@ คุณสมบัติของนักปฏิบัติธรรม 4 ประการ @

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แปะแปะ, 3 ตุลาคม 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=icon width=16><NOBR>[​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]</NOBR></TD><TD class=cattitle>@คุณสมบัติของนักปฏิบัติธรรม 4 ประการ@ </TD><TD class=itemsubsub><NOBR>Feb 26, '08 2:23 AM</NOBR>
    สำหรับ ทุกคน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG] <TABLE style="MARGIN-BOTTOM: 5px; FONT-WEIGHT: bold" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD width=70>หมวดหมู่:</TD><TD>หนังสือ</TD></TR><TR><TD width=90>ประเภท:</TD><TD>ศาสนาและความเชื่อ</TD></TR><TR vAlign=top><TD>ผู้ประพันธ์:</TD><TD>พระอาจารย์สัทธรรมรังษีสยาดอ ประเทศพม่า</TD></TR></TBODY></TABLE>องค์คุณของนักปฏิบัติธรรมไว้ 4 ประการ คือ

    #กฺขุมาสฺส ยถา อนฺโต นักปฏิบัติธรรมถึงแม้จะมีดวงตา ก็ตาม ก็ต้องทำตัวให้เหมือนกับคนตาบอด หมายความว่า ถึงแม้นักปฏิบัติจะ เป็นบุคคลที่มีดวงตาสามารถพบเห็นสิ่งต่าง ๆ พบเห็นอารมณ์ ต่าง ๆ ภายนอก ร่างกายได้ก็ตาม แต่ต้องพยายามทำตัวคล้ายกับตนเป็นคนตาบอดไม่รับรู้อารมณ์ ภายนอก เพื่อกำหนดรู้ถึงสภาวธรรม การเห็น โดยสักแต่เห็น ไม่สนใจอารมณ์ภายนอก การเจริญสติปัฏฐาน โดยสักแต่รับรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ เป็นต้นว่า สักแต่เห็น สักแต่ได้ยิน เป็นต้นนั้น ในเบื้องแรกของการปฏิบัติธรรม จัดว่าเป็นสิ่งที่ ปฏิบัติทำได้ยากยิ่ง เพราะจิตของเรามีความเคยชินอยู่กับการรับรู้อารมณ์ ภายนอก เมื่อเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็จะจดจ่อที่รูปพรรณสัณฐานของสิ่งเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อนักปฏิบัติได้เจริญสติปัฏฐานสักระยะหนึ่งแล้ว สติมีความต่อเนื่อง สมาธิ มีความแน่วแน่อยู่ที่อารมณ์ กรรมฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปฏิบัติที่มีสมาธิแน่วแน่กับการเดินจงกรม ขณะที่เดินจงกรม ๓ ระยะ กำหนดว่า ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ขณะที่นักปฏิบัติสามารถจดจ่อรับรู้อาการเคลื่อนไหวของเท้าได้อย่าง ต่อเนื่องและละเอียดนั้น อาจจะมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งเดินผ่านมา และนักปฏิบัติ ก็อาจจะพบเห็นบุคคลนั้น และเมื่อกำหนดว่าเห็นหนอ เห็นหนอ สักแต่เห็นแล้ว นักปฏิบัตินั้น จะไม่รับรู้ว่าบุคคลที่เดินผ่านมานั้นคือใคร คือไม่รับรู้ว่าบุคคลผู้นั้นเป็น บุรุษ หรือว่าเป็นสตรี รับรู้ว่าเป็นเพียงบุคคลคนหนึ่งเป็นรูปพรรณสัณฐานอย่างหนึ่ง ซึ่งเดินผ่านมาเท่านั้นเอง แต่ไม่สามารถรับรู้ถึงบุคคลเหล่านั้น ไม่รับรู้เพศ หรือไม่รับรู้ว่าบุคคลเหล่านั้น หรือบุคคลนั้นคือใครอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพราะจิต ของนักปฏิบัติท่านนั้น ได้จดจ่ออยู่ที่สภาวธรรมการเห็นโดยสักแต่เห็นเท่านั้น

