คาถาพระอินทร์ กับเคล็ดไม่ลับ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย konkoh, 1 พฤศจิกายน 2010.

  1. konkoh

    konkoh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +298
    ผมได้คำแนะนำจาก ครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งมาครับ เลยเอามาเล่าสู่กันฟัง

    สหัสสเนตโต เทวินโท ทิพพจักขุง วิโสทายิ

    ท่านกล่าว ว่า คาถา นี้จะท่องให้เรียนดี ไม่เชิงหรอก
    แต่ก่อน อ่านตำรา ท่องตำรา ให้ภาวนาก่อน เป็นดี เพราะเป็นการรวมสมาธิ เมื่อมีสมาธิดี ทำอาไรก็ดี ทุกอย่างปลอดโปร่ง สมองโปร่งดีแล้ว อ่านหนังสือ ท่องตำราก็จำดี

    ท่านแนะนำว่า หากดี ตื่นนอน ท่องคาถานี้ก่อนเลย จะดีนัก จะ 1 จบ 3 จบ 7 จบ 9 จบ หรือ 108 จบ ก็แล้วแต่ชอบ หากท่องมากก็เป็นบารมี ดีนักแล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2010
  2. เทพคาถา

    เทพคาถา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +374
    QUOTE][/QUOTE]

    เคล็ดไม่ลับ จิงๆด้วย

    เพราะไม่รู้เคล็ดลับ สักแต่ท่อง อิอิอิอิอิ

    เด็กๆก็แบบนี้แหละ
     
  3. เทพคาถา

    เทพคาถา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +374
    เด็กใหม่มันถึงได้มาบ่นกันเหลือเกินว่า ฝึกจนปากจะแหก แหกอยู่แล้ว แต่ ไม่เห็นใช้คาถาได้เลย
     
  4. praram7

    praram7 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +770
    รบกวนขยายความหน่อยครับ...ไม่เข้าใจ
    ด้วยความรู้มีน้อย...เข้ามาติดตามครับ
     
  5. ABP@BDZ

    ABP@BDZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +228
    ทราบว่าท่านพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ ให้เพิ่มอีก 3 วรรคข้างหลังครับ

    สหัสสเนตโต เทวินโต ทิพพจักขุง วิโสทายิ อิกะวิติ พุทธะสังมิ โลกะวิทู
     
  6. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    ที่ถูกต้อง คือ สะหัสสะเนตโต เทวินโท
    ทิพพะจักขุง วิโสธะยิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 พฤศจิกายน 2010
  7. เทพคาถา

    เทพคาถา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +374
    ใครอยากรู้เมลมาหาผม ว่า ใช้คาถา อย่าดีแต่ท่อง
     
  8. konkoh

    konkoh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +298
    มาเสริม นิดครับ
    ครูบาอาจารย์ ท่าน กล่าว ว่า
    สะหัสสะเนตโต เทวินโท ทิพพะจักขุง วิโสธะยิ
    หรือ
    สหัสสเนตโต เทวินโต ทิพพจักขุง วิโสทายิ อิกะวิติ พุทธะสังมิ โลกะวิทู<!-- google_ad_section_end -->

    ตรง นี้ ลอง ให้ผู้ภาวนา ลอง ด้วยตัวเอง ครับ
    ว่าเรา ถูกจริต ถูกโฉลก กับแบบไหน..
     
  9. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    .........................................................................
    ผู้รู้ช่วยแปลด้วยครับ ผมรู้ภาษาบาลีน้อยนิด


    สหัสสเนตโต =ท้าวสหัสนัย=ผู้มีตาพันดวง=คือชื่อ ชื่อหนึ่งของพระอินทร์= ท้าวสักกะ
    เทวินโท=เทพอินทร์ใช่หรือเปล่า
    ทิพพจักขุง=ตาทิพย์

    วิโสทายิ =แปลว่าอะไรครับ
    ทั้งหมด รวมความหมายแล้วเกี่ยวกับบารมีใดหรือเปล่าครับ
    อยากมีตาทิพย์?
     
