ทางเดินของจิต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Ne_ko, 2 เมษายน 2011.

  1. Ne_ko

    Ne_ko Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +47


    การที่จิตของมนุษย์ต้องเสพความคิดเป็นอารมณ์จิตอยู่ตลอดเวลาก็ด้วยเพราะความคิดคืออาหารของจิต ซึ่งถือว่าเป็นปกติตามธรรมชาติของจิตที่จะมีอาการว่องไวและไม่อยู่ที่นิ่ง จึงมีความคิดสลับสับเปลี่ยนเข้ามาไม่ได้ขาด และไม่มีข้อยกเว้นแม้กระทั่งในขณะที่นอนหลับ เพียงแต่จิตจะเปลี่ยนไปเสพความคิดในรูปแบบของความฝัน<O:p</O:p


    จิตเดิมแท้นั้นเป็นเพียงธาตุที่พร้อมจะน้อมไปสู่อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ดังนั้นเมื่อไม่เท่าทันในมายาสมมติ จิตจึงเกิดอวิชชายึดมั่นถือมั่น คิดเป็นจริงเป็นจังในมายาสมมติเหล่านั้นว่ามีตัวมีตน เป็นจริงเป็นจัง และเกิดอัตตาตัวตนในความหลงผิด คิดว่าภาพมายาที่ดวงจิตได้สัมผัสนั้นมันเป็นเรื่องจริงหรือเป็นของตนเองจริง<O:p</O:p


    ดวงจิตที่เกิดความหลงจึงต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในมิติวังวนแห่งความคิดความฝัน เนื่องจากหาทางหลุดพ้นออกไปจากอำนาจแห่งอวิชชาความหลงไม่ได้<O:p></O:p>


    อันที่จริงแล้วจิตทุกดวงย่อมมีอาการอันเป็นธรรมชาติของจิตที่เหมือนกัน จะแตกต่างกันก็ตรงที่จิตบางดวงนั้นฝึกได้ง่าย แต่บางดวงอาจฝึกได้ยาก ถึงกระนั้นก็ยังมีอาการของจิตเดิมแท้ที่เสมอเหมือนกัน คือมีความว่างและความสงบเป็นแก่นแท้เหมือนกัน<O:p</O:p


    ในเมื่อจิตเดิมแท้มีอาการของพลังงานจิตที่ไม่แตกต่าง นั่นก็หมายความว่ามนุษย์ทุกคนมีโอกาสที่จะอบรมจิตของตนให้เข้าถึงภาวะแห่งจิตเดิมแท้ได้เสมอกันทุกคน<O:p</O:p


    ดวงจิตและวิญญาณใดที่มีอวิชชาพอกพูนอยู่ภายในดวงจิตมากก็ต้องใช้เวลาในการอบรมจิตดวงนั้นยาวนานสักหน่อย ซึ่งบางครั้งอาจต้องอาศัยเวลาในการอบรมจิตถึงหลายภพหลายชาติติดต่อกัน จนกว่าจิตดวงนั้นจะเข้าถึงภาวะแห่งความรู้แจ้งและหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ออกไปได้<O:p</O:p


    ครูบาอาจารย์ผู้รู้ผู้ประเสริฐได้ค้นพบแนวทางในการนำจิตออกจากดงแห่งความคิดอันหลากหลาย (อันประกอบไปด้วยมิติแห่งความคิดที่ซ้อนกันอยู่หลายมิติมากมาย) ให้ดวงจิตสามารถกลับสู่ความเดิมแท้แห่งจิตด้วยการให้เครื่องรู้แก่จิต<O:p</O:p


    เมื่อจิตมีเครื่องรู้ จิตก็ใช้เครื่องรู้นั้นแทนการเสพความคิดอันหลากหลายที่รายล้อมจิตอยู่ และเมื่อจิตกับเครื่องรู้เริ่มรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน เครื่องรู้กับจิตไม่พรากจากกัน จิตก็จะแยกตัวออกจากมิติแห่งความคิดอันหลากหลายนั้นได้ ซึ่งอาการที่จิตสามารถหลุดพ้นจากอำนาจแห่งมิติของความคิดได้นี้เองที่เราเรียกว่า “ สมาธิจิต ”
    <O:p</O:p

    [​IMG]



