จิตรกรรมวัดภูมินทร์ สมบัติล้ำค่าของวงการศิลปะไทย

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 29 มีนาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    รู้ไหมครับว่า…การได้มาชมความงดงามของภาพจิตรกรรมฝาพนังวัดภูมินทร์ เหมือนเป็นการได้มาย้อนเรื่องราวของเมืองน่าน ผลงานศิลปะชิ้นเอกของน่านชิ้นนี้งดงาม และหาชมจากที่ไหนไม่ได้นะครับ ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดภูมินทร์บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวน่าน ในช่วงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ไว้ได้อย่างสมบูรณ์ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “สุดยอดของภาพจิตรกรรมฝาผนังล้านนา” ที่วิจิตรงดงามเป็นอย่างยิ่ง วันนี้นวลจะพาไปดื่มด่ำกับความงดงามของจิตรกรรมอันทรงคุณค่าชิ้นนี้กันครับ

    0b8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a0e0b8b9e0b8a1e0b8b4e0b899e0b897e0b8a3e0b98c-e0b8aae0b8a1e0b89a.jpg

    วัดภูมินทร์ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครอง เมืองน่านได้สร้างขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” (ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้างวัด แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็น วัดภูมินทร์) เป็นวัดที่แปลกกว่าวัดอื่น ๆ คือ โบสถ์และวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกันประตูไม้ทั้งสี่ทิศ แกะสลักลวดลายโดยช่างฝีมือล้านนาสวยงามมาก

    8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a0e0b8b9e0b8a1e0b8b4e0b899e0b897e0b8a3e0b98c-e0b8aae0b8a1e0b89a-1.jpg

    ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใคร และเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยก็คือ “พระอุโบสถทรงจตุรมุข พระประธานจตุรพักตร์” นาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัวนาค พระอุโบสถจตุรมุขนี้กรมศิลปกรได้สันนิษฐานว่า เป็นพระอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของ ประเทศไทย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ 4 องค์ หันพระพักตร์ออกทั้งสี่ทิศ หันเบื้องพระปฤษฏางค์(หลัง)ชนกัน ประทับนั่งบนฐานชุกชี ผู้ที่ไปชมความงามของ พระอุโบสถนี้ไม่ว่าจะเดินขึ้นบันไดทิศใด จะพบพระพักตร์ของพระพุทธรูปทุกด้าน

    วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อม นานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงเขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนา แต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ ภาพเด่น คือ ภาพปู่ม่านย่าม่าน ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน ผู้ชายสักหมึก ผู้หญิงแต่งกายไทลื้ออย่างเต็มยศ ภาพวาดของหนุ่มสาวคู่นี้มีความประณีตมาก ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์

    8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a0e0b8b9e0b8a1e0b8b4e0b899e0b897e0b8a3e0b98c-e0b8aae0b8a1e0b89a-2.jpg

    ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วง ของชาวไทลื้อ พ่อแม่จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำ ขณะหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ “อยู่ข่วง” หากสาวเจ้า ตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า “เอาคำไป ป่องกั๋น” หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขาย แลกเปลี่ยนในชุมชน ภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา “เป๊อะ” ของป่าบนศรีษะเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกัน

    8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a0e0b8b9e0b8a1e0b8b4e0b899e0b897e0b8a3e0b98c-e0b8aae0b8a1e0b89a-3.jpg

    ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้น เมือง นอกชานมีเรือนเล็กๆ ตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า “ร้านน้ำ”ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจว หรือ ทรงมหาดไทย แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามา ผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน ภาพชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเมืองน่าน ช่วงรัชกาลที่ 5 ทรงผม และเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบดียวกับที่กำลัง เป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น

    8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a0e0b8b9e0b8a1e0b8b4e0b899e0b897e0b8a3e0b98c-e0b8aae0b8a1e0b89a-4.jpg