  10. เทพคาถา

    เทพคาถา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +374
    คาถาห้ามแปล
    เดียวจะหมดกำลังใจ
    ฝึกของไม่ขึ้น
    -------------
     
  11. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    คาถาแปลทุกคาถาแล้วจะเข้าใจ
    คาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกแปล----ชัยมงคลคาถาแปล--มีแปลอีกเยอะฯลฯ
    ตัวอย่างที่เอามาให้ดูคือ คาถาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร---แปล

    <table width="100%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody> <tr> <td align="middle" bgcolor="#99cc00" height="23">ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร</td></tr></tbody></table> <table width="100%" border="0" height="20"> <tbody> <tr> <td>
    </td></tr></tbody></table>
    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
    ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ
    ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
    ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟัง และพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ
    เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ
    โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค *โน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
    การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง
    โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
    และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ )
    เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ
    กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?
    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
    ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ
    เสยยะถีทัง
    ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ
    - สัมมาทิฏฐิ
    ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )
    - สัมมาสังกัปโป
    ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )
    - สัมมาวาจา
    วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )
    - สัมมากัมมันโต
    การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )
    - สัมมาอาชีโว
    การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )

    - สัมมาวายาโม

    ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป )
    - สัมมาสะติ
    การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )
    - สัมมาสะมาธิ ฯ
    การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
    ( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )
    อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ
    - ชาติปิ ทุกขา
    ความเกิดก็เป็นทุกข์
    - ชะราปิ ทุกขา
    เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
    - มะระณัมปิ ทุกขัง
    เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
    - โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
    เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์
    - อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
    เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
    - ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
    เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์
    - ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
    และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์
    - สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
    กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง
    โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
    คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์
    ภะวะตัณหา
    สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์
    วิภะวะตัณหา
    และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ
    อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ
    อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะ*นันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ
    อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ
    อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ
    ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ

    ( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ

    1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง

    2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ

    3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )
    เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ
    ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ
    อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ
    ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
    ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ
    อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
    ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ
    อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
    พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ
    อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
    ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล
    อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
    ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ
    ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
    ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล
    ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
    ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
    "เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
    "นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"
    ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
    จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
    ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
    ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
    ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
    นิมมานะระ*ง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ
    ปะระนิมมิตะวะสะวัต*ง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
    เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
    "เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
    "นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ
    อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
    และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ
    อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
    และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ
    อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
    อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ
    อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ
    ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว)
    อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
    เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ
    ..........................................................................................
    จากหนังสือ "สวดมนต์แปล" วัดจันทาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี​
     
  12. เทพคาถา

    เทพคาถา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +374
    ดือจริง ความเก่งที่ไรค่า
    แปลแล้วเป็นไงหละ เห็นมะแปลแล้วอยากใช้มะ


    ถ้าจะทำความเข้าใจเนื้อ คำสวดมนต์ ศึกษาเอาธรรมะ อยากบรรลุธรรม จิงๆ

    แบบนี้ไปอ่านพระไตร์ปิฏกไม่ดีกว่ารึ ภาษาไทยร้วนๆ เข้าจายง่ายกว่าเยอะ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2010
  13. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ...........................................................................
    ในพระไตรปิฏก ใช้คำว่า"คาถา"ทั้งหมด และก็มีการแปลไว้ทั้งหมด
    ควรอ่านศึกษาพระไตรปิฏกแล้วจะรู้ว่า ครูบาอาจารย์แปลไว้ทั้งหมดแล้ว
    การสวดคาถาทุกคาถาต้องรู้คำแปลแจ่มแจ้ง
    เช่นคาถา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อรู้คำแปลจะปฏิบัติได้ถูกต้องและเข้าใจถูกต้อง
    พระไตรปิฏกต้องอ่านอย่างละเอียดแล้วจะรู้ว่ามีบางคาถาที่มีบางคนแต่งขึ้นเล่นๆหลอกๆ(เพื่อหลอกคนงมงาย)เพราะแปลแล้วขบขัน
     
