ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมสำหรับมือใหม่

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย titapoonyo, 20 สิงหาคม 2010.

  1. titapoonyo

    titapoonyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +12,769
    ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมสำหรับมือใหม่

    [​IMG]
    สำหรับท่านที่สนใจการปฏิบัติธรรม อาจมีความสงสัยว่าควรจะเริ่มต้นปฏิบัติธรรมอย่างไรดี จริงๆ คำตอบที่ตรงใจคนทุกคน ผมคิดว่าคงไม่มีหรอกครับ เพราะทุกคนต่างก็มีจริตที่ไม่เหมือนกัน แม้การปฏิบัติธรรมเพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ นิพพานเอง ก็มีถึง 4 รูปแบบ หรือ ที่เรียกกันว่า อัชฌาสัย 4 อันประกอบไปด้วย

    • 1.สุกขวิปัสสโก(ส่วนใหญ่ท่านจะสอนวิชชานี้กันเพราะว่าเป็นทางตรงที่สุดสำหรับมรรคผลนิพพาน ยกตัวอย่างก็คือที่เราฝึกภาวนา “พุทโธ” กันนั่นเองครับ)
    • 2.เตวิชโช (ตัวอย่างพระอรหันต์ที่ท่านสอนวิชชานี้คือ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ)
    • 3.ฉฬภิญโญ(ตัวอย่าง พระอรหันต์ที่ท่านสอนวิชชานี้คือ หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง แต่จริงๆ หลวงพ่อสอนทุกแนวตั้งแต่สุกขวิปัสสโกจนถึงปฏิสัมภิทัปปัตโต)
    • 4.ปฏิสัมภิทัปปัตโต (ตัวอย่างพระอรหันต์ที่ท่านเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ คือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อฤาษีฯ หลวงพ่อเกษม เขมโก หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่บุดดา ถาวโร หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ฯลฯ…อันนี้ฟังเขาว่ามาอีกที โปรดใช้วิจารณญาณในการชม)
    มือใหม่ก็ลองดูนะครับ ว่าตัวเองชอบแนวไหนเลือกได้ตามจริตเลยครับ สำหรับการฝึกกรรมฐานนั้น พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ถึง 40 วิธีหรือ 40 กอง (อ่านการฝึกกรรมฐาน 40 กอง) แต่เราไม่จำเป็นต้องฝึกทุกกองนะครับ แค่กองเดียวแต่ขอให้คล่องท่านก็ว่าสามารถบรรลุอรหันต์ได้แล้ว

    หัวใจสำคัญของการปฏิบัติธรรม ให้ยึดหลัก ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นคือ การปฏิบัติอย่างแรกเลย ต้องมีศีลบริสุทธิ์ (ศีลจะบริสุทธิ์ต้องมี พรหมวิหาร 4 และ กรรมบท 10) ศึลเปรียบเสมือนฐานของการปฏิบัติ หากศีลบริสุทธิ์นั่นคือ ฐานมั่นคง สมาธิก็เกิดง่าย เมื่อจิตที่มีสมาธิย่อมพิจารณาวิปัสสนาได้ง่าย จนเกิดปัญญารู้แจ้ง ละกิเลสได้ในที่สุด

    สำหรับการทำสมาธิเบื้องต้นนั้น หลวงพ่อท่านสอนว่า อาณาปานุสติกรรมฐานเป็นพื้นฐานที่สำคัญของกรรมฐานทุกกอง
    ดังคำสอนบางตอนของหลวงพ่อฤาษี ที่ผมขอหยิบยกมาเล่าสู่ญาติธรรมและเพื่อเป็นการเตือนตัวผมเองในการปฏิบัติด้วยครับ….
    “…ในมหาสติปัฎฐานสูตรอันดับแรกที่องค์พระพุทธเจ้าทรงหยิบเอาอานาปานุสตติกรรมฐานขึ้นมาก่อน ถ้าไม่ดีแล้วก็คงไม่ยกนำมาเป็นอันดับแรกก่อนกรรมฐานกองอื่น
    สำหรับ อานาปานุสสติกรรมฐาน หมายถึง การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่ ให้เอาใจกำหนดจับอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นปกติจิตไม่มีเวลาว่างจากการกำหนด รู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ไม่มีอารมณ์เลวเกิดขึ้นไม่มีอกุศลใด ๆ แทรกเข้ามาได้ ขณะใดที่ใจยังตื่นอยู่แม้ตาจะหลับให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเสมอ เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้าเวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก (ดัง นั้นหากใครจะบอกว่างานยุ่ง คงไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม คงอ้างไม่ได้นะครับ เพราะท่านให้ทำตลอดไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็ตามตราบเท่าที่ยังตื่นอยู่)

    ในด้านของ สติปัฏฐานสี่ แม้เวลาพูดคุยกันจิตใจก็กำหนดลมหายใจเข้าออกไปด้วย แม้ใหม่ ๆ อาจจะลืมบ้างแต่ต้องตั้งใจไว้ทรงสติไว้ว่าเราจะหายใจเข้าหายใจออก หายใจเข้ายาวหรือสั้นหายใจออกยาวก็รู้อยู่ แม้พระอรหันต์ก็ไม่ทิ้งลมหายใจ แม้พระพุทธเจ้าก็ตรัสแก่พระสารีบุตรว่า “สารีบุตรดูก่อนสารีบุตรเราเองก็เป็นผู้มากไปด้วยอานาปานุสสติกรรมฐาน”คำ ว่า “มาก”ก็หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นปกติทั้งนี้เพราะ อานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานระงับกายสังขารคือเป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดของจิตใจ และเป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดทางร่างกายมีทุกขเวทนา เป็นต้น เราทรงอานาปานุสสติกรรมฐานได้ ก็เหมือนกับคนฉีดมอร์ฟีนเป็นยาระงับ ระงับเวทนา อานาปานุสติกรรมฐานจงทำให้มาก จงอย่าละ ถ้าใครแสดงอาการเลวแสดงว่าคนนั้นทิ้งกำหนดลมหายใจเข้าออก

    ถ้าการกำหนดลมหายใจเข้าออกว่างเกินไป ก็ใช้คำภาวนาควบเวลาหายใจเข้านึกว่า “พุท” เวลาหายใจออกนึกว่า “โธ“พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไว้เป็นปกติ ทำให้เกิดฌานสมาบัติ ตั้งใจไว้เสมอไม่ว่านั่ง นอน กิน เดิน คุย อย่าง เลวที่สุดระยะต้นภายใน ๑ เดือนจะทรงฌาน ๔ การปฏิบัติก็จะเป็นผลโดยไม่ยุ่งกับอำนาจของความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลงผู้ทรงฌานจะไม่มองดูความดีและความเลวของคนอื่น ไม่ติใครจะมีความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีคุณ

    ขอจงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกควบคู่กับการภาวนา “พุทโธ
    จะใช้กรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ตามจงใช้กรรมฐานกองนั้นให้ถึงอรหัตตผลขอเพียง ให้มีกำลังใจเข้มแข็ง กำลังใจดูตัวอย่างขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “เลือดและเนื้อของเราจะเหือดแห้งก็ตามทีชีวิตอินทรีย์ของเราจะสลายไปก็ตาม ถ้าไม่สำเร็จพระสัมโพธิญาณเพียงใดเราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้


    ในการปฏิบัติในตอนแรกเราอาจจะรู้สึกว่ายาก คำว่า “ยาก”เพราะว่ากำลังใจของเรายังไม่เข้มแข็ง เพราะใจของเราหยาบมาก่อน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แนะนำให้ใช้อานาปานุสสติกรรมฐาน เพื่อดับอารมณ์ฟุ้งซ่านของจิต ต่อไปจะเจริญสมถะกองไหนก็ตาม หรือ วิปัสสนากองใดก็ตามจะเว้นอานาปานุสสติกรรมฐานไม่ได้

    อันดับแรกของให้ทำ อานาปานุสสติกรรมฐานถึงฌาน ๔ ความกลุ้มจะเกิดนิดหน่อยเพราะใหม่ ๆ จะทำให้ใจทรงอยู่ ก็คงจะคิดไปโน่นไปนี่ก็อย่าเพิ่งตกใจว่าเราจะไม่ดี ถ้าบังเอิญเราทำกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกควบพุทธานุสสติกรรมฐาน ไปได้สัก 1-2 นาที จิตนี้เกิดอารมณ์พล่านแล้วต่อมามีความรู้สึกตัว ว่า “โอหนอ นี่ใจเราออกไปแล้วหรือ”เรา ก็ดึงอารมณ์เข้ามาที่อานาปานุสสติกรรมฐานควบคู่กับพุทธานุสสติกรรมฐานใหม่ การทำอย่างนี้จงอย่าทำเฉพาะเวลา พยายามใช้เวลาตลอดวันไม่ว่าจะทำอะไรที่ไหน อย่างไรใช้เวลาเป็นปกติ เวลาพูดรู้ลมหายใจเข้าออกได้หรือไม่เวลาทำงานก็รู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย ลืมบ้างไม่ลืมบ้าง ขอให้มีความตั้งใจของจิตควรจะตั้งเวลาทรงฌานไว้ด้วยเพื่อประโยชน์ในขณะที่ จิตของท่านเข้าถึงฌานด้วยอำนาจของพุทธานุสสติกรรมฐานหรือด้วยอำนาจของอานาปา นุสสติกรรมฐาน
    เวลาที่พอจะภาวนาได้ หายใจเข้านึกว่า “พุท” หายใจออกนึกว่า “โธ” ถ้าพูดไม่ได้ก็ใช้แต่อานาปานุสสติกรรมฐาน งานก็จะไม่เสียเพราะอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ที่ละเอียด ขณะที่จะคิดงานก็วางอานาฯ ครู่หนึ่งใช้การคิดพิจารณา แต่ความจริงคนที่คล่องแล้วเค้าไม่ทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐานเพราะขณะที่ใช้ นั้นใช้ต่ำ ๆ แค่อุปจารสมาธิ ตอนนั้นอารมณ์เป็นทิพย์เมื่ออารมณ์จิตเป็นทิพย์ปัญญาก็เกิด เมื่อปัญญาเกิด งานที่ทำก็ไม่มีอะไรยาก..”