    การอบรมจิตด้วยกระบวนการให้เครื่องรู้แก่จิต ( กรรมฐาน) เป็นอุบายวิธีในการอบรมจิตที่ช่วยให้จิตสามารถออกจากมิติแห่งความคิดได้ง่ายที่สุด จึงนับว่าเป็นวิธีที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถได้สมาธิจิตหรือเข้าถึงอาการของจิตเดิมแท้ได้ง่ายที่สุด<O:p</O:p


    ช่วงระหว่างทางเดินของจิตในการเข้าถึงภาวะสมาธิจึงนิยมใช้อุบายกรรมฐาน เช่น การให้จิตเฝ้าติดตามลมหายใจเข้า – ออก โดยขณะที่หายใจเข้าให้เฝ้าดูลมหายใจตั้งแต่ที่บริเวณปลายจมูกผ่านลงไปยังหทัยธาตุจนถึงสะดือ และในขณะที่หายใจออกก็ให้เฝ้าดูลมหายใจตั้งแต่ที่สะดือย้อนกลับขึ้นไปยังหทัยธาตุจนผ่านออกไปที่ปลายจมูก ทำอยู่เช่นนี้จนกระทั่งจิตกับลมหายใจรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว แล้วจิตก็จะค่อยๆ ออกจากมิติแห่งความคิด มาเป็นอิสระ กลับคืนสู่ความเดิมแท้ สิ้นภาวะกิเลส อยู่เหนือมายาสมมติของโลกทั้งปวง<O:p</O:p


    แต่อาการของจิตในลักษณะข้างต้นนี้ยังไม่ใช่จิตที่เกิดภูมิปัญญาเพราะทันทีที่จิตออกจากภาวะดังกล่าว กิเลสก็จะกลับเข้ามาสู่จิตได้อีกเช่นเดิม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จิตไม่อาจทนต่ออำนาจของมายากิเลสโลกได้ทั้งนี้เป็นเพราะจิตยังเข้าไม่ถึงปัญญา การที่กิเลสจะหมดสิ้นไปจากจิตได้ก็ด้วยภูมิปัญญาที่เท่าทันกิเลสเท่านั้น ดังนั้นหากไม่เกิดปัญญาแล้วกิเลสย่อมสามารถกลับเข้ามาครอบงำดวงจิตได้ดังเดิม<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ลำพังเพียงแต่กำลังอำนาจแห่งฌานสมาธิหรือการเข้าถึงภาวะแห่งความเดิมแท้ของจิตในชั่วขณะนั้นย่อมไม่อาจต้านทานกำลังของอำนาจกิเลสมายาโลกได้ เพราะภาวะของจิตเดิมแท้ที่สัมผัสได้ในภาวะสมาธินั้นไม่ได้ทรงกำลังอยู่ได้ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อจิตถอยกลับเข้าสู่เขตอำนาจของโลกสมมติ จิตที่ขาดภูมิปัญญาจึงไม่สามารถทนต่ออำนาจกิเลสมายาของโลกได้ <O:p</O:p


    จิตจึงจำเป็นต้องแสวงหาทางเดินของจิตในขั้นสุดท้าย นั่นก็คือการที่จิตใช้พลังแห่งสมาธินั้นในการเข้าถึงภูมิปัญญาแห่งความรู้แจ้งเห็นจริง อันเป็นภูมิปัญญาแห่งการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในมิติภพภูมิอันเป็นเพียงภาพมายาแห่งความคิดความฝัน แต่การที่จะสามารถเข้าถึงภูมิปัญญาธรรมในขั้นนี้ได้ผู้ปฏิบัติจะต้องดำรงจิตอยู่ในภาวะที่เป็นโลกุตระภูมิหรือภูมิที่อยู่เหนือสมมติบัญญัติโลกเท่านั้น

    <O:p</O:p

    [​IMG]


    ดวงจิตที่สำเร็จในโลกุตระภูมิจะสามารถถอดรหัสความเร้นลับของมิติแห่งความคิดความฝันให้หลุดพ้นออกไปได้ ดังนั้นเมื่อความฝันนี้จบลงก็จะไม่มีความฝันอื่นใดปรากฏขึ้นมาอีก จึงไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดในทั้งสามโลกอีกต่อไป หากว่าจิตไปสำเร็จในโลกียะภูมิแล้ว ดวงจิตก็จะได้แค่เพียงนิพพานพรหม ซึ่งถ้ายังมีเหตุปัจจัยแห่งการเกิดคืนสภาพขึ้นมา จิตก็มีโอกาสที่จะหวนกลับมาเวียนว่ายตายเกิดได้อีก<O:p</O:p


