จิตใจ และการฝึกจิต : อัคร ศุภเศรษฐ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 19 กันยายน 2009.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    [​IMG]
    [ภาพจิตรกรรมพุทธศิลป์ "สู่แดนนิพพาน" : สร้างสรรค์โดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์]


    จิ ต ใ จ และ ก า ร ฝึ ก จิ ต
    อัคร ศุภเศรษฐ์

    ชีวิตมีอยู่สองส่วน คือ แก่นชีวิต และเปลือกชีวิต
    เปลือกชีวิตก็คือร่างกาย ลมหายใจ ผัสสะ และความรู้สึก
    ทั้งหลายนี้ ซึ่งกำลังตายลงๆ ทุกวันๆ

    แก่นชีวิตก็คือใจ
    เลือกเอาจะะรักษาร่างกายที่กำลังตาย
    และพยายามหอบมันหนีความตายที่ซึ่งไม่อาจหนีพ้น
    หรือจะรักษาจิตใจซึ่งมีค่ากว่าการดำรงอยู่อย่างสงบสุขและสง่างาม


    ใครเลือกรักษาจิตใจอันเป็นชีวิตก็ต้องทำความรู้จักจิตใจให้ชัดเจน
    บริหารให้เหมาะสม และฝึกฝนให้จริงจังจนแก่กล้า

    การฝึกจิตนั้นมีหลายวิธีเพื่อหลายวัตถุประสงค์
    จะฝึกตามวิธีไหนที่ใครสอนก็ได้
    เพราะจิตใจเป็นสากล

    ต้องการให้จิตใจเข้มแข็งสมบูรณ์
    ก็ควรเปิดกว้างเพื่อการเรียนรู้และฝึกฝน
    ใครสอนอะไรถ้าสมสมัจจะตามระดับสติปัญญาของท่านก็ควรเรียนรู้


    แต่ถ้าใครพยายามจะครอบงำสติปัญญาของท่าน
    ว่าอย่างนี้เท่านั้นถูก อย่างอื่นผิด
    ปัญญาของตนเช่นนั้นเป็นดั่งไส้เดือนที่อยู่ในรู
    มิได้รู้โลกกว้างอย่างแท้จริง

    หรือหากรู้ก็แสดงว่ามีเจตนาไม่บริสุทธิ์
    ประสงค์จะครอบงำท่านไว้เป็นบริวาร

    ดังนั้นก็อย่ารับการครอบงำอันคับแคบนั้นมา
    มิฉะนั้นปัญญาท่านจะตีบตัน
    ทั้งจะพลาดสัจจะที่ยิ่งใหญ่และไม่ได้ประโยชน์สุขอันไพศาล


    จำไว้ว่า สิ่งที่ดีนั้นดี แต่การเมาดีนั้นบ้า
    ความบ้าทุกชนิดมีความโง่เป็นแม่
    มีความขลาดเป็นพ่อ มีความไม่แยบคายเป็นพี่เลี้ยง


    ดังนั้นเพื่อประโยชน์สุขของตน จงเรียนรู้ให้กว้างขวาง
    แล้วเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับแต่ละภาวะแห่งชีวิตมาใช้ให้สนุกสนาน

    • ก ร ร ม ฐ า น

    กรรมฐาน แปลตรงตัว
    คือฐานแห่งกรรม หรือการกระทำ หรืองานของใจ
    แปลโดยอรรถคือการพัฒนาจิตใจ


    ซึ่งแบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ๆ

    คือฝึกโดยการใช้การควบคุมจิตใจให้สงบ
    คือฝึกโดยการปล่อยวางให้โล่งโปร่งใส

    เมื่อใช้ทั้งสองวิธีรวมกันย่อมได้กำลังมากพอ
    ที่จะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จนถึงที่สุดแห่งวิวัฒนาการได้


    การถึงที่สุดแห่งวิวัฒนาการนั่นเองคือเป้าหมายแห่งชีวิต
    และชีวิตทั้งหลายมีจิตใจเป็นจุดหมุนหลัก
    ดังนั้นการฝึกพัฒนาจิตใจจึงเป็นการหลักของทุกชิวิต
    เพื่อยกชีวิตให้ดีขึ้นโดยลำดับ จนถึงความบริสุทธิ์โดยที่สุด


    ใครยังไม่ได้ฝึกพัฒนาจิตใจ ถือว่ายังไม่ได้ทำงานที่ที่แท้จริงของชีวิต

    ทำงานหากินนั้นเป็นเพียงงานพื้นฐาน
    แต่กินอยู่เพื่ออะไรนี่สำคัญกว่า การดำรงอยู่เองด้วยซ้ำ