    #โสตวา พธิโร ยถา แม้จะมีหูก็พึงทำตัวคล้ายกับคนหูหนวก หมายความว่า ถึงแม้จะมีโสตประสาทสามารถได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็พึงทำตัวคล้ายกับเป็นคนที่หูหนวก โดยไม่รับรู้ถึงเสียงที่ได้ยินนั้น เพราะหากจิตของเรา ไปจดจ่ออยู่ที่เสียงที่ได้ยิน ว่าเสียงนี้เป็นเสียงอะไร จะขาดสติที่รู้เท่าทันปัจจุบันอารมณ์เพราะอารมณ์

    #ปญฺญวาสฺส ยถา มูโค นักปฏิบัติแม้จะมีปัญญา มีความรู้ ความเข้าใจก็ตาม ก็พึงทำตัวเหมือนกับคนใบ้ หมายความว่า ถึงแม้จะมีความรู้ ความเข้าใจในการอธิบายธรรมให้กับผู้อื่นให้เกิดความเข้ าใจได้ก็ตาม แต่ในระหว่าง ที่ปฏิบัติธรรมอยู่นี้ไม่ควรจะพูด ไม่ควรจะออกเสียงออกมา เพราะในขณะที่พูด ออกมา นักปฏิบัติจะขาดสติที่กำหนดรู้ ปัจจุบันอารมณ์อยู่เพราะฉะนั้นถึงแม้จะ มีปัญญา ก็พึงทำตัวเหมือนกับเป็นคนใบ้ เนื่องจากว่าขณะที่พูดคุย สนทนาอยู่ จิตของบุคคลที่พูดนั้นจะรับอารมณ์คือสมมติบัญญัติ ได้แก่เรื่อง ที่กำลังพูดอยู่ บุคคลนั้นจะขาดสติระลึกรู้ ปัจจุบันอารมณ์ ของตนเอง ไม่ว่าจะ เป็นสภาวธรรม ทางกาย หรือ สภาวธรรมทางจิตก็ตาม ก็จะขาดสติระลึก รู้สภาวธรรมเหล่านั้น

    #พลวา ทุพฺพโลริว แม้จะมีกำลังก็พึงทำตนคล้ายกับคนที่ ไม่มีกำลัง หมายความว่าถึงแม้ นักปฏิบัติจะมีสุขภาพดีก็ตาม ก็พึงประพฤติตน คล้ายกับคนที่ไม่มีกำลัง คือพึงเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเชื่องช้า และพยายาม ตามกำหนดรู้ อาการเคลื่อนไหวนั้น เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเชื่องช้า จะทำให้นักปฏิบัติได้สามารถตามรู้ อาการเคลื่อนไหวดังกล่าวได้โดยละเอียด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2011
  2. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    อนุโมทนานะครับ ^^

    ตอนสติปัฏฐานเกิด ใครเห็นก็ว่านี่ มันเหนียม นิ่ง เงียบ อมยิ้ม อย่างเดียว
     
  3. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ลองอ่านไปเรื่อยๆ
    เรื่องเจ้ากรรมนายเวรนี้ เป็นที่น่าศึกษากันจริงๆ ..เรามักจะได้ยินคำกล่าวอย่างนี้บ่อยๆ ว่า..ผมไปดูหมอดูมา...หมอดูทักว่า ดวงไม่ดี
    ให้ทำบุญอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรเสีย จะได้พ้นเคราะห์ หรือไม่ก็มีผู้รู้แนะนำว่า..."คุณทำบาปทำไม่ดีมามาก จะได้หมดกรรมโดยเร็ว"
    หรือว่าทำบุญสะเดาะเคราะห์ ถวายสังฆทานเพื่อสะเดาะเคราะห์ อย่างนี้ก็มีให้ได้ยินได้ฟังกันเสมอๆ

    เกี่ยวกับเจ้ากรรมนายเวรนั้น คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าเป็นใครที่ตายไปแล้ว แม้แต่สัตว์ที่ตายไปแล้ว ที่เราอาจจะเคยกระทำไม่ดีต่อเขา มีการเบียดเบียนเขา เป็นต้น แล้ว "เขา" เหล่านั้น ยังผูกโกรธอยู่ จึงทำให้เราต้องมารับผลที่ไม่ดีหลายๆ อย่าง กลายเป็นเจ้ากรรมนายเวรนั่นแหละ มีอำนาจดลบันดาลให้เรารับวิบากกรรมที่ไม่ดีได้ และการทำบุญให้เขา เขาก็ยกโทษให้ เรื่องนี้เป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้อง ทั้งในแง่เหตุผลก็ดี เกี่ยวกับตัวตนก็ดี

