ขอคำแนะนำเรื่องกสิณลมหน่อยนะครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย vr2g8er, 2 มีนาคม 2013.

  1. vr2g8er

    vr2g8er Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +29
    ผมมีความชอบในธาตุลมมาก สงสัยเป็นจริตของผมอ่ะครับ
    และอยากจะสำเร็จในกสิณลมครับ
    จึงอยากจะขอคำแนะนำหน่อยครับว่า


    1.เวลาเราเพ่งลม และหลับตาจำ มันมีลักษณะเป็นอย่างไรเหรอครับภาพในหัวอ่ะครับ

    2.เวลาเราเริ่มเข้าฌาน2 (ละวิตก วิจาร) แล้ว ภาพจะเป็นอย่างไรเหรอครับ

    3.วิตก วิจาร ในกสิณลมมันคืออะไร ลักษณะอย่างไรครับ

    4.ใครมีเคล็จลับเพิ่มเติมช่วยแนะนำหน่อยนะครับ

    ขอบคุณมากนะครับ ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2013
  2. ขง

    ขง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    188
    ค่าพลัง:
    +676
  3. vr2g8er

    vr2g8er Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +29
    ขอบคุณครับ แต่ว่าผมก็ปริ้นท์ออกมาอ่านแล้วเหมือนกันครับ ฟังเสียงธรรมก็แล้ว แต่ว่าอยากได้ข้อมูลแนวเจาะลึกในเรื่องของกสิณลมตามลำดับเลยอ่ะครับ ว่าถ้าถึงจุดนั้นจะเจออะไร ถ้าถึงจุดนี้จะเจออะไร ไปอย่างไรต่อ ถ้าเราละวิตก กับวิจารแล้ว ภาพจะเป็นเป็นอย่างไร และวิตก วิจารในกสิณลมมันคืออะไรลักษณะอย่างไร ประมาณนี้อ่ะครับ
     
  4. Samuraicross

    Samuraicross สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +15
    การรู้ล่วงหน้าไม่ช่วยอะไร รังแต่จะเพิ่มวิตกกับความอยากนะคับ
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    กสิณลม ถ้าไม่คล่องจริง ฝึกยากมากครับ เว้นแต่บางคน ง่ายๆ ก็ง่าย

    ส่วนใหญ่ จะไปฝึก กสิณ กองอื่นก่อนให้ ขึ้น กสิณฌาน 4 ให้คล่อง

    แล้วหลังจาก คล่อง กสิณ 1 กอง แล้ว ค่อย เปลี่ยนไปเล่น กสิณกองอื่นๆ จะง่ายกว่า ครับ
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    1.เดี่ยวมาตอบ ไปขุดใน google ก่อน เป็น guru google หาง่ายดี


    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง

    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


    วาโยกสิณ

    วาโยกสิณ แปลว่า เพ่งลม การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการ
    เห็นหรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้
    การกำหนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้
    เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา



    ให้นักปฏิบัติเก็บตัว อย่ามั่วสุมกับ
    นักคุยทั้งหลาย จงรักษาอารมณ์ รักษาใจให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิเป็นอันดี อย่า สนใจใน
    อารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อยหนึ่ง เพราะแม้นิดเดียวของนิวรณ์ อาจทำอารมณ์ สมาธิที่กำลังจะเข้าสู่ระดับฌานนี้ให้สลายตัวได้โดยฉับพลัน ขอท่านนักปฏิบัติจงระมัดระวัง อารมณ์รักษา
    ปฏิภาคนิมิตไว้ คล้ายกับระมัดระวังบุตรสุดที่รักที่เกิดในวันนั้น



    ตอบข้อ1 นะครับ

    จะเลือกได้ 2 วิธี คือ

    1.นิมิตด้วยการเห็น
    2.ด้วยการกระทบ

    1.1นิมิตเห็นคืออะไร

    หลับตาลงครับ

    แล้วเห็นภาพลมพัดกิ่งไม้ยอดไม้ในป่า ไหม ครับ นั้นละ ด้วยการเห็นครับ


    1.2ด้วยการกระทบ คืออะไร

    หลับตาลง แล้วเอาอารมณ์ ที่ ลมพัดมากระทบตัว เป็นอารมณ์ในองค์ ภาวนา วาโยกสิณ ครับ


    ทั้ง 2 อย่าง เมื่อเลือกอย่างใด อย่างนึงแล้ว เอามาเป็น นิมิตในองค์ภาวนา เพ่ง เพ่งไป ภาวนาไป ครับ จน ขึ้น กสิณลม ปฐมฌาน ครับ