    [​IMG]

    ดังที่กล่าวข้างต้น คือ หลักการทำสมถกรรมฐานเบื้องต้น แต่คำว่าการปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ใช่ฝึกกรรมฐานอย่างเดียว สิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติควบคู่กันไปด้วย จะขาดไม่ได้คือ
    - การให้ทานเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อลดความตระหนี่ในใจเรา ลดกิเลสคือ โลภะ ความโลภ การให้ทานนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เงิน ทานที่สูงสุดคือ ธรรมทาน และในบรรดาธรรมทานทั้งหลาย อภัยทาน คือทานสูงสุด(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
    - ทำบุญสร้างบารมีตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 และหมั่นทบทวนบารมี 10 ทุกวันว่าเราพร่องข้อใดบ้าง
    - รักษาศีลให้ครบถ้วน อย่างน้อยคือ ศีล 5 วันพระถือศีลอุโบสถด้วยจะดีมาก สำหรับผู้ที่มีอาชีพที่ต้องเบียดเบียนสัตว์ ถ้าเลี่ยงไม่ได้ วันธรรมดาก่อนนอนให้สมาทานศีลทุกวัน (อย่างน้อยช่วงที่นอนก็รักษาศีลได้ครบ) และอย่างน้อยวันพระ ต้องถือศีลให้ได้ครบถ้วน การถือศีลนี้ต้องทำควบกับ พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา และทรง กรรมบท 10 ด้วย เพื่อให้ศีลบริสุทธิ์โดยอัตโนมัติ


    ในเรื่องการเจริญ เมตตาพรหมวิหาร นี้สำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นตัวแก้ ผลข้างเคียง ของการทำสมถกรรมฐาน เพราะการฝึกสมถกรรมฐาน เมื่อถึงจุดหนึ่ง จิตจะต้องการความสงบมาก และจะเริ่มรำคาญสิ่งแวดล้อม เช่น หาว่าคนรอบข้างเสียงดัง รู้สึกคนรอบข้างวุ่นวาย (ทั้งที่จริงเขาก็เป็นอย่างนี้มาก่อนแล้ว) และจะเกิดอารมณ์หงุดหงิดขึ้น ผมเองก็เคยเป็น และมีเพื่อนคนหนึ่งเขาก็เป็น คือ นั่งสมาธิแล้ว เขากลายเป็นคนหงุดหงิดง่าย ทำให้เขาพาลเลิกฝึกสมาธิไปช่วงหนึ่ง แต่หลังๆ มานี่คุยกันปรากฎว่า ตอนนี้เขาฝึกสมาธิถึงขั้นได้ ฌาน 4 แล้ว ปลื้มใจแทนเพื่อนจริงๆ ครับ..


    การเจริญเมตตาพรหมวิหารก็จะมาแก้ผลข้างเคียงตัวนี้ได้ และอีกอย่างการเจริญเมตตา จะโดยการให้อภัยทานก็ตาม ได้กุศลมาก เพราะถือเป็นการให้มหาทาน และเป็นการเจริญธรรม คือ เป็นการลดกิเลสร้ายตัวที่สองคือ โทสะ นั่นเอง…(ส่วนการกำจัดกิเลสตัวที่สามซึ่งร้ายกาจที่สุด คือ โมหะ ความหลง โดยเฉพาะโมหะตัวแม่คือ อวิชชา นั้น ต้องใช้สติใน การกำจัดครับซึ่งก็คือ การเจริญกรรมฐานนั่นเอง ทั้งสมถะและวิปัสสนา จะรู้ได้อย่างไรว่าิจิตเรามีโมหะอยู่…ดูกันง่ายๆ ครับว่า จิตเรามีโมหะหรือไม่ ก็คือ เมื่อใดก็ตามที่เราขาดสติ(จิตไม่ได้เกาะอยู่กับสติปัฏฐาน 4) นั่นคือ โมหะ กำลังครอบงำเราอยู่)



    - ต่อไปคือ การเจริญธรรม หรือ การเจริญวิปัสสนาภาวนา
    สำหรับ การเจริญวิปัสสนาภาวนา ผมเองก็คงแนะนำมือใหม่ลำบาก เพราะผมก็มือใหม่ 55 แต่เท่าที่เคยศึกษามาและนำมาทดลองปฏิบัติอยู่ ณ ขณะนี้ หลักๆ ก็คือ การพิจารณาทุกอย่างให้เป็นไปตามหลัก ไตรลักษณ์ คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะ ขันธ์ 5 ที่เข้าใจกันว่าเป็นของเราและของคนอื่นสิ่งอื่น มีสภาพเป็น อนิจจัง(ไม่เที่ยง) ทุกขัง(มีสภาพเป็นทุกข์) และเป็น อนัตตา(ไม่ใช่ตน) โดยพิจารณา ขันธ์ 5 ว่า “ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา” พิจารณาให้เห็นถึงความสกปรกของร่างกาย ส่วนหัวข้อธรรมอื่นๆ ที่ต้องพิจารณา ผมได้รวบรวมเอาไว้ในหัวข้อ ธรรมะที่เป็นใบไม้หนึ่งกำมือ ซึ่งรวมถึง การทรงอารมณ์พระโสดาบัน อันเป็นก้าวแรกสู่การเป็นอริยบุึคคลครับ…>>รายละเอียดอ่านต่อที่นี่
    สำหรับ ท่านที่มีจริตชอบแนวหลวงพ่อฤาษีเหมือนผมนะครับ อ.ชนะ ซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อ และเป็นอาจารย์สอนมโนมยิทธิ ท่านได้เมตตาสรุปแนวปฏิบัติสู่พระนิพพานแบบลัดสั้นและตรงที่สุดไว้ที่กระทู้ นี้้ครับ
    >>>การเข้าพระนิพพานที่ง่ายและลัดตรงที่สุด<<<


    **********@The End@*************

    [​IMG]


    บทสรุป ตามความเข้าใจในการปฏิบัติธรรมของผม


    สิ่งเตือนใจสำหรับนักปฏิบัติมือใหม่(รวมทั้งผมด้วย) อย่าลืมนะครับว่า การ ปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ใช่การหาเวลาว่างๆ มานั่งสมาธิ ไม่ใช่การที่ต้องปลีกวิเวก หรือ ไปวัดใส่ชุดขาว รักษาศีล 8 ที่วัดเท่านั้นนะครับ ขึ้นชื่อว่าการปฏิบัติธรรม ต้องทำอยู่ทุกขณะจิต ต้องทำอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก คือ ต้องมีสติรู้กาย (ว่าเราหายใจเข้าหรือหายใจออก รู้ว่าเรายืน เดิน นั่ง นอนอยู่) ต้องมีสติรู้เวทนา (รู้ว่าเราทุกข์ สุข หรือ เฉยๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข) ต้องมีสติรู้จิต (รู้ว่าจิตมี ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ อุปกิเลส 16) และต้องมีสติรู้ธรรม(รู้ ว่านี่คือ นิวรณ์ 5 และตัดมันออกจากจิต รู้ว่าขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย(ขันธ์ 5) กาย(ขันธ์ 5) ไม่มีในเรา และพิจารณาเจริญธรรมข้อต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ฯลฯ)
    แล้วก็มือใหม่อย่าลืมรักษาอารมณ์พระโสดาบันนะครับ คือ
    1. ละสักกายทิฏฐิ คิดว่าเราจะต้องตาย อาจจะเป็นตอนนี้ วันนี้ คือ มี มรณานุสติ ตลอดเวลา และพยายามตามพิจารณาว่า กาย(ขันธ์5) มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ยิ่งละขันธ์ 5 ได้ละเอียดเท่าใด เราก็ยิ่งเข้าใกล้พระนิพพานมากขึ้นเท่านั้น
    เรื่องการละสักกายทิฏฐินี้ หลวงพ่อท่านสอนว่า สำหรับพระโสดาบันนี่ง่าย แค่คิดว่าตัวจะต้องตายก็ใช้ได้แล้ว อย่างพระอานนท์นี่ พระพุทธองค์ตรัสถามว่า พระอานนท์คิดถึงความตายบ่อยแค่ไหน ท่านตอบว่า วันละ 7 ครั้ง (ตอนที่ตอบนั้นท่านเป็นพระโสดาบัน) พระพุทธองค์จึงเมตตาบอกว่า ตถาคตนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก (คนเราแค่หายใจเข้า ไม่หายใจออก ก็ตายแล้ว) จริงๆ พระโสดาบันยังไม่คิดได้ถึงขั้นว่า “กายไม่มีในเรา เราไม่มีในกาย” อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์


    ในพระสูตร ในพระไตรปิฎก ได้กล่าวถึง การละขันธ์ 5 ตัวเีดียว สามารถถึงนิพพานได้เลย เรื่องมีอยู่ว่า สมัยหนึ่งบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายที่บวชใหม่ เข้าไปกราบทูลลาองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งใจจะไปเจริญพระกรรมฐานในป่า หวังให้บรรลุมรรคผล ตอนนั้นองค์สมเด็จพระทศพลจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสถามว่า “ภิกขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไปลาพระสารีบุตรแล้วหรือยัง” บรรดาพระทั้งหลายเหล่านั้นจึงกราบทูลว่ายังพระพุทธเจ้าข้า พระพุทธจ้าจึงทรงมีพระบัญชาว่า อย่างนั้นก่อนที่เธอจะไปเธอจงไปลาพระสารีบุตรเสียก่อน พระเหล่านั้นก็รับคำแล้วก็ลาพระพุทธเจ้าออกไปจากพระมหาวิหารเข้าไปหาพระสารีบุตร พอเข้าไปถึงพระสารีบุตร พระสารีบุตรให้โอวาทอื่นพอสมควร แล้วพระทั้งหลายเหล่านั้นจึงได้ถามพระสารีบุตรว่า
    พวกกระผมเป็นปุถุชน ถ้าจะปฏิบัติตนให้เป็นพระโสดาบันจะ ทำยังไงขอรับ พระสารีบุตรก็บอกว่า ถ้าพวกเขาทั้งหลายปรารถนาเป็นพระโสดาบัน ก็จงพิจารณาขันธ์ 5 ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา ปลงให้ตกจนกว่าจะเลิกสังโยชน์ 3 ได้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เมื่อปลงขันธ์ 5 อย่างเดียวสังโยชน์ 3 มันจะขาดไปเอง เมื่อสังโยชน์ 3 ขาดลงไปแล้ว พวกเธอก็จะได้เป็นพระโสดาบัน
    พระพวกนั้นก็เลยถามต่อไปว่า เมื่อผมเป็นพระโสดาบันแล้วจะเป็นพระสกิทาคามี จะทำยังไง ท่านก็บอกว่า พิจารณาขันธ์ 5 ตามแบบนั้นแหละ พิจารณาละเอียดลงไป ก็จะเป็นพระสกิทาคามีเอง
    พระพวกนั้นก็ถามต่อไปว่า เมื่อพวกกระผมเป็นพระสกิทาคามีแล้ว จะเป็นพระอนาคามี จะทำยังไง ท่านก็บอกว่า ปลงขันธ์ 5 นั่นเอง ทำอย่างว่านั้นแหละ แล้วกามฉันทะกับปฏิฆะ คือการกระทบกระทั่งจิต การโกรธ ความพยาบาท มันก็จะสิ้นไปเอง ก็จะเป็นพระอนาคามี
    ท่านพวกนั้นก็ถามต่อไปว่า ถ้าผมเป็นพระอนาคามีแล้ว ผมจะเป็นอรหันต์ จะต้องทำอย่างไร ท่านบอกว่าพิจารณาขันธ์ 5 ตามที่บอกมานั่นแหละก็เป็นพระอรหันต์ไปเอง สังโยชน์ 10 ก็ จะขาดไป
    พระ พวกนั้นก็จะถามว่า เมื่อเป็นพระอรหันต์ ละสังโยชน์ 10 ได้แล้วการพิจารณาขันธ์ 5 ไม่ต้องทำต่อไปใช่ไหมขอรับ พระสารีบุตรตอบว่าไม่ใช่ พระอรหันต์นี่แหละทำหนัก ยิ่งพิจารณาหนักเพื่อความอยู่เป็นสุข
    ขันธ์ 5 ตัวเดียวเท่านั้นแหละ เป็นเหตุละกิเลสได้ทุกตัว ในขันธวรรคแห่งพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าบอกว่า ธรรมะส่วนหนึ่ง หรือธรรมะอย่างหนึ่ง กองหนึ่ง สามารถทำลายกิเลสได้ทั้งหมด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)




