ตัวอย่าง การบูชาพระพุทธเจ้า "พระธรรมารามเถรเจ้า"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นะโม12, 20 กันยายน 2011.

  1. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕</CENTER>[๓๕] ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดี ความสำรวมด้วยหูเป็น ความดี ความสำรวมด้วยจมูกเป็นความดี ความสำรวม ด้วยลิ้นเป็นความดี ความสำรวมด้วยกายเป็นความดี ความ สำรวมด้วยวาจาเป็นความดี ความสำรวมด้วยใจเป็นความดี ความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี ภิกษุผู้สำรวมแล้ว ในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ผู้ที่สำรวมมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในอารมณ์ ภายใน มีจิตตั้งมั่น อยู่ผู้เดียว สันโดษ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ ภิกษุใดสำรวมปาก มีปกติกล่าว ด้วยปัญญา มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมแสดงอรรถและธรรม ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดี แล้วในธรรม ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่ เสื่อมจากสัทธรรม ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่พึง เที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น เพราะภิกษุปรารถนาลาภของ ผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่บรรลุสมาธิ ถ้าว่าภิกษุแม้มีลาภน้อย ก็ย่อมไม่ดูหมิ่นลาภของตนไซร้ เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ภิกษุนั้น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน ผู้ใดไม่มี ความยึดถือในนามรูปว่าของเราโดยประการทั้งปวง และย่อม ไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มีอยู่ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็น ภิกษุ ภิกษุใดมีปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสแล้วในพระ พุทธศาสนา ภิกษุนั้นพึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่ระงับสังขาร เป็นสุข ดูกรภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรือที่เธอวิดแล้วจัก ถึงเร็ว เธอตัดราคะและโทสะแล้ว จักถึงนิพพานใน ภายหลัง ภิกษุพึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงละอุทธัม ภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุล่วงธรรม- เป็นเครื่องข้อง ๕ อย่างได้แล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะ ได้ ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอ หมุนไปในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะ อย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญว่านี้ทุกข์ ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ย่อม มีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งซึ่ง ธรรมโดยชอบ ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความ เกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ ภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้น เป็นอมตะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่ บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมนี้ คือ ความคุ้มครองอินทรีย์ ความสันโดษ และ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญา ในธรรมวินัยนี้ ท่านจงคบกัลยาณมิตร มีอาชีพหมดจด ไม่เกียจคร้าน ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ ฉลาดในอาจาระ เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ เพราะความ ประพฤติในปฏิสันถาร และความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระนั้น จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเปลื้องราคะและโทสะเสีย เหมือนมะลิปล่อยดอกที่เหี่ยว แห้งแล้ว ฉะนั้น ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบ มีใจตั้งมั่นดี มีอามิสในโลกอันคายแล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้ สงบระงับ จงเตือนตนด้วยตนเอง จงสงวนตน ด้วยตนเอง ดูกรภิกษุ เธอนั้นผู้มีตนอันคุ้มครองแล้ว มี สติ จักอยู่เป็นสุข ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ตนแลเป็น คติของตน เพราะเหตุนั้น ท่านจงสำรวมตน เหมือน พ่อค้าระวังม้าดีไว้ ฉะนั้น ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์ เลื่อมใสแล้วในพุทธศาสนา พึงบรรลุสันตบทอันเป็นที่เข้า ไปสงบแห่งสังขาร เป็นสุข ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่ม ย่อมเพียรพยายามในพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น ฯ<CENTER>จบภิกขุวรรคที่ ๒๕</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>


