"ความสุข...ไปทางนี้" คาลิล ยิบราน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 19 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"ความสุข...ไปทางนี้" คาลิล ยิบราน</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>18 กรกฎาคม 2547 22:47 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=210 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=210>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>คาลิล ยิบราน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>คอลัมน์ : เส้นใต้บรรทัด โดย...จิตกร บุษบา


    ในหนังสือ “ปรัชญาชีวิต” (The Prophet) ของคาลิล ยิบราน ครูคนหนึ่งร้องบอก “อัลมุสตาฟา” ว่า ได้โปรดกล่าวแก่เราถึง “การสอน”

    และท่านพูดว่า...

    ไม่มีมนุษย์ใด อาจเปิดเผยสิ่งใดแก่เธอได้ นอกจากสิ่งที่ได้นอนซบเซาอยู่ก่อนแล้ว ในขณะรุ่งอรุณแห่งปัญญาของเธอเอง ครูผู้เดินอยู่ภายใต้ร่มเงาโบสถ์ ในท่ามกลางสานุศิษย์มิได้ให้ปัญญาของท่าน แต่ให้ความเชื่อมั่นและให้ความรักแก่ศิษย์ ถ้าท่านเป็นปราชญ์อย่างแท้จริงแล้ว ท่านจะไม่นำเธอก้าวล่วงเข้าสู่เคหาสน์แห่งปัญญาของท่าน แต่จะนำเธอไปสู่แทบธรณีแห่งดวงจิตของเธอเอง
    นักดาราศาสตร์ อาจกล่าวให้เธอฟังถึงความเข้าใจของเขาต่อท้องฟ้า แต่เขาก็ไม่อาจหยิบยกความเข้าใจอันนั้นแก่เธอได้
    นักดนตรี อาจร้องทำนองเพลงทั้งหลายอันมีอยู่ในห้วงเวหาให้เธอฟัง แต่เขาก็ไม่อาจให้โสตอันสดับจับทำนอง หรือสำเนียงอันร้องสะท้อนรับทำนองนั้นแก่เธอได้...

    อัลมุสตาฟาสรุปว่า “เพราะว่าการเห็นของบุคคลหนึ่ง ไม่อาจให้ปีกแก่บุคคลอื่นขอยืมได้”



    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=210 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=210>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ความคิดเรื่อง “ปีกที่ไม่อาจมอบแก่กันได้” นี้ มิใช่มีแต่เพียงใน “ปรัชญาชีวิต” ของยิบราน ทว่าในพระพุทธศาสนา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ตรัสว่า ความจริงอันประเสริฐที่ทรงค้นพบและตรัสรู้นั้น หาได้เป็นการคิดขึ้นโดยพระองค์ไม่ แต่เป็นความจริงหรือสัจธรรมที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ พระองค์เป็นเพียงผู้ถากถางทางเข้าไปค้นพบ ดังนั้น สิ่งที่พุทธศาสนิกชนควรยึดเหนี่ยวคือ “พระธรรม” มิใช่พระองค์ “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต” คำสอนของพระองค์จึงสำคัญกว่าครูเช่นพระองค์ และคำสอนของพระองค์ก็กล่าวถึง “ทางไปสู่ปัญญาและการรู้แจ้ง” คือการ “เฝ้าดูจิต” ด้วยวิธีการหลากหลาย (ศีล) อันจะนำไปสู่สภาวะที่จิตนิ่ง ว่าง ( สมาธิ) จนกระทั่งประจักษ์ในความจริงแท้ (ปัญญา) คือรู้ทันการเคลื่อนไหวของจิต (ทุกข์) เห็นเหตุที่มาทำให้เคลื่อนไหว (สมุทัย) เห็นวิธีตัดทุกข์หน่วงเหนี่ยว (นิโรธ) และดำเนินไปบนหนทางแห่งการตัดทุกข์ (มรรค) ดังนั้นแล้ว ศีล สมาธิ และมรรค จึงเป็นเรื่องเดียวกัน คือหนทางที่จะนำไปสู่ปัญญาและการรู้แจ้ง เพราะฉะนั้น การรู้แจ้งจึงมิได้อาศัยปีกของศาสดาหอบหิ้วไปส่ง หากแต่เดินไปตามเส้นทางที่ทรงชี้บอกด้วยปีกของแต่ละคนต่างหาก