    2. ละวิจิกิจฉา ละความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ไม่สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ไม่สงสัยในความดีของพระธรรมคำสั่งสอน ไม่สงสัยในความดีของพระอริยสงฆ์ การที่เราสงสัยว่า พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ เมื่อสงสัยเข้าก็ไม่เชื่อ ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้ ต้องลงอบายภูมิ เพราะฉะนั้นจงอย่ามีในใจ ใช้ปัญญาพิจารณานิดเดียว ก็จะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าพูดถูก พูดจริง ยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระองค์
    ที่พึ่งหนึ่งเดียวของเราคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี เราขอยอมมอบกายถวายชีวิตแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


    3. ละสีลัพพตปรามาส คือ การลูบคลำศีล ไม่นับถือศีลพรตนอกพระศาสนา มีศีลบริสุทธิ์ เป็น อธิศีล คือ ยอมตายดีกว่าผิดศีล สำหรับฆราวาสอย่างเราๆ ก็เอาศีล 5 ให้ครบนะครับ เสริมความบริสุทธิ์ของศีลด้วย พรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา) และ กรรมบท 10 สุดท้ายจะไม่ยอมผิดศีลด้วยตัวเอง ไม่ส่งเสริมให้ผู้อื่นผิดศีล และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นผิดศีล


    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2010
  2. titapoonyo

    titapoonyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +12,769
    Tips & Tricks การปฏิบัติ

    หลายท่านคงเคยได้ยินเรื่องราวสมัยพุทธกาลซึ่งท่านบรรลุธรรมกันง่ายมาก คือ พอได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ ก็เป็นพระอรหันต์หรือ พระโสดาบัน ก็มากมาย เรื่องนี้หลวงตามหาบัวเคยเทศน์สอนเรื่องนี้ว่า แม้ปัจจุบันก็ยังสามารถทำได้ เพราะเมื่อขณะที่เราฟังธรรม จิตจะว่างจากกิเลส ฟังมากๆ สามารถบรรลุธรรมได้เลย ท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงปู่มั่นนั้น เป็นนักเทศน์ที่เทศน์ได้อัศจรรย์ ฟังท่านเทศน์แล้วจิตรวมเป็นสมาธิดีมาก หลวงตามหาบัวเอง ท่านก็เอาอย่างหลวงปู่มั่น ใครมีโอกาสลองหาเทปท่านมาฟังแล้วน้อมจิตตามดูนะครับ..ท่านอาจพบความอัศจรรย์ได้


    หลวงพ่อฤาษีเองก็แนะนำให้เราฟังธรรมะมากๆ เพราะเป็นการกำจัดกิเลสได้ ฟังไปเรื่อย ๆ กิเลสจะลดลงเรื่อยๆ (เหมือนเป็นการทำใจให้ว่างจากกิเลสค่อยๆ สะสมไปเรื่อยๆ จนจิตมันชินกับการไม่มีกิเลส ทีนี้พอกิเลสเข้ามาแทรกเราก็เห็นมันชัด)


    ป.ล. การฟังธรรมก็เป็นการทำบุญอย่างหนึ่งตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 นะครับ ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างคือ ค้างคาว 500 ตัว ฟังพระสวดแล้วรู้สึกยินดีว่าเสียงเพราะดี พากันเคลิ้มตกลงมาตาย กลายเป็นเทวดา ทั้งที่ฟังไม่รู้เรื่อง ต่อมาเมื่อฟังธรรมจากพระสารีบุตรก็ได้โสดาบันทั้งหมด
    อีกตัวอย่างคือ กบ ได้ยินเสียงพระพุทธองค์เทศน์แล้วรู้สึกพอใจ อยากฟังใกล้ๆ จึงกระโดดมาซ่อนอยู่ใต้แผ่นไม้ใกล้ที่ประทับ ปรากฏว่า ถูกคนเหยียบตาย กลายเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์…ฟังธรรมกันเยอะๆ นะครับ
     
  3. titapoonyo

    titapoonyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +12,769
    การเจริญพระกรรมฐาน โดยหลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    [​IMG]
    สืบเนื่องมาจากเมื่อวันพระที่แล้ว ผมได้มีโอกาสไปทำวัตรเย็นที่วัดป่านาคนิมิต หรือ วัดป่าบ้านนามน (วัดที่หลวงปู่มั่นสร้างและเคยจำพรรษา รวมทั้งครูบาอาจารย์หลายท่านก็เคยมาอยู่เรียนกรรมฐานเช่น หลวงตามหาบัว หลวงพ่อวิริยังค์ ฯลฯ ซึ่งที่วัดนี้เองที่หลวงพ่อวิริยังค์ท่านได้บันทึกคำสอนของหลวงปู่มั่น และพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ มุตโตทัย อันเลื่องชื่อ) ที่เขียนบรรยายก็ไม่มีอะไร คือผมแค่ปีติที่ได้มีโอกาสมาทำงานใกล้สถานที่ที่ครูบาอาจารย์ที่เคารพรัก ท่านเคยอยู่..
    วันนั้นหลังจากทำวัตรเสร็จ ผมได้นั่งสมาธิต่อบนศาลากับพระอาจารย์และญาติโยมที่ไปทำวัตรในวันพระบางส่วน ปรากฎว่า หลังจากกำหนดลมหายใจไปได้ระยะหนึ่งพร้อมกับภาวนา “พุทโธ” จู่ๆ ลมหายใจก็ค่อยๆ เบาและสุดท้ายลมหายใจก็หายไป ไม่สามารถรู้สึกได้ว่าหายใจอยู่ จิตมันรู้สึกสงบอย่างบอกไม่ถูก ผมเองฝึกนั่งสมาธิมาก็นาน แต่ก็ยังไม่เคยได้อะไร อย่างมากก็เกิดปีตินานๆ ครั้ง แต่วันนั้นรู้ได้ว่า เราก้าวมาอีกระดับแล้ว แต่ ณ จุดนั้นผมไม่รู้ว่าจะทำยังไงต่อ เพราะไม่เคยศึกษามาก่อน และเวลาปฏิบัติก็ทำเอง ไม่มีครูสอน อาศัยครูบาอาจารย์ก็จากการอ่านตำรา วันนั้นก็เลยนั่งพิจารณาอะไรไปเรื่อย ลองวิปัสสนามั่ง ดูการทำงานของจิตมั่ง แบบว่ามั่วไปเรื่อย..
    ผมก็เลยพยายามมาค้นหาคำตอบว่า เมื่อเราทำจิตมาถึงขั้นนี้แล้วต้องทำยังไงต่อไป และก็มาเจอในหนังสือ ธรรมะที่พึ่งซื้อมา เรื่อง “มหาบพิตร..ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ”
    เป็น บทสนทนาระหว่างในหลวงกับหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับมือใหม่ที่ฝึกปฏิบัติด้วยตัวเองอย่างผม จึงได้นำบทสนทนานี้มาบอกเล่าสู่ทุกท่านฟังเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติครับ…


    “พระราชปุจฉา กับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย”
    ณ วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

    พระราชปุจฉา : คำว่า ภาวนา และ บริกรรม ต่างกันอย่างไรขอรับ คือเคยฟังพระเถระผู้ใหญ่บอกว่า การภาวนานี้ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน แม้ไม่อยู่ในสมาธิ แม้ทำอะไร ก็สามารถทำได้อยู่ได้ตลอดเวลาใช่ไหมขอรับ​
    หลวงพ่อพุธ : ใช่แล้ว คำว่า ภาวนา กับ บริกรรม มีต่างกัน ภาวนา หมายถึง การอบรมคุณงามความดีให้เกิดขึ้น เป็นสมบัติของผู้อบรม เช่น อบรมใจให้มีความเลื่อมใสในการบำเพ็ญภาวนา ก็ได้ชื่อว่า ภาวนา แต่บริกรรมนั้น หมายถึง จิตของผู้ปฏิบัตินึกอยู่ในคำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น พุทโธ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในคำเดียวเรียกว่า “บริกรรม” บริกรรมก็คือส่วนของภาวนานั่นเอง
    หลวงพ่อพุธ : เมื่อตะกี้ได้ถามอะไรอาตมาอีก
    พระราชปุจฉา : ภาวนาทำได้ตลอดเวลาทุกสถานที่หรือไม่
    หลวงพ่อพุธ : การภาวนานี้ทำได้ตลอดเวลา ทุกที่ ทุกสถานที่ ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลา เช่นอย่างภาวนาในขั้นบริกรรมภาวนา เช่น ภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ตลอดทุกอิริยาบถ บริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ ได้ ทีนี้ถ้าหากว่าไม่นึกบริกรรมภาวนา พุทโธ การกำหนดรู้ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ทำ พูด คิด รู้อยู่ตลอดเวลา อันนี้เป็นการภาวนา จุดมุ่งหมายของการภาวนา หรือบริกรรมภาวนา ก็อยู่ที่ความต้องการความมีสติสัมปชัญญะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีแล้ว จิตก็มีสมรรถภาพในการคุ้มครองตัวเอง ให้ยืนยันอยู่ในความเป็นอิสรภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอิสรภาพโดยเด็ดขาดทุกอย่างก็ตาม ตราบใดที่จิตยังตกอยู่ในอำนาจของอารมณ์กิเลสและสิ่งแวดล้อม จิตก็รู้ตัวว่ายังหย่อนสมรรถภาพ อยู่ในอำนาจของสิ่งแวดล้อม จิตก็ย่อมรู้ การบริกรรมภาวนา บางท่านเมื่อจิตไม่ตรงกับนิสัยบริกรรมภาวนาเป็นปีๆ จิตไม่สงบก็มีอุบายที่จะปฏิบัติได้ คือ ต้องกำหนดรู้ดูความคิดของตนเองตลอดเวลาว่าเราคิดอะไรก็รู้ สิ่งที่คิดมันหายไปก็รู้ อันใหม่เกิดขึ้นมาก็รู้ กำหนดรู้ตามไปเรื่อยๆ เมื่อจิตมีสติกำหนดตามรู้ความคิด กำหนดทันความคิดของจิตเมื่อใด เมื่อนั้นจิตจะสงบเป็นสมาธิได้
    พระราชปุจฉา : คำว่า วิญญาณ หมายความว่า “ธาตุรู้” ใช่ไหมขอรับ
    หลวงพ่อพุธ : คำว่า วิญญาณ คือ “ธาตุรู้” วิญญาณในเบญจขันธ์หมายถึง วิญญาณรู้จากของ ๒ อย่างกระทบกัน เช่น

    • ตากับรูปกระทับกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ
    • เสียงกับหูกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า โสตวิญญาณ
    • กลิ่นกับจมูกกระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า ฆานวิญญาณ
    • ลิ้นกับรสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
    • กายกับสิ่งสัมผัสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้นเรียกว่า กายวิญญาณ
    • จิตนึกคิดอารมณ์เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า มโนวิญญาณ
    อันเป็นวิญญาณในขันธ์ ๕ ทีนี้วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ปฏิสมาธิวิญญาณ คือ วิญญาณรู้ผุด รู้เกิด​
    พระราชปุจฉา : พอจิตนิ่ง ลมหายใจจะหายไป และคำภาวนาก็หายไปพร้อมกัน แต่รู้สึกเช่นนี้เพียงเดี๋ยวเดียวก็หายไป ควรจะทำอย่างไรต่อไป
    หลวงพ่อพุธ : เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปแล้ว จิตจะสงบละเอียดไปถึงจุดที่เรียกว่า “อัปปนาสมาธิ” ลมหายใจก็ทำท่าจะหายขาดไป คำภาวนาก็หายไป พอรู้สึกว่ามีอาการเป็นอย่างนี้เกิดขึ้น ก็เกิดอาการตกใจ แล้วจิตก็ถอนจากสมาธิ เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมา ถ้ายังเสียดายความเป็นของจิตในขณะนั้น ให้กำหนดจิตพิจารณาใหม่ จนกว่าจิตจะสงบลงไป จนกว่าลมหายใจจะหายขาดไปคำภาวนาจะหายไป ถ้าตอนนี้เราไม่เกิดเอะใจ หรือเปลี่ยนใจขึ้นมาก่อน จิตจะสงบนิ่งละเอียดลงไปกว่านั้น ในที่สุดจิตก็จะเข้าสู่อัปปนาสมาธิอยู่ในขั้นตัวก็หายไปหมด ยังเหลือแต่จิตรู้สงบสว่าง อยู่อย่างเดียว ร่างกายตัวตนไม่ปรากฏ แต่ถ้าไม่ทำอย่างนั้น เมื่อลมหายใจหายไป คำภาวนาก็จะหายไป แล้วก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา เลื่อนให้จิตมาพิจารณา พิจารณาโดยเพ่งกำหนดลงที่ใดลงหนึ่ง จะบริเวณร่างกายลงที่ใดที่หนึ่ง จะบริเวณร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น กระดูก พิจารณาจนจิตเห็นกระดูกแต่ตายังไม่เห็นก่อน ให้พิจารณาจนจิตสงบเห็นกระดูกชัดเจน ในทำนองนี้จะทำให้จิตเป็นสมถกรรมฐานเร็วขึ้น
    ซึ่ง เคยมีตัวอย่างครูบาอาจารย์ให้คำแนะนำกันมา คือ ท่านอาจารย์องค์หนึ่งภาวนาพุทโธมาถึง ๖ ปี จิตสงบลงไป แต่ทำท่าว่าลมหายใจจะหายไป คำภาวนาก็หายไป แล้วสมาธิก็ถอนออก จิตไม่ถึงความสงบสักที อาจารย์องค์นี้จึงไปถามอาจารย์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งอาจารย์องค์นี้เป็นชีผ้าขาวไม่ได้บวชเป็นเณรว่า “ทำอย่างไรจิตมันจะสงบดีๆ สักที” อาจารย์องค์นั้นก็ให้คำแนะนำว่า “ให้เพ่งลงที่หน้าอก พิจารณาให้เห็นกระดูก โดยพิจารณาลอกหนังออก แล้วจึงจ้องจิตบริกรรมภาวนาลงไปว่า อัฐิ อัฐิ อัฐิ” อาจารย์ที่ถามจึงนำวิธีการนี้ไปปฏิบัติ ก็เกิดจิตสงบเป็นสมาธิ ในครั้งแรกก็มองเห็น เศษกระดูกตรงนั้น จิตมันก็นิ่งจ้องอยู่ตรงนั้น และผลสุดท้ายก็มองเห็นโครงกระดูกทั่วตัวไปหมด ในเมื่อมองเห็นโครงกระดูกอยู่ชั่วขณะหนึ่ง โครงกระดูกก็พังลงไป และสลายตัวไป สลายไปหมด ยังเหลือแต่จิตสงบนิ่ง สว่างอยู่อย่างเดียว
    และ ในอันดับต่อไปนั้น จิตจะสงบนิ่ง สว่างอยู่เฉยๆ ภายหลังเมื่อจิตสงบสว่างอยู่พอสมควรแล้ว ก็เกิดความรู้อันละเอียดขึ้นมาภายในจิต แต่ไม่ทราบว่าอะไร มันมีลักษณะรู้ขึ้นมาแล้วก็ผ่านไป มันเหมือนกับกลุ่มเมฆที่มันผ่านสายตาเราไปนั่นแหละ จิตก็นิ่งเฉย สงบนิ่ง สว่างอยู่ตลอดเวลา ที่มีให้รู้ให้เห็นก็ผ่านไปเรื่อยๆ เราลองนึกภาพดูว่า ที่เกิดขึ้นเช่น นี้เรียกว่าอะไร อาการเป็นเช่นนี้เป็นภูมิรู้ภูมิปัญญาอย่างละเอียดของจิตเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความจริงที่อยู่เหนือสมมติบัญญัติ สภาวธรรมส่วนที่เป็นสัจธรรมเกิดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติ มีแต่สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ซึ่งท่านอาจารย์มั่นเรียกว่า “ฐีติภูตัง” ซึ่งมีความหมายว่า “ฐีติ” คือ ความตั้งเด่นของจิต อยู่ในสภาพที่สงบนิ่งเป็นกิริยาประชุมพร้อมของอริยมรรค ยังจิตให้บรรลุถึงความสุคติภาพโดยสมบูรณ์ เมื่อจิตประชุมพร้อม ภายในจิตมีลักษณะ สงบ นิ่ง สว่าง อำนาจของอริยมรรคสามารถปฏิบัติจิตให้เกิดภูมิรู้ ภูมิธรรมอย่างละเอียด ภูมิรู้ ภูมิธรรมซึ่งเกิดขึ้นอย่างละเอียด ไม่มีสมมติบัญญัติ เรียกว่า “ภูตัง” หมายถึงสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่โดยธรรมชาติของมันอย่างนั้น แต่ไม่ทราบว่าจะเรียกว่าอะไร สงสัยต่อไปในเมื่อเราไม่สามารถจะเรียกว่าอะไร ทำอย่างไรเราจึงจะ รู้สิ่งนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกไว้ แม้แต่ท่านแสดงธรรมจักรฯ ให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ฟัง เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะรู้ธรรม เห็นธรรม ก็รู้แต่ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา”


    [​IMG]

