คำสอน

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย หนึ่ง898989, 15 สิงหาคม 2008.

  1. หนึ่ง898989

    หนึ่ง898989 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    665
    ค่าพลัง:
    +295
    [​IMG]


    ยอดอัจฉริยะที่ยากพบพานในรอบ 1,000 ปี



    คูไค เกิดในปี ค.ศ. 774 ( ปัจจุบันถือว่า วันที่ 15 มิถุนายน คือ วันเกิด
    ของท่าน ) เป็นบุตรของท่านหญิงทามะโยริแห่งตระกูลอะโตะ กับท่าน
    สะเอคิ ทะกิมิ ซึ่งมีสายเจ้าในจังหวัดสะนุคิแห่งเกาะชิโกกุ ในวัยเด็ก
    คูไคมีชื่อเรียกว่ามาโอะ( ปลาจริง ) อันที่จริง พวกเรารู้เรื่องเกี่ยวกับ
    ชีวิตในวัยเด็กของคูไคไม่มากนัก ทราบแต่ว่าบิดาของเขาเป็นอดีตเจ้า
    ผู้เริ่มตกอับ ขณะที่มารดาของเขาเป็นผู้มีการศึกษาสูง และเก่งในเรื่อง
    การแต่งโคลงกลอน คูไคคงได้รับส่วนที่ดีเด่นทั้งจากบิดาและมารดา
    ของเขามาเป็นแน่ จังทำให้เขาเป็นผู้ที่มีขัตติยะมานะแบคนชั้นสูงตาม
    บิดาของเขา แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้มีพรสวรรค์ในการเขียนโคลง
    กลอนภาษาจีนอย่างหาตัวจับได้ยาก แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ คูไคเป็นเด็ก
    ฉลาดมากจนได้รับสมญานามจากผู้คนในบ้านเกิดของเขาว่า " เทพทารก "
    ตั้งแต่เมื่อเขามีอายุเพียง 5 - 6 ขวบแล้ว



    คูไคโชคดีกว่าเด็กคนอื่น ๆ เป็นจำนวนมากในยุคเดียวกับเขา ตรงที่เขา
    ได้รับการอบรมเกี่ยวกับลัทธิขงจื้อตั้งแต่เด็กโดยครูซึ่งเป็นพี่ชายของ
    มารดาเขา และเป็นครูสอนวิชาจีนศึกษาแก่ราชบุตรอิโยแห่งราชวงศ์
    จักรพรรดิญี่ปุ่นในเวลาต่อมาด้วย ท่านอะโตะ โอตาริ ซึ่งเป็นลุงแท้ ๆ
    ของคูไคผู้นี้แหละที่แลเห็นแววอัจฉริยะในการเรียนรู้ของคูไค จึงตัดสิน
    ใจพาเขาไปยังเมืองหลวงนารา เมื่อคูไคมีอายุได้ 15 ปี โดยพำนักอยู่
    กับท่านและร่ำเรียนเตรียมตัวสอบเข้า " มหาวัทยาลัย " ( ไดงะกุ )



    " ไดงะกุ " หรือ " มหาวัทยาลัย " ในยุคนั้น มีอยู่แห่งเดียวในเมืองหลวง
    และเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงสุดเพื่อบ่มเพาะ " ชนชั้นนำ " ให้เข้ามา
    รับราชการบริหารประเทศเท่านั้น ระบบ " ไดงะกุ " ของญี่ปุ่นนี้เลียนแบบ
    หลักสูตรมาจากของประเทศจีนอีกทีหนึ่ง เพราะจีนยุคราชวงศ์ถังในขณะ
    นั้นเป็น " ประเทศพัฒนาแล้ว " ที่เจริญที่สุดในโลก โดยมีเมืองหลวงที่เป็น
    เมืองสากลตั้งอยู่ฉางอาน ขณะที่ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศเล็ก ๆ และด้อยพัฒนา
    อยู่ วิทยาการและความรู้ใหม่ ๆ ล้วนต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศจีน
    ทั้งสิ้น



    การที่คูไคสามารถสอบเข้ามาเรียนใน " มหาวัทยาลัย " ซึ่งรับจำนวนจำกัด
    มากนั้น ด้านหนึ่งคงเเป็นเพราะความปรีชาฉลาดปราดเปรื่องของตัวเขาเอง
    แต่ในอีกด้านหนึ่งและเป็นด้านชี้ขาดก็คือ เพราะว่าคูไคเป็นลูกหลานของ
    ตระกูลเจ้าที่แม้จะเป็นตระกูลปลายแถวก็ตาม เนื่องจากการมีเชื้อเจ้าเป็น
    เงื่อนไขประการสำคัญที่สุดในการเข้าเรียน " มหาวิทยาลัย " แห่งนั้นได้เมื่อ
    เขามีอายุได้ 18 ปี โดยเข้าเรียนในแผนก " บริหารรัฐกิจ " ในระหว่างที่เรียน
    คูไคถูกบังคับให้อ่านตำราของลัทธิขงจื้อและของลัทธิเต๋าเป็นจำนวนมาก
    เขาต้องเรียนหนักมาก แต่เขาก็เรียนได้ดีด้วยและได้รับคำชมเชยจากครุบา
    อาจารย์เสมอ จุดนี้เองที่ทำให้คูไคแตกต่างกับอริยสงฆ์รูปอื่น ๆ ของญี่ปุ่น
    ในเวลาต่อมา ที่มีความรู้จำกัดแคบอยู่แค่พุทธศาสนาเท่านั้น หาได้มีความรู้
    กว้างขวางและมีพื้นฐานความคิดปรัชญาตะวันออกในสายอื่น ๆ อย่างแน่น
    หนามั่นคงเหมือนอย่างคูไคไม่




    ถ้าหากจะมี " ความทุกข์ " เกิดขึ้นในใจของคูไคในระหว่างที่เขากำลังเรียน
    อยู่ในมหาวิทยาลัย ความทุกข์นั้นก็เห็นจะมีเพียงอย่างเดียวนั่นคือตัวเขาไม่ได้
    ชอบเรียนวิชาบริหารรัฐกิจเลยแม้แต่น้อย ! และตัวเขาไม่ชอบรับราชการเลย
    แม่แต่น้อย เป็นที่น่าเสียดายว่า " มหาวิทยาลัย " สมัยนั้นยังไม่มีแผนก " ปรัชญา "
    ซึ่งสอดคล้องกับความสนใจส่วนตัวของคูไคมากกว่า จึงทำให้คูไคไม่สามารถ
    ย้ายแผนกหรือเปลี่ยนคณะได้



    คูไคในวัยเพิ่งแตกหนุ่ม และกำลังอยู่ในช่วง " แสวงหา " ความหมายที่แท้จริง
    ของชีวิต คงพอจะเริ่มรู้จักและเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของตัวเองได้แล้วว่า
    ตัวเขาเป็นคนที่มีความต้องการจะบรรลุ " ความเป็นเลิศ " อย่างแท้จริง และ
    จิตใจของเขาก็มีความละเอียดอ่อนละมุนละไมเกินกว่าที่จะถูกจำกัดถูกครอบ
    ด้วยระบบราชการที่เคร่งครัดได้ ในขณะทีคูไคีความมั่นใจนตนเองเป็นอย่าง
    สูงว่า ภายในช่วงเวลา 2 ปี ที่เขาเรียนอยู่นมหาวิทยาลัยนั้น ตัวเขาได้ร่ำเรียน
    ลัทธิขงจื้ออย่างทะลุปรุโปร่งหมดแล้วจนวิชาการนี้มิได้ท้าทายหรือดึงดูดใจเขา
    อีกต่อไปแล้ว ขณะเดียวกันเขาก็ค้นพบว่าระบบไต่เต้าของขุนนางในยุคของ
    เขานั้น ถูกกำหนดโดยเชื้อสายหาใช่คามสามารถที่แท้จริงไม่ เพราะฉะนั้น
    ถึงตัวเขาจะรับราชการเป็นขุนนางในอนาคต ตัวเขาก็คงไม่มีวันก้าวขึ้นสู่จุด
    สูงสุดหรือตำแหน่งอันดับหึ่งในวงการราชการได้อย่างแน่นอน เพราะตัวเขา
    เป็นแค่ผู้มีเชื้อเจ้าปลายแถวคนหนึ่งเท่านั้น



    " ศาสนาพุทธ " คือศาสตร์ใหม่ที่คูไคได้สัมผัสหลังจากที่เขาช่ำชองลัทธิขงจื้อ
    และลัทธิเต๋าจนไม่รู้สึกเร้าใจในศาสตร์ 2 ศาสตร์นี่อีกต่อไปแล้ว " ศาสนาพุทธ "
    ดึงดูดตัวคูไคมากในฐานะที่มันเป็น " ปรัชญา " ที่มุ่งตั้งคำถามที่เป็นรากเหง้า
    และแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ ไม่แต่เท่านั้น " ศาสนาพุทธ " ยังเป็นหลักวิชาที่
    ท้าทายความสามารถของตัวเขาในความรู้สึกของคูไคขณะนั้นด้วย เนื่องเพราะ
    เขาได้ค้นพบว่าศาสนาพุทธมีความลึกล้ำมาก ขณะที่ตัวเขายังมีความเข้าใจ
    เกี่ยวกับศาสนาพุทธรน้อยมาก !



    ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจกันก่อนว่า เมื่อ 1,000 กว่าปีก่อน " ศาสนาพุทธ "
    ยังเป็นศาสตร์นำเข้าที่ใหม่มากสำหรับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเกือบทั้งหมดนำเข้า
    มาจากประเทศจีน จากคัมภีร์ศาสนาพุทธฉบับภาษาจีนที่แปลมาจากสันสกฤต
    อีกต่อหนึ่ง แต่แม้กระนั้นก็ตามคัมภีร์ศาสนาพุทธในยุคนั้นก็มีจำนวนมากมาย
    มหาศาลหลายพันเล่ม จนอ่านกันจนตายก็แทบไม่หมดอยู่แล้ว ทั้ง ๆ ที่มี
    คัมภีร์ศาสนาพุทธมากมายขนาดนี้ แต่จะหาคนที่ " รู้จริง " เข้าใจศาสนา
    พุทธอย่างถึงแก่น ถึงรากถึงโคนได้ยากเต็มทน

    ไคในวัย 20 ปี จึงอยู่ในทางแพร่งของชีวิต ที่ต้องเลือกเอาระหว่างการเดิน
    ตามเส้นทางที่ผู้ใหญ่ปูทางให้แก่ตัวเขา คือรับราชการเป็นขุนนางระดับสูง
    หรือต้องเลือกเดินทางสายใหม่โดยออก " แสวงหา " สัจธรรมสูงสุดในศาสนา
    พุทธอีกครั้งหนึ่ง การที่คูไคมีโอกาสได้พบสมณะรูปหนึ่งซึ่งแนะนำให้เขาฝึก
    วิชา " โคคูโซม็อนยิ " ( วิชาแห่งพระผู้มีปัญญาความรู้อันไม่มีวันหมดสิ้น )
    โดยบอกกับเขาว่า ถ้าหากเขาสามารถฝึกวิชานี้ได้เป็นผลสำเร็จ โดยการเพ่ง
    น้อมจิตเพื่อเปลี่ยนแปลงมันสมองของตนเองให้มีความล้ำเลิศระดับอัจฉริยะ
    ด้ยการท่องมนตราตาที่ถ่ายทอดให้เป็นจำนวน 1 ล้านคาบภายในเวลา 100 วัน
    ได้แล้ว เขาก็จะสามารถเข้าใจหลักพุทธธรรมทั้งปวงได้อย่างไม่ลำบากยากเย็น
    อีกต่อไปแล้ว



    เมื่อได้รับคำแนะนำจากสมณะรูปนั้น คูไคจึงตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว ละทิ้ง
    การศึกษาในระบบมหาวิทยาลัย ปลงผมบวชเป็นนักพรตพเนจรเข้าไปฝึกวิชา
    ในป่าเขาเพื่อฝึกฝน " วิชาแห่งพระผู้มีปัญญาความรู้อันไม่มีวันจบสิ้น " ให้
    สำเร็จให้ได้ โดยไม่ยอมฟังคำทัดทานของบิดามารดาและผู้ใหญ่ท่านอื่น ๆ
    แต่อย่างใด ขณะนั้นคูไคเพิ่งมีอายุ 20 ปี และนั้นเป็นก้าวแรกแห่งการกลาย
    เป็นยอดอัจฉริยะที่ยากพบพานในรอบ 1,000 ปี ของประเทศญี่ปุ่นในเวลา
    ต่อมา



    เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุจูงใจในครั้งแรกที่ทำให้คูไคเข้ามาสนใจศึกษาศาสนา
    พุทธอย่างจริงจังนั้น ต่างกับอริยสงฆ์ท่านอื่น ๆ เป็นอย่างมาก กล่าวคือ
    คูไคมิได้เริ่มสนใจศาสนาพุทธเพราะแลเห็นว่า " ชีวิตคือทุกข์ " เหมือน
    อริยสงฆ์รูปอื่น ๆ เขาจึงไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อ " แสวงหาความหลุดพ้น " หรือ
    " การตรัสรู้ " ( การรู้แจ้ง ) ในทีแรก แต่คูไคเริ่มสนใจศาสนาพุทธ เพราะเขา
    รู้สึกว่ามันเป็นวิชาที่ยากลึกล้ำ ซึ่งท้าทายตัวเขาผู้แสวงหา " ความเป็นเลิศ "
    ในกิจกรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น เป้าหมายประการแรกและเป็นอันดับแรก
    ในการศึกษาศาสนาพุทธของคูไคก็คือจะทำอย่างไรถึงจะมีความเข้าใจ
    อย่างแจ่มแจ้งในหลักพุทธธรรมทั้งปวงได้ ซึ่งวิธีการที่คูไคใช้เพื่อบรรลุ
    เป้าหมายอันนี้ก็คือ การฝึกฝนพัฒนามันสมองของตัวเองให้มีความล้ำเลิศ
    ระดับอัจฉริยะเสียก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยไปศึกษาคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งจะ
    ทำให้ศึกษาได้ง่ายราวกับพลิกฝ่ามือ ไม่ยากลำบากเหมือนแต่ก่อนอีก
    ต่อไปแล้ว



