ฉบับที่ ๔๕ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๐

ในห้อง 'กระโถนข้างธรรมาสน์' ตั้งกระทู้โดย paang, 8 พฤศจิกายน 2007.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG][​IMG] <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=15 height=21></TD><TD align=middle width="100%" background=images/up.gif height=21></TD><TD></TD></TR><TR><TD width=15 background=images/left.gif></TD><TD width="100%" background=images/glass.gif bgColor=#fefefe><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    ช่วงแรกของเล่ม "กรรมฐาน ๔๐"สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนตุลาคม ๒๕๔๕
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ



    ถาม:
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG][​IMG] <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=15 height=21></TD><TD align=middle width="100%" background=images/up.gif height=21></TD><TD></TD></TR><TR><TD width=15 background=images/left.gif></TD><TD width="100%" background=images/glass.gif bgColor=#fefefe><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD>ถาม : .........(คุยเรื่องศรัทธาต่อหลวงพ่อ).......


    ตอบ : เมื่อวานมีโยมคนหนึ่งมาจากอยุธยา มาสารภาพบาป เขาบอกเคยเจอหลวงพ่อครั้งหนึ่ง ก่อนหลวงพ่อมรณภาพตั้งหลายปี ไปถึงก็ตำหนิอย่างเดียวเลย พระอะไรวะ ถวายสังฆทานไม่ให้ตั้งหลักเลย ไล่ออกเอา ๆ พูดง่าย ๆ คือ มันหาเรื่องด่าตั้งแต่วินาทีแรก จนกระทั่งเดินกลับไปนั่นแหละ เสร็จแล้วพอหลวงพ่อสิ้น ได้ประวัติหลวงพ่อไปอ่านเสร็จไปนั่งร้องไห้ บอกทำไมพระอย่างนี้ตูไม่มีโอกาสเจอนาน ๆ

    ถาม : แทนที่จะได้นั่งคุย
    ตอบ : สมน้ำหน้ามัน คือมันเองแบกไว้เต็มที่ แทนที่จะติตัวเอง ก็ไปติคนอื่นเขา

    ถาม : โชคดีกว่าพ่อผม ตอนนี้ยังไม่เปลี่ยนเลย แถมผมมานี่ ยังวิจารณ์หลวงพ่อให้ผมฟังอีก
    ตอบ : เอาเถอะ ตามสบาย....ที่วัดตอนนี้พระรุ่นใหม่ ๆ ก็มี มีประเภทไม่เชื่อเลย ของเราก็ประเภทที่ว่า ค่อย ๆ หยอดไปทีละนิด ทีละหน่อย คราวนี้ว่าช่วงพรรษานี้ บังเอิญต้องเป็นครูสอนนักธรรมเขา ดังนั้นทุกอย่างที่สอนเราจะตบท้ายว่า ถ้าคุณอยากจะฝึก มา ผมจะสอนให้ได้ คือท้ามันเลย แล้วก็ไปท้าย ๆ บอกว่า ก่อนหน้านี้ ผมเป็นคนเชื่อยากว่าพวกคุณหลายเท่า แต่ว่าบังเอิญผมฉลาดกว่าคุณนิดหนึ่ง คือผมรู้ว่าทำอย่างไร ผมก็พยายามทำตาม ถ้าผมทำไม่ได้ผมถึงไม่เชื่อ แต่พวกคุณยังไม่ได้ทำอะไรเลย คุณไม่เชื่อ มันโง่ไปหน่อยว่ะ ยังไม่ทันจะลงมือเลย บอกกูไม่เชื่อ ๆ แล้วจะมีประโยชน์อะไร เขาบอกว่าตรงภูเขานั้นมีทองอยู่ ยังไม่ทันไปก็บอกว่าไม่เชื่อ ๆ ลองตะกายไปดูสักหน่อยว่าไม่มี แล้วค่อยด่า แล้วตกลงว่า ถ้าหากคนเชื่อมันไปถึงเจอ แบกกลับมามันได้อยู่คนเดียว แล้วคุณได้อะไรขึ้นมา มาระยะหลัง ๆ นี่ ชักจะเชื่อ คือของเราประเภท ท้ามันเลยว่าคุณอยากจะฝึกอะไรบอกมา ที่เรียนนี่มันมี ธรรมวิภาค เกี่ยวกับการปฏิบัติ แนวปฏิบัติทุกรูปแบบเลยอย่างนี้

