ดูแล-รักษาผู้ป่วยด้วย “ธรรมะบำบัด”

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนคลาย, 10 สิงหาคม 2010.

  1. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    [​IMG]

    จิตที่มีสุขภาพดีย่อมส่งผลให้กายมี สุขภาพดีตามไปด้วย ผู้ที่ฉุนเฉียว โกรธง่าย มีโอกาสเสียชีวิตเพราะโรคหัวใจมากกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 29 ยิ่งคนที่มีความวิตกกังวลด้วยแล้ว จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า ความวิตกกังวล ความเครียด ความซึมเศร้า และความฉุนเฉียวนั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่จะทำให้เกิดโรคและปัญหาสุขภาพตามมาไม่ว่าจะเป็น ปัญหาสุขภาพกายหรือปัญหาสุขภาพจิต

    สำหรับคนไทยแล้วปัญหาสุขภาพจิตที่กำลังคุกคามคนไทยใน ปัจจุบันพบว่า อันดับแรก คือ ความเครียด รองลงมา คือ ซึมเศร้า ซึ่งสาเหตุของปัญหามักจะเกี่ยวข้องกับการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก สูญเสียทรัพย์สิน หรือแม้แต่เสียหน้า ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อความรู้สึกว่าสูญเสียเช่นกัน
    เมื่อมีปัญหาสุขภาพจิต จึงมีผู้ป่วยหลายรายที่เลือกหันหน้าเข้าหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ด้วยการยึดหลักคำสอนทางศาสนา เพื่อช่วยทำให้จิตใจเกิดความเข้มแข็งสามารถยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นใน ต่อมาแวดวงจิตแพทย์จึงได้เริ่มนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการบำบัดจิตใจให้กับผู้ ที่กำลังเผชิญปัญหาสุขภาพจิต หรือที่เรียกว่า "ธรรมะบำบัด"


    เรื่องนี้ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต บอกว่า การนำธรรมะมาประยุกต์ใช้ในการบำบัดผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต ทั่วโลกจะเน้นเรื่องการปรับอารมณ์ ความคิดเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความสุขมากขึ้น ในปัจจุบันจิตแพทย์หลายๆ ท่านก็ได้ประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาบำบัดผู้ป่วยทางจิตควบคู่ไป กับแนวทางการรักษาตามหลักจิตเวชศาสตร์ โดยมองว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักจิตวิทยาที่ยิ่งใหญ่ของโลก เนื่องจากแนวทางจิตบำบัดจะเน้นในเรื่องการปรับความคิด ซึ่งสอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนาที่เน้นในเรื่องการปรับความคิด เรื่องสติปัญญา และเรื่องฝึกจิตสมาธิเช่นกัน



    อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่การเลือกผู้ป่วยซึ่งจะต้องอยู่ในกลุ่มของคนที่มีความ พร้อม เช่น เป็นผู้ที่ได้รับการบำบัดรักษาแล้วอาการดีขึ้นในระดับหนึ่ง ไม่มีอาการหลงผิดมีการรับรู้เรื่องราวของตัวเอง เป็นคนที่มีความคิดวิเคราะห์ที่จะประมวลเรื่องราวต่างๆ เพื่อนำมาสู่การพัฒนาตัวเอง ควรเป็นผู้ป่วยที่มีความสนใจในเรื่องธรรมะ มีความเต็มใจหรือสมัครใจที่จะรับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว หากไม่เต็มใจหรือเป็นคนที่จิตใจฟุ้งซ่านไม่ยอมรับรู้เรื่องราวต่างๆ ก็ยากที่จะใช้ธรรมะบำบัดได้


    สำหรับ "ธรรมะบำบัด" ในพระพุทธศาสนา นั้นมีหลักอยู่ 3 ประการคือ ทำความดี ละความชั่ว ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งและสงบ

