ทำบุญอย่างไรได้บุญมาก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 30 กันยายน 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    การทำบุญในที่นี้จะกล่าวถึงการให้ทาน่เท่านั้น สำหรับการทำบุญประเภทอื่น สามารถอ่านได้ในหมวดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญประเภทนั้นๆ โดยตรง รวมทั้งในเรื่องเวลามสูตร ในหมวดธรรมทั่วไป ซึ่งเป็นสูตรที่สรุปเปรียบเทียบผลบุญที่ได้รับจากการทำบุญแทบจะทุกประเภท ว่าประเภทไหนให้ผลบุญมาก/น้อยกว่ากันอย่างไร

    การให้ทานในที่นี้ จะป เน้นที่การสละวัตถุสิ่งของ หรือทรัพย์สมบัติให้แก่ผู้อื่นเป็นหลัก แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการให้ทานอย่างอื่นๆ เช่น ธรรมทาน(การให้ธรรมเป็นทาน) อภัยทาน(การให้อภัยแก่ผู้อื่น) ได้เช่นกัน โดยการพิจารณาเปรียบเทียบกัน

    การให้ทานแต่ละครั้งนั้น จะให้ผลบุญหรืออานิสงส์มากหรือน้อยอย่างไรนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกันญ ทั้งปัจจัยจากตัวผู้ให้ วัตถุสิ่งของที่ให้ และผู้รับทานนั้นด้วย ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงเอาไว้ในที่หลายๆ แห่ง ทางผู้ดำเนินการได้รวบรวมจากพระไตรปิฎกหลายๆ สูตร รวมทั้งแหล่งความรู้อื่นๆ สรุปได้ดังนี้คือ

    การทำบุญให้ทานามนั้น เปรียบเสมือนการทำนาปลูกข้าว โดยที่ผู้รับเป็นเหมือนาวนาข้าวน ของที่ให้เหมือนเมล็ดพันธุ์ข้าว กิเลสุปของผู้รับและผู้ให้เหมือนเป็นวัชชพืชะในนาข้าวนั้น ความตั้งใจ้น ของผู้ให้เหมือนความตั้งใจในการหว่าน็นเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ตกลงในนา ไม่ให้กระจัดกระจายออกนอกนา ศรัทธาของผู้ให้เปรียบเหมือนงปุ๋ย ปิติที่เกิดขึ้นกับผู้ให้เปรียบเหมือนน้ำ ผลบุญที่ผู้ให้ได้รับเปรียบเสมือนผลผลิตจากการทำนานั้น ผู้รับจึงได้ชื่อว่าเป็นจาเนื้อนาบุญ

    การทำนาปลูกข้าวั้น นั้น ถ้าใช้ข้าวพันธุ์ดี ปลูกในนาข้าวที่มีดินดี ในขณะหว่านก็ตั้งใจหว่านให้ข้าวตกลงในท้องนาอย่างพอดี ไม่กระจัดกระจายสูญหายไปนอกนา มีน้ำบริบูรณ์ มีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ ไม่มีวัชชพืชมาคอยแย่งอาหารต้นข้าว ผลผลิตที่ได้ย่อมมากมาย เต็มเม็ดเต็มหน่วยฉันใดจาย

    การทำบุญด้วยวัตถุอันเลิศ ให้กับบุคคลอันเลิศ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใดๆ ทำไปด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่มั่นคง ประกอบด้วยศรัทธาอันดี ถึงพร้อมด้วยปิติเบิกบานใจ ผลบุญที่ได้ย่อมไพบูลย์ฉันนั้น


    คุณสมบัติของผู้ให้ทานที่จะได้บุญมาก


    การที่ผู้ให้ทานจะได้รับผลบุญมากนั้น ตัวผู้ให้เองต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้

    - ให้ทานนั้นโดยเคารพั้น ทำความนอบน้อมให้ (มีความเคารพด้วยใจที่แท้จริง ไม่ใช่แค่เพียงร่างกาย)

    - ให้ทานนั้นด้วยมือตนเอง (ถ้ายิ่งต้องใช้ความพยายามมากเท่าไร จิตก็จะยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น การทำบุญด้วยความรู้สึกที่หนักแน่นมากเท่าไร ก็จะส่งผลให้ได้บุญที่หนักแน่นมากเท่านั้น)

    - เชื่อในกรรมและผลของกรรม (ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่หนักแน่นเช่นกัน ไม่ใช่ว่าสักแต่ให้ๆ ไปเท่านั้น)

    - มีความเลื่อมใส ศรัทธาในผู้รับทานนั้น (เหตุผลเช่นเดียวกับข้อก่อน)

    - เมื่อให้แล้วเกิดปิติโสมนัส จิตใจผ่องใส เบิกบาน

    - ให้ทานเหมาะสมกับกาลเวลา คือให้ในสิ่งที่ผู้รับต้องการในเวลานั้นๆ

    - ให้ทานโดยสละวัตถุทานนั้นอย่างแท้จริง ไม่มีใจยึดเหนี่ยว ห่วงใยวัตถุนั้นอีก ไม่ว่าผู้รับจะเอาสิ่งนั้นๆ ไปใช้ทำอะไรหรือเมื่อไหร่

    - เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน คือให้โดยหวังประโยชน์แก่ผู้รับจริงๆ ไม่ใช่หวังประโยชน์แก่ตัวผู้ให้เอง

    - รู้สึกยินดีห์ในการให้ทานครั้งนั้นทั้ง 3 กาล คือทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังจากให้ทานนั้นแล้วก็รู้สึกยินดี คือนึกถึงเมื่อใดก็ยินดีเมื่อนั้น ไม่ใช่ให้แล้วเสียใจในภายหลัง