    ด้วยเหตุนี้ ทัศนะที่มีต่อพุทธศาสนาและต่อชีวิตของคูไคในเวลาต่อมา
    จึงค่อนข้างต่างไปจากอริยสงฆ์รูปอื่น ๆ นั้นคือ คูไคแลเห็นและเน้น
    ด้านที่เบิกบานหรรษาของชีวิตมากกว่าด้านที่เป็นความทุกข์ยากของชีวิต
    คูไคดื่มด่ำกับความงดงามของธรรมชาติ ของภูเขาและทะเล มากกว่า
    ที่จะปฏิเสธความเป็นอยู่ของโลกใบนี้ในฐานะที่เป็นโลกียะ อาจเป็นเพราะ
    ทัศนคติต่อชีวิตและธรรมชาติของคูไคเช่นนี้กระมังที่ทำให้ " ศาสนาพุทธ
    ของคูไค " เป็น ศาสนาพุทธแห่งมันดาลา เป็นศาสนาพุทธแห่งการมุ่ง
    บรรลุความเป็นพุทธะในชีวิตนี้ เป็นศาสนาพุทธที่มุ่งทำให้ตัวเราเองเป็น
    อันหนึ่งอันเดียวกับจักรวาลหรือธรรมกาย กล่าวคือ เป็นศาสนาพุทธ
    แห่ง " มิกเคียว " หรือ " วัชรยาน " แทนที่จะเป็นศาสนาพุทธแห่งเถรวาท
    หรือ ศาสนาพุทธแห่งเซน หรือศาสนาพุทธแห่งแดนสุขาวดี เหมือน
    อริยสงฆ์รูปอื่น ๆ




    " สันติชาติ เธอรู้มั้ยว่า ถ้าคนคนหนึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถอันยิ่งใหญ่
    อยู่ในตัว แต่ตัวเขายังไม่ตระหนักถึงความสามารถเช่นนั้นที่มีอยู่ในตัวเขา
    หรือบังเอิญตัวเขาไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปิดกั้นความสามารถอันนั้น
    ของเขาอย่างรุนแรงแล้ว คนผู้นั้นจะเป็นเช่นไร ? "



    " ผมคิดว่า คนผู้นั้นคงจะต้องอึดอัดทุรนทุรายใจมากเลยทีเดียวครับอาจารย์
    และบางทีเขาอาจด่วนตัดสินใจทำอะไรที่หุนหันพลันแล่นอย่างที่คนอื่นคาด
    ไม่ถึงด้วย ... เอ้อ อาจารย์คิดว่า อัจฉริยะอย่างคูไคก็ตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น
    ตอนที่เขาตัดสินใจเลิกเรียนมหาวิทยาลัยกลางคันแล้วปลงผมบวชเป็นนักพรต
    พเนจรหรือครับ ? "



    " ใช่แล้ว อาจารย์คิดว่าคูไคตัดสินใจเปลี่ยนวิชาเรียนจากวิชาบริหารรัฐกิจ
    มาเป็นวิชาปรัชญาเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับตัวตนและความต้องการที่แท้จริง
    ของเขามากกว่า เพียงแต่สภาวพแวดล้อมในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยให้เขา
    เปลี่ยนสาขาวิชาได้ การณ์จึงออกมาในรูปที่สุดโต่งอย่างนั้นคือเขาต้องเลิก
    เรียนมหาวิทยาลัยแล้วออกมาแสวงหาวิชาปรัชญาด้วยตัวเองจากศาสนาพุทธ
    การตัดสินใจเข้ามาศึกษาศาสนาพุทธของคูไคจึงมาจากความทุรนทุรายทาง
    ปัญญาโดยแท้ หาได้มาจากการเบื่อโลกแต่อย่างใดไม่ อ้อ แต่มีประสบการณ์
    อีกอย่างหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้อันนิมิตที่คูไคได้ประสบในระหว่างการ
    แสวงหาศาสนาพุทธ ด้วยตนเอง และเป็นช่วงก่อนที่เขาจะได้มาพบกับสมณะ
    ก็อนโซ ผู้แนะนำให้คูไคฝึกวิชา ' โคคูโซม็อนยิ ' ( วิชาเปลี่ยนมันสมองให้เป็น
    เลิศ ) ก่อน "



    " นิมิตอะไรหรือครับอาจารย์ที่คูไคประสบ ? "




    " ภายหลังจากที่คูไคเลิกเรียนมหาวิทยาลัย แล้วโกนหัวออกบวชเป็นนักพรต
    พเนจรแล้ว เขาได้เข้าไปฝึกฝนตัวเองในป่าเขา อาบน้ำตกที่กระหน่ำซัดตัวเขา
    อย่างรุนแรงพร้อมกับภาวนาหาทางช่วยเหลือมนุษยชาติ ในไม่ช้าเมื่อคูไคตกอยู่
    ในภวังค์สมาธิอันลึกล้ำขนาดที่เขาสามารถแลเห็นอนาคตของตัวเองได้ เขาได้
    แลเห็นว่า ตัวเองกำลังร่ำเรียนคำสอนของพระพุทธเจ้า และในระหว่างนั้น
    ตัวเองได้นั่งเรือใบเพื่อเดินทางไปประเทศจีนไปศึกษาวิชาศาสนาพุทธขั้นสูง
    แต่แล้วเรือใบที่เขากำลังนั่งโดยสารไปนั้นกลับต้องอัปปางลงกลางทะเล ! "



    " พูดง่าย ๆ ก็คือ คูไคเห็นชะตาชีวิตในอนาคตของตนเองก่อนแล้วใช่ใหม
    ครับว่าจะต้องอายุสั้น เพราะจบชีวิตลงกับเรือใบลำที่จมลงในทะเลก่อนที่
    ตัวเองจะได้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิตตน "



    " ใช่แล้ว ตัวคูไคจึงตระหนักว่า ก่อนอื่น เขาจะต้องพยายามเปลี่ยนชะตากรรม
    อันนี้ของตัวเขาให้ได้เสียก่อน มิฉะนั้น ความหมายแห่งการมีชีวิตอยู่ของเขา
    ก็ดี ความหมายแห่งการแสวงหาธรรมในชั่วชีวิตของเขาก็ดี มันก็จะไร้ความ
    หมายไปอย่างสิ้นเชิง ในช่วงนี้แหละ ภายหลังจากที่คูไคได้รู้เห็นชะตากรรม
    ของตนเองแล้วที่เขาได้พบกับสมณะก็อนโซ และได้รับการถ่ายทอดวิชา
    ' โคคูโซม็อนยิ ' เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเขาเอง และเพื่อเปลี่ยนชะตากรรมของ
    ตัวเขาด้วย "



    " ........................................ "




    " อันชะตาชีวิตของคนเรานั้น อันที่จริงได้ถูกบันทึกเอาไว้ล่วงหน้าแล้วอย่าง
    ชัดแจ้งในมหาสากลจักรวาล แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่รู้สำนึกหรอกจึงใช้ชีวิต
    ของตนไปตามยถากรรม อันคำว่า ' โคคูโซ' ในภาษาญี่ปุ่นนั้นก็เป็นชื่อของ
    พระโพธิสัตว์รูปหนึ่งผู้มีปัญญาความรู้อันไม่มีวันหมดสิ้น โดยที่โคคูโซมี
    ความหมายว่า คลังอวกาศ หรือคลังความรู้ในจักรวาลที่บันทึกชะตากรรม
    ของชีวิตทั้งปวงเอาไว้ตั้งแต่ชีวิตในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตราบใดที่
    ชีวิตของสรรพสิ่งยังอยู่ในวัฏฏสงสาร



    ทำไมชีวิตของมนุษย์เราจึงถูกบันทึกอยู่ในคลังอวกาศนี้ได้เล่า ? คำตอบคือ
    เพราะ ความโง่เขลาอันไม่มีที่สิ้นสุด ของมนุษย์ผู้นั้นนั่นเอง สันติชาติเธอ
    จำสิ่งที่เราเคยบอกเธอได้หรือเปล่าว่า ความคิดและการกระทำของคนเรานั้น
    เป็นส่วนผสมของ ' ข่าวสาร ' ที่สืบทอดมาจาก ' บรรพบุรุษ ' ที่ฝังลึกอยู่ใน
    ร่างกายสายเลือดของเรา กับ ' ข้อมูลในอดีต ' ที่ถูกบันทึกเอาไว้ใน ' วิญญาณ '
    ของเรา เพราะฉะนั้น ตราบที่คนคนนั้นยังไม่ ' ตื่น ' ขึ้นมาแล้ว คนคนนั้นอาจ
    ไม่รู้หรอกว่า การตัดสินใจของตนในตอนนั้น จริง ๆ แล้วหาใช่การตัดสินใจ
    ของตนเองอย่างแท้จริงไม่ แต่เป็นการตัดสินใจที่พึ่งพิงข่าวสารจากบรรพบุรุษ
    และข้อมูลความทรงจำใน ' อดีตชาติ ' ของตนต่างหาก



    การที่คนเรายังต้อง พึ่งพา ' หมอดู ' ให้ทำนายโชคชะตาของตัวเราอยู่ก็เป็น
    การแสดงว่าคนผู้นั้นยังโง่เขลาอยู่ ทำไมเราถึงกล่าวเช่นนั้นเล่า ?
    ก็เพราะว่า ' ความโง่เขลา ' ของมนุษย์เรานั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
    ชาติแล้วชาติเล่า ภพแล้วภพเล่า จึงทำให้มนุษย์เรานั้นยากจะหลุดพ้นจาก
    วัฏฏสงสารไปได้ การที่มนุษย์เรายังคงทำผิดซ้ำซากซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อีก
    ก็เป็นสิ่งพิสูจน์ให้เห็นถึง ' ความโง่เขลา ' อันนี้นั่นเอง
    [​IMG]


    คูไคได้เห็นชะตาชีวิตของตนเองในระหว่างการฝึกสมาธิของเขา เขาจึงตัด
    สินใจฝึกฝนวิชาเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของตนเอง หรือวิชา ' โคคูโซม็อนยิ '
    โดยทำการทดลองฝึกวิชานี้ถึง 3 ครั้ง 3 คราด้วยกัน จนกระทั่งประสบความ
    สำเร็จในครั้งที่ 3 ทำให้เขาสามารถเดินทางไปถึงประเทศจีนโดยสวัสดิภาพ
    และกลายมาเป็นปรามาจารย์แห่งยุคในเวลาต่อมาได้ ... เธออย่าแปลกใจนะ
    สันติชาติ ถ้าเราจะบอกว่าคนส่วนใหญ่ในโลกนี้มักไม่ค่อยรู้ตัวหรอกว่าตนเอง
    กำลังเดินตามรอยชะตากรรมของตนที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว และกว่า
    จะรู้ตัวก็มักจะสายไปเสียแล้ว คือ ตัวเองกลับมาที่เก่า ย่ำเท้าอยู่กับที่ ไม่ได้
    ก้าวหน้าทางจิตวิญญาณเลยแม้แต่น้อยก่อนที่จะสิ้นชีวิตนี้ไปเกิดใหม่อีกครั้ง "




    " เพราะฉะนั้น การฝึกสมาธิของวัชรยาน คือการทำให้ชะตากรรมของตัวเรา
    กลับมาเป็นกระดาษขาวอีกครั้ง เพื่อให้เราเริ่มต้นเขียนชีวิตและชะตาชีวิตของ
    เราใหม่ในชาตินี้ได้ใช่มั้ยครับ "




    " ใช่แล้ว สันติชาติ วิชา 'โคคูโซม็อนยิ ' ที่คูไคฝึกหัดนั้น อันที่จริงก็คือหลัก
    วิชาเพื่อการลบอดีตชาติและสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ล่วงหน้าแล้วในชะตากรรมของ
    เรานั่นเอง เพื่อให้ตัวเราที่ตื่นแล้ว สามารถตั้งต้นชีวิตใหม่ได้อย่างมีพลังและ
    อย่างสร้างสรรค์แท้จริงในชาตินี้โดยไม่ต้องไปรอความหวังในชาติหน้าอย่าง
    ลม ๆ แล้ง ๆ อีกต่อไป "



    " การฝีกวิชา ' โคคูโซม็อนยิ ' ของคูไคอย่างเป็นรูปธรรมนั้ทำอย่างไรครับอาจารย์ "



    [​IMG]



    " ถ้าฝึกแบบย่อ ๆ ก็คือ การทำมุทราในท่า ' โคคูโซ' หรือ พระผู้มีปัญญาอัน
    ไม่มีวันหมดสิ้น เพ่งนิมิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวท่าน พร้อมกับท่องมนตรา
    สั้น ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นจำนวน 1 ล้านเที่ยวด้วยกัน



    ... โนโบ อาคะชะเคียะระบะยา โอมอะริเคียะ มะริโบะริโสวะกะ ... "



    " และถ้าฝึกแบบเต็มรูปล่ะครับ อาจารย์ ? "



    ( 1 ) ก่อนอื่น นั่งขัดสมาธิ พนมมือ แล้วท่องมนตราต่อไปนี้ 1 เที่ยว
    ... โอม ซารุบะ ตะตะกะตา ปะดะปันดะโนคะโรมิ ...


