ชม"จารึกวัดโพธิ์" มหาวิทยาลัยแห่งแรก

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย อธิมุตโต, 24 สิงหาคม 2008.

  1. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ชม"จารึกวัดโพธิ์" มหาวิทยาลัยแห่งแรก

    นงนวล รัตนประทีป



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จัดงานวันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และนิทรรศการผลงานศิลป กรรมในหัวข้อ "จารึกวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม มหาวิทยาลัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" จากฝีมือนักศึกษาคณะจิตรกรรมประติ มากรรมและภาพพิมพ์ เพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้าชมตั้งแต่วันที่ 1-30 ส.ค. ที่ตำหนักกลาง หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

    ผศ.ญาณวิทย์ กุญแจทอง รองอธิการบดี (ศิลปวัฒนธรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เพื่อร่วมฉลองที่คณะกรรมการองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชา ชาติ หรือยูเนสโก มีมติรับรองให้ขึ้นทะเบียนศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ หรือวัดโพธิ์ ให้เป็นเอกสาร "มรดกความทรงจำแห่งโลก" ประจำปีพ.ศ.2552 ที่จะถึงนี้อย่างเป็นทางการ จากเมื่อปลายปีพ.ศ.2550 ที่คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ประเทศไทย นำเรื่องนี้เสนอต่อยูเนสโก

    มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงนำประเด็นสำคัญที่ เป็นหัวใจหลักของวัดโพธิ์ มาจัดแสดงแบบย่อ เพื่อบอกถึงเรื่องราวที่มาที่ไปของการได้รางวัล ถ่ายทอดให้สาธารณชนได้รับรู้ว่า วัดพระเชตุพนฯ เป็น "มหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย" ด้วย

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สำหรับประวัติวัดพระเชตุพนฯ เป็นวัดเก่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อ "วัดโพธาราม" เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานีในปีพ.ศ.2325 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม แล้วพระราชทานนามวัดว่า "วัดพระเชตุ พนวิมลมังคลาวาศ" และมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐินที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทอดพระเนตรเห็นสิ่งก่อสร้างต่างๆ ทรุดโทรมเป็นอันมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เริ่มในปีพ.ศ.2375 ใช้เวลาบูรณปฏิสังขรณ์นาน 16 ปี 7 เดือน โดย มีพระราชประสงค์ให้พระอารามแห่งนี้เป็น "มหาวิทยาลัย" สำหรับประชาชนทั่วไป

    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำองค์ความรู้จากปราชญ์ และสรรพศิลปวิทยาการต่างๆ เช่น ตำราการแพทย์ โบราณคดี วรรณกรรม โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มาจารึกลงบนแผ่นหินอ่อนจำนวน 1,360 แผ่น ประดับไว้ตามบริเวณผนัง เสาระเบียงรอบพระอุโบสถ พระวิหาร วิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑป

    ความรู้ที่จารึกไว้บนแผ่นศิลา รวมเรียกกันในปัจจุบันว่า "ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน"

    โดยแบ่งออกเป็นหมวดต่างๆ ไว้ ได้แก่ หมวดพระพุทธศาสนา ว่าด้วยเรี่องราวของพระสาวกเอตทัคคะ, พระสาวิกาเอตทัคคะ, อุบาสกเอตทัคคะ, อุบาสิกาเอตทัคคะ, อรรถกถาชาดก, และอสุภ 10 และญาณ 10 <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หมวดวรรณคดีร้อยกรอง ว่าด้วย โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์, โคลงโลกนิติ, กฤษณาสอนน้องคำฉันท์, ฉันท์พาลีสอนน้อง, สุภาษิตพระร่วง, ฉันท์อัษฎาพานร และโคลงภาพคนต่างภาษา อาทิ ไท้โพธิบาทว์

    หมวดวรรณคดีร้อยแก้ว ว่าด้วย เรื่องรามเกียรติ์, มหาวงษ์ นิทานสิบสองเหลี่ยม

    หมวดอักษรศาสตร์ ว่าด้วย ฉันท์วรรณพฤติ เพลงยาวกลบทและกลอักษร และหมวดเวชศาสตร์ ว่าด้วย ตำรายา โคลงภาพฤาษีดัดตนท่าต่างๆ

    ในการจัดแสดงครั้งนี้มีขึ้นภายในตำหนักกลาง หอศิลป์ จัดแสดงไว้ 2 ชั้น คือชั้นล่างเป็นภาพถ่ายมีข้อความจารึกถึงพระราชประวัติรัชกาลที่ 3 กับวัดโพธิ์ ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้พระอารามแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยสำหรับประชาชนทั่วไป และภาพวาดบริเวณภายในวัดที่เป็นเขตพุทธาวาส รวมทั้งมีข้อความเขียนสั้นๆ ถึงความเป็นมาของวัดพระเชตุพนฯ

    นอกจากนี้ ยังมีภาพถ่ายจิตรกรรมฝาผนังในหมวดพุทธศาสนา พร้อมบรรยายใต้ภาพไว้ด้วย จากนั้นเป็นภาพถ่ายพระนอนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย ที่อยู่ในวัดโพธิ์ เขียนบรรยายว่า "พระพุทธไศยาท" ที่รัชกาลที่ 3 ทางพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้นปฏิสังขรณ์วัด

    ส่วนชั้น 2 เป็นหมวดวรรณคดีร้อยกรอง ภาพถ่ายแผ่นศิลาจารึกหมวดวรรณคดีร้อยกรอง ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ แผ่นจารึกหมวดอักษรศาสตร์ ภาพถ่ายเขตพุทธาวาสวัดพระเชตุพนฯ ประกอบด้วยพระอุโบสถ พระวิหาร เจดีย์ ศาลาการเปรียญ ศาลาราย พระพุทธรูป และมณฑป

    รวมทั้งภาพสะท้อนแสงฤๅษีดัดตนในท่าต่างๆ สมุนไพรที่มีขายอยู่ในวัด การรักษาแบบโบราณด้วยท่าต่างๆ ของฤๅษีดัดตน เช่น ท่าแก้ส้นเท้า แก้ไหล แก้ท้อง แก้อก

    ส่วนตรงมุมห้องมีภาพภายในวัดขนาดใหญ่ ด้านล่างเป็นภาพฤๅษีดัดตน โดยระบุว่าเป็นคุณค่าการจารึกของวัดพระเชตุพนฯ สลักด้วยหินอ่อน ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพถ่ายเจดีย์รายภายในวัดโพธิ์ยามค่ำคืน และหมวดเวชศาสตร์ ว่าด้วยตำรายา มีการเขียนรายละเอียดเกี่ยวตำรายาไว้มากมาย

    ภาพการกดจุดต่างๆ เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายไว้อย่างสวยงาม รวมทั้งจารึกตำราหมวดนวดวัดโพธิ์ศาลารายหน้าพระมหาเจดีย์ ที่รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกเป็นวิทยาทานแก่ประชา ชน เพื่อการรักษาร่างกายให้สมบูรณ์

    ทั้งหมดนี้มีอยู่ในงาน "จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มหาวิทยาลัยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" ยังมีเวลาเข้าชมไปจนถึงวันที่ 30 ส.ค.นี้

    [FONT=Tahoma,]หน้า 5 - http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09DMHdPQzB5TkE9PQ==[/FONT]
     
  2. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,329
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,265
    ของดีที่ควรรักษาไว้ให้ลูกหลานครับ
     
  3. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    เมืองไทยของเรามีของดี ๆ เยอะไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล ๆ เลยถ้าตั้งใจศึกษาจริง ๆ นะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...