ทานสูตร ธรรมทานเป็นเลิศ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 12 ธันวาคม 2012.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ๙. ทานสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒อย่างนี้ คือ
    การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่ายธรรม ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย
    ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ
    การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์
    ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ

    พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสทานใดว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยมพระผู้มีพระ
    ภาคได้ทรงสรรเสริญการแจกจ่ายทานใดว่าอย่างยิ่งยอดเยี่ยม วิญญูชน
    ผู้มีจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ผู้เป็นเขตอัน
    เลิศ รู้ชัดอยู่ซึ่งทานและการแจกจ่ายทานนั้นๆ ใครจะไม่พึงบูชา
    (ให้ทาน) ในกาลอันควรเล่า ประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้แสดง
    และผู้ฟังทั้ง๒ ผู้มีจิตเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระสุคตย่อมหมดจด
    ประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้ไม่ประมาทแล้วในคำสั่งสอนของพระสุคต
    ย่อมหมดจด ฯ


    จบสูตรที่ ๙

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    หน้าที่ ๒๓๘/๔๑๘ ข้อที่ ๒๗๘
     
  2. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นไฉน สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือ
    ทานเปยยวัชชะอัตถจริยา สมานัตตตา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย
    การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำ
    อันเป็นที่รัก


    การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา ชักชวนผู้ทุศีลให้
    ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลสัมปทา ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา ชักชวนผู้มีปัญญา
    ทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย


    พระโสดาบันมีตนเสมอกับพระโสดาบัน พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี
    พระอนาคามีมีตนเสมอกับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์
    นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย

    นี้เรียกว่ากำลัง คือ การสงเคราะห์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    หน้าที่ ๒๙๓/๓๗๙ ข้อที่ ๒๐๙
     

แชร์หน้านี้

Loading...