    จิตทุกดวงจึงมีทางเดินและมีการพัฒนาจิตที่เหมือนกัน จะต่างกันไปบ้างก็ตรงที่บุญกรรมของจิตแต่ละดวงที่ได้เคยกระทำสะสมมา หากดวงจืตใดได้สะสมบุญมามากพอแล้ว การปฏิบัติจิตในชาตินี้ก็จะง่ายเข้า แต่หากจิตดวงใดไม่มีบุญเก่าสะสมมาเลย ก็คงต้องอาศัยความมานะพากเพียรให้มากๆ แล้วเลือกเดินให้ตรงทางและถูกทาง อย่าปฏิบัติไปด้วยจินตนาการเพ้อเจ้อหรือปฏิบัติด้วยอวิชชาความโลภความหลง อย่างบางคนมัวแต่เสียเวลาไปกับการสื่อสารกับดวงจิตวิญญาณของผู้ที่ตายไปแล้ว ผีเจาเข้าทรงติดต่อเทวดา พระอินทร์ พระพรหม หรือบ้างก็มุ่งแต่แสวงฤทธิ์เดชอำนาจ บ้าหวยรวยเบอร์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการปฏิบัติที่ไม่เกิดปัญญาธรรมอันถูกต้อง<O:p</O:p


    การปฏิบัติที่ผิดทางนั้นย่อมส่งผลให้ดวงจิตวิญญาณสะสมความโลภ โกรธ หลง อัตตาตัวตน และความยึดมั่นถือมั่นในมายาสมมติโลก สุดท้ายดวงจิตวิญญาณเหล่านี้ก็ต้องกลับมาเกิดอีก ไม่หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสมายาโลกไปได้ เท่ากับเสียโอกาสไปอีกหนึ่งชาติฟรีๆ



    >> ที่มา : หนังสือ "นิพพานใกล้แค่เอื้อม" หน้า 44-49
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 เมษายน 2011
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    *
    [​IMG]

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่าน

    <IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 600px; HEIGHT: 300px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/likebox.php?href=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fpages%2FBuddhaSattha%2F158726110822792&width=600&connections=20&stream=true&header=false&height=300" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME>
    *<!-- google_ad_section_end -->
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p

    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  3. คมศักดิ์

    คมศักดิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +886
    ดีมากและตรงดีเดียวครับ สำหรับเนื้อหา ขออนุโมทนาด้วยครับ
     
  4. chevasit

    chevasit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +424
    ลูกของสัตว์ป่าที่เกิดในสวนสัตว์ ย่อมไม่พยายาม หรือหนีออกจากสวนสัตว์ เพราะมันเข้าใจว่า ในสวนสัตว์นั้น เป็นโลกทั้งใบ เป็นจักรวาลทั้งหมด เป็นที่ๆให้ความสุข มันไม่นึกถึงป่ากว้างที่อิสระ เหมือนกัน มนุษย์ เกิดมา ทั้ง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ไม่เคย มีใคร เข้าถึงนิพพาน ก็ย่อมเข้าใจว่า ในวัำฎฎสงสาร นี้ คือทุกสิ่ง ดังนั้นจึงไม่พยายาม หนีออกจากมัน ... วัฎฎสงสาร เหมือน กรง ที่มองไม่เคย และเมื่อมองไม่เห็น จึงไม่รู้สึกว่าถูกขัง และไม่คิดว่ามันอึดอัด ที่เราจะต้องพยายามหนี ออกจากมัน
     
  5. ปัญญารวี

    ปัญญารวี สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +2
    ขออนุโมทนาค่ะ
    ขอก็อปปี๊เก็บไว้อ่าน เตือนใจตนเองภายหลังด้วยนะค่ะ
     
  6. Fluffy (New)

    Fluffy (New) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    287
    ค่าพลัง:
    +1,228
    สาธุ ขออนุโมทนาบุญค่ะ ที่แบ่งปันข้อมูลหรือข้อเขียนอันเป็นความรู้ในทางปฏิบัติ สาธุ
     
  7. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53
    ในส่วนของจิตตานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ตรัสถึงจิตใน 16 ลักษณะ คือ จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ(จิตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร) จิตไม่เป็นมหัคคตะ(จิตที่เป็นกามาวจร) จิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นแล้ว จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น

