์ทรงเรียกท่านว่า อัคคิเวสสนะ)


    พระสูตรนี้ค่อนข้างยาว เริ่มจากการสนทนาระหว่างท่านสมณุทเทสอจิรวตะ กับ พระราชกุมารชยเสนะ ในประเด็นที่ว่า


    อ้างอิงพระไตรปิฎก:
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึง สำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต ได้ ฯ


    <!-- m -->http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0<!-- m -->

    ถ้ามีเวลาว่าง ลองค่อยๆอ่านบทสนทนาระหว่าง ท่านสมณุทเทสอจิรวตะ กับ พระราชกุมารชยเสนะ
    และ ในสุดท้าย พระราชกุมารชยเสนะ ก็สรุปด้วยภาวะมุมมองแห่งตนเอง(ที่ยังคงข้องกับกามอยู่) ว่า ประเด็นนี้ เป็นไปไม่ได้...
    คือ ไม่มีทางที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต ได้...


    อ้างอิงพระไตรปิฎก:
    ข้าแต่ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ข้อที่ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ต่อนั้น พระราชกุมารชยเสนะ ทรงประกาศความไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส แก่สมณุทเทสอจิรวตะแล้ว ทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป ฯ


    <!-- m -->http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0<!-- m -->

    ท่านสมณุทเทสอจิรวตะ จึงมาทูลให้พระพุทธองคฺทรงทราบ และ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงธรรม ชี้เหตุผลกับท่าน



    ใน พระพุทธเทศนานั้น บรรยายตั้งแต่ เหตุที่พระราชกุมารไม่อาจจะคาดหยั่งถึงการสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้ เพราะยังคงเสพกามอยู่


    อ้างอิงพระไตรปิฎก:
    ดูกรอัคคิเวสสนะ พระราชกุมารจะพึงได้ความ
    ข้อนั้นในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ
    เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม
    ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการ
    แสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้
    นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ


    <!-- m -->http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0<!-- m -->


    และ ต่อจากนั้น ทรงแสดงถึงธรรมขั้นสูงๆต่อไป คือ เนกขัมมะ คือ การออกจากกาม(ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต)

    ต่อด้วย การเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร

    ต่อด้วย การเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้ละนิวรณ์๕ได้

    เมื่อละนิวรณ์๕ได้แล้ว ก็ต่อด้วย การพิจารณากายในกาย (ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม)มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ (ตรงนี้ ไม่ได้แสดงชัดเจนว่า นี่เป็นสมาธิระดับใด แต่ ผมเข้าใจว่าน่าจะหมายถึง บรรลุรูปฌานที่๑แล้ว เพราะถัดจากท่อนนี้ไปก็ทรงบรรยายถึงทุติยฌานแล้ว)

    <!-- m -->http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0<!-- m -->

    ต่อมาทรงแสดง สติปัฏฐานสี่ ว่าคือ หลักผูกใจของอริยสาวก เปรียบด้วยเสาตะลุงใหญ่เอาไว้ล่ามคอช้างป่า

    <!-- m -->http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0<!-- m -->




    # พระสูตรในตอนต่อจากนี้ น่าสนใจนมากครับ

    <!-- m -->http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0<!-- m -->

    ทรงแสดงถึง


    อ้างอิงพระไตรปิฎก:
    "พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย" (ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม)


    จึงยังให้เกิด


    อ้างอิงพระไตรปิฎก:
    "เธอย่อมเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่".


    การพิจารณาเห็นกายในกาย แต่ไม่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย(ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม) ซึ่งบรรยายว่า วิตก-วิจาร สงบไป จึงบรรลุถึงทุติยฌาน



    ต่อจากนั้นทรงแสดงถึง


    อ้างอิงพระไตรปิฎก:
    "ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน"


    ซึ่งนี่ คือ การละวางปีติอย่างมีสติ จึงบรรลุตติยฌาน



    ต่อจากนั้นทรงแสดงถึง


    อ้างอิงพระไตรปิฎก:
    " ย่อมเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ"


    ซึ่งนี่คือ การละวางสุขที่เกิดขึ้น จิตจึงลุถึงจตุตฌานที่มีสติบริสุทธิ์

    หลังจากนั้นจึงทรง แสดงถึง วิชชาสามประการ ๆลๆ ที่ประกอบด้วย อาสวักขยญาณ(วิปัสสนาญาณ)เป็นท้ายสุด .... ซึ่ง ในลักษณะนี้ สมถะเจริญก่อน และ วิปัสสนา ตามมาภายหลัง



    # # พระสูตรนี้น่าสนใจมาก

    เพราะ ทรงตรัสแสดงถึง ความสัมพันธ์ของสติปัฏฐาน กับ รูปฌาน๑-๔ โดยตรง (ตรงกับ คำว่า"เอกัคคตาแห่งจิต" ที่ เป็นประเด็นสนทนาระหว่าง ท่านสมณุทเทสอจิรวตะกับพระราชกุมารชยเสนะ ในตอนต้นพระสูตร)....

