ตามประวัติศาสตร์ฮินดูก็คือnew ageยุคโบราณ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย มีแปปเดียว, 26 ธันวาคม 2010.

  1. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodytext -->[​IMG] [​IMG]
    สัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3


    ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาเกิดที่ดินแดนชมพูทวีป (ประเทศอินเดีย) ก่อนพุทธศาสนา ซึ่งไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีคัมภีร์ศาสนา เรียกว่า พระเวท มีพัฒนาการสืบต่อยาวนาน นับจากลัทธิพราหมณ์ จนถึงยุคที่เรียกว่าศาสนาฮินดู จึงมักเรียกรวมๆ กันว่า ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน
    ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย
    โดยทั่วไป ถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ คือ พระพรหม ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก พระศิวะ เป็นผู้ทำลาย และพระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เป็นผู้ปกป้องและรักษาโลก
    <TABLE id=toc class=toc><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>[แก้] คัมภีร์ทางศาสนา

    คัมภีร์ไตรเวท หรือ คัมภีร์พระเวท(ใช้ในปัจจุบัน)
    [แก้] สาวก

    พราหมณ์
    [แก้] ชนชั้น-วรรณะ

    • วรรณะกษัตริย์ คือ กษัตริย์หรือนักรบ ทำหน้าที่ป้องกันชาติบ้านเมือง และทำศึกสงคราม วรรณะนี้เชื่อมากำเนิดมาจากหน้าอกของพระพรหม
    • วรรณะพราหมณ์ คือ ผู้ทำพิธีกรรม มีหน้าที่ติดต่อกับเทพเจ้า สั่งสอนศาสนาและประกอบพิธีกรรมแก่ประชาชนทุกวรรณะ รวมถึงมีหน้าที่ศึกษา จดจำและสืบต่อคัมภีร์พระเวท วรรณะนี้เชื่อว่ากำเนิดมาจากปากของพระพรหม
    • วรรณะแพศย์ คือ ผู้ประกอบพาณิชกรรม เกษตรกรรม ซึ่งเป็นวรรณะของคนส่วนใหญ่ในสังคม วรรณะนี้เชื่อว่ากำเนิดมาจากมือของพระพรหม
    • วรรณะศูทร คือ กรรมกร วรรณะนี้เชื่อว่ากำเนิดมาจากเท้าของพระพรหม
      • ถ้ามีการแต่งงานข้ามวรรณะ บุตรที่เกิดมาก็จะกลายเป็น จัณฑาล (ในภาษาไทยคือ กาลกิณี) เป็นผู้อยู่นอกวรรณะซึ่งเป็นที่รังเกียจของทุกวรรณะ
      • ส่วนในอินโดนีเซียจะไม่ค่อยเคร่งวรรณะเหมือนกับในอินเดีย
      • หนังสือบางเล่มกล่าวว่า วรรณะพราหมณ์, กษัตริย์ และแพศย์ เป็นวรรณะของคนอารยัน คือชนผิวขาวผู้ริเริ่มศาสนา ส่วนวรรณะศูทร เป็นของคนดราวิเดียน ชนผิวดำชนพื้นเมืองเก่าของอินเดีย
    [แก้] นิกาย