    เพิ่มเติมครับ สำหรับท่านอยู่เหนือ step นี้

    “พระราชปุจฉา กับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย” (๒)
    พระราชปุจฉา : การเจริญภาวนาที่ท่านอาจารย์เสาร์แนะนำไว้ คือ ๑. ให้เจริญสมาธิ ๒. พิจารณาอสุภกรรมฐาน ๓. ให้พิจารณาธาตุกรรมฐาน
    หลวงพ่อพุธ : อันนี้เป็นหลักวิชา เมื่อจะพูดกันให้จบ ต้องพูดกันตามลำดับขั้นใน ปัญหา ๓ ข้อ คือ ๑. ให้เจริญสมาธิ ๒. ให้พิจารณาอสุภกรรมฐาน ๓. ให้พิจารณาธาตุกรรมฐาน ในข้อ ๓ ข้อนี้ใครจะเริ่มวิธีใดวิธีหนึ่งได้ ไม่ต้องไปบริกรรมพิจารณาใดๆ ก็ได้ เช่น พอใจอยากพิจารณาอสุภกรรมฐาน ก็พิจารณาเรื่องอสุภกรรมฐานไปเลย ถ้าจะพิจารณา เรื่องธาตุก็พิจารณาเรื่องธาตุไปเลย ทั้ง ๓ อย่างถ้าเจริญแล้ว การเจริญสมาธิ ด้วยบริกรรมภาวนาจะทำให้ผู้เจริญกรรมฐานนั้นได้รับผลช้า คือ บางทีเมื่อบริกรรมภาวนา แล้ว จิตจะติดอยู่ในความสงบ ภายหลังจะต้องพิจารณาอสุภหรือธาตุกรรมฐานต่อไป จึงจะเกิดมีภูมิความรู้ขึ้นได้ แต่ถ้าพิจารณาอสุภกรรมฐานเลยทีเดียว หรือพิจารณาธาตุ กรรมฐานเลยทีเดียว การพิจารณาก็เป็นอุบายให้จิตสงบเป็นสมาธิได้เหมือนในข้อต้น ในเมื่อจิตสงบเป็นสมาธิเพราะการพิจารณาข้อ ๒ และข้อ ๓ เมื่อจิตสงบลงไปแล้ว จิตจะเกิดภูมิปัญญาขึ้นง่ายกว่าข้อหนึ่ง
    พระราชปุจฉา : เมื่อปฏิบัติต่อไปแล้วจะรู้สึกเหมือนมีอะไรวนกลับเข้ามาในตัว สิ่งนั้นคืออะไร
    หลวงพ่อพุธ : อันนี้เป็นลักษณะของความหดสั้นเข้ามาของกระแสจิต เมื่อส่งกระแสออกไปไกลๆ เมื่อเราภาวนาแล้วเมื่อจิตเริ่มสงบ จิตเริ่มหดสั้นเข้ามาๆ จนกระทั่ง ถึงตัวแล้ว ก็ถึงจิตแห่งความสงบ บางครั้งมันอาจเกิดความรู้สึกว่า ทุกสิ่งมันรวมเข้ามา บางครั้งอาจเกิดแสงสว่างอยู่ไกลๆ มองสุดสายตาในจิตสมาธิ เมื่อบริกรรมภาวนา มากเข้าแสงนั่นจะเข้ามาหาตัวทุกทีๆ เมื่อจิตสงบเข้ามาจริงๆ แล้วแสงจะวิ่งเข้ามาในตัว เกิดความสงบสว่างขึ้นอันนี้เป็นการรวมของจิตเข้าสู่สมาธิ ซึ่งจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เมื่อต้องการจะหยุดทำสมาธิ คล้ายกับมีร่างอีกร่างหนึ่งมาซ้อนอยู่ และเหมือนกับ มีจิตแยกกันอยู่ เหตุการณ์ดังที่ว่าจะเกิดขึ้นบางครั้งบางขณะ บางทีเราทำจิตสงบลงไป เราอาจจะมองเห็นตัวของเราอีกร่างหนึ่งแฝงขึ้นมา มีความรู้สึกขึ้นมา มีร่างสองร่าง มีจิตสองจิต เพราะในขณะนั้น เรารู้สึกว่า กายของเราแยกออกไปเป็นสองส่วน และจิตแยกออกเป็นสองส่วนด้วย ในเมื่อเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น ควรปฏิบัติอย่างไร อะไรจะเกิดขึ้นก็แล้วแต่ จะเป็น สองร่าง สามร่าง สิบร่างก็แล้วแต่ สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์เกิดขึ้นนั้นเป็นผลของสมาธิ กระแสจิตส่งออกไปข้างนอก ถ้าไม่เห็นภาพอื่นๆ ก็จิตสงบเข้าจริงจัง แล้วจิตที่สองหรือร่างที่สองจะหายไป มารวมอยู่ที่จุดๆ เดียว เป็นเรื่องธรรมดา เป็นทางผ่าน ของการทำสมาธิ ปัญหาสำคัญอย่าไปเอะใจหรืออย่าไปสำคัญกับเหตุการณ์เหล่านั้น ให้กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าไปเอะใจกับสิ่งเหล่านั้น จิตจะถอนออกจากสมาธิ นิมิตเหล่านั้นจะหายไป
    พระราชปุจฉา : ขั้นของสมาธิที่เราปฏิบัติได้ จะสังเกตด้วยปรากฏการณ์ หรือระยะเวลาที่ปรากฏการณ์นั้น
    หลวงพ่อพุธ : ขั้นของสมาธิที่ปรากฏการณ์เกิดขึ้น การเกิดขึ้นของสมาธิมี ๒ ลักษณะ เมื่อเราบริกรรมภาวนา หรือกำหนดพิจารณาอะไรอยู่ก็ตาม เมื่อจิตสงบเคลิ้มๆ ลงไปเหมือนจะนอนหลับ เมื่อจิตสงบวูบลงไปตั้งมั่นเป็นสมาธิ สว่างไสวขึ้น อันนี้เป็นลักษณะความสงบอย่างหนึ่ง ความสงบอย่างนี้เรียกว่า ผู้นั้นยังไม่ชำนาญใน การเดินจิต เราจะรู้เฉพาะเวลาเราบริกรรมภาวนา หรือพิจารณาอารมณ์ กับเมื่อตอนที่จิตสงบนิ่งแล้ว ในช่วงระหว่างกลางนี้ เรากำหนดไม่ได้ สมาธิจึงยังไม่พร้อมด้วยองค์สมาธิที่ถึงพร้อมด้วยองค์นั้น ผู้ภาวนาจะต้องกำหนดรู้ไปตั้งแต่ วิตก วิจาร เกิดปีติ เกิดสุข ยังเหลือแต่เอกัคคตากับอุเบกขา ซึ่งเป็นสมาธิขั้นอัปปนาสมาธิที่เดินตามแนวขององค์ฌาน เป็นสมาธิของผู้ที่ดำเนินจิตให้เป็นสมาธิได้พอสมควร ถ้าชำนาญจริงๆ แล้ว สามารถที่จะยับยั้งจิตของตน ให้อยู่ในองค์ฌานนั้นๆ ตามต้องการได้ เว้นเสียแต่ว่าจิตลงไปถึงขั้นฌานขั้นที่ ๓ ที่ ๔ แล้วนั่นแหละ จิตจะเป็นไปโดยอัตโนมัติเราจะทำอะไรไม่ได้ ถ้าจิตอยู่ในระหว่างฌานขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ ตอนนี้เราสามารถกำหนดเอาให้อยู่ในองค์ฌานนั้นๆ ได้ ถ้าใช้ความตั้งใจอ่อนๆ เรานึกประคองจิตให้อยู่ในระดับของปีติ ระดับของสุข ระดับของความสงบก็ได้ แต่เมื่อจิตสงบถึงฌานขั้นที่ ๓ ที่ ๔ แล้ว จิตจะดำเนินไปเองโดยอัตโนมัติ
    พระราชปุจฉา : สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนาทำอย่างไร
    หลวงพ่อพุธ : สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนา คำว่า วิปัสสนานี่มีอยู่ ๒ ขั้นตอน ขั้นต้น คือ วิปัสสนาที่ใช้สติปัญญากำหนดพิจารณาเอาเองด้วยความตั้งใจ เช่น เราจะพิจารณาร่างกายให้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช้ความรู้สึกนึกคิดที่เราเรียนรู้มานั้นมานึกเอา เรียกว่า การเจริญวิปัสสนาแบบใช้สติปัญญาแบบธรรมดาๆ โดยการพิจารณาเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง, ทุกขัง เป็นทุกข์, อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง โดยความรู้สึก นึกคิดเอาเองนี่แหละ เป็นการตกแต่งปฏิปทาเพื่อให้จิตสงบลงเป็นสมาธิแล้ว จะเกิดวิปัสสนาขึ้นมาโดยอัตโนมัติ จะปฏิวัติไปสู่ภูมิรู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จงทำความเข้าใจว่า ถ้าสมาธิหรือสมถะไม่เกิดขึ้น ท่านจะเจริญวิปัสสนาอย่างไร ท่านจะไม่ได้วิปัสสนา เพราะวิปัสสนามีมูลฐานเกิดมาจากสมถะ คือ สมาธิ ถ้าสมถะคือ สมาธิไม่เกิดขึ้น ท่านจะได้แต่วิปัสสนาแบบนึกคิดเอาเอง เป็นวิปัสสนาภาคปฏิบัติเท่านั้น ยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง

    [​IMG]
    “พระราชปุจฉา กับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย” (๓)
    พระราชปุจฉา : คำภาวนา พุทโธ เป็นสมาธิ จะทำวิปัสสนาต่อไปจะทำอย่างไร
    หลวงพ่อพุธ : คำภาวนา พุทโธ ทำจิตให้เป็นสมาธิ พูดได้ว่า ภาวนาพุทโธ ทำจิต ให้สงบลงเป็นสมาธิเพียงแค่ขั้นอุปจารสมาธิ ถ้าต้องการทำจิตให้เป็นวิปัสสนาสืบเนื่องมาจากการภาวนาพุทโธ เมื่อทำจิตให้สงบลงไป รู้สึกว่าสงบสว่างขึ้นมาแล้ว น้อมจิตไปพิจารณารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจังไม่เที่ยง ทุกขังเป็นทุกข์ อนัตตาไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ซึ่งเป็นพระไตรลักษณ์ หรือมิฉะนั้นก็กำหนดรู้ที่จิตของตนเอง เมื่ออารมณ์อันใดเกิดขึ้นในความคิด ก็กำหนดตามความคิดนั้นเรื่อยไป เมื่อความคิดอันใดเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป เราเอาพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ควบคุมความคิดว่า ความคิดนี้มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เจริญวิปัสสนาในสมาธิอ่อนๆ บางครั้งเมื่อเจริญสมาธิแล้ว จิตจะถอนออกมาสู่จิตปกติธรรมดา ก็อย่าเลิกการพิจารณาเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ เป็นเครื่องหมายแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในที่สุด จิตจะสงบลงสู่ความเป็นสมาธิ และเกิดวิปัสสนากรรมฐานขึ้นมาโดยอัตโนมัติ การบริกรรมภาวนานี้ บางทีบางท่านเพียงแต่บริกรรมภาวนา พอจิตสงบลงเป็นอุปจารสมาธิ จิตท่านผู้นั้นจะปฏิวัติไปสู่ภูมิวิปัสสนาโดยไม่ได้ตั้งใจ อันนี้แสดงว่าผู้นั้นได้เคยเจริญวิปัสสนาแล้วตั้งแต่ชาติก่อน เมื่อจิตสงบลงไปแล้ว วิปัสสนาก็ไม่เกิด เห็นแต่เพียงสงบนิ่ง สว่างอยู่เฉยๆ หากเป็นทำนองนี้ ต้องค้นคิด ฝึกหัด วิปัสสนากรรมฐาน ยกเอาอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งมาพิจารณาจะเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ได้ ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนกว่าจะเกิดสมาธิขึ้นมาแล้วจึงจะรู้ภูมิแท้แห่งวิปัสสนาไปเอง
    พระราชปุจฉา : ที่กล่าวว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระองค์เดียวเท่านั้นที่ทราบว่า เหตุใดจึงเกิดเป็นคน
    หลวงพ่อพุธ : การรู้ว่าเหตุใดจึงเกิดเป็นคน อันนี้ไม่เฉพาะแต่พระพุทธเจ้า พวกฤาษีในสมัยโบราณก็รู้ว่าเหตุใดจึงเกิดเป็นคน เช่น พวกฤาษีชีไพร ที่บำเพ็ญตบะอยู่ในภูเขา เมื่อเขาทำสมาธิจนได้ฌาน ก็สามารถรู้ได้เหมือนกันว่า ชาติก่อนท่านเกิดเป็น อะไร แต่ท่านเหล่านั้นมิได้บำเพ็ญมาเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่สามารถทำลายกิเลสได้ อันนี้เป็นการระลึกชาติภพหลังได้ ไม่ใช่แต่พระพุทธเจ้าองค์เดียว แต่ในฐานะที่เราเรียนแต่ศาสนาของพระพุทธเจ้า เราจึงมักจะพูดว่า พระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่รู้ว่าเหตุใดคนจึงเกิดมาเป็นคนได้ ที่จริงฤาษีเขารู้ก่อนพระพุทธเจ้า อันนี้เป็นความรู้พิเศษ ไม่จำเป็นแต่พระพุทธเจ้าองค์เดียวจะรู้ ผู้ใดทำสมาธิถึงขั้นสมถะ หรือสำเร็จฌาน สามารถรู้ยิ่งเห็นจริงว่าชาติก่อนเราเกิดมาเป็นอะไรมาแล้ว สามารถที่จะรู้ได้
    พระราชปุจฉา : เวลานำของไปถวายพระ แต่พระไม่ได้ฉันอาหารนั้น ผู้ถวายจะได้บุญเต็มที่ไหม
    หลวงพ่อพุธ : ผู้ถวายจะได้บุญเต็มที่หรือไม่นั้น อยู่ที่ความตั้งใจอันบริสุทธิ์ของเรา แม้แต่ว่าถ้าเรานำของไปถวายพระแล้ว ยังระแวงสงสัยในพระว่า พระองค์นั้นจะบริสุทธิ์หรือไม่ บุญที่เราทำลงไปก็ไม่ได้อย่างเต็มที่ การจะทำบุญจะได้บุญมากหรือน้อยก็อยู่ที่เจตนาของเราบริสุทธิ์สะอาด ถ้าเราให้แต่คนยากจน มุ่งเพื่อความสงเคราะห์ ให้ผู้ทรงศีลทรงธรรม มุ่งเพื่อความบูชาให้แก่พระสงฆ์ มุ่งเพื่อให้ผู้ที่ทำกิจ เพื่อพระศาสนา เจตนาของเราบริสุทธิ์ เมื่อทำบุญลงไปแล้ว ถึงแม้ว่าพระไม่ได้ฉัน ท่านเพียงแต่รับ เราก็ได้บุญอย่างเต็มที่แล้ว

