จิตสงบเป็นอย่างไรครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กงล้อหมุน, 7 กรกฎาคม 2012.

  1. กงล้อหมุน

    กงล้อหมุน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +10
    จิตสงบ จิตนิ่ง จิตเบา จิตว่าง ความคิดโปร่งเบา อยู่ๆผมก็ทำได้เอง แต่ไม่รู้ว่าทำได้ยังไง แต่รู้สึกได้ถึงอาการโปร่งโล่งเบา กายและใจครับ
     
  2. กงล้อหมุน

    กงล้อหมุน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +10
    อาการที่เล่ามา เรียกว่าจิตสงบมั้ยครับ
     
  3. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    แล้วใจคุณ คิดว่ามันสงบไหมหละครับ ถ้ามันสงบ มันก็สงบนั่นแหละ
     
  4. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ถ้าจิตปราศจากนิวรณ์ 5 ก็ถือว่าจิตสงบครับ

    นิวรณ์ 5 คือ

    กามฉันทะ (ความทะยานอยากในรูป, รส, กลิ่น, เสียง, สัมผัส)
    พยาบาท (ความโกรธ การผูกโกรธ ความคิดเบียดเบียนตนหรือผู้อื่น)
    ถีนมิทธะ (ความขี้เกียจ ความโงกง่วง)
    อุทธัจจะกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน , ความรำคาญใจ)
    วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย เช่น นี้สงบไหม? ทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร? กรรมฐานมีประโยชน์จริงหรือ? เป็นต้น)

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  5. กงล้อหมุน

    กงล้อหมุน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +10
    จิตสงบนี้มีกี่ระดับครับ และมีลักษณะต่างกันอย่างไร ช่วยแนะนำทีครับ
     
  6. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    จิตสงบ แต่หากยังมีการนึกคิดอยู่นั้นไม่ใช่ครับ ต้องไม่มีการนึกคิดครับ ที่กายเบา ใจเบา

    จะเกิดขึ้นตั้งแต่มีปิติแล้วครับ จนข้ามมาถึงอยู่ในความสุข อยู่ในระหว่างนี้ก็เบาครับ

    อนูโมทนาครับ ที่มีจิตใจที่ปฎิบัติครับ เพียรต่อไปครับ

    สาธุครับ
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อัศจรรย์ อยู่ๆ จิตสงบทำได้เองโดยไม่รู้สึกตัว.....จิตสงบปราศจากสติ....เป็นไปไม่ได้หลอกครับ.....

    ผมว่าอาการของคุณที่ว่ามันคงได้มาเนื่องจากที่ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ หรือที่เรียกว่า สดชื่น นะครับ....อันนั้นเป็นอาการทางกาย สบาย เพราะร่างกายมันสบาย....

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2012
  8. jate2029

    jate2029 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +729
    ผมเข้าใจผิด หรือ เปล่า ว่า นิวรณ์ 5 คือ
    รัก โลภ โกรธ หลง พยาบาท
     
  9. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    ===== ในบทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก ฉบับดั้งเดิมกล่าวว่า
    1ปฐมฌาณะ ธาตุสัมมาธิญาณะสัมปันโน อิติปิโส ภควา
    2ตุติยะฌาณะ ธาตุสัมมาธิญาณะสัมปันโน อิติปิโส ภควา
    3ตะติยะฌาณะ ธาตุสัมมาธิญาณะสัมปันโน อิติปิโส ภควา
    4จตุถะฌาณะ ธาตุสัมมาธิญาณะสัมปันโน อิติปิโส ภควา
    5ปัญจะมะฌาณะ อากาศานัญจายะตะนะ เนวะสัญญาณา สัญญายตนะอรูปปาวัจระธาตุสัมมาธิญาณะสัมปันโน อิติปิโส ภควา
    6ฉทมะฌาณะ วิญญานัญจายะตะนะ เนวะสัญญาณา สัญญายตนะอรูปปาวัจระธาตุสัมมาธิญาณะสัมปันโน อิติปิโส ภควา
    7สัตตะมะฌาณะ อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญาณา สัญญายตนะอรูปปาวัจระธาตุสัมมาธิญาณะสัมปันโน อิติปิโส ภควา
    8อัฐฐะมะฌาณะ เนวะสัญญาณา สัญญายตนะอรูปปา วัจระธาตุสัมมาธิญาณะสัมปันโน อิติปิโส ภควา