    ศาสนาฮินดู ที่สืบเนื่องจากศาสนาพราหมณ์นับเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุด ได้แบ่งออกเป็นหลายนิกายที่สำคัญ เช่น
    1. นิกายไวศณพ (Vishnav) เป็นนิกายที่นับถือพระวิษณุเจ้าเป็นเทพองค์สูงสุด เชื่อว่าวิษณุสิบปาง หรือนารายณ์ ๑๐ ปางอวตารลงมาจุติ มีพระลักษมีเป็นมเหสี มีพญาครุฑเป็นพาหนะ นิกายนี้มีอิทธิพลมากในอินเดียภาคเหนือและภาคกลาง ของประเทศ นิกายนี้เกิดเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ สถาปนาโดยท่านนาถมุนี (Nathmuni)
    2. นิกายไศวะ (Shiva) เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระศิวะเป็นเทพทำลายและสร้างสรรค์ด้วย สัญลักษณ์ อย่างหนึ่งแทนพระศิวะคือศิวลึงค์และโยนีก็ได้รับการบูชา เช่น องค์พระศิวะ นิกายนี้ถือว่าพระศิวะเท่านั้นเป็นเทพสูงสุดแม้แต่พระพรหม, พระวิษณุก็เป็นรองเทพเจ้าพระองค์นี้ นิกายนี้เชื่อว่า วิญญาณเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นมากกว่าความเชื่อในลัทธิภักดี นิกายนี้จะนับถือพระศิวะและพระนางอุมาหรือกาลีไปพร้อมกัน
    3. นิกายศักติ (Shakti) เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา และเจ้าแม่กาลีซึ่งเป็นชายาของมหาเทพทั้งหลาย เป็นผู้ทรงกำลังหรืออำนาจของเทพสามีไว้ จึงเรียกว่า ศักติ (Power) นิกายนี้เป็นที่นิยมในรัฐเบงกอล และรัฐอัสสัม เป็นต้น
    4. นิกายคณะพัทยะ (Ganabadya) นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด ถือว่าพระพิฆเนศเป็นศูนย์กลางแห่งเทพเจ้าทั้งหมดในศาสนา เชื่อว่าเมื่อได้บูชาพระพิฆเนศอย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่นๆ ครบทุกพระองค์
    5. นิกายสรภัทธะ (Sarabhadh) เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ (สูรยะ) มีผู้นับถือมากในอดีต ปัจจุบันมีจำนวนน้อย นิกายนี้มีพิธีอย่างหนึ่งคือ กายตรี หรือ กายาตรี (Gayatri) ถือว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ คือการกลับมาของพระอาทิตย์เป็นฤๅษีวิศวามิตร
    6. นิกายสมารธะ (Samardha) เป็นนิกายที่ใหญ่พอสมควร นับถือทุกเทพเจ้าทุกพระองค์ในศาสนา ฮินดู ความเชื่อแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบูชาเจ้าได้ตามต้องการ
    ยังมีนิกายอื่นๆอีกมากมาย และแยกย่อยออกไปอีก เช่นเดียวกับศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ ที่มีนิกายน้อย-ใหญ่ แตกแขนงออกมาอีกนับไม่ถ้วน
    == การบูชาศิวลึงค์เป็นความคิดที่พราหมณ์ในสมัยก่อนคิดกันขึ้นมาเพื่อแสดงเป็นสัญลักษณ์ มิใช่ความปรารถนาของพระศิวะที่จะให้พราหมณ์นับถือศิวลึงค์ หรือโยนีสำหรับลัทธิศักติ การบูชาพระศิวะสามารถทำได้ด้วยการกระทำความดีเพื่อถวายแก่พระศิวะ ผู้ที่ปรารถนาที่จะกลับเข้าสู่ความเป็นอาตมันหรือตรัสรู้สามารถทำได้โดยการทำสมาธิ และให้คิดว่าร่างกายนี้เราก็ละในที่สุดก็จะตรัสรู้และมีแสงเป็นจุดกลมๆเป็นฝอยๆสีขาวคล้ายน้ำหมึก ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตรบางอันก็เล็กกว่า และมีแสงเป็นรูปคล้ายดาวกระจายขนาดประมาณครึ่งนิ้ว แสงที่เห็นจะมีน้ำหนัก มีลักษณะเป็นก้อน เมื่อกระทบวัตถุสามารถเด้งกลับได้ การตรัสรู้ของศาสนาพราหมณ์คือ "การรู้ว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา" ส่วนเรื่องขี้วัวไม่จำเป็นต้องเอาขี้วัวมาบูชา เรื่องนี้เป็นความเข้าใจผิดของคนในสมัยโบราณ ในขี้วัวจะมีธาตุไนโตรเจนสูง ใช้ในการกสิกรรมจะมีประโยชน์มาก พระศิวะคือเทพแห่งพลังงาน ไม่ใช่เทพแห่งกสิกรรมเพียงอย่างเดียว
    [แก้] สาระเกี่ยวกับพราหมณ์

    ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ก็คือศาสนาเดียวกันนั่นเอง การที่มีชื่อเรียกควบคู่กันไป 2 ชื่อ คือ “พราหมณ์-ฮินดู” เพราะผู้ให้กำเนิด ศาสนานี้ ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเองว่า ”พราหมณ์” ต่อมาศาสนาได้เสื่อมความนิยมลงระยะหนึ่งเนื่องจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ จนมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ศังกราจารย์ได้ปฏิรูปศาสนาโดยแต่งคัมภีร์ปุราณะลดความสำคัญของศาสนาพุทธ และนำหลักปฏิบัติรวมทั้งหลักธรรมของศาสนาพุทธบางส่วนมาใช้และฟื้นฟูปรับปรุงศาสนาพราหมณ์เป็นให้เป็นศาสนาฮินดู โดยคำว่า “ฮินดู” เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุ และเป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสมของชาวอารยันกับชาวพื้นเมืองในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์โดยการเพิ่มเติมเทพเจ้าท้องถิ่นดั้งเดิมลงไป เนื่องจากเวลานั้นสังคมอินเดีย แตกแยกอย่างมากเนื่องจากอิทธิพลของพุทธศาสนาในประเทศอินเดียที่มีลักษณะเป็นกึ่งพหุเทวนิยม คือนิยมนับถือเทวดา ทำให้ทางตอนเหนือนับถือพระศิวะซึ่งเป็นเทพแห่งภูเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ชาวประมงนับถือวิษณุซึ่งเป็นเทพที่ให้ฝนและพายุ ชาวป่านับถือพระนิรุทธ และตอนกลางนับถือพระพิฆเนตร คนอินเดียเวลานั้นเริ่มไม่นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นจำนวนมากขึ้น เมื่อต้องการรวมชาติ จึงรวมเทพเจ้าแต่ละท้องถิ่นเป็นหนึ่งเดียวกันกับศาสนาพราหมณ์ แลัวเรียกศาสนาของใหม่นี้ว่า “ศาสนาฮินดู” เพราะฉะนั้นศาสนาพราหมณ์จึงมีอีก ชื่อในศาสนาใหม่ว่า “ฮินดู” จนถึงปัจจุบันนี้
    พระพุทธศาสนาก็เกิดขึ้นท่ามกลางสังคมพราหมณ์ แม้แต่พระพุทธเจ้าและพุทธสาวกสมัยแรกๆ ก็เคยนับถือลัทธิพราหมณ์หรือเคยเกี่ยวข้องกับวรรณะพราหมณ์มาก่อน และในนิทานชาดก และเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาพุทธและพระพุทธเจ้า ก็มักจะมีพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงกล่าวได้ว่า ศาสนาพุทธและพราหมณ์ จึงมีอิทธิพลต่อกันและกัน
    ในศาสนาพราหมณ์ คำว่า พราหมณ์ หมายถึง คนในวรรณะที่สูงที่สุดของสังคมอินเดีย มีหน้าที่สอนความรู้เกี่ยวกับพระเวทและทำหน้าที่ติดต่อเทพเจ้า ผู้ที่เป็นพราหมณ์เป็นโดยกำเนิด คือบุตรของพราหมณ์ก็จะมีสถานภาพเป็นพราหมณ์ด้วย
     
