ความรู้เรื่องวิปัสสนาและมหาสติปัฏฐานสูตร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 9 มิถุนายน 2008.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612

    สมถะ แปลว่า ความสงบ กาย วาจา ใจ วิปัสสนา แปลว่า การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง กรรมฐาน คือ การกระทำตั้งมั่นอยู่ สมถะวิปัสสนากรรมฐาน คือ การกระทำตั้งมั่นอยู่เพื่อเกิดความสงบทาง กาย วาจา ใจ เป็นการทำปัญญาให้เห็นแจ้ง
    ฌาน ญาณ อภิญญา
    ฌาน
    ฌาน คือ การหยั่งรู้หรือการเพ่งในองค์กรรมฐาน ฌานนั้นมี 4 รูปฌาน และ 4 อรูปฌาน รวมกันเราเรียกว่า สมาบัติ 8 และอุปสรรคขวางกั้นฌานคือ นิวรณ์ 5
    พระพุทธเจ้าสอนให้เราเริ่มจากทาน คือรู้จักการให้ เพื่อลดความตระหนี่ถี่เหนี่ยวหรือละความโลภก่อน แล้วจึงมาถึงศีลคือ การไม่เบียดเบียนกัน สมาธิคือการฝึกจิตตั้งมั่นในการบำเพ็ญเพียรภาวนาจนเกิดฌาน คือ การหยั่งรู้ แล้วจะเกิดฌาน คือ ปัญญานั่นเอง อย่างที่เราเรียกว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา
    ฌานนั่นมี 4 รูปฌาน และ 4 อรูปฌาน
    ฌานหนึ่งหรือปฐมฌาน มีองค์ประกอบ 5 อย่างคือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์
    วิตก : คือ ยังภาวนาพุทโธอยู่
    วิจาร : คือ การคิดว่าพุทหายใจเข้า โธหายใจออก
    ปิติ : มีอาการ 5 อย่างคือ ขนลุก น้ำตาไหล ตัวโยก ตัวลอย ตัวขยายใหญ่ขึ้น (อาจมีเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง)
    สุข : จิตที่อิ่มในอารมณ์
    เอกัคคตารมณ์ : จิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน
    ฌานสองหรือ ทุติยฌาน จะมีเพียงแค่ ปิติ สุข และเอกัคคตารมณ์
    ฌานสามหรือ ตติยฌาน จะมีเหลือเพียง สุข กับ เอกัคคตารมณ์
    ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน คนเราส่วนมากมักจะติดอยู่ในฌานสาม จะมีแต่สุขกับเอกัคคตารมณ์ หรือจิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เมื่อสุขแล้วก็ไม่อยากคิดอะไร จึงติดอยู่ในสุขไปไหนไม่ได้ ฌานหนึ่งถึงฌานสามเรียกว่าสมถะกรรมฐาน คือ ความสงบในกาย วาจา ใจ ถือเป็นสมถะกรรมฐาน เราต้องใช้วิปัสสนาด้วย วิปัสสนาคือ การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง เมื่อจิตสงบอยู่ในฌานสาม ให้รีบพิจารณา พิจารณาอะไร พิจารณาพระไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
    ลักษณะ 3 อย่าง คือถ้าเรานั่งสมาธิไปนานๆ มันจะเกิดความปวดเมื่อย ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เราเรียกว่า ทุกขัง คือ ภาวะที่ทนได้ยาก อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง เราจะนั่งอยู่อย่างนี้ทั้งวันทั้งคืน ทั้งเดือน คงจะไม่ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงจากนั่งเป็นยืน เดิน นอน การเปลี่ยนแปลงนี้เราเรียกว่า อนิจจัง ความไม่เที่ยง
    อนัตตา คือ กายนี้ไม่ใช่ของเรา ถ้าเป็นของเรา เราจะต้องไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่แก่ ไม่เฒ่า เพราะกายนี้ไม่ใช่ของเรา เป็นอนัตตา ตัวไม่ใช่ตนของเรา ความตายไม่มีใครหนีไปได้
    พระพุทธเจ้าทรงถามพระอานนท์ว่า อานนท์เธอคิดถึงความตายอย่างไร พระอานนท์ตอบว่า คิดถึงทุกวันเลยพระองค์ท่าน พระพุทธเจ้าก็ทรงเฉย พระอานนท์ก็ตอบอีกว่า คิดถึงวันละ 3 เวลาเลยพระองค์ท่าน พระพุทธเจ้าทรงส่ายพระพักตร์ ตรัสว่า เธอควรคิดถึงความตาย ทุกลมหายใจเข้าออก เพื่อความไม่ประมาท
