เรื่องเด่น คนไทยคนแรก… รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ ยูเนสโก

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 20 ธันวาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    tnews_1484216748_88.jpg
    #วันนี้ในอดีต #ศาสตราจารย์พิเศษ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)


    สำหรับ ศาสตราจารย์พิเศษ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) คนไทยต่างนับถือบูชาเป็นอันมาก เพราะท่านเป็นพระนักวิชาการ นักคิด นักเขียนผลงานทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ มีผลงานทางวิชาการพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก

    0b884e0b899e0b981e0b8a3e0b881-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b887e0b8a7e0b8b1e0b8a5e0b881e0b8b2.jpg
    ที่สำคัญท่านได้รับการยกย่องจากทั้งในและต่างประเทศมมากมายด้วยผลงานของท่านทำให้ท่านได้รับรางวัลและดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบันทั้งในและนอกประเทศ

    แต่ที่ต้องกล่าวถึงเป็นการเฉพาะ เพราะวันนี้เมื่อ 25 ปีก่อน ตรงกับวันที่ 20 ธันวาคม 2537 ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)

    วันนี้มาย้อนดู ปวะวัติ ผลงาน ของท่านกัน

    ชาติภูมิ

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) เกิดวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2481 ปีขาล ณ บ้านใกล้ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ฝั่งตะวันออก บริเวณตลาดศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

    มีนามเดิมว่า ประยุทธ์ อารยางกูร เป็นบุตรคนที่ 5 จากบุตรเก้าคน ของ สำราญ และ ชุนกี อารยางกูร ทางครอบครัวประกอบกิจการค้าขายผ้าแพร ผ้าไหม ขายของชำ และโรงสีไฟ

    เมื่ออายุได้ 6 ขวบเข้าเรียนชั้นอนุบาลในโรงเรียนอนุบาลครูเฉลียวที่ตลาดศรีประจันต์ จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์

    จากนั้นบิดาได้พาเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนปทุมคงคา โดยพักอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ เด็กชายประยุทธ์เป็นเด็กเรียนเก่ง จึงได้รับทุนเรียนดีจากกระทรวงศึกษาธิการจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น และมีความใส่ใจในการเรียนมาก ช่วงเวลาปิดเทอมกลับมาอยู่ที่บ้าน ก็สามารถสอนภาษาอังกฤษแก่น้องๆ ได้

    บรรพชา

    เนื่องจากเป็นเด็กสุขภาพไม่ใคร่ดีตั้งแต่เล็กจนโต คำบอกเล่าของญาติพี่น้องและคนใกล้ชิดกล่าวว่าวัยเยาว์ของท่านจะป่วยเกือบทุกโรค เช่น หัวใจรั่ว ท้องเสีย ท้องอืด ต้องผ่าตัดถึงสองครั้ง หูเป็นน้ำหนวกอักเสบเข้าไปในกระดูกพรุนถึงโพรงศีรษะ แพ้อากาศ โรคปอด นิ่วในไต หลอดลมอักเสบ กล้ามเนื้อแขนอักเสบ ไวรัสเข้าตา สายเสียงอักเสบ เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองข้างซ้ายเล็กลีบ เป็นต้น

    884e0b899e0b981e0b8a3e0b881-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b887e0b8a7e0b8b1e0b8a5e0b881e0b8b2-1.jpg
    ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้ทางบ้านสนับสนุนให้ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ตั้งแต่ จบชั้นม.3 ท่านบวชเณร เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2494 ที่วัดบ้านกร่าง ตำบลศรีประจันต์ ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้าน โดยมีพระครูเมธีธรรมสาร เป็นอุปัชฌาย์ เมื่ออายุย่าง 13 ปี เริ่มเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดนั้น

    884e0b899e0b981e0b8a3e0b881-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b887e0b8a7e0b8b1e0b8a5e0b881e0b8b2-2.jpg
    ต่อมาปี 2495 ย้ายไปอยู่ที่วัดปราสาททอง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อ และได้เข้าฝึกวิปัสสนา เมื่อจบการฝึกแล้ว พระอาจารย์ผู้นำการปฏิบัติได้ชวนไปอยู่ประจำในสำนักวิปัสสนา แต่โยมบิดาไม่ยินยอม เพราะเห็นว่าสามเณรบุตรชาย ควรได้ศึกษาปริยัติธรรมขั้นสูงต่อไป