    กฤษณะมูรติ นักปราชญ์และผู้นำทางจิตวิญญาณชาวอินเดียเอง ก็กล่าวถึงการปลดปล่อยจิตให้เป็นอิสระ ว่าง นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว ไร้พันธนาการ ไร้การเกาะเกี่ยว เพื่อการรู้แจ้งเช่นกัน “ลองหยิบเปลือกหอยขึ้นมาสักชิ้นหนึ่งซิ คุณสามารถที่จะมองดูมัน พิศวงในความสวยงามละเอียดอ่อนของมัน โดยปราศจากการเอ่ยคำพูดว่า มันสวยอย่างนั้นอย่างนี้ หรือสัตว์ตัวไหนสร้างมันขึ้นมาได้หรือไม่ คุณสามารถที่จะมองดูโดยปราศจากการเคลื่อนไหวของจิตใจได้หรือเปล่า” (สัจจะแห่งชีวิต น.54) ท่านย้ำว่า “จิตใจจะเป็นอิสระได้ เมื่อมันไม่ถูกวางเงื่อนไขจากประสบการณ์ ความรู้ ทิฐิมานะ และความริษยาของตัวมันเอง สมาธิก็คือการปลดปล่อยจิตใจจากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด” (น.41)

    การตอบของอัลมุสตาฟาต่อครูผู้ถามก็เช่นเดียวกัน ท่านได้ชี้ว่า การสอนที่ดีคือการนำศิษย์เข้าสู่ปัญญาของเขาเอง (นำเธอไปสู่แทบธรณีแห่งดวงจิตของเธอเอง—สมาธิ?) มิใช่การเดินตามปัญญาของครู

    เพียงเท่านี้ คงพอชี้ให้เห็นได้เลาๆ ว่า “ปรัชญาชีวิต” นั้น ไม่เพียงแต่งดงาม (ด้วยถ้อยคำภาษา) และลึกซึ้ง (ในด้านปรัชญา-ความคิด) เท่านั้น หากแต่ยังไปสอดรับความฐานความคิด ความรู้ และความเชื่อที่หลากหลายและเป็นสากล ส่งผลให้ The Prophet ของเขาได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง และต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=210 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=210>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาพวาดของยิบราน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>คาลิล ยิบราน เป็นใครมาจากไหน และเขียนเรื่องที่ยิ่งใหญ่นี้ขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไร? เขาเกิดที่ประเทศเลบานอน เมื่อ ค.ศ. 1883 และเสียชีวิตไปแล้วที่นิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1931 บิดามารดาของยิบรานเป็นผู้มีการศึกษาและวัฒนธรรมดี ตระกูลทางมารดาได้ชื่อว่าเก่งทางดนตรีที่สุดในหมู่บ้าน ตัวยิบรานเองก็ได้แสดงฝีมือทางวาดเขียน ก่อสร้าง ปั้น และแต่งเรียงความมาตั้งแต่เยาว์วัย ครั้นอายุได้ 8 ปี ก็สนใจและเข้าใจ ซาบซึ้งในงานของไมเคิล แองเจโล กับ ลีโอนาร์โด ดาวินชี ด้านงานเขียน ว่ากันว่า วิลเลียม เบล้ค กับนิทเช่ มีอิทธิพลต่อเขามาก และเขาเองก็ได้รับสมญานามว่าเป็น วิลเลียม เบลค แห่งศตวรรษที่ 20

    ในปี ค.ศ. 1895 ครอบครัวของเขาได้เดินทางไปตั้งรกรากที่อเมริกา จนเมื่อเขาอายุได้ 14 ปี ยิบรานก็ได้เดินทางกลับไปยังเลบานอน และเข้าเรียนในสถานศึกษาภาษาอาหรับของซีเรีย ต่อมาเขาได้ศึกษาศิลปะกับโรแดง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ที่ Ecole des Beaux Arts ในกรุงปารีส ปี ค.ศ. 1912 ยิบรานเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา และพำนักอยู่ที่นิวยอร์ค ที่นั่นเขาได้ก่อตั้งสมาคมนักเขียนชาวอาหรับ และได้เป็นนายกสมาคมด้วย