    ในเมื่อเรารู้แล้วว่า เราหนีความตายไปไม่พ้น ตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง แล้วเราจะโลภ จะโกรธ จะหลงไปทำไม เมื่อจิตไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่อยาก ก็จะเข้าสู่อุเบกขา คือการวางเฉย ในฌานสี่ มีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างคือ อุเบกขา และเอกัคคตารมณ์
    ฌานห้าหรืออรูปฌานหนึ่ง เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ ฌานที่ไม่มีรูป สังขาร ร่างเหมือนอากาศที่ว่างเปล่า เมื่อได้ฌานสี่หรือจตุตฌาน เราสามารถถอดกายได้ วิธีการถอดกายอย่าถอดกายออกจากฐานกระหม่อมเบื้องบน เพราะถ้ากายทิพย์ลอยออกจากกระหม่อม เราก้มลงมาเห็นกายหยาบนั่งอยู่จะตกลงมาทันที ให้พยายามถอดกายออกจากด้านข้าง หรือทางด้านหน้า ถอดออกแล้วอย่าไปไหน ให้พยายามมองดูตัวเองที่นั่งสมาธิอยู่ มองดูกายหยาบจนเห็นชัด เห็นแล้วให้รีบพิจารณาอสุภกรรมฐาน มองดูตั้งแต่ เส้นผม หนังศีรษะ กะโหลก มันสมอง เส้นขน ผิว หนัง เนื้อ กระดูก ซี่โครง หัวใจ ตับไต ไส้พุง มองพิจารณาให้เห็นเป็นอสุภกรรมฐาน มองจนสลายกลายเป็นเถ้าถ่านไป เรียกว่า ฌานห้าหรืออรูปฌานหนึ่ง
    ฌานหกหรืออรูปฌานสอง เรียกว่า วิญญาณัญจายตนะ ให้พยายามมองดูที่ดวงจิตที่ใส เหมือนดวงแก้ว มองจนดวงจิตนั้นหายไปเรียกว่า วิญญานัญจายตนะ ไม่มีวิญญาณ
    ฌานเจ็ดหรืออรูปฌานสาม เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ ให้มองที่กาย มองดูที่จิตพร้อมกันทั้งสองอย่างมองจนกระทั่งหายไปทั้งกายและดวงจิต เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ ไม่มีกาย ไม่มีจิต
    ฌานแปดหรืออรูปฌานสี่ เรียกว่า เนวะสัญญานาสัญญายตนะ กายทิพย์นั้นจะกลับเข้าสู่ร่างเดิม แต่จะชาหมด ลมหายใจเหลือแผ่วๆ เบามากจนแทบไม่มีการหายใจ ไม่รับรู้อะไรทั้งหมด ชาไร้ความรู้สึกเหมือนท่อนไม้
    เมื่อเราได้ฌานแปดหรือสมาบัติแปด ญาณหรือปัญญาจะเกิด ญาณนั้นมี 7 อย่าง บางคนอาจจะไม่ได้ถึงฌานแปด อาจจะได้ฌานหนึ่ง สอง หรือสาม ก็สามารถเกิดญาณหรือปัญญาได้ หรือบางคนอาจจะไม่ได้ฝึกสมาธิเลยก็มีญาณเกิดขึ้นได้ ถือว่าเป็นฌานหรือตัวรู้ ที่ติดตัวมาแต่ชาติปางก่อน เช่น เราอาจจะเคยพบคนที่สามารถรู้อะไรว่าจะเกิดล่วงหน้า และก็เกิดตามที่คิดนึกรู้นั้น บางคนเรียกว่า ลางสังหร ความจริงแล้วเป็นญาณอย่างหนึ่ง เรียกว่า อนาคตตังญาณ คือปัญญาที่จะรู้เหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
    ญาณ
    ญาณ มี 7 อย่างคือ
    1. บุเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาที่สามารถระลึกชาติในอดีตของคนหรือสัตว์ได้
    2. จุตูปปาตญาณ ปัญญาที่รู้ว่าคนหรือสัตว์ก่อนจะมาเกิดเป็นอะไรมาก่อน เมื่อตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร
    3. เจโตปริยญาณ ปัญญาที่รู้ใจคน รู้อารมณ์ความคิดจิตใจของคนและสัตว์
    4. อตีตังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในอดีต เหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้ว ทั้งในอดีตชาติ ปัจจุบันชาติ ของคนและสัตว์
    5. ปัจจุปปันนังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในปัจจุบันว่าขณะนี้ใครทำอะไรอยู่ และมีสภาพอย่างไร