    จิต สงบ จน จิตตั้งมั่น อารมณ์หนึ่ง ไม่มีสอง ก็จะเข้า ปฐมฌานกสิณลม ครับ

    ถ้าจิตไม่สงบ มีความฟุ้งซ่านอยู่ นิวรณ์ กำเริญ อยู่ ก็เข้า ปฐมฌาน ไม่ได้ครับ


    2.ภาพเหมือนเดิมครับ แต่อาจ ใส สว่างมากกว่า ฌาน 1 เพราะ จิต ละเอียดขึ้นไป เพียงแต่ไม่มีคำภาวนา เพราะ ขึ้น ฌาน 2 ละ วิตก วิจารณ์

    3.วิตก วิจาร กสิณลม ก็คือ คำภาวนา ครับ

    4.ตอบไปแล้ว กระทู้ข้างบน ครับ

    ทำกสิณ กองอื่น ให้ได้ แล้ว เปลี่ยน กสิณใน ปฐมฌาน แทน เอาครับ

    หรือ อีก วิธี ทำ สมาธิ เข้า ปฐมฌาน แล้วก็เรียก นิมิต กสิณ ขึ้นมา

    ใช้ได้เหมือนกันครับ

    อยากเป็นกสิณลม เวลาปฏิบัติ ตอน ปฏิบัติ ให้ละความอยาก อารมณ์อยากได้ เอาไว้ก่อน อย่าไปสร้างอารมณ์ใดๆ ขึ้นมา

    ให้มี สติ จดจ่อ อยู่กับ คำภาวนา เพ่งภาพนิมิตกสิณ บริกรรมภาวนา จน จิต อารมณ์หนึ่งไม่มีสอง ก็จะเป็น สมาธิ เป็น ฌาน ครับ

    .
    .

    อารมณ์หนึ่ง เป็นอย่างไร ทดสอบง่ายๆ ครับ เอาแค่ เบื้องต้น ในการทดสอบนะ

    เอานาฬิกา มาจับเวลา ภายใน 1 ชั่วโมง 60 นาที

    สามารถ บริกรรม ภาวนา โยกสิณัง ๆๆๆ ได้ตลอด 60 นาที โดยที่ จิตไม่เผลอ ฟุ้งซ่าน ออกไปคิดเรื่องอื่นใดๆ แม่แต่สักนิดได้เลย

    เบื้องต้น ทำให้ได้แบบนี้ ใน 1 ชั่วโมงได้

    หลังจากนั้น ก็ เพิ่มเป็น 2 3 4 - 6+ ชั่วโมง แล้วแต่จะปฏิบัติ

    ทำได้แบบนี้ เรียกว่า รักษาอารมณ์หนึ่ง ครับ


    เมื่อทำได้แล้ว ที่เหลือ ก็ ฝึกบริกรรม ให้ จิต สงบ ลง จน จิต ตั้งมั่น จน จิตเป็น สมาธิ เป็น ฌาน ต่อไป นั้นเองครับ
    ..


    และที่สำคัญ เสียง เป็น ศัตรู กับ ปฐมฌาน

    จะฝึก กสิณ หาห้องให้เงียบที่สุดครับ

    เพราะแม้แต่ เสียงนกกระพือปีก นอกห้อง ก็อาจทำให้ ท่านหลุดออกมาได้

    ยิ่งเสียง พัดลมเปิดใส่ตัว ถ้าละเสียงไม่ได้ ส่งผลต่อการ จิตรวม มากครับ

    จขกท ลองดูครับ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2013
  7. vr2g8er

    vr2g8er Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +29
    ขอบคุณ คุณ Saber มากเลยนะครับ ผมเริ่มเห็นแนวทางการไปสู่ความสำเร็จชัดเจนขึ้นแล้วครับ ผมว่าจะเลือกแบบสัมผัสดีกว่า เพราะสามารถใช้พัดลมเปิดได้ทุกเมื่อครับ จะได้ฝึกได้อย่างสม่ำเสมอครับ