    การเจริญภาวนาให้มากเมื่อจิตเข้าสู่ความสงบนิ่ง ในสภาวะหนึ่งและสภาวะที่ลึกลงไปอีก เราย่อมรู้ความแตกต่างของความสงบ ด้วยผลที่ได้รับมีความแตกต่างกัน ด้วยเพราะระดับฌาณต่างกัน จากทั้ง8ข้อ ลองทำและลองพิจารณาดู ย่อมมีสภาวะและผลที่จิตได้รับเป็นเช่นดังคำที่พระพุทธเจ้าบอกเราไว้จริงๆครับ
    ถ้าคุณไปถึงขั้นไหน ผลของฌาณย่อมให้อิทธิฤทธิ์แห่งจิต
    ตามอัตภาพตามระดับของมันเป็นเช่นนั้น เป็นสัจจธรรมครับ
     
  10. jate2029

    jate2029 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +729
    จิต สงบ ของผมคือ จิต ที่ไม่ปรุงแต่งใดๆ มีอะไร มากระทบ ก็รู้ว่า กระทบแล้ว
    ก็ดับไป
     
  11. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    การสวดมนต์มีอานิสงค์มาก ว่างๆให้ฝึกวิปัสนา เอาพระคาถามาแปลเองแล้วท่านจะรู้ธรรมได้โดยจิตท่าน สุดท้ายยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกซึ่งผมสวดภาวนาเป็นประจำ เป็นยอดพระคาถและทรงอภิญญามาก สามารถช่วยให้สรรพสัตว์ดับกิเลสทั่วทั้ง3ไตรภูมิด้วย

    พระคาถากล่าวว่า

    นโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกข์ง อนิจจัง อนัตตา ยาวะ ตัสสะหาโย นะโม อุอะมะ ทุกขังอะนิจจัง อนัตตา อุอะมะอา วันทา นะโมพุทธายะ นะอะกะตินิสะระนะ อาระปะขุทัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อนัตตา

    แปลว่า พระพุทธเจ้า5พระองค์ล้วนกล่าวว่า หัวใจหลักสำคัญของพระพุทธเจ้า5พระองค์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
    ด้วยตลอดกาลเวลาอันยาวนานล่วงเลยมา ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ก็ยังคงเป็นหลักคำสอนอันเป็นหัวใจสำคัญนี้
    ข้าพเจ้าขอกราบบูชา วันทาพระพุทธเจ้า5พระองค์
    และด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงควรน้อมเอามาพิจารณา มนสิการให้แจ้งว่า การการหลุดพ้นกองทุข์ด้วยก็ด้วยมีปัญญาเห็นว่า
    ทุกขังคือความทุกข์นั้น อนิจจังคือเป็นความไม่เที่ยง อนัตตา เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่ควรยึดมั่นถือ
    [ผมแปลเอาเองของผมอย่างนี้ครับ]


    ด้วยเหตุนี้แล พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก จึงมีอานิสงค์มากเพราะเป็นยอดพระคาถาที่ทำให้ผู้สวดภาวนา ที่เข้าใจความหมายและเข้าถึงธรรมถึงกฏไตรลักษณ์ อันเป็นเครื่องนำไปสู่ความหลุดพ้น ความดับแห่งกิเลส

    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาในการสวดมนต์ทุกบทสวด ของความเจริญจงมีแด่ท่านทั้งหลายและตัวข้าพ้จ้า สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2012
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สามารถเอามือจับกาวโดยที่กาวไม่ติดมือ นั่นละครับ จิตสงบ
     
  13. รอยตะวัน

    รอยตะวัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +116
    อยากเรียกว่าเป็นสภาวะที่จิตไม่ฟุ้งซ่านดีกว่าไหมคะ
     
  14. 我是泰国福建人

    我是泰国福建人 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2008
    โพสต์:
    298
    ค่าพลัง:
    +306
    ทำไมไม่้ค้นหาใน google ละครับ หรือหาในยูทูปก็ได้ มีบรรยายชัดเจนมากมาย
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    โอยยยยย...............ดูสงบๆ เลยนะนี่