    6. อนาคตตังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในการต่อไปว่า คน สัตว์ สรรพวัตถุ เหล่านี้ต่อไปจะเป็นอย่างไร รู้ได้ตามภาพที่ปรากฏ ถ้าภาพที่ปรากฏไม่ชัดเจน ก็อธิษฐานถามก็จะรู้ชัดและไม่ผิด
    7. ยถากัมมุตญาณ ปัญญาที่รู้ผลกรรม คือ รู้ว่าคนเราที่ทุกข์หรือสุขทุกวันนี้ ทำกรรมอะไรมาในอดีตชาติ และปัจจุบันชาติจึงเป็นเช่นนี้ และจะแก้ไขได้หรือไม่ประการใด
    อภิญญา
    อภิญญา แปลว่า ความรู้อย่างยิ่งสูงกว่า ญาณมี 6 อย่าง
    เมื่อเราฝึกการใช้ฌาณทั้ง 7 จนคล่องแคล่วชำนาญดีแล้ว อภิญญาจะค่อยๆ เกิดตามมา อภิญญาทั้ง 6 ได่แก่
    1. อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่น อยู่ยงคงกระพัน ล่องหนหายตัว ย่นระยะทางได้ เหาะเหินเดินอากาศ ดำดิน เดินบนผิวน้ำ หรือเดินลงไปในน้ำได้
    2. ทิพยโสต มีหูทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกลหรือเสียงอมนุษย์ ได้ยินเสียงสัตว์ เสียงเทพ เสียงพรหม รู้เรื่อง
    3. จุตูปปาตญาณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์ แต่รู้หมดทุกภพทุกชาติ ถ้าฌาณธรรมดาจะรู้เพียง 4-5 ชาติ แต่อภิญญารู้หมดทุกภพทุกชาติ
    4. เจโตปริยญาณ รู้วาระจิต รู้ความคิดในใจของคนและสัตว์ได้
    5. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ของคนหรือสัตว์ได้ทุกภพทุกชาติ
    6. อาสวักขยญาณ ปัญญาที่ขจัดอาสวกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไป อภิญญาข้อนี้เองจะเป็นหนทางให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้
    ที่มา http://www.geocities.com/metharung/metha4.htm
     
  2. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    ความรู้เบื้องต้น ในการเจริญสติปัฏฐานหรือเจริญวิปัสสนานั้น สิ่งที่จำเป็นอันดับแรกคือ ศึกษาให้เข้าใจก่อนว่า การปฏิบัติวิปัสสนานั้นทำอย่างไรใช้อะไรเป็นอารมณ์ ฯลฯ
    ในการปฏิบัติวิปัสสนาที่ถูกต้องตามเหตุผลนั้นต้องใช้นามรูปเป็นอารมณ์ เพราะนามรูปเป็นของจริง มีจริง มีสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือ บังคับให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ บังคับให้เป็นไปตามความปรารถนาไม่ได้ มีความปรากฏให้เห็นชัด พิสูจน์ได้ตลอดเวลา เช่น ทางหู เสียงเป็นรูป ได้ยินเป็นนาม เมื่อเสียงเกิดขึ้น การได้ยินก็เกิด เมื่อเสียงดับ การได้ยินก็ดับ เสียงที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปนั่นแหละไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    ในทางทวารอื่น ๆ ก็มีรูปนามเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเช่นกัน ฉะนั้นรูปนามมีอยู่ทุกทวาร รูปนามมีอยู่พร้อมแล้วตามทวารต่างๆ คือ ทางตา หู จมูกลิ้น กาย และทางใจ ไม่จำเป็นต้องไปเที่ยวหาจากที่อื่นเลย มีพร้อมอยู่แล้วเมื่อเวลากำหนดทางทวารไหนก็มีรูปนามทางทวารนั้น ฯลฯ
    เหตุที่ต้องใช้รูปนามเป็นอารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนานั้น ก็เพื่อทำลาย
     
  3. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    กิเลส ๑,๕๐๐
    กิเลส คือธรรมชาติที่ทำให้จิตเศร้าหมองเร่าร้อน จิตใจเศร้าหมองเร่าร้อนด้วยธรรมชาติใด ธรรมชาตินั้นชื่อว่ากิเลส
    กิเลสมี ๑๐ อย่าง คือ :-
    ๑. โลภะกิเลส คือ ความยินดีพอใจในอารมณ์ ติดใจในอารมณ์
    ๒. โทสะกิเลส คือ ความไม่ยินดี ไม่พอใจในอารมณ์
    ๓. โมหะกิเลส คือ ความมัวเมาลุ่มหลง ไม่รู้ความเป็นจริงของอารมณ์