    ( 2 ) จากนั้น ทำท่ามุทราในท่า " พนมมือปัทมะ " ( เหมือนท่าพนมมือธรรมดา
    แต่นิ้วกลางเท่านั้นที่ไม่แตะกัน และอยู่ห่างจากกันราว ๆ 2 เซนติเมตร )
    แล้วท่องมนตราต่อไปนี้ เป็นจำนวน 5 เที่ยว



    ... โอม โสวะบันบะ ชุดะ ซาราบะ ทาระมะโสวะ บันบะ
    ในระหว่างท่องมนตราให้มุ่งภาวนาชำระกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
    ของตนเองให้สะอาด



    ( 3 ) ทำมุทราในท่า ' บาตร ' พร้อมกับท่องมนตราต่อไปนี้ 3 เที่ยว
    ... โอม ตะตะเกียะโต โดะบันบะยา โสวะกะ ...
    นี่คือ การชำระกายกรรม



    ทำมุทราในท่า ' ใบบัวสยายกลีบทั้งแปด ' พร้อมกับท่องมนตรา
    ต่อไปนี้ 3 เที่ยว
    ... โอม บันโดะโบะ โดะบันบะยา โสวะกะ ...
    นี่คือ การชำระวจีกรรม



    ทำมุทราในท่า มือขวาซ้อนอยู่บนมือซ้าย พร้อมกับท่องมนตรา
    ต่อไปนี้ 3 เที่ยว
    ... โอม บะโซโระ โดะบันบะยา โสวะกะ ....
    นี่คือ การชำระมโนกรรม



    ( 4 ) ทำมุทราในท่า ' โคคูโซ ' ( นิ้วหัวแม่โป้งทั้งสองกดนิ้วนางทั้ง
    สอง นิ้วกลางทั้งสองแตะกัน ขณะที่นิ้วชี้งอเป็นรูปตะขอ )
    พร้อมกับท่องมนตราเพื่อให้พลังพุทธคุ้มครองตนดังต่อไปนี้
    5 เที่ยว


    ...โอม บาซะรากินี ฮาราติ อาตายะ โสวะกะ...




    [​IMG]




    ผู้ฝึกจะต้องฝึกขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ทุกวัน วัน 3 เวลา
    เป็นเวลา 360 วัน ก่อนที่ไป ฝึกแบบย่อ ๆ โดยท่องมนตรา
    รวดเดียวเป็นจำนวน 1,000,000 เที่ยว โดยท่องวันละ 10,000 เที่ยว
    เป็นจำนวน 100 วันเต็ม คือ


    ... โนโบ อาคะชะเคียะระบะยา โอมอะริเคียะ มะริโบะริโสวะ



    ยังไม่จบ เหลือ ตอน บำเพ็ญตบะ 7 ปี ก่อนไปจีน
    กับ ตอน ข้ามสมุทรไปแสวงหาธรรมที่จีน วันหลังจะนำมาลงจนจบ


    มี่ มิกจง มิกเคียว ชินงอน ตันตรยาน มนตรายาน วัชรยาน
    นิกายเดียวกันแต่ ต่างชื่อเรียก บ้างก็เรียก นิกายลับ
    นิกายรหัสนัย ..............


    เซน จะ ออกแนว ปัญญาวิมุติ
    วัชรยาน จะออกแนว อภิญญา เจโตวิมุติ


    วัชรยาน เป็น จ้าวอุปกรณ์แห่งการบำเพ็ญ ลีลา เทคนิค อุบายธรรม
    จะเยอะกว่า โลดโผนกว่า ชาวบ้านเขา เพราะ เน้นโพธิสัตว์บารมี
    ชาวธิเบต เป็นล้าน ๆ ล้วนปรารถนาพุทธภูมิทั้งสิ้น



    คราวหน้า ผมจะลง คุรุผู้สำเร็จธรรม ของ วัชรนิกาย
    ได้รับสมญานามว่า มหาสิทธา ผู้ครองปรีชาญาณ
    ออกแนว อภิญญา แบบวัชรยาน จะคัดองค์เด่น ๆ มาลง
    30 40 50 องค์ อ่านให้ฉ่ำไปเลย


    บทสวด เช่น
    ... โนโบ อาคะชะเคียะระบะยา โอมอะริเคียะ มะริโบะริโสวะกะ ... "
    ต้นฉบับเป็นภาษาสันสกฤต ออกเสียงแบบ ญี่ปุ่น


    บรุพกิจเบื้องต้น
    บุรพกิจ 1 แสน บุรพกิจ 5 แสน บุรพกิจ 1 ล้าน
    เช่น นอนกราบแบบธิเบต อัฐฎางคประดิษฐ์ 1 แสนครั้ง
    ท่องมนตร์ 1 แสนครั้ง .......ฯลฯ

    เป็นอุบายธรรมเบื้องต้น ทำอย่างสุดจิตสุดใจ ด้วยแรงศรัทธา
    แรงวิริยะ เป็น แสนครั้ง ล้านครั้ง ทุกวัน ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    ของอาจารย์ คูไค ทำบุรพกิจ 1 ล้าน ท่องธารนี มนต์
    ผสาน ท่ามุทรา ทำทุกวัน จิตมันจับ นิ่งขึ้น ใสขึ้น เป็นสมาธิได้
    บุรพกิจเหล่านี้ เป็นอุบายธรรม ทำจนจิตสงบ ไม่แปลก
    ที่ อาจารย์คูไคจะมี อนาคตังญาณ เห็นอนาคตได้
    เพราะฝึกจน จิตมันละเอียดพอ


    เหมือนกับว่า สิ่งที่ท่านแสวงหา เป็นการ ปูพื้น ปริยัติ
    ปฏิบัติเบื้องต้น ก่อนมีวาสนาไปรับธรรมที่ประเทศจีน
    เห็นได้ว่า เส้นทางธรรมของท่าน ทำอย่างอุกฤษ ถวายชีวิต
    ทำอย่างสุดจิตสุดใจ ใช้ความเพียร อดทน ผ่านความยากลำบาก
    กว่า บารมีธรรมท่านจะสุกงอมพอ

    บำเพ็ญตบะ 7 ปีก่อนไปจีน



    ภายหลังจากที่คูไคฝึกวิชา ' โคคูโซกูม็อนยิ ' ( The Mantra of Akasagarbha )
    ได้เป็นผลสำเร็จเมื่ออายุ 24 ปีแล้ว เขาก็ได้เขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อ
    ' Indication of The Goals of The Tree Teaching ' ซึ่งเป็นหนังสือเปรียบเทียบ
    ให้เห็นถึงความโดดเด่นของศาสนาพุทธที่มีเหนือลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า โดย
    เขียนออกมาในรูปของนิยาย



    ในบทนำของหนังสือเล่มนี้ คูไคได้เขียนถึงตัวเองในวัยรุ่นหนุ่มว่า



    " เมื่ออายุ 18 ปี ข้าพเจ้าได้เข้าเรียนใน ' มหาวัทยาลัย ' ที่เมืองหลวง
    ด้วยความตั้งอกตั้งใจอย่างจริงจัง จนกระทั่งวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้พบสมณะ
    รูปหนึ่งที่มอบคุมภีร์เล่มหนึ่งชื่อ ' โคคูโซกูม็อนยิ ' แก่ข้าพเจ้า คัมภีร์เล่มนี้
    ได้เขียนไว้ว่า ถ้าใครก็ตามที่ได้ท่องมนตราในคัมภีร์นี้เป็นจำนวน 1,000,000
    ครั้ง ด้วยวิธีการที่เหมาะสมแล้ว คนผู้นั้นจะสามารถเข้าใจความหมายและ
    สาระของพระสูตรทั้งปวงได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ข้าพเจ้าเชื่อถือสิ่งที่คัมภีร์
    นี้กล่าวไว้โดยสนิทใจ ข้าพเจ้าหมั่นเพียรฝึกฝนตามคัมภีรืนี้อย่างไม่หยุดหย่อน
    ข้าพเจ้าเคยปีนไปฝึกวิชานี้ที่ภูเขาไทริว ที่จังหวัดอะวาและไปนั่งสมาธิที่
    แหลมมุโรโตะที่โตสะ จนกระทั่งขาพเจ้าบรรลุผลสำเร็จตามที่บ่งบอกไว้
    ในคัมภีร์



    นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ข้าพเจ้าก็หมดความทะยานอยาก ในลาภ ยศ
    ชื่อเสียง สมบัติใด ๆ ทั้งปวง มุ่งหวังแต่จะใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ
    เท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้าได้เห็นความหรูหราต่าง ๆ ไม่ว่าเส้อผ้าที่
    สวยงาม อาชา ราชรถ ข้าพเจ้ากลับเกิดความสลดใจ และเห็นความไม่
    จีรังดุจสายฟ้าแลบของสิ่งเหล่านี้ซึ่งจะสูญสลายไปไม่ช้าก็เร็ว เมื่อใดก็ตาม
    ที่ข้าพเจ้าได้แลเห็นคนพิการหรือกระยาจก ข้าพเจ้ารู้สึกหดหู่สังเวชแกม
    ประหลาดใจว่า อะไรหนอที่ทำให้พวกเขาต้องมาใช้ชีวิตที่ทรมาณลำเค็ญ
    เช่นนี้ สิ่งเหล่านี้ได้กระตุ้นให้ข้าพเจ้าแสวงหาความหลุดพ้น ไม่มีใคร
    สามารถเปลี่ยนแปลงความตั้งใจอันแน่วแน่นี้ของข้าพเจ้าได้ เหมือนกับ
    ที่ไม่มีใครสามารถที่จะหยุดลมได้นั่นเอง "




    ช่วงเวลา 7 ปี ระหว่างที่คูไคอายุ 24 ปี จนถึงอายุ 30 ปีนั้น เป็นช่วง
    เวลาที่คูไคใช้ชีวิตบำเพ็ญตบะอยู่ในป่าเขา ศึกษาธรรมะท่ามกลางธรรม
    ชาติ คนรุ่นหลังมีโอกาสรู้รายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของคูไคในช่วงนี้น้อย
    มาก เราได้แต่จินตนาการเท่านั้นว่า ' เซ็นนิจิไค - โฮเกียว ' ของมิกเคียว
    หรือการฝึกปฏิบัติธรรมด้วยการธุดงค์คนเดียวตามป่าเขาเป็นจำนวน
    1,000 วันภายในช่วงเวลา 7 ปี โดยปีแรกเดินต่อเนื่อง 100 วัน ปีที่ 2
    เดินต่อเนื่อง 100 วัน ปีที่ 3 เดินต่อเนื่อง 200 วัน ปีที่ 4 เดินต่อเนื่อง
    200 วัน ปีที่ 5 เดินต่อเนื่อง 200 วัน ปีที่ 6 เดินต่อเนื่อง 100 วัน และ
    ปีที่ 7 ซึ่งเป็นปีสุดท้าย เดินต่อเนื่องอีก 100 วัน รวมแล้ว 1,000 วัน
    ถ้าเฉลี่ยเดินวันละประมาณ 30 กิโลเมตร จำนวน 1,000 วัน ก็จะต้อง
    เดินทั้งหมด 42, 000 กิโลเมตร ซึ่งพอ ๆ กับระยะทาง 1 รอบโลกพอดี



    ก่อนเข้าฝึกการบำเพ็ญตบะ ' เซ็นนิจิไค - โฮเกียว ' อันนี้ ' ครู ' จะต้อง
    ถามศิษย์ผู้เข้าสู่การบำเพ็ญตบะก่อนว่า ' ท่านพร้อมจะทิ้งบิดามารดาหรือ
    ไม่ ? ' ' ท่านพร้อมจะทิ้งพี่น้องหรือไม่ ? ' ' ท่านพร้อมที่จะทิ้งครอบครัว
    คนรักหรือไม่ ? ' ซึ่งผู้เข้าสู่การบำเพ็ญตบะจะต้องตอบว่า ' พร้อมที่จะทิ้ง
    ขอรับ '



    ในขณะบำเพ็ญตบะ ผู้ฝึกจะต้องแต่งชุดขาวทั้งชุด มือขวาถือกระบองวัชระ
    เผื่อเป็นสถูป ถ้าหากผู้ฝึกเกิดเสียชีวิตกลางคัน พร้อมกับพกมีดสั้น 1 เล่ม
    เหน็บไว้ที่เอว หากจำเป็นต้องสังหารตัวเอง เวลาในการธุดงค์ส่วนใหญ่
    ถูกกำหนดให้เป็นเวลากลางคืนเท่านั้น ความยากลำบากของการฝึกอันนี้
    มีมากขนาดไหน จะขอเอาตัวเองเป็นคูไคถ่ายทอดความรู้สึกภายในขณะที่
    บำเพ็ญตบะอันนี้ออกมาเปิดเผยให้คนทั่วไปทราบ แม้เพียงแค่ส่วนเสี้ยว
    ก็ยังดี
    [​IMG]