    “พระราชปุจฉา กับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย” (๔)
    พระราชปุจฉา : รูปขันธ์เมื่อแยกออกจากขันธ์ทั้ง ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณแล้ว ตัวรูปขันธ์จะเคลื่อนไหวได้หรือไม่
    หลวงพ่อพุธ : อันตัวรูปขันธ์จะเคลื่อนไหวได้หรือไม่นั้น จิตของผู้ภาวนาถ้ารู้สึกว่ารูปมันหายไปแล้ว ก็ไม่รู้ว่ารูปมันเคลื่อนไหวหรือไม่ประการใด ลักษณะของการพิจารณารูปขันธ์ หรือพิจารณาขันธ์ ๕ นี้ ในเมื่อเราจะกำหนดลงไปว่า เราจะพิจารณารูป เราก็พิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร ไปพร้อมกัน ในเมื่อเราพิจารณารูปในแง่อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ยกกาย ขึ้นมาพิจารณาเป็นกายคตาสติกรรมฐาน ในเมื่อจิตสงบละเอียดลงไปแล้ว มันอาจจะเกิดนิมิตเห็นอสุภกรรมฐานหรือเห็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม หรือเห็นอาการของร่างกายมันตายไป เน่าเปื่อยผุพังสลายไป จนกระทั่งไม่มีอะไรเหลือ ก็แสดงว่า รูปมันหายไป ในเมื่อรูปมันหายไปแล้ว เวทนา สัญญา มันก็หายไปด้วย เวทนา สัญญา นี้ มันอาศัยรูปเป็นที่พึ่ง ถ้าหากรูปหายไปแล้ว เวทนา สัญญา จะไม่ปรากฏ คือ เวทนา สุข ทุกข์ ไม่มี มีแต่อุเบกขา เวทนา สัญญา ความทรงจำต่างๆ ก็ไม่มีในเมื่อรูปหายไปแล้ว จิตเกิดความรู้อะไรขึ้นมาไม่ได้อาศัยสัญญา แต่หากภูมิรู้จะเกิดขึ้นมาในส่วนละเอียด ส่วนละเอียดที่จิตมีภูมิรู้ขึ้นมานั้น คือ ตัวสังขาร เมื่อรูป เวทนา สัญญา หายไปแล้ว ผู้ภาวนาจะมีความรู้สึกว่า สังขารยังเหลืออยู่ วิญญาณก็ยังเหลืออยู่ แต่วิญญาณที่ยังเหลืออยู่ในลักษณะรู้ยิ่งเห็นจริงนั้น เป็นในลักษณะวิญญาณเหลืออยู่เฉพาะตัวผู้รู้ แต่ตัวกระทบไม่มี ถ้าหากในขณะนั้นจะมีสิ่งใดมากระทบให้จิตรู้ จิตก็ไม่มีอาการรู้ทางวิญญาณ เป็นแต่เพียงว่าตัวผู้รู้สามารถที่จะแกว่งกระแสไปรู้สิ่งที่ผ่านเข้ามา สิ่งที่ผ่านเข้ามาให้รู้ เปรียบเหมือนกับว่าอยู่เอกเทศส่วนหนึ่ง จิตตัวผู้รู้ก็อยู่ในลักษณะเอกเทศส่วนหนึ่ง คล้ายๆ กับมันแยกออกไปคนละส่วน ไม่มีความสัมพันธ์กัน ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะเหตุว่าความรู้หรือสิ่งที่รู้ที่ปรากฏการณ์ขึ้นมานั้น คือ เป็นตัวสังขารจิต หรือเรียกว่า สังขารธรรม เป็นการปรุงของจิตส่วนละเอียด เป็นการปรุงขึ้นมาด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้น คือ รู้สึกเสมือนหนึ่งว่าสิ่งที่ตัวปรุงขึ้นมานั้น ไม่ใช่เรื่องของตนเอง เป็นเรื่องอื่นมาปรากฏการณ์ให้รู้ให้เห็น อันนี้เป็นลักษณะของภูมิจิตพิเศษ เป็นภูมิรู้อย่างละเอียด เป็นสิ่งที่มีอยู่เหมือนกับที่กล่าวแล้วในเบื้องต้น คือ “ฐีติภูตัง” ของท่านอาจารย์มั่นนั่นเอง อันนี้คำถามว่าตัวรูปขันธ์นั้นจะเคลื่อนไหวได้ไหม ขอให้พิจารณาดูภูมิจิตของตนเอง แล้วจะรู้จริงเห็นจริงไปเอง
    พระราชปุจฉา : จิตตอนที่รู้สมมติบัญญัติเข้าปรมัตถ์นี้มีสภาพเป็นอย่างไร
    หลวงพ่อพุธ : ลักษณะของจิตที่จะเกิดภูมิรู้ ที่มันจะเข้าไปสู่ภูมิแห่งปรมัตถ์ เราพึงสังเกตอย่างนี้ เช่น เราทำสมาธิด้วยการพิจารณาอะไรก็ตาม ในขณะที่เราน้อมนึกโดยเจตนา โดยความตั้งใจ โดยอาศัยภูมิความรู้ที่ได้จากตำรับตำรา หรือได้เรียน เช่น เราอาจนึกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง แล้วนำเป็นอุบายนำจิตสงบลงไปสู่สมาธิขั้นอุปจารสมาธิ ในเมื่อจิตสงบลงไปสู่ภูมิขั้นนี้ อำนาจจิตจะปฏิวัติเป็นภูมิรู้ขึ้นมา รู้ในเรื่องที่เราได้พิจารณามาแต่เบื้องต้นว่า รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ความรู้อันนี้เกิดขึ้นมา เองโดยไม่ได้ตั้งใจ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว จิตกับความรู้ที่เกิดขึ้นนั้น จิตรู้รูปก็อยู่ที่รูป จิตรู้เวทนาก็อยู่ที่เวทนา ความรู้อันนี้ยังอยู่ในสมมติบัญญัติ คือ รู้อะไรก็เรียกว่าอันนั้น เช่น รู้รูปเห็นรูปก็เรียกว่า “รูป” รู้เวทนาเห็นเวทนาก็เรียกว่า “เวทนา” เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็รู้อยู่เรื่อยๆ ไปอย่างนี้ ในเมื่อจิตตามรู้ความรู้ที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจิต จนกว่าจิตจะรู้ซึ้งเห็นจริงลงไปแล้ว ยอมรับสภาพความเป็นจริง เมื่อจิตยอมรับสภาพความเป็นจริงแล้ว จิตจะตัดกระแสแห่งความรู้อันเป็นสมมติบัญญัตินั้นให้ขาดตอนลงไปสู่ความว่าง เมื่อจิตเกิดความว่างขึ้นมาแล้ว ในอันดับต่อไป จิตจะก้าวหน้าไปสู่ภูมิปรมัตถธรรม เมื่อภูมิความรู้อันใด เกิดขึ้นมาในขณะนี้ เกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ เกิดขึ้นมาแล้ว จะไม่มีสมมติบัญญัติ ถ้ามองเห็นด้วยสมมติว่าอาจจะเห็นนิมิตเกิดขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งเห็นร่างกายนอนตาย เน่าเปื่อยผุพัง จิตจะอยู่เฉยๆ ไม่มีสมมติบัญญัติว่าอะไร เมื่อเห็นรูปของตัวเอง จิตก็ไม่ว่ารูปของตัวเอง เมื่อรูปเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไปในที่สุด จิตก็จะไม่มีสมมติบัญญัติ เรียกอาการที่เป็นไปตามขั้นตอน เห็นเนื้อไม่ว่าเนื้อ เห็นหนังไม่ว่าหนัง เห็นกระดูกไม่ว่ากระดูก เห็นการสลายเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าการสลาย เปลี่ยนแปลง จิตจะเห็นอยู่เฉยๆ ไม่มีสมมติบัญญัติใดๆ ทั้งสิ้น อันนี้คืออาการที่จิตเดินเข้าสู่ภูมิแห่งปรมัตถธรรมโดยไม่มีสมมติบัญญัติ ไม่มีตัวตน ไม่มีตัว ไม่มีผู้หญิง ไม่มีผู้ชาย ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีจิต ไม่มีสภาวธรรมอะไรทั้งนั้น แต่ว่าจิตผู้รู้ปรากฏเด่นชัด สิ่งที่รู้ก็ปรากฏให้รู้ให้เห็นอยู่ตลอดเวลา อันนี้คือลักษณะของจิตที่ก้าวขึ้นไปสู่ภูมิปรมัตถ์
    “พระราชปุจฉา กับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย” (๕)
    พระราชปุจฉา : ทำไม มรรค ๘ จึงมีปัญญาอยู่ ๒ อย่าง
    หลวงพ่อพุธ : มรรค ๘ เห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ จิตตั้งมั่นชอบ ในเมื่อภูมิจิตของผู้ดำเนินนั้นยังไม่ประชุมพร้อมลงไปเป็นหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างจะปรากฏที่อาการ เช่น สัมมาทิฏฐิ ( เห็นชอบ) ก็มีอยู่ สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ก็มี อยู่ ทั้งสองอย่างนี้เป็นเรื่องของปัญญา ปัญญาในมรรค ๘ ยังไม่มาประชุมพร้อมลงเป็นหนึ่งที่ดวงจิต ยังมีสอง ในขณะที่มรรค ๘ ยังไม่ประชุมพร้อมลงเป็นหนึ่งที่ดวงจิต ยังมีอาการอยู่ ๘ นั้น เป็นอาการของมรรคเมื่อประชุมพร้อมเป็นหนึ่ง คือ สมาธิ ความประชุมพร้อมเป็นหนึ่งนั้นอยู่ที่สมาธิ ในเมื่อสัมมาสมาธิเป็นหนึ่งแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเกิดขึ้น ทีนี้อาการเกิดขึ้นของมรรค ๘ ในเมื่อประชุมพร้อมลงแล้ว เราจะนับอาการไม่ถูก เพราะถ้าหากมรรค ๘ ยังแยกกันอยู่ตราบใด เราไม่สามารถปฏิบัติจิตไปสู่ภูมิรู้ ภูมิ ธรรมได้เลย เพียงแต่ว่าเราทำให้จิตสงบเพียงนิดหน่อยเท่านั้น เพราะฉะนั้น ผู้บำเพ็ญ มักจะหนักใจว่า ทั้ง ๘ ข้อนี้จะทำอย่างไร กว่าจะรวมลงมาเป็นหนึ่ง มิต้องเสียเวลามากมายหรือ? การรวมธรรมะคือมรรค ๘ นี้ เราจะต้องเริ่มด้วยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เป็นประการแรกก่อน ประการที่สอง พยายามทำใจ ฝึกหัดใจให้เป็นสมาธิ ประการที่สาม ทำสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบในการปฏิบัติว่าเพื่ออะไร เมื่อมุ่งผลแห่งความสงบ รู้ยิ่งเห็นจริงตามสภาวธรรม ตามความเป็นจริง ในเมื่อศีลก็บริสุทธิ์ เป็นอุบายที่ทำให้จิตสงบลงเป็นหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “สมาธิจิต” สมาธิ เมื่อจิตสงบลงเป็นหนึ่ง คือจิต ไปนิ่งอยู่เฉยๆ อันนี้เป็นแต่เพียงมีสมาธิองค์เดียวเท่านั้น ถ้าสติสัมปชัญญะยังไม่มีกำลังเพียงพอ ศรัทธาพละยังไม่เก่ง วิริยะพละยังไม่มี สติพละยังไม่พร้อม สมาธิพละ ยังไม่เข้มแข็ง ปัญญาพละยังไม่มีกำลังที่จะรอบรู้ถึงที่สุด จิตก็ยังไม่ประชุมพร้อมอริยมรรครวมเป็นหนึ่งได้ ต้องพยายามที่จะฝึกหัดสมาธิให้ยิ่งขึ้น ในเมื่อทั้งมรรค ๘ รวมกันเป็นหนึ่งแล้ว มีแต่หนึ่งไม่มีสอง ในเมื่อยังไม่ประชุมพร้อม มันก็ยังมีแยกกันเป็นสองคำถามที่ว่าทำไมปัญญาในมรรค ๘ จึงมี ๒ ก็เพราะ เราไปพูดตามอาการ ในเมื่อเราทำจิตเป็นสมาธิ ประชุมพร้อมด้วยอริยมรรคแล้ว สัมมา- ทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะรวมเป็นหนึ่ง สัมมาอันอื่นๆ ก็จะรวมเข้ามา จนรวมเป็นหนึ่งเท่านั้น เมื่ออริยมรรครวมกันเป็นหนึ่งแล้ว ก็สามารถปฏิวัติจิตไปสู่ภูมิรู้ภูมิธรรมได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2010
  4. Nok Nok