  2. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ศังกราจารย์ กำจัดพุทธได้อย่างไร
    วิธีการของศังกราจารย์ในการกำจัดพระพุทธศาสนา ที่สำคัญ คือ เขาเที่ยวถกเถียงโต้วาทะไปทั่วทุกถิ่นเฉพาะนอกเมือง โดยไม่ยอมสอนคนในเมืองเลย เพราะเวลานั้นพุทธศาสนาแม้จะกำลังเสื่อม แต่ยังเข้มแข็งในเมือง
    พร้อมนั้นก็ตีวงล้อมเมืองด้วยการจัดคณะนักบวชฮินดูขึ้น ทำนองเลียนแบบสังฆะในพระพุทธศาสนา โดยตั้งวัดใหญ่ขึ้นมาใน ๔ ทิศ เรียกว่า “มัฐ” ตามอย่างวัดในพุทธศาสนาที่เรียกว่า “วิหาร” ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษา
    (ศาสนาพราหมณ์แต่เดิมมา ไม่มีคณะนักบวช เพราะพราหมณ์เป็นคนวรรณะสูงอยู่บ้านมีครอบครัว-ทรัพย์สมบัติดังที่ชาวบ้านรู้จักชูชก เป็นตัวอย่าง แม้ว่าในพระเวทจะมีคำว่าสังฆะบ้าง ก็หมายถึงการมาประชุมพบปะแต่ละครั้ง มิใช่เป็นการมีชีวิตชุมชนอย่างที่ศังกราจารย์ตั้งขึ้นแบบวัดที่ว่านี้)
    รูปร่างเป็นพระ แต่ความรู้ไม่เป็นพุทธ
    เวลานั้น พระสงฆ์ในพุทธศาสนามากระจุกกันอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ปล่อยให้ชนบทถิ่นห่างไกลอ่อนแอ พระไม่มีความรู้ วัดฮินดูที่จัดตั้งโดยเน้นชนบทก็มีกำลังและได้รับความนิยม ถึงกับค่อย ๆ เปลี่ยนหรือกลืนวัดพุทธไปเป็นวัดฮินดู (ดังมีหลักฐานชัดเจนซึ่งผู้นำฮินดูบอกเองว่าวัดฮินดูสำคัญบางแห่งในปัจจุบันนั้นเดิมเป็นวัดพุทธ)
     
  3. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    นารายณ์อวตารแล้ว ศิวะอวตารก็มี
    นอกจากนั้น พวกไศวะสายศังกราจารย์คงได้ความคิดเรื่องนารายณ์ปางพุทธาวตาร-มายาโมหะ จากที่พวกนิกายไวษณพทำไว้ ในฐานะที่พวกตนเป็นปฏิปักษ์กับพกไวษณพ ก็เลยสร้างเรื่องพระศิวะอวตารขึ้นมา ให้ตีทั้งพุทธศาสนาและตีลัทธิไวษณพไปพร้อมกัน
    เขาแต่งความเป็นคัมภีร์ศังกรทิควิชยะว่า เหล่าเทพยดาได้มาร้องทุกข์ต่อองค์ศิวะพระอิศวรเป็นเจ้าว่า พระวิษณุได้เข้าสิงร่างของพระพุทธเจ้าแล้วดำเนินการให้ประชาชนดูหมิ่นพราหมณ์ รังเกียจระบบวรรณะ และละเลิกบูชายัญ ทำให้เหล่าเทพยดาไม่ได้รับเครื่องเซ่นสังเวย ขอให้พระองค์ช่วย พระศิวะจึงได้อวตารลงมาเป็นศังกราจารย์เพื่อกู้คำสอนของพระเวท ให้การบูชายัญและระบบวรรณะกลับฟื้นคืนมา
    อนึ่งนอกจากเที่ยวโต้วาทะแล้ว ศังกราจารย์ กับกุมาริละผู้ร่วมทำงานกำจัดพุทธศาสนา ได้เที่ยวชักจูงกษัตริย์และผู้มีกำลังทรัพย์กำลังอำนาจทั้งหลายให้เลิกอุปถัมภ์บำรุงพุทธศาสนา
     