    ... เราใช้ชีวิตวัยหนุ่มตลอดช่วงอายุ 20 ปีกว่า จนกำลังจะย่างเข้าสู่ช่วง
    30 ปีนี้ เพื่อการฝึกฝนตนและการปฏิบัติธรรมมาโดยตลอดโดยไม่ทราบ
    ว่าการฝึกฝนนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไร บางทีตัวเราอาจจะตายไปท่ามกลาง
    ป่าเขาในขณะที่กำลังฝึกฝนตนอยู่นี้ก็เป็นได้ ตัวเราเองไม่เคยมีปัญหา
    ทุกข์ใจในเรื่องส่วนตัวเลยแม้เพียงเรื่องเดียว แต่ที่เราต้องมาทุ่มเทชีวิต
    ในวัยหนุ่มทั้งหมดของเราให้กับการฝึกฝนปฏิบัติธรรมอย่างหนักหน่วง
    เช่นนี้ ก็เพราะตัวเรามุ่งหวังที่จะช่วยเหลือผู้คนทั้งหลยให้หลุดพ้นจาก
    ความทุกข์เท่านั้น ก็เพราะเราคิดที่จะยินดีแลกชีวิตของเราเพื่อช่วยชีวิต
    ของผู้คนทั้งปวงเท่านั้น ตัวเราคงเป็นคนโง่อย่างยิ่งแน่นอนถึงคิดเช่นนี้
    กระทำเช่นนี้อันเป็นสิ่งที่ถูก ผู้คนจำนวนมากหัวเราะเยาะว่าเพี้ยน ว่า
    งี่เง่า ใช่แล้วละว่าตัวเราเกิดมาเป็น ' คนโง่ ' เช่นนี้เอง และตัวเราก็ไม่
    อาจหยุดความคิดและการกระทำเช่นนี้ด้วย





    เรานึกไม่ถึงเลยว่ายามค่ำคืนของภูเขาจะมืดขนาดนี้ ปีนี้ฝนตกถี่และ
    ยาวนานมาก การเดินธุดงค์ในยามที่ฝนตกจะทำให้ร่างกายใช้พลังงาน
    มากกว่าปกติ เพราะฉะนั้น พอเดินไปได้ไม่นาน เราก็รู้สึก 2 ขา
    ของเรานี้หนักราวกับถ่วงลูกตุ้ม และเริ่มรู้สึกเจ็บที่หัวเข่า ' นี่เราจะ
    บำเพ็ญตบะอันนี้สำเร็จมั้ยหนอ หรือว่าตัวเราจะต้องล้มตายในป่านี้ ? '
    ความคิดอันนี้แวบผ่านสมองเราขณะที่ยังเดินต่อไปเรื่อย ๆ



    เราจะต้องทรมาณตัวเองไปอีกนานแค่ไหนถึงจะพอ ? ฟ้าเอ๋ย พระพุทธ
    เจ้าข้า ตัวเราจะต้องอดทนต่อความยากลำบากแค่ไหนถึงจะเพียงพอต่อ
    การไถ่บาป ชดใช้ทดแทนความทุกข์ของผู้คนทั้งหลายได้ ? เราถามต่อฟ้า
    เราถามต่อพสุธา เราถามต่อต้นไม้ เราถามต่อแม่น้ำลำธาร เราถามต่อ
    ทุกสรรพสิ่งรอบ ๆ ตัวเรา ในท่ามกลางความมืดสนิทของราตรี



    ภายหลังจากที่ธุดงค์ทุกคืน คืนละ 9 ชั่วโมง ฝ่าเท้าของเราก็เริ่มแตก
    ถลอก น้ำฝนที่ซึมผ่านถุงเท้าเข้ามากระทบกับฝ่าเท้าทำให้เรารู้สึกแสบ
    เจ็บทุกครั้งที่ก้าวเดิน อากาศหนาวเย็นมากจนเราต้องหายใจอย่างรุนแรง
    เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายอบอุ่น ไม่แข็งทื่อจนขยับไม่ได้



    ในที่สุด ก็รุ่งเช้าแล้ว ฟ้าสางแล้ว เราเห็นพระอาทิตย์ยามเช้าที่กำลังลอย
    ขึ้นจากพสุธา พระอาทิตย์ยามนี้ช่างสวยเหลือเกิน ราวกับสรรพชีวิตทั้งปวง
    ล้วนตื่นจากความหลับใหลเพราะแสงอันอบอุ่นจากดวงอาทิตย์ดวงนี้
    พระอาทิตย์คือตัวแทนของพลังชีวิตโดยแท้ ...



    ... คืนนี้ เราออกไปบำเพ็ญตบะ ด้วยการธุดงค์เหมือนเช่นเคย





    เส้นทางยาวเหยียดสุดลูกหูลูกตาของภูเขา สายลมที่พัดกระโชกรุนแรง
    กระทบใบหน้าเรา บางครั้งเราเดินสะดุดหกล้มกลิ้งลงไปนหุบเขา ต้อง
    ปีนไต่กลับขึ้นมา ต่อให้เป็นคนโดดเดี่ยวอ้างว้างเพียงใดก็ตาม คนคน
    นั้นก็ย่อมต้องมีใครบางคนที่คอยห่วงวิตกกังวลความเป็นไปของเขา
    ใครกันหนอที่เป็นห่วงเป็นใยในตัวเรา เป็นตัวเธอใช่ใหมหนอ ? ดวงดาว
    บนท้องฟ้ายามราตรีอันมืดมิด แต่ไม่ว่าเรามองดูดวงดาวดวงใหน เรากลับ
    เห็นเป็นใบหน้าของเธอทั้งสิ้น ราตรีอันหนาวเหน็บกับผู้บำเพ็ญตบะ
    เดียวดายที่มีแสงดาวเป็นเพื่อน หยาดน้ำฝนที่โปรยลงมาจากท้องฟ้า
    หรือนั่นคือน้ำตาของเธอที่หลั่งให้แก่ตัวเรา ? เราแลเห็นดอกไม้ป่า
    ที่เบ่งบานบนภูเขา ดอกไม้ที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ดอกไม้ที่เราไม่
    ทราบชื่อเรียก โอ้ เจ้าดอกไม้ป่าที่มีชีวิตแสนสั้น เราเห็นใบหน้าของ
    เธอจากดอกไม้เหล่านี้ เราเห็นรอยยิ้มของเธอจากดอกไม้ที่เบ่งบาน
    อย่างสวยงามดอกนี้ เราเห็นความรัก ความอ่อนโยน ความเงียบสงัด
    ของเธอจากดอกไม้เหล่านี้ ...




    " ท้องฟ้า คือ หลังคากระท่อมอันเป็นที่พักพิงของเรา "




    เมฆขาวที่ลอยอยู่เหนือยอดเขาคือผ้าม่าน เราจึงไม่เคยกังวลในเรื่องที่พัก
    หลับนอน ยามฤดูร้อน เรายืดแขนเหยียดขาสูดรับอากาศบริสุทธิ์อย่าง
    ผ่อนคลายสบายตัวดุจราชาผู้หนึ่ง ยามฤดูหนาว เราขดตัวอยู่ข้างกองไฟ
    เฝ้ามองประกายไคลที่เต้นระบำเริงร่า ขอเพียงมีถั่วและผักขม เราก็สามารถ
    มีชีวิตอยู่ได้เป็นแรมเดือนโดยไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจ แม้สารรูปภายนอก
    เราจะเหมือนกระยาจกทที่เป็นที่หัวเราะเยอะของผู้คนที่ได้พบเห็น แต่
    เจตจำนงอันมุ่งมั้นของเราก็ไม่มีใครมาโยกคลอนได้ เราท่องธุดงค์ไปตาม
    ที่ต่าง ๆ อย่างเดียวดาย โดยตัดขาดจากญาติพี่น้องอย่างสิ้นเชิง เราพเจร
    ไปทั่วประเทศ ดุจจอกแหนที่ล่องลอยไปตามสายน้ำ หรือหญ้าแห้งที่
    ถูกลมพัด "




    นี่คือข้อความตอนหนึ่งในข้อเขียนของคูไคเรื่อง Indications of The
    Goals of The Tree Teachings อันลือชื่อของเขา ซึ่งสะท้อนให้เห็น
    ถึงอารมณ์ความรู้สึกในขณะนั้นของตัวเขาได้เป็นอย่างดี



    อย่างไรก็ตามในช่วง 7 ปีนั้น เขามิได้เก็บตัวบำเพ็ญตบะอยู่ตลอดเวลา
    ภายหลังจากการสิ้นสุดการฝึกตบะ ในแต่ละช่วงของแต่ละปี คูไคจะ
    กลับคืนสู่สังคมโลก และหมกตัวให้กับการศึกษาคัมภีร์ต่าง ๆ ของ
    ศาสนาพุทธที่เมืองนารา ( เมืองหลวงเก่า ) เป็นส่วนใหญ่ เพราะใน
    สมัยนั้น นาราจะเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ศาสนาพุทธในญี่ปุ่น
    และเป็นที่เก็บสะสมคัมภีร์ต่าง ๆ ของศาสนาพุทธใหญ่ที่สุดของประเทศ
    การเก็บตัวบำเพ็ญตบะ สลับกับการกลับคืนสู่สังคมโลกเป็นระยะ ๆ
    คือลีลาชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ของคูไค ตั้งแต่วัยหนุ่ม และดำรงสืบต่อ
    เช่นนั้นไปจนถึงช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตเขาเลยทีเดียว

    ในบรรดาคัมภีร์ศาสนาพุทธจำนวนเป็นพัน ๆ เล่มทีคูไคได้อ่านในช่วงนั้น
    มีคัมภีร์อยู่เล่มหนึ่งที่เขาได้เจอและมีผลกระทบชีวิตของเขาอย่างรุนแรง
    จนถึงกับทำให้เขาตัดสินใจเสี่ยงชีวิตเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปประเทศจีน
    เพื่อหา ' คำตอบ ' ที่ยังคาใจเขาอยู่ให้ได้ คัมภีร์เล่มนั้นคือ ' คัมภีร์มหาไวโจนะ
    สูตร ' คัมภีร์เล่มนี้มี 7 เล่ม 36 บท เป็นภาษาสันสกฤต พระชาวอินเดีย
    รูปหนึ่งนำมาเผยแพร่ที่เมืองฉางอาน ประเทศจีน สมัยราชวงศ์ถัง และได้
    มีการแปลเป็นภาษาจีนออกาในราวปี ค.ศ. 730 แต่เนื่องจากความยากของ
    เนื้อหาของคัมภีร์เล่มนี้ที่มีการแปลทับศัพท์ภาษาสันสกฤตอยู่เป็นจำนวน
    มาก ทำให้ไม่มีใครในญี่ปุ่นขณะนั้นสามารถตีความหรือทำความเข้าใจได้
    คัมภีร์เล่มนี้จึงถูกเก็บซุกไว้ในหอคัมภีร์ของวัดคุเมะเดร่าเป็นเวลาหลายสิบปี
    จนกระทั่งคูไคได้ไปพบคัมภีร์เล่มนี้เข้าในช่วงราว ๆ ปี ค.ศ. 800




    ก่อนที่คูไคจะได้พบคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรเล่มนี้นั้น คูไคได้ศึกษา
    ศาสนาพุทธในญี่ปุ่นขณะนั้น ซึ่งมีอยู่ 6 สายอย่างทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว
    ' ศาสนาพุทธ ' ในญี่ปุ่นขณะนั้น ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องตามสภาพความ
    เป็นจริง น่าจะเรียกว่าเป็น ' สำนักความคิด ' มากกว่า ในบรรดาสำนัก
    ความคิดศาสนาพุทธทั้งหกซึ่งนำเข้า ' นำเข้า ' มาจากอินเดียโดยผ่าน
    ประเทศจีนอีกต่อหนึ่ง คูไคชื่นชอบคัมภีร์หัวเยนมากที่สุด เพราะในช่วง
    อีกเนิ่นนานภายหลัง เมื่อคูไคทำการเปรียบเทียบจัดลำดับความสูงต่ำ
    ของสำนักความคิดทั้งหลายแล้ว คูไคถึงกับกล่าวออกมาอย่างชัดเจนว่า



    " ในบรรดาสำนักความคิดทั้งหลายนั้นแม้ไม่มีสำนักความคิดไหนที่เทียบ
    กับสำนักมิกเคียวของเราได้เลยก็จริง จะมีก็แต่เฉพาะคัมภีร์หัวเยนเท่านั้น
    ที่มีความสมบูรณ์พร้อมในระดับที่ไกล้เคียงกับมิกเคียวมากเลย "



    หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่งได้ว่า ก็เพราะคูไคได้ศึกษาคัมภีร์หัวเยนจนแตกฉาน
    แล้วมาก่อนนั่นเอง จึงทำให้ตัวเขามีพื้นฐานที่มั่นคงพอที่จะเรียนรู้สืบทอด
    วิชามิกเคียวที่เขาดั้นด้นไปร่ำเรียนที่ประเทศจีนได้ สารัตถะของคัมภีร์หัวเยน
    ที่ส่งผลกระทบกระเทือนอย่างลึกซึ้งต่อการก่อตัของปรัชญาตะวันออกในจีน
    และญี่ปุ่นมีใจความโดยย่อดังต่อไปนี้



    ... แม้ในผลธุลีเพียงอันเดียว ก็ได้บรรจุจักรวาลทั้งหมดเอาไว้ ทั้งนี้เพราะ
    หนึ่งคือทั้งหมด และทั้งหมดก็คือหนึ่งเดียว เฉกเช่น ในความเคลื่อนไหว
    มีความสงบ และในท่ามกลางความสงบก็มีการเคลื่อนไหวอยู่ สรรพสิ่ง
    ทั้งหลายในโลกนี้แต่ละอย่างต่างหุ้มห่อสิ่งอื่นทั้งปวงเอาไว้ในตัวเองของ
    กันและกันทั้งสิ้น สรรพสิ่งทั้งปวงจึงมีความผูกพันกันและเป็นปัจจัย
    ให้แก่กันและกันอย่างไม่มีขอบเขตที่สุดในโลกที่เคลื่อนไหวหลอมรวม
    เป็นวัฏฏะนี้ มิหนำซ้ำ การดำรงอยู่และการเคลื่อนไหวของสรรพสิ่ง
    ทั้งปวงในมหาสากลจักรวาลต่างล้วนเป็นการแสดงออกของการรู้แจ้ง
    มหาไวโรจนะพระพุทธเจ้าทั้งสิ้นด้วย ....