    หากจะคิดว่าบุคคลที่ตายไปแล้ว ที่เราเคยล่วงเกินหรือเบียดเบียนเอาไว้นั้น เขาก็ได้ไปสู่ภพใหม่ ก็ไปรับผลของกรรมของเขาที่กระทำไว้เช่นกัน หากจะเรียก "เจ้ากรรม" แล้วไซร์ใครเล่าเป็นเจ้ากรรม...ก็เราผู้กระทำกรรมมิใช่หรือ ที่เป็นเจ้าของกรรม.. ก็ผู้ใดทำกรรมอันใดไว้ผู้นั้นก็เป็นเจ้าของๆกรรมอันนั้น ขอให้เข้าใจประเด็นนี้ให้ถูกต้องก่อน

    แล้วกรรมที่เราทำสำเร็จลงไปแล้ว ทั้งกรรมดีและกรรมชั่วนั้น เราทำด้วยจิต ที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง.... เจตนาที่เป็นไปกับบุญ เป็นไปกับบาป แม้จิตที่ทำกรรมนั้นจะดับลงไปแล้ว แต่เขายังเก็บอำนาจไว้อยู่ รอโอกาสที่จะส่งผลให้เป็นอารมณ์แก่วิบากจิต เมื่อเหตุปัจจัยครบถ้วน...นี่เองเป็นที่มาของการรับผลกรรมแห่งสัตว์โลกทั้งหลาย หาได้ใช่ใครคนใดคนหนึ่งมีอำนาจมากระทำให้เราต้องรับผลอันเป็นวิบากไม่

    ส่วนนายเวร นั้นเล่า ควรจะเป็นใครในที่นี่ ก็บรรดาสัตว์โลกทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดกันมานับเวลาไม่ได้นั่น ย่อมมีการผูกอาฆาต จองเวรพยาบาทกันได้เป็นเรื่องธรรมดา เพราะสภาพธรรมที่เป็น"โทสะ" เป็นของที่มีอยู่ประจำจิตใจของสัตว์ทั้งหลาย กรรมที่ได้จองเวรอาฆาตพยาบาท ก็ได้ซัดให้สัตว์ทั้งหลายเกิดมาเป็นผู้อาฆาตกันบ้าง จองล้างจองผลาญกันบ้าง ประหัตประหารกันบ้าง แม้ในพระไตรปิฏก ท่านก็แสดงไว้หลายเรื่อง ยิ่งอาฆาตพยาบาทกันทั้งคู่แล้ว ยิ่งแล้วกันใหญ่ ต้องตามฆ่าตามล้างแค้นกันเรื่อยไป ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร"

    เราควรเอาใส่ใจในเรื่อง "นายเวร" ไหม...แล้วประโยชน์อะไรกับการใส่ใจเรื่องเจ้ากรรมนายเวรด้วยเล่า....
    ใจที่เราปรารภถึงเจ้ากรรมนายเวรนั้น ก็เป็นจิตที่เศร้าหมองหดหู่ หวาดกลัว เพระส่วนใหญ่เราก็มักจะไปคิดถึงเรื่องไม่ดีที่ทำไว้
    หรือคิดว่าทำไม่ดีไว้อย่างนี้เป็นต้น...ใจเป็นไปกับอกุศล...แทนที่จะเป็นกุศลเกิดขึ้นมา

    ดังนั้นจึงเป็นเรื่องไม่ควรใส่ใจ กรรมใดๆ ที่ทำจบไปแล้ว ล้วนแก้คืนไม่ได้ ควรใส่ใจที่จะระงับเวร ระงับโทษในปัจจุบันดีกว่า
    บางคนทำบุญอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรทุกวันที่ทำอย่างนั้นเพราะตัวอยากได้รับการอภัยโทษ แต่กระนั้น ตัวไม่เคยที่จะลดละความอาฆาตพยาบาทใครสักคนในชีวิต ยังคงเกลียด ยังคงแค้น ยังคงชิงชัง ยังผูกโกรธผูกอาฆาตมิรู้ลืม อภัยไม่ได้เลย....