    จขกท คงเข้าใจนะครับ หญิงซ้าย ชายขวา มันต้อง หมุน หมุน ๆ






    ****************

    จริงๆ ถ้าอยากพิสูจน์ ก็ต้อง เอา "อารมณ์สงบ" ที่กำลัง
    เห็นนั้น ชนกับ "อารมณ์สงสัย" เลยครับ

    คือ พระพุทธองค์กล่าวในพระไตรปิฏก (ซึ่งหาอ่านไม่ได้ใน dhamkaya
    knowing ) "รสของธรรมชนะรสทั้งปวง"

    ดังนั้น เวลาจะพิสูจน์ "อารมณ์สงบ" ว่าใช่รสธรรมไหม ถ้าใช่ก็ต้อง
    ชนะรสทั้งปวง เราเลยจับ ชนเปรี้ยงไปเลยครับกับ "อารมณ์สงสัย"

    ถ้าชนโครมแล้ว meet แล้ว ก็ดูส่วนเหลือ ว่า เหลืออะไร

    หาก เหลือสงสัย แล้วพาเราไปทั่ว ก็แปลว่าแพ้รส

    แต่หากเหลือ อารมณ์สงบเหมือนเดิม ก็น่าจะ เป็นรสธรรม

    ทีนี้ รสธรรมเนี่ยะ ชนะรสอื่นก็จริง แต่ เราต้อง พิจารณาว่า นั่นไม่ใช่เรา
    ไม่ใช่ของๆเราด้วย เพราะ มันเป็น ส่วนวิบากที่เกิดจากการจับชน แล้ว
    ดูว่าเหลืออะไร เราจะไม่เอา ส่วนที่เหลือจากการชนอารมณ์สงสัยมา
    เป็นเรา หรือ ของๆเรา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2012
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ถูกต้องแล้ว เจ้าของสงบเอง นิ่งเอง เบาเอง ย่อมรู้สึกได้เอง
    ที่บอกไม่รู้ว่าทำได้ยังไง ก็ถูกต้องอีก เพราะมันยังไม่มีสติปัญญาทบทวน เหตุ และ ผล ที่ทำให้ใจสงบ มันก็ไม่รู้นะสิว่าทำได้อย่างไร

    แต่ที่ยังไม่รู้อีกคือ ไม่รู้ว่าความสงบนั้นตั้งมั่นหรือไม่ นานแค่ไหน อะไรทำให้ความสงบเบาใจหายไป และไม่รู้วิธีประคับประคองความสงบนั้น
    และไม่รู้อีกว่าความสงบนั้นประณีตแค่ไหน

    มันเพียงแค่รู้ว่าสงบกว่าปกติเท่านั้นเองนะ ศึกษาต่อไป ด้วยการเจริญสติปัญญา สมาธิ
     
  17. thammakarn

    thammakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +376
    ถ้านอนหลับไปแล้วไม่ฝันเลย จะเรียกว่า "สงบ" ได้ไหม?
     
  18. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ได้ครับ การนอนหลับโดยไม่ฝันเลย เป็นการปฎิบัติในขณะนอน การปรุงแต่งเกิดขึ้นได้เสมอที่จิตตื่น

    การรับรู้เกิดขึ้นทุกเวลา เมื่อมีการปรุงแต่ง เมื่อจิตสงบนิ่งจนเป็นนิสัย จะมองเห็นความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

    เพราะไม่มีการปรุงแต่ง หรือ การนึกคิดเข้ามาร่วม มนุษย์หลงทางเพราะมัวแต่นึกคิดหาเหตุผล

    แท้ที่จริงแล้วเหตุผลมีอยู่เองโดยไม่ต้องสร้าง เพียงแค่ทำความเข้าใจไปตามสภาพนั้นๆ

    หาใช่ปรุงแต่งเพิ่มเติมให้มากกว่าที่ควรเป็น การปฎิบัตินั้นกระทำได้ตลอดเวลาที่มีลมหายใจครับ