    Nok Nok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +3,297
    [​IMG]
    กราบโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ
    ภาวนา...
    พุท-ลมเข้า
    โธ-ลมออก อยู่ค่ะ...^_^
     
  5. titapoonyo

    titapoonyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +12,769
    บางคนมีคำถามว่า วิปัสสนาอย่างเดียว จะสำเร็จหรือไม่

    พระพุทธองค์สอนว่า หัวใจของการปฏิบัติต้องยึดหลัก ไตรสิกขา 3 (ลองคิดถึงรูปปิรามิด ที่มีฐานคือ ศีล ตรงกลางคือ สมาธิ ส่วนยอดของปิรามิดคือ ปัญญา) คือ
    1. อันดับแรกต้องมีศีลบริสุทธิ<wbr>์ก่อน เพราะเป็นฐานสำคัญ หากศีลไม่บริสุทธิ์ ปฏิบัติอีกร้อยชาติก็ไม่สำเร็จ
    2. ต้องเจริญสมาธิ เมื่อศีลบริสุทธิ์ย่อมเจริญ<wbr>สมาธิได้ง่าย สมาธิไม่จำเป็นต้องได้ฌานขั<wbr>้นสูง ขอแค่อุปจารสมาธิ ก็สามารถนำมาใช้ในการเจริญว<wbr>ิปัสสนาได้ แต่ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่ม<wbr>ั่นและหลวงพ่อฤาษี บอกว่าต้องได้ฌานก่อน แล้วค่อยถอยจิตออกมาอยู่ที่<wbr>ขั้นอุปจารสมาธิ...เพื่อใช้<wbr>เจริญวิปัสสนา จึงจะเกิดปัญญาที่แท้จริง (เราเองก็ยังทำไม่ได้)
    ป.ล. อุปจารสมาิธิขาเข้าใช้เจริญ<wbr>วิปัสสนาได้ไม่ดีเท่าอุปจาร<wbr>สมาธิขาออก (ขาออกหมายถึง เราถอยจิตออกมาจากฌาน
    3. ปัญญา (เจริญวิปัสสนา) ถามว่า เจริญวิปัสสนาอย่างเดียวได้<wbr>มั้ย ไม่เอาศีลและสมาธิ หลวงพ่อหลายๆ ท่านที่ท่านพ้นแล้ว ท่านบอกว่า กำลังจิตมันไม่เข้มแข็งพอ เป็นเพียงการใคร่ครวญของปุถ<wbr>ุชน ปัญญาก็เกิดแต่เป็นปัญญาแบบ<wbr>ปุถุชน ไม่ใช่ปััญญาแบบรู้แจ้ง (หมายถึง รู้ด้วยจิต คือ รู้ขึ้นมาเอง)

    ดังในคำสนธนาของหลวงพ่อพุธและในหลวง
    พระราชปุจฉา
    : สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนาทำอย่างไร
    หลวงพ่อพุธ : สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนา คำว่า วิปัสสนานี่มีอยู่ ๒ ขั้นตอน ขั้นต้น คือ วิปัสสนาที่ใช้สติปัญญากำหนดพิจารณาเอาเองด้วยความตั้งใจ เช่น เราจะพิจารณาร่างกายให้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช้ความรู้สึกนึกคิดที่เราเรียนรู้มานั้นมานึกเอา เรียกว่า การเจริญวิปัสสนาแบบใช้สติปัญญาแบบธรรมดาๆ โดยการพิจารณาเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง, ทุกขัง เป็นทุกข์, อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง โดยความรู้สึก นึกคิดเอาเองนี่แหละ เป็นการตกแต่งปฏิปทาเพื่อให้จิตสงบลงเป็นสมาธิแล้ว จะเกิดวิปัสสนาขึ้นมาโดยอัตโนมัติ จะปฏิวัติไปสู่ภูมิรู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จงทำความเข้าใจว่า ถ้าสมาธิหรือสมถะไม่เกิดขึ้น ท่านจะเจริญวิปัสสนาอย่างไร ท่านจะไม่ได้วิปัสสนา เพราะวิปัสสนามีมูลฐานเกิดมาจากสมถะ คือ สมาธิ ถ้าสมถะคือ สมาธิไม่เกิดขึ้น ท่านจะได้แต่วิปัสสนาแบบนึกคิดเอาเอง เป็นวิปัสสนาภาคปฏิบัติเท่านั้น ยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง
     
  6. titapoonyo

    titapoonyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +12,769
    ในสมัยพุทธกาล เวลาพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา มักจะแสดง อนุปุพพิกถา ซึ่งก็คือ การแสดงธรรมไปตามลำดับขั้นเพื่อขัดเกลากิเลสของผู้ฟังให้ค่อยๆ ลดลง จนสามารถบรรลุธรรมได้ในที่สุด ซึ่งในยุคนั้นมีคนที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาบทนี้แล้วบรรลุธรรมกัน ครั้งละเป็นพันเป็นหมื่น อ่านแล้วขนลุกซู่ๆ ปีติแทนท่านเหล่านั้น วันนี้เลยเอามาเล่าสู่นักปฏิบัติได้ศึกษากัน เผื่อมีใครบรรลุธรรมหน้าจอคอมพิวเตอร์บ้าง 55..
    อนุปุพพิกถา 5
    <center> <table style="border-collapse: collapse; border-width: 0pt;" border="1" bordercolor="#111111" cellpadding="0" cellspacing="0" width="60%"> <tbody><tr> <td style="border-style: none; border-width: medium;" width="100%"> ทานกถา กล่าวถึงทาน</td> </tr> <tr> <td style="border-style: none; border-width: medium;" width="100%"> สีลกถา กล่าวถึงศีล</td> </tr> <tr> <td style="border-style: none; border-width: medium;" width="100%"> สัคคกถา กล่าวถึงสวรรค์</td> </tr> <tr> <td style="border-style: none; border-width: medium;" width="100%"> กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกาม</td> </tr> <tr> <td style="border-style: none; border-width: medium;" width="100%"> เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวอานิสงส์แห่งการออกจากกาม</td> </tr> </tbody></table> </center> ​
    <hr color="#008000" size="3"> อนุปุพพิกถานั้น เป็นธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเพื่อฟอกอัธยาศัยของบุคคล ผู้ฟังให้มีความประณีตขึ้นไปโดยลำดับ ถ้าหากว่าผู้ฟังสามารถที่จะชำระกิเลสของตนให้เบาบางลงได้ ตามที่ทรงแสดงแล้ว ต่อไปก็จะแสดงอริยสัจ ๔ ธรรมะทั้ง ๙ ข้อนี้ จึงเรียกว่า พหุลานุศาสนี คือพระธรรมที่พระองค์แสดงมากที่สุด เนื่องจากเป็นการค่อย ๆ ขัดเขลาจิตใจของผู้ฟังไปโดยลำดับ แต่เวลาแสดงจริง ๆ นั้น ไม่จำเป็นแสดงครบหมดทั้ง ๕ ข้อ ผู้ฟังสามารถจะเรียนรู้ประพฤติปฏิบัติได้ในระดับใด ก็จะทรงแสดงไปในระดับนั้น

    ประการแรก ก็จะทรงแสดงประโยชน์ของการให้ เพื่อขจัดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัวของบุคคลให้เจือจางลงไป บังเกิดมีน้ำใจเผื่อแผ่ เอื้อเฟื้อต่อบุคคลอื่นจนถึงกับพร้อมที่จะเสียสละและบริจาคทาน จากนั้นก็จะทรงแสดงศีล เพื่อให้บุคคลตระหนักที่จะควบคุมกาย วาจาของตนให้ประพฤติเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนและผู้อื่น ไม่ทำตนให้เป็นพิษเป็นภัยต่อหมู่คณะที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ จนถึงพร้อมที่จะยอมรับนับถือบุคคลอื่น และทำตนให้เป็นประโยชน์ เป็นศักดิ์ศรีแก่หมู่คณะ จากนั้นก็จะแสดงผลดีงามที่เกิดขึ้นจากการให้ทานและการรักษาศีลที่บุคคลจะพึงประสบ ทั้งในปัจจุบันและในภายภาคหน้า คือการอุบัติบังเกิดในสวรรค์ และเมื่อบุคคลเห็นชื่นชมเพลิดเพลินกับความสุขในสวรรค์ อัธยาศัยของบุคคลนั้นสามารถที่จะเรียน
    รู้ปฏิบัติสูงขึ้นไปพระองค์ก็จะแสดงถึงโทษแห่งกาม คือการที่ใจของบุคคลไปกำหนดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ วัตถุกามเหล่านั้น จะเป็นของมนุษย์หรือของทิพย์ก็ตาม ก็ล้วนแล้วแต่เป็นของที่มีโทษ ก่อให้เกิดความหมกมุ่น ยึดติด ผ่อนคลายได้ยากสลัดได้ยาก จิตใจจะกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์เหล่านั้น แต่เมื่อบุคคลมีความเบื่อหน่ายในกามก็จะแสดงเนกขัมมานิสงส์คือ อานิสงส์แห่งการออกจากกาม นี่เป็นหลักที่ทรงแสดงไปตามลำดับดังนี้.
    เพื่อจะให้ทราบอรรถาธิบายในอนุปุพพิกถา ซึ่งตามปกติแล้ว ในพระไตรปิฎก จะไม่ให้รายละเอียดไว้โดยตรง เวลาแสดงอนุปุพพิกถาจะบอกแต่ชื่อไว้เท่านั้น รายละเอียดจึงอยู่ในพระสูตรอื่น ๆ ที่แสดงถึงเรื่องของทานหรือเรื่องของศีล โทษแห่งกาม เป็นต้น