    ถาม : จริง ๆ ก็มีครบนะครับ แล้วแต่ละคนจะแตกฉานออกไป ไม่มีเพ้อฝันอะไรอย่างนี้
    ตอบ : มีครบ คือทิฐิ ความเห็นแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน เขาประเภทที่ต้องทำให้เห็นซึ่ง ๆ หน้า แล้วธุระอะไรที่ต้องไปทำ ก็บอกทำแล้วมันไม่ได้ความเลื่อมใสเฉพาะที่เกิดขึ้นจากใจที่แท้จริง มันดันไปยึดติดในฤทธิ์ ในเดชเสียต่างหาก ต้องดูอะไรนะ จิตตคฤหบดี ก่อนที่จะเป็นอัครสาวกผู้เลิศในทางธรรมถึก ท่านได้เจอพระมหานามะแล้วเลื่อมใส สร้างวัดสร้างอะไรให้อยู่ เสร็จแล้ววันหนึ่งก็บอกว่า พระคุณเจ้าช่วยแสดงฤทธิ์ให้ผมดูหน่อยได้ไหม พระมหานามะ ท่านเก็บอาสนะหนีเลย แล้วก็ส่งพระสุธรรมเถรไปแทน พระสุธรรมเถรท่านเป็นพระปุถุชนนี่ ท่านก็ประเภทคนที่กิเลสใกล้เคียงกัน ก็อยู่ด้วยกันนานหน่อย

    คราวนั้นจิตตคฤหบดี ก็ตั้งใจว่าจะถวายทานต่อพระพุทธเจ้า และพระอัครสาวก ก็เลยส่งทูตไป สมัยนี้เรียกว่านิมนต์อย่างนี้ พอพระพุทธเจ้ามาไม่ได้ก็ส่งพระโมคัลลาน์ พระสารีบุตรมา คราวนี้ท่านก็ประเภทตื่นเต้น ต้อนรับกันยกใหญ่ ลืมพระสุธรรมเถรไป คือลืมเจ้าอาวาส มัวแต่ไปต้อนรับพระอาคันตุกะไป พระสุธรรมเถรก็เมียง ๆ เข้าไปหา เพื่อให้เขาสนใจตัวเอง แต่ปรากฏว่า เขาก็ไม่ได้สนใจสักที คราวนี้ท่านก็เข้าไปในโรงครัว เห็นท่านเศรษฐีกำลังสั่งทำอาหารอย่างโน้นอย่างนี้ หันมาเจอ อ้าว...พระคุณเจ้ามาพอดี ผมทำอะไรขาดตกบกพร่องบ้างหรือเปล่า จะได้แก้ไขให้ถูก เพราะถวายให้พระโมคัลลาน์ พระสารีบุตรพร้อมกับพระสงฆ์สาวกตั้ง ๕๐๐ ทั้งที ก็อยากทำให้สมบูรณ์ที่สุด พระสุธรรมเถรท่านก็มองซ้ายมองขวา แล้วก็พูดประชดว่า ขาดขนมแตกงา คือขนมชนิดนี้มันไม่มีหรอก แต่ท่านพูดประชดไป เสร็จแล้วจิตตคฤหบดีพอได้ยิน ก็รู้ว่าพูดประชดท่าน ขนมแตกงาในโลกนี้มีที่ไหน ก็เลยไล่ตะเพิดไปเลย ท่านก็เลยกลับไป เชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าก็ถาม อ้าว...ทำไมถึงมาล่ะ เขาฉันเสร็จกันแล้วเหรอ ทั้ง ๆ ที่รู้ก็ทำเป็นไม่รู้ พระสุธรรมเถรก็เลย บอกว่า เปล่าครับ เขาไล่มา

    พระสุธรรมเถรนี้แหละ เป็นองค์แรกในพระพุทธศาสนาที่โดนลงโทษด้วยวิธี ปฏิสารณียกรรม คือบังคับพระไปขอโทษโยม เพราะว่าตัวเองทำผิดจริง ๆ พระสุธรรมเถรก็เลยบากหน้ากลับไปขอโทษโยม บังเอิญว่าโยมฟังธรรมจากพระโมคัลาน์ พระสารีบุตร กลายเป็นพระอนาคามีเสียแล้ว หมดโกรธแล้ว ไปขอโทษท่านก็ให้อภัยไม่ว่าอะไรกันหรอก ตอนนี้ท่านเองเป็นพระอนาคามีแล้ว ธรรมะของพระพุทธเจ้าช่างวิเศษจริงแท้ เป็นอย่างนี้ ๆ ขอให้ท่านตั้งใจปฏิบัติเถิด พระสุธรรมเถรก็อายโยม ก็รีบจ้ำตัวเองกลายเป็นพระอรหันต์ไป อยู่กับเขาตั้งนานตั้งเน ตัวเองเป็นพระกับเขาแท้ ๆ ยังไม่ได้อะไร ถึงเวลาดันไปพูดจากระทบกระแทกแดกดันชาวบ้านเขาอีก ถึงเวลาชาวบ้านเขากลายเป็นพระอนาคามี ตัวเองก็เลยอายโยม ต้องรีบไปจ้ำเป็นการใหญ่ การลงโทษในพระพุทธศาสนานี่ ประเภทต้นบัญญัติมันหายาก พระสุธรรมเถรนี้ชัดที่สุดเลย โดนลงโทษด้วยวิธีปฏิสาราณียกรรม บังคับให้ไปขอโทษโยม เพราะว่าพระผิดจริง ๆ

    ถาม : ปัจจุบันยังมีคนทำหรือครับ ?