    ว่าแต่เวลาเราสัมผัส ให้เราจินตนาการเห็นเป็นระลอกคลื่นลมใช่ไหมครับ หรือว่าห้ามจินตนาการ ให้สัมผัสรู้สึกอย่างเดียวครับ อันไหนยังไงเหรอครับ ??
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ไม่ใช่ จินตนาการ นะครับ ไม่ใช่คิดเอาเองนะ

    ถ้าเลือก การถือเอาด้วยการถูกต้อง

    ให้ จับ อารมณ์ ตอนที่ ลมกระทบตัว มาเป็น อารมณ์ในการภาวนาครับ

    การถือเอาด้วยการถูกต้อง ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์



    ถูกต้อง หมายถึง ลมถูกกาย ก็คือ ตัว ไม่ใช่ ถูกต้อง ถูกผิด นะครับ

    ถ้าไม่เข้าใจ

    ยกตัวอย่างนะครับ ให้ดูเฉยๆ แล้วไป ประยุกใช้เองนะ

    หลับตาลง นึกถึงอารมณ์ กรุณา เป็นไหม

    หลับตาลง นึกถึง อารมณ์เมตตา เป็นไหม


    กสิณลม ก็เหมือนกัน

    หลับตาลง แล้ว ถือเอา ลมที่มากระทบตัว เป็น อารมณ์ กสิณลม ครับ



    ที่ สกิณลม มันยาก ก็เพราะอะไร ก็เพราะว่า

    มันไม่เห็นภาพ มันจับต้องแล้วไม่เข้าใจ เข้าใจแต่คำว่า อากาศ

    นึกภาพไม่ออก นึกอารมณ์ ในองค์ กสิณลม ไม่ออก

    หลักๆ ก็นี่ละครับ

    พูดถึงลม ก็เข้าใจ ตามที่เคยเรียนมา วิทยาศาสตร์มา ลมคืออะไร ประกอบไปด้วยอะไร บลาๆๆ

    ฟุ้งซ่านไปโน้นเลย ....


    .




    จับ กสิณกองอื่นๆ มันมีหลัก มันง่ายกว่า เยอะครับ

    อีกอย่าง จะฝึก กสิณกองไหนๆ ก็แล้วแต่ สุดท้าย ผลท้ายที่สุด เมื่อทำสำเร็จ

    เราก็จับไปเปลี่ยน กสิณในกองนั้นๆ เวลาทรง กสิณอยู่ เป็นวิธีที่ ง่ายที่สุดละ เวลาที่จะฝึกกสิณกองอื่นๆ ต่อจาก กองแรกที่เราทำได้ครับ

    เว้นแต่บางคน นะ ของเก่ามีมา เคยสร้าง เคยทำมา สำเร็จได้ง่ายๆ

    แค่อาศัย มอง ยอดไม้ที่โดนลมพัด จิตสงบลง จน สำเร็จ กสิณลม แบบนั้น ยกไว้นะครับ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2013
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เห็นด้วยครับ.....
     
  10. vr2g8er

    vr2g8er Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +29
    อ่อ เข้าใจแล้วครับ ผมจะลองทำตามที่คุณ Saber แนะนำนะครับบ ค่อยๆทำไปเรื่อยๆครับ
    ตอนนี้ฝึกฌานแบบธรรมดา ก็ได้ถึงฌาน 2 แล้วครับ เพราะสามารถละ วิตก วิจารได้แล้ว ลมหายใจเบามากจนภาวนาไม่ได้แล้ว แต่จิตเป็นหนึ่งยังไม่ค่อยแข็งแรงครับ ยังสามารถวอกแวกไปเรื่องอื่นได้อยู่บ้าง เกือบจะได้ฌาน 3 แล้วครับ ยังละ ปิติไม่ได้ครับ ยังมีฟ้าแลปในตาอยู่ ขนลุกอยู่ และแผ่นดินโยกได้อยู่ครับ ถ้าละปิติได้คงจะฌาน 3 แล้วใช่ไหมครับ แต่เอกัคคตายังไม่ค่อยแข็งแรง ยังคงเป็นแบบหยาบอยู่ครับ