  4. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center><TBODY><TR><TD class=WorkCenterHeader>ระบบปรัชญาเวทานตะ
    </TD></TR><TR><TD class=WorkCenterContent>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 5px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; VERTICAL-ALIGN: top; PADDING-TOP: 5px" class=WorkCenterContentFont>Edit TitleEdit Detail
    ระบบปรัชญาเวทานตะ
    · เวทานตะ มีความหมายว่า คัมภีร์สุดท้ายของพระเวท
    · เวทานตะ ได้รวมเอาความคิดที่วิวัฒนาการมาจากอุปนิษัทด้วย
    · เวทานตะ เป็นการจัดทำคำสอนจากพระเวทพราหมณะ และอุปนิษัท ให้มีระเบียบแบบแผนเพื่อให้เป็นระบบอันหนึ่งอันเดียว
    · ต้นตำรับเวทานตะ คือ พรหมสูตร ของ พาทรายณะ
    · ลักษณะเนื้อหา
    1. เชื่อมโยง (สามัณวยะ)
    2. ไม่ขัดแย้ง (อวิโรธะ)
    3. เป็นแนวทางการรู้แจ้ง (สาธนะ)
    4. ผลที่ได้รับ (พละ)
    · ลักษณะร่วมของปรัชญาเวทานตะ
    1. ปฏิเสธ แนวคิดที่ว่าโลกเป็นผลผลิตของวัตถุต่างๆ
    2. ปฏิเสธ แนวคิดทฤษฎี วิวัฒนาการว่าด้วยเรื่องความเปลี่ยนแปลงของมูลธาตุที่ทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นโดยอัตโนมัต
    3. ปฏิเสธ แนวคิดที่ว่าตัวเหตุอันเป็นสัจภาวะ ๒ อย่างต่างเป็นอิสระแก่กัน
    4. ตัวเหตุที่ไม่มีวัญญาณไม่สามารถสร้างโลกนี้ได้ อุปนิษัทกล่าวว่า สรฺวํ ขลุ อิทํ พฺรหฺม (ทั้งหมดนั้นคือ พรหม) วัตถุและจิตไม่ใช่สิ่งที่เป็นอิสระแก่กัน แต่มีมูลฐานมาจากสิ่งเดียวกัน คือ พรหม

    · ทรรศนะของศังกราจารย์ในเรื่องพระเจ้า เราทราบพระเจ้าได้จาก
    o มองในแง่ปฏิบัติ
    § โลกเป็นจริง พระเจ้าเป็นเหตุในแง่นี้พระเจ้าเป็นวัตถุแห่งการกราบไหว้ เป็นวัตถุแห่งการกราบไหว้ เป็นอีศวร/สคุณพรหม
    § แต่โลกเป็นเพียงปรากฎการณ์ขึ้นอยู่กับอวิชชา การพรรณนาว่าพระเจ้าสร้างโลกเป็นความคิดในแง่ปฏิบัติเท่านั้น
    § ตราบเท่าที่ยังถือว่าโลกนี้เป็นจริงอยู่ การสร้างโลกก็ไม่ใช่ลักษณะแท้ของพระเจ้า และไม่ได้เข้าถึงลักษณะแท้ของพระองค์เลย
    · อวิทยา ลวงตาเราใน ๒ ลักษณะ
    o ปกปิดความจริง (อาวรณะ)
    o ลวงให้เห็นเป็นอย่างอื่น (วิกเษปะ)
    · มายาบางครั้งถูกเรียกว่า ประกฤติ ในอุปนิษัท แต่ไม่ใช่ประกฤติของสางขยะ
    · ประกฤติ ในที่นี้เป็นอำนาจของพระเจ้าและขึ้นอยู่กับพระเจ้าอย่างเดียว
    · ศังกราจารย์ ยอมรับประจักษประมาณแต่สงสัยในการแปลความหมาย การเปลี่ยนแปลงรูป ไม่ได้หมายความว่าเปลี่ยนแปลงเนื้อแท้ของรูป
    · ความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติ กับทรัพย์จะต้องอาศัยความช่วยเหลือของสภาวะที่สามที่เชื่อมสองสิ่งนั้นเข้ากัน และต้องอาศัยสภาวะที่สี่ ที่ห้า ฯลฯ ในการเชื่อมโยง สภาวะที่สามกับสองสภาวะแรกเป็นไปตามลำดับ
    · อไทวฺตะเวทานตะ อันเป็นเอกนิยมของศังกราจารย์
    · ศังกราจารย์ได้นำแนวคิดของพุทธ มาค้นคว้าในเรื่องโลกเป็นเพียงปรากฎการณ์หรือความฝันหรือสิ่งลวงตา แต่นำไปประสานกับแนวคิดในอุปนิษัท มูลเดิมของโลกขึ้นอยู่กับอำนาจในการสร้างมายา ให้ปรากฎเป็ฯหลากหลาย
    · มายาคือ อำนาจของพระเจ้า ไม่แตกต่างจากพระเจ้า เช่นเดียวกับอำนาจการเผาไหม้ของไฟ ไม่แตกต่างไปจากไฟ
    · ผู้ที่มีอวิทยา มองเห็นการปรากฎของโลกนี้และถือว่าเป็นจริง
    · ผู้มีวิทยา รู้เห็นโลกอย่างรู้แจ้งแล้วย่อมเห็นว่ไม่มีอะไรอื่นเลย นอกจากพระเจ้าอันเป็นสัจภาวะหนึ่งเดียวที่อยู่เบื้องหลังการปรากฎของโลก
    · ความคิดอันเก่าแก่ที่สุดของ อไทวต เวทานตะ ได้แก่แนวคิดของเคาฑปาท ซึ่งได้รจนาผลงานสรุปคำสอนของ มาณฑูกยอุปนิษัท (มาณฑูกโยปนิษัท)
    · โมกษะ คือ การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชีวาตมัน กับพรหมัน
    · ในแง่ปฏิบัติ ได้แก่ ความยึดมั่นในกรรมสันยาสะ (การสละอย่างสิ้นเชิง)
    · ทฤษฎีวิวรรตวาท ของศังกราจารย์
    · โลกเป็นเพียงปรากฎการณ์ของพรหมซึ่งมีแนวคิดของ เคาฑปาทเป็นรากฐาน