    ๔. มานะกิเลส คือ ความเย่อหยิ่ง ถือตน สำคัญตน เย้ยหยัน เหยียดหยาม ติเตียน ทนงตน ตีเสมอ โอ้อวด หัวดื้อ แข่งดี ลบหลู่คุณท่าน ฯลฯ
    ๕. ทิฏฐิกิเลส คือ ความเห็นผิดจากเหตุผลตามความเป็นจริง
    ๖. วิจิกิจฉากิเลส คือ ความสงสัย ลังเลใจในพระรัตนตรัย เป็นต้น
    ๗. ถีนะกิเลส คือ ความหดหู่ ท้อถอย จากความเพียรในกุศล
    ๘. อุทธัจจะกิเลส คือ ความฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ
    ๙. อหิริกะกิเลส คือ ความไม่ละอายต่อการกระทำบาปอกุศล
    ๑๐. อโนตตัปปะกิเลส คือความไม่เกรงกลัวต่อผลของบาปอกุศล
    การนับกิเลส ๑,๕๐๐ มีวิธีนับดังนี้
    ๑. ธรรมชาติที่เรียกว่ากิเลสนั้นมี ๑๐ ดังกล่าวข้างต้น
    ๒. อารมณ์ธรรม คือธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลส มี ๑๕๐ คือ จิต๑ เจตสิก ๕๒ นิปผันนะรูป ๑๘ และลักขณะรูป ๔ รูปมี ๒๘ รวมเป็นอารมณ์ ๗๕ประการ ซึ่งเป็นอารมณ์ภายใน ๗๕ อารมณ์ภายนอก ๗๕ รวมเป็น ๑๕๐
    ๓. เอาอารมณ์ธรรม ๑๕๐ คูณด้วยกิเลส ๑๐ จึงเป็นกิเลส ๑,๕๐๐
    ตัณหา ๑๐๘
    ตัณหา ๑๐๘ คือ ความอยากได้ ความปรารถนาที่ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ แล้วแสวงหาให้ได้มาตามต้องการ เมื่อไม่ได้ก็เป็นทุกข์ เมื่อได้มาแล้วก็ดิ้นรนอยากได้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก หรือเมื่อได้มาแล้วก็ต้องระวังรักษาเพราะกลัวจะสูญหายพลัดพราก เมื่อสูญหายพลัดพรากก็เป็นทุกข์อีก ตัณหาเกิดขึ้นกับใครก็จะเกิดทุกข์กับคนนั้นทันที
    ตัณหามี ๓ อย่าง ดังนี้ คือ
    ๑. กามตัณหา คือ ความยินดี ติดใจ หรือความต้องการในอารมณ์๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และความรู้สึกนึกคิด
    ๒. ภวตัณหา คือ ความชอบใจ ติดใจในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ คือ การได้เกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาก็พอใจ ชอบใจ ในการเป็นมนุษย์หรือเทวดา ถ้าเกิดเป็นรูปพรหม อรูปพรหม ก็ยินดีติดใจ พอใจในรูปภพ อรูปภพ หรือพึงพอใจในฌาน สมาบัติตั้งแต่ รูปฌาน ถึงอรูปฌานมีอารมณ์ที่ประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ โดยยึดถือว่าเกิดอย่างไรตายไปก็เป็นอย่างนั้น ไม่สูญหายไปไหน เช่น ตายจากมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์อีก เป็นต้น
    ๓. วิภวตัณหา คือ ความชอบใจ พอใจ ในอุจเฉททิฏฐิ คือ ชอบใจติดใจ ว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วสูญ บุญบาปแลผลบุญผลบาปไม่มี
    อารมณ์ของตัณหา มี ๖ ดังนี้คือ
    ๑. รูปตัณหา ได้แก่ ความอยากได้ในรูป
    ๒. สัททตัณหา ได้แก่ ความอยากได้ในเสียง
    ๓. คันธตัณหา ได้แก่ ความอยากได้ในกลิ่น
    ๔. รสตัณหา ได้แก่ ความอยากได้ในรส
    ๕. โผฏฐัพพตัณหา ได้แก่ ความอยากได้ในสัมผัสทางกาย
    ๖. ธัมมตัณหา ได้แก่ ความอยากได้ในอารมณ์ทางใจ
    การนับตัณหา ๑๐๘ มีวิธีนับดังนี้
    ๑. ตัณหามี ๓ คูณกับอารมณ์ของตัณหา ๖ เป็น ๑๘
    ๒. ตัณหา ๑๘ เกิดทั้งภายในได้ ๑๘ เกิดภายนอกได้ ๑๘ จึงเท่ากับมีตัณหา ๓๖
    ๓. ตัณหา ๓๖ เกิดได้ใน ๓ กาล คือ กาลในอดีต ๓๖ ปัจจุบัน๓๖ และอนาคต ๓๖ รวมตัณหาทั้งหมดมี ๑๐๘


    ที่มา http://thai.mindcyber.com/buddha/why2/1148.php
     
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    มีประโยชน์มากมายเลย ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...