    งานประพันธ์ของยิบรานมีอิทธิพลจูงใจคนรุ่นหลังมาก ทั้งผู้ใช้ภาษาอารบิคในประเทศอาหรับ และในอเมริกา ตลอดทั้งยุโรป และเอเชีย นักเขียนไทยกว่าครึ่งล้วนกล่าวถึงประสบการณ์แห่งความซาบซึ้งจากการได้อ่านผลงานของยิบรานทั้งสิ้น งานชิ้นแรกๆ ของยิบรานเป็นข้อเขียนและบทกวีภาษาอาหรับ งานเหล่านั้นแสดงทัศนะความเห็นแจ้งในธรรมะ ความงดงามในท่วงทำนอง และหนทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาชีวิต

    ยิบรานเริ่มเขียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษตั้งแต่อายุยังไม่ถึงยี่สิบปี งานเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ The Prophet (ปรัชญาชีวิต) นี่เอง งานชิ้นนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ ไม่น้อยกว่า 13 ภาษา มีผู้อ่านกันแพร่หลายอย่างยิ่งทั่วโลก ยิบรานได้บรรจุหลักสัจธรรมไว้ด้วยสำนวนกวี ที่อ่านง่ายและไพเราะ เข้าถึงชนทุกชั้น นับเป็นบทกวีที่เป็นทั้งปรัชญาและธรรมะพร้อมกันในตัว


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=210 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=210>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาพวาดของยิบราน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ระวี ภาวิไล ผู้แปล The Prophet (ปรัชญาชีวิต) กล่าวยกย่อง ปรัชญาชีวิต ของยิบรานว่า บุคคลในหลายเชื้อชาติและต่างลัทธิศาสนาจำนวนมาก ได้ยึดถือเอาคำสอนในงานชิ้นนี้เป็นประทีปนำทางแห่งการดำเนินชีวิต ทั้งนี้เพราะความเป็นกลางของสัจธรรมของยิบรานนั่นเอง แม้จะกล่าวออกมาในเปลือกหุ้มใดๆ ก็มีธรรมชาติอันแท้จริงเป็นสมบัติของมนุษย์ทั่วไป ไม่ว่าชาติ ภาษา เหนือลัทธิศาสนาใด

    ปรัชญาชีวิต ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1926 โดยขายเพียงเล่มละ 2 ดอลล่าร์เท่านั้น ในช่วงปีแรกขายได้ประมาณ 1,159 เล่ม ในปีที่สองขายได้เป็นสองเท่า และปีที่สามก็ขายได้เป็นสองเท่าของปีที่สอง ยอดขายที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับมาจากการบอกเล่าต่อๆ กันในหมู่นักอ่าน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1970 มีการบันทึกว่าหนังสือเล่มนี้ขายได้ 7,000 เล่มต่อสัปดาห์เลยทีเดียว และในปีนั้น ยอดขายโดยรวมก็มากกว่า 4,000,000 เล่มเข้าไปแล้ว

    สำหรับฉบับภาษาไทย ดร.ระวี ภาวิไล เขียนเล่าว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2489 ท่านทราบจากเพื่อนว่าในห้องสมุดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีหนังสือเล่มนี้ของยิบรานอยู่ เป็นเล่มแรกและเล่มเดียวในเมืองไทย ท่านจึงไปยืมมาอ่าน และด้วยความประทับใจ จึงได้คัดลอกเอาไว้ หลังอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งตามลำพังและร่วมกับเพื่อน สองปีถัดมา ดร.ระวี เล่าว่า เกิดคำภาษาไทยผุดขึ้นมาในใจบ่อยครั้ง จึงได้เขียนลงไปในสมุดที่คัดลอกมา จากนั้นจึงเกิดแรงบันดาลใจ ให้แปลไปทีละบทสองบท บางบทเมื่อแปลแล้วก็ได้ส่งไปลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์นครสารด้วย หลังจากแปลครบทุกบทก็ได้มีการปรับปรุงขัดเกลาอยู่อีกหลายปี จนกระทั่ง อ.ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา รับเป็นผู้จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2504 ซึ่งระยะแรก ดร.ระวีเล่าว่า “ขายไม่ค่อยออก” จนกระทั่งหลังการพิมพ์ซ้ำในครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2511 นั่นเอง ถึงปรากฏว่าคนหนุ่มสาวที่แสวงหาสิ่งมีคุณค่าในชีวิตเริ่มให้ความสนใจ และความสนใจนั้นก็เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