    งานตามหน้าที่นั้นเป้นเพียงงานสมมติตามตำแหน่ง
    หากไม่แบกตำแหน่งนั้นก็ไม่มีหน้าที่ จึงไม่ใช่งานจริงจังอะไร
    และหากบ้าทำงานตามตำแหน่งจนจิตใจสียหายก็นับว่าขาดทุน

    ดังนั้นไม่ว่าจะมีตำแหน่งอะไร รับผิดชอบหน้าที่ใด นั่นเป็นงานเสริม
    ส่วนงานหลักคือยกระดับวิวัฒนาการให้ได้
    และวิธีจะยกระดับวิวัฒนาการได้ คือ การพัฒนาจิตใจ


    ดังนั้นการฝึกจิตจึงเป็นงานของทั้งฆราวาสและนักบวช
    ยิ่งเป็นนักบวชต้องให้ฝึกให้มากกว่าฆราวาสหลายเท่า

    เพราะฆราวาสเลี้ยงนักบวชอยู่
    นักบวชจึงต้องมี อธีศีล อธิจิต อธิปัญญา บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดได้ก็ด้วยกรรมฐาน หาไม่จะเป็นหนี้โยม

    • ฐ า น ะ แ ล ะ เ ป้ า ห ม า ย ใ น ก า ร ฝึ ก จิ ต

    การฝึกจิตทั้งหลายในโลกนั้นมีหลายวิธี เพื่อหลายวัตถุประสงค์

    เช่น ฝึกจิตเพื่อสุขภาพ ฝึกจิตเพื่อปัญญา
    ฝึกจิตเพื่ออำนาจ ฝึกจิตเพื่อแก้ปัญหาใจ
    ฝึกจิตเพื่อการพักผ่อน และฝึกจิตพื่อการบริสุทธิ์ เป็นต้น

    พระท่านจะเน้นการฝึกจิตเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น
    คฤหัสถ์อาจเน้นฝึกจิตเพื่อสุขภาพก็ได้
    เพื่อพัฒนาปัญญาก็ได้ เพื่อการพักผ่อนก็ได้
    หรือเพื่อพัฒนาอำนาจก็ได้
    หากใครอยากเพิ่มความบริสุทธิ์ให้แก่ชีวิตจิตใจ ด้วยก็ดี


    • การฝึกจิตเพื่อสุขภาพ

    ให้ฝึก ธรรมชาติสัมพันธ์ ชี่กง กังฟู ฟลังจักรวาล โยคะ

    • การฝึกจิตเพื่อความสุข

    ให้ฝึก อัปมัญญาสมาธิ รูปฌาน อรูปฌาน

    • การฝึกจิตพื่อความสัมพันธ์อันดี

    ให้ฝึก เทวปูชา มหาเมตตาแบบทิเบต

    • การฝึกจิตเพื่อปัญญา

    ให้ฝึก มโนยิทธิ เซน อภิธรรม

    • การฝึกจิตเพื่ออำนาจ

    ให้ฝึก กสิณ บริหารใจ จินตภาพ มนตรยาน

    • การฝึกจิตเพื่อแก้ปัญหาใจ

    ให้ฝึก จิตวิเคราะห์ วิปัสสนาแบบสูตรดั้งเดิม ธรรมะโยคะเปิดโลก

    • การฝึกจิตเพื่อการพักผ่อน

    ให้ฝึก โยคะ ธรรมชาติสัมพันธ์ ความว่างแบบเต๋า

    • การฝึกจิตพื่อความบริสุทธิ์

    ให้ฝึกแบบ พุทธดั้งเดิมวิธีใดก็ได้ หรือทุกวิธีก็ดี

    เป็นต้น

    หากฝึกแล้วยังไม่ได้ผลดังหวัง รู้สึกยากหรือติดขัดที่อารมณ์ตน
    ก็ให้ลองสำรวจดูว่าตนมีจริตโด่งเกินไปหรือไม่ หากมีก็แก้เสีย



    • จ ริ ต แ ล ะ ป ร ะ เ ภ ท ก า ร ฝึ ก จิ ต

    จริตคืออุปนิสัยหรืออัธยาศัยที่โดดเด่นของแต่ละคน
    แต่ละคนอาจะมีหลายจริตหรือจริตเดียวก็ได้
    แต่โดยมากจะมีหลายจริตรวมกันโดยมีจริตใดจริตหนึ่งเด่นออกมา
    ก็ชื่อว่าเป็นคนจริตนั้นๆ