    ตัวขอขมาเจ้ากรรมนายเวรเพราะอยากให้เขา "ให้อภัย" ตนมิใช่หรือ ... แต่เหตุใดตัวจึงให้"อภัย"ผู้อื่นไม่ได้เล่า

    เห็นได้ว่า บุคคลทั้งหลายควรจะใส่ใจให้ความสำคัญกับเหตุใหม่ (กรรมในปัจจุบัน) มากกว่า.. เราควรให้อภัย ละเว้นการผูกอาฆาตพยาบาทในปัจจุบันนี้ นี่แหละ เพื่อไม่เป็นการผูกเวรกับใครต่อใคร.........

    การอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ต้องถามตัวเราว่า ถ้าใครสักคนที่เราโกรธ เราเกลียดนักหนา เมื่อเห็นเขาทำบุญแล้วอยากจะอนุโมทนากับเขาไหม... อย่าว่าอย่างนั้น อย่างนี้เลย โกรธแล้วหน้ายังไม่อยากมอง ยิ้มยังยิ้มไม่ได้เลยฉันใดก็ดี บุคคลที่ผูกอาฆาตนั้น ย่อมอนุโมทนาบุญของอีกฝ่ายไม่ได้ แล้วเรื่องที่แสดงไว้เกี่ยวกับการอุทิศส่วนกุศลนั้น ได้แสดงไว้ว่า มีเพียงเปรตชนิดหนึ่งที่ใกล้จะหมดวิบากในอบายที่ชื่อว่า ปรทัตตุปชีวี เท่านั้น ที่จะรับส่วนบุญด้วยจึงจะได้รับ ถ้าไม่อนุโมทนาก็ไม่ได้รับ... เวลาเราทำกุศลและทำปัตติทานกุศล คือการอุทิศส่วนบุญนั้น ขอลองให้นึกดูถึงจิตใจของเราที่มีความอิ่มใจ ในบุญที่เราทำแล้ว และคิดจะแผ่ไปให้ผู้อื่นได้รับ เราเป็นผู้ให้ก็ร่าเริงใจที่จะให้ ส่วนผู้รับก็เต็มใจที่จะรับ จิตใจของเราที่เป็นไปกับบุญนั้นย่อมมีต่อเนื่องในขณะนั้น....ครั้นแล้วเราไปปรารภถึงเจ้ากรรมนายเวร ใจก็สะดุดเพราะความเกรงกลัวต่อความไม่ดีที่อาจจะพึงมีในอดีต ทำให้กระแสบุญของเราสะดุดหยุดยั้งไปกลายเป็นอกุศลเกิดแทน

    เพราะเหตุนี้ บุคคลจึงควรไม่สมควรใส่ใจให้ความสำคัญในเรื่องนี้จนเกินไปนัก ทำให้อิ่มเอมในบุญ เจริญกุศลอยู่เนืองๆ บุญที่ทำแล้วอยู่เสมอๆ นั่นเอง จะเป็นปัจจัยให้ผลแห่งกรรมดีในอดีตได้โอกาสส่งผล อย่ามัวหวั่นไหวในเรื่องเจ้ากรรมนายเวรเลย บางคนกังวลเอามากๆ อกุศลเกิดแทน เลยเป็นบาปไปเสีย แล้วคิดบ่อยๆ อกุศลเกิดบ่อย ใจก็เศร้าหมอง ยิ่งแย่ไปกันใหญ่ ให้สนใจในปัจจุบันจะเกิดประโยชน์ ปรารภถึงอกุศลในอดีตมีแต่โทษมีแต่ภัย บางคนเอาแต่นึกถึงเรื่อง เจ้ากรรมนายเวร จนไม่มีความสุข หวาดหวั่นเอามากๆ ก็มี อะไรๆ ก็โทษเอาแต่เจ้ากรรมนายเวรนั่นแหละ....ไม่โทษตัวเองเลย

    คัดลอกจากมาคนอื่นบ้างเสริมแต่งบ้าง อ่านกันไปเล่นๆ ไม่ต้องเครียดอกุศลจะได้ไม่เกิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2011
  4. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ขออนุโมทนาบุญค่ะ
    องค์คุณของนักปฏิบัติธรรมไว้ 4 ประการ
    ขอบพระคุณ ที่นำมาให้อ่านค่ะ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...