ดื่มด่ำกับธรรมะท่ามกลางธรรมชาติของวัดไทยที่ออสเตรเลีย

ในห้อง 'ทวีป ออสเตรเลีย' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 10 กรกฎาคม 2008.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    ในวาระขึ้นปีใหม่ 2551 ผมขอพาเพื่อนๆ ไปพบธรรมะและธรรมชาติอันสงบและงดงามที่วัดนอกเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย วัดนี้เป็นวัดสายอาจารย์ชา มีพระ 9 องค์ เป็นพระไทยเพียงองค์เดียว นอกนั้นเป็นพระฝรั่งหมด เจ้าอาวาสเป็นฝรั่งที่พูดภาษาไทยได้อย่างชัดเจน ใช้ภาษาไทยสนทนาธรรมะได้อย่างแจ่มแจ้งและเข้าใจง่าย ท่านสรุปศาสนาพุทธว่า สอนให้คนมีความสุข ด้วยการดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายและพอเพียง
    [​IMG]
    วิหารของวัดป่าโพธิวัน ข้างนอกเพิ่งจะสร้างเสร็จแต่ข้างในยังไม่เรียบร้อย (รูปนี้ถ่ายเมื่อกลางเดือนธันวาคม 2550) ดูลักษณะสถาปัตยกรรมแล้วน่าสนใจและน่าคิด โครงสร้างเป็นสไตล์วัดไทยอย่างแน่นอน แต่ไม่มีรายละเอียดต่างๆ ที่ทำให้ดูอ่อนช้อยและสวยงาม จึงทำให้ดูค่อนข้างที่จะแข็งกระด้าง ซึ่งเป็นแนวสถาปัตยกรรมของชาวออสเตรเลีย ไม่ค่อยมีความอ่อนช้อย แต่ดูกลมกลืนกับธรรมชาติและใช้งานได้ดี ทำให้ผมนึกต่อไปว่า อาคารแบบนี้สะท้อนเจตนารมณ์ของศาสนาพุทธได้ดีกว่าวัดในเมืองไทยหรือเปล่า เพราะการก่อสร้างนี้เน้นเรื่องความเรียบง่าย ปราศจากเครื่องประดับ เพื่อนๆ คิดอย่างไรบ้างครับ มด 3 ตัวที่อยู่ในรูปภาพคือภรรยาผม ตัวผม และอาจารย์รวงทอง ฉายะพงษ์อดีตอาจารย์เศรษฐศาสตร์จุฬาฯ ซึ่งพาทั้งครอบครัวหนีความอึกทึกวุ่นวายของกรุงเทพฯ ไปอยู่ที่เมลเบิร์นมาเกือบ 20 ปีแล้ว

    [​IMG]
    วิหารวัดป่าโพธิวันจากอีกมุมมองหนึ่ง

    [​IMG]
    สภาพแวดล้อมของวัดป่าโพธิวัน ดูแล้วช่างสวยและสงบจริงๆ น่าไปนั่งสมาธิมากๆ เสียอย่างเดียวมีแมลงวันเยอะเหลือเกิน และหน้าหนาวก็คงหนาวน่าดู (ช่วงนี้ที่ออสเตรเลียเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูร้อนครับ)

    [​IMG]
    พระพุทธรูปหน้ากุฎิของเจ้าอาวาส
    [​IMG]
    ท่านเจ้าอาวาสกำลังสนทนาธรรมกับอุบาสกและอุบาสิกา ท่านใช้ภาษาไทยได้ดีมาก แต่วันนี้ท่านพูดภาษาอังกฤษเพราะมีชาวศรีลังกาและชาวออสเตรเลียมาถวายเพลด้วย ท่านสอนด้วยภาษาง่ายๆ แต่เข้าใจง่าย และเหมาะสมกับชีวิตประจำวันในปัจจุบันมาก วันที่ไปนั้น ท่านสอนว่าความไม่พอเพียงเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ ความอยากได้ และความโลภ สำหรับตัวท่านนั้นขณะนี้มีความทุกข์อยู่อย่างเดียวคือ ต้องคิดว่าเมื่อจีวรของท่านขาดแล้วท่านจะไปหาจีวรใหม่มาจากไหน



    ไปวัดนี้มาแล้วมีความรู้สึกว่า ชาวต่างชาติที่บวชในร่มกาสาวพัตร ท่านเข้าใจแก่นแท้ของศาสนาพุทธได้ดีกว่าพระไทยหลายองค์ และสามารถบรรยายธรรมได้เข้าถึงคนทั่วไปได้ดีมากๆ