    อยากทราบว่า ที่ผมกล่าวมานี้ ใช่ฌาน 2 ไหมครับ หรือแค่ระดับอุปจารสมาธิ แล้วผมคิดไปเองครับ ??
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จริงๆ ในองค์ ฌาน นะครับ วิตก วิจารณ์ ไม่ได้เกิดจากการที่ เราเป็นผู้ละ ครับ

    แต่เกิดจาก การที่ จิต เป็น ฌาน เข้า องค์ ฌาน นั้นๆ เอง อารมณ์ในองค์ ฌานนั้น จะเป็นผู้ตัดออกไปเอง

    ไม่ใช่เราเป็นผู้ละเองใดๆ ทั้งสิ้น ครับ


    หรือวิธีดูง่ายๆ แค่เข้า ปฐมฌาน

    กาย กับ จิต จะขาดออกจากกัน กายอยู่ส่วนกาย จิต อยู่ส่วนจิต

    ทรงปฐมฌาน อยู่ จะไม่รับรู้อาการทางกายใดๆ ครับ


    ยิ่งอารมณ์ ฟุ้งซ่าน หรือ นิวรณ์ อารมณ์นิวรณ์ต่างๆใดๆ จะเกิดใน จิต ที่ทรงฌาน ปฐมฌาน ใดๆ ไม่ได้เลย

    เพราะเป็นของที่เป็น ศัตรู เสื้ยนหนาม โดยตรงของ ฌาน เลยครับ


    และถ้าถามผมตรงๆนะครับ จากข้อความที่ผม คอมเม้นตอบนี้

    คือ อยู่ในช่วง ขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ สมาธิ ครับ

    ลองอ่านดูครับ อาการต่างๆ ตามนั้นครับ


    ขณิกสมาธิ

    ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปลว่า
    ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยวประด๋าว
    จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสียแล้ว กว่าจะรู้ตัวว่า
    จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้
    ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละ
    ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ ท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยังไม่เป็นฌาน ท่านจึงไม่เรียกว่า
    สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้

    อุปจารสมาธิ

    อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌานก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึงปฐมฌานหรือ
    ปฐมสมาบัตินั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้
    เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้
    ๑. วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้
    ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
    ๒. วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการเคลื่อนไหว
    หรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา
    ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้า
    ออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
    ๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
    อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใคร
    นำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
    ก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
    ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
    ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
    ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
    ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
    ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
    อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ
    อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจก็เป็นสมาธิ
    แนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้
    ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้
    ๔. สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อนเลยในชีวิต
    จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลายสมาธิแล้ว ส่วนจิตใจ
    มีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการกำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอด
    เวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดี มีธรรมปีติชุ่มชื่น
    ผ่องใส ความสุขใจมีตลอดเวลา สมาธิตั้งมั่น ความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการ
    ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละ ที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง
    ปฐมฌานอยู่แล้ว ห่างปฐมฌานเพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง
    เพราะอารมณ์ยังไม่ครบองค์ฌาน ท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน


    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง
    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


    ไม่ได้ว่า หรือ จับผิดใดๆ นะครับ

    ผมพูดตรงๆ ตามความรู้สึกผม นะครับ

    .
     
  12. vr2g8er

    vr2g8er Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +29
    อ่อ ขอบคุณมากครับ แสดงว่า จิตผมต้องฝึกเรื่องของการตั้งมั่น เป็นหนึ่งให้ได้นานๆเป็นชั่วโมงๆก่อนใช่ไหมครับ ถึงจะเรียกว่าฌาน 1 อ่ะครับ ยังไงผมจะฝึกทุกวันเลยนะครับ ขอบคุณมากๆนะครับ ^^
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ไม่ได้เป็น ฌาน ครับ

    แต่เป็น วิธีการ ช่วยให้ จิต สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เฉยๆ ครับ
     