    แต่ละจริตต้องการวิธีการฝึกที่แตกต่างกัน
    เมื่อฝึกดีแล้วจริตอาจจะปลี่ยน ก็เปลี่ยนวีธีฝึกตามจริตให้เหมาะสมกัน


    จริตของบุคคลที่พระพุทธเจ้าทรงจำแนกไว้มีหกจริตด้วยกัน
    คือ ราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต ศรัทธาจริต ปัญญาจริต วิตกจริต


    ท่านที่จะเลือกกรรมฐานที่เหมาะสมกับตนเอง
    วิเคราะห์ดูว่าช่วงนี้ของวิวัฒนาการท่านมีจริตใดเด่นเป็นอันดับหนึ่ง
    จริตใดเด่นเป็นอันดับสอง และจริตใดด้อยสุด


    o ราคะจริต

    พวกราคะจิตคือพวกที่เพลิดเพลิน ยินดี มัวเมา แสวงหากาม และการบริโภค
    พวกนี้มักมีจริยาเรียบร้อย นุ่มนวล รักสะอาด
    ชอบอาหารที่มีรสหวานมัน สีสันสวย
    นิยมการเยินยอ สรรเสริญ
    มักโอ้อวด จ้าเล่ห์ แง่งอน

    o โทสะจริต

    พวกโทสะจริตเป็นพวกเจ้าอารมณ์ ฉุนเฉียว แปรปรวนเร็วหมือนไฟไหม้ฟาง
    พวกนี้มักมีจริยารีบร้อน กระด้าง ตึงตัง
    ชอบอาหารที่มีรสจัด เช่น เปรี้ยวจัด เค็มจัด ขมจัด
    นิยมการต่อสู้แข่งขัน
    มักลบหล่คุณคน ตีตนเสมอ ริษยา
    และมีปรารถนาอาฆาตเนืองๆ

    o โมหะจริต

    พวกโมหะจริตเป็นพวกคิดไม่เป็น ไม่มีเหตุไม่มีผล
    เป็นไปตามอำนาจสัญชาตญาณ

    พวกนี้มักมีกิริยาเซื่องซึม เหม่อลอย
    ชอบอาหารที่รสหมักดอง สุรายาเมา กินมูมมาม

    นิยมการเออออห่อหมกไปกับพวก
    เขาว่าดีก็ดีด้วย เขาว่าไม่ดีก็ไม่ดีด้วย ไม่มีมาตรฐานของตนเอง

    มีอาการง่วงเหงาหาวนอนเป็นประจำ
    และมีความสงสัยแต่ขี้เกียจเนืองๆ


    o ศรัทธาจริต

    พวกศรัทธาจริตคือพวกที่แสวงหารประโยชน์ ชอบพัฒนา
    ครั้นพบสิ่งที่ดีกว่าตนหรือทำให้ตนดีขึ้น
    ก็จะหมกมุ่น คลังไคล้ เชื่อมั่นอย่างจริงจัง

    พวกนี้มักมีจริยาแช่มช้อย ละมุนละม่อม เป็นระเบียบเรียบร้อย
    ชอบอาหารที่มีรสหวาน มัน กลิ่นหอม

    นิยมการทำบุญและความเรียบง่าย
    มักเอาหน้าในสิ่งที่ทำ หรือโอ้อวดในสิ่งที่ตนเชื่อ
    และมีความเลื่อมใสออกนอกหน้าเนืองๆ

    o ปัญญาจริต

    พวกปัญญาจริตคือพวกที่รอบรู้
    (ทำได้หรือไม่ได้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
    พวกนี้สามารถหาเหตุผลสารพัดมาพิสูจน์ความเห็นของตน
    (ถูกหรือผิดเป็นอีกเรื่องหนึ่ง)

    พวกนี้มักมีจริยาเร็วแต่เรียบร้อย
    ชอบอาหารที่มีรสกลมกล่อม หลายรสผสมกันให้กลมกลืน

    นิยมการวิเคราะห์วิจัยโดยไม่มีอารมณ์ หรือมีก็เพียงเล็กน้อย
    มักมีความเพียรเข้ม ว่าง่าย รู้เร็ว
    และมีปรารถนาสงส่งอุดมคติเลิศเนืองๆ

    o วิตกจริต

    พวกวิตกจริตคือพวกคิดมาก คิดแล้วคิดอีก
    และออกจะไปในทางคิดร้างๆ
    ทำชั่วก็วิตกไปว่ากลัวคนจะรู้
    จะทำดีก็วิตกไปว่ากลัวจะไม่ได้ดี
    ทำดีแล้ววิตกไปว่าคนจะไม่เข้าใจ