    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 กันยายน 2011
  2. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕</BIG> <CENTER class=D></CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๔ / ๑๒.
    <CENTER> ๔. เรื่องพระธรรมารามเถระ [๒๕๕]
    ข้อความเบื้องต้น </CENTER> พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระธรรมารามเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ธมฺมาราโม ธมฺมรโต" เป็นต้น. <CENTER>
    พวกภิกษุปรึกษาเรื่องปรินิพพานของพระศาสดา </CENTER> ดังได้สดับมา เมื่อพระศาสดาตรัสบอกว่า "การปรินิพพานของเราจักมีโดยล่วงไป เดือน ตั้งแต่เดือนนี้" ภิกษุหลายพันรูปเที่ยวแวดล้อมพระศาสดาแล้ว.
    บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนไม่อาจเพื่อจะอดกลั้นน้ำตาไว้ได้. ธรรม<WBR>สังเวช<WBR>เกิด<WBR>แก่ภิกษุผู้ขีณาสพแล้ว. ภิกษุทั้งปวงปรึกษากันว่า "เราจักทำอย่างไรหนอแล?" ดังนี้แล้ว ก็เที่ยวไปโดยรวมกันเป็นพวกๆ. <CENTER>
    พระธรรมารามะไม่เกี่ยวข้องด้วย </CENTER> ส่วนภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่าธรรมารามะ ไม่เข้าไปสู่สำนักของภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุทั้งหลายพูดว่า "อย่างไร? ผู้มีอายุ" ก็ไม่ให้แม้คำตอบ คิดว่า "ข่าวว่า พระศาสดาจักปรินิพพานโดยล่วงไป ๔ เดือน ส่วนเราเป็นผู้มีราคะยังไม่ไปปราศแล้ว เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่นี้แหละ จักพยายามบรรลุพระอรหัต" ดังนี้แล้ว ก็เป็นผู้ๆ เดียวเท่านั้นอยู่ นึก คิด ระลึกถึงธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว.
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูล (เรื่องนั้น) แด่พระตถาคตว่า "พระเจ้าข้า พระธรรมารามะมิได้มีแม้สักว่าความเยื่อใยในพระองค์ ไม่ทำแม้สักว่าการปรึกษากับพวกข้าพระองค์ว่า "ข่าวว่า พระ<WBR>ศาสดา<WBR>จัก<WBR>ปริ<WBR>นิพพาน พวกเราจักทำอย่างไรกันเล่า?" <CENTER>
    พระศาสดารับสั่งให้หาตัว </CENTER> พระศาสดารับสั่งให้เรียกเธอมาแล้ว ตรัสถามว่า "ข่าวว่า เธอทำอย่างนั้น จริงหรือ?"
    พระธรรมารามะ. จริง พระเจ้าข้า.
    พระศาสดา. เพราะเหตุอะไร?.
    พระธรรมารามะ. ข่าวว่า พระองค์จักปรินิพพานโดยกาลล่วงไป ๔ เดือน ส่วนข้า<WBR>พระ<WBR>องค์<WBR>เป็น<WBR>ผู้<WBR>มีราคะไม่ไป<WBR>ปราศ เมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่นี้แหละ ข้าพระองค์จักพยายามบรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงนึก คิด ระลึกถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วอยู่. <CENTER>
    พระศาสดาทรงอนุโมทนาด้วย </CENTER> พระศาสดาประทานสาธุการแก่เธอว่า "ดีละๆ" แล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีความรักใคร่ในเราแม้รูปอื่น พึงเป็นเช่นภิกษุธรรมารามะนี้แหละ. แท้จริง ภิกษุทั้งหลาย เมื่อทำการบูชาด้วยระเบียบและของหอมเป็นต้น หาชื่อว่าทำการบูชาแก่เราไม่, ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเท่านั้น จึงชื่อว่าบูชาเรา"
    ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    <TABLE class=D border=0 cellSpacing=0><TBODY><TR vAlign=top><TD> ๔. <TD>ธมฺมาราโม ธมฺมรโต <TD>ธมฺมํ อนุวิจินฺตยํ <TR vAlign=top><TD> <TD>ธมฺมํ อนุสฺสรํ ภิกฺขุ <TD>สทฺธมฺมา น ปริหายติ. <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=2> ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=2>ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่ ย่อมไม่เสื่อม <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=2>จากพระสัทธรรม.</TD></TR></TBODY></TABLE><CENTER>
    แก้อรรถ </CENTER> พึงทราบวิเคราะห์ในบทเหล่านั้นว่า :-
    ธรรมคือสมถะและวิปัสสนา เป็นที่มายินดีของภิกษุนั้น เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในธรรมนั้นนั่นแล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้ยินดีแล้วในธรรม ชื่อว่าผู้ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม เพราะนึกถึงธรรมนั้นนั่นแหละบ่อยๆ อธิบายว่า ผู้นึกถึงธรรมนั้นอยู่.
    บทว่า อนุสฺสรํ ได้แก่ ระลึกถึงธรรมนั้นนั่นแหละอยู่.
    บทว่า สทฺธมฺมา ความว่า ภิกษุเห็นปานนั้น ย่อมไม่เสื่อมจากโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประเภท และจากโลกุตรธรรม ๙.
    ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นตั้งอยู่แล้วในพระอรหัต.
    เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล. <CENTER>
    เรื่องพระธรรมารามเถระ จบ. </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>
     