    จะเห็นได้ว่า จักรวาลทัศน์ที่คัมภีร์หัวเยนบรรยายนี้มีเนื้อหาสาระที่ใกล้เคียง
    กับจักรวาลทัศน์ของนิกายมิกเคียวมากเลย ขอเพียงแต่ผู้ปฏิบัติธรรมปฏิบัติ
    ตามคัมภีร์หัวเยนสามารถเปลี่ยนวิธีการฝึกแบบเผยแจ้งมาเป็นวิธีการฝึกแบบ
    เร้นลับที่เน้นด้านในที่เป็นความลี้ลับของจักรวาลได้เท่านั้น คัมภีร์หัวเยนนี้
    ก็จะกลายเป็นคัมภีร์ปฏิบัติของนิกายมิกเคียวไปในทันที



    เพราะฉะนั้น ในช่วงขณะที่คูไคหนุ่มยังรู้วิชามิกเคียวแบบงู ๆ ปลา ๆ
    ไม่เป็นระบบและกระจัดกระจายอยู่นั้น พอเขาได้ศึกษาคัมภีร์หัวเยน
    จนช่ำชองแล้วมาพบคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรเล่มนี้ได้มีการบันทึกวิธี
    การฝึกฝนในแนวมิกเคียวได้อย่างละเอียด จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าตัวเขา
    จะต้องตื่นเต้นดีใจจนเนื้อเต้นเป็นแน่ เป็นความโชคดีอย่างยิ่งสำหรับ
    ประเทศญี่ปุ่นที่ทำให้บุคคลที่ปราดเปรื่องและมีจิตใจมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า
    อย่างคูไคได้มาพบกับคัมภีร์ที่ไม่มีใครในยุคนั้นของญี่ปุ่นอ่านรู้เรื่อง
    อย่างแท้จริงเล่มนี้เพราะนั่นหมายถึงการปฏิวัติ ' กระบวนทัศน์ '
    ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวงการศาสนาพุทธญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในประวัติ
    ศาสตร์นั่นเอง


    [​IMG]


    ในส่วนของคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรส่วนที่เป็นภาษาจีนนั้น คูไคคง
    จะอ่านได้และทำความเข้าใจได้ไม่ยาก ถึงแม้ว่า ตรรกกะที่ใช้ในคัมภีร์
    มหาไวโรจนะสูตรนี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าคัมภีร์ศาสนาพุทธทั่วไป
    ก็ตามจนยากที่คนธรรมดาจะทำความเข้าใจได้ แต่สำหรับตัวคูไคผู้ผ่าน
    การศึกษาคัมภีร์หัวเยนอย่างทะลุปรุโปร่งมาแล้ว เขาจึงไม่น่าประสบ
    ปัญหาในการศึกษาแต่ประการใด ยกเว้นในส่วนภาษาสันสกฤต และ
    เคล็ดลับวิธีการปฏิบัติที่จะเป็นจะต้องได้รับการถ่ายทอดจากปากโดย
    ตรงจาก ' ครู ' เท่านั้นเอง แต่ ' ครู ' ที่รู้วิชามิกเคียวอย่างแท้จริงก็ไม่มี
    อยู่เลยแม้แต่คนเดียวในญี่ปุ่นสมัยนั้น ถ้าอยากจะได้รับการถ่ายทอด
    เคล็ดลับวิธีการปฏิบัติจาก ' ครู ' จริง ๆ แล้ว ก็มีแต่จะต้องข้ามน้ำ
    ข้ามทะเลไปหา ' ครู ' ที่เมืองจีนเท่านั้น




    ตรรกะของคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรนั้น แทบไม่แตกต่างไปจากตรรกะ
    ของคัมภีร์หัวเยนที่เพิ่งสรุปโดยย่อไปข้างต้น เพราะกล่าวถึงการดำรงอยู่
    ' มหาไวโรจนะพระพุทธเจ้า ' ซึ่งเป็น ' ธรรมกาย ' และเป็น ' สัจธรรม
    ของจักรวาล ' จะมีที่พิเศษกว่าของคัมภีร์หัวเยนก็ตรงที่กล่าวถึง ความ
    เป็นไปได้ที่มนุษย์ซึ่งเป็นแค่เศษธุลีของจักรวาล จะสามารถฝึกฝนตนเอง
    ในชาตินี้ให้กลายเป็น ' พุทธะ ' ได้ คือสามารถสื่อสารกับเหล่าพระ
    พุทธเจ้ากับเหล่าพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็น ' นิรมาณกาย ' ของมหาไวโรจนะ
    และ ' ยืมพลัง ' ของท่านเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง



    เมื่อคูไคได้อ่านคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรส่วนที่แปลเป็นภาษาจีน และ
    เข้าใจตรรกะของคัมภีร์เล่มนี้ดังข้างต้น เขาจึงตื่นเต้นดีใจจนเนื้อเต้น
    แล้วรู้สึกหดหู่ใจตามมา เพราะว่ายังมีบางส่วนในคัมภีร์เล่มนี้ซึ่งคูไค
    ยังไม่อาจเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งได้ ส่วนนั้นไม่ใช่ส่วนของตรรกกะ
    แต่เป็นส่วนของวิธีการฝึกเพื่อสื่อสารและ ' ยืมพลัง ' จากพุทธคุณ
    ของเหล่าพระโพธิสัตว์ ส่วนนี้เป็นเคล็ดลับ เป็นส่วนเร้นลับดุจ
    ลมหายใจของจักรวาลที่กล่าวถึงความจำเป็นของการท่องมนตรา
    ( ภาษาจักรวาล ) กับการทำมุทราเพื่อสื่อสารและยืมพลังของเหล่า
    พระโพธิสัตว์ แต่ก็เป็นส่วนที่บรรยายออกมาเป็นอักษรคำพูดได้ยาก
    มาก มิหนำซ้ำยังเขียนเป็นภาษาสันสกฤตเพิ่มเติมจากพระชาวอินเดีย
    อีก แต่ถึงกระนั้นคูไคพอจะมีพื้นความรู้สันสกฤตอยู่แล้วก็ตาม
    และต่อมาเมื่อไปที่เมืองจีน ยังได้ศึกษาภาษาสันสกฤตเพิ่มเติมจาก
    พระชาวอินเดียอีก แต่ถึงกระนั้นคูไคก็ยังไม่อาจทำความเข้าใจได้
    อย่างสมบูรณ์



    ด้วยเหตุนี้ คูไคจึงตัดสินใจที่จะไปเมืองจีน เพื่อ ' ต่อวิชา ' และเพื่อ
    ทำความเข้าใจในส่วนที่เขายังไม่กระจ่างแจ้งในคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตร
    จุดประสงค์ในการไปเมืองจีนของคูไคนั้นชัดเจนมาก เขาไม่ได้จะไปเรียน
    ต่อที่ ' เมืองนอก ' ( จีนในสมัยนั้นหรือสมัยราชวงศ์ถัง คือประเทศที่พัฒนา
    แล้วและเจริญที่สุดในโลกในสายตาของคนญี่ปุ่น ) เพื่อ ' ชุบตัว ' หรือ
    เพื่อ ' ไต่เต้าทางสังคม ' เหมือนกับเพื่อนร่วมชาติส่วนใหญ่ของเขาที่แห่
    ไปเมืองจีนกัน และเขาก็ไม่ได้ต้องการไปเมืองจีนเพื่อ ' เปิดหูเปิดตา '
    ชมเมืองฉางอานที่เป็นศูนย์กลางอารยธรรมจีนในขณะนั้น แต่เขาไปเพื่อ
    แสวงหาความจริงเกี่ยวกับคัมภีร์เร้นลับที่ชื่อคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตร
    ที่เขาได้พบที่วัดคุเมะเดร่า นับตั้งแต่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้สถาปนาความ
    สัมพันธ์ทางการทูตกับราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังของจีนและได้มีการ
    ส่งเรือบรรทุกคนและสิ่งของเพื่อไปแสดงความสวามิภักดิ์ต่อประเทศจีน
    เป็นระยะ ๆ อยู่เสมอแล้ว อาจกล่าวได้ว่าไม่มี ' นักเรียนนอกคนใหนเลย
    ที่มีจุดประสงค์ที่แจ่มชัดและแหลมคมเท่ากับของคูไคอีกแล้ว


    [​IMG]


    ข้ามสมุทรไปแสวงธรรมที่จีน





    เมื่อ 1,000 กว่าปีก่อนนั้น การจะไปเรียนเมืองนอกที่ ' ถัง ' ( ชื่อ ราชวงศ์จีน
    ในขณะนั้น ) ทำได้ 2 วิธีด้วยกันคือ เป็น ' รุกักคุโช ' กับเป็น ' เก็นกักคุโช '
    ' รุกักคุโช ' คือ นักเรียนนอกที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลให้ไปพำนัก
    ศึกษาวิทยาการที่ประเทศจีนเป็นเวลาอย่างน้อย 20 ปี ถึงจะอนุญาตให้เดิน
    ทางกลับประเทศได้ ส่วน ' เก็นกักคุโช ' คือ นักวิจัยทุนรัฐบาลที่ไปทัศน
    ศึกษาหรือดูงานระยะสั้น โดยไม่จำเป็นต้องพำนักอยู่ที่ประเทศจีนเป็นเวลา
    นานเป็นสิบ ๆ ปีเหมือนอย่างรุกักคุโช จึงสามารถเดินทางกลับประเทศ
    ได้ทุกเมื่อ



    ในปี ค.ศ. 804 ที่คูไคติดตามราชทูตญี่ปุ่นที่ชื่อฟูจิวาร่า คะโดะโนะมาโร่
    ไปจีนในเรือลำที่หนึ่งของคณะเรือที่มีด้วยกันทั้งหมด 4 ลำนั้น คูไคเดินทาง
    ไปในฐานะ ' รุกักคุโช ' ที่ไร้ชื่อเสียงไม่มีใครรู้จักคนหนึ่งเท่านั้น ขณะนั้น
    คูไคมีอายุ 31 ปี เขาเพิ่งบวชเป็นพระสงฆ์อย่างเป็นทางการเมื่ออายุ 30 ปี
    ไม่ถึง 1 ปีก่อนเดินทางไปจีนเท่านั้น เหตุที่เขาต้องบวชเป็นพระสงฆ์ที่อยู่
    ในการดูแลควบคุมของรัฐบาล ก็เพื่อที่เขาจะได้มีสิจน์ถูกคัดเลือกไปเป็น
    นักเรียนทุนรัฐบาล ( รุกักคุโช ) เท่านั้น หาได้มีเหตุผลอย่างอื่นไม่ อนึ่ง
    นอกจากคูไคแล้วในคณะเรือที่เดินทางไปจีนในครั้งนั้น ยังมีพระสงฆ์ชื่อดัง
    อีกรูปหนึ่งที่เดินทางไปด้วยในฐานะ ' เก็นกักคุโช ' คือ ไซโจ ซึ่งมีอายุ
    มากกว่าคูไค 7 ปี ขณะนั้น ไซโจมีฐานะเป็นเจ้าสำนักนิกายเทียนไต๋แห่ง
    วัดที่ภูเขาฮิเออิ ซึ่งมีจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นเป็นองค์อุปถัมภ์แล้ว ไซโจต้องการ
    ไปทัศนะศึกษานิกายเทียนไต๋ ( หรือเท็นไดในภาษาญี่ปุ่น ) ที่จีนเพื่อเป็น
    การเปิดหูเปิดตา ท่านจึงเดินทางไปจีนในครั้งนี้ด้วย



    ในคณะเรือที่เดินทางไปจีนทั้งหมด 4 ลำนั้น มีเพียง 2 ลำเท่านั้นที่ไปถึง
    เมืองจีนได้อย่างปลอดภัย คือ เรือลำที่ 1 ที่คูไคนั่งไป กับเรือลำที่ 2
    ที่ไซโจนั่งไป ส่วนเรือลำที่ 3 เกิดเหตุขัดข้องกลางทางต้องแล่นกลับ
    ญี่ปุ่น ขณะที่เรือลำที่ 4 อับปางกลางทะเล มีผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว
    ทั้งนี้ก็เพราะคณะเรือที่เดินทางไปจีนเผชิญมรสุมพายุกลางทะเล จนทำให้
    เรือลำที่ 1 ที่คูไคนั่งไปหลงทิศทางต้องเคว้งอยู่กลางทะเลเป็นเวลา 1 เดือน
    กว่าจะมาเทียบท่าได้ที่ชายฝั่งแถวมณฑลฮกเกี๊ยนในปัจจุบัน ส่วนเรือลำที่ 2
    ที่ไซโจนั่งไปนั้นสามารถไปถึงท่าหนิงโปได้ตามแผนการเดินเรือที่วางไว้
    ทุกอย่าง



