คนไข้ในใต้ร่มพระบารมี มูลนิธิโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 18 พฤศจิกายน 2016.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    คนไข้ในใต้ร่มพระบารมี มูลนิธิโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

    [​IMG]



    “สวัสดีค่ะ ผอ. สวัสดีครับอาจารย์ สวัสดีหมอ”
    ภาพชายในชุดเครื่องแบบทหารอากาศเต็มยศบนอกเสื้อซ้ายติดป้ายชื่อ “พลอากาศตรี สันติ ศรีเสริมโภค” พร้อมป้ายระบุตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ผู้เป็นเจ้าของสรรพนามข้างบน รับไหว้ตลอดทางจนแทบจะต้องเดินพนมมือเลยทีเดียว ความที่ตบเท้าเข้ารับใช้กองทัพอากาศตั้งแต่วันแรกที่เรียนจบแพทยศาสตร์ที่ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จนถึงวันนี้รับราชการมา 34 ปีแล้ว จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมพยาบาล นักศึกษาแพทย์ หรือแม้กระทั่งคุณลุงคุณป้าที่นั่งรอหมออยู่จึงกล้าเข้ามาทักอย่างเป็นกันเอง จนกระทั่งถึงห้องตรวจกุมารเวชกรรม เขาหันมาบอกว่า “ขอแวะแป๊บนะ” “ผมเป็นหมอสูติครับ พอเห็นเด็กก็อดเข้าไปสอบถามไม่ได้ ยิ่งตอนนี้เริ่มมีแรงงานต่างด้าวมาคลอดลูก ซึ่งเรารับหมด ส่วนมากคนไข้ที่นี่มาจากพื้นที่กรุงเทพฯตอนบน” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งโดยตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ด้วยเริ่มต้น “ผมรักอาชีพทหารมาก ถือเป็นเกียรติประวัติและความภูมิใจสูงสุดในชีวิตที่เริ่มงานที่นี่ เพราะโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ เป็นโรงพยาบาลเดียวในประเทศที่ได้รับพระราชทานพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นชื่อของโรงพยาบาล และตามหนังสือราชเลขาธิการ ที่ 0002.5/20883 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2558 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ มีพระรัศมี ภายในมีอุณาโลม เป็นเครื่องหมายประจำโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่พระองค์พระราชทานแก่บุคลากรของกองทัพอากาศและโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
    <IFRAME tabIndex=-1 id=inread_582f08199988c hideFocus style="HEIGHT: 1px; WIDTH: 1px; POSITION: absolute; LEFT: 0px; Z-INDEX: 0; DISPLAY: block; TOP: 0px; VISIBILITY: inherit" marginHeight=0 src="http://unitus.synergy-e.com/custom/inread/sf/src/html/r.html?ox_ver=8.5" frameBorder=no allowTransparency marginWidth=0 scrolling=no allowfullscreen=""></IFRAME>