  14. vr2g8er

    vr2g8er Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +29
    อ่อ ครับ ผมฝึก จิต สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ก่อนก็ได้ครับ มีวิตก วิจาร ปิติ สุข สักวันจะต้องได้เอกัคคตา ครับ

    ขอบคุณมากๆนะครับ
     
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    คือว่า

    อารมณ์ปฐมฌาน นะครับ

    มันไม่ใช่ อารมณ์ ที่ ทำสมาธิ หรือ ใช้ตามชีวิตประจำวัน นะครับ พวก สุขๆ เศร้า เฉยๆ เอกัคคตา บลาๆๆๆอื่นๆ อะไรแบบนี้นะครับ

    ไม่ใช่อารมณ์ ที่เราสร้างขึ้นมาเองครับ เจอเอง อะไรเอง หรือ แบบนึกเอง อะไรเอง นะครับ เช่น นั่งสมาธิไป แล้วก็ สุข อะไรแบบนี้ ไม่ใช่นะครับ โผล่มาทีละอย่าง 2 อย่างนะครับ


    แต่หมายความ ถึงว่า

    เวลาที่ จิต เข้า ปฐมฌาน แล้ว


    เวลาที่ จิต เป็น ปฐมฌาน

    จะเป็นอารมณ์ ของ ปฐมฌาน ครับ


    ถ้าไม่เข้าใจ สรุปง่ายๆสั้นๆ

    ถ้าเป็นอารมณ์ นอก ปฐมฌาน มันไม่ใช่ ครับ

    ต้อง จิต เข้า สมาธิ ปฐมฌาน เท่านั้นครับ


    ถ้าเป็นอารมณ์ นอกจากนี้ จิตไม่ได้เป็นสมาธิ ปฐมฌาน

    อารมณ์ที่เกิดข้างนอกๆ ที่เรารู้สึกขึ้นมาเอง พวกนี้ ไม่ใช่ใดๆ ทั้งสิ้น ครับ


    ดังนั้น เวลาปฏิบัติใดๆ นะครับ

    ให้ลืมทุกอย่าง ที่เคยอ่านมาให้หมด ไม่ต้องไป คิดว่าได้ อารมณ์นั้น อารมณ์ นี้ใดๆ ทั้งสิ้นครับ


    ปฏิบัติทำอย่าง 2 อย่างคือ

    บริกรรมภาวนา เพ่งนิมิตกสิณ เท่านั้นครับ



    นอกเหนือจากนี้ ตัดทิ้งให้หมดครับ พวกอารมณ์ใดๆ อารมณ์นั้น อารมณ์ นี่ ไม่ต้องไปสนใจ ฟุ้งซ่านใดๆ ครับ


    ลองอ่านดูคงเข้าใจนะครับ ว่า หลวงพ่อว่าไว้ ขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อ


    ดังนั้น ถ้าไม่ได้เป็นคนปฏิบัติ ไม่ได้เป็นคนภาวนา เวลาอ่าน ก็จะไม่เข้าใจ แล้วก็ตีความ เข้าใจผิดๆ ตามความคิดของตัวเอง นะครับ ว่าภาวนาไป เจออารมณ์นั้น อารมณ์นี้ ได้ฌาน ขั้นนั้น ขั้นนี้

    ซึ่งจริงๆ มันไม่ใช่นะครับแต่ เข้าใจตีความหมายผิด ครับ

    เช่น ภาวนาไป เจออารมณ์นั้น อารมณ์นี้ มีวิตก วิจาร สุข เอกัคคตา บลาๆๆ ต่างๆนาๆ แล้วก็เข้าใจผิดๆ ว่าเป็น ฌาน เป็นสมาธิ นะครับ


    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง
    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)



    อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ

    เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์ปฐมฌาน
    โดยย่อมีดังนี้
    ๑. วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
    ๒. วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
    ๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
    ๔. สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุขอย่าง
    ประณีต
    ๕. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามา
    แทรกแซง
    องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อมๆ กัน





    นำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าว

    ถ้าจิตยังไม่ได้ เป็น ปฐมฌาน อารมณ์ที่เกิดข้างนอกๆ ใดๆ ก็แล้วแต่ มันไม่ใช่ อารมณ์ปฐมฌาน ครับ

    .