    ปรัชญาชีวิต กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับชีวิตและสังคม โดยกำหนดให้ อัลมุสตาฟา (คือ The Prophet – ผู้ทำหน้าที่แทนพระผู้เป็นเจ้าในโลกนี้) ตอบปัญหา 26 หัวข้อ ได้แก่ ความรัก การแต่งงาน บุตร การบริจาค การกินและการดื่ม การงาน ความปราโมทย์และความโศกเศร้า บ้านเรือน เครื่องนุ่งห่ม การซื้อและการขาย อาชญากรรมและทัณฑกรรม กฎหมาย อิสรภาพ เหตุผลและอารมณ์ ความปวดร้าว การบรรลุธรรม การสอน มิตรภาพ การพูดคุย เวลา คุณธรรมและความชั่วร้าย การสวดวิงวอน ความบันเทิง ความงาม ศาสนา และความตาย ตามลำดับ ต่อชาวเมืองออร์ฟาลีส ซึ่งอัลมุสตาฟาร่วมพำนักอยู่นานถึง 12 ปี โดยมี อัลมิตรา หญิงสาวผู้เป็นชาวออร์ฟาลีสคนแรกที่ได้พบและฟังคำกล่าวของท่าน เมื่อครั้งที่ท่านมาถึงเมืองได้เพียงวันเดียว และนางก็กลายเป็นผู้เห็นธรรม เฝ้าอยู่ประจำวิหารของเมือง เป็นผู้เริ่มปุจฉา


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=210 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=210>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาพวาดของยิบราน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ไม่มีความซับซ้อนใดๆ ในโครงเรื่อง เพราะเรื่องดำเนินเนื่องไปด้วยบทปุจฉาวิสัชนา ในวันสุดท้ายก่อนที่อัลมุสตาฟาจะขึ้นเรือจากเมืองไปยังเกาะแห่งการเวียนเกิด ซึ่งท่านรำพึงว่า “วันแห่งการจากไป ควรจะเป็นวันเก็บเกี่ยวด้วยหรือไม่ และในอนาคตกาลนั้น ควรจะเป็นที่กล่าวกันหรือไม่ว่า สันธยากาลแห่งเรานั้น แท้จริงก็เป็นรุ่งอรุณด้วย” ความลุ่มลึกและซับซ้อนจึงไปอยู่ในถ้อยคำที่อัลมุสตาฟากล่าว และนั่น...ท้าทายต่อการขบคิดและตีความของผู้อ่านอย่างยิ่ง (ไม่แพ้ชาวเมืองออร์ฟาลีส)

    อัลมิตรายอบกายคารวะ และเอ่ยว่า “ท่านผู้แทนของพระผู้เป็นเจ้า ท่านผู้แสวงหาสิ่งสูงสุด... ในความโดดเดี่ยวของท่านนั้น ท่านได้เฝ้ามองคืนวันของเรา และในความตื่นของท่าน ท่านก็ได้เฝ้าฟังเสียงสะอื้นและหัวเราะในความหลับของเรา ณ บัดนี้ ขอได้เปิดเผยเราแก่เราเอง และได้บอกให้เราทราบถึงสิ่งซึ่งท่านได้ประจักษ์ อันมีอยู่ระหว่างการเกิดและความตาย ขอท่านได้พูดแก่เรา และให้สัจธรรมแก่เรา และเราก็จะได้ให้แก่ลูกหลานของเรา และลูกหลานของเราก็จะได้ให้ถ่ายทอดกันต่อไป และธรรมะนั้นก็จะไม่ดับสูญ”

    และท่านตอบว่า “ประชาชนชาวออร์ฟาลีส เราจะบอกอะไรแก่ท่านได้ นอกจากสิ่งที่เคลื่อนอยู่ในวิญญาณของท่านเอง”

    บทที่ได้รับการจดจำสูงสุด เห็นจะเป็นบทที่ว่าด้วยเรื่อง บุตร หญิงคนหนึ่งซึ่งกอดบุตรน้อยไว้กับอกพูดว่า ได้โปรดพูดกับเราเรื่อง บุตร และท่านก็ตอบว่า