    นอกจากนี้เป็นภาพจิตรกรรม ฝาผนังเรื่องราวของพุทธประวัติคันธกุมารและเนมีราชชาดก มีสิ่งที่น่าตื่นเต้นประทับ ใจที่สุดคือ ภาพบุคคลขนาดใหญ่เท่าตัวคน ที่อาจมีชีวิตอยู่จริงในเวลานั้นความใหญ่โตมโหฬารของภาพบุคคล 6 ภาพ มิใช่จะทำให้คนชมต้องตะลึงเท่านั้น หากภาพวาดมีความงดงามมากเพราะบรรยายถึงอาภรณ์ การแต่งกาย ของหญิงชาย โดยเฉพาะสามารถถ่ายทอดอารมณชีวิตชีวาและแสดงถึงลีลาอัน อ่อนช้อยได้เป็นอย่างดีภาพเหล่า นี้ส่วนมากเขียนอยู่บนบานประตู ซึ่งเมื่อเปิดประตูออก บานประตูจะบังภาพไปบางส่วน ที่มาของภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดภูมินทร์ น่าจะเป็นช่วงเวลาของการบูรณะครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ. 2410 ในสมัยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ซึ่งเจ้าผู้ครองนครน่าน

    8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a0e0b8b9e0b8a1e0b8b4e0b899e0b897e0b8a3e0b98c-e0b8aae0b8a1e0b89a-5.jpg

    สำหรับช่างผู้วาดนั้น ไม่ปรากฎประวัติ ทราบแต่ว่า เป็นศิลปะแบบชาวไทลื้อ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ที่อพยพมาจากสิบสองปันนา แต่สันนิษฐานตามหลักฐานผลงานที่พบคล้ายกันเป็นภาพจิตกรรมฝาพนังที่วัด หนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน ทำให้ทราบว่า ผลงานที่วัดภูมินทร์น่าจะเป็นฝีมือของ “หนานบัวผัน” สล่าชาวไทลื้อ อาจเขียนที่วัดหนองบัวก่อน แล้วมาเขียนที่วัดภูมินทร์

    8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a0e0b8b9e0b8a1e0b8b4e0b899e0b897e0b8a3e0b98c-e0b8aae0b8a1e0b89a-6.jpg

    “สะพานไม้สีแดง” ภาพเจ้าคัทธณะกุมาร เดินนำนายไผ่ร้อยกอ และนายเกวียนร้อยเล่มออกจากเมือง ภาพลักษณะสะพานไม้ที่สร้างด้วยภูมิปัญญาของคนที่ใช้เรือในการสัญจรลอดผ่าน

    8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a0e0b8b9e0b8a1e0b8b4e0b899e0b897e0b8a3e0b98c-e0b8aae0b8a1e0b89a-7.jpg

    “น่านในสังคมสมัย” สองภาพนี้จะสะท้อนและแสดงออกถึงการแต่งกายในยุคนั้นได้ชัดเจน ภาพเขียนทั้งสองมีลักษณะเล็กกว่าคนจริงเล็กน้อย หญิงนั่งหย่อนขานุ่งผ้าซิ่นน้ำไหลตีนจก คีบบุหรี่ขี้โย สวมเครื่องประดับปิ่นปักผม และกำไลข้อมือ ส่วนชายไว้ผมทรงมหาดไทยทัดดอกไม้ประดิษฐ์ที่ติ่งหู สวมเสื้อคอจีนมีฉาบปก นุ่งผ้าลายลุนตะยาแบบพม่าปิดทับขาสักยันต์ เหน็บมีดสั้นยืนคาบบุหรี่ขี้โย

    8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a0e0b8b9e0b8a1e0b8b4e0b899e0b897e0b8a3e0b98c-e0b8aae0b8a1e0b89a-8.jpg

    “วิถีชีวิตชาวน่าน” บรรยากาศวิถีชีวิตชาวเมืองน่านในช่วงรัชกาลที่ 5 เป็นอีกภาพที่น่าสนใจครับ แม้ว่าในช่วงนั้นวัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเป็นที่นิยมในบางกอกแล้ว แต่วิถีชีวิตของคนเมืองน่านยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตน ชีวิตความเป็นอยู่ และบ้านเรือนยังคงสภาพความเป้นชนบทสมบูรณ์แบบ โดยหญิงสาวกำลังเรียนทอผ้า ส่วนเจ้าหนุ่มเอาผ้าคล้องคอชายไปข้างหลังไว้ผมทรงหลักแจวทำท่าแอ๊วอยู่ใกล้ๆ ที่นอกชานเด็ก ๆกำลังเล่นนุกกัน

    8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a0e0b8b9e0b8a1e0b8b4e0b899e0b897e0b8a3e0b98c-e0b8aae0b8a1e0b89a-6.jpg

