ตราบใดที่ยังตัดกิเลสไม่ได้อทิสมานกายนั้นยังไม่เที่ยง(เย๊)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ยศวดี, 1 พฤศจิกายน 2014.

  1. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

              ๑.  (ภาระหะเวปัญจักขันธา) ห่อหุ้มร่างกายนี้   - ภวตัณหา - วิภวตัณหา ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงอริยสัจข้อสมุทัย และเมื่อได้ปฏิบัติในมรรคปฏิปทาอันมีองค์แปด หรือศีล - สมาธิ - ปัญญา จนจิตเข้าถึงนิโรธ ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงอริยสัจ ๔ อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นบุคคลใดทิ้งอริยสัจ ๔ บุคคลนั้นไม่สามารถที่จักเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้เลย

              ๒.  (เจตสิกหรืออารมณ์ของจิต) ก็ให้สักแต่ว่าเป็นเพียงผู้รู้ เป็นเพียงผู้อาศัย  ถ้าไม่มีร่างกาย ความร้อน - หิว - กระหาย - เจ็บป่วย - ม่สบาย - การถูกกระทบกระทั่งใจก็ไม่มี แล้ว  กามตัณหา - ภวตัณหา - วิภวตัณหา ในเมื่อความเป็นจริงของร่างกายเป็นเช่นนี้ เราไปฝืน ไม่อยากให้มันเป็นไป ก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะความโง่ที่ไม่รู้เท่าทัน สภาวะธรรม 

              ๓.  คือสวรรค์ - พรหม เป็นต้น  คืออบายภูมิ ๔  กรรมที่เป็นอกุศลท่านไม่ทำอีกต่อไป หมดกรรมเพราะไม่มีการจุติเกิดขึ้นกับท่านอีก ทุกอย่างท่านทำไปตามหน้าที่ สงเคราะห์คน - สัตว์ ชี้หนทางพ้นทุกข์ เผยแพร่ธรรมไปตามหน้าที่ แต่ท่านหาได้ติดอยู่ในบุญเหล่านี้ไม่ บุญหรือบาปก็ไม่ข้องอยู่ กรรมก็ไม่ข้องอยู่ ยังมีร่างกายอยู่กฎของกรรมเก่าๆ ตามมาสนองก็เรื่องของมัน บุญหรือบาปไม่มีสิทธิ์ที่จักนำท่านไปเกิดอีก

              ๔.  (ทรงอธิบายถึงกาย(รูป) เวทนา - จิต - ธรรม ซึ่งไม่เที่ยงเกิดดับๆ ตลอดเวลา คำว่าจิต คือเจตสิกหรืออารมณ์ของจิต มิใช่ตัวจิต หรือนาม ๔ ตัวที่อาศัยรูปอยู่ ซึ่งจริงๆ ก็คือขันธ์ ๕ หรือร่างกายซึ่งประกอบด้วยรูปหนึ่งกับนามอีก ๔ คือ เวทนา - สัญญา - สังขาร และวิญญาณ)  ธรรมในพระพุทธศาสนา เป็น ปัจจัตตัง ปฏิบัติถึงแล้วจึงจะรู้ได้เอง หรือถึงแล้วรู้เอง ยังไม่ถึงก็ยังรู้ไม่ได้จริง และรู้ได้เฉพาะตนของใครของมัน ตามระดับของจิตในจิต และธรรมในธรรม ผมขออนุญาตอธิบายว่า  เรื่องกายของจิต หรือรูปในนามนี้ก็เช่นนี้ ทรงตรัสเป็นสมมุติธรรมว่า อาทิสมานกาย  คือสังโยชน์ ๑๐ ประการยังไม่หมด หรือความโลภ - โกรธ - หลงยังไม่หมด หรือตัณหา ๓ ยังไม่หมด อาทิสมานกายก็ยังไม่เที่ยง ยังเปลี่ยนแปลงไปตามกรรมที่จิตทำไว้ เช่น อาทิสมานกายเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดียรัจฉาน หรืออบายภูมิ ๔ ในฝ่ายกรรมชั่วที่เป็นอกุศล ในฝ่ายกรรมดีที่เป็นกุศล อาทิสมานกายก็เปลี่ยนแปลงไปตามกรรมดี เป็นมนุษย์ - เป็นเทวดา - เป็นนางฟ้า - เป็นพรหมตามกรรมดี ก็ล้วนยังไม่เที่ยง ไม่ทรงตัวยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเราไม่ได้ จนกว่าจิตดวงนั้นจะอยู่เหนือกรรมทั้งดี ทั้งชั่วอย่างถาวร มิใช่ชั่วคราว แค่หลุดพ้นได้ชั่วคราว เป็นปทังควิมุติ เช่น ระงับนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้ชั่วคราว จิตเป็นฌาน เป็นสมาธิ แต่ยังฆ่ายังตัดกิเลสไม่ได้จริงๆ ขอสรุปว่า  เทพที่มีอาทิสมานกายบริสุทธิ์คงทน - ถาวร - มั่นคง เที่ยงตลอดกาล ภูมิจิต - ภูมิธรรมของผม มีแค่ระดับสัญญา และปัญญา ยังมิใช่ตัวปัญญาแท้ๆ ยังมีสัญญาปนอยู่ เพราะยังตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการไม่ได้หมด ก็อธิบายได้แค่นี้

