จุดประสงค์ของการอุปสมบทคืออะไร ?

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 18 มีนาคม 2022.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +52
    f11e59c6ab453e0d0f3774179bfa356c.jpg

    อุปสมบท การอุปสมบทเป็นคำที่คุ้นหูคนไทยมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะผู้ชาย เพราะเรามักจะได้ยินประโยคที่ว่า บวชทดแทนบุญคุณให้พ่อแม่ ให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์” เชื่อว่าหลายคนคงคิดว่าคำว่า “บวช” กับคำว่า “อุปสมบท” นั้นเป็นคำเดียวกัน ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว คำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน แต่สามารถใช้แทนกันได้
    จุดประสงค์การอุปสมบท คือ

    1. เพื่อทดแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณ เช่น บุพการี พ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือผู้มีคุณต่อเรา เป็นต้น
    2. เพื่อศึกษาธรรมะ คือ ศึกษาสิ่งที่ควรจะต้องทำ และศึกษาสิ่งที่ควรจะต้องละ หมายถึง สิ่งไหนไม่ดีเราจะต้องละ สิ่งไหนที่ดีเราจะทำเพิ่มให้เจริญยิ่งขึ้นไป
    3. เพื่อแก้กรรม ส่งกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร คือ เมื่อเราบวชศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมแล้ว ก่อเกิดเป็นบุญกุศล จึงส่งกุศลนี้ให้กับเจ้ากรรมนายเวร
    4. เพื่อเข้าใจชีวิตดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง ชีวิตไม่หลวงทาง
    5. เพื่อเป็นพื้นฐานในการไปศึกษาต่อ หรือแม้แต่จะไปทำหน้าที่ ทำงาน กิจการธุรกิจ หรือดำเนินชีวิต มีครอบครัว การครองเรือน
    การบวชหรือบวช เป็นคำภาษาไทยสามารถทำการถอดรูปมาจากคำที่อยู่ในภาษาบาลีว่า “ปพฺพชฺชา” ซึ่งมีความหมายว่า “ไปโดยสิ้นเชิง หรือ เว้นโดยสิ้นเชิง” หากทำการแปลเป็นภาษาชาวบ้านทั่วไป ก็คือ การที่ไปจากความเป็นฆราวาส (คนทั่วไป) ไปสู่การเป็นบรรพชิต หรือ ละเสียจากวิสัยที่ชาวโลกเขามีกัน เป็นกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งการสละซึ่งความเป็นฆราวาสที่ถือว่าเป็นการบวชอย่างแท้จริงมีลักษณะดังนี้