    [​IMG]
    [COLOR=#ff8bff][FONT=Tahoma]อุบาสก อุบาสิกาที่มาฟังธรรมและช่วยเหลือในการก่อสร้างวัดนี้ มั้งคนไทย คนศรีลังกา คนมาเลเซีย คนสิงคโปร์ และคนออสเตรเลีย แสดงว่าแนวทางของท่านอาจารย์ชานี่เป็นแนวทางที่สากลมาก เป็นยอมรับของคนหลายชาติ[/FONT][/COLOR]

    [FONT=Tahoma][COLOR=black][IMG]http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/757/16757/images/Melbourne6.jpg[/IMG][/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=#e36c0a][FONT=Tahoma][COLOR=black]อีกมุมหนึ่งของวัดป่าโพธิวัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสงบร่มรื่นท่ามกลางธรรมชาติของวัดนี้ คนทางขวา 2 คนเป็นอดีตอาจารย์เศรษฐศาสตร์จุฬาฯ ส่วนคนซ้ายมือเป็นลูกศิษย์ของ 2 ท่านนี้สมัยอยู่จุฬาฯ[/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=#000000][/COLOR]
    [COLOR=#e36c0a][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][COLOR=black][FONT=Tahoma][COLOR=black]ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์ [/COLOR][/FONT][FONT=Tahoma][URL="http://wadthai.info/topic02_more.htm"][COLOR=black]http://wadthai.info/topic02_more.htm[/COLOR][/URL][COLOR=#ccffff] [/COLOR][/FONT][/COLOR]

