ความเป็นมาของพระไตรปิฏกตอน 52

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 2 ตุลาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    (5). คุณสมบัติของอุบาสก 8 ประการ

    1. ตนมีศรัทธา ชักชวนให้ผู้อื่นมีศรัทธา

    2. ตนมีศีล ชักชวนให้ผู้อื่นมีศีล

    3. ตนมีจาคะ ชักชวนให้ผู้อื่นมีจาคะ

    4. ตนใคร่เพื่อเห็นพระภิกษุ ชักชวนให้ผู้อื่นใคร่เพื่อเห็นภิกษุ

    5. ตนทรงจำธรรม ชักชวนให้ผู้อื่นทรงจำธรรม

    6. ตนพิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ฟัง ชักชวนให้คนอื่นให้พิจารณาอรรถแห่งธรรม

    7. ตนรู้ทั่วแห่งธรรมที่พิจารณา ชักชวนผู้อื่นให้รู้ทั่วถึงธรรมที่พิจารณา

    8. ตนรู้แล้วปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม ชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม

    (6). พลัง 8 ประการ

    1. ทารกมีการร้องไห้เป็นพลัง

    2. มาตุคาม (ผู้หญิง) มีความโกรธเป็นพลัง

    3. โจรมีอาวุธเป็นพลัง

    4. พระราชามีความเป็นใหญ่ (อำนาจ) เป็นพลัง

    5. คนพาลมีการเพ่งโทษคนอื่นเป็นพลัง

    6. บัณฑิตมีการเพ่งโทษตนเองเป็นพลัง

    7. ผู้คงแก่เรียนมีการพิจารณาเป็นพลัง

    8. สมณพราหมณ์มีขันติเป็นพลัง

    (7). สัปปุริสทาน (การให้ทานอย่างสัตบุรุษ) 8 ประการ

    1. ให้ของสะอาด (สุจึ เทติ)

    2. ให้ของประณีต (ปณีตํ เทติ)

    3. ให้เหมาะแก่กาล (กาเลน เทติ)

    4. ให้ของควร (กปฺปิยํ เทติ)

    5. ให้ด้วยวิจารญาณ (วิเจยฺย เทติ)

    6. ให้เป็นประจำ (อภิณฺหํ เทติ)

    7. เมื่อให้จิตผ่องใส (ททํ จิตฺตํ ปสาเทติ)

    8. ให้แล้วเบิกบานใจ (ทตฺวา อตฺตมโน โหติ)

    (8). ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8 ประการ

    1. ธรรม (คำสอน) เหล่าใดเป็นไปเพื่อคลายกำหนัด (วิราคาย)

    2. เพื่อหมดเครื่องผูกรัด (วิสํโยคาย)

    3. เพื่อไม่พอกพูนกิเลส (อปจยาย)

    4. เพื่อความมักน้อย (อปฺปิจฺฉตาย)

    5. เพื่อความสันโดษ (สนฺตุฏฺฐิยา)

    6. เพื่อความสงัด (ปวิเวกาย)

    7. เพื่อปรารถนาความเพียร (วิริยารมฺภาย)

    8. เพื่อเป็นคนเลี้ยงง่าย (สุภรตาย)

    คำสอนเหล่านั้นพึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์

    (9). พระนามของพระตถาคต

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า คำเหล่านี้ก็เป็นพระนามของพระตถาคต คือ สมณะ (ผู้สงบ) พราหมณ์ (ผู้ลอยปาบ) เวทคู (ผู้จบพระเวท) ภิสักกะ (หมอ) นิมมล (บริสุทธิ์) วิมละ (บริสุทธิ์) ญาณี (ผู้ทรงญาณ) วิมุตตะ (ผู้พ้นแล้ว)

    (10). โจรมีพฤติกรรม 8 ประการ อยู่ได้ไม่นาน

    1. ทำร้ายผู้มิได้ทำร้าย (อปหรนฺตสฺส ปหรติ)

    2. ขโมยของไม่เหลือ (อนวเสสํ อาทิยติ)

    3. ฉุดคร่าสตรี (อิตฺถึ หรติ)

    4. ข่มขืนหญิงสาว (กุมารึ ทูเสติ)

    5. ปล้นนักบวช (ปพฺพาชิตํ วิลุมฺปติ)

    6. ปล้นพระคลังหลวง (ราชโกสํ วิลุมฺปติ)

    7. หากินใกล้ถิ่นตนเกินไป (อจฺจาสนฺเน กโรติ)

    8. ไม่รู้จักที่ซ่อนทรัพย์สิน (น จ นิธานกุสโล โหติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...