    (ข้อมูลส่วนเสริม)
    · ศังกราจารย์ ยอมรับสัตการยวาท แต่อธิบายแตกต่างจากสางขยะ
    · สางขยะ ถือว่า ไม่มีอะไรเลยที่ไม่มีอยู่ก่อนสามารถจะมีขึ้นได้
    · แต่ศังกราจารย์ ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพย์กับคุณสมบัติ และสภาวะที่ช่วยเหลือมาอธิบาย
    ดินเหนียว หม้อ ช่างปั้นหม้อ ช่างปั้นหม้อทำให้รูปของทรัพย์ซึ่งซ่อนอยู่ปรากฎออกมา
    · การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง แต่เป็นปรากฎการณ์เท่านั้น
    · ความมีอยูอย่างเดียวเท่านั้น คือ ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งปวง
    · ดินและหม้อเป็นเพียงแบบ แบบหนึ่ง ของปรากฎการณ์
    · ทรัพย์ / เหตุของวัตถุ เป็นสัจภาวะที่ไม่ปรากฎออกมา เพราะอยู่เบื้องหลังวัตถุต่างๆ ของโลก
    · ทำนองเดียวกัน ผู้ซึ่งเชื่อในการปรากฎของโลก คิดว่าพระเจ้าทำให้โลกปรากฎ และเรียกพระเจ้าว่าผู้สร้างเป็นต้น
    · แต่สำหรับผู้มีปัญญารู้ว่าโลกเป็นเพียงการปรากฏเท่านั้น (ส่วนโลกที่แท้จริงและผู้สร้างที่แท้จริงหามีไม่)
    · ตามคัมภีร์อุปนิษัทกล่าวไว้ว่าตราบใดที่โลกยังปรากฎอยู่ มันก็อยู่ในพระเจ้า คือ สัจภาวะอยู่ตราบนั้น เหมือนงูที่ปรากฎเป็นเชือกจะไม่ปรากฎในที่อื่น ยกเว้นที่เชือกแห่งเดียว
    · แต่ความไม่สมบูรณ์ของโลก ไม่กระทบต่อรพระเจ้า เช่นเดียวกับลักษณะอันเป็นมายาของงูไม่ได้กระทบ กระเทือนต่อเชือกแต่อย่างใด
    · หรือเปรียบกับการได้/สูญเสียอาณาจักร บนเวทีละครก็ไม่ได้ กระทบต่อตัวละครบนเวทีแต่อย่างใด
    · พรหม เมื่อมองในโลกุตตรทรรศนะไม่สามารถสัมพันธ์กับโลก หรืออหังการ โดยพรรณนาคุณสมบัติพรหม จึงปราศจากความดีเด่นทุกประการ ทั้งภายในและภายนอกนี้จึงเรียกว่านิรคุณพรหม
    · การพรรณานา บทบาทตามโวหารบัญญัติ ทั้งหมดที่ถือว่าดีว่าถูกต้องตามทรรศนะของโลกเท่านั้น (วยวหาริกทฤษฎี)
    · แต่การมองพระเจ้า ในแง่โลกุตตระข้ามพ้นโวหารบัญญัติ เรียกว่าปรมาติกทฤษฎี
    · นักแสดงกลเล่นกลได้เฉพาะกับคนที่เขาใช้เล่ห์กลหลอกได้ และกับผู้คิดว่า เขาเห็นวัตถุที่เสกขึ้นนั้นเป็นจริง
    · นักเล่นกล ไม่สามารถ เล่นกลแก่ผู้รู้แจ้งกลนั้น