    [COLOR=#ccffff][FONT=Tahoma][COLOR=black]วัดป่าโพธิวัน [/COLOR][/FONT][/COLOR][COLOR=#ccffff][FONT=Tahoma][COLOR=black]Bodhivan Monastery[/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]ยินดีเปิดต้อนรับท่านทุกวัน [/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]กิจกรรมในแต่ละวัน[/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]เวลา 10.45 น. : การถวายภัตตราหารมื้อหลักแก่พระภิกษุ [/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]เวลา 19.00 น. : การฝึกสมาธิและสวดมนต์[/COLOR][/FONT]
    [/COLOR][FONT=Tahoma][COLOR=black]หากท่านขับรถจากเมลเบิร์น ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยขับไปทางมารูนดาร์ไฮเวย์ [COLOR=black]([/COLOR][/COLOR][/FONT]
    [COLOR=black]Maroondah Highway) มุ่งสู่ ลิลลี่เดล (Lilydale) เข้าไปทาง วอร์เบอร์ตัน ไฮเวย์ ( [/COLOR]
    [COLOR=black]Warburton Highway) ไปทาง อีส วอร์เบอร์ตัน (East Warburton) ที่อยู่ของวัดเลี้ยวออกทางเดียวกับบราแฮมส์ ครีคไวเนอรี่ (Brahams Creek Winery) เลยอีส วอร์เบอร์ตันไป 3 กิโลเมตร [/COLOR]
    [COLOR=black] [/COLOR]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]วัดป่าในวิคตอเรีย[/COLOR][/FONT]
    [COLOR=black] [/COLOR]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]นับตั้งแต่สมัยพุทธการเป็นต้นมา พระภิกษุในพุทธศาสนา ได้ดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คืออยู่อย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติ ห่างไกลจากความเครียดและความวุ่นวายของชีวิตชาวเมือง การมีชีวิตเรียบง่ายในธรรมชาติอย่างเงียบๆ และสันโดษนั้นเหมาะสมที่สุด สำหรับกรพัฒนาให้เกิดความสันติสุข และสติปัญญาในประเทศออสเตรเรีย[/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]ความสนใจในพุทธศาสนา โดยเฉพาะคำสอนของหลวงพ่อชา สุภัทโท ที่มีมากขึ้นตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา[/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]ชาวพุทธในเมลเบิร์นได้นิมนต์ศิษย์ของหลวงพ่อชา มาสอนธรรมะให้เป็นประจำในปี ๒๕๔๑ พระอาจารย์อนันต์และพระอาจารย์กัลยาโณ แห่งวัดมาบจันทร์ จังหวัดระยอง ได้รับการนิมนต์มาจากกลุ่มชาวพุทธ ในท้องถิ่นให้สร้างวัดป่าขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคม ๒๕๔๓ ได้มีการจัดซื้อสถานที่แหงหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมสำหรับการสร้างวัดป่า[/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]ต่อมาในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๔ พระอาจารย์กัลยาโณ และพระอาจารย์อนันโท ได้เดินทางจากประเทศไทยไปยังเมลเบิร์นและเริ่มก่อสร้างวัดป่าซึ่งมีชื่อว่าโพธิวัน ณที่แห่งนั้น[/COLOR][/FONT]
    [COLOR=black] [/COLOR]
    [COLOR=black][/COLOR]
    [COLOR=black] [/COLOR]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]วัดโพธิวัน[/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]สมภารองค์แรกของวัดคือพระอาจารย์กัลยาโณนั้น ได้บวชเป็นพระภิกษุที่วัดหนองป่าพง ของหลวงพ่อชาในปี ๒๕๒๘ หลังจากที่ได้ฝึกปฏิบัติอยู่ที่วัดหนองป่าพงและวัดป่านานาชาติเป็นเวลา ๖ ปีแล้ว จึงได้ย้ายไปปฏิบัติต่อที่วัดมาบจันทร์ ภายใต้การควบคุมดูแลของพระอาจารย์อนันต์อีก ๑๐ ปี วัดโพธิวันตั้งอยู่ในเขตแม่น้ำยาร์รา (Yarra River Valley)[/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]ซึ่งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านของอีส วอร์เบอร์ตัน (East Warburton) ห่างจากเมลเบิร์นปราณ ๘๐ กิโลเมตร ในอาณาบริเวณประมาณ ๗๖ เอเคอร์ (๒๐๐ ไร่) ซึ่งอยู่ชายป่าของวนอุทยายยาร์รา สเตท (Yarra State Forest) นี้เป็นพื้นที่เนินเขาสลับซับซ้อนงดงามและยังคงไว้ซึ่งสภาวะแวดล้อมธรรมชาติ ที่เต็มไปด้วยพืชพื้นเมืองและสัตว์ป่านานาชนิด เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีสิ่งก่อสร้างใดๆ ในวัดพระภิกษุจึงต้องจำพรรษารวมกันอยู่ในห้อง (Cabin) เช่าที่ตั้งอยู่ห่างจากประตูวัดประมาณ ๕๐๐ เมตร การพัฒนาวัดจะต้องทำไปตามลำดับ โดยเริ่มจากการหักร้างถางพง และต่อน้ำไฟเข้ามาใช้ ในด้านการก่อสร้างครั้งแรกจะสร้างกุฏิ ๔ หลัง กระจัดกระจายอยู่ตามบริเวณที่ได้หักร้างถางพงไว้แล้วในป่าและจะต้องสร้างโรงครัว และห้องน้ำในบริเวณกลางของวัด[/COLOR][/FONT]
    [COLOR=black] [/COLOR]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]การปฏิบัติธรรมในวัดนี้ เป็นการปฏิบัติตามแบบวัดป่าของหลวงพ่อชา ซึ่งเน้นว่าความรู้ทางด้านการศึกษาอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถนำไปสู่ความสุขที่แท้จริงได้ แต่จะเป็นไปได้จากประสบการณ์ตรง ของแต่ละบุคคลจากวิปัสสนาญาณ[/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาต ิเมื่อจิตแจ่มใสมีพลังและสงบนิ่งเท่านั้น การทำกรรมฐาน ไม่จำเป็นต้องทำเฉพาะขณะนั่งภาวน ตามแบบแผนโดยทั่วไป แต่สามารถทำได้ทุกขณะ ที่ทำกิจวัตรในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกัน การทำความสะอาด การรับประทานอาหารหรือการพักผ่อน กิจวัตรประจำวันของพระภิกษุเริ่มต้นด้วยการทำกรรมฐาน[/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]เมื่อเวลา ๔.๐๐ น. และหลังจากรับประทานอาหารเช้าอย่างง่ายๆ แล้วมักจะมีการทำงานระยะหนึ่งก่อนอาการมื้อหลัก ในเวลา ๑๐.๔๕ น.เวลาที่เหลือทั้งวันหลังจากนั้น จะแยกย้ายกันไปเดินจงกลม นั่งสมาธิและศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีการรวมฉันน้ำปานะ ในเวลา ๑๗.๐๐ น. ครั้งหนึ่ง เมื่อถึงเวลา ๑๙.๐๐ น. จึงมารวมกันนั่งสมาธิ สวดมนต์และบางครั้งพระผู้ใหญ่ อาจจะบรรยายเกี่ยวกับหลักพุทธศาสนา การทำกรรมฐาน หรือแนะนำวัตรปฏิบัติที่เหมาะควรแก่พระภิกษุ[/COLOR][/FONT]
    [COLOR=black] [/COLOR]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]คณะสงฆ์ และฆราวาส[/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]คณะสงฆ์ดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์ ภายใต้ศรีตามพุทธบัญญัติ ซึ่งมาตรฐานนี้ทำให้คณะสงฆ์ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ หากปราศจากการบริจาคทางด้านวัตถุที่จำเป็นจากฆราวาส ข้อจำกัดนี้ เปิดโอกาสให้พระภิกษุมีชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ โดยพึ่งพาวัตถุของทางโลกน้อยที่สุด ทำให้มีอิสระในการที่จะอุทิศตนเพื่อศึกษา และปฏิบัติธรรมเท่านั้น ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสโดยตรง แก่ฆราวาสให้มีความยินดี ในการลดละความเห็นแก่ตัวลงไป เป็นการปลูกฝังความเมตตากรุณา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนาความสงบสุขภายในจิตใจของทุกคน พระภิกษุเป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณแก่ผู้ที่มาวัด และแก่ผู้ที่อยู่ในเมืองซึ่งนิมนต์ท่านไปบรรยายธรรมะและนำฝึกอบรมกรรมฐาน อย่างไรดี เพียงการได้พบเห็นท่านผู้อุทิศตนอย่างจริงจัง เพื่อกระทำความดีให้ถึงที่สุดก็มักจะเป็นการสอนที่มีผลสูงสุดอยู่ในตัวแล้ว[/COLOR][/FONT]
    [COLOR=black] [/COLOR]
    [COLOR=black][B][COLOR=#ccffff][FONT=Tahoma]บทส่งท้าย[/FONT][/COLOR][/B][/COLOR]