    พวกนี้มีจริยาเชื่องช้า แต่หลุกหลิก
    ชอบอาหารที่มีรสไม่จำเพาะ กินไม่เลือก
    นิยมความแปรปรวน เดี๋ยวรัก เดี๋ยวเกลียด
    มักลักปิดลักเปิด เดี๋ยวพูดมาก เดี๋ยวเงียงขรึม
    และมีปรารถนาคลุกคลีกับคณะเพื่อฝอยฟุ้งเนืองๆ


    [​IMG]

    เมื่อจำแนกได้แล้วว่าตนเป็นพวกไหน ก็เลือกกองกรรมฐาน ดังเบื้องต้น


    กรรมฐานเหล่านี้เป็นกรรมฐานปรับแก้จิต
    ไม่ใช่กรรมฐานที่ควรยึดเป็นหลักตลอดไป


    กรรมฐานที่ควรยึดเป็นหลักคือกรรมฐานเพื่อบรรลุเป้าหมายต่างๆที่ต้องการ

    เมื่อจริตมิให้สุดโต่งจนเกินไปได้แล้ว
    จากนั้นให้ตรวจสอบเทียบเคียง
    กับกองกรรมฐานที่ควรฝึกเพื่อเป้าหมายที่ประสงค์สำเร็จผล
    ในหัวข้อที่แล้ว แล้วจึงเลือกกรรมฐานกองเริ่มต้นได้

    เมื่อปฏิบัติไปคุณสมบัติในตนจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
    ก็ดูอีกครั้งว่าเป้าหมายเปลี่ยนหรือไม่ จริตเปลี่ยนหรือไม่
    หากเปลี่ยนก็เลือกกองกรรมฐานเพิ่มเติมอีก
    หรือแม้ไม่เปลี่ยนแต่ประสงค์จะเรียนรู้ฝึกฝนเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาจริตก็ทำได้


    และหากใครสามารถ
    แนะนำให้ฝึกทุกอย่างแล้วท่านจะแตกฉานในเรื่องจิตเป็นอย่างดี


    แต่การจะฝึกทุกอย่างต้องแน่ใจประการหนึ่งว่า
    ท่านสามารถควบคุมอารมณ์ได้แล้วทุกกรณี
    และสามารถแก้อารมณ์ที่ไม่ปรารถนาได้
    หรือมีกัลยามิตรที่ดีอยู่ใกล้ที่จะช่วยได้



    [​IMG]


    เมื่อรู้เกณฑ์แล้ว
    จากนั้นก็ลองประเมินผลการฝึกจิตที่ผ่านมาดูว่า
    วิธีการใดให้ผลอย่างไร

    แล้วทำการคัดสรรว่าวิธีใดควรฝึกต่อ
    วิธีการใดควรเลิกฝึก และควรฝึกเพิ่มวิธีใด


    วิธีการฝึกจิตทั้งหมดเป็นเพียงเครื่องมือให้ใช้ขี่ไปหาสมาธิ
    ดังนั้นวิธีการเองไม่ใช่สรณะที่ต้องยึดถือหลงไหล

    หากหลงเครื่องมือก็จะไม่ได้ผลเลิศใดใด
    เป็นเพียงคนเขลาแบกเครื่องมือไปอวดกันโดยไม่รู้จักใช้ให้เกิดผล
    หรือถึงเกิดผลบ้างก็จะเป็นเพียงผลบางส่วนท่านั้น
    ไม่ได้ผลครบถ้วนแห่งฌานวิสัยอันเป็นอจินไตย


    ปัญญาชนย่อมไม่คลั่งไคล้ในเครื่องมือ
    แต่ใช้เครื่องมือประดามีสร้างผล
    คือ ฌานสมาธิ ปัญญาญาณ และความบริสุทธิ์ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์
    เพราะนั่นคือเป้าหมายการฝึกจิตที่แท้จริง


    ที่มา ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - จิตใจ และการฝึกจิต : อัคร ศุภเศรษฐ์

    (ที่มา : สรรพศาสตร์แห่งการฝึกจิต โดย อัคร ศุภเศรษฐ์, หน้า ๒๓-๓๑ และ ๓๘๓-๓๓๙)
     
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ
    ขอให้ท่านเจ้าของกระทู้เจริญในธรรมค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...