    - ให้ทานโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ไม่หวังแม้แต่บุญที่จะได้รับ คือให้เพื่อให้จริงๆ แล้วผลบุญก็จะตามมาเอง


    ลักษณะของวัตถุสิ่งของที่ใช้ให้ทานแล้วได้บุญมาก


    วัตถุทานที่ใช้ทำบุญให้ทาน แล้วจะส่งผลให้ผู้ให้ทานนั้นได้รับอานิสงส์ผลบุญมาก มีลักษณะดังนี้คือ

    - ให้ของที่ไม่ใช่ของเหลือเดน คือไม่ใช่เป็นของที่แม้ผู้ให้เองก็ไม่ต้องการแล้ว

    - ให้ของที่สะอาด จัดเตรียมอย่างประณีต

    - ให้ของที่ได้มาโดยชอบธรรม และผู้ให้มีสิทธิในการเป็นเจ้าของของนั้นจริงๆ

    - ให้โดยองไม่มีส่วนเหลือ คือให้ของนั้นทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนั้น ไม่ใช่ให้อย่างขยักขย่อน

    - ถ้าของที่ให้นั้นกษณะมีความสำคัญ มีความหมาย มีคุณค่านสำหรับตัวัญ ผู้ให้เองัญ มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้บุญมากขึ้นเท่านั้น เพราะผู้ให้ต้องเสียสละมาก เช่น คนยากจนให้ทาน 10 บาท อาจได้บุญมากกว่าเศรษฐีให้ทาน 1,000 บาทก็ได้ เพราะเงิน 10 บาทนั้นมีค่ามากสำหรับคนยากจน ในขณะที่เงิน 1,000 บาทเป็นเพียงแค่เศษเงินของเศรษฐี

    - การให้อวัยวะของตนเป็นทาน ได้บุญมากกว่าการให้ทรัพย์ภายนอกเป็นทาน

    - การให้ชีวิตะของตนเป็นทาน ได้บุญมากกว่าการให้อวัยวะเป็นทานาย

    คุณสมบัติของผู้รับที่จะทำให้ผู้ให้ได้บุญมาก

    ผู้รับทาน หรือเนื้อนาบุญที่ดี อันจะส่งผลให้ผู้ที่ทำบุญด้วยได้บุญมากนั้น มีคุณสมบัติดังนี้

    - เป็นผู้ที่มีศีลมาก และถือศีลนั้นได้อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่เป็นคนทุศีล หรือต่อหน้าเป็นอย่างหนึ่ง แต่พอลับหลังกลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง

    - เป็นผู้ที่มีจิตเป็นสมาธิ สงบ ผ่องใส ไม่ถูกนิวรณ์ทั้ง 5 ครอบงำ (ดูเรื่องนิวรณ์ 5 และวิธีแก้ไข ในหมวดสมถกรรมฐาน (สมาธิ) ประกอบ)

    - เป็นผู้ที่ปราศจากกิเลสง หรือมีกิเลสเบาบาง หรืออย่างน้อยก็เป็นผู้ที่ปฏิบัติเพื่อให้หมดกิเลส ซึ่งจะทำให้ผู้ให้ได้บุญลดหลั่นกันไปตามขั้น

    - การทำบุญกับสงฆ์ (สังฆทาน - การทำบุญโดยไม่เจาะจงผู้รับว่าต้องเป็นภิกษุรูปนั้นรูปนี้) จะทำให้ผู้ให้ได้บุญมากกว่าปุคคลิกทาน (การให้โดยเจาะจงผู้รับ) ทั้งนี้ต้องเป็นสังฆทานด้วยใจที่แท้จริง

    - ลำดับขั้นของผู้รับฆ ที่จะทำให้ผู้ให้ได้บุญมากหรือน้อยนั้น ขอให้ดูรายละเอียดในเรื่อง้) เวลามสูตร ในหมวดธรรมทั่วไป ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกแจกแจงไว้อย่างชัดเจน

    คุณสมบัติต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทั้งของผู้ให้ สิ่งของที่ให้ และผู้รับของนั้น ถ้ายิ่งมีมากและสมบูรณ์มากเท่าใด ผลบุญที่ได้รับก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าคุณสมบัติดังกล่าวลดน้อยลงไปมากเท่าใด ผลบุญที่ได้ก็จะน้อยลงตามไปด้วย

    หมายเหตุ

    - ในส่วนของผู้รับทานนั้น ความปราศจากกิเลส หรือมีกิเลสเบาบาง (ผลจากการเจริญวิปัสสนา) มีผลให้ผู้รับได้บุญมาก มากกว่าสมาธิ

    - สมาธิมีผลให้ผู้รับได้บุญมาก มากกว่าารศีลล

    ทั้งนี้เพราะบวิปัสสนาทำให้กิเลสหมดไปได้อย่างถาวรส ทั้งกิเลสขั้นละเอียด่าง (อนุสัยกิเลส - กิเลสที่นอนเนื่องในขันธสันดาน หรือกิเลสในระดับจิตใต้สำนึก) กิเลสขั้นกลาง (กิเลสในระดับจิตสำนึก) กิเลสขั้นหยาบต (กิเลสที่ทำให้เกิดการแสดงออกทางกาย วาจา)

    ในขณะที่สมาธิ่นั้นสามารถำข่มนกิเลสในส่วนของนิวรณ์ 5 ได้ในระดับของงกิเลสขั้นกลางง และกิเลสขั้นหยาบิเท่านั้น ส่วนกิเลสขั้นละเอียดยังคงอยู่เหมือนเดิม และเมื่อสมาธิเสื่อมไปเมื่อใด กิเลสทั้งหลายก็กลับมาได้เหมือนเดิม

    ส่วนศีลนั้นเป็นแค่เพียงแต่ข่มนกิเลสขั้นหยาบป็นเอาไว้เท่านั้นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...