ชุมนุมพรึบ-คนรักเครื่องราง พิธีครอบครู"พระอาจารย์อึ่ง"

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 7 พฤษภาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    เจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมครอบครู

    </TD></TR></TBODY></TABLE>พิธีครอบครู เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่นิยมกันมาแต่โบราณ หมายถึงการนำศีรษะครูมาครอบ (เพื่อรับเป็นศิษย์) มีความเชื่อว่า ถ้าเราประพฤติตนอยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม ครูจะคอยปกปักรักษา ให้เราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเป็นอย่างดี

    เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา "พระอาจารย์สุเทพ สุทธสีโล" หรือ "พระอาจารย์อึ่ง" พระเกจิชื่อดังด้านเครื่องรางของขลัง แห่งวัดเวตวันธรรมาวาส (วัดเซิงหวาย) ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี แขวงและเขตบางซื่อ กรุงเทพฯ ได้จัดพิธีไหว้ครูเเละครอบครู เพื่อรำลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ โดยมีคณะศิษย์ที่มีความเลื่อมใสศรัทธา เข้าร่วมพิธีกันอย่างมาก การไหว้ครูและครอบครู เป็นการแสดงกตเวทีต่อบุพการี ครูบาอาจารย์

    สำหรับบรรยากาศในงานพิธี จัดให้มีเครื่องสังเวย และครูผู้อ่านโองการตามแบบแผน โดยคณะศิษย์พร้อมใจกันเปล่งเสียงวาจาด้วยความเคารพตามครูผู้กระทำพิธีขณะอ่านโองการ นอกจากนี้ ภายในงานล้วนเต็มไปด้วยลูกศิษย์ที่นิยมในเครื่องรางของขลัง มีทั้งเเขวนพระพิราพ, พ่อปู่ฤๅษี, ตะกรุดเต็มคอ จนนับไม่ถ้วน <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    บนซ้าย-หุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนหลวงปู่ผล

    บนกลาง-ครอบครูให้ศิษย์

    บนขวา-บรรดาคนรักเครื่องรางแห่ร่วมงานแน่นวัด

    แถวล่าง-โชว์เครื่องรางกันเต็มที่

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระอาจารย์อึ่ง กล่าวว่า พิธีครอบครูส่วนใหญ่จะเลือกประกอบพิธีในวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ ประเพณีการไหว้ครูมีมาแต่โบราณ คนไทยเป็นคนที่มีกตัญญูอย่างแรงกล้า และได้รับการอบรมให้เป็นผู้มีกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การกระทำกิจการใด ต้องได้รับคำแนะนำจากครู แม้แต่การเลียนแบบหรือลักจำ ก็ต้องเคารพผู้ให้กำเนิด หรือประดิษฐ์สิ่งในการศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ พิธีไหว้ครู หมายถึง การสำรวมใจรำลึกถึงพระคุณของบรมครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์

    ทั้งนี้ พระอาจารย์อึ่ง มีนามเดิมว่า สุเทพ ศรีเอี่ยม (อึ่ง) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2504 เป็นชาวบางซื่อโดยกำเนิด เมื่ออายุ 25 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเซิงหวาย โดยมี หลวงปู่ผล เจ้าอาวาสวัดเวตวันธรรมาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์

    ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่ผล โดดเด่นในเครื่องรางพระพิราพ, พ่อปู่ฤๅษี วัตถุมงคลของท่านในยุคเเรกๆ จะเป็นงานทำมือทุกชิ้น โดยใช้ผงจากหลวงปู่ผลเป็นส่วนผสมฝังตะกรุดเเกะสลักลงยันต์เขียนด้วยหมึกเรียกว่าทำมือล้วนๆ ปลุกเสกเองเเจกจ่ายให้ญาติโยมที่มาร่วมทำบุญ นำไปใช้กันจนเป็นที่ร่ำลือในเรื่องพุทธคุณยิ่งนัก

    กล่าวสำหรับ "วัดเวตวันธรรมาวาส" สร้างขึ้นต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปีพ.ศ.2326 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2508 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพระพุทธรูปเก่า หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระ พุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย สมัยกรุงสุโขทัย หน้าตักกว้าง 7 นิ้ว

    พระราชนันทาจารย์ หรือหลวงปู่ผล อักกโชติ เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดเวตวันธรรมาวาส เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่สร้างคุณูปการในด้านการศึกษา มีผลงานปรากฏต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวาง และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่สังขารมิได้เน่าเปื่อยไปตามธรรมชาติ

    ปัจจุบัน สังขารหลวงปู่ผลถูกบรรจุไว้ในโลงเเก้ว มีหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนนั่งอยู่ด้านหน้าในวิหาร เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้สักการะกราบไหว้บูชา

    นายถนอม ชาวเมืองนนทบุรี กล่าวว่า ได้ เเขวนเครื่องรางพระอาจารย์อึ่ง เมื่อก่อนตนป่วยเป็นโรคนอนไม่หลับ จนร่างกายซูบผอม มีคนเเนะนำให้ไปหาพระอาจารย์อึ่ง ท่านได้พรมน้ำมนต์ และมอบตะกรุดเเละพ่อเเก่ให้เเขวน ปรากฏว่าโรคดังกล่าวหายเป็นปลิดทิ้ง

    "มีบางคนบอกว่า ผมเเขวนอะไรเยอะเเยะ เเต่ผมบอกเค้าว่าเครื่องรางเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ถ้าไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริง ถ้าเเขวนเครื่องราง ควรสำรวมกาย วาจา ใจ เครื่องรางของอาจาร์อึ่ง ผมศรัทธาจึงตามหาเก็บเเละมีบางรุ่นลูกศิษย์ให้มาด้วย"

    "นอกจากประชาชนคนทั่วไปเเล้ว พระอาจารย์อึ่ง ท่านยังเมตตาต่อสัตว์ ท่านได้จารตะกรุดใส่คอสุนัข ชื่อ "บ๊อบบี้" ท่านเล่าให้ฟังว่ามันชอบไปกัดกับสุนัขกลางซอย จนเลือดโชก เข้ามาที่กุฏิ ท่านสงสารเลยจารตะกรุดเเขวนให้ ตั้งเเต่นั้นก็ไม่ได้ล้างเลือดมันอีก"

    เครื่องรางของขลัง เชื่อกันว่าสามารถปกป้องคุ้มครองภยันตรายต่างๆ ได้ แต่ผู้ใช้ควรยึดมั่นในความดี ประพฤติตนให้อยู่ในศีลธรรมด้วย
    ˹ѧ
     

แชร์หน้านี้

Loading...