    ซึ่ง นี่คือ สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค อันเป็นผลจากการเจริญสติปัฏฐานโดยตรง
     
  13. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ขอเสนอเพิ่ม ใน ประเด็น การเจริญ สมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า

    ต่อจาก คห.ข้างบน


    1.สมถะ คือ เอกัคคตาจิต(ฌาน) จะบังเกิดก่อนวิปัสสนาญาณ

    เหตุจาก "ด้วยความสามารถแห่งเนกขัมมะ" คือ จิตที่ไม่พัวพันกังวลในกามสัญญา... คือ ไม่พัวพันในกามภพ

    ซึ่ง จะเป็นไปได้ยาก(แต่ หาใช่ว่าเป็นไปไม่ได้) สำหรับ คนในเมืองยุคปัจจุบัน ที่มีแนวโน้มจะจมกาม

    แต่ เป็นไปได้แน่นอนสำหรับผู้ที่สมาทานศีลเนกขัมมะและนั่งนอนในที่อันสงัด

    ครูบาอาจารย์พระป่าทั้งหลาย ที่หลายท่านก็เจริญสติปัฏฐานโดยตรง แต่ ก็ปรากฏว่าท่านบรรลุอภิญญาเช่นกัน


    2.การเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า นี้ เป็นการใช้ฌานเป็นอารมณ์โดยตรงในการเจริญวิปัสสนา เลย.

    ซึ่ง ตรงนี้ ถ้าสังเกตุดีๆว่า แม้นแต่ครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐานในยุคปัจจุบัน ท่านก็ไม่ได้ใช่องค์แห่งฌานเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรง... แต่ เป็นลักษณะ ท่านเจริญพุทธานุสติ(หรือ กรรมฐานอื่นๆ)เพื่อระงับอกุศลวิตก(กามวิตก วิหิงสาวิตก พยาบาทวิตก) แล้วใช้จิตที่สงบระงับจากอกุศล อ่อนโยน นุ่มนวล ควรแก่การงาน มาเจริญสติปัฏฐาน....

    หรือ บางท่านอาจจะอาศัยความสงบที่เกิดขึ้นเป็นฐานพักจิต ให้จิตมีกำลังในการพิจารณาธรรม (สมาธิภาวนาประเภทที่๑ ใน พระบาลีโรหิตัสวรรคที่๕ คือ สมาธิภาวนาที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน) เช่น ที่ หลวงตามหาบัว ท่านแสดงเอาไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2009
  14. อิทธิปาฏิหาริย์

    อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,834
    ค่าพลัง:
    +1,472
  15. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    [๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมี
    อย่างไร ฯ

    เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึก
    ถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ
    ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดย
    ความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น

    ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิต
    ที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
    มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้
    อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ
    ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร)
    อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุ
    นึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความ
    ฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความ
    เป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ
    เป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น


    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน, จิตต์ส่าย, ใจวอกแวก

    สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
    ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
    ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
    ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
    ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
    ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
    ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
    ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
    ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
    ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
    ๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
    ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
    ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;
    พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
    พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
    พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
    พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;

    อนุสัย กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน มี ๗ คือ
    ๑. กามราคะ ความกำหนัดในกาม
    ๒. ปฏิฆะ ความหงุดหงิด
    ๓. ทิฏฐิ ความเห็นผิด
    ๔. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
    ๕. มานะ ความถือตัว
    ๖. ภวราคะ ความกำหนดในภพ
    ๗. อวิชชา ความไม่รู้จริง

    วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา,

    สภาพน่าชื่นชม แต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ
    ๑. โอภาส แสงสว่าง
    ๒. ปีติ ความอิ่มใจ
    ๓. ญาณ ความรู้
    ๔. ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต
    ๕. สุข ความสบายกาย สบายจิต
    ๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ
    ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี
    ๘. อุปัฏฐาน สติชัด
    ๙. อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง
    ๑๐. นิกันติ ความพอใจ



    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
    เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
    วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธ
    เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
    ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
    เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน
    ด้วยความว่างเปล่า ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2009
  16. Nick Swissarmy

    Nick Swissarmy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +35
    ขออนุโมทนาครับ
    ขอ copy เพื่อศึกษาต่อไปครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...