    สาธุครับ
     
  19. กงล้อหมุน

    กงล้อหมุน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +10
    อยากให้ท่านผู้รู้ ช่วยวินิฉัยว่าควรทำมั้ยครับ อาการมันเป็นเช่นนี้ครับ เหมือนมีหมอกควันเต็มท้องฟ้ามืดดำไปหมด แล้วพอเราแค่ดูท้องฟ้าที่มืดดำ ท้องฟ้าโดยปกติมันจะค่อยๆเคลื่อนไปตามธรรมชาติธรรมดาของเมฆ พอผมดูอยู่เฉยๆ แบบไม่เร่งรัดเอาความอยากให้ก้อนเมฆไหลไปเร็วๆ เพราะผมเข้าใจว่าไม่มีใครเร่งก้อนเมฆให้เคลื่อนไหวได้ตามใจได้ จะให้มันไปทางขวาหรือทางซ้ายไปด้านบนหรือลงล่าง ก็ทำไม่ได้ พอรู้ว่าทำไม่ได้ก็ดูมัน มันก็ไม่ทุกข์ แต่ถ้าเราอยากให้ก้อนเมฆมันหายไปไวๆมันก็จะทุกข์ทันที พอดูป้าบ ก้อนเมฆดำๆหนาๆก็หายไปอย่างเร็ว เหมือนมีคลื่นลมแรงๆมาพัดมันไปอย่างรวดเร็ว ผมเลยไม่รู้วิธีว่าผมไปทำอะไร แต่รู้ว่ารู้แบบนี้แล้วเมฆในใจมันหายไปหมดมันโล่งว่าง แต่ผมจะปฏิบัติธรรมยังไงดี ช่วยแนะนำเพิ่มด้วยครับ
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ไม่ต้องทำไรมาก ขอเพียงทำเช่นเดิมอย่างสม่ำเสมอ


    แล้วก็ ว่างๆก็ลองอ่านคำเทศน์หลวงปู่พุธ ฐานิโย ดูครับ


    (ต่อจากตอนที่แล้ว)


    ในเมื่อพระภิกษุเบญจวัคคี ฟังจบลง
    จิตของท่านอัญญาโกณฑัญญะ
    เป็นสมาธิก้าววู๊บ ลงไป นิ่งปั๊บ สว่าง
    รู้ ตื่น เบิกบาน

    ตอนแรกนี่ รู้อยู่เฉยๆ มันรู้อยู่ที่จิต

    การกำหนดรู้นิ่งอยู่ที่จิตเฉย อยู่นั้น เป็น ญาณ

    จิตกำลังมีญาณจะหยั่งรู้

    ถ้าจิตนิ่งอยู่ในสมาธิเพิ่มพลังงานขึ้น มีกำลังแก่กล้า
    เกิดไหวตัว คือความคิดขึ้นมา
    เรียก ว่า ปัญญา

    ปัญญาอุทะปาทิ ปัญญาบังเกิดขึ้นแล้ว
    จิตมีสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก
    ในเมื่อมีพลังแก่กล้าขึ้น
    ก็สามารถกำหนด
    ปัญญาคือความคิดที่เกิดดับอยู่นั้น

    ในแง่แห่งความรู้แจ้งเห็นจริง

    วิชา อุทะปาทิ วิชาบังเกิดขึ้นแล้ว เมื่อ วิชชารู้แจ้งเห็นจริง
    จิต ตัดกระแสแห่งความรู้ ก้าวลงไปสู่ สมาธิขั้นละเอียดอีก

    จักขุง อาโลโก อุทะปาทิ พอจิตรู้แจ้งเห็นจริง
    สมาธิแก่กล้า เกิดความสว่างไสว
    มันจึงเป็น อาโลโก อุทะปาทิ

    ทีนี้ จิตของผู้ปฎิบัติแล้วมันก็เข้าไปสู่สมาธิอันละเอียด
    ก็มองเห็นแต่
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา
    อันนี่ คือ ความรู้ธรรมะขั้นละเอียดมันเป็นอย่างนั้น

    ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
    ว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา

    ทีนี้
    พระพุทธเจ้า ก็สอนต่อไปว่า
    นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด
    นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
    ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นดับไป

    ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ให้มันชัดแจ้ง
    ให้มันรู้ชัดแจ้งแล้ว ก็ควรจะไปกำหนดว่า
    ทุกข์เราได้กำหนดรู้แล้ว

    สมุทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์
    ได้แก่ ความยินดี แหล่ะ ความยินร้าย
    ซึ่งเรียก ว่า กามะตัณหา ภวะตัณหา วิภวะตัณหา