  3. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒</CENTER> [๒๒] หากว่าบุคคลพึงรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้ พึงรักษาตนนั้นไว้ ให้เป็น อัตภาพอันตนรักษาดีแล้ว บัณฑิตพึงประคับประคองตนไว้ ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง บุคคลพึงยังตนนั้นแลให้ ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน พึงพร่ำสอนผู้อื่นในภาย หลัง บัณฑิตไม่พึงเศร้าหมอง หากว่าภิกษุพึงทำตนเหมือน อย่างที่ตนพร่ำสอนคนอื่นไซร้ ภิกษุนั้นมีตนอันฝึกดีแล้ว หนอ พึงฝึก ได้ยินว่าตนแลฝึกได้ยาก ตนแลเป็นที่พึ่งของ ตน บุคคลอื่นไรเล่าพึงเป็นที่พึ่งได้ เพราะว่าบุคคลมีตนฝึกฝน ดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งอันได้โดยยาก ความชั่วที่ตนทำไว้เอง เกิดแต่ตน มีตนเป็นแดนเกิด ย่อมย่ำยีคนมีปัญญาทราม ดุจเพชรย่ำยีแก้วมณีที่เกิดแต่หิน ฉะนั้น ความเป็นผู้ทุศีล ล่วงส่วน ย่อมรวบรัดอัตภาพของบุคคลใด ทำให้เป็นอัตภาพ อันตนรัดลงแล้ว เหมือนเถาย่านทรายรวบรัดไม้สาละให้เป็น อันท่วมทับแล้ว บุคคลนั้นย่อมทำตนเหมือนโจรผู้เป็นโจก ปรารถนาโจรผู้เป็นโจก ฉะนั้น กรรมไม่ดีและไม่เป็น ประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย ส่วนกรรมใดแล เป็นประโยชน์ ด้วย ดีด้วย กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง ผู้ใดมีปัญญา ทราม อาศัยทิฐิอันลามก ย่อมคัดค้านคำสั่งสอนของพระ- พุทธเจ้า ผู้อรหันต์ เป็นพระอริยเจ้า มีปกติเป็นอยู่โดย ธรรม การคัดค้านและทิฐิอันลามกของผู้นั้น ย่อมเผล็ดเพื่อ ฆ่าตน เหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อม เศร้าหมองด้วยตนเอง ไม่ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมหมดจดด้วย ตนเอง ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว คนอื่นพึงชำระคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่ บุคคลไม่พึงยัง ประโยชน์ของตนให้เสื่อม เพราะประโยชน์ของผู้อื่นแม้มาก บุคคลรู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ ของตน ฯ<CENTER>จบอัตตวรรคที่ ๑๒</CENTER></PRE>
     