    เราควรเข้าใจกันก่อนว่า เกาะญี่ปุ่นหรือเกาะบูรพาเมื่อ 1,000 กว่าปี
    ก่อนนั้น เป็นเกาะที่อยู่โดดเดี่ยวห่างไกลจากความเป็นสากลของโลก
    มากโดยที่ตัวแทน ' ความเป็นสากล ' หรือ ' อารยธรรม ' สำหรับคนญี่ปุ่น
    ในยุคนั้นก็คือจีนนั่นเอง นับตั้งแต่ที่ศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่สู่ประเทศ
    นี้ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 6 ศาสนาพุทธก็ได้กลายเป็น ' สิ่งสากล '
    สำหรับชนชาตินี้ไปโดยไม่เกี่ยวข้องกับชนชั้นวรรณะใด ๆ



    ด้วยความหลงใหลใน ' อารยธรรม ' หรือ ' ความเป็นสากล ' ของจีน
    ทางจีนจึงได้ส่งเรือไปจีนเพื่อนำเอาวิทยาการและความก้าวหน้าต่าง ๆ
    ของจีนมายังประเทศตนตั้งแต่ปี ค.ศ. 600 เป็นต้นมา นับจากครั้งนั้น
    จนถึงครั้งที่คูไคร่วมเดินทางไปด้วยในครั้งนี้นั้นรวมได้เป็น 16 ครั้งแล้ว
    กล่าวคือในช่วง 200 กว่าปีมานี้นั้น ทางการญี่ปุ่นสามารถส่งเรือไปจีน
    ได้เพียง 15 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการเดินทางข้ามสมุทรกว่า 3,000 ลี้
    เพื่อไปจีนนั้น ยังเป็นเรื่องที่ยากลำบากมากเมื่อคำนึงถึงคุณภาพของเรือ
    สำเภาของยี่ปุ่นและทักษะการเดินเรือทะเลของญี่ปุ่นในยุคนั้น


    " อาจรย์ครับ ทำไมคูไคถึงเพิ่งมาบวชเป็นสงฆ์เอาเมื่อตอนก่อนเดินทางไป
    จีนเพียง 1 ปีเท่านั้นล่ะครับ "


    " ถูกแล้ว สันติชาติ เธอคิดว่าคนหนุ่มที่รักในชีวิตแห่งการแสวงหาสัจจะ
    อย่างคูไค ขนาดยอมทิ้งหนทางก้าวหน้าในชีวิตของการเป็นขุนนางออกมา
    ร่อนเร่พเนจรตามป่าเขาเป็นเวลาหลายปีอย่างเขาจะทนกับชีวิตของพระสงฆ์
    ในการควบคุมดูแลของทางการได้หรือ ? เพราะชีวิตพระสงฆ์ที่อยู่ภายใต้
    การควบคุมดูแลของทางการนั้น ถ้ากล่าวในความหมายนี้แล้ว พระสงฆ์
    จำพวกนี้ก็คือหุ่นเชิดทางวัฒนธรรมของรัฐเท่านั้นเอง นี่หรือคือชีวิตที่น่าพึง
    ปรารถนาขนาดยอมสละ ยอมอดกลั้นความต้องการทางเพศอันเป็นธรรมชาติ
    อย่างหนึ่งของมนุษย์ได้กระนั้นหรือ ? คูไคเป็นชายหนุ่มที่มีพลังสร้างสรรค์
    อยู่ในตัวมาก แน่นอนว่าเขาน่าจะเป็นชายที่มีความต้องกรทางเพศสูงด้วย
    ถ้าหากเขาไม่พบเป้าหมายที่สูงส่งพอที่จะแปรพลังทางเพศเหล่านี้ให้เป็น
    พลังทางจิตวิญญาณที่สูงส่งและสร้างสรรค์แล้ว เขาคงไม่ยินยอมบวช
    เป็นพระอย่างเป็นทางการแน่นอน "



    " นั่นคือ การเป็นผู้ก่อตั้งนิกายมิกเคียวขนานแท้ขึ้นใในประเทศญี่ปุ่นนี้
    ใช่มั้ยครับ "



    " ใช่แล้ว "



    เนื่องจาก เรือของคูไคนั่งมาพลัดหลงทางมาไกลจากปลายทางค่อนข้างมาก
    คือ หลงมาจนถึงชายฝั่งแห่งหนึ่งในมณฑลฮกเกี้ยน ซึ่งขณะนั้นยังไม่ใช่เขต
    แดนที่ชนชาวฮั่นพำนักอาศัยอยู่ ตอนแรกทางการท้องถิ่นที่นั่นยังไม่ทราบ
    เรื่องของคณะฑูตจากญี่ปุ่นจึงระแวงว่าอาจเป็นเรือของพวกโจรสลัด คณะ
    ของคูไคจึงถูกกักตัวให้อยู่บนเรือไม่ยอมให้ขึ้นฝั่งตั้งเกือบ 2 เดือน กว่าทาง
    ฝ่ายจีนจะตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางการเมืองหลวงที่ฉางอาน จึงยอมให้
    คณะฑูตจากญี่ปุ่นคณะนี้ขึ้นฝั่งและได้รับการต้อนรับอย่างเป็นทางการได้
    กล่าวกันว่าในตอนแรกที่ทางการจีนท้องถิ่นไม่เชื่อว่าคณะนี้เป็นฑูตจากญี่ปุ่น
    จริงนั้น นอกจากสารรุปของท่านฟูจิวาร่าที่ขาดความสง่าผ่าเผยอันเนื่อง
    มาจากต้องรอนแรมกลางทะเลเป็นเวลาหลายสิบวันแล้ว ที่สำคัญคือ ลายมือ
    และสำนวนของท่านฑูตฟูจิวาร่ายังไม่ถึงขั้นพอที่จะน่าเชื่อถือได้ เราต้อง
    เข้าใจก่อนว่าคนจีนในยุคนั้นเขาวัดระดับสติปัญญาของผู้คนจากลายมือ( พู่กัน )
    และสำนวนภาษาที่ใช้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของที่ไม่อาจปิดบังกันได้



    ภายใต้บรรยากาศแห่งความสิ้นหวัง ท่านฟูจิวาร่าก็ได้ทราบข่าวจากคนใน
    คณะว่า คูไคซึ่งเป็นพระหนุ่มนอกสายตาในทัศนะของท่าน ความจริงเป็น
    ผู้ที่มีความสามารถในการเขียนภาษาจีนมาก ท่านฟูจิวาร่าจึงต้องไปกราบ
    กรานอ้อนวอนขอให้คูไคเขียนจดหมายแทนท่านไปยังทางการท้องถิ่นของ
    จีนตั้งแต่บัดนั้นแหละที่เป็นเวลาที่คูไคปรากฏตัวบนเวทีแห่งประวัติศาสตร์
    อย่างแท้จริง และเริ่มทอแสงส่องประกายแห่งความเป็นอัจฉริยะในตัวเขา
    ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนทั้งทางการญี่ปุ่นและทางการจีนจดหมายฉบับที่
    คูไคเขียนแทนท่านฟูจิวาร่านั้น กล่าวกันว่า สวยงามากทั้งสำนวนภาษาและ
    ลายมือ จนทำให้ทางการท้องถิ่นจีนทึ่งและเชื่อว่า คณะนี้เป็นคณะฑูตจาก
    ญี่ปุ่นจริง



    หลังจากนั้น คณะคูไคได้พำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 39 วันเพื่อรอคำตอบ
    จากเมืองหลวงที่เจ้าเมืองฮกเกี้ยนส่งคนไปรายงาน จึงได้คำตอบกลับมา
    ว่า ให้มณพลฮกเอี้ยงต้อนรับคณะฑูตนี้อย่างสมเกียรติ และคัดเลือกตัว
    แทนจากคณะฑูตญี่ปุ่นจำนวน 23 คน จากจำนวนทั้งหมด 100 กว่าคน
    พาไปยังเมืองหลวงฉางอาน โดยทางฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่อง
    ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและความเป็นอยู่ในระหว่างนั้นทั้งหมด ระยะทาง
    จากฮกเอี้ยงไปฉางอานยาว 7,500 ลี้ คณะของคูไคได้ออกจากมณฑล
    ฮกเอี้ยงในวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 804 หรือ 4 เดือนให้หลังจากที่ได้
    ออกเดินทางจากญี่ปุ่นในวันที่ 6 กรกฎาคม กล่าวกันว่าก่อนออกเดินทาง
    เจ้าเมืองฮกเกี้ยนชื่นชมในความสามารถของคูไคมากอยากจะรั้งตัวเขาให้
    อยู่ช่วยงานที่นี่ จึงไม่ได้ใส่ชื่อของคูไคอยู่ในคณะที่จะเดินทางไปเมือง
    หลวงฉางอานด้วย ร้อนถึงคูไคทำให้เขาต้องเขียนจดหมายอีกฉบับหนึ่ง
    ชี้แจงจุดประสงค์การมาแสวงหาธรรมที่ประเทศจีนของเขาจึงได้รับอนุญาต
    ให้เดินทางไปฉางอานด้วยได้ในที่สุด


    [​IMG]


    คณะของคูไคถึงเมืองหลวงฉางอานในวันที่ 23 ธันวาคม ปีเดียวกันนับ
    เป็นการเดินทางที่รีบเร่งมากเลยทีเดียว เมืองหลวงฉางอานแห่งราชวงค์
    ถัง ( ค.ศ. 618 - 907 ) ในขณะนั้นถือว่าอยู่ในช่วงสุดยอดของอารยธรรม
    จีนในฐานะที่เป็นประเทศที่เจริญที่สุดในโลกในยุคนั้น เมืองฉางอานก็เลย
    กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมจีนและทวีปเอเชียกลางและตะวันออก
    ไปโดยปริยาย มีผู้คนจากนานาชาติพำนักอยู่ที่เมืองนี้ กล่าวกันว่าในยุคนั้น
    มีวัดสำหรับภิกษุในศาสนาพุทธอยู่ถึง 64 แห่ง ในเมืองฉางอาน และ
    สำหรับชีอีก 27 แห่ง นอกจากนี้ยังมีวัดนิกายเต๋าอีก 10 แห่ง สำหรับบุรุษ
    และ 6 แห่งสำหรับสตรี รวมทั้งยังมีวัดต่างชาติอีก 3 วัดด้วยคือ โบสถ์
    ของศาสนาคริสต์ อารามของลัทธิโซโรแอสเตอร์ กับสุเหร่าของมุสลิม
    พูดง่าย ๆ คือ เมืองฉางอานในยุคที่คูไคไปศึกษานั้น เป็นศูนย์รวมของ
    ศาสนานิกายต่าง ๆ เอาไว้เกือบทั้งหมดนั่นเอง โดยที่ศาสนาพุทธนิกาย
    วัชยาน ( มิกเคียว ) ที่เพิ่งนำเข้าจากอินเดียมาไม่นานกำลังเป็นที่นิยมใน
    หมู่ชนชั้นปกครองจีนขณะนั้น



    ที่นครฉางอาน คูไคพำนักอยู่ที่วัดไซหมิงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 804
    ภายหลังจากที่คณะฑูตจากญี่ปุ่นได้อำลาและเดินทางออกจากนครฉางอาน
    เพื่อกลับญี่ปุ่นแล้ว ในขณะที่อยู่ฉางอาน คูไคคงได้ทราบกิตติศัพท์ของ
    อาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ( ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า เคกะ ) แล้วว่าเป็นปรามาจารย์สายตรง
    ผู้สืบทอดวิชาสายวัชยานจากอินเดีย โดยเป็นศิษย์ของอาจารย์ปู้คงผู้โด่งดัง
    อาจารย์ปู้คง เป็นพระอินเดียมีชื่อจริงว่าอโมกขวัชรซึ่งได้ติดตามอาจารย์
    วัชรโพธิมาเผยแพร่ธรรมะสายวัชยานที่เมืองจีนตั้งแต่ยังเล็ก ถ้ามองจากจีน
    อาจารย์วัชรโพธิคือ ปรามาจารย์สายวัชรยานของจีนรุ่นที่ 1 อาจารย์ปู้คง
    เป็นรุ่นที่ 2 และอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นรุ่นที่ 3 แต่เป็นคนจีนรุ่นแรกที่ได้เป็น
    ปรามาจารย์สายวัชรยานในจีน มิหนำซ้ำอาจารย์ทุกท่านยังเป็นอาจารย์
    ของจักรพรรดิ์แห่งราชวงศ์ถังทั้งหมดด้วย