    [COLOR=black][COLOR=#ccffff][FONT=Tahoma][COLOR=black]เดี๋ยวจะหาว่าผมเห่อแต่คนต่างชาติ ผมจึงขอเล่าประสบการณ์ที่ประทับใจจากการได้พบปะกับพระไทยองค์หนึ่งนอก[/COLOR][COLOR=black]เมืองเชียงใหม่เมื่อนานมาแล้ว ท่านธุดงค์มาจากอีสาน ท่านเล่าให้ผมฟังว่าทุกๆ ปีท่านจะต้องมาธุดงค์เพื่อขจัดกิเลส ผมถามท่านว่าเป็นพระอยู่ในวัดบ้านนอกที่อีสานก็ยังมีกิเลสอีกหรือ ท่านบอกว่ามีสิ วัดนี่แหละเป็นบ่อเกิดแห่งกิเลสที่สำคัญแหล่งหนึ่งเหมือนกัน ท่านเล่าให้ฟังว่า มีคนนิมนต์ให้ท่านไปเทศน์บ่อยๆ ท่านจึงเกิดความรู้สึกว่า ข้านี่เก่งแฮะ เทศน์เก่ง คนถึงได้นิมนต์ให้ท่านไปเทศน์อยู่เรื่อยๆ แทนที่จะนิมนต์พระองค์อื่นซึ่งแก่พรรษามากกว่าท่าน ท่านบอกว่านี่แหละคือกิเลส เพื่อนๆ อ่านแล้วคิดอย่างไรบ้างครับ[/COLOR][/FONT][/COLOR][/COLOR]

    [COLOR=#ccffff][FONT=Tahoma][COLOR=black]สุดท้ายนี้ขอสวัสดีปีใหม่ให้กับเพื่อนๆ ทุกคน ขอให้มีความสุขตลอดไป ขอให้ทุกคนในประเทศชาติรักกัน[/COLOR][/FONT][/COLOR]





    [/FONT][/FONT][/COLOR][/FONT]

    [COLOR=#a6f8fc][FONT=Tahoma][COLOR=black]วันนั้นมีคนจะ[/COLOR][COLOR=black]ถวายตู้เซฟ ถวายคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ให้วัด ท่านบอกว่าท่านไม่เอา เพราะท่านไม่มีของมีค่าที่จะเก็บรักษา คอมพิวเตอร์ก็มีแล้ว ไม่รู้ว่าจะมี[/COLOR][COLOR=black]ไปอีกทำไม ที่วัดต้องการคือต้นไม้ แต่ต้องเป็นต้นไม้ที่ขึ้นง่ายเลี้ยงง่าย เพราะออสเตรเลียขาดแคลนน้ำ[/COLOR][/FONT][/COLOR]

    ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=184158
     
  2. บัณฑิต ธัมโม

    บัณฑิต ธัมโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    266
    ค่าพลัง:
    +396
    ขออนุโมทนากับข้อมูลดีๆ ครับ

    ปัญญา โลกัสมิง ชาคะโร ปัญญา เป็น เครื่องตื่น ในโลก
     

แชร์หน้านี้

Loading...