    1. ทานกถา กถาว่าด้วยทาน คือการให้ ท่านแสดงว่า ทานนี้นี้เป็นต้นเค้าแห่งความสุขทั้งหลาย เป็นมูลแห่งสมบัติทั้งหลาย เป็นที่ตั้งแห่งโภคะทั้งปวง เป็นที่ต้านภัย เป็นคตินำไปข้างหน้าของบุคคลที่ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ อยู่ ทานเป็นที่พำนักพักพิงอาศัย ที่ยึดเหนี่ยวอันเสมอเหมือนทานไม่มีทั้งในโลกนี้และในโลกอื่น ดุจสีหบัลลังก์ อันล้วนแล้วด้วยรัตนะ เป็นที่พำนักอาศัย ดุจเชือกผูกห้อยไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ทานเป็นดุจทาส เพราะเป็นเครื่องกั้นทุกข์เป็นดุจเกราะของผู้กล้าหาญในสงคราม เป็นเครื่องทำให้อุ่นใจ เป็นดุจเมืองที่ตกแต่งไว้ดีแล้วเพราะเป็นที่ป้องกัน เป็นดุจดอกปทุม เพราะไม่เปื้อนมลทิน คือความตระหนี่เป็นดุจอสรพิษเพราะความตระหนี่เป็นต้น ไม่อาจเข้าใกล้ เป็นดุจราชสีห์ สมมติว่าเป็นมงคลยิ่งและเป็นดุจพญาม้าวลาหกเพราะพาให้ถึงภูมิอันเกษม ทานนี้เป็นมรรคาที่เราตถาคตได้ดำเนินมาแล้ว เป็นเชื้อวงศ์ของเราโดยแท้ เมื่อเราเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างบารมีอยู่บำเพ็ญมหายัญเป็นอันมาก ทานนี้ย่อมให้สวรรค์สมบัติจนถึงอภิสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อบุคคลทำทานได้ จึงอาจสมาทานศีลได้ ในขณะเดียวกันก็ทรงแสดงอานิสงส์ของทานอย่างที่ทรงแสดงไว้ในทานานิสงสสูตรว่า
    1) ผู้ให้ทาน ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก
    2) สัปบุรุษ ผู้สงบ ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
    3) เกียรติคุณของผู้ให้ทาน ย่อมขจรไป
    4) ผู้ให้ทานย่อมไม่เหินห่างจากธรรมของคฤหัสถ์
    5) ผู้ให้ทานเมื่อล่วงลับไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ และเมื่อทรงแสดงทานไป ตามสมควรแล้ว อัธยาศัยของบุคคลพร้อมที่จะปฏิบัติธรรมเบื้องสูงขึ้นไปก็จะแสดงในเรื่องศีล

    2.สีลกถา คือกถาที่ว่าด้วยคุณของศีล การรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย ไม่มีโทษ เช่น ทรงแสดงว่า ชื่อว่าศีลนี้เป็นที่พำนัก เป็นที่อาศัยที่ต้านภัย เป็นที่ยึดเหนี่ยว ต้านทาน เป็นที่หลบภัย เป็นคติที่เป็นไปในเบื้องหน้า ศีลเป็นเชื้อวงศ์ของเราตถาคต ได้บำเพ็ญศีลบารมีในภพนั้น ๆ เป็นอเนกอนันต์ ศีลเป็นที่อาศัย เป็นที่ตั้งแห่งสมบัติทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกอื่น ไม่มีที่พำนักอาศัยอื่นเสมอเหมือน เครื่องอลังการก็ดี ดอกไม้ก็ดี เครื่องประทินผิวก็ดีที่เสมอเหมือนเครื่องอลังการคือศีล ดอกไม้คือศีล เครื่องประทินคือศีล หามีไม่ แท้จริง ชาวเทวโลกย่อมนิยมบูชาท่านผู้ประกอบด้วยศีลอลังการ ทัดดอกศีลโกสุมลูบไล้ประทินคือศีลเสมอไม่รู้เบื่อ และอย่างที่ทรงแสดงว่า ศีลเป็นอาภรณ์อย่างประเสริฐ ศีลเป็นอาวุธอย่างยอดเยี่ยม ศีลเป็นเกราะอย่างมหัศจรรย์ ศีลอันเป็นกำลังหาที่เปรียบมิได้ เป็นต้น เมื่อบุคคลอาศัยศีลนี้แล้ว ก็ย่อมจะได้สวรรค์ อย่างที่ทรงแสดงอานิสงส์ของศีลไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า
    1) ผู้มีศีลย่อมได้โภคสมบัติ
    2) เกียรติคุณอันงามของผู้มีศีล ย่อมขจรไป
    3) ผู้มีศีลเมื่อเข้าไปในสมาคมใด ย่อมองอาจ กล้าหาญ ไม่ครั่นคร้านขามเกรง ไม่เก้อเขินในสมาคมนั้น
    4) ผู้มีศีล เมื่อจะตาย ก็ไม่หลงตาย คือมีสติตาย หรือตายอย่างมีสติ
    5) ผู้มีศีล เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    ศีลจะประณีตมากน้อยแค่ไหนเพียงไร ย่อมขึ้นอยู่กับว่า ท่านรักษาศีลได้ดี ได้มากน้อยแค่ไหนเพียงไรเหมือนกัน เช่น ทรงแสดงคุณของสวรรค์ว่า อันสวรรค์นี้เป็นที่น่าใคร่ น่าพอใจในสวรรค์นั้น มีการเล่นเป็นเนืองนิตย์ สมบัติทั้งหลายก็เกิดมีอยู่แล้วไม่ได้ขาด เหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชิกา ได้เสวยทิพยสุขสมบัติอยู่นานถึง ๙ ล้านปี เหล่าเทพชั้นดาวดึงส์เสวยสุขด้วยทิพยสมบัติอยู่นานถึง ๓ โกฏิ ๖ ล้านปี และท่านยังได้บอกว่า ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพรรณาสวรรค์สมบัติ ก็เหลือพระโอษฐ์ที่จะพรรณาให้สิ้นสุด ดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะพึงกล่าวเรื่องสวรรค์ได้โดยอเนกปริยาย มีนัยต่าง ๆ

    3.สัคคกถา คือ สวรรค์ แปลว่า อารมณ์เลิศ ซึ่งอาจหมายถึงสภาพชีวิตของบุคคลที่มีความสุขกายสบายใจ ไม่เดือดร้อนในการเป็นอยู่ หมายถึง การมีคุณธรรมภายในใจของบุคคลผู้นั้น เช่น มีหิริ มีโอตตัปปะอยู่ภายในใจ ชื่อว่าเป็นเทวดา บางทีก็หมายถึงสภาพจิตที่มีความเพลิดเพลิน สนุกสนานอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ ที่มุ่งหมายจริง ๆ นั้น หมายถึง ปรโลก คือโลกที่บุคคลจะไปอุบัติบังเกิดด้วยผลแห่งกุศลกรรมที่เขาได้กระทำเอาไว้.

    4.กามาทีนวกถา กถาว่าด้วยโทษแห่งกามทั้งหลาย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประโลมใจผู้ฟังด้วยเรื่องสวรรค์ จนเกิดความเพลิดเพลินยินดีสนุกสนานและปรารถนาที่จะเสพสุข ก็ทรงชี้ให้เห็นว่า สวรรค์นั้นเป็นกามสุข แม้จะมีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ หรือเป็นทิพย์ก็ตาม แต่ว่าที่แท้จริงแล้วก็มากไปด้วยเวร มากไปด้วยภัย ทิพยสุขเหล่านั้น ก็มีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป แม้สวรรค์เองก็เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่ควรจะไปหลงนิยมยินดี และทรงชี้ให้เห็นโทษของกามไว้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น อุปมาเหมือนหัวฝีที่กลัดหนองบ้าง อุปมาเหมือนการถือคบเพลิงทวนลมบ้าง อุปมาเหมือนศีรษะอสรพิษ เมื่อบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องก็ต้องระมัดระวังอันตรายที่เกิดขึ้นแก่ตน เปรียบเหมือนกับชิ้นเนื้อนาบไฟ เปรียบเหมือนกับผลไม้ซึ่งเป็นที่ต้องการของสัตว์ทั้งหลายด้วย และก็เปลี่ยนแปลงไปเร็วเป็นต้น

    5.เนกขัมมานิสงส์ คืออานิสงส์แห่งการออกจากกามว่าเป็นที่ปลอดเวรปลอดภัย ยุติเวรภัยด้วยประการต่าง ๆ มีความสงบมีความโปร่งเบา มีความเป็นอิสระ ไม่ไปเกี่ยวเกาะผูกพันกับกามคุณทั้งหลายมากเกินไป แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทรงแสดงประเภทของเนกขัมมะคือการออกซึ่งแปลว่าการออกจากกาม หรือ การออกเพื่อคุณอันใหญ่นั้น คนในโลกนี้ก็มีอยู่ ๔ ประเภทคือ
    1) กายก็ไม่ออก ใจก็ไม่ออก หมายถึงคนที่มัวเมาหมกมุ่นอยู่กับเรื่องของกามทั้งหลาย
    2) กายออก แต่ว่าไม่ออก หมายถึงคนที่ออกบวชเป็นนักบวชประเภทใดประเภทหนึ่งแล้ว แต่ว่าใจก็ยังหมกมุ่นวุ่นวายครุ่นคิดอยู่กับเรื่องของกามทั้งหลาย
    3) ใจออก แต่กายไม่ออก หมายถึงคนที่แท้จะอยู่ในบ้านในเรือน แต่ว่าจิตใจไม่เกี่ยวเกาะห่วงใยอาลัย โหยหาถึงกาม จิตใจของบุคคลนั้นก็เป็นอิสระจากกามทั้งหลาย กามไม่สามารถจะโยกคลอนสร้างความหวั่นไหวให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของท่านได้ แม้จะอยู่ในบ้านในเรือนก็ตามแต่ว่าจุดประสงค์ในพระพุทธศาสนานั้น ก็เน้นไปที่เป้าหมายสูงสุด
    4) ออกทั้งทางกายและใจ คือกายตนเองก็ออกไปจากการเกี่ยวเกาะกับวัตถุกามทั้งหลาย จิตใจก็จะไม่หมกมุ่นคิดห่วงใยอาลัยหาอยู่กับวัตถุกามนั้นอีกต่อไป ท่านที่จะออกจากกามได้ทั้งกายและใจเช่นนี้จำต้องอาศัยการปฏิบัติจนเกิดความรู้ความเข้าใจรู้แจ้งเห็นจริงตามหลักของอริยสัจทั้ง ๔ ประการ จากนั้นก็จะทรงแสดงอริยสัจ ๔ ประการเป็นลำดับไป.

    >>>ฟัง “อนุปุพพิกถา” เสียงธรรม โดย ดร.สนอง วรอุไร<<<
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...