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    คล้ายๆกันมั้ย ปรมัตถฺสัจจะของเถรวาทกับของฮินดูยุคnew ageเมื่อพันกว่าปีก่อน
    แตกต่างกันอยู่ก็คือฮินดูน่าถูกใจกว่า
    เพราะสุดท้ายการเข้าสู่โมกษะ คือการเข้าเป็นอันหนี่งอันเดียวกับปรมาตมัน
    น่าamazing น่าดีใจเหลือเกิน
    ศาสนานี้สอนเราว่าผลของการปฏิบัติเราจะเข้าถึงความยิ่งใหญ่ที่สุด
    ไม่เหมือนกับพุทธที่ให้วางจนไม่เหลืออะไรในที่สุด
    ถ้าถามพุทธเถรวาทว่า
    นิพพานคืออะไร
    เถรวาทจะตอบว่า คือสงบอย่างยิ่ง คือดับอย่างยิ่ง
    ดับจากอะไร
    ดับจาก อวิชชา หรือดับจากตัณหา หรือดับจากอุปาทาน
    คือหักโซ่ออกหนึ่งข้อจากวงจรปฏิจจสมุปปาทนั้น
    คำอธิบายไม่amazing ไม่grandious เหมือนการที่เราจะกลับไปสู่อ้อมกอดของปรมาตมันอันยิ่งใหญ่และเป็นอมตะเลย
    พุทธศาสนาเถรวาทนั้นบอกทางที่จะปฏิบัติให้เข้าสู่สภาวะนิพพานทั้งที่มีชีวิตอยู่
    คือมีชีวิตอยู่อย่างไม่เอาอะไรกับโลก สำหรับคนที่เห็นความเป็นมายาของโลกแล้วหน้าที่ที่เหลืออยู่คือปฏิบัติไปเรื่อยๆเพื่อการละวางไปเรื่อยๆจนละความรักความอาลัยในอัตตาอย่างสมบูรณ์ในที่สุด
    เราไม่มีทางอธิบายนิพพานเมื่อเวลาเราดับขันธ์ให้เข้าใจได้เป็นภาษามนุษย์หรอก
    เพราะเราจะรู้อย่างจริงๆว่าเป็นอย่างไรได้ก็ต่อเมื่อขณะจิตสุดท้ายของการดับขันธ์เท่านั้น
    สำหรับพุทธศาสนิกชนที่มุ่งข้ามให้พ้นห้วงน้ำ การคือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธเท่านั้น
     
  6. เมทิกา

    เมทิกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    952
    ค่าพลัง:
    +2,393
    แว่บนึงแอบรู้สึกว่า พุทธเถรวาทอาจเหมาะกับจริตของสาวกภูมิ

    แต่ฮินดู.....ละไว้ในฐานที่เข้าใจแล้วกัน ...พูดมาก เสียมาก ไม่พูด ไม่เสีย... ^^
     
  7. CLEAR ATOMIC

    CLEAR ATOMIC สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +21
    จีซัส เท่ากับ อิศวรครับ พระเจ้าผู้ทำลายและผู้สร้าง
    โอม นมัสศิวายะ .........
     

แชร์หน้านี้

Loading...