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=210 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=210>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>“บุตรของเธอ...ไม่ใช่บุตรของเธอ
    เขาเหล่านั้นเป็นบุตรและธิดาแห่งชีวิต
    เขามาทางเธอ แต่ไม่ได้มาจากเธอ
    และแม้ว่าเขาอยู่กับเธอ แต่ก็ไม่ใช่สมบัติของเธอ
    เธออาจจะให้ความรักแก่เขา แต่ไม่อาจให้ความนึกคิดได้
    เพราะว่าเขาก็มีความนึกคิดของตนเอง
    เธออาจจะให้ที่อยู่อาศัยแก่ร่างกายของเขาได้ แต่มิใช่แก่วิญญาณของเขา
    เพราะว่าวิญญาณของเขานั้น อยู่ในบ้านของพรุ่งนี้ ซึ่งเธอไม่อาจเยี่ยมเยือนได้ แม้ในความฝัน
    ...เธอนั้นเป็นเสมือนคันธนู และบุตรหลานเหมือนลูกธนูอันมีชีวิต ผู้เล็งเห็นที่หมายบนหนทางอันมิรู้สุดสิ้น”

    แน่นอน...หัวใจสำคัญของการบอกกล่าวก็คือ การปลดปล่อย ไม่ผูกหรือร้อยรัดพันธนาการ บิดามารดาย่อมปรารถนาดีต่อบุตรได้เต็มกำลัง แต่อย่าคาดหวังถึงการครอบครอง เฉกเช่นที่ครูมีหน้าที่นำทางลูกศิษย์เข้าสู่จิตวิญญาณของเขา มิใช่ครอบงำศิษย์ เพราะเช่นนั้น ย่อมหมายถึงการผูกมัดกัน อันไม่นำไปสู่ความเข้าใจ-รู้แจ้ง

    เรื่องนี้ หากใครได้อ่านผลงานของท่านเจ้าคุณ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ท่านก็ย้ำมาก ว่า พ่อแม่และครูบาอาจารย์มีหน้าที่แสดงความจริงของโลกและชีวิตต่อลูกและศิษย์ ซึ่งหากพ่อแม่และครูไปผูกมัด “ครอบครองลูก” และ “ครอบงำศิษย์” เสียแล้ว ก็ย่อมจะยากที่จะขับเคลื่อนเข้าสู่ความรู้ และความรู้แจ้ง ทั้งตนเองและลูก-ลูกศิษย์

    ในเรื่อง การให้ หรือ การบริจาค นั้นก็น่าสนใจยิ่ง อัลมุสตาฟาอธิบายเรื่องการบริจาคแก่เศรษฐีที่ถาม สรุปใจความได้ว่า การบริจาคด้วยทรัพย์ เป็นการให้แต่เพียงเล็กน้อย ต่อเมื่อเราอุทิศตนต่างหาก คือการให้ที่แท้

    “ทรัพย์สมบัติของเธอนั้น จะเป็นสิ่งอื่นใด นอกจากสิ่งที่เธอเก็บและเฝ้าระแวดระวังไว้ ด้วยกลัวว่า พรุ่งนี้เธออาจต้องการมันอีก
    ...ความกลัวว่าจะต้องการอีก มิใช่ความต้องการเองหรือ
    ความพรั่นพรึงต่อความกระหาย ทั้งๆ ที่บ่อน้ำของเธอก็ยังเต็มเปี่ยม คือความกระหายอันมิรู้ดับมิใช่หรือ
    บางคนมีมาก แต่เขาบริจาคนิดเดียว และก็ให้เพื่อเอาชื่อ และความปรารถนาอันเร้นอยู่นี้ ย่อมทำให้การบริจาคของเขามีราคี
    บางคนมีอยู่น้อย แต่อุทิศให้ทั้งหมด
    เขาเหล่านี้มีศรัทธาต่อชีวิต และต่อความสมบูรณ์ของชีวิต และถุงเงินของเขาไม่เคยว่างเปล่า
    บางคนบริจาคไปด้วยความปราโมทย์ และความปราโมทย์นั้นเองเป็นผลตอบแทน
    บางคนให้ไปด้วยความปวดร้าว ความปวดร้าวนั้นย่อมชำระดวงใจเขา
    ยังมีบางคนให้ไปโดยไม่รู้จักความเจ็บปวดในการให้ มิได้ให้โดยมุ่งหวังความปราโมทย์ใดๆ เป็นผลตอบแทน และมิได้ให้โดยมุ่งหวังคุณความดีใดๆ
    เขาบริจาคให้ ดุจเดียวกับบุปผชาติอันส่งกลิ่นหอมตลบอยู่ในหุบเขาโน้น
    พระผู้เป็นเจ้าทรงดำรัสผ่านมือของบุคคลเช่นนี้ พระองค์ทรงแย้มสรวลยิ้มกับพื้นพิภพผ่านดวงตาคนเช่นนี้”