    ถ้ากล่าวตามเหตุผลแล้ว คูไคน่าจะเร่งรีบไปพบอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเพื่อขอร่ำเรียน
    วิชาจากท่านโดยเร็ว แต่ในความเป็นจริง กว่าที่คูไคจะเดินทางไปพบอาจารย์
    ฮุ่ยกั๋วก็เป็นเวลา 4 เดือน ภายหลังจากที่พำนักอยู่ที่วัดไซหมิงแล้ว เพราะเหตุ
    ใดหรือ ? คูไคคงคิดว่าถ้าหากตัวเขาไปหาอาจารย์ฮุ่ยกั๋วโดยที่ยังไม่ค่อยมีใคร
    รู้จักความสามารถในตัวเขาดีก่อนแล้ว การเริ่มเรียนวิชาวัชรยานของคูไคกับ
    อาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่วัดชิงหลงคงจะต้องไต่อันดับจากขั้นประถมเป็นแน่ และคงต้อง
    ใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้เรียนรู้ถึงแก่นแท้ของวัชรยาน นอกจากนี้คูไคยังได้
    ทราบข่าวมาว่า ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั่วขณะนี้มีอายุ 60 ปีแล้ว และกำลังอาพาธด้วย
    บางทีท่านอาจไม่สามารถมีชีวิตยืนยาวพอที่จะถ่ายทอดเคล็ดวิชาให้แก่เขาใน
    อีกหลายปีให้หลังก็เป็นได้ มิหนำซ้ำ คูไคผู้มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะ
    สถาปนานิกายวัชรยานขึ้นในประเทศญี่ปุ่นก็มีความตั้งใจตั้งแต่แรกแล้วว่าจะ
    ไม่คิดศึกษาวิชาอยู่ที่เมืองจีนถึง 20 ปี กว่าคูไคจะได้กลับญี่ปุ่นก็มีอายุ 52 ปี
    แล้ว ซึ่งแก่เกินไปที่จะมารณรงค์เคลื่อนไหวเผยแพร่หลักวิชาของตน เพราะ
    ฉะนั้น คูไคจึงตั้งปณิธานในใจว่า เขาจะต้องศึกษาวิชาวัชรยานให้สำเร็จภายใน
    ระยะเวลาอัสั้นที่สุด และรีบเดินทางกลับญี่ปุ่นในช่วงที่เขายังมีอายุ 30 ปีกว่า ๆ
    อันเป็นช่วงที่เขายังมีกำลังวังชาและพลังความคิดเต็มเปี่ยมอยู่



    เมื่อพิจารณาจากแรงจูงใจของตัวเอง และปัจจัยอื่น ๆ โดยเฉพาะวัยและ
    สุขภาพของอาจารย์ฮุ่ยกั๋วแล้ว คูไคจึงเลือกใช้ " วิธีการอื่น " ในการเข้าหา
    อาจารย์ฮุ่ยกั๋ว คือ ปล่อยให้กิติศัพท์และคำโจษจันเกี่ยวกับตัวเขาในหมู่
    ชาวฉางอานไปก่อน เริ่มจากบรรดาพระในวัดไซหมิงที่คูไคพำนักอยู่และ
    คบหาสมาคมด้วย ในบรรดาพระเหล่านั้นมีหลายรูปที่รู้จักกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว
    เป็นการส่วนตัว พระเหล่านั้นเมื่อไปพูดคุยกับคูไค ต่างก็ทึ่งในความรอบรู้
    ความฉลาดของคูไคด้วยกันทั้งสิ้น เพราะอันที่จริง วิชาวัชรยานที่คูไคศึกษา
    และฝึกฝนด้วยตนเองในขณะที่เขายังอยู่ที่ญี่ปุ่นนั้น ก็ได้ก้าวหน้าไปจนถึง
    ระดับขั้นที่สูงมากแล้วด้วยความเป็นอัจฉริยะของเขา เพียงแต่เขายังไม่ทราบ
    " เคล็ดลับ " บางอย่างที่จำเป็นต้องได้รับการถ่ายทอดจาก " ครูที่แท้ " โดย
    ตรงเท่านั้น



    นอกจากนี้ คำร่าลือเกี่ยวกับความสามารถในการเขียนหนังสือจีนของคูไค
    ที่เป็นที่ประจักษ์เป็นครั้งแรกที่มณฑลฮกเกี้ยนก็มาถึงที่นครฉางอานแล้วแพร่
    หลายโดยเร็วในหมู่ปัญญาชนกับชนชั้นสูงที่นั่น ในระหว่างนั้นคูไคยังไป
    รำเรียนภาษาสันสกฤตจากพระอินเดียรูปหนึ่งเพิ่มเติมอีก ( อาจกล่าวได้ว่า
    คูไคเป็นคนญี่ปุ่นคนแรกที่ไดร่ำเรียนและเชี่ยวชาญภาษานี้ ) และเชี่ยวชาญ
    ภาษาสันสกฤตนี้อย่างรวดเร็ว จนเป็นที่ฮือฮาในวงการสงฆ์ของที่นั่น




    ช่าวคราวเกี่ยวกับคูไค และจุดประสงค์ในการเดินทางมานครฉางอานของ
    คูไคย่อมเข้าหูอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นระยะ ๆ อย่างแน่นอน อาจารย์ฮุ่ยกั๋วผู้ชรา
    และอาพาธผู้นี้มีลูกศิษย์ถึง 1,000 คน แต่ท่านก็ยังไม่ได้รับมอบหมายใคร
    ให้สืบทอดตำแหน่งปรามาจารย์วัชรยานรุ่นที่ 4 สืบต่อจากท่าน เพราะใน
    บรรดาศิษย์ทั้ง 1,000 คนนี้ ท่านยังไม่เห็นว่ามีศิษย์คนไหนที่มีความสามารถ
    และศักยภาพมากพอที่จะบำรุงพัฒนาวิชาวัชรยานของท่านให้รุ่งเรืองสืบไป
    ได้เลย พอถึงจุดนี้แหละ การณ์กลับเป็นว่า คราวนี้ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วกลับ
    เป็นฝ่ายเฝ้ารอคอยการมาของคูไคอย่างกระวนกระวายด้วยใจจดจ่อเสียเอง
    จากนั้นคูไคจึงเดินทางไปพบท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่วัดชิงหลง ( วัดมังกรเขียว )
    ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 805 หรือ 6 เดือนภายหลังจากที่เขาเดินทาง
    มาถึงนครฉางอาน





    ในชีวิตอันยาวนานของคนเรานี้ คิดว่าแต่ละคนคงจะได้พานพบกับประสบ
    การณ์ที่น่าอัศจรรย์ใจมาบ้างเป็นแน่ แต่ประสบการณ์ที่น่าอัศจรรย์ใจอันใหน
    เล่าจะเทียบเท่ากับการได้พานพบรู้จักกับ ' คนบางคน ' เช่นที่ว่านี้หาใช่ใคร
    อื่นไม่ แต่คือ ' ครู ' ของตนนั่นเอง



    จังหวะเวลาที่คูไคได้พบกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋วนั้น เป็นจังหวะที่พอดิบพอดีอย่าง
    น่าอัศจรรย์ใจจริง ๆ แบบไม่เร็วเกินไปและช้าเกินไปนั่นเอง เพราะเพียงอีก
    7 เดือนหลังจากนั้น อาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็ดับขันธ์แล้ว พึงทราบว่าวิชาวัชรยาน
    ในขณะนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 สายคือ สายมณฑลตถาคตครรภ กับสายมณฑล
    วัชรธาตุ ทั้ง 2 สายนี้ต่างแยกกันพัฒนาในอินเดีย จึงไม่มีผู้ใดในอินเดียขณะ
    นั้นสืบสายวิชา 2 แขนงนี้อยู่ในตัวคนคนเดียว อาจารย์ปู้คงผู้เป็นอาจารย์
    ของฮุ่ยกั๋วนั้นก็เป็นอาจารย์ทางสายมณฑลวัชธาตุเท่านั้น แต่ตัวอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว
    โชคดีที่ได้วิชาจากจากสายมณฑลตถาคตครรภมาจากอาจารย์อินเดียอีกท่าน
    หนึ่งด้วย เพราะฉะนั้น อาจารย์ฮุ่ยกั๋วจึงเป็นบุคคลเพียงท่านเดียวของโลก
    ในขณะนั้นที่รับสืบทอดวิชาวิชาวัชรยานขนานแท้ของทั้ง 2 สาย



    แต่อาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็กำลังเผชิญกับวิกฤตของการขาดผู้สืบทอดเนื่องจากท่าน
    กำลังอาพาธ และรู้ตัวดีว่าจะมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ไม่นานแล้วทั้ง ๆ ที่อาจารย์
    ฮุ่ยกั๋วมีศิษย์ถึง 1,000 คน แต่ก็ไม่มีศิษย์คนใดโดดเด่นพอที่จะสืบทอด
    ตำแหน่ง ' อาจารย์ ' หรือ ตำแหน่งเจ้าสำนักวัชรยานของท่านต่อจากท่านได้
    ที่กล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่า แผ่นดินตงง้วนอันกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีคนดี
    - คนเก่งอยู่เลยก็หาไม่ เพียงแต่ว่าคนดี-คนเก่งเหล่านั้น ส่วนใหญ่ถ้าไม่ไป
    ศึกษาลัทธิขงจื้อก็ศึกษาลัทธิเต๋า หรือศาสนาพุทธสายอื่นที่ไม่ใช่สายวัชรยาน
    และจะว่าไปแล้วเนื้อหาวิชาสายวัชรยานที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยตรรกะ
    แบบอินเดีย ( อภิธรรม ) ก็หาได้ถูกฉโลกกับชาวจีนที่ชอบอะไรที่ง่าย ๆ
    เป็นรูปธรรมไม่ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ศาสนาพุทธสายวัชรยาน
    เสื่อมความนิยมจนกระทั่งสาบสูญไปจากประเทศจีนภายหลังการมรณะภาพ
    ของอาจารย์ฮุ่ยกั๋วไปไม่นานนัก



    ควมจริง อาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็มีศิษย์เอกอยู่เหมือนกันราว ๆ 7 คน แต่ในบรรดา
    ศิษย์เอกทั้ง 7 คนนี้นอกจากศิษย์คนที่ชื่ออี้หมิงแล้ว ก็ไม่มีใครเลยที่สืบทอด
    วิชาทั้งสองสายจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋วได้ แต่ตัวอี้หมิงผู้นี้ก็เพิ่งอาพาธและดับขันธ์
    ไปก่อนที่คูไคจะมาถึงนครฉางอานได้ไม่นานนักจึงเห็นได้ว่า หากคูไคมาเร็ว
    กว่านี้สัก 1 - 2 ปี เจ้าสำนักวัชรยานต่อจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็น่าจะตกอยู่กับอี้หมิง
    และถ้าคูไคมาช้ากว่านี้ไปเพียง 1 ปี คูไคก็จะไม่ได้พบทั้งอาจารย์ฮุ่ยกั๋วและ
    อี้หมิง นอกจากนี้หากคูไคมิได้เป็นเจ้าสำนักวัชรยานสืบต่อจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว
    วิชาวัชรยานนี้ก็คงสาบสูญการสืบทอดไปจากจีนอีกไม่กี่ปีหลังจากนั้น แต่นี่
    เพราะคูไคกลายมาเป็นเจ้าสำนักวัชรยานสืบต่อจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ทั้ง ๆ ที่เขา
    เป็นคนต่างชาติ เป็นคนนอก และเพิ่งมาพบกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นครั้งแรก
    อาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็ยกตำแหน่งเจ้าสำนักให้แก่เขาในทันทีโดย ' ข้ามหัว ' ลูกศิษย์
    1,000 คนของท่านอย่างไม่ลังเล วิชาวัชรยานนี้จึงไม่สาบสูญและได้รับการ
    สืบทอดที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 1,000 กว่าปีมาจนทุกวันนี้ สิ่งนี้ถ้าไม่เรียก
    ว่าเป็นความน่าอัศจรรย์ หรือ ปาฏิหาริย์แล้วจะให้เรียกว่าอะไรเล่า ?



    ถ้าไม่มีปัจจัยจากฝ่ายอาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่ ' ใจกว้างยิ่งกว่ามหาสมุทร ' เพราะไม่
    ยึดติดกับความเป็นคนนอกหรือคนต่างชาติ แต่ดูที่ความสามารถ ศักยภาพ
    และอัจฉริยภาพของผู้ที่จะมาสืบทอดวิชาของตนเป็นหลัก และถ้าไม่มีปัจจัย
    จากฝ่ายศิษย์คือคูไคที่ได้ศึกษาวิชาวัชรยานด้วยตัวเอง แม้ไม่มีอาจารย์ตั้งแต่
    อยู่ญี่ปุ่นอย่างจริงจังแล้ว ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คูไคจะสามารถสืบทอด
    วิชาวัชรยานต่อจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋วได้อย่างรวดเร็วและราบรื่นในช่วงเวลาอัน
    สั้นเพียงไม่กี่เดือนเช่นนี้ได้



    บรรยากาศของการพบกันในครั้งแรก ระหว่างท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วกับคูไค
    นั้นน่าประทับใจมาก ดังที่ในเวลาต่อมาคูไคได้เขียนบันทึกความทรงจำ
    เกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ว่า



    ' ผมเดินทางเข้ามาหาท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วพร้อมกับพระอีก 5 หรือ 6 รูป
    จากวัดไซหมิง ในทันทีที่ท่านอาจารย์เห็นหน้าผม ท่านก็ยิ้มให้อย่างปรีดา
    ปราโมทย์ พร้อมกับพูดกับผมว่า ... " พ่อหนุ่ม เรารู้ดีว่าเธอต้องมาแน่
    ตัวเราได้รอการมาของเธอมาเนิ่นนานแล้ว ตัวเราดีใจจริง ๆ ที่ได้เห็นเธอ
    ในวันนี้จนได้ รู้มั้ยพ่อหนุ่มว่าชีวิตของเราใกล้จะถึงเวลาสิ้นสุดลงแล้ว
    และก่อนที่เธอจะมาที่นี่ ตัวเราไม่มีใครที่จะมาสืบทอดคำสอนและหลัก
    วิชาของเราไปได้เลย เพราะฉะนั้น เราขอให้เธออย่าได้รอช้า รีบไป
    เตรียมธูปกับดอกไม้เพื่อเข้าพิธีอภิเษกเป็นเจ้าสำนักสืบต่อจากเราเถอะ
    นะพ่อหนุ่ม " ... จากนั้นผมจึงกลับไปวัดไซหมิงเพื่อเตรียมสิ่งของที่
    จำเป็นสำหรับการเข้าพิธีอภิเษกที่มีขึ้นในเดือนมิถุนายนนั้นเอง '