              ๕.  ฟังอะไรก็รู้เรื่อง ไม่เสียสมาธิไปกับเสียงจ๊อกแจ๊กจอแจ แต่ก็พึงเห็นเป็นของธรรมดา เลี่ยงได้ก็พึงเลี่ยง แต่ในเมื่อเลี่ยงไม่ได้ ก็จำเป็นที่จักต้องชน  หรือไปพอใจหรือไม่พอใจกับเหตุการณ์ที่สับสนวุ่นวายนั้น จิตสงบจิตเป็นสุขไม่ดิ้นรนเดือดร้อนไปด้วยกรณีทั้งปวง อนึ่งให้รู้ความสำคัญในความวิเวกนั้น มีความสำคัญในการปฏิบัติมากขนาดไหน  พระปัญจวัคคีย์ได้หลีกห่างออกไป ทรงอยู่ตามลำพังพระองค์เดียว พราหมณ์ถวายหญ้าคาเป็นที่รองนั่ง หลังจากรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดาแล้ว สถานที่นั้นก็วิเวก มิได้ประกอบด้วยคนหมู่ใหญ่ ปราศจากกิจอื่นๆ ที่ต้องทำโน่นทำนี่อีก  จึงต้องมีความสำคัญในการบรรลุโมกขธรรม ที่ตรัสนี้เพื่อให้พวกเจ้าได้พิจารณาและปฏิบัติตามแบบอย่างจึงจักได้ผล หากยังชมชอบคลุกเคล้าอยู่ด้วยคนหมู่มาก ด้วยเพลิดเพลินไปด้วยคำสรรเสริญหรือนินทา หรือการสนทนาธรรมด้วยอารมณ์ปรุงแต่ง จุดนั้นกายปราศจากการวิเวก วจีกรรมก็มาก เพราะมโนกรรมเป็นผู้ปรุงแต่งคำพูดออกมา ความสงบของใจก็ไม่มี การปฏิบัติก็บรรลุได้ยาก ตรัสเท่านี้ก็ให้พิจารณาดูตัวเอง ดูกาย ดูวาจาของตนเอง อย่าลืมมโนเป็นใหญ่ กายกับวาจาย่อมมีใจเป็นผู้บงการ ดีหรือเลวก็สำเร็จที่ใจนั่นแหละ

              ๖.  และเป็นธรรมดาอยู่ดีที่คนเมื่อได้ยินที่ไหนว่ามีของดี มีพระดีก็จักแห่ไปที่นั่น แล้วคนมีมารยาทก็มีมาก คนไม่มีมารยาทก็มีมาก การรู้กาลเทศะก็มิใช่ว่าจักมีได้ง่ายในคน เรื่องเหล่านี้จักต้องใช้การพิจารณา แล้วหมั่นปล่อยวาง อย่าไปคิดหรือกล่าวตำหนิเอาไว้ในใจ จักไปเอาอะไรกับคน เสียผลของการปฏิบัติธรรมเปล่าๆ