    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=210 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=210>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>และเมื่อชาวนาคนหนึ่งกล่าวว่า ได้โปรดพูดถึงเรื่องการงาน อัลมุสตาฟาก็กล่าวว่า “เธอทำงานก็เพื่อจะก้าวไปพร้อมกับพื้นพิภพ และวิญญาณแห่งพื้นพิภพ เพราะการที่จะเกียจคร้านอยู่นั้น ก็คือการทำตนเป็นผู้แปลกหน้าต่อฤดูกาลทั้งหลาย และคือการก้าวออกไปจากขบวนแถวของชีวิต ซึ่งกำลังดำเนินอย่างสง่าผ่าเผยและภาคภูมิ ไปสู่อนันตภาวะ

    เมื่อเธอทำงานนั้น เธอคือขลุ่ยซึ่งเสียงกระซิบแห่งโมงยามผ่านดวงใจของเธอ แปรเป็นเสียงดนตรี
    เธอคนใดบ้างอยากเป็นไม้อ้อ ใบ และเงียบ ในขณะเมื่อสรรพสิ่งร่วมร้องเริงกันเป็นเสียงเดียว”

    งานจึงเป็นทั้งหน้าที่ ต้นทุนและกำไร ทั้งเป็นหนทางนำไปสู่ความสุข ความรัก และปัญญาด้วย

    “และเราขอบอกว่า ชีวิตคือความมืดแน่แท้ เว้นเสียแต่เมื่อมีความมุ่งมาด
    และความมุ่งมาดนั้นก็จะยังมืดบอด ถ้าหากไร้ปัญญา
    และปัญญาทั้งหลายก็จะคงเปล่าประโยชน์ ถ้าหากไม่มีการงาน
    และการงานก็จะว่างเปล่า เมื่อไม่มีความรัก
    และเมื่อเธอทำงานด้วยความรักนั้น เธอได้โอบตนเองเข้ากับตนเอง เข้ากับผู้อื่น และเข้าสู่พระผู้เป็นเจ้าแล้ว”

    หลายคนคงโต้เถียงว่า ฉันก็ทำงานด้วยความรักเหมือนกับทุกๆ คนนั่นแหละ จริงๆ แล้วอาจยังไม่ใช่ก็ได้ จนกว่าคุณจะไปถึงจุดที่อัลมุสตาฟาอธิบายว่า

    “ก็การงานที่จะทำด้วยความรักนี้ คืออย่างไรเล่า
    คือการทอผ้าด้วยเส้นด้ายที่ดึงจากดวงใจของเธอ ราวกับว่าผ้าผืนนั้นจะเป็นเครื่องนุ่งห่มของคนรักของเธอ
    คือการสร้างบ้านขึ้น ด้วยดวงใจเอิบอิ่มในความรัก ประหนึ่งว่าสร้างบ้านนั้นเพื่อคนรักของเธออยู่
    เมื่อหว่านเมล็ดพันธุ์ ก็ด้วยความละมุนละไม และเก็บเกี่ยวผลอันผุดขึ้นด้วยความปราโมทย์ ดุจดังว่าที่รักของเธอจะเป็นผู้บริโภคผลนั้นๆ
    คือการอาบรดทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอจับทำด้วยลมหายใจจากวิญญาณของเธอ”
    และท่อนที่ตำใจที่สุดก็คือ “และถ้าเธอไม่อาจประกอบการงานได้โดยมีความรัก แต่ด้วยความจำเจเบื่อหน่าย เธอก็ควรวางมือ และไปนั่งตามประตูโบสถ์ ขอทานท่านผู้ทำงานด้วยความชื่นชมจะดีกว่า”

    ที่ขาดไม่ได้ก็คงเป็น ความรัก อัลมุสตาฟากล่าวเมื่ออัลมิตราขอให้ท่านบอกถึงความรักว่า

