เรื่องเด่น ทำบุญสังฆทานให้ได้บุญมาก บุญที่แท้เป็นอย่างไร

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 10 มีนาคม 2017.

  1. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    FB_IMG_1489141906961.jpg

    ทำบุญสังฆทานให้ได้บุญมาก
    บุญที่แท้เป็นอย่างไร

    คำว่าสังฆทานคือ ทานที่มอบให้แก่ หมู่สงฆ์เป็นส่วนรวม

    นั่นคือความหมายแห่งสังฆทาน
    ส่วนทานที่มอบให้แด่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่งนั้นไม่ใช่สังฆทาน แต่เป็น “ปาฏิปุคคลิกทาน”

    แม้ทานนั้นจะมุ่งถวายเฉพาะเจาะจงแด่พระพุทธเจ้าก็ตาม พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ตรัสยกย่องว่าเป็นทานที่เลิศไปกว่า สังฆทาน

    สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่พระวิหารของวัดนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์

    พระนางมหาปชาบดีโคตรมีซึ่งเป็นพระมาตุจฉาหรือพระแม่น้า ได้ทรงถือผ้าห่มคู่หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้ายังที่ประทับ แล้วได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้หม่อมฉันกรอด้ายทอเอง ตั้งใจอุทิศให้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของหม่อมฉันด้วยเถิดฯ”

    พระพุทธองค์เมื่อได้สดับรับฟังคำขอของพระแม่น้าจึงตรัสว่า

    “ดูก่อนโคตมี พระนางจงถวายผ้าคู่นี้แด่สงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้วจักเป็นอันพระนางที่ได้บูชาทั้งอาตมาภาพและเหล่าสงฆ์”

    พระแม่น้าของพระองค์แม้จะกราบทูลขอถวายผ้าให้แด่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวแม้จะกล่าวถึง 3 ครั้ง พระพุทธเจ้าก็ยังทรงตรัสอยู่เช่นเดิม

    ทำให้พระแม่น้าเกิดความเสียใจมาก

    เหตุการณ์นี้พระอานนท์อยู่ใกล้ชิดโดยตลอดจึงกล่าวขอร้องกับพระพุทธองค์ ขอให้พระองค์รับผ้าทอคู่ใหม่นั้นไว้ เพื่อให้เห็นแก่พระแม่น้า

    พระพุทธองค์จึงกล่าวถึงเรื่องการให้ทานโดยไม่ระบุจำเพาะเจาะจงแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง อันเป็น “สังฆทาน” นั้นจะมีผลเลิศกว่าการถวายทานแบบจำเพาะเจาะจงบุคคลมากนัก

    แม้ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าเองก็ตาม!

    และการถวายสิ่งใดเป็นสังฆทานนั้นย่อมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งพระสงฆ์เป็นการสูงสุดด้วย

    ในที่สุดพระแม่น้าปชาบดีจึงได้นำผ้าดังกล่าวไปถวายให้เป็นกองกลางแด่คณะสงฆ์ได้โดยที่พระนางไม่ตะขิดตะขวงหรือเสียกำลังใจแต่อย่างใด

    การถวายสิ่งของใดๆโดยอุทิศให้แก่สงฆ์ โดยการอุทิศให้เป็น “เผดียงสงฆ์” อันหมายความว่าไม่ระบุเฉพาะว่าจะถวายรูปไหน

    เช่นการถวายสลากภัต แม้พระจะได้รับของที่ถวายมีแค่รูปเดียว แต่ถือได้ว่าพระสงฆ์รูปนั้นที่มารับถวายทานเป็นพระที่ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์มาเรียบร้อยแล้วถือเป็นตัวแทนโดยชอบธรรมก็นับเป็น “สังฆทาน” เช่นกัน

    พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงทักษิณาทานที่ควรถวายแก่คณะสงฆ์ว่ามี 7 ประการ
    1. การให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย (ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

    2.ให้ทานในสงฆ์ทั้งสอง 2 ฝ่าย ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว

    3.ให้ทานในคณะภิกษุสงฆ์ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว

    4.ให้ทานในคณะภิกษุณีสงฆ์ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว

    5. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน

    หมายถึง การให้ทานโดยให้คณะสงฆ์เป็นผู้เลือกพระภิกษุและพระภิกษุณีที่จะรับถวายทานเอง เป็นการเลือกตัวแทนมารับทานโดยไม่ระบุว่าเป็นใคร