    1. การสละความมีทรัพย์ คือ การใช้ชีวิตโดยที่ไม่ต้องมีทรัพย์สมบัติและดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัยที่มีผูศรัทธานำมาถวาย โดยที่ไม่มีการเลือกหรือกำหนดว่าต้องการอะไร ซึ่งของที่นำมาถวายถือว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้บวช
    2. การสละวงศ์ญาติทั้งหลาย คือ การไม่มีความห่วงหา อาลัยอาวรณ์กับญาติพี่น้อง คนรักหรือครอบครัว ไม่ทำการช่วยเหลือไม่ว่ากรณีใดอย่างที่ฆราวาสพึงกระทำให้แก่กัน ไม่ห่วงใยว่าคนรัก ญาติพี่น้องจะมีการกินอยู่อย่างไร มีเงินพอใช้หรือไม่ ไม่ยุ่งเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น เพราะนั้นถือว่าไม่ใช่กิจของบรรพชิต และการไม่ยึดติดหรือแบ่งชนชั้นว่านั้นญาติเรา นั้นคนรักของเรา เพราะเราได้สละแล้วซึ่งญาติในทางฆราวาส แต่จะต้องทำการแบ่งปันธรรมะ เพื่อให้หมู่ญาติได้รับรู้ถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาเจริญขึ้น
    3. การละเครื่องนุ่มห่มอย่างฆราวาส คือ การไม่นุ่งห่มอย่างฆราวาส และใส่เครื่องนุ่งห่มอย่างพระ ด้วยการห่มจีวร ซึ่งพระภิกษุทุกองค์ล้วนกระทำอยู่เมื่อทำการบวชเข้ามาแล้ว ซึ่งการละเครื่องนุ่งห่มอย่างฆราวาสนี้ ยังรวมถึงการเสริมสร้างความสวยความงามและกลิ่นหอมด้วย ดังนั้นพระสงฆ์ควรทำการนุ่งห่มจีวรเพื่อปกปิดร่างกายและเพิ่มความอบอุ่นเท่านั้น
    4. ละการกินอยู่อย่างฆราวาส คือ การฉันอาหารตามเวลาที่กำหนด เว้นการฉันอาหารในตอนกลางคืนและที่สำคัญในการละการกินอยู่อย่างฆราวาส คือ การฉันอาหารของพระสงฆ์เป็นการฉันเพื่อดำรงชีวิต ไม่ได้ฉันเพื่อความอร่อย เพื่อความสนุก เพื่ออวดความร่ำรวย หรือเพื่อบำรุงบำเรอความอยากของตนเอง ซึ่งหากท่านทำการบวชแล้ว ท่านจะต้องละกิเลสในการกินให้ได้ทุกทาง และดำรงไว้ว่าการฉันอาหารเป็นการฉันเพื่อดำรงชีพ ไม่ได้ฉันเพื่อตอบสนองความอยากของตน ปริมาณการฉันก็ให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย เพราะการฉันแบบนี้คือ การฉันเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และฉันอย่างระมัดระวังรู้คุณค่าของอาหารทุกอย่างที่ฉันเข้าไป
    5. ละการใช้สอยอย่างฆราวาส คือ การละซึ่งสิ่งของที่ไม่จำเป็นในชีวิต เช่น ของที่มีเพื่อความสวยงาม, ของที่มีเพื่อความสะดวก, ของที่มีเพื่อความสบาย, ของที่มีเพื่อความดูดี, ของที่มีเพื่อบารมี, ของที่มีเพื่อความสนุก, หรือของที่มีเพื่อความบันเทิงใจ เป็นต้น ซึ่งของเหล่านี้อาจจำเป็นสำหรับฆราวาส แต่สำหรับพระสงฆ์แล้ว สิ่งของเหล่านี้ไม่จำเป็น ซึ่งพระสงฆ์จะมีได้ก็แต่สิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในแต่ละวันเท่านั้น
    6. ละอาการกิริยาวาจาอย่างฆราวาส คือ กิริยาวาจาของพระสงฆ์จะต้องมีความสำรวม ไม่พูดตามใจ รู้จักกำหนดจิตให้รู้ว่าสิ่งที่จะกล่าวมานี้เป็นวาจาที่เกิดขึ้นจากกิเลสหรือได้พิจาณาไตร่ตรอง มีการกำหนดวาจาก่อนที่จะพูดแล้วหรือยัง ไม่ควรพูดเพื่อสนองกิเลสของตน ไม่ควรพูดเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิต ไม่ควรพูดที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ไม่ควรพูดโดยที่ไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน เพราะการเป็นพระสงฆ์ต้องรู้ขณะจิตในทุกเวลา
    7. ละความรู้สึกนึกคิดอย่างฆราวาสสิ้นเชิง คือ การละความคิดอย่างฆราวาส เช่น การคิดเชิงชู้สาว, การคิดถึงกามคุณ, การปล่อยอารมณ์ในเรื่องร่างกาย, คิดถึงการสร้างครอบครัว, คิดถึงการสร้างความร่ำรวย, คิดถึงสิ่งที่ทำให้คนเองสุขสบาย, การคิดถึงแต่สิ่งที่ควรมีควรเป็นหากเป็นฆราวาส เป็นต้น ความคิดเหล่านี้ควรสละทิ้งไป เพราะจะทำให้เกิดความฟุ้งซ่านและไมสามารถเข้าใจในพระธรรมคำสั่งสอน เนื่องจากความคิดจะมีสิ่งเย้าหยวนจนไม่สงบได้
    นี่คือความหมายของคำว่าบวชอย่างแท้จริง เพราะหากทำการบวชและสามารถละได้ทั้ง 7 สิ่งที่กล่าวมานี้ ถือเป็นการบวชที่มีการละอย่างสิ้นเชิงโดยแท้ ซึ่งจะส่งผลให้การบวชที่เกิดขึ้นเป็นการบวชที่สร้างอานิสงส์อันสมบูรณ์ ถือเป็นบุญต่อพ่อแม่และญาติพี่น้องที่ได้เข้ามาร่วมอนุโมทนาบุญในการบวชด้วย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิก : www.dharayath.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...