    884e0b899e0b981e0b8a3e0b881-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b887e0b8a7e0b8b1e0b8a5e0b881e0b8b2-3.jpg
    ปี2496 ย้ายมาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพ และเรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรรูปที่ 4 ในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้อุปสมบทในฐานะนาคหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2504 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้นามฉายาว่า ‘ปยุตฺโต’ แปลว่า ‘ผู้เพียรประกอบแล้ว’

    884e0b899e0b981e0b8a3e0b881-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b887e0b8a7e0b8b1e0b8a5e0b881e0b8b2-4.jpg
    เส้นทางผู้เพียร

    ปี 2494-2496 สอบได้ น.ธ. ตรี โท เอก จากนั้นปี 2498 สอบได้ ป.ธ.3-4 ขณะยังเป็นสามเณร

    ปี 2505 สำเร็จการศึกษาปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และปี 2506 สอบได้วิชาชุดครู พ.ม.

    หลังจากสำเร็จการศึกษาเป็นอาจารย์ในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นผู้ช่วยเลขาธิการและต่อมาเป็นรองเลขาธิการ จนถึงปี 2517 และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี 2515-2519

    884e0b899e0b981e0b8a3e0b881-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b887e0b8a7e0b8b1e0b8a5e0b881e0b8b2-5.jpg
    นอกจากสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยแล้ว ท่านได้รับนิมนต์ไปบรรยาย ณ University Museum แห่งมหาวิทยาลัย Pennsylvania ในปี 2515

    และที่ Swarthmore College สหรัฐอเมริกา ในปี 2519 ต่อมาได้รับนิมนต์ให้เป็น visiting scholar และได้รับแต่งตั้งเป็น research fellow ณ Divinity Faculty แห่งมหาวิทยาลัย Harvard

    884e0b899e0b981e0b8a3e0b881-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b887e0b8a7e0b8b1e0b8a5e0b881e0b8b2-6.jpg
    ท่านมีธรรมกถาที่เผยแพร่นับพันรายการ และมีผลงานหนังสือที่ใช้เป็นหลักอ้างอิงหลายร้อยเรื่อง เฉพาะอย่างยิ่งพุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม และพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สถาบันการศึกษาชั้นสูงเกือบ 20 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ ได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และตำแหน่งเชิดชูเกียรติต่างๆ มี ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์จาก นวนาลันทามหาวิหาร ประเทศอินเดีย และเมธาจารย์ (Most Eminent Scholar) จากมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก เป็นอาทิ

    884e0b899e0b981e0b8a3e0b881-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b887e0b8a7e0b8b1e0b8a5e0b881e0b8b2-7.jpg
    โดยเฉพาะที่น่าภาคภูมิใจคือ ท่านได้รับรางวัล “การศึกษาเพื่อสันติภาพ” จากยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. 2537 ซึ่งท่านได้มอบเงินรางวัลทั้งหมดให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดตั้งกองทุนการศึกษาพระธรรมปิฎกเพื่อสันติภาพ

    สมณศักดิ์

    พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระศรีวิสุทธิโมลี
    พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่พระราชวรมุนี
    พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระเทพเวที

    884e0b899e0b981e0b8a3e0b881-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b887e0b8a7e0b8b1e0b8a5e0b881e0b8b2-8.jpg
    พ.ศ. 2536 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปิฎก อดุลญาณนายก ปาพจนดิลกนิวิฐ ตรีปิฎก-บัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
    พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมคุณาภรณ์ สุนทรธรรมสาธก ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
    พ.ศ. 2559 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลกวรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาศนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฏ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี

    884e0b899e0b981e0b8a3e0b881-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b887e0b8a7e0b8b1e0b8a5e0b881e0b8b2-9.jpg
    ปัจจุบันสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

    ดูแลสำนักสงฆ์สายใจธรรม บนเทือกเขาสำโรงดงยาง ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ ประจำ มูลนิธิแผ่นดินธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/405617
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...