    6. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน

    7. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน

    ยิ่งไปกว่านั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า
    “แม้ในอนาคต การถวายสังฆทานแม้แก่พระสงฆ์ที่ทุศีล ก็ยังนับว่ามีผลนับประมาณไม่ได้ และปาฏิปุคลิกทานทั้งปวงในบุคคลใดๆ แม้จะมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานรับถวายก็ไม่สามารถมีผลสู้สังฆทาน 1 ใน 7 ประการดังกล่าวได้เลย”

    การที่พระพุทธองค์ทรงตรัสยกย่องสังฆทานถึงเพียงนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่แสดงออกถึงเลือกปฏิบัติทางด้านบุคคล

    แต่แสดงออกถึงความเสมอภาคเพื่อเป็นประโยชน์ผาสุกโดยเท่าเทียมกันทางด้านปัจจัย 4 แก่พระสงฆ์ทั้งปวง

    โมทนาสาธุ
    ***********
    สำนักพิมพ์เสบียงบุญ
     
  2. เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา

    เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา เพื่อมวลมนุษย์แลสรรพสัตว์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    872
    ค่าพลัง:
    +1,936
    image_1486665420457.png
     
  3. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    space1.gif
    space1.gif

    ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร (๑๔๒)
    [๗๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระ-
    *นครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงถือ
    ผ้าห่มคู่หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มี-
    *พระภาค ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้
    กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉัน
    กรอด้าย ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความ
    อนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของหม่อมฉันเถิด ฯ

    [๗๐๗] เมื่อพระนางกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
    ดูกรโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนาง
    ได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
    ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง ตั้งใจ
    อุทิศพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้า
    ใหม่ทั้งคู่นี้ของหม่อมฉันเถิด แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ แล พระผู้มี-
    *พระภาคก็ตรัสกะพระนาง แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ ดังนี้ว่า ดูกรโคตมี
    พระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตม-
    *ภาพและสงฆ์ ฯ...

    _________________________________________________________________

    มังคละมุนี วิจารณ์


    ถวายสังฆทาน มาจาก คำดั้งเดิมว่า ถวายสงฆ์
    เมื่อพิจารณาว่า ถึงคำว่า ถวายสงฆ์ นั้นเป็นอย่างไร?

    และถ้าหากเข้าใจเพียงแต่ว่า การถวายสงฆ์ คือ
    การถวายสิ่งของให้พระภิกษุ ไว้ให้พระภิกษุได้ใช้สิ่งของเหล่านั้นโดยส่วนรวม ในความหมายนี้ เพียงอย่างเดียว

    ขอบอกว่ายังไม่ถูกต้อง

    จึงขอยกบท สรรเสริญสังฆคุณ มาให้ดู ว่าคุณสมบัติ ของ สงฆ์ ที่ควรแก่การถวายสังฆทาน นั้นเป็นอย่างไร

    1. สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว

    2. อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติตรงแล้ว

    3. ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว;

    4. สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติตามสมควรแล้ว;

    ยะทิทัง,
    ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :

    จัตตาริ สุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
    คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเป็นรายบุคคลได้ 8 บุรุษ;

    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    นั้นแหละ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า;

    5. อาหุเนยโย
    เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา;

    6. ปาหุเนยโย
    เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ;

    7. ทักขิเณยโย,
    เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน;

    8. อัญชะลีกะระณีโย,
    เป็นผู้ควรทำอัญชลี:

    9. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.
    เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

    ใจความสำคัญ ที่ระบุคุณสมบัติ ของความเป็น สงฆ์ นั่นคือ 4ข้อแรกของสังฆคุณ
    ซึ่งระบุว่า สงฆ์ นั้นเป็นผู้ที่

    1.ปฏิบัติดี (ดำรงตนอยู่ในกุศลธรรม)
    2.ปฏิบัติตรง (ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า)
    3.ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว (คือ ปฏิบัติตามอริมรรคมีองค์๘ เพื่อพระนิพพาน)
    4.ปฏิบัติสมควร (คือ มีศีลบริสุทธิ์ มีความประพฤติเปิดเผย ไม่มีการกระทำอันซ่อนเร้น ให้เป็นที่สงสัย)

    ซึ่งเมื่อผู้ให้ได้ ถวายสงฆ์ ดังกล่าวมานี้ จึงมีผลบุญเป็นอย่างมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...