    ควรรู้ว่า ประเพณีการสืบทอดหลักวิชาสายวัชรยานนั้นจะให้ความสำคัญ
    ที่สุดกับการถ่ายทอดวิชาจากอาจารย์ไปสู่ศิษย์ก้นกุฎิ ดุจ ' การเทน้ำจากจอก
    หนึ่งไปอีกจอกหนึ่ง โดยไม่หกหรือรั่วไหลเลยแม้แต่หยดเดียว ' เพราะฉะนั้น
    อาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชาจะต้องดูคุณสมบัติของศิษย์แต่ละคน แล้วถ่ายทอด
    หลักวิชาให้แต่ละคนตามความสามารถของคนผู้นั้น ในขณะที่อาจารย์ฮุ่ยกั๋ว
    กำลังวิตกกังวลว่า หลักวิชาของตตนกำลังจะสาบสูญเนื่องจากขาดผู้สืบทอด
    ที่มีคุณสมบัติคู่ควรอยู่นั้น ท่านคงจะได้ยินกิติศัพท์เกี่ยวกับคูไคว่า เป็นพระ
    หนุ่มรูปหนึ่งที่อุตส่าห์ดั้นด้นจากแดนไกลมาจากหมู่เกาะบูรพาทิศมาที่นคร
    ฉางอานนี่ พระหนุ่มรูปนี้นอกจากจะมีความสามารถทางด้านภาษา เขียน
    แต่งกาพย์กลอนได้อย่างไพเราะแล้ว ยังรู้ภาษาสันสกฤต และปราดเปรื่อง
    ทางหลักวิชาศาสนาสายต่าง ๆ อีกด้วย ไม่เป็นที่ต้องสงสัยเลยว่า อาจารย์
    ฮุ่ยกั๋วคงต้องอยากเจอตัวจริงของคูไคด้วยตนเองดูสักครั้ง



    ตอนที่อาจารย์ฮุ่ยกั๋วพบคูไคนั้น ถึงแม้ท่านจะอาพาธอยู่ก็จริงแต่บุคคล
    ระดับ ' เจ้าสำนัก ' อย่างท่านน่ะหรือ จะดูไม่ออกถึง ' ความไม่ธรรดา '
    และความเป็น ' ยอดคน ' ที่มีอยู่ในตัวของคูไคซึ่งแทบไม่แตกต่างไปจาก
    บุคลิกภาพของท่านอาจารย์ปู้คง ผู้เป็นอาจารย์ของท่านเลย บุคลิกภาพ
    ของคูไคที่ท่านสัมผัสได้จากใบหน้าและอากัปกิริยานั้นเป็นบุคลิกภาพ
    ของบุคคลที่สามารถเข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจักรวาลได้
    อันเป็นบุคลิกภาพที่ไม่อาจลอกเลียนแบบกันได้ เพราะฉะนั้นแม้เพียง
    แรกพบ ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็ไม่ลังเลใจเลยที่จะรับปากกับคูไคว่า



    ' พ่อหนุ่ม เราจะถ่ายทอดหลักวิชาของวัชรยานทั้งหมดที่เรามีอยู่
    ให้แก่ตัวเธอ '




    คูไคเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับการสืบทอดวิชาสายมณฑลตถาคตครรภใน
    วันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 805 จากนั้นจึงเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับการสืบ
    ทอดวิชาสายมณฑลวัชรธาตุ ในช่วงต้นเดือนกรกฏาคม และเข้าพิธี
    อภิเษกรับตำแหน่งอาจารย์หรือเจ้าสำนักวัชรยานในวันที่ 16 สิงหาคม
    ของปีเดียวกัน เป็นที่เหลือเชื่อว่าคูไคใช้เวลาเพียง 2 เดือนเศษ ๆ
    เท่านั้นในการสืบทอดหลักวิชาวัชรยานทั้งหมดจากอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว
    เพราะถ้าเป็นคนธรรมดาแล้วไม่แน่ว่าต่อให้คร่ำเคร่งศึกษาถึง 20 - 30
    ปี ก็ไม่แน่ว่าจะรียนรู้ได้หมดได้ ในช่วง 2 เดือนเศษนี้ คูไคต้อง
    เดินทางด้วยเท้าทุกวันจากวัดไซหมิงที่เขาพำนักไปยังวัดชิงหลง
    ของอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ซึ่งอยู่ห่างจากวัดไซหมิงที่ไปราว ๆ 10 ลี้ เพื่อเรียน
    รู้ ' เคล็ดวิชา ' จากอาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่ถ่ายทอดอกจากปากโดยตรง
    สิ่งที่อาจารย์ฮุ่ยกั๋วถ่ายทอดด้วยวาจาให้แก่คูไคนั้น เขาจะเขียนบันทึก
    ไว้หมด ภายหลังจากที่กลับสู่ที่พักแล้ว อันที่จริง ก่อนที่จะมาพบกับ
    อาจารย์ฮุ่ยกั๋วนี้ ตัวคูไคก็ได้คร่ำเคร่งฝึกฝนและวิชาวัชรยานดัวยตัวเอง
    ในป่าเขาเป็นเวลาถึง 7 ปีเต็มอยู่แล้ว สิ่งที่เขายังติดอยุ่หรือยังไม่เข้าใจ
    กระจ่างนั้นจึงเป็น ' เคล็ด ' ในการทำมุทรา ทำสมาธิแบบวัชรยาน
    และมนตราซึ่งเป็นวิธีกรจำเพาะของวัชรยานเป็นส่วนใหญ่ เพราะ
    ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า คูไคยามที่เขาได้พบกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋วนั้น
    เปรียบเหมือนพระจันทร์ที่กำลังจะเต็มดวงอยู่แล้ว การได้พบอาจารย์
    ฮุ่ยกั๋วและรับการถ่ายทอดทอดเคล็ดวิชาจากท่านจึงเป็นการทำให้
    พระจันทร์ดวงนี้เต็มดวงเป็นวงกลมอย่างสมบูรณ์นั่นเอง


    [​IMG]




    ก่อนจะเข้าพิธีอภิเษกในแต่ละครั้ง คูไคจะถูกผูกตาและให้โยนดอกไม้
    หรือพวงมาลัยไปยังมณฑลตถาคตครรภและมณฑลวัชรธาตุ ซึ่งในการ
    โยนพวงมาลัยทั้ง 2 ครั้งนี้ คูไคสามารถโยนให้พวงมาลัยนั้นไปตกลง
    ยังตำแหน่งศูนย์กลางมณฑลหรือตำแหน่งของมหาไวโรจนะได้ทั้ง 2 ครั้ง
    ซึ่งยังความทึ่งห้แก่ตัวอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นอย่างมาก เพราะแม้แต่ตัวอาจารย์
    ฮุ่ยกั๋วเอง ตอนที่เข้าพิธีอภิเษกก็ยังโยนพวงมาลัยลงตำแหน่งพระโพธิสัตว์
    องค์หนึ่งเท่านั้นยังหาใช่ตำแหน่งตถาคตมหาไวโรจนะเหมือนอย่างคูไคไม่
    อนึ่ง ถ้าพวงมาลัยไปตกลงตำแหน่งใด พระโพธิสัตว์ที่อยู่ ณ ตำแหน่งนั้น
    ก็จะกลายเป็นสิ่งบูชาและบริกรรมของผู้โยนพวงมาลัยนั้นไปจนตลอดชีวิต
    ตอนที่ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเห็นคูไคโยนพวงมาลัยตกลงตำแหน่งมหาไวโรจนะ
    ท่านก็อดนึกถึงอาจารย์ของท่านคืออาจารย์ปู้คงไม่ได้ เพราะท่านอาจารย์
    ปู้คงตอนเข้าพิธีอภิเษกก็สามารถโยนพวงมาลัยตกลง ณ ตำแหน่งมหา
    ไวโรจนะได้เช่นเดียวกับคูไค จนท่านได้รับคำชมจากอาจารย์วัชรโพธิ
    ซึ่งเป็นอาจารย์ของปู้คงว่า



    " ปู้คง ต่อไปเธอคงทำนุบำรุงศาสนาของพวกเราให้รุ่งเรืองอย่างแน่นอน "
    และก็จริงตามนั้น เพราะศาสนาพุทธสายวัชรยานประสบความสำเร็จรุ่งเรือง
    ที่สุดในจีนในช่วงที่อาจารย์ปู้คงเป็นเจ้าสำนัก และเป็น ' อาจารย์ ' ของ
    จักรพรรดิจีน ถึง 3 พระองค์ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าอาจารย์ฮุ่ยกั๋วก็ต้อง
    คาดหวังเป็นอย่างสูงว่า คูไคก็จะทำนุบำรุงศาสนาพุทธสายวัชรยานของ
    ท่านให้รุ่งเรืองสืบไปในดินแดนบูรพาทิศอย่างแน่นอนเช่นกัน และตัวคูไค
    ผู้กลายมาเป็นเจ้าสำนักวัชรยานคนล่าสุดด้วยวัยหนุ่มเพียง 32 ปีก็ไม่ได้
    ทำให้อาจารย์ของเขาผิดหวังเลย



    ในช่วง 2 เดือนเศษที่คูไคเข้าพิธีอภิเษกถึง 3 ครั้งนี้ นอกจากเขาจะต้อง
    เรียนรู้เคล็ดลับแห่งหลักวิชาวัชยานทั้งสายมณฑลตถาคตครรภและสาย
    มณฑลวัชรธาตุแล้ว อาจารย์ฮุ่ยกั๋วยังสั่งให้เขาศึกษาคัมภีร์หลัก ๆ ของ
    สายวัชรยานไม่ตำกว่า 200 เล่ม และให้อ่านข้อถกเถียงในเชิงอภิธรรม
    เกี่ยวกับพระสูตรต่าง ๆ อีกด้วย เรียกได้ว่าแทบไม่ต้องกินไม่ต้องนอน
    เลยทีเดียว ถ้าหากคูไคไม่ได้ฝึกฝนร่างกายอย่างหนักด้วยการฝึกเดินธุดงค์
    บำเพ็ญตบะตามป่าเขาในช่วง 7 ปีก่อนที่เขาจะเดินทางที่นครฉางอานนี่
    บางทีเขาอาจจะไม่สามารถทนทานต่อการฝึกฝนและศึกษาที่เร่งรัดขนาด
    นี้ได้เป็นแน่แต่เขาก็ทำสำเร็จ จนได้ในสิ่งที่คนธรรมดาไม่อาจทำได้แม้
    จะมีเวลาศึกษา ( กว่าค่อนชีวิต ) ... หรือว่านี่คือเจตนารมณ์ของประวัติ
    ศาสตร์ หรือว่านี่เป็นประสงค์ของฟ้าดิน ?



    ส่วนท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ภายหลังจากที่ท่านได้ถ่ายทอดเคล็ดวิชาวัชรยาน
    ทั้งหมดของตนให้แก่คูไค ท่านก็วางใจและมรณภาพไปอย่างสงบในอีก
    4 เดือนหลังจากนั้น ก่อนที่จะดับขันธ์ ท่านได้เรียคูไคเข้ามาพบและสั่ง
    เสียเป็นครั้งสุดท้ายว่า



    " ศิษย์รัก วาระสุดท้ายที่อาจารย์จะอยู่บนโลกนี้ไกล้จะถึงแล้วอาจารย์ขอ
    ให้เธอเอามันดาลา ( มณฑล ) ทั้งสองกับคัมภีร์พระสูตรของวัชรยาน และ
    อุปกรณ์ท่านอาจารย์ได้รับมาจากท่านอาจารย์ปู้คงกลับไปประเทศของเธอ
    และเผยแพร่คำสอนของวัชรยานออกไป... ตอนแรกที่เธอมาหาอาจารย์นั้น
    อาจารย์ยังวิตกเลยว่าอาจารย์จะไม่มีเวลาพอที่จะสอนเธอได้ทั้งหมด แต่
    ตอนนี้อาจารย์ก็ได้สอนเธอหมดทุกอย่างแล้ว และงานคัดลอกคัมภีร์พระสูตร
    จำนวนนับร้อยเล่มก็ไกล้จะสำเร็จสมบูรณ์แล้ว พร้อมกับการทำเครื่องมือ
    ประกอบพิธีกรรมทางสายวัชรยานและภาพมันดาลาทั้งสอง ดังนั้นอาจารย์
    จึงขอให้เธอเร่งรีบกลับไปประเทศของเธอ เผยแพร่คำสอนนี้ให้กับจักรพรรดิ
    ญี่ปุ่นและเหล่าประชาชน เพื่อช่วยคนเหล่านี้ให้พ้นทุกข์และพบความสุขที่แท้
    จริงให้ได้ ไม่มีอะไรที่เธอจะต้องห่วงใยที่นี่อีกต่อไปแล้ว หน้าที่ของเธอคือ
    การถ่ายทอดคำสอนเหล่านี้ไปยังดินแดนแห่งบูรพาทิศ และอาจารย์ขอให้เธอ
    ทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุดนะศิษย์รัก "



    ด้วยเหตุนี้คูไคจึงพำนักอยู่ที่ฉางอานเพียงปีเศษ ๆ ก็เดินทางกลับประเทศ
    ญี่ปุ่น มิได้อยู่ถึง 20 ปีตามข้อบังคับที่มีต่อ ' รุกักคุโช ' แต่ประการใด
     

แชร์หน้านี้

Loading...