    หลักธรรมทั้ง 3 ประการเป็นวิธีคิดง่ายๆ ที่เป็นเหตุเป็นผลกันเมื่อเราทำความดีคุณค่าในตัวเราก็สูงขึ้น เราจะมีความรู้สึกภาคภูมิใจ ความยอมรับนับถือในตัวเองก็จะเพิ่มมากขึ้น การละความชั่วจะทำให้คนอื่นรักและนับถือเรามากขึ้นด้วย คนที่มีคุณค่าในตัวเองนับถือตัวเองจะเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี เมื่อเรารักตัวเองเป็นแล้วก็ต้องรู้จักรักคนอื่นด้วยซึ่งหลักธรรมในทุกๆ ศาสนาสามารถนำมาใช้ในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้โดยเฉพาะหลักธรรมทางพระ พุทธศาสนา ถ้าเราได้ฝึกปฏิบัติธรรมให้รู้จักปล่อยวาง จะช่วยทำให้จิตใจดีขึ้นเราก็จะพ้นจากความทุกข์มีความสุขมากขึ้น


    ถ้าเป็นศาสนาคริสต์ธรรมะบำบัดก็จะเป็นเรื่องของการ ไถ่บาป การให้อภัย หรือแม้แต่ศาสนาอิสลามเมื่อเราเกิดความทุกข์ทางใจหรือเกิดความยุ่งยากใน ชีวิต ธรรมะบำบัดก็จะเป็นในเรื่องความเชื่อในพระเจ้า ซึ่งมีความเชื่อว่าจะต้องก้าวผ่านด่านทดสอบให้ได้ ความเชื่อและความศรัทธาตามหลักศาสนาทุกๆ ศาสนา สามารถใช้เป็นหลักคิดให้เราเชื่อและนำไปปฏิบัติตาม ซึ่งก็จะช่วยให้สามารถป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้


    สำหรับการนำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้กับปัญหาสุขภาพจิต นั้นสามารถทำได้ 2 ทาง ทางแรกนำมาเป็นแนวทางฝึกคิดฝึกปฏิบัติเพื่อที่จะไม่ให้เรายึดติด เช่น อาการซึมเศร้า ที่เกิดจากเราสูญเสียอะไรบางอย่างในชีวิตแสดงว่าเรายึดติดถ้าเราฝึกคิดอย่าง เป็นระบบมีเหตุผลเราก็จะสามารถปล่อยวางและเป็นสุขขึ้นได้ แต่ถ้าเราทุกข์ใจมากๆ ทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะช่วยได้ก็คือการไปพบทีมสุขภาพจิต จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะช่วยเป็นกระจกสะท้อนปัญหาให้เราได้
    ธรรมะบำบัดยังสามารถใช้ได้ดีกับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน มะเร็ง หรือแม้กระทั่งเอดส์ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความทุกข์ใจเกี่ยวกับปัญหาของการเจ็บป่วยของตัวเองอยู่ แล้ว กรณีเช่นนี้ ธรรมะบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ความจริงของชีวิต เรียนรู้ที่จะอยู่กับความทุกข์จากการเจ็บป่วยได้อย่างมีความสุข เรียนรู้ที่จะทำสมาธิหรือสติบำบัด ผู้ป่วยโรคทางกายต้องทำให้ใจไม่ป่วยไปตามกาย เมื่อมีจิตใจที่เข้มแข็งร่างกายก็จะไม่ทรุด ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้มีโครงการที่จะทำเรื่องสมาธิหรือจิตบำบัด รักษาผู้ป่วยโรคทางกายด้วย


    อย่าปล่อยให้กายป่วยไปพร้อมๆ กับใจป่วยลองบำบัดด้วย "ธรรมะ" หลักใจใกล้ตัวที่ใครๆ ก็ทำได้.


    ที่มา : Hospital Healthcare ปีที่ 4, ฉบับที่ 30, มีนาคม 2553

    ขอบคุณมากครับ ที่มา <
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2010
  2. แมงปอปีกดำ

    แมงปอปีกดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    265
    ค่าพลัง:
    +379
    มีประโยชน์มากค่ะ

    ขอบคุณค่ะ
     
  3. natkata

    natkata Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2010
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +32
    ขอบคุณครับ ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
     

แชร์หน้านี้

Loading...