    ตอบ : ก็น่าจะมีนะ...เดี๋ยวรออาตมาก่อน ถ้าพระท่าขนุนมีปัญหาอย่างนี้เจอแน่ เขาจะมี นิสยกรรม ถอดจากยศ ปัพพาชนียกรรม ขับออกจากวัดเลย ตัชนียกรรม ลงโทษด้วยให้ออกจากหมู่มั่ง คือให้ไปอยู่คนเดียวอย่างนั้น แล้วประเภทปัพพาชนียกรรม ไม่ใช่ขับออกจากวัดเฉย ๆ บางทีให้สึกเลย อยุ่ที่วิธีลงโทษ แล้วปฏิสาราณียกรรม บังคับให้ไปขอโทษเขา

    ถาม : เพิ่งจะเคยได้ยินนะครับ ไปขอโทษฆราวาส แต่ผมว่าคุ้มนะ ขอเสร็จแล้วได้เป็นพระอรหันต์ ขอสักร้อยครั้งพันครั้งก็ได้
    ตอบ : ก็มีประเภทที่คว่ำบาตรไง คือโยมปฏิบัติไม่ดีต่อพระ พระทั้งหมดถึงเวลาที่รับบาตรก็คว่ำบาตรลงไม่ยอมรับ เขาเลยใช้วิธีว่าคว่ำบาตรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เพราะถ้าหงายบาตรมาเมื่อไร เขาก็ใส่บาตรได้ เสร็จแล้วเขาจะมีการสวดหงายบาตร หมายความว่าตอนนี้ฆราวาสคนนั้นได้สำนึกผิด แล้วมาขอขมากรรมแล้วให้หงายบาตรได้ เขาก็เลยมีการสวดคว่ำบาตร สวดหงายบาตร คนสมัยนี้เขาก็เลยไม่รู้ว่าที่มา มายังไง รู้แต่ว่าคว่ำบาตรคือไม่เอาด้วย จริง ๆ คือมาจากวงการของพระ คว่ำบาตรคือ มึงทำบุญมากูก็ไม่รับ

    ถาม : รู้สึกว่าอย่างนี้ถ้าไม่รู้จริง ก็ไม่กล้าพูดไม่กล้าสอนแล้วครับ ?

    ตอบ : มันอันตราย ทำไปถึงตรงนั้นแล้ว จะไปคิดว่าธรรมะที่พระพุทธเจ้ารู้ ก็คืออย่างนี้ ๆ มันกลายเป็นว่าทิฐิของตัวเอง หิ่งห้อย บอกว่าพระอาทิตย์สว่างแค่นี้ เจริญไหมล่ะ ?

    ถาม : แต่ตอนนี้ก็รู้แล้วครับว่า ทำแล้วต้องได้ เพราะทุกครั้งที่ไป ก็รู้สึกว่าเสร็จโก๋ทุกที พอไปปั๊บความคิดมันแล่นมาทันทีทันใดเลยว่าต้องได้

    ตอบ : การทำต้องดูเจตนา แบบเดียวกับว่า ปัตตานุโมทนามัย คือการอนุโมทนาในส่วนกุศลของคนอื่นเขาใช่ไหม ? คือว่าในขณะที่เราอยากทำใจจะขาด แต่ไม่มีโอกาสทำ แล้วคนอื่นเขาได้ทำ ก็เลยพลอยยินดีในบุญของเขา เออหนอ...เขาโชคดีจริงที่เขามีโอกาสทำในสิ่งที่เราไม่ได้ใช่ไหม ? จิตที่พลอยยินดีด้วยความจริงใจตัวนั้น มันต่างอยู่ที่ว่า ปัจจุบันเห็นเขาทำแล้วสาธุ แต่ตัวนี้เราแฝงความหมายว่ากูจะเอา ใช่ไหม ? เขาทำเราจะเอา ก็เลยกลายเป็นว่า เจตนามันผิดไป เลยต้องตั้งอารมณ์ใจกันใหม่

    ถาม : ...........(เห็นในหลวงในนิมิต ในรูปพระสงฆ์ยืนบิณฑบาตอยู่ข้าง ๆ พระวิสุทธิเทพ)..................