  4. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒</BIG> <CENTER class=D></CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๑๐ / ๑๐.
    <CENTER> ๑๐. เรื่องพระอัตตทัตถเถระ [๑๓๖]
    ข้อความเบื้องต้น </CENTER> พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอัตตทัตถเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน" เป็นต้น. <CENTER>
    พระเถระพยายามบำเพ็ญประโยชน์ </CENTER> ความพิสดารว่า เมื่อพระศาสดาตรัสในกาลที่จวนจะปรินิพพานว่า "ภิกษุทั้งหลาย โดยกาลล่วงไป เดือนแต่วันนี้ เราจักปรินิพพาน" ภิกษุประมาณ ๗๐๐ รูปซึ่งยังเป็นปุถุชน เกิดความสังเวช ไม่ละสำนักพระศาสดาเลย เที่ยวปรึกษากันว่า "ท่านผู้มีอายุ พวกเราจะทำอะไรหนอแล?"
    ส่วนพระอัตตทัตถเถระคิดว่า "ข่าวว่า พระศาสดาจักปรินิพพานโดยกาลล่วงไป ๔ เดือน ก็ตัวเรายังเป็นผู้มีราคะไม่ไปปราศ, เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่นี่แหละ เราจักพยายามเพื่อประโยชน์แก่พระอรหัต."
    พระเถระนั้นย่อมไม่ไปสำนักของภิกษุทั้งหลาย. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านว่า "ผู้มีอายุ ทำไม? ท่านจึงไม่มาสำนักของพวกกระผมเสียเลย, ท่านไม่ปรึกษาอะไรๆ" ดังนี้แล้ว ก็นำไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ภิกษุรูปนี้ย่อมทำชื่ออย่างนี้."
    พระอัตตทัตถเถระนั้น แม้พระศาสดาตรัสว่า "เหตุไร? เธอจึงทำอย่างนั้น" ก็กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข่าวว่าพระองค์จักปรินิพพานโดยกาลล่วงไป ๔ เดือน ข้า<WBR>พระ<WBR>องค์<WBR>พยายาม<WBR>เพื่อบรรลุพระอรหัต ในเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่นี่แหละ." <CENTER>
    ผู้ปฏิบัติธรรมชื่อว่าบูชาพระศาสดา </CENTER> พระศาสดาประทานสาธุการแก่พระเถระนั้นแล้ว ตรัสว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีความสิเนหาในเรา ผู้นั้นควรเป็นดุจอัตตทัตถะ ด้วยว่า ชนทั้งหลายบูชาอยู่ด้วยวัตถุต่างๆ มีของหอมเป็นต้น ย่อมไม่ชื่อว่าบูชาเรา, ส่วนผู้บูชาอยู่ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมชื่อว่าบูชาเรา เพราะฉะนั้น แม้ภิกษุรูปอื่นก็พึงเป็นเช่นอัตตทัตถะ"
    ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    <TABLE class=D border=0 cellSpacing=0><TBODY><TR vAlign=top><TD> ๑๐. <TD>อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน <TD>พหุนาปิ น หาปเย <TR vAlign=top><TD> <TD>อตฺตทตฺถมภิญฺญาย <TD>สทตฺถปสุโต สิยา. <TR vAlign=top><TD> <TD>สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ <TD>นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย. <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=2>บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตน ให้เสื่อมเสีย เพราะ <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=2>ประโยชน์ของคนอื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์ของตน <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=2>แล้ว พึงเป็นผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตน.</TD></TR></TBODY></TABLE><CENTER>
    แก้อรรถ </CENTER> เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า :-
    บุคคลผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงยังประโยชน์ของตน แม้ประมาณ กากณิก<SUP>๑-</SUP> หนึ่งให้เสื่อมเสีย เพราะประโยชน์ของคนอื่น แม้ประมาณค่าตั้งพันทีเดียว. ด้วยว่าประโยชน์ของตนแห่งบุคคลนั้นแล แม้ประมาณกากณิกหนึ่ง ก็ยังของควรเคี้ยวหรือ<WBR>ของ<WBR>ควร<WBR>บริโภค<WBR>ให้<WBR>สำเร็จ<WBR>ได้ ประโยชน์ของคนอื่น หาให้สำเร็จไม่.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> เป็นชื่อของมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด แทบไม่มีค่าเสียเลย แต่ในที่นี้ เป็นคุณบทของคำว่าประโยชน์ จึงหมายความว่า ประโยชน์ของตนแม้น้อย จนไม่รู้จะประมาณได้ว่าเท่าไหน ก็ไม่ควรให้เสียไป.

    ส่วนสองบาทพระคาถาเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสอย่างนั้น ตรัสด้วยหัวข้อแห่งกัมมัฏฐาน เพราะฉะนั้น ภิกษุตั้งใจว่า ‘เราจะไม่ยังประโยชน์ของตนให้เสื่อมเสีย’ ดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงยังกิจมีการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์เป็นต้น อันบังเกิดขึ้นแก่สงฆ์ หรือ<WBR>วัตถุ<WBR>มี<WBR>อุปัชฌาย<WBR>วัตร<WBR>เป็นต้นให้เสื่อมเสีย ด้วยว่าภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริกวัตรให้สมบูรณ์อยู่แล ย่อมทำให้แจ้งซึ่งผลทั้งหลายมีอริยผลเป็นต้น. เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญวัตรให้บริบูรณ์แม้นี้ จึงชื่อว่าเป็นประโยชน์ของตนแท้.
    อนึ่ง ภิกษุใด มีวิปัสสนาอันปรารภยิ่งแล้ว ปรารถนาการแทงตลอดว่า ‘เราจักแทงตลอดในวันนี้ๆ แหละ’ ดังนี้แล้ว ประพฤติอยู่, ภิกษุนั้น แม้ยังวัตรมีอุปัชฌายวัตรเป็นต้นให้เสื่อมแล้ว ก็พึงทำกิจของตนให้ได้. ก็ภิกษุรู้จักประโยชน์ของตนเห็นปานนั้น คือกำหนดได้ว่า ‘นี้เป็นประโยชน์ตนของเรา’ พึงเป็นผู้เร่งขวนขวาย ประกอบในประโยชน์ของตนนั้น."
    ในกาลจบเทศนา พระเถระนั้นได้ตั้งอยู่ในพระอรหัตผล.
    เทศนาได้เป็นประโยชน์แม้แก่ภิกษุผู้ประชุมกันทั้งหลาย ดังนี้แล. <CENTER>
    เรื่องพระอัตตทัตถเถระ จบ.
    อัตตวรรควรรณนา จบ.
    วรรคที่ ๑๒ จบ.
    </CENTER>
     

แชร์หน้านี้

Loading...