    ดังนั้น แพทย์ พยาบาล และทีมงานเจ้าหน้าที่จึงปวารณาตัวทำงานเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในละแวกนี้และประชาชนที่มาจากกรุงเทพฯตอนบน ขณะที่ข้าราชการมีประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ เพราะเรามีเป็นนโยบายที่จะดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง เนื่องจากเรามีโครงการผลิตแพทย์ร่วมระหว่างกองทัพอากาศกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ เพราะฉะนั้นจึงต้องการคนไข้ที่หลากหลาย เพื่อที่นักศึกษาแพทย์และพยาบาลจะได้เรียนรู้โรคที่หลากหลาย
    “คนไข้ที่นี่มีตั้งแต่ใช้สิทธิกรมบัญชีกลาง สิทธิประกันสังคม และสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท) ซึ่งบางโรคค่าใช้จ่ายที่เบิกได้ไม่ครอบคลุมทั้งหมด เช่น คนไข้มะเร็ง ฯลฯ ยิ่งหากต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการผ่าตัด รายจ่ายจะสูงขึ้น ตรงนี้มูลนิธิจะเข้าไปช่วยเหลือ โดยมีหน่วยสังคมสงเคราะห์ลงไปดูปัญหา เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือ บางรายถูกส่งตัวมารักษาแล้วญาติไม่มารับ ปัญหาจึงอยู่ที่โรงพยาบาลว่าจะจัดการอย่างไร อาจประสานงานกับเอ็นจีโอต่างๆ เพื่อส่งคนไข้ให้ดูแลต่อ เพราะหากไม่มีการรักษาต่อเนื่องจะทำให้คนไข้รายอื่นเสียโอกาสในการรักษา หรือปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯเยอะ ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้จะไม่มีเงิน แม้เราให้ทำสัญญาผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาล แต่สุดท้ายก็หนี โรงพยาบาลขาดทุนปีละร้อยล้าน จึงต้องดึงเงินมูลนิธิบางส่วนมาช่วยสนับสนุน รวมทั้งผมที่ใช้สิทธิ์การเป็นผู้อำนวยการในการให้คนไข้กลับบ้านโดยไม่ต้องจ่ายเงิน (เพราะไม่มีเงินจ่าย) ในแต่ละปีมีจำนวนมาก “1 ปีที่ผมรับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล พร้อมกับเป็นประธานมูลนิธิได้ทำหน้าที่เป็นด่านหลังมากกว่า เพราะเมื่ออยู่ในตำแหน่งนี้แทบไม่มีเวลาเลย มีทั้งงานกองทัพและสอนนักศึกษาแพทย์ ส่วนตัวเป็นข้าราชบริพารถวายงานทางการแพทย์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยเป็นแพทย์ประจำพระราชฐาน 904 ตรวจรักษาข้าราชบริพารในวังของพระองค์ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ว่าจะยุ่งขนาดไหนจะไม่เคยขาดหายคือ ทุกเช้าที่มาทำงานต้องเดินเยี่ยมคนไข้ ยิ่งที่นี่เป็นศูนย์โรคหัวใจ สามารถขยายหลอดเลือดได้ภายใน 1 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นผู้สูงอายุเยอะมาก เรายังเป็นศูนย์มะเร็งครบวงจรตั้งแต่ให้เคมีบำบัด ฉายรังสี โดยเฉพาะกลุ่มคนไข้โรคไตที่มีเยอะขึ้นเรื่อยๆ เครื่องล้างไตมีมาเพิ่มกี่เครื่องก็เต็ม เท่าที่ผมเห็นส่วนมากมากัน 2 คนตายาย ยายนั่งรถเข็น ตาเข็นบ้าง บางคู่ก็ตานั่งรถเข็น ยายเข็นงกๆ เงิ่นๆ ผมก็จะเข้าไปดูแลอำนวยความสะดวก หรืออย่างห้องตรวจกุมารเวชกรรมจะมีเด็กเล็กที่พ่อแม่อุ้มมานั่งรอ นอกนั้นเป็นคนไข้มะเร็ง ซึ่งโรงพยาบาลได้ตั้งศูนย์มะเร็งครบวงจรตั้งแต่ให้เคมีบำบัด ฉายรังสี โดยเฉพาะกลุ่มคนไข้โรคไตที่มีเยอะขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนใช้ยาปฏิชีวนะมากขึ้น ไตจึงเสื่อมง่าย เครื่องล้างไตของที่นี่มีมาเพิ่มกี่เครื่องก็เต็ม คนไข้จำผมได้นะ เพราะมีรูปผมติดอยู่ทุกแห่งในโรงพยาบาล (หัวเราะ) มีทั้งร้องเรียนบ้าง ขอความช่วยเหลือบ้าง เราช่วยดำเนินการอย่างเต็มที่ หากผมไม่อยู่ก็จะฝากฝังลูกน้องให้ดูแลคนไข้อย่างดี

    “ต้องยอมรับเลยว่า 34 ปีของการเป็นหมอประจำกองทัพอากาศผ่านคนไข้มาเยอะ ทุกรูปแบบจนจิตใจไม่หวั่นไหว ยกเว้นกรณีที่ชีวิตนี้คงคุ้นเคยได้ยากคือ ตอนที่คนไทยเกิดการปะทะกันทางการเมือง มีผู้บาดเจ็บถูกส่งเข้ามารักษาตัวแล้วมาทะเลาะกันในโรงพยาบาลผมรับไม่ได้ เพราะชื่อโรงพยาบาลก็บ่งบอกแล้วว่าหากใครเข้ามาในพื้นที่แห่งนี้ล้วนเป็นพสกนิกรของพระองค์ท่าน จึงควรรักกัน “ในฐานะที่พวกเราเป็นบุคลากรทางการแพทย์ก็พร้อมทำหน้าที่อย่างดีที่สุด”


    มูลนิธิโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชตั้งขึ้นเมื่อปี 2555 เพื่อดูแลคนไข้ยากไร้ ซื้อเครื่องมือแพทย์ ส่งเสริมการศึกษาแพทย์และพยาบาลทั้งในและต่างประเทศ รายได้จากมูลนิธิส่วนใหญ่มาจากการบริจาคทั้งในรูปขององค์กรและคนไข้ที่รักษาหายแล้ว ซึ่งสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ นอกจากนั้นยังมีห้องประกอบพิธีสงฆ์จากจุดประสงค์เริ่มต้นที่ผู้อำนวยการอยากให้คนไข้ในโรงพยาบาลและญาติคนไข้ได้ทำบุญเพื่อยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เพื่อเป็นรายได้ให้มูลนิธิ เปิดรับจัดพิธีในโอกาสพิเศษ 10 เปอร์เซ็นต์หักเข้ามูลนิธิ แล้วยังได้จัดงานในราคาพิเศษ โดยเริ่มต้นที่ 12,000 บาท ร่วมบริจาคมูลนิธิโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชที่ ธนาคารทหารไทยสาขาโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 049-2-92670-4 โทรศัพท์ 0-2534-7555


    ที่มา : นิตยสารแพรว ฉบับ 882 (แพรวแชริตี้)



    --------------
    ที่มา
    praew.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...