    ปฏิบัติทำอย่าง 2 อย่างคือ

    บริกรรมภาวนา เพ่งนิมิตกสิณ เท่านั้นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2013
  16. qillip

    qillip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +366
    ผมเคยครับ เห็นเป็นคล้ายๆ ไอน้ำ เหมือนไอน้ำเดือด หรือไอน้ำจากหม้อหุงข้าวครับ ก็ไม่แน่ใจว่าจะใช่หรือไม่
     
  17. vr2g8er

    vr2g8er Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +29
    อ่อ ขอบคุณครับผม ตอนนี้ที่ผมไปถึงนะครับ คือมี วิตก วิจาร ขนลุก แสงในตาแล่ปๆ แผ่นดินแกว่งได้ครับ คือปิติใช่ไหมครับ แต่ "สุข" ผมไม่แน่ใจนะครับว่าใช่อารมณ์นั้นหรือเปล่า อารมณ์ที่ว่า สนุกดีอ่ะครับเวลาแผ่นดินแกว่งได้อ่ะครับ

    ทั้งหมดที่ผมถึงตอนนี้ เรียกว่าระดับ อุปจารสมาธิ หรือยังครับ ??
     
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อุปจารสมาธิ

    อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌานก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึงปฐมฌานหรือ
    ปฐมสมาบัตินั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้
    เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้
    ๑. วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้
    ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
    ๒. วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการเคลื่อนไหว
    หรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา
    ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้า
    ออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
    ๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
    อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใคร
    นำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
    ก็หายไป
    อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
    ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
    ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
    ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
    ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
    ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
    อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ
    อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจก็เป็นสมาธิ
    แนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้
    ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้
    ๔. สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อนเลยในชีวิต
    จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลายสมาธิแล้ว ส่วนจิตใจ
    มีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการกำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอด
    เวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดี มีธรรมปีติชุ่มชื่น
    ผ่องใส ความสุขใจมีตลอดเวลา สมาธิตั้งมั่น ความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการ
    ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละ ที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง
    ปฐมฌานอยู่แล้ว ห่างปฐมฌานเพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง
    เพราะอารมณ์ยังไม่ครบองค์ฌาน ท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน


    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง
    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
     
  19. vr2g8er

    vr2g8er Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +29
    ขอบคุณครับ แสดงว่า ระดับสมาธิผมยังถึงแค่ อุปจารสมาธิ แต่ว่าระดับนี้ผมก็ดีใจละครับ เพราะเคยได้ยินมาว่า การท่องคาถาอาคม จะสัมฤทธิ์ผลได้ดีถ้าใช้สมาธิระดับอุปจารสมาธิในการท่องมนต์ ถึงอย่างไรก็ตาม ผมจะฝึกต่อไปเรื่อยๆนะครับ ให้ถึง ฌาน 1 ก่อนให้ได้ ตามคำแนะนำของคุณ Saber นะครับ ขอบคุณมากๆนะครับ ที่แนะแนวปฏิบัติที่ถูกต้องให้ผมและทุกคนที่มีความสนใจในเรื่องกสิณลมที่แวะเวียนเข้ามาอ่านนะครับ ^^
     
  20. nataphat

    nataphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2009
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +246
    ส่วนตัวผมจับอาณาปานสติก่อนน่ะครับรับรู้อาการสัมผัสสามฐาน ไปสักพักพอจิตได้สักอุปจารสมาธิ เราจะมองเห็นลมอ่ะครับเป็นสายๆนอากาศด้วยตาเนื้อ แต่นิมิตในใจผมมักจะจับอาการที่ใบไม้มันหลุดจากต้นอะครับมันลอยไปตามลมครับ แต่ผมจะบอกว่ากสินนี้จะเอากันจริงๆต้องใช้อาณาปานสติเป็นบาทฐานคุณลองทำดูภาวนาพุทโธจับภาพพระทั้งวันได้ไหมถ้าได้ก็จบ ค่อยมากสินแล้วกันครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...