  14. praram7

    praram7 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +770
    ความศักดิ์สิทธิ์ อยู่ที่จิตเลื่อมใส
    การแปลบทสวดมนต์ ก็เพื่อความเข้าใจทราบซึ้งและความเลื่อมใส
    ไม่ใช่งมงาย ศาสนาของเราเชื่อในเหตุและผล
    รวมทั้งคาถาต่างๆ ไม่ว่าคาถานั้นจะเป็นหัวใจของบทสวดมนต์ใด
    ได้รู้ที่มาที่ไป คาถาแม้จะกล่าวผิดด้วยความเข้าใจผิด
    แต่จิตคิดว่าส่งผล ก็เป็นผลตามที่มุ่งหวัง
    บางคนกล่าวถูกต้องชัดเจน แต่ไม่เลื่อมใส ก็ไม่ส่งผลเพราะจิตไม่มีกำลัง
    การถ่ายทอดเพื่อวิทยาทาน ให้ผู้ไม่รู้ได้รู้ ได้เข้าใจเป็นบุญมาก
    ถือเป็นธรรมทาน
    ปราชญ์ผู้ประเสริฐ ดำรงอยู่ในคุณธรรม จะมีแต่ความเมตตาเป็นที่ตั้ง
    พร้อมที่จะถ่ายทอดสิ่งดีๆ สู่ผู้อื่นที่รู้น้อยกว่าตน หวังให้ผู้นั้นเจริญยิ่งๆขึ้นไป
    จะไม่ยกตนข่มท่าน ดูถูกดูหมิ่นผู้อื่นว่าด่อยกว่า จะมีแต่ความปารถนาดี
    ไม่ประสงค์ร้ายต่อใคร สิ่งที่ตนเองมีดี ก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีกว่าผู้อื่นทุกเรื่อง
    แต่ละคนก็ต่างมีความรู้ความชำนาญที่แตกต่างกัน ศาสตร์ต่างๆจึงมีหลากหลาย
    เอวัง..ก็มีด้วยประการฉะนี้ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2010
  15. เทพคาถา

    เทพคาถา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +374
    ถ้าคิดจะศึกษาหาหลักธรรม ก็ควรไปศึกษา พระไตร์ปิฏกดีกว่า ถ้าสนใจฤทธเดช ก็ไม่ควรทำอย่างที่บอก ถ้าท่านได้อ่านพระไตรปิฏกบทที่ว่าด้วยความเชื่อ ก็จะเข้าใจว่ามันเป็นอย่างไร

    เราเตือนท่านแล้วท่านยังไม่เชื่อแล้วจะเสียใจ

    อย่าหลงตนว่าแปลคาถาได้ จะสามารถใช้ฤทธเดชได้ดังใจ เรื่องจริง หาใช่ไม่

     
  16. ลมรำเพย

    ลมรำเพย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +503
    คาถานี้ มีที่มาจาก เรื่องพระจักขุปาลเถระ ใน พระธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๑
    ขอตัดเนื้อเรื่องมาดังนี้

    --------ด้วยเดชแห่งศีลแม้ของพระเถระ (ในขณะนั้น)
    บัณฑุกัมพล-สิลาอาสน์ ของท้าวสักกเทวราช
    ยาว ๖๐ โยชน์ กว้าง ๕ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์
    มีสีดุจดอกชัยพฤกษ์ มีปกติยุบลงในเวลาประทับ
    และฟูขึ้นในเวลาเสด็จลุกขึ้น แสดงอาการร้อนแล้ว.

    ท้าวสักกเทวราช ทรงดำริว่า
    "ใครหนอแล ใคร่จะยังเรา
    ให้เคลื่อนจากสถาน" ดั่งนี้แล้ว ทรงเล็งลงมา
    ได้ทอดพระเนตรเห็น พระเถระด้วยทิพยจักษุ.

    เหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า (บาลี)

    สะหัสสะเนตโต เทวินโท (1) ทิพพะจักขุง วิโสธะยิ (2)
    ปาปะคะระหี อะยัง ปาโล (3) อาชีวัง ปะริโสธะยิ (4)

    สะหัสสะเนตโต เทวินโท (5) ทิพพะจักขุง วิโสธะยิ (6)
    ธัมมะคะรุโก อะยัง ปาโล (7) นิสินโน สาสะเน ระโตติ.(8)

    แปลไทย

    "ท้าวสหัสเนตร ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา (1)
    ส่อง ทิพยจักษุ (ทรงทราบว่า) (2)
    พระปาลเถระองค์นี้ ติเตียนคนบาป (3)
    ชำระ เครื่องเลี้ยงชีพ ให้บริสุทธิ์ แล้ว, (4)
    ท้าวสหัสเนตร ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา (5)
    ส่อง ทิพยจักษุ (ทรงทราบว่า) (6)
    พระปาลเถระ องค์นี้หนักในธรรม (7)
    ยินดี ในศาสนา นั่งอยู่แล้ว." (8)

    ขณะนั้น ท้าวเธอได้ทรงพระดำริว่า "ถ้าเราจักไม่ไปสู่สำนัก
    ของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ติเตียนคนบาป หนักในธรรม เห็นปานนั้น,
    ศีรษะของเราพึงแตก ๗ เสี่ยง; เราจักไปสู่สำนักของท่าน,"
    (ครั้นทรงพระดำริฉะนี้แล้ว ก็เสด็จไป). ---------

    1.ท้าวสหัสเนตร (สหัสสะเนตฺโต-ผู้มีดวงตาหนึ่งพันดวง)
    2.ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา ( เทวินฺโท -- เทวะ+อินทะ)
    3.ส่อง ( วิโสธะยิ – ชำระให้หมดจดวิเศษ)
    4.ตาทิพย์ ( ทิพพะจักขุง )

    คาถานี้ แปลแล้ว ก็ยัง ขลัง นะ (ไม่ได้โม้)

    เคล็ดไม่ลับ ก็คือ นึกถึงพระอินทร์ และ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำด้วยความเคารพ

    เมื่อเราท่องคาถานี้ เราก็อยู่ใน การส่อง ทิพยจักษุ ของพระอินทร์

    วิชาที่เราเรียน (คณิต วิทย์ อังกฤษ ฯลฯ ) มันไม่ใช่วิชาที่ใหม่อะไร

    เทวดาที่ไปเกิดบนสวรรค์ก็ไปจากมนุษย์นี่เอง

    เทวดาผู้มีความรู้ระดับอ๋อง ในวิชาที่เราเรียนก็ย่อมมีอย่างแน่นอน

    พระอินทร์ ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา เมื่อเราท่องคาถาของท่าน

    ท่านก็ใช้เทวดาอ๋องมาดลจิตคนท่องก็ได้

    ตอนสอบ ทำจิต ให้ว่างๆ อย่าเครียด อย่าเกร็ง อย่ากลัว

    แล้วจะมีความคิดแวบมาเอง (ไม่ได้โม้)

    ปล. ให้ตั้งใจเรียนเป็นหลัก คาถาเป็นตัวเสริม
     
  17. Igiko_L

    Igiko_L เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,407
    ค่าพลัง:
    +2,836
    :cool: ใกล้สอบแล้วคะ การสอบครั้งนี้สำคัญมาก เพราะเป้นการสอบเข้ามหาลัย จะชี้ชะตาว่า จะได้เรียนต่อ หรือ ไม่ได้เรียนเพราะสอบเข้าไม่ได้
    ถ้าพี่จะกรุณา ก็ช่วยส่งเคล็ด(ไม่)ลับ มาให้ด้วยนะคะ
    :boo:ขอบคุณคะ
     
  18. อุกาสะ

    อุกาสะ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    จะรู้คาถาดีแค่ไหน เข้าใจพระไตรปิฎกมากแค่ไหน
    ถ้าไม่เร่งปฏิบัติให้เกิดผล ก็ไม่ได้ช่วยอะไรครับ "สาธุ"
     

แชร์หน้านี้

Loading...