    จิตใน 16 ลักษณะนี้ล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งทั้งสิ้น
    ล้วนแต่เป็นเรื่องของอวิชชาความไม่รู้พายึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป วิญญาณ สัญญา สังขาร เวทนา จนก่อให้เกิดเป็น ตัณหา อุปทาน เป็นอัตตาเป็นตัวตนขึ้นมา
    เป็นจิตที่ปรุงแต่งในลักษณะต่างๆเหล่านี้ขึ้นมา<O:p</O:p







    ความประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ตรัสเรื่องจิตตานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ทรงต้องการชี้ให้เห็นว่า จริง จริงแล้วทุกสรรพสิ่งในจักรวาลหมื่นแปดโลกธาตุนั้นล้วนตกอยู่ในกฎแห่งธรรมชาติ คือ ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงโดยความเป็นธรรมดาของมันโดยธรรมชาติของมัน และโดยธรรมดาโดยธรรมชาติของมันแล้วก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว แต่ความไม่รู้คืออวิชชาพาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง5 จนก่อให้เกิดตัณหา อุปทาน โดยเข้าว่ามันเที่ยงแท้แน่นอนเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมา เป็นจิตลักษณะต่างๆขึ้นมา<O:p</O:p
    แต่โดยลักษณะของจิตต่างๆนั้น มันก็ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติเช่นกัน คือ จิตลักษณะต่างๆทั้ง 16 ลักษณะนี้มันก็ย่อมไม่เที่ยงโดยความเป็นธรรมดาของมันโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว<O:p</O:p







    เพราะฉะนั้นการเจริญสติในวิธี ธรรมชาติ ในหมวดจิตตานุปัสนานี้ ก็เพียงให้รู้ชัดว่า เมื่ออวิชชาความไม่รู้พาปรุงแต่งเป็นจิตลักษณะต่างๆ จิตเหล่านี้ก็ย่อมไม่เที่ยงแปรปรวนไปเป็นธรรมดาธรรมชาติของมันอยู่แล้ว นั้นเอง



    [​IMG]



    ผู้ที่มีใจเที่ยงธรรม การรักษาศีลไม่เป็นของจำเป็น<O:p</O:p
    ผู้มีความประพฤติตรงแน่ว การปฏิบัติในฌานมันจะมีมาเอง(แม้จะไม่ตั้งใจทำ)<O:p</O:p
    <O:p</O:p



    ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย การบำเพ็ญ “สมาธิที่ถูกวิธี” นั้น ได้แก่ การทำเป็นระเบียบตายตัว เพื่อให้เราเป็นคนตรงแน่วในทุกโอกาส ไม่ว่าคราวยืน นั่ง หรือนอน


    [​IMG]



    <O:p

    ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย การนั่ง เพื่อการกัมมัฏฐานภาวนา? ในนิกายของเรานี้ การนั่ง หมายถึง<O:p</O:p
    การได้รับอิสรภาพอันเด็ดขาด และมีจิตสงบได้ในทุกๆกรณีที่แวดล้อมเข้ามาจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายข้างดี หรือเป็นอย่างใดมา การกัมมัฏฐานภาวนานั้น หมายถึงการเห็นชัดแจ้งในภายใน ต่อ “ความแน่วไม่หวั่นไหว” ของจิตเดิมแท้.


    <O:pปรัชญา(ปัญญา) คือ “สิ่งที่ใจเป็น”<O:p</O:p
    สมาธิ คือ “สิ่งที่พุทธะเป็น”<O:p</O:p
    ในการบำเพ็ญปรัชญาและสมาธิ ต้องให้แต่ละอย่างลงจังหวะต่อกันและกัน<O:p</O:p
    แล้วความคิดของเราก็จะบริสุทธิ์<O:p</O:p
    คำสอนข้อนี้จะเข้าใจได้ ก็แต่โดยการ “ประพฤติดูจนช่ำชอง”<O:p</O:p
    ที่ว่าสมาธิตั้งมั่นนั้น ที่จริงมิใช่สมาธิอะไรเลย<O:p</O:p
    คำสอนที่ถูกต้องนั้นคือ ให้บำเพ็ญปัญญา คู่กันไปกับสมาธิ โดยไม่แยกกัน.<O:p</O:p
    </O:p
    </O:p


    [​IMG]

    <O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...