    ภาพฝรั่งไม่ทราบสัญชาติ กำลังขนสำภาระจากเรือกลไฟไปขึ้นฝั่ง ที่เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องแบบเมืองท่าบางกอก เป็นการสอดแทรกภาพเล่าเรื่องเหตุการณ์ในสมัยนั้นแทรกในชาดกให้ดูสมจริง

    8a3e0b8a1e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a0e0b8b9e0b8a1e0b8b4e0b899e0b897e0b8a3e0b98c-e0b8aae0b8a1e0b89a-9.jpg

    “ข้อความที่ เขียนกำกับว่า ปู่ม่าน ย่าม่าน หมายถึงว่า เขาเรียกผู้ชายพม่า ผู้หญิงพม่าคู่นี้ เป็นนัย เป็นสามีภรรยา แล้วการเกาะไหล่กันเป็นธรรมชาติของผู้ชายผู้หญิงที่เป็นสามีภรรยา ถ้าเป็นหนุ่มสาว ถูกเนื้อต้องตัวไม่ได้ และรูปลักษณะการแต่งกายชี้ชัดไปอีกสอดคล้องกับคำว่า ปู่ม่าน ย่าม่าน ม่านคือพม่า ปู่นี่คือผู้ชาย พ้นวัยเด็กผู้ชายเรียกปู่ พ้นวัยเด็กผู้หญิงเรียกย่า ซึ่งที่จริงออกเสียง “ง่า” ไม่ใช่ปู่ย่าตายาย
    ภาพ “ปู่ม่านย่าม่าน” เป็นหนึ่งในภาพที่มีชื่อเสียงของงานจิตรกรรมฝาผนังดังกล่าว ด้วยได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุดทั้งด้านองค์ประกอบและอารมณ์ การแสดงท่าทางกระซิบหยอกล้อดังกล่าวมิใช่การเล้าโลมของคู่รักหนุ่มสาว หากแต่เป็นการแสดงความรักของคู่สามีภรรยา การแปลความหมายไปในทางกามารมณ์จึงทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากเจตนารมณ์เดิมของศิลปินได้นะครับ

    a3e0b8a1e0b8a7e0b8b1e0b894e0b8a0e0b8b9e0b8a1e0b8b4e0b899e0b897e0b8a3e0b98c-e0b8aae0b8a1e0b89a-10.jpg

    “แม่หญิงไปกาด” เป็นภาพหญิงชายที่ข่วงนอกเมือง การแต่งกายแบบชาวน่าน และสะท้อนถึงความเป็นอยู่ในยุคนั้นได้อย่างชัดเจน

    ian_4203.jpg

    “คำฮักน้อง กูปี้จักเอาไว้ในน้ำก็กลัวหนาว

    จักเอาไว้พื้นอากาศกลางหาว ก็กลัวหมอกเหมยซอนดาวลงมาคะลุม

    จักเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้ม ก็กลัวเจ้าปะใส่แล้วลู่เอาไป

    ก็เลยเอาไว้ในอกในใจตัวชายปี้นี้ จักหื้อมันไห้อะฮิอะฮี้

    ยามปี้นอนสะดุ้งตื่นเววา…”

    ถ้าจะให้แปลเป็นภาษากลางก้จะประมาณว่า “ความรักของพี่ที่มีต่อน้องนั้น พี่จะเก้บไว้ในน้ำก็กลัวหนาว จะฝากไว้บนแผ่นฟ้าก็กลัวหมอกกลัวดาวมาปกคลุมไว้ จะเก้บไว้ที่บ้านก็กลัวคนมาเจอแล้วแย่งเอาไป พี่เลยเก็บคำรักนี้ไว้ในใจของพี่ ให้มันร่ำร้องรำพึงถึงน้องทั้งยามนอนและยามตื่น”

    การได้มาชมความงดงามของภาพจิตรกรรมฝาพนังวัดภูมินทร์ เหมือนเป็นการได้มาย้อนเรื่องราวของเมืองน่าน ผลงานศิลปะชิ้นเอกของน่านชิ้นนี้งดงาม และหาชมจากที่ไหนไม่ได้นะครับ ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดภูมินทร์บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวน่าน ในช่วงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ไว้ได้อย่างสมบูรณ์ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “สุดยอดของภาพจิตรกรรมฝาผนังล้านนา” ที่วิจิตรงดงามเป็นอย่างยิ่ง…

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.sanook.com/travel/1414871/
     

แชร์หน้านี้

Loading...