    ตอบ : อาตมาขึ้นนิพพานได้ครั้งแรกในชีวิตในหลวงรัชกาลที่ ๙ ของเรานี่แหละ ยืนอยู่ตรงหน้า แล้วท่านก็เป็นพระสงฆ์จริง ๆ ยืนห่มเหลืองอร่ามเลย ถือบาตรอยู่ใบหนึ่ง ก็เลยกราบท่าน ทูลถามท่านว่ามีพระประสงค์สิ่งใด ถึงได้มาแสดงองค์อย่างนี้ ท่านบอกว่าเธอลองดูในบาตรซิ ก็ก้มดูในบาตร มีน้ำประมาณครึ่งบาตร น้ำกำลังหมุน ๆ อยู่หน่อย ๆ แล้วมีเรือสำเภาเล็ก ๆ อยู่ลำหนึ่งกำลังวนไป ๆ อยู่ เผลอมองแป๊บเดียว ตัวไปอยู่ในเรือ กลายเป็นเรือลำใหญ่เบ้อเร่อเลย และน้ำกลายเป็นทะเล ชนิดที่ไม่เห็นฝั่ง มีแต่คลื่นลมรุนแรง กลายเป็นน้ำวนกำลังจะดูดเรือลงไปอยู่แล้ว แต่แปลก ๆ เงยหน้าขึ้นมาก็ยังเห็นในหลวง องค์ใหญ่เท่าเดิมอยู่ มันกลายเป็นว่าตัวเราเล็กลงหรือไงก็ไม่รู้ไปอยู่ในเรือ ตกใจว่าตูจะตายแน่แล้วใช่ไหม ? ก็โวยวายกับท่านว่า ทำอย่างนี้หมายความว่าอย่างไร ? ท่านบอกว่าเธอลองหาทางดูสิว่าจะขึ้นมาได้หรือเปล่า ? พอท่านบอกหาทางดูสิ มองไปรอบข้างเห็นเชือกทอดจากฝั่งมา ไม่เห็นว่าต้นสายมันอยู่ไหนหรอก แต่มันพาดอยู่บนเรือเป็นพัน ๆ เส้นเลย เราก็เลือกเอาเส้นมโหฬารเลยเผื่อเหนียวไว้ว่าไม่ขาดแน่นอน ก็ปีนขึ้นมา พอขึ้นถึงฝั่งมาก็กราบทูลถามท่านใหม่ว่า หมายความว่าอย่างไร ? ท่านบอกว่านานไปเธอจะรู้เอง คราวนี้พอเล่าเรื่องให้คนอื่นฟังก็มีท่านผู้ที่ท่านมั่นใจว่า ท่านตีความนิมิตนี้ได้ ท่านบอกว่าในหลวงเป็นพระโพธิสัตว์ คำว่าพระโพธิสัตว์ คือ ผู้ตั้งความปรารถนาจะขนถ่ายสัตว์โลกข้ามวัฏสงสาร ดังนั้นสัญลักษณ์ก็คือเรือ ที่ว่าเราสละเรือทิ้งก็คือว่า เราละความปรารถนาพุทธภูมิ แล้วขณะเดียวกันว่าเส้นเชือกที่ใหญ่ที่สุดที่เราเลือก น่าจะเป็นธรรมะส่วนหนึ่งที่หลวงพ่อท่านสอนเรา คือเชือกมันเต็มไปหมด แต่เราเลือกเผื่อเหนียว เอาเส้นโตเป็นสายเลยอะไรอย่างนั้น

    ถาม : คือไม่ว่าน้ำจะแรงแค่ไหนก็ไม่กลัวที่จะขึ้นจากมันใช่ไหมครับ ?
    ตอบ : ไม่ใช่ ของเราเองสละเรือ

    ถาม : หมายถึงหลวงพี่องค์เดียว ?
    ตอบ : ใช่ หมายถึงว่าต้องละความปรารถนาพระโพธิญาณ

    ถาม : อ๋อ...ในหลวงก็บอกว่าสักวันหนึ่ง
    ตอบ : ใช่...ท่านบอกว่านานไปจะรู้เอง คราวนี้อาตมาขึ้นพระนิพพานครั้งแรก ยังไม่ทันเจอพระพุทธเจ้า เจอในหลวงแล้ว

    ถาม : แล้วสมัยที่เป็นร่างอย่างนี้ หลวงพี่เคยคุยกับในหลวงไหมครับ ?
    ตอบ : ประเภทคุยกันเอง ไม่เคย แต่ว่ากำลังใจจะยึดท่านเป็นปกติ เพราะยึดถือท่านเป็นแบบอย่าง ถึงเวลาถ้าหากว่าเป็นวัน ๕ ธันวา สมัยฆราวาสนี่นะ ก็วันที่ ๔
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...