    “เมื่อความรักร้องเรียกเธอ จงตามมันไป แม้ว่าทางของมันนั้นจะขรุขระและชันเพียงใด และเมื่อปีกของมันโอบรอบกายเธอ จงยอมทน แม้ว่าหนามแหลมอันซ่อนอยู่ในปีกนั้นจะทิ่มแทงเธอ และเมื่อมันพูดกับเธอ จงเชื่อตาม แม้ว่าเสียงของมันจะทำลายความฝันของเธอ ดั่งลมเหนือพัดกระหน่ำสวนดอกไม้ให้แหลกลาญไปฉะนั้น

    ความรักจะรวบรวมเธอเข้าดังฝักข้าวโพด มันจะแกะเธอออกจนเปลือยเปล่า แล้วมันจะล่อนเพื่อให้เธอหลุดจากเปลือก มันจะบดเธอจนเป็นผงขาว แล้วก็จะขยำจนเธออ่อนเปียก แล้วมันก็จะนำเธอเข้าสู่ไฟอันศักดิ์สิทธิ์ของมัน เพื่อว่าเธอจะได้กลายเป็นอาหารทิพย์ของพระเจ้า

    ความรักไม่ให้สิ่งอื่นใดนอกจากตนเอง
    และก็ไม่รับเอาสิ่งใด นอกจากตนเอง
    ความรักไม่ครอบครอง และก็ไม่ยอมถูกครอบครอง
    เพราะความรักนั้นพอเพียงแล้วสำหรับตอบความรัก

    จงรักกันและกัน แต่อย่าสร้างพันธะแห่งความรัก
    และขอให้ความรักนั้น เป็นเสมือนห้วงสมุทรอันเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างฝั่งแห่งวิญญาณของเธอทั้งสอง

    จงเติมถ้วยของกันและกัน แต่อย่าดื่มจากถ้วยเดียวกัน
    จงให้ขนมปังแก่กัน แต่อย่ากัดกินจากก้อนเดียวกัน

    จงร้องและเริงรำด้วยกันและจงมีความบันเทิง แต่ขอให้แต่ละคนได้มีโอกาสอยู่โดดเดี่ยว ดังเช่นสายพิณนั้น ต่างอยู่โดดเดี่ยว แต่ว่าสั่นสะเทือนด้วยทำนองคนตรีเดียวกัน

    จงมอบดวงใจ แต่มิใช่อีกฝ่ายหนึ่ง เพราะหัตถ์แห่งชีวิตอมตะเท่านั้น ที่จะรับดวงใจของเธอไว้ได้
    และจงยืนอยู่ด้วยกัน แต่ว่าอย่าใกล้กันนัก
    เพราะว่าเสาหินของวิหาร ก็ยืนอยู่ห่างกัน
    และต้นโพธิ์ ต้นไทร ก็ไม่อาจเติบโตใต้ร่มเงาของกันได้.

    ภาพโดยรวมของ The Prophet นี้ คือ การกู่เรียกความรักที่มนุษย์พึงมีต่อกัน อันจะขจัดความเห็นแก่ตัว ความโลภ ความโกรธ ความหลงทั้งหลายทั้งปวงลงได้ และคือการชี้บอกหนทางแห่งความสุข ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เข้าถึงความรักที่แท้จริง ปลดปล่อยตัวเองจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง และตระหนักถึงหนทางภายใน ที่จะนำพาตัวเองผ่านภววิสัยแบบมนุษย์ไปสู่ความเป็นพระเจ้าได้ ชีวิตจึงได้รู้แจ้ง และดำเนินไปตามหนทางที่ทอดตรงเข้าสู่สัจธรรมอันเที่ยงแท้

    ในตอนท้าย อัลมุสตาฟาย้ำกับชาวเมืองว่า
    “วันเวลาที่เราได้อยู่ท่ามกลางพวกเธอนั้นน้อย แต่คำกล่าวที่เราได้พูดต่อเธอนั้นยังน้อยกว่า
    แต่หากคำกล่าวของเราจางไปจากโสตของเธอ และความรักของเราสูญไปในความทรงจำของเธอ เราจะกลับมาอีก”


    เชื่อว่าการที่หนังสือเล่มนี้คงทนแก่กาล คือการเฝ้าเทียวกลับมาของอัลมุสตาฟา เพื่อเติมความรักและคอยนำทางให้แก่ผู้อ่านคนแล้วคนเล่านั่นเอง!!


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>Ref. http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9470000024125
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2006

แชร์หน้านี้

Loading...