              ๗. พุทธคุณ คือคุณของผู้รู้ อันหมายถึงพระตถาคตเจ้า เป็นผู้รู้ - ผู้ตื่น - ผู้เบิกบาน ดังนั้น  นั่นแหละ บุคคลผู้ปฏิบัติถึงซึ่งพุทธคุณและธรรมคุณ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง  คุณทั้งสามประการของพระรัตนตรัยในบวรพระพุทธศาสนานี้ ผู้ใดถึงแล้ว ผู้นั้นย่อมมีความสุข และจักสุขยิ่งๆ ขึ้นไปจนกระทั่งเข้าถึงซึ่งแดนเอกันตบรมสุข คือพระนิพพานเป็นที่ไปนั่นแหละ ให้มองดูจิต - ดูกายของตนนั่นแหละเป็นสำคัญ ถ้ามุ่งต้องการปฏิบัติให้พ้นทุกข์ได้จริง อย่าเพ่งโทษในจริยาของผู้อื่น 

              ๘.  แล้วจักมีกำลังใจพิจารณาไปจนถึงที่สุดของสาเหตุนั้น ถ้าจิตยอมรับจักวางอารมณ์เบื่อหน่ายนั้นลงไป จนถึงยอมรับกฎของธรรมดา จิตสงบไม่ดิ้นรน มีความสุขมาก ค่อยๆ ทำไปด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ แล้วจักได้ผลตามนั้น

              ๙.  ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง การเดินทางให้รักษาอารมณ์จิตให้ดีๆ  เพราะขาดความผ่องใสของจิต ผู้ปฏิบัติธรรมที่ดีจักต้องหมั่นตรวจสอบอารมณ์อยู่เสมอ หมั่นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดใจกังวลโดยเร็วที่สุด ด้วยอริยสัจหรือธรรมคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอา มรณานุสสติขึ้นมาตั้งมั่น คอยเตือนตนอยู่เสมอว่าความเศร้าหมองของจิต (จิตไม่ผ่องใส) ทำให้ไปพระนิพพานไม่ได้

              ๑๐.  เห็นปัญหา เป็นอุปสรรค 

              ๑๑.  จุดนี้มีความจำเป็นต้องพูดซ้ำ เพราะพวกเจ้าส่วนใหญ่มักจักไปแก้ไขบุคคลอื่น ผิดหลักธรรมอย่างยิ่ง ไปทำอย่างนั้นก็เท่ากับไปเพิ่มกิเลสให้กับจิตของตนเอง จักต้องพยายามมีสติให้ตั้งมั่น ถือธุระไม่ใช่เข้าไว้ให้มาก ๆ ไม่ใช่หน้าที่ให้ปล่อยวางทันที ยกเว้นมีการเกี่ยวข้องโดยกรรมต่อกัน ก็พึงกระทำกันเพียงแต่หน้าที่เท่านั้น 

              ๑๒.  หลังจากรู้ลม - รู้ภาพพระแล้ว ก็จักมีอารมณ์เย็นขึ้น อย่าลืม จงอย่าลืมว่า พุทธานุสสติ พุทโธอัปมาโณ คุณของพระพุทธเจ้าหาประมาณมิได้ คนฉลาดไม่มีใครทิ้งพระพุทธเจ้า 

              ๑๓.  แล้วจงอย่าคิดว่าร่างกายจักทรงตัวอยู่อย่างนั้นเสมอไป ร่างกายไม่ดีก็ไม่เที่ยง ร่างกายดีก็ไม่เที่ยง มันมีแต่ความแปรปรวนหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกวัน หรือทุกขณะจิต  แล้วในที่สุดร่างกายนี้ก็มีความแก่และมีความตายเป็นธรรมดา  

     
     
  2. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ได้รับความกรุณาจาก
    Frameset-11
    โมทนาสาธุคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...