    ในเมื่อกำหนดรู้แล้ว แล้วต้องละ กำหนดละ มหาตัพธรรม

    แต่แท้ที่จริง ไม่ได้กำหนดละ ดอก
    มันตั้งใจละเอาไม่ได้

    ในเมื่อจิตมันรู้ทุกอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนแล้ว
    มันก็ควานหาเหตุ ว่า ทุกข์นี่มันเกิดมาจากไหนหนอ


    อ๋อ

    มันเกิดมาจากความยิดดี เกิดมาจากความยินร้าย
    ความยินดี ความยินร้ายมันเกิดอยู่ในจิตนี่

    ท่านก็กำหนดจิต ดูความยินดี ดูความยินร้าย
    ในเมื่อดูไป ดูมามันก็ จิตมันมีพลังแก่กล้าขึ้น
    มันก็กลายเป็นความเป็นกลาง
    ตัดกระแสแห่งความยินดี ยินร้ายได้เด็ดขาด

    ท่านจึงว่า สมุทัยเป็นสิ่งที่ควรละ

    ในเมื่อละได้แล้ว จิตย่อมรู้ว่า เราละได้แล้ว
    ในเมื่อ ละสมุทัย ได้เด็ดขาด

    จิตเป็นตัวปกติ
    ปกติ รู้ ตื่น เบิกบาน
    ความยินดี ยินร้าย
    กามะตัณหา ภวะตัณหา วิภวะตัณหา
    ดับไปหมดแล้ว มันจะเป็นอะไรเสียอีกล่ะ

    มันก็ นิโรธะ คือ ตัวดับนั้นเอง

    คำว่า นิโรธะ อย่าไปเข้าใจว่า
    จิต ก็ ดั๊บ อารมณ์ ก็ ดั๊บ อะไรอะไรก็ดับ
    ดั๊บหม๊ด ไม่มีเหลือ ไม่ใช่อย่างนั่นเด้อ


    จิตมันมีความคิด มีิปัญญาค้นคิดพิจารณาอยู่
    แต่ ความยินดี ยินร้ายไม่มี
    เมื่อความยินดี ยินร้าย มันดับไปแล้ว ทุกข์มันจะมาจากไหน

    เมื่อเราไม่มีความยินดี ความยินร้าย ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มารบกวน
    จิตเป็นกลางโดยเที่ยงธรรม

    ท่านก็มองเห็นทางที่จะปฎิบัติต่อไป

    อะไรเกิดขึ้นกำหนดรู้
    อะไรดับไปกำหนดรู้

    เพียงแต่ สักว่ารู้
    รู้ แล้วก็ปล่อยไป
    ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด มันก็เป็น มัชฌิมาปฎิปทาเท่านั้น

    อ่ะอื๊มๆ

    ญาณัญ จะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ

    ยาวะกีวัญ จะเม ภิกขะเว อิเมสุ จตูสุ อริยสัจเจสุ


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    สิ่งที่มันเกิดดับ เกิดอยู่กับจิตนั้น
    เป็นสิ่งที่ควร เพียง แต่กำหนดรู้เท่านั้นหนา

    อย่าไปพยายามดับมัน
    อย่าไปพยายามละมัน
    กำหนดรู้

    ธรรมชาติของจิตก็มี สิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก
    เมื่อสติ มีพลังแก่กล้าขึ้น
    มันจะทำหน้าที่ ละวาง ของมันเอง

    เพราะฉะนั้น

    ใคร ในเมื่อพลังจิต ศีล สมาธิ ปัญญา
    ยังไม่ประชุมพร้อม เป็น เอกายนมรรค

    อย่าไปคิดละกิเลสเป็นอันขาด เดี๋ยวจะเป็นบ้าตาย

    เพราะฉะนั้น ทางที่ถูก

    นี่ต้อง
    ต้องทำศีลให้บริสุทธิ์
    ทำจิตให้บริสุทธิ์
    ทำปัญญา คือ ความเห็นให้บริสุทธิ์

    ทำจิตให้บริสุทธิ์นั่นคืออย่างไร

    (อ่านต่อตอนต่อไป)


    อ่านต่อที่นี่
    http://palungjit.org/threads/จิตแท้-จิตดั้งเดิม-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.338